[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 04:42:45 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทางที่เดินมา กับ เวลาที่เดินไป บนสะพานไม้แห่งธรรม ภูทอก จ.บึงกาฬ  (อ่าน 1233 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2559 13:08:12 »



ทางที่เดินมา กับ เวลาที่เดินไป บนสะพานไม้แห่งธรรม ภูทอก จ.บึงกาฬ

ถ้าคุณคิดว่าจะได้เห็นและสัมผัสอะไรแบบนั้น มันสมควรที่เราจะต้องมาเดินบนสะพานไม้แห่งนี้ให้ได้สักครั้งในชีวิตไม่ใช่หรือ.?

ภูทอก..ต้อนรับพวกเราด้วยฝนปรอยๆ เช้านี้...จึงเป็นการเริ่มต้นการเดินทางที่แฝงความสดชื่นไว้อย่างประหลาด เหมือนมีพลังของความแจ่มใสเจืออยู่ในความเย็นฉํ่าของเม็ดฝนเหล่านั้น และฝนก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคกับวิถีชีวิตยามเช้าของที่นี่แต่อย่างไร

พระสงฆ์ยังคงเดินออกบิณฑบาตเท้าเปล่าเปลือยยังคงเดินไปตามถนนฉํ่าฝน สองข้างทางเป็นวิวสวนยางที่เจริญงอกงามไม่ต่างไปจากภาคใต้เมื่อพระไม่กลัวฝน ชาวบ้านริมสวนยางก็ไม่กลัวเปียก ตลอดเส้นทางที่มุ่งไปยังภูทอกซึ่งเป็นที่ตั้งของ วัดเจติยาคิรีวิหาร เราจึงได้เห็นชาวบ้านออกมานั่งรับฝนพรำ ๆ รอใส่บาตรข้าวเหนียวตามวิถีของคนพุทธที่นี่


ภูทอก มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน โดยวัดจากฐานถึงยอด 460 เมตร เป็นที่ธรณีสงฆ์ 78 ไร่ 3 งาน 18 ตารางวา ทำให้พวกเรามองเห็นภูทอกตั้งแต่เข้ามาตามเส้นทางบึงโขงหลง ตามประวัติว่าไว้ว่า วัดเจติยาคิรีวิหาร หรือ ภูทอก ถูกค้นพบโดยพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ กับพระครูสิริธรรมวัฒน์ ที่ได้มาปักกลดอยู่ในถํ้าภูทอก ด้วยเห็นว่าที่นี่มีบรรยากาศที่เหมาะสมกับการนั่งปฏิบัติธรรม ต่อมาชาวบ้านคำแคนพร้อมใจกันอาราธนาให้สร้างเป็นวัดขึ้นที่ภูทอก มาจนถึงปี 2512 จึงได้ริเริ่มจัดสร้างสะพานไม้และบันไดขึ้นชมทัศนียภาพรอบๆ ภูทอก เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธรักษ์

ใครที่ได้มาเห็น มาเดินบนสะพานไม้ที่รายล้อมเป็นทางเดินวนไปรอบภูทอกแห่งนี้ จะต้องรู้สึกเหลือเชื่อว่าช่างท้องถิ่นบ้านนาคำแคน เค้าทำอย่างไรถึงสร้างบันไดและสะพานไม้ไต่หน้าผาที่สูงชันขนาดนี้ ไม่ใช่สั้น ๆ นะครับ เพราะสะพานแห่งนี้สูงและวนรอบภูเขาขึ้นไปถึง 6 ชั้น เลยทีเดียว (ปัจจุบันภูทอกมี 7 ชั้น) และแม้สะพานไม้มันจะดูเสียววาบ เหมือนว่าจะร่วงหล่นลงมาวินาทีไหนก็ได้ แต่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่ดั้นด้นเดินทางมาก็เพราะเสน่ห์ของสะพานแห่งนี้แหละครับ ผมเองก็เช่นกัน ต่างแค่ว่าผมมาไม่ใช่เพราะแค่อยากสัมผัสสะพานไม้ แต่ผมชอบความหมายของคำว่า ภูทอก ที่แปลว่า ภูเขาอันโดดเดี่ยว




ยิ่งน่ากลัว...ยิ่งท้าทาย  ยิ่งปีนป่าย...ยิ่งเข้าถึง ทางขึ้นภูทอก ทำเป็นซุ้มสวยงาม มีป้ายบอกว่าภูผาแห่งนี้ คือ บริเวณวัด ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป เพราะฉะนั้นการเดินขึ้นภู จึงควรปฏิบัติและให้เกียรติสถานที่ คือ เดินด้วยสมาธิ ไม่ส่งเสียงดัง และสำหรับท่านสุภาพสตรีก็ห้ามใส่กางเกงขาสั้นเสมอหูขึ้นไปนะครับ สำหรับใครที่ติดนํ้าขวดขึ้นไปกินก็อย่าลืมเอาลงมาด้วย

ช่วงแรกของการขึ้นภูทอกชั้นที่ 1 และ 2 เราจะเจอกับทางขึ้นที่เป็นบันไดไม้ที่ค่อนข้างสูงชัน ผมเรียกว่าเป็น “เส้นทางช่วงปรับทัศนคติ” เพราะจะมีป้ายที่เขียนเป็นคติเตือนใจไว้ตลอดทาง ซึ่งผมว่าก็เหมาะมากแล้ว เพราะบันไดช่วงนี้ถ้าจะให้เดินรวดเดียวก็คงเป็นลมกันพอดี เมื่อมีป้ายคำคม ๆ ความหมายดี ๆ เราก็ค่อย ๆ เดินอ่านขึ้นไปเรื่อยๆ แค่หนึ่งเพลิน เราก็มาถึงทางแยกของบันได

ทีมงานบางส่วนแยกเดินไปทางซ้าย ส่วนผมเลือกเดินไปทางขวา เพราะอยากรู้ว่าจะเจออะไรเหมือนๆ กันหรือเปล่า เดินขึ้นมาไม่นานก็มาเจอสะพานไม้ที่ชาวบ้านช่วยกันลงมือทำ แม้วันนี้จะมีการทำใหม่ดูแข็งแรงขึ้น แต่เมื่อมายืนอยู่บนสะพานไม้ที่สูงขนาดนี้ก็อดเสียววูบทุกก้าวเดินไม่ได้


ผมเดินวนไปตามทางผ่านชั้นสามและชั้นสี่ มีทางลัดตรงไหนก็ไม่ขึ้นเพราะอยากเดินไปเห็นในทุก ๆ รายละเอียดของสะพานแห่งนี้ เมื่อเดินขึ้นมาถึงชั้นห้า...ก็รู้สึกได้ว่าน่าหวาดเสียวที่สุด โดยเฉพาะหลายโค้งหักศอกที่เวลาเดินแล้วเหมือนตัวเราจะยื่นออกในอากาศ ทุกคนที่ขึ้นมาถึงชั้นนี้ จึงล้วนเดินด้วยความสงบนิ่ง ใครที่เคยเดินเท้าหนัก จะลงฝีเท้าแบบนุ่มเนียนไปโดยปริยาย ผมเองก็เดินแบบค่อย ๆ ก้าวขาไปทีละก้าว บางช่วงเสียวเท้าจนต้องหยุดเดิน

เดินไปเรื่อย ๆ ก็มาเจอกับสะพานหินธรรมชาติที่เชื่อมภูทอกไปยังภูเขาเล็ก ๆ ด้านบนยอดมีหินก้อนใหญ่ตั้งอยู่คล้ายจะหล่นลงไปได้ทุกเมื่อ และเมื่อเดินไปตามสะพานหินธรรมชาติก็พบว่าใต้หินก้อนใหญ่นั้น คือ พุทธวิหาร อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พวกเรานั่งอยู่ที่นี่นานมาก เพราะยิ่งนั่งก็ดูเหมือนยิ่งสบาย ไม่ใช่เพราะเหนื่อยล้าจากการเดิน แต่เป็นความสบายของจิตใจที่ผ่อนคลายและรู้สึกสงบร่มเย็น ผมเองก็รู้สึกเช่นนั้น

เมื่อผ่านชั้นห้าไปยังชั้นหก แม้จะสูงขึ้นไปอีกชั้นก็ไม่น่าหวั่นวิตกอะไรแล้ว เพราะรู้แล้วว่า เราสมควรจะต้องเดินแบบไหนจึงจะถูกกาลเทศะและรู้สึกไม่หวาดเสียว บนชั้นหกนี้ก็มีจุดที่ตั้งพระพุทธรูปหลายจุด ความสูงทำให้เรามองออกไปเบื้องหน้า เห็นความเขียวชอุ่มของสวนป่ายางขนาดใหญ่ชนิดสุดลูกหูลูกตา เมื่อเดินไปจนสุดทางจะมีบันไดขึ้นไปชั้นเจ็ดซึ่งเป็นชั้นสูงสุดและเป็นทางเดินป่าซึ่งผมตัดสินใจไม่ขึ้นไป




ไม่มีเส้นทางที่เราคุ้นเคย มีคนบอกว่าใครทำธุรกิจ ให้มาเดินที่นี่แล้วจะรู้ว่าจริง ๆ แล้วไม่มีเส้นทางไหนที่เราคุ้นเคย แม้จะเดินผ่านมาแล้ว หรืออีกนัยนึงก็คือ อย่าหลงไปคิดว่าประสบการณ์ที่ผ่านมา จะทำให้เรารู้จักเส้นทางนั้น ๆ อย่างถ่องแท้ เพราะทางที่เราเห็น ๆ อยู่นั้น อาจไม่เป็นอย่างที่คิดเสมอไป

ตอนแรกผมก็ไม่เข้าใจ แต่เมื่อขาเดินลงภูทอกจึงถึงบางอ้อ เพราะตอนแรกก็คิดว่าขึ้นมาอย่างไรก็ลงไปทางนั้น แต่ที่ไหนได้ สะพานไม้ที่เดินมากลับดูหลอกตาเหมือนกันไปหมด นึกว่าเดินลงทางเดิม แต่จริง ๆ เราอาจเผลอลงไปอีกทาง และผมก็หลงลงไปอีกทางจริง ๆ โดยไม่รู้ตัว ซึ่งก็พาให้ได้มาเจอเวิ้งถํ้าสวยงามจุดหนึ่งที่เรียกว่า “กุฏิถํ้ายาว” บริเวณนี้มีการจัดวางรูปหล่อองค์พระเกจิอาจารย์แทบจะเรียกได้ว่าเกือบครบทุกองค์ เฉพาะที่นับได้ในขณะนี้ี มี 40 องค์ ใครนับถือเกจิอาจารย์องค์ไหนก็มีให้กราบไหว้แน่นอน

จุดนี้จึงเป็นจุดที่ดูขลังเอามาก ๆ และเป็นมุมที่สวยด้วยลวดลายของหินที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นมาจนแทบไม่เห็นเหลี่ยมหินแหลมคม แต่บริเวณนี้มีแต่หินลักษณะโค้งมนกลมกลึงเหมือนมีใครเอากระดาษทรายมาขัดภูเขาส่วนนี้ยังไงอย่างงั้น






จากนั้นเราก็ต้องเดินลอดช่องหินแคบ ๆ ระยะนึง เมื่อโผล่ออกมาก็เจอบันไดเชื่อมสู่ชั้นที่ 2 แบบไม่รู้ตัว มันทำให้ผมรู้สึกว่าต่อให้เราเดินขึ้นไปอีกสักสองสามครั้ง ผมก็เชื่อว่า เราไม่มีทางเก็บรายละเอียดต่าง ๆ บนภูทอกนี้ได้หมด พิสูจน์ด้วยการถามเพื่อนที่ขึ้นไปอีกทางนึง สิ่งที่เค้าไปเจอ คือ ถํ้าต่าง ๆ มีถํ้าพญานาคและถํ้าฤษี ที่ผมไม่ยักจะเห็น และอื่น ๆ จนเหมือนขึ้นไปคนละภู

ถ้าถามว่าคุ้มไหมกับการเดินทางไกลไปบึงกาฬ เพื่อจะแค่มาขึ้นเดินบนสะพานไม้บนภูทอก คงต้องตอบว่า ถ้าคิดว่ามันเป็นแค่สะพานไม้ที่ท้าทายละก็ จะมาก็ได้ ไม่มาก็ได้ครับ แต่ถ้ามองว่า ไม้แต่ละขั้น ตะปูแต่ละดอก ที่ตอกตรึงให้สะพานไม้เหล่านี้ กำลังพาเราเดินไปสัมผัสกับบันไดชีวิต ฉุดให้เราได้คิด ได้เห็น ได้ทบทวนกับทุกก้าวย่างที่ผ่านมา ทั้งก้าวที่สำเร็จ และก้าวที่เคยผิดพลาด ถ้าคุณคิดว่าจะได้เห็นและสัมผัสอะไรแบบนั้น มันสมควรที่เราจะต้องมาเดินบนสะพานไม้แห่งนี้ให้ได้สักครั้งในชีวิตไม่ใช่หรือ.?.


รัฐรงค์ ศรีเลิศ-เรื่อง/ทีมงานนิตยสารหนีกรุง-ภาพ
www.Facebook/neekrungmagazine
ขอบคุณภาพและบทความจาก : http://www.dailynews.co.th/article/505906

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21685.msg69102;topicseen#msg69102

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.31 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 18 เมษายน 2567 05:10:42