[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 14:01:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน  (อ่าน 1432 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2559 11:16:31 »

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka30.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน

การแสดงระบำหน้ากากที่พูนาคานั้นเป็นเรื่องที่พิเศษมาก ด้วยเหตุที่พูนาคามีเรื่องราวให้น่าจดจำเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์ได้ ในส่วนของการต่อสู่ระหว่างกองทัพของท่านซับดรุง งาวัง นัมเกล กับกองทัพของทิเบตที่กล่าวมาแล้ว

อีกทั้งการร่ายรำ ยังเสมือนเป็นการถ่ายทอดตำนานแห่งพระพุทธศาสนาตันตระยาน และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของพระโพธิสัตว์และเทพยดาทั้งปวง ท่วงท่าที่ร่ายรำนั้นเป็นแบบโบราณที่สืบทอดกันมายาวนานหลายร้อยปี และชาวภูฏานเชื่อว่าท่าร่ายรำต่างๆนี้มาจากนิมิตของท่านกูรู รินโปเช ดังนั้นการแต่งกายและท่วงท่าร่ายรำจึงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มิอาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆได้

ระบำทางศาสนาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ :

ระบำเทศนาซึ่งมีเนื้อหาในการสั่งสอนศีลธรรม (ระบำเจ้าชายและเจ้าหญิง ระบำกวางกับสุนัขล่าเนื้อ ระบำพิพากษาวิญญาณ)

ระบำเพื่อสร้างความบริสุทธิ์และปกป้องคุ้มครองสถานที่ไม่ให้วิญญาณร้ายมาคุกคาม (ระบำเจ้าแห่งเชิงตะกอน ระบำกวาง ระบำเทพเจ้าภาคดุร้าย ระบำหมวกดำ ระบำกิงกับโชลิง ระบำกิงรำไม้เท้า ระบำกิงรำดาบ)

ระบำประกาศชัยชนะของพุทธศาสนาและบารมีของท่านคุรุริน เปโช (ระบำที่ใช้กลอง ระบำวีระบุรุษ ระบำภาคสำแดงเดชทั้งแปดของคุรุรินเปโช)

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka51.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


ดรอมเช (Dromche) : เป็นพิธีกรรมร่ายรำบูชาเทพเยเชกมโป (ท้าวมหากาฬ เทพยดาผู้ปกปักรักษาภูฏาน) และเทพเปลเด็นฮาโม (เทพมหากลี เทพธิดาผู้ปกปักรักษาภูฏาน) หรือเรียกรวมๆว่า “ธรรมบาล” หรือผู้ปกป้องพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งอาจจะปรากฏในร่างสัตว์นานาชนิด เช่น ควายป่า วานร กวาง ครุฑ และอื่นๆอีกมากมาย ตามคติความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายวัชระยานตันตระ หรือศาสนาพุทธแบบทิเบต

ซึ่งเดิมนั้นแม้ภูฏานจะดินแดนทางตอนใต้ของทิเบต แต่เมื่อทิเบตถูกผนวกไปเป็นส่วนหนึ่งของจีน และภูฏานแยกตัวออกมาเป็นประเทศอิสระ … ปัจจุบันภูฏานจึงเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีผู้คนนับถือศาสนาพุทธนิกายวัชระยานตันตระอย่างเคร่งครัด

นิกายนี้เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีหลายองค์ แต่ละองค์มีคู่ครอง หรือ “ตาระ” เช่นเดียวกับเทพเจ้าของฮินดูที่มีชายา โดยเพศชายเป็นสัญลักษณ์ของความกรุณา และเพศหญิงเป็นสัญลักษณ์ของปัญญา

รูปเคารพของฝ่ายวัชระยานจึงตันตระจึงปรากฏเป็นพระพุทธรูปที่มีสตรีเปลือยกายนั่งคร่อมอยู่ที่ตัก อันมีความหมายว่าหาก “ปัญญา” กับ “กรุณา” มาสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน ก็จะเป็นพลังไปสู่การหลุดพ้นหรือการบรรลุธรรม หาใช่เรื่องวิตถารลามกอย่างที่เข้าใจกันผิดๆ

ความเชื่อนี้ถูกแปลเป็นคำสอนให้ผู้ที่เลื่อมใสนิกายวัชระยานตันตระนำไปปฏิบัติจริง คือ “ให้ความกรุณา”ต่อผู้อื่นโดยไม่จำกัด แล้วจะได้ “ปัญญา” กลับมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด



นิกายนี้เต็มไปด้วยเครื่องมือช่วยให้บรรลุธรรม เช่นบทสวดที่ยืดยาวก็ถูกย่อให้สั้นและง่ายเพียง 6 พยางค์ คือ “โอม มณี ปัทเม หุม” (ขออัญเชิญสัจธรรมคำสอนของพระพุทธองค์อันล้ำค่าดุจอัญมณี มาสถิตย์ในดวงใจบริสุทธิ์ดั่งบัวพ้นน้ำของข้าพเจ้าเทอญ) ปากก็ท่องไป มือก็หมุนกงล้อมนตราไป ชั่วเวลาที่กงล้อหมุนก็เท่ากับสวดมนต์จบไปอีกบทหนึ่ง

วันหนึ่งๆ ชาววัชระยานอาจจะสวดมนต์จบเป็นหมื่นๆบท ยังไม่นับการประดับธงมนตราหลากสี ให้ลมพัดมนตราปลิวไปคุ้มครองบ้านเรือน ไร่นา และผู้คน

.:.:.: นี่จึงเป็นที่มาของชื่อนิกาย “วัชระยาน” อันมีความหมายถึงคำประกาศที่ว่า นี่คือ “ยาน” ที่สามารถบรรลุธรรมได้รวดเร็วปานวัชระ (สายฟ้า) ละยังเป็นยานที่แข็งแกร่งดั่งวัชระ (เพชร) อันยากที่จะมีสิ่งใดมาทำลาย :.:.:.

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka43.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


ในสมัยขอเดสิ เต็นซิน รับแก ได้มีการสืบสานประเพณีดรอมเชนี้ ซึ่งเป็นเทศกาลทางพระพุทธศาสนา เพื่อสวดมนตราและสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องรักษาภูฏานไว้ ให้ดำรงคงอยู่ อันเป็นประเพณีที่ตกทอดมาจากการบุกเบิกของท่านงาวัง นัมเกล จนเป็นเอกลักษณ์ของภูฏานไปแล้ว

นอกจากนี้เต็นซิน รับเก ยังได้เพิ่มรายละเอียดของพิธีกรรม ชุดการแสดง และการรายรำของพระลามะในเทศกาลสำคัญที่ทั่วโลกรู้จักกันดี นั่นคือ เทศกาลเซจู หรือ เทศกาลระบำหน้ากาก (Mask Dance Festival) เพื่อรำลึกถึงวันประสูติของกูรู รินโปเช ที่ชาวภูฏานเคารพศรัทธา

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka39.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


ณ ลานกว้างใจกลางป้อมปราการแห่งเมืองพูนาคา ราชธานีเก่าของภูฏาน เสียงฉาบ กลอง และแตรยาวที่บรรเลงโดยพระสงฆ์ดังขึ้น เป็นสัญญาณว่าบัดนี้ “ดรอมเช-เตชู” เทศกาลแห่งพลังศรัทธากำลังจะเริ่มขึ้น

หากเราย้อนกลับไปยังช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว คำสอนของพระองค์ถูกตีความไปหลายทาง … จากทางตรงตามคำสอนในพระไตรปิฎกของ “สายเถรวาท” สู่การตีความของพระสงฆ์ชั้นหลังที่เรียกว่า “อาจาริยะวาท” หรือ “มหายาน” พัฒนาการไปสู่ “วัชระยาน” และ “วัชระยานตันตระ” หรือนิกายลามะแบบทิเบตตามลำดับ … ซึ่งนิกายลามะเองก็ยังแบ่งออกไปเป็นหลายสำนัก มีการต่อสู้แย่งชิงการนำกันเอง รวมถึงต้องต่อสู้แย่งมวลชนกับศาสนาฮินดูอย่างมาก

เวทมนตร์ คาถา เสื้อผ้าสีฉูดฉาด เครื่องดนตรีให้จังหวะ จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเสริมการสวดมนต์ที่กระแทกจังหวะหนักๆ เพื่อกำราบภูตผีปีศาจ และเรียกความสนใจจากมวลชน ทั้งยังเป็นมรรควิธีในการต่อสู้กับความหนาวเหน็บบนดินแดนหลังคาโลกอีกด้วย

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka65.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka66.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


ในช่วงเทศกาลการแสดงระบำหน้ากาก … สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ “อัตซารา” หรือนักแสดงตลก ผู้ใช้หน้ากากและท่วงท่าสื่อถึงอารมณ์ คอยแสยะหน้าล้อเลียนพระและเล่าตลกสองแง่สองง่าม ทำท่าชวนหัวให้ผู้คนได้หัวเราะเฮฮาเมื่อระบำธรรมะเริ่มจะน่าเบื่อขึ้นมา … เชื่อกันว่า อัตซารา เป็นตัวแทนของบรรดาเกจิอาจารย์ในอินเดีย พวกเขาเป็นกลุ่มเดียวที่ได้รับอนุญาตให้นำเอาศาสนามาล้อเลียนได้ในสังคมที่ถือว่าเรื่องพระเรื่องเจ้าเป็นของสูง

เทศกาลทางศาสนาส่วนใหญ่แล้วจะจักแสดงระบำเพียง 2-3 อย่าง … การแสดงของพระลามะและฆราวาสในเทศกาลนี้ที่พูนาคา ซองก์ จึงเป็นการจัดการแสดงให้คนหลายสิบคนแต่งตัวถืออาวุธเป็นนักรบกองทัพทิเบต ยืนส่งเสียงโห่ร้อง ทำกิริยาคุกคาม … ต่อมาทางฝ่ายธรรมะก็เข้ามาต่อสู่ และแน่นอนค่ะ เป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka29.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


ระบำหมวกดำ (Chang Nga Cham-Black Hat Dance) : การแสดงชุดนี้ใช้ผู้แสดงเป็นตัวแทนของเทพเจ้าทางตันตระผู้ทรงฤทธานุภาพ เสด็จลงมาเพื่อขับไล่วิญญาณร้ายและสร้างความบริสุทธิ์ให้กับมณฑลที่ใช้แสดงระบำในทุกย่างก้าวที่เยื้องกรายไป

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka24.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka25.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka26.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka27.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka28.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


พระลามะจะใส่ชุดนักรบสวมหมวกดำ กวัดแกว่งดาบฟาดฟันศัตรู แสดงถึงพลังการเคลื่อนไหวในชุดเครื่องแต่งกายที่ตระการตา ประกอบเข้ากับจังหวะของฉาบ กลอง และเสียงก้องกังวานของแตรขนาดใหญ่ …

เล่าขานตำนานการสังหารพระเจ้าลังดามาแห่งทิเบตในปี 842 พระองค์ชิงชัง รังเกียจ และกระทำย่ำยีพุทธศาสนา โดยสั่งให้เผาวัด เผาคัมภีร์พระไตรปิฎก จับพระลามะมาแล่เนื้อ หวังกำจัดนิการลามะ หรือลัทธิวัชระยานตันตระให้สิ้นซาก

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka29.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka30.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka31.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka32.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


จนมีลามะผู้กล้ารายหนึ่งนามว่า เปลกี โดร์จี ทนไม่ได้ จึงปลอมตัวไปร่วมพิธีเต้นรำบูชาปีศาจที่กษัตริย์อธรรมจัดขึ้น ซ่อนคันธนูไว้ในแขนเสื้อ … พอได้จังหวะก็ชักธนูออกมาปลงพระชนม์ แล้วขี่ม้าสีดำหนีไปทางแม่น้ำ

ม้าที่ดูเป็นสีดำเพราะถูกเขม่าทา พอขึ้นจากน้ำก็กลับกลายเป็นม้าสีขาว … ส่วนพระลามะก็เปลี่ยนชุดกลับไปร่วมพิธีโดยไม่มีใครจับได้ หลังจากนั้นนิกายลามะก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว พุทธวัชระยานจึงคงอยู่ในดินแดนแถบหิมาลัยอย่างยั่งยืนตลอดมา

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka33.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka34.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka35.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka36.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka37.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


ในช่วงที่มีการแสดงชุดนี้ ผู้แสดงจะรัวกลองไปในขณะที่ขยับตัวไปตามจังหวะ เพื่อแสดงชัยชนะที่มีเหนือภูติผีปีศาจและวิญญาณชั่วร้าย

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka40.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


ระบำกิงกับโชลิง : กล่าวกันว่าคุรุริน โปเช ทรงแสดงระบำนี้เป็นครั้งแรกด้วยพระองค์เองในศตวรรษที่ 8 ที่อารามซัมเม ในประเทศทิเบต

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka39.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka40.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka41.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka42.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


โชลิง คือบรรดาเทพเจ้าผู้ปกปักรักษาพุทธศาสนาในภาคดุร้าย ออกมาสำแดงกายเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายและสร้างความบริสุทธิ์ให้กับสถานที่ จากนั้นพวกกิง (เหล่าผู้ติดตามคุรุ โปเช) ก็จะออกมาไช้โชลองโป แล้วยึดครองพื้นที่แทน พร้อมรัวกลองแสดงชัยชนะของพระพุทธศาสนา

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka43.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka44.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka45.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka46.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka47.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka48.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka49.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka50.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


ระบำหน้ากากจากตำนานเก่าแก่นี้ ทำให้เราประทับใจมาก ทั้งในส่วนที่ผู้แสดงสวมเครื่องแต่งกายตัดเย็บด้วยผ้าไหมยกดอกที่สวยงามอลังการมาก … ศีรษะของผู้แสดงสวมหน้ากากใบหน้าคนในสีต่างๆ ท่าทาง การเคลื่อนไหวที่ทรงพลัง แสดงถึงการฝึกซ้อมที่ยาวนาน ในบางช่วงพระลามะกระโดดจนกระโปรงบานพลิ้วน่าตื่นตา ตื่นใจมาก

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka51.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


ระบำการพิพากษาวิญญาณ : เป็นหนึ่งในระบำที่น่าสนใจที่สุดในเทศกาลนี้ เป็นระบำสั่งสอนแบ่งออกเป็น 2 องค์

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka52.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka53.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka54.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka55.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


องค์แรกเริ่มด้วยการเต้นระบำของบรรดา “รักซา” ซึ่งเป็นบริวารของพระยม ผู้แสดงจะสวมชุดกระโปรงสีเหลืองกับหน้ากากรูปสัตว์

จากนั้นพระยายม “เทพชินจี เกอกี กัลโป” จะปรากฏตัวขึ้นพร้อมลูกน้องคนสนิท … พระยายมราช เทพแห่งความตายที่ปรากฏตัวในชุดผ้าไหมยกดอกสีแดงสดที่ศีรษะสวมหัวควายป่า คล้ายกับพระยายมราชของฮินดูที่ทรงมหิงสาเป็นพาหนะ … ชาวพุทธวัชระยาน อธิบายว่า พระยายมราชของพวกเขาเป็นอวตารหนึ่งของพระโพธิสัตว์มัญชุศรี พระโพธิสัตว์ผู้ทรงปัญญาธิคุณ และยังทรงเป็นเทพเจ้าแห่งความตาย เป็นผู้ปกครองโลกทั้งสาม คือโลกบาดาล มนุษย์ และสวรรค์

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka56.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka57.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka58.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka59.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


การร่ายรำโดยพระโพธิสัตว์ของชาวพุทธวัชระยานตันตระนี้จะเป็นคู่ๆกับตาระ เพื่อล้างบาปและอำนวยโชคลาภให้ชาวบ้านที่มาร่วมงาน รวมถึงนำมาซึ่งความสว่างไสวทางปัญญา … เชื่อกันว่าพรศักดิ์สิทธิ์จะขจรขจายจากกระโปรงของพระนักแสดงมาสู่ผู้ชม

ชาวภูฏานที่ส่งสายตาจ้องเขม็งไปยังพระนักเต้นที่กำลังหมุนตัวจนกระโปรงบาน มีคำอธิบายว่า … นี่คืออาการที่พวกเขากำลังรับพรศักดิ์สิทธิ์ที่ขจรขจายมาจากชายกระโปรงของพระลามะนั่นเอง

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka60.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka61.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


ภาพของเหล่านักแสดงที่เป็นพระลามะที่สวมศีรษะเป็นรูปสัตว์หลายชนิด ซึ่งกำลังร่ายรำด้วยการหมุนตัวจนกระโปรงพลิ้วบาน สลับกับการย่างสามขุมแล้วกระทืบเท้าไปตามจังหวะฉาบและกลอง … ภาพที่เราเห็นไม่ใช่มหรสพหรือการแสดง หากแต่เป็นพิธีกรรมทางศาสนา เป็นนาฏธรรมแห่งจิตวิญญาณของชาวพุทธวัชระยาน

การร่ายรำมิใช่เพื่อความบันเทิงของผู้รำ หากแต่คือการบูชาคารวะ พร้อมๆกับการทำสมาธิอันเป็นหนทางสู่ปัญญา

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka62.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


หากย้อนกลับไปยังตำนานของการสร้างชาติของภูฏาน … เมื่อครั้งที่ท่านซับดรุง งาวัง นัมเกล หนีจากทิเบตนั้น ผู้ชี้ทางให้ท่านซับดรุงฯหนีการไล่ล่าจนมาถึงที่นี่ เป็นหัวหน้าปีศาจสองผัวเมียที่มีร่างเป็นคน หัวเป็นนกจำพวกกา ซึ่งชาวภูฏานเรียกว่า “จารก” หรือ Raven …

คุณความดีในครั้งนั้นทำให้หัวหน้าปีศาจได้รับการยกย่องเป็นหัวหน้า “ธรรมบาล” ผู้คุ้มครองคำสอนของพระพุทธเจ้า ได้นามว่า “มหาบาล” กับ “มหากาลี” มีหน้าที่คุมทัพปีศาจฝ่ายธรรมะไปต่อสู้กับปีศาจฝ่ายอธรรมที่ขัดขวางการเผยแพร่พุทธศาสนา หากมีการต่อสู่ดุเดือด บางทีจะปรากฏร่างเป็นยักษ์หลายหัว ตัวดำ พุงป่องน่าเกลียดน่ากลัว … แต่ยิ่งน่าเกลียดเท่าไหร่ ก็ยิ่งถือเป็นคุณความดีในการปกป้องศาสนาพุทธ ถึงขั้นที่ชาวภูฏานยกย่องธรรมบาลสองตนนี้เทียบเท่าพระโพธิสัตว์ หรือผู้ที่มีคุณสมบัติพร้อมที่จะไปตรัสรู้ แต่ยังไม่ไป เพราะต้องการช่วยชาวโลกที่ตกทุกข์ได้ยากเสียก่อน

นี่จึงเป็นที่มาของเทศกาลดรอมเช หรือเทศกาลบูชาธรรมบาลมหากาลกับมหากาลีผู้ยิ่งใหญ่ พร้อมๆกับการระลึกถึงท่านสังฆราชงาวัง นัมเกล ผู้ที่ทุกคนยกย่องในฐานะผู้รวมชาติสำเร็จเป็นท่านแรก

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka56.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka58.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


ช่วงเวลาอีกไม่นานต่อมา กลอง ฉาบ ก็ประโคมขึ้นมาอีกครั้ง …. คราวนี้มีพระลามะนักเต้นระบำหน้ากากออกมาเป็นชุดใหญ่จนเต็มของลานทั้งสี่ด้าน

แต่ละรูปสวมชุดผ้าไหมยกดอกหลากสีสันและรูปแบบบนศีรษะ นำโดยพญาครุฑ ตามมาด้วยเสือ สิงห์ ลิง กวาง สุนัขจิ้งจอก และควายป่า … ต่างเต้นระบำ และกระโดดหมุนตัวพร้อมกันตามจังหวะดนตรี

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka63.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka64.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


ชุดนี้เป็นการร่ายรำที่โด่งดังในชื่อ “รักชา มางชัม” (Raksha Mangcham) หรือการ่ายรำเพื่อพิพากษาบาป บุญ คุณโทษ ของผู้วายชนม์ (Dance of judgment of the death) เนื้อหาเล่าถึงเรื่อนายพรานที่ถูกวิญญาณสรรพสัตว์ที่เขาเคยล่ากลับมาจองเวร จับนายพรานมาสับเป็นชิ้นๆ … ต้องถือว่าเป็นการสอนศีลธรรม ว่าด้วยบาปแห่งการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต

นอกจากนี้ยังมีคำอธิบายว่า สรรพสัตว์ที่ออกมาร่ายรำนั้น ในอดีตคือภูตผีวิญญาณร้ายที่สิงสถิตอยู่ในบริเวณนี้มาก่อน เมื่อท่านซับดรุง งาวัง นัมเกล จะสถาปนา พูนาคาซองก์ ท่านจะต้องกำราบวิญญาณร้ายให้หมด หากภูตผีตนใดร้องขอชีวิต ท่านจะยื่นเงื่อนไขให้มาเป็นธรรมบาล คอยปกป้องคุ้มครองพุทธศาสนา และชี้นำทางคนตายไปสู่สรวงสวรรค์

การเฝ้าชมพิธีกรรมระบำหน้ากาก จึงเป็นการมาล้างบาป มารับพร และขัดเกลาศีลธรรมจรรยา รวมถึงเป็น การมาทำความรู้จักกับธรรมบาลในร่างของสัตว์ เพื่อเวลาที่เราตายแล้วไปพบท่าน ก็จะไม่ตกใจกลัว แล้วท่านจะชี้นำทางเราไปสู่สรวงสวรรค์

ธรรมบาลบางองค์ เช่นธรรมบาลวานร เดินด้วยท่วงท่าตลกๆ … เพื่อเรียกรอยยิ้ม แก้ง่วง รวมถึงขอรับบริจาคไปด้วย … ก่อนที่จะชมการร่ายรำชุดต่อไป

http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka67.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka68.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka69.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka70.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


http://i643.photobucket.com/albums/uu158/hellosupawan/Mask_Tangka71.jpg
ระบำหน้ากาก นาฏกรรมแห่งศรัทธา ของชาวภูฏาน


ระบำและดนตรีทางโลก : นอกจากระบำธรรมะแล้ว ยังมีการแสดงทางโลก โดยอาจใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง แสดงร่วมกันหรือแยกกันก็ได้ โดยปกติผู้แสดงจะเต้นไปร้องไป ส่วนในวาระที่เป็นทางการเช่นวันนี้จะมีดนตรีประกอบด้วย

ระบำส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมทิเบต หรือเนปาล ส่วนบทเพลงที่ใช้มักจะมีต้นกำเนิดมาจากศาสนาเป็นส่วนใหญ่

<a href="https://www.youtube.com/v/NpOsExM6A5M" target="_blank">https://www.youtube.com/v/NpOsExM6A5M</a>

การแสดงระบำหน้ากากในวีดีโอด้านบน เป็นการแสดงของทิเบตที่เปิดการแสดงในกรุงเทพฯเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งคล้ายกับที่ภูฏานมาก ด้วยเหตุที่มีรากเหง้ามาจากที่เดียวกัน

จาก http://www.oknation.net/blog/supawan/2012/05/12/entry-2

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.564 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 06 กุมภาพันธ์ 2567 03:31:18