[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 18:08:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจสอบว่ากำลังเดินถูกทางหรือไม่ จาก“การรับรู้ทางธรรมสามระดับ” ของเตชุง ริมโปเช  (อ่าน 884 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5075


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2559 04:37:18 »



จากหนังสือเรื่อง “การรับรู้ทางธรรมสามระดับ” ของเตชุง ริมโปเช:

__

พวกเรามีโชคดีเป็นอันมากที่ได้มีโอกาสรับฟังคำสอนอันนำไปสู่การหลุดพ้น เราไม่ควรหลอกตัวเองเกี่ยวกับสถานะในปัจจุบันของเรา แม้ว่าเราจะได้เกิดมาในเวลาและสถานที่ที่มีคำสอนอยู่ เรามีความสามารถเข้าใจคำสอนนั้น มีโอกาสได้พบพระอาจารย์ที่เต็มใจสอนเรา และมีเวลาพอที่จะปฏิบัติ แต่หากเราถือเอาโอกาสอันดียิ่งเหล่านี้ว่าเป็นของเราอยู่ตั้งแต่ต้นโดยไม่คิดว่าโอกาสเหล่านี้มีค่าและหาได้ยากยิ่งเพียงใด และยิ่งหากเราละเลยไม่ใส่ใจต่อการปฏิบัติ เราก็เรียกได้ว่ากำลังหลอกตัวเอง ไม่ว่าโอกาสปัจจุบันจะดีเพียงใด แต่หากเราไม่ใช้ประโยชน์ก็ไม่มีความหมายอะไร

สมเด็จดาไลลามะเคยตรัสไว้ว่า “การรับฟังพระธรรมแต่เพียงอย่างเดียวนั้นไม่พอ เราต้องลงมือปฏิบัติเองด้วย” หากเราหยุดคิดเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของเรา ว่าไม่มั่นคงเพียงใด เราก็จะมองเห็นความโง่เขลาของการเรียนรู้แต่เพียงทฤษฎีและปฏิบัติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นี่เป็นความผิดพลาดที่ทำกันมาก และเป็นความผิดพลาดอันใหญ่หลวง หากเราปรารถนาจะเป็นมากกว่าเพียงชาวพุทธแต่ในนาม เราต้องเพียรฝึกฝนจิตด้วยความวิริยะอุตสาหะ

เมื่อเราปฏิบัติอย่างจริงจังบนเส้นทางสู่การตรัสรู้ เราก็น่าจะพบกับกระแสประสบการณ์สามอย่าง อย่างแรกได้แก่ว่าเราควรจะมีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกับความทุกข์ของผู้อื่น รวมทั้งกับเหตุแห่งความทุกข์ ความใหญ่หลวงของความทุกข์ และความไม่มีวันจบสิ้นของความทุกข์นั้น เมื่อคิดได้เช่นนี้ก็จะเกิดความโศกเศร้าสงสารผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากเช่นนั้นและจะต้องทนทุกข์ต่อไปอีกในอนาคต จากความโศกเศร้านี้ที่มีแก่สรรพสัตว์และแก่โลก ก็จะเกิดความรู้สึกละวางจากโลก อันเป็นความเต็มใจที่จะสลัดการยึดมั่นถือมั่นสิ่งต่างๆที่ไม่สำคัญทิ้งไป และหันเหจิตให้เข้าหาสิ่งที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง

อย่างที่สอง เมื่อเรามีความรู้สึกที่จะละวางจากสังสารวัฏแล้ว เราก็จะเกิดแรงปณิธานที่จะทำอะไรบางอย่างเพื่อสรรพสัตว์ขึ้นมาในจิตของเราโดยธรรมชาติ เมื่อเราปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน หรือเมื่อเราปฏิบัติกรรมอันเป็นกุศลอื่นๆหรือปฏิบัติกิจทางพระศาสนา (เช่นช่วยเหลือสรรพสัตว์อย่างถูกต้อง หรือปฏิบัติเพื่อให้สามารถช่วยเหลือสัตว์เหล่านั้นได้) เราก็จะเกิดโพธิจิตขึ้นในใจ อันได้แก่ปณิธานที่จะให้ได้มาซึ่งประโยชน์อันสูงสุดแก่สรรพสัตว์ทั้งมวล

อย่างที่สาม เมื่อเราเกิดแรงปณิธานที่จะทำงานเพื่อประโยชน์ของสัตว์โลกแล้ว ก็จะเกิดสัมมาทิฐิเกี่ยวกับธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งต่างๆขึ้นมาเองจากความกรุณาอันนี้ เราเกิดความเข้าใจพระธรรมอย่างชัดเจน ทุกสิ่งทุกอย่างมีความหมาย เป็นที่เข้าใจได้ ไม่เพียงแต่ในทฤษฎีเท่านั้น แต่จากมุมมองจากภายในและเป็นมุมมองในเชิงปฏิบัติด้วย เราเข้าใจธรรมชาติของจิต จุดหมายในชีวิตของสัตว์โลกทั้งมวล และวิธีการที่ดีที่สุดที่จะยังประโยชน์ในแก่สัตว์โลกนั้นๆ นี่เรียกว่าการเกิดขึ้นของสัมมาทิฐิหรือความเห็นที่ถูกต้อง

ผู้ปฏิบัติธรรมมหายานที่แท้จริงทุกคนจะต้องผ่านประสบการณ์ทั้งสามนี้ อันได้แก่ (1) การละวางจากสังสารวัฏ (2) ปณิธานที่จะทำงานเพื่อยังประโยชน์อันสูงสุดให้แก่สรรพสัตว์ และ (3) สัมมาทิฐิ หากเราสงสัยว่าเรากำลังก้าวหน้าไปในการปฏิบัติของเราหรือไม่ เราก็เพียงแต่ถามว่าเรามองเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างนี้หรือไม่ สามอย่างนี้มีบทบาทต่อกระแสความคิด กระแสจิตใจของเราอย่างไรบ้างหรือไม่? หากเราสามารถมองเห็นการพัฒนาของประสบการณ์สามอย่างนี้ในจิตใจ ก็จะเป็นสัญญาณบอกว่าเรากำลังก้าวหน้ามาถูกทางแล้ว

จาก https://soraj.wordpress.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ฝันเห็นเสือ (จาก “การเห็นทางธรรมสามระดับ” ของเตชุง ริมโปเช)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 2854 กระทู้ล่าสุด 26 พฤศจิกายน 2553 18:47:58
โดย หมีงงในพงหญ้า
การละวางจากตัวตน โดย ท่านกุงกา ซังโป ริมโปเช
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 2176 กระทู้ล่าสุด 26 พฤศจิกายน 2553 18:50:10
โดย หมีงงในพงหญ้า
พลังแห่งกรุณาคือการเยียวยาสูงสุด ( ผู้เขียน ลามะโซปะ ริมโปเช )
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1420 กระทู้ล่าสุด 15 มกราคม 2554 09:32:46
โดย มดเอ๊ก
ปาฐกถาธรรม ศิลปะแห่งการอยู่และการตาย โดย ท่านโซเกียล ริมโปเช
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 1863 กระทู้ล่าสุด 29 มิถุนายน 2559 21:38:00
โดย มดเอ๊ก
การเจริญปัญญาแบบทิเบต โดย พระอาจารย์กุงกา ซังโป ริมโปเช
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1140 กระทู้ล่าสุด 06 กรกฎาคม 2559 13:20:28
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.394 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 18:55:39