[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 19:04:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : ไอน์สไตน์ชอบศาสนา แต่ไม่ชอบพระเจ้า  (อ่าน 1657 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5075


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 เมษายน 2554 08:38:49 »

http://i36.photobucket.com/albums/e46/Spazmoticat/helping.jpg
ความทรงจำนอกมิติ : ไอน์สไตน์ชอบศาสนา แต่ไม่ชอบพระเจ้า



อารัมภบทนี้คงไม่เกี่ยวกับไอน์สไตน์เลย แต่เกี่ยวกับคนเขียนที่เขียนมาได้หน้าหนึ่งก็ต้องหยุดพักนานเพื่อไปนอน หลับบ้างไม่หลับบ้าง ช่วงนี้เรียกว่าเขียนไปพักไป นอนกลางคืนก็หลับยากและตื่นง่าย รู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วกว่ากลางวันมาก นั่นคิดเอาเอง แต่คิดว่าเป็นความ “รู้สึก” ของหลายๆ คน โดยเฉพาะคนอายุมากๆ จะบอกอะไรให้ฟังสักอย่างว่าไอน์สไตน์โชคดีหรือเปล่าที่ตายเร็ว คือ ตายก่อนที่นักฟิสิกส์จะได้พิสูจน์เบ็ดเสร็จไร้คนสงสัยในเรื่องควอนตัมแมคคานิกส์ ซึ่งในสายตาของผู้เขียนคือสิ่งที่มาแทนที่วิทยาศาสตร์กายภาพวัตถุนิยมและเทคโนโลยีที่ได้มาจากวิทยาศาสตร์กายภาพวัตถุนิยมนั้นๆ ต่อไปนี้เทคโนโลยีทั้งหมดจะได้มาด้วยควอนตัมฟิสิกส์แทน เช่น เลเซอร์ลาซิก เอ็มอาร์ไอ ที่ใช้ในวงการแพทย์ เป็นต้น ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ประชากรโลก ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมยังคงอยู่ในสภาพสมดุลพอเพียงพอดี ไม่ติดลบเพราะใช้เกินเช่นทุกวันนี้ หรือเพียงหกสิบกว่าปีเท่านั้น

มนุษย์เรา อดีต ตั้งแต่ก่อนการตั้งหลักแหล่งถิ่นฐานตราบจนปัจจุบัน (ก่อน 2012 หรือ 2020) อยู่กับสามข้อที่ไม่พึงประสงค์ที่ทางพุทธศาสนาเตือนไว้ให้หลีกให้พ้น สามข้อไม่พึงประสงค์ คือ หนึ่ง อุปาทานการยึดมั่นถือมั่น มนุษย์ทำตรงกันข้ามเพราะอ้างว่าเป็น “นิสัยความเคยชิน” ไปแล้ว ทั้งๆ ที่ผิดกันเห็นๆ กันโทนโท่ ระบบสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ผิดทั้งนั้น แต่เพราะคนมีอุปาทานติดยึด สอง ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมการตลาดเสรีโดยเฉพาะ ยิ่งผิดธรรมชาติไปมาก ไม่ว่าระบบการเมืองจะเป็นสังคมนิยมหรือเสรีนิยมก็ผิดทั้งนั้น สาม ซึ่งเป็นข้อสุดท้าย มนุษย์มีความประมาทและขี้เกียจที่สุดโดยสันดาน


เห็นจะต้องทำความเข้าใจกับผู้อ่านต่อความกระจ่างที่ชื่อเรื่องของบทความของวันนี้สักเล็กน้อยว่าผู้เขียนหมายถึงอะไร? ชื่อของบทความเป็นความเข้าใจของผู้เขียนเอง และในที่นี้จะพูดถึงไอน์สไตน์กับศาสนาคริสต์เท่านั้น - ถูกหรือผิดโทษผู้เขียนคนเดียว - ที่เข้าใจว่าไอน์สไตน์ไม่ชอบพระเจ้า เพราะผู้เขียนเข้าใจเอาเองว่าที่ไม่ชอบเนื่องจาก หนึ่ง พระเจ้าลงโทษผู้ที่ตัวพระเจ้าเองเป็นผู้สร้างขึ้นมา แถมยังเป็น “คุณพ่อ” ด้วยได้อย่างไร? สอง พระเจ้าเป็นผู้ที่มีความเป็น “ส่วนตัว” (personal God) ที่ให้รางวัลหรือลงโทษผู้ทำความชอบหรือทำผิดเป็นบุคคลๆ หรือหากได้รับการขอร้องวิงวอนของแต่ละบุคคลได้อย่างไร?

ที่ต้องบอกเพราะเป็นเรื่องสำคัญเหลือเกิน แต่เรามักจะลืมหรือคิดว่าไม่สำคัญ คือ หนึ่ง เราต้องรู้ว่าธรรมชาตินั้นไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ไม่เปลี่ยนไม่เสื่อมด้วยซ้ำถึงจะไม่เป็นธรรมดา อันนี้เป็นตรงกันข้ามกับสัตว์หรือ มนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีชีวิตอันเป็นนิสัยความเคยชิน (ขี้เกียจและประมาทอันเป็นธรรมชาติของสัตว์โลกที่ห้ามไม่ได้) นั่นคือสัตว์โลกที่เมื่ออิ่ม “จะต้องขี้เกียจและประมาท” สอง ความเชื่อกับความรู้ก็ต้องเปลี่ยนแปลงหรือวิวัฒนาการเป็นธรรมดาด้วย สาม มนุษย์จะต้องรู้ความจริง “ที่แท้จริง” ของสิ่งแวดล้อม ทั้งใกล้ - ไกล หรือรู้จักธรรมชาติของโลกของจักรวาลให้จงได้ และต้องรู้ทั้งหมดด้วย สัตว์โลกรวมทั้งมนุษย์มีเป้าหมายอันเดียวเท่านั้นคืออยู่ในโลกในจักรวาลสามมิติ (บวกหนึ่ง) นี้ให้รอดและปลอดภัย (existentialism)ไปจนตายตามธรรมชาติและมนุษย์เท่านั้น (สัตว์โลกไม่เกี่ยว) ก็มีเป้าหมายอย่างเดียวเท่านั้นคือการรู้ความจริงที่แท้จริง ซึ่งก็คือการเรียนรู้การสังเกตสำรวจวิจัยนั่นเอง ศาสนาก็คือการค้นหาความจริงครั้งแรกสุดของมนุษย์ซึ่งมีแต่ความเชื่อความศรัทธาอันเป็นประเด็นของจิตไร้สำนึกก่อนที่จะมีจิตสำนึกเป็นหัวหอก และมีประเพณีพิธีกรรมหรือวัฒนธรรมเป็นผู้ช่วย ส่วนความรู้ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์นั้นมาทีหลังเนิ่นนานนัก และอาศัยเหตุผลและคณิตศาสตร์ซึ่งเป็น “กาย” เป็นผู้ช่วยความเข้าใจ และที่สำคัญยิ่งก็คือทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีวิวัฒนาการหรือความก้าวหน้าสู่ความซับซ้อนยิ่งกว่าเสมอไป (นั่นหากเรามองตามลูกศรแห่งเวลาอันเป็นความจริงทางโลก ไม่ใช่ความจริงของธรรมชาติหรือจักรวาลที่อยู่ห่างไกลออกไปมากจริงๆ) สำหรับทางวิทยาศาสตร์นั้น ความจริงที่แท้จริงไม่แน่ว่าหรือคงไม่ใช่การเนรมิตสรรค์สร้างของพระเจ้าดังที่ศาสนาคริสต์คิด นักวิทยาศาสตร์คงจะพอใจที่จะเรียกว่ากฎทางฟิสิกส์ หรือกฎทางวิทยาศาสตร์มากกว่า - แทนที่จะเรียกว่าสัจธรรมความจริงที่แท้จริง - เพราะวิทยาศาสตร์ไม่มี “ทวิตา” จนกระทั่งเรามีควอนตัมฟิสิกส์แล้ว (duplex world of Heisenberg) ขึ้นมาทำให้ไอน์สไตน์ที่ไม่เชื่อพระเจ้าเหมือนกับคนทั่วไปอยู่แล้วพลอยไม่เชื่อพระเจ้าซึ่งเป็นแบบ “คุณพ่อ” (personal God) ไปด้วย จึงเสียหน้าไปเลย

อ่านเรื่องของวิทยาศาสตร์ - ซึ่งผู้เขียนเข้าใจเองว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับเทคโนโลยีที่คนส่วนใหญ่รวมทั้งคนไทยเข้าใจ เพราะดิกชันนารีภาษาอังกฤษก็แปลชุ่ยๆ เช่นนั้น - กับศาสนาซึ่งเขียนโดยบรรณาธิการวารสารทางวิทยาศาสตร์ดิสคัฟเวอรี่เมื่อเร็วๆ นี้  ที่ว่าอ่านนั้น จริงๆ เมียอ่านให้ฟังเพราะมองหนังสือยากมาก เกือบมองไม่เห็นแล้วคงต้องบอด แต่หวังว่าคงไม่สายเกินไป ศาสนาที่บางศาสนามีพระเจ้า เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม แต่บางศาสนาก็ไม่มี เช่น พุทธศาสนา ศาสนาเต๋า วิทยาศาสตร์ที่ว่าหมายถึงวิทยาศาสตร์กายภาพวัตถุนิยม หรือที่ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นสิ่งเดียวกับแมตทีเรียลลิซึ่ม บรรณาธิการที่ว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่ที่ชื่อว่า คอรี พาวเวลล์ (Corey S. Powell) นั้น ได้เขียนว่า “ศาสนากับวิทยาศาสตร์คือความโง่เขลาเบาปัญญาของคนที่เอามาเปรียบเทียบกัน แต่ว่าคนก็ยังเอาไปเปรียบเทียบกันเรื่อยๆ” พาวเวลล์ได้กล่าวต่อไปที่มีใจความว่า วิทยาศาสตร์นั้นตั้งอยู่บนการสังเกตและพิสูจน์ โดยอวัยวะประสาทสัมผัส (sense organs) ซึ่งใช้ในการสังเกตนั้นๆ ในขณะที่ศาสนา (คริสต์) ใช้แต่เพียงความเชื่อศรัทธาแต่ประการเดียว (ซึ่งศาสนาพุทธบอกว่า ใช้การทำสมาธิ (ที่เป็นคนละเรื่องกับความเชื่อความศรัทธาซึ่งเป็นหัวหอกในการกระทำสิ่งใดๆ) สมาธินั้นจะต้องทำเป็นประจำ และจะต้องใช้เวลาที่ยาวนานมากๆ ถึงจะได้ intuition ที่เป็นปัจจัตตังๆ ไม่ใช่เชื่อศรัทธาดั่งคนตาบอด) แต่เมื่อเป็นความเชื่อที่คนส่วนมากคนที่เป็นคริสเตียนจะเข้าโบสถ์กันตั้งแต่ยังแบเบาะ (แบ็บติสมัล) ซึ่งปลูกฝังความเชื่อได้ง่าย จึงไม่ว่ากัน

ไอน์สไตน์นั้นชอบอ้างพระเจ้าบ่อยๆ เมื่อมีใครก็ตามพูดถึงควอนตัมแมคคานิกส์ นีลส์ บอห์ร พูดว่า “เลิกพูดถึงพระเจ้าที่จะทำอะไรก็ช่าง - เสียทีได้ไหม?” ไอน์สไตน์นั้นนับถือบารัก สปิโนซา นักปรัชญาว่าด้วยเหตุปัจจัยยิ่งนัก ผู้มีความเชื่อมั่นว่ากฎแห่งฟิสิกส์ก็คือกฎแห่งพระเจ้าเทวดา ไอน์สไตน์ถึงได้นับถือพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธองค์ก็บอกว่า สัจธรรมความจริง (Supreme Reality) ที่แท้จริง (หรือกฎทางฟิสิกส์) ก็คือ “ตถาตา” ไม่ใช่พระเจ้าพระบิดา - พ่อคนทั่วทั้งโลก (personal God or the Creator) จนนักคิดนักเขียนชาวเยอรมันบอกว่า “ไอน์สไตน์ผู้ไม่มีศาสนา แต่ทว่า “เป็นผู้ที่เคร่งศาสนา (แห่งจักรวาล) มากที่สุด และคงจะนับถือพุทธศาสนา หากได้รู้จักและเข้าใจพุทธศาสนาก่อนหน้านี้และมากกว่านี้” (Gerhard Staguhn : God S’ Laughter, 1994) จริงๆ แล้วหากจะพูดว่าเป็นสปิโนซากับไอน์สไตน์ที่ดึงทั้งสองศาสตร์ซึ่งต่างก็พยายามให้ความจริงที่แท้จริง -  และความหมายของการเกิดมาซึ่ง “ชีวิต” ซึ่งนีลส์ บอห์ร เป็นคนที่พูดเองว่า มองจักรวาลที่มีการเกิดกับการดับของดาวตลอดเวลา แล้วก็จะรู้ว่าชีวิตคนนั้นมีความหมายจริงๆ นั่น - เป็นคำพูดของนีลส์ บอห์ร แต่ผู้เขียนขอเสริมเติมต่อดังนี้ หนึ่ง ในพุทธศาสนานั้นพูดว่า อนิจจัง วัตสังขารา อุปาจารธัมมีโน....ที่ผู้เขียนขอแปลว่า ในโลกนี้จักรวาลอันเป็นวัฏสงสาร (หรือแหล่งที่มีการว่ายเวียนตายเกิด - เพราะกรรมเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งเดียว) นี้ ชีวิตต่างๆ ของสัตว์โลกที่รวมมนุษย์นั้นโดยธรรมชาติแล้วจะมีวิวัฒนาการกับการเปลี่ยนแปลงของจิตไปตลอดเวลา และความหมายของชีวิตจะกำหนดด้วยกรรมที่ได้ก่อในภพภูมินั้นๆ ไม่ใช่ความหมายของชีวิตนั้นจะจบในภพภูมิเดียว แต่จะต่อเนื่องเชื่อมโยงกันมากหลายภพภูมิทีเดียว และความตายจากชาติภพหนึ่งเดียวไม่ใช่การดับสูญทั้งหมดที่แท้จริง ความหมายจึงจะนับแต่ชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์ภพภูมิเดียวไม่ได้เพราะผิดพุทธศาสนา

นักคิดนักเขียนมากหลายทั้งที่เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักศาสนศาสตร์ได้พยายามดึงศาสตร์ทั้งสองศาสตร์เข้ามาหากัน โดยเฉพาะภายในสอง - สามทศวรรษหลังๆ มานี้ ทั้งนี้ นักคิดนักเขียนส่วนใหญ่เหล่านั้นคงจะลืมที่จะคิดว่าจักรวาลมีหน้าที่เพียงอย่างเดียวคือวิวัฒนาการให้สิ่งที่อยู่ในจักรวาลทั้งหลายทั้งปวงจะต้องมีวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงสู่ความซับซ้อนยิ่งกว่าก่อนที่จะล่มสลายดับสูญไปเพื่อการเกิดใหม่ ดังนั้นความเชื่อและความรู้ก็จะต้องมีวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงไปด้วย และความเชื่อกับศาสนาก็มีก่อนวิทยาศาสตร์และความรู้อันเป็นวิวัฒนาการของจิตรู้ไปตามสเปกตรัมของจิต ความคิดของนักคิดนักเขียนเหล่านั้นจึงไม่เป็นการยากที่จะมองเห็น นั่นคือ ทั้งสองศาสตร์ต่างก็อ้างว่าศาสตร์ของตนคือความจริงที่แท้จริงที่มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ต่างศาสตร์ก็ต่างมุ่งหวังที่จะให้อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อทางฝ่ายของตัว ซึ่งเป็นไปได้ยากเย็นแสนเข็ญยิ่งนักเพราะว่าทั้งสองศาสตร์เกิดต่างเวลากันมากดังกล่าวมาแล้ว วิทยาศาสตร์ใช้วิธีการสังเกตซ้ำๆ และตั้งอยู่บนความรู้และเหตุผล ในขณะที่ศาสนศาสตร์ใช้แต่ความเชื่อความศรัทธาและปาฏิหาริย์และช่วงวัยเมื่อยังเป็นเด็กๆ  เพราะฉะนั้นต่างฝ่ายต่างก็มีจุดอ่อนจุดแข็งจึงไม่ยอมกัน ไม่ว่าเป็นความงมงายเชื่อง่ายของศาสนศาสตร์ หรือความไม่คงที่แน่นอนของทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องเปลี่ยนแปลงทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์กายภาพวัตถุนิยมกันบ่อยๆ จริงๆ แล้ววิทยาศาสตร์กายภาพวัตถุนิยมเอง นักวิทยาศาสตร์กายภาพก็บอกว่าเป็นความจริงได้เพียง 98-99 % เท่านั้น ฉะนั้นวิทยาศาสตร์จึงหวังพึ่งควอนตัมแมคคานิกส์ที่แม้ว่ามีความไม่แน่นอนอยู่บาง (คลื่นของความเป็นไปได้) แต่นั่นก็เป็นความจริงที่แท้จริงของทฤษฎีที่รู้กันว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก คือ ต้องเป็นความจริงที่แท้จริงเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม (นั่นคือ ควอนตัมแมคคานิกส์เป็นความจริงมากกว่าวิทยาศาสตร์กายภาพวัตถุนิยมเป็นหมื่นเป็นแสนเท่า) 

ฉะนั้น ดังที่เล่าไปแล้วหลายหนในคอลัมน์นี้ว่า เมื่อวันที่ 26 เดือนพฤษภาคม ปี 1996 นักควอนตัมฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยโอเรกอน อมิต โกสวามี ได้รับเชิญให้ไปพูดเรื่องที่คล้ายๆ กับเรื่องนี้ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เบิร์กเลย์ อมิต โกสวามี ได้กล่าวต่อหน้าอาจารย์และนักศึกษา 3,000 คนว่า ควอนตัมแมคคานิกส์บอกว่าในทางวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่แล้ว ศาสนศาสตร์ให้ความจริงแท้อย่างไม่มีข้อโต้แย้งสงสัยใดทั้งนั้น (in complete agreement)
ไม่รู้ว่าที่เล่ามานั้น จะเกี่ยวอะไรกับไอน์สไตน์หรือไม่?

http://www.thaipost.net/sunday/170411/37227

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความทรงจำนอกมิติ : รูป นาม วิญญาณกับจักรวาลวิทยา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2466 กระทู้ล่าสุด 21 กุมภาพันธ์ 2553 14:00:45
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : วิวัฒนาการสุดท้ายของสังคมมนุษย์
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2744 กระทู้ล่าสุด 08 มีนาคม 2553 08:52:02
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : ประวัติศาสตร์คือบันทึกความสัมพันธ์ของดินกับฟ้า
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2055 กระทู้ล่าสุด 05 เมษายน 2553 08:47:42
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : ทฤษฎีรวมแรงทั้งหมดกับพุทธศาสนา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 1998 กระทู้ล่าสุด 18 เมษายน 2553 17:16:25
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : มนุษย์กับโลกไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2051 กระทู้ล่าสุด 03 พฤษภาคม 2553 08:42:23
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.364 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 11 พฤศจิกายน 2566 06:20:20