[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 17:32:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จิโระ เทพเจ้าซูชิ JIRO DREAMS OF SUSHI อึ้ง ทึ่ง และ หิว  (อ่าน 3741 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 49.0.2623.112 Chrome 49.0.2623.112


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2559 09:44:42 »







ตัวอย่าง หนัง

<a href="https://www.youtube.com/v/I1UDS2kgqY8" target="_blank">https://www.youtube.com/v/I1UDS2kgqY8</a>

เอามาฝาก หนัง 2 คลิป จบ

<a href="https://www.youtube.com/v/41lSVYr8cB4" target="_blank">https://www.youtube.com/v/41lSVYr8cB4</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/S-9sZgkcA60" target="_blank">https://www.youtube.com/v/S-9sZgkcA60</a>

วัตถุดิบแต่ละประเภท จะมีช่วงเวลาที่อร่อยที่สุดของมัน เราต้องใช้ประสบการณ์ และการฝึกฝนหลายปี ในการที่จะเชี่ยวชาญเรื่องจังหวะเวลาในการเสิร์ฟซูชิ
วันนี้ผมไม่ได้มารีวิวร้านอาหารครับ แต่มาแนะนำสารคดีเกี่ยวกับอาหารญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า ”ซูชิ” เป็นสารคดีที่ขอเรียนว่า “ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง” ที่จะแสวงหามาดูกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่ชอบรับประทานซูชิหรือเฉยๆกับมันก็ตามที

สารคดีที่ว่าคือเรื่อง “JIRO DREAMS OF SUSHI” หรือในชื่อภาษาไทยว่า “จิโระ เทพเจ้าซูชิ” ในรูปแบบดีวีดีที่มีทั้งพากย์ภาษาญี่ปุ่นซึ่งเป็นต้นฉบับ และพากย์-ซับภาษาไทย ให้อ่านหรือฟังกัน ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าจะมีจำหน่ายที่ใดบ้าง แต่สำหรับผมซื้อมาจากร้านแม่งป่อง สาขาไอทีสแควร์ หลักสี่ครับ

ด้านหน้ากล่องดีวีดี ระบุว่าเป็นสารคดีที่ได้รับรางวัลมากมายมาจากหลายสถาบัน ส่วนด้านหลังให้ข้อมูลว่า เจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย คือ บริษัท ออดิโอ แอนด์ วีดิโอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด และมีโปรยเรื่องไว้ว่า

”ในชั้นใต้ดินของอาคารสำนักงานแห่งหนึ่งใจกลางกรุงโตเกียว จิโระ ชายชราอายุ 85 ปี กำลังขะมักเขม้นกับการทำซูชิอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ภัตตาคารมีระดับของเขาชื่อ สุกิยาบาชิ จิโระ มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก และใครๆ ก็รู้จักเขาในนาม เจ้าแห่งซูชิ สุดยอดสารคดี Jiro Dreams of Sushi จะพาคุณไปสัมผัสโลกอันยิ่งใหญ่ ละเอียดอ่อนและเปี่ยมสุนทรีย์ของการทำอาหารชิ้นเล็กๆ ที่เรียกว่า ซูชิ แน่นอน จิโระ มาเพื่อจะบอกคุณว่าการทำซูชิไม่ใช่เพียงแค่การวางเนื้อลงบนข้าวปั้น หากแต่มันเป็นการปรุงอาหารที่เรียกร้องสมาธิ ความเชี่ยวชาญและศิลปะชั้นสูง

นอกเหนือจากการเปิดโลกมหัศจรรย์ของซูชิให้ผู้ชมได้รับทราบ สารคดีเรื่องนี้ยังพูดถึงการเปลี่ยนผ่านมรดกทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อจิโระคิดจะวางมือจากการทำร้านอาหารและปล่อยให้ลูกชายบริหารงาน รวมถึงเป็นพ่อครัวแทน ความกดดันทั้งหมดก็จะตกมาสู่ลูกชายที่ต้องวัดรอยเท้าพ่อให้ได้ มีสารคดีไม่กี่เรื่องที่จะทำให้คุณต้องอ้าปากค้างด้วยความอึ้ง ทึ่งและหิว และ Jiro Dreams of Sushi เป็นหนึ่งในนั้น”

เดิมที สารคดีเรื่องนี้ผมได้รับคำแนะนำจาก “กัส” เพื่อนที่เป็นช่างภาพอาชีพและเป็นพ่อครัวสมัครเล่นที่รักการทำอาหารเป็นชีวิตจิตใจเมื่อไม่นานมานี้เอง เขาบอกว่าเรื่องนี้เล่าถึงคุณตาจิโร่ ซึ่งเป็นเจ้าของร้านและคนทำซูชิชื่อดังในญี่ปุ่น เป็นร้านเล็กๆที่มีที่นั่งอยู่แค่เพียง 10 ที่ มีพนักงานอยู่ไม่กี่คน เสิร์ฟซูชิ ทีละคำๆ ราคาอาหารเริ่มต้นที่ชุดละ 3 หมื่นเยน การมารับประทานต้องจองล่วงหน้าโดยประมาณ 1 เดือน และภายในร้านไม่เสิร์ฟอาหารอื่นใดนอกจากซูชิ โดยรวมเป็นซูชิที่ดูเหมือนถูกนำเสนอมาให้รับประทานกันแบบง่ายๆ ด้วยการสื่อภาพและถ่ายทำที่ตั้งใจให้ออกมาอย่างเรียบง่ายเป็นศิลปะ แต่เบื้องหลังเต็มไปด้วยความพิถีพิถันในทุกแง่มุมทั้งสองอย่าง

ผมฟังแล้วก็ไม่ทราบว่าจะไปซื้อที่ไหน กัสก็ว่าวันหลังเจอกันจะเอามาให้ แต่คล้อยหลังไปอีก 2 สัปดาห์ก็ยังไม่มีโอกาสได้เจอกัน จนเมื่อผมไปเดินเล่นที่ห้างฯที่กล่าวข้างต้น เมื่อเห็นแผ่นดีวีดีเรื่องนี้วางจำหน่ายอยู่จึงไม่รอช้าที่จะควักกระเป๋าซื้อแล้วรี่กลับมาเปิดดูที่บ้านในวันนั้นเลย





ผมดูจบแล้วพบครับว่า เป็นสารคดีความยาวหนึ่งชั่วโมงยี่สิบสองนาทีที่ไม่เพียงเล่าถึงเรื่องราวของศาสตร์แห่งการทำซูชิที่เรียบง่ายแต่ดูสนุกและยิ่งใหญ่ชวนจดจำเท่านั้น แต่เมื่อดูแล้วพบว่า มันเป็นเรื่องเล่าที่กินความหมายไปกว่านั้นมากมายเหลือเกิน มันคล้ายกับเป็นเรื่องเล่าที่เป็นการนำไปสู่คำตอบของโจทย์หรือคำถามที่ว่า เหตุใดซูชิ ซึ่งดูเหมือนเป็นของง่ายๆที่เพียงเอาปลาและอาหารทะเลเป็นชิ้นๆมาวางบนข้าวที่ปั้นเป็นคำๆ จึงเป็นทั้งศิลปะและศาสตร์ด้านอาหารที่สำคัญยิ่งยวดของชนชาติๆหนึ่งและได้รับความนิยมไปทั่วทั้งโลก ตลอดจนตัวอย่างของหนึ่งในร้านซูชิและหนึ่งในคนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งซูชินั้นแท้ที่จริงยิ่งใหญ่เพียงใด

สารคดีเรื่องนี้ยังบอกเล่ากินความไปถึงเรื่องราวอีกหลากหลายแง่มุมที่แวดล้อมไปกับจิตวิญญาณในการทำอาหาร ไล่มาตั้งแต่เรื่องราวของประวัติศาสตร์ ประวัติชีวิตของคนๆหนึ่ง วิถีแห่งความสำเร็จที่มีแบบฉบับทั้งที่เป็นลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะตัว (เรียนตามตรงบางประเด็นทำให้นึกไปถึงสตีฟ จ็อบ กับเรื่องราวในหนังสือชีวประวัติของเขา) ความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างพ่อและลูกชายสองคนที่คนหนึ่งจะมารับช่วงสืบทอดกิจการและอีกคนหนึ่งที่ก้าวออกไปมีร้านเป็นของตนเอง กับความท้าทายที่มีทั้งส่วนที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันของทั้งสองคน ทั้งยังกล่าวถึงความสัมพันธ์พิเศษที่ลึกซึ้งยาวนานระหว่างร้านอาหารกับคู่ค้า (ร้านจำหน่ายวัตถุดิบ) ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับลูกน้องในโลกของวัฒนธรรมอาหารแบบดั้งเดิมในแบบฉบับของญี่ปุ่นและโลกตะวันออก ซึ่งแทบแยกกันไม่ออกจากเรื่องราวของความเป็นศิษย์อาจารย์ ที่สื่อให้เห็นถึงความอดทน หมั่นเพียร ในการฝึกฝนจากสิ่งเล็กๆจากงานที่ดูเสมือนไร้คุณค่า ซ้ำๆเดิมๆวันแล้ววันเล่าจนค่อยๆก้าวไปสู่ขีดขั้นความเป็นสุดยอดมืออาชีพที่ต้องอาศัยความเข้มแข็ง ทางร่างกาย จิตใจ และพรสวรรค์ ที่ไม่มีทางลัดและหากไม่ชมดูก็ยากที่จะนึกไปถึง





สารคดีเรื่องนี้ นอกจากจะทำให้ผู้ชมดื่มด่ำไปกับเรื่องราว เคล็ดลับในการใช้ชีวิตเพื่อการเป็นสุดยอดเชฟซูชิ การคัดสรรเลือกวัตถุดิบอย่างปราณีต และวิถีแห่งซูชิหรืออาหารญี่ปุ่นแล้ว ยังเป็นเสมือนหนึ่งสารคดีชีวิตที่จะทำให้ผู้ชมซาบซึ้งไปเรื่องราวแวดล้อมที่ผ่านการบอกเล่าพูดคุยสัมภาษณ์ผู้คนหลากหลายที่สนุกสนาน เปี่ยมสีสัน และน่าประทับใจ

ผมมั่นใจครับว่า “JIRO DREAMS OF SUSHI” เป็นสารคดีเกี่ยวกับอาหารที่ดีที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง ที่จะเปิดมุมมองและความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารและวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี และรับรองครับว่า เมื่อดูสารคดีเรื่องนี้จบลง อาหารมื้อถัดไปที่คุณอยากจะไปลิ้มลองก็คือ ซุชิ ดีๆสักมื้อหนึ่งอย่างแน่นอน อย่าลืมหามาชมกันนะครับ. 
 
ตอนหนึ่งของสารคดีที่เต็มไปด้วยคำพูดที่เปี่ยมไปด้วยคติและแง่คิด คุณจิโร่ บอกว่า
”ผมอยากทำงานกับปลาที่ดีที่สุด ไปจนถึงวินาทีสุดท้าย”










จาก http://www.edtguide.com/story/406030/


<a href="https://www.youtube.com/v/KiGCvBjuXuA" target="_blank">https://www.youtube.com/v/KiGCvBjuXuA</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/6u6L6mDgHZw" target="_blank">https://www.youtube.com/v/6u6L6mDgHZw</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/oga8pWsGSNo" target="_blank">https://www.youtube.com/v/oga8pWsGSNo</a>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 49.0.2623.112 Chrome 49.0.2623.112


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2559 09:45:25 »

คอลัมน์ “หนังช่างคิด”...Jiro Dreams of Sushi ความสำเร็จที่ไม่สำเร็จรูป ของเทพ "ซูชิ"

ในหนังสือระดับเบสต์เซลเล่อร์อย่าง Outliers ผลงานของสื่อมวลชนหัวบรรเจิดนามว่า มัลคอล์ม แกลดเวลล์ ได้พูดถึงปัจจัยที่ทำให้คนเราประสบความสำเร็จด้วยมุมมองที่ "แปลกลิ้น" หากเทียบกับหนังสือฮาวทูทั่วไป



มีบทหนึ่งในหนังสือของเขาที่พูดถึง "กฏ 10,000 ชั่วโมง" ซึ่งแกลดเวลล์เล่าว่า ความสำเร็จของบุคคลหลายคน เบื้องหลังนั้นเกิดจากการทำงานของตนที่แสนซ้ำซาก เป็นเวลาที่แสนยาวนาน
 
อย่างเช่น โมสาร์ต อมตะคีตกวีตัวโน้ตสีชมพู แม้ว่าเขาจะแต่งเพลงได้ตั้งแต่ 6 ขวบ แต่กว่าจะมีผลงานซับซ้อนจนมืออาชีพยอมรับ ก็อายุ 21 ปีโน่น
 
วงดนตรีระดับโลกอย่าง เดอะ บีทเทิ่ลส์ ก่อนที่จะมีชื่อเสียง พวกเขาต้องไปเล่นดนตรีในคลับที่เยอรมัน วันละ 8 ชั่วโมง ตลอด 7 วันนานเป็นปีทีเดียว
 
ส่วนบิลล์ เกตส์ ก่อนที่จะมาเป็นเจ้าพ่อไมโครซอฟต์และเศรษฐีพันล้านใจบุญอย่างทุกวันนี้ สมัยเรียนมัธยมฯ เขาแอบออกจากบ้านกลางดึกเพื่อฝึกเขียนโปรแกรมที่โรงเรียน
 
เมื่อแกลดเวลล์คำนวณเวลาที่คนพวกนี้ทำงานที่ตนสนใจแล้ว...
 
ปรากฏว่า ทุกคนมีชั่วโมงบินในงานที่ทำ นับได้ 10,000 ชั่วโมงกว่าขึ้นไป!
 
เห็นชั่วโมงบินของคนระดับตำนานเหล่านี้ ชวนให้นึกถึง ปรมาจารย์ด้านซูชิมือหนึ่งของญี่ปุ่น ที่ตอนนี้อายุถึง 85 ปี นามว่า "จิโระ โอโนะ"
 
แม้ว่าจะตกสำรวจในงานเขียนของแกลดเวลล์ แต่ชายผู้นี้ ได้ปรากฏตัวอยู่ในภาพยนตร์สารคดีสุดละเมียดชวนน้ำลายไหล ที่มีชื่อว่า Jiro Dreams of Sushi (2011) งานกำกับของ David Gelb
 
ภาพยนตร์เรื่องนี้ พาเราเดินทางไปดินแดนปลาดิบ ในตึกย่านกินซ่าที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อสำรวจร้านซูชิเจ้าดังที่มีชื่อว่า "สุกิบายาชิ จิโระ" ของคุณจิโระ โอโนะ
 
เรื่องราวหน้าเคาน์เตอร์ซูชิของร้านนี้ ที่มีความพิเศษโด่งดังไปทั่วโลกก็คือ
 
ร้านนี้มีเก้าอี้ให้นั่งเพียง 10 เก้าอี้...
 
หากอยากทาน ต้องจองล่วงหน้าเป็นเดือน...
 
ซูชิในร้าน จะต้องเป็นไปตามลำดับที่ทางร้านจัดไว้ ทั้งยังไม่มีเหล้าสาเกคอยแกล้มเวลาทาน เรียกได้ว่า แล้วแต่ปุ๊...
 
ค่าอาหาร เขาคิดคอร์สละ 30,000 เยน (ประมาณ 10,000 บาท ต่อหัว!) กับซูชิประมาณ 20 ชิ้น...
 
แม้ว่า รูปแบบการทานอาหารในร้านนี้ อาจจะดูหยุมหยิม เรื่องมาก และราคาแพงมากสำหรับมนุษย์เงินเดือนธรรมดา
 
แต่ "สุกิบายาชิ จิโระ" กลับกลายเป็นร้านอาหารที่ "มิชลิน" มอบดาวให้ถึง 3 ดาว ซึ่งหมายความว่า เป็นร้านอาหารที่แม้ว่าจะอยู่ที่ประเทศไหน ก็ควรค่าที่จะเดินทางไปทานสักครั้ง



นี่คือภาพตรงปลายสายที่เรามองเห็น "ความเนี้ยบ" ตรงหน้าเคาน์เตอร์ซูชิ
 
อย่างไรก็ตาม เบื้องหลังการทำงานของร้านนี้ ที่หนังเรื่องนี้จับจังหวะมาให้เห็น ต้องบอกว่า ทุกองค์ประกอบก่อนที่ร้านจะเปิด เต็มไปด้วยความละเอียดเพื่อที่จะเข้าถึง "ความสมบูรณ์แบบ" โดยการบัญชาการของเจ้าของร้านมือเก๋าโดยแท้
 
ใครที่เคยหมกมุ่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จนเก็บมาฝันถึง คงเข้าใจอารมณ์ของเจ้าของร้านซูชิผู้นี้
 
คงไม่ใช่การกล่าวเกินเลย หากจะบอกว่า ระดับการหลงใหลในข้าวปั้นที่เป็นรากเหง้าญี่ปุ่นของเขาผู้นี้ อยู่ในระดับที่ว่า...
 
ฝันเห็นซูชิเลยทีเดียว
 
ลองดูรายละเอียดในเส้นทางพ่อครัวซูชิของเขาสิ...
 
"ความสุดยอด เกิดจากการทำอะไรที่ซ้ำซาก พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไป และมองไปข้างหน้า" นี่คือปรัชญาการทำร้านซูชิของ จิโระ โอโนะ
 
ต้นแบบความสำเร็จของร้าน เริ่มต้นมาจากจริตที่แสนบากบั่นของเขาเอง ที่ออกมาสู้ชีวิตด้วยตัวเองตั้งแต่วัย 7 ขวบ โดยที่คุณพ่อของเขาบอกว่า หากหันหน้าออกไปสู่โลกกว้างแล้ว แกจะไม่มีบ้านให้กลับอีกต่อไป
 
เมื่อไม่มีบ้านให้กลับ สิ่งที่เขาต้องทำก็คือ การมองหา "บ้าน" หลังใหม่ของเขา
 
และโลกของ "ซูชิ" นั่นคือ คำตอบของคำว่า บ้าน...
 
"ซูชิ" ในรูปแบบที่จิโระทำ จึงก่อร่างสร้างตัวมาตั้งแต่ก่อนยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงยุคซิกซ์ตี้(ยุค 60s) ที่กระแสการทานซูชิเริ่มเผยแพร่ไปทั่วโลกที่แม้แต่ฝั่งทวีปอเมริกาก็ยังมีการคิดค้นซูชิแบบที่เรียกว่า "แคลิฟอร์เนีย โรล" และกระแสนี้รุกหนักต่อไปยังยุโรป
 
คนรอบข้างของจิโระ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เท่าที่รู้จักหมอนี่มา หมอนี่หมกมุ่นกับซูชิจนแทบไม่เคยหยุดงานเลย
 
เขาปั้นซูชิทุกวันด้วยความคลั่งไคล้ จนมีลักษณะของ "โชคุนิน" (ช่างศิลป์) มากกว่าที่จะเป็นพ่อครัวปั้นซูชิธรรมดา
 
แม้แต่คนที่ทำงานร่วมกับเขา อย่าง ลูกชายสองคน ก็ทำงานหนักเพื่อให้ตามรอยของพ่อให้เร็วที่สุด การทำกิจการร้านค้าแบบญี่ปุ่น หากครอบครัวนั้นมีร้านเองอยู่แล้ว กิจการมักจะส่งต่อไปยังรุ่นลูก คนรุ่นลูกของเจ้าของร้านเหล่านี้ จึงเปรียบเสมือนคาบช้อนทองมาเกิด เพื่อไม่ต้องตะบี้ตะบันเรียนเพื่อเข้าสู่ระบบมนุษย์เงินเดือนแบบชาวญี่ปุ่นคนอื่นๆ พอจบการศึกษาภาคบังคับ ก็มีกิจการให้ทำเลย
 
แต่ลูกชายสองคนของบ้านนี้ กลับลำบากกว่าที่คิด เพราะพวกเขาถูกพ่อเคี่ยวกรำให้ทำงานในร้านอาหารอย่างหนัก ไม่แพ้ลูกจ้างคนอื่น
 
พูดถึงลูกจ้าง ขนาดเด็กฝึกงานของที่นี่ ยัง "เป๊ะ" อย่างที่สุด
 
ที่นี่รับฝึกงานฟรี แต่ส่วนใหญ่งานที่ได้ทำจะเป็นงานเตรียมวัตถุดิบ
 
จนเมื่อถึงอายุงาน 10 ปี จึงได้ทำอาหารจานแรก นั่นคือ การย่างไข่ม้วน หรือ "ทามาโกะยากิ" เพียงเท่านั้น
 
เรียกได้ว่า กว่าจะเจ๋งต้องใช้เวลาอีกหลายปี
 
ส่วน วัตถุดิบนั้นเล่า ต้องบอกว่า ตั้งแต่ปลามากุโระ ยันข้าวสาร ร้าน "สุกิบายาชิ จิโระ" ต่างเลือกของที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในญี่ปุ่นตั้งแต่ท้องนาจนถึงตลาดปลาสึกิจิ โดยใช้สายสัมพันธ์เก่าแก่กับห้างร้านต่างๆ ในการเลือกวัตถุดิบ
 
ทางร้านที่ขายวัตถุดิบ ต่างก็ยินดี เพราะปลามากุโระ(ทูน่าครีบน้ำเงิน) กุ้ง ปลาหมึก ไข่หอยเม่น ผัก ข้าว และวัตถุดิบอีกมากมาย จะมีโอกาสขึ้นบนโต๊ะอาหารซูชิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
 
นี่คือส่วนหนึ่งส่วนเดียวของความละเมียดที่เกิดขึ้น "สุกิบายาชิ จิโระ" ที่ชมผ่าน Jiro Dreams of Sushi...
 
ตัวหนังเผยให้เห็นกระบวนการต่างๆ ในการทำซูชิที่แสนเพลิน พร้อมกับมีเสียงดนตรีคลาสสิคประกอบ ราวกับว่าร้านนี้เป็นวงออเคสตราเล็กๆ ที่มี "จิโระ โอโนะ" เป็นวาทยกรที่คอยควบคุมความสมบูรณ์แบบของโน้ตเพลงการปั้นซูชิ



จนในที่สุด ซูชิ 1 คำ ก็ถูกวางหน้าเคาน์เตอร์ เป็นซูชิที่เต็มไปด้วยวิถีคิดแบบตะวันออก
 
ถ้าหากมองว่า ซูชิที่เขาทำ มีความงามแบบ "เซน" คงเป็นปรัชญาเซน ที่มีราคาต่อคำสูงมาก
 
ก่อนที่จะใช้สายตาเชยชิมซูชิแต่ละคำในภาพยนตร์เรื่องนี้ มีเรื่องชวนให้ชวนคิดว่า
 
สิ่งที่เรียนรู้จาก "เบื้องหน้า" ความสำเร็จของบุคคลที่เราเรียกได้เต็มปากเต็มคำว่า อัจฉริยะ อย่าง โมสาร์ต, เดอะ บีทเทิ่ล, บิลล์ เกตส์ มาจนถึง ร้าน จิโระ โอโนะ
 
พอมาเห็น "เบื้องหลัง" ของความสำเร็จ คงไม่ได้มาง่ายๆ แบบใช้เวลาชง 3 นาทีอย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, ไม่ได้ใช้เวลาปลูก 3-4 วัน แล้วเติบโตอย่างเพาะถั่วงอก และไม่ได้เปรี้ยงปร้างชั่วเวลา 2-3 เดือนอย่างรายการเรียลลิตี้ประกวดร้องเพลง
 
แต่มันเกิดจากสิ่งที่ เซอร์ อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ พูดผ่านหนังสือนิยายสืบสวนชื่อดังของเขาอย่างเชอร์ล็อก โฮลมส์ ว่า
 
"อัจฉริยะ เกิดจากการฝึกฝนตนเองที่ต่อเนื่อง และยาวนาน"
 
พอคิดตามแล้วสะอึก...
 
จนต้องกลับมาถามตัวเองว่า
 
หากไม่นับเรื่องเวลานอน อะไรคือสิ่งที่เราเคี่ยวกรำในตัว ที่นับนิ้วไปมาแล้วยาวนานถึง 10,000 ชั่วโมง?

จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1325756391

<a href="https://www.youtube.com/v/cXqpOPedfvM" target="_blank">https://www.youtube.com/v/cXqpOPedfvM</a>
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 49.0.2623.112 Chrome 49.0.2623.112


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2559 09:46:03 »

Jiro Dreams of Sushi พลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมรสชาติที่ใหญ่ยิ่ง

ธิดา ผลิตผลการพิมพ์



ตอนหนึ่งของการ์ตูน ‘ไอ้หนูซูชิ’ ที่ดิฉันประทับใจมาก คือตอน มุโต ตัวละครนักชิมสุดโหดสั่งสอน โชตะ พระเอกของเรื่อง ถึงหัวใจของการทำซูชิว่า รสชาติระดับเลิศล้ำของมันจะมิอาจเกิดขึ้นได้หากพ่อครัวไร้สัมผัสอันละเอียดอ่อนในการคัดสรรวัตถุดิบ และสัมผัสเช่นนั้นก็จะมิอาจมีได้หากพ่อครัวไร้ความตระหนักต่อความสัมพันธ์อันเกี่ยวโยงส่งผลถึงกันอย่างลึกซึ้งระหว่างวัฏจักรแห่งธรรมชาติกับการกระทำของมนุษย์

จิโระ กับ โยชิคะสุ โอโนะ พ่อลูกนักทำซูชิแห่งโตเกียวผู้มีสามดาวจากมิชลินเป็นเครื่องรับประกันฝีมือ ไม่ได้พูดอะไรเข้มข้นอลังการขนาดนั้นในหนังสารคดีเรื่อง Jiro Dreams of Sushi (เดวิด เกลบ์, 2011) แต่ภาพซูชิที่เปลี่ยนผันจากการเป็นอาหารพิเศษราคาสูงในอดีตมาเป็นอาหารบนสายพานที่รองรับคนทุกระดับฐานะทุกแห่งหนในปัจจุบัน – ซึ่งโยชิคะสุบอกเล่าแก่เราว่าเป็นเหตุให้เกิดการล่าจับสัตว์ทะเลกันครึกโครมโดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลาเติบโตอันเหมาะสมตามธรรมชาติของสัตว์เหล่านั้นอีกต่อไป และนำมาสู่การขาดแคลนวัตถุดิบชั้นดีสำหรับทำซูชิชั้นเลิศ – ก็สะท้อนปัญหาของ ‘อุตสาหกรรมอาหาร’ ได้เด่นชัดชวนใคร่ครวญเช่นเดียวกัน

วิถีการกินของเราส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นไปตามวิถีบริโภคนิยมซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม เราไม่เพียงถูกกระตุ้นให้ ‘กินมากขึ้น’ หากยังต้อง ‘กินเร็วขึ้น’ โดยขณะเดียวกันก็คำนึงถึงคุณภาพของสิ่งที่กินนั้นน้อยลง ตระหนักถึงผลของมันต่อร่างกายจิตใจน้อยลง และที่ร้ายที่สุด เรายังรับรู้กระทั่งความหลากหลายของรสชาติอาหารในปากได้น้อยลงด้วย

จึงไม่แปลกที่นับจากเหตุการณ์ต่อต้านการเปิดสาขาใหม่ของร้านแมคโดนัลด์ในกรุงโรมเมื่อปี 1986 กระแสวัฒนธรรม ‘ช้าๆ’ (Slow Life / Slow Movement) ซึ่งมุ่งต้านอาการรีบเร่งของสังคมสมัยใหม่ จะแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่ผู้คนหลากกลุ่มและกระจายครอบคลุมชีวิตหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น Slow Gardening, Slow Travel, Slow Parenting, Slow Art, Slow Money, Slow Science, Slow Software Development หรือแม้แต่ Slow Cinema โดยปรัชญาหลักของทั้งหมดนั้นคือ การดำเนินกิจกรรมด้วยจังหวะที่ช้าลง ลดความเร่งเร้าและการกอบโกยลง แล้วใส่ ‘ใจ’ ให้มากขึ้น



แน่นอนว่าในเหล่ากระแสช้าๆ ทั้งหลาย หัวใจย่อมอยู่ที่ Slow Food และในบรรดา Slow Food หนึ่งในอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นสากลอย่างสูงก็คือ ซูชิ

แม้ใน Jiro Dreams of Sushi จะไม่มีคำว่า ‘slow food’ หลุดมาให้ได้ยินเลยสักครั้ง กระนั้น ซูชิของจิโระย่อมจัดเข้าข่ายได้อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะมันเอ่อล้นด้วยความประณีตละเมียดละไมในทุกขั้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนเตรียมเครื่องปรุง (ข้าวต้องหุงด้วยความดันสูงพิเศษ, ปลาหมึกต้องนวด 45 นาทีเพื่อความนุ่ม, ไข่ต้องฝึกทอดกว่า 200 ครั้งกว่าจะเริ่มใช้ได้), การปรุงและประกอบเครื่อง (ทูน่าต้องหั่นบางพอดี, วาซาบิอย่ามากเกินไป), การกิน (ซูชิสำหรับผู้หญิงต้องชิ้นเล็กกว่าผู้ชาย, ลูกค้าถนัดมือไหนต้องเสิร์ฟให้เหมาะกับตำแหน่งมือนั้น, การจัดชุดต้องไล่เรียงตามลำดับรสชาติเพื่อความอิ่มอร่อยอย่างลื่นไหล)



และที่ถูกหนังนำเสนออย่างมีเสน่ห์มากในสายตาดิฉันก็คือ การควานหาวัตถุดิบชั้นดีจากธรรมชาติ (ทูน่าต้องซื้อจากคุณฟุจิตะผู้ใช้มือขยี้เนื้อปลาแล้วรู้ทันทีว่ามันอร่อยเพียงพอหรือไม่, ปลาหมึกและปลาไหลต้องซื้อจากร้านของผู้สืบทอดตำนานจากคนรุ่นปู่ที่ได้รับฉายา ‘พระเจ้าแห่งปลาไหลทะเล’, ข้าวต้องรับจากคุณฮิโรมิชิผู้ถือคติไม่ขายข้าวชั้นดีให้ใคร –ไม่ว่าจะเป็นภัตตาคารหรูหราแค่ไหน- หากคนผู้นั้นไร้ความเชี่ยวชาญที่จะหุงมัน ….เท่กว่านี้มีอีกไหม?!)

จิโระกับลูกและผู้คนเหล่านี้เป็นตัวแทนของพ่อครัวและพ่อค้าที่ทุ่มเทใจเพื่อการผลิตอาหารด้วยสายตาที่มองว่ามันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ประเด็นที่น่าสนใจมากคือ ซูชิของจิโระซึ่งนักชิมค้อมหัวคารวะว่าดีที่สุด (พร้อมๆ กับแพงที่สุด) ในญี่ปุ่นนั้น มิได้มี ‘สูตรลับ’ ใดเป็นปริศนายิ่งใหญ่อยู่เบื้องหลังมากมายนัก เคล็ดแท้แห่งศิลปะของเขาคือการคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วยสัญชาตญาณแห่งศิลปินผู้ไม่ยอมหยุดนิ่ง และศาสตร์ของเขาคือการใช้ทั้งชีวิตจิตใจฝึกฝนทำมันซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนสั่งสมเป็นประสบการณ์ที่สามารถถ่ายทอดสู่พ่อครัวรุ่นใหม่ได้อย่างหมดจด



ที่เหนืออื่นใด สิ่งที่จิโระยึดถือตลอด 75 ปีของการทำงานก็คือ การมอบความเคารพรักแก่อาชีพ ซึ่งนั่นย่อมหมายถึงการมอบความเคารพรักต่ออาหารที่เขาทำ ต่อธรรมชาติอันเป็นแหล่งวัตถุดิบของอาหารเหล่านั้น และต่อคนทุกคนที่เดินทางมาลิ้มรสอาหารของเขา มันคือจิตวิญญาณของพ่อครัวผู้ยังเชื่อในวิถีการบริโภคแบบที่หาได้ยากขึ้นทุกที

…วิถีการบริโภคที่ทั้งคนทำและคนกินยังเกาะกุม ‘อำนาจ’ ไว้ในมือของตน อำนาจที่ทำให้พ่อครัวยังพยายามเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า และอำนาจที่ทำให้ลูกค้ายังสามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง

บางทีนี่อาจเป็นอำนาจอย่างสุดท้ายที่เรายังพอมีหลงเหลืออยู่ ในโลกยุคที่บริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่คืบคลานเข้ายึดครองและครอบงำชีวิตการกินของเราแล้วแทบทุกด้าน

จาก http://thaipublica.org/2012/07/jiro-dreams-of-sushi/

<a href="https://www.youtube.com/v/eCsGB9zEFa4" target="_blank">https://www.youtube.com/v/eCsGB9zEFa4</a>
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ทึ่ง! ไทยย้ายโบสถ์ทั้งหลัง 500 ตัน ครั้งแรกของโลก
สุขใจ จิบกาแฟ
ไอย 7 4530 กระทู้ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ 2553 15:05:08
โดย ริต้าร์
ทึ่ง!โยคีอินเดียอดอาหาร70ปียังรอด ทหารตื่นเต้นจองตัวทำวิจัยหากลยุทธ์ยังชีพ
เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
sithiphong 2 3293 กระทู้ล่าสุด 18 พฤษภาคม 2553 08:06:10
โดย sithiphong
The Cranberries - Dreams ( กลิ่นเซลติก ไอร์แลนด์ )
หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
มดเอ๊ก 0 2218 กระทู้ล่าสุด 29 มิถุนายน 2553 09:23:26
โดย มดเอ๊ก
Dreams 2 Day - เที่ยวเขมรไปกับน้าแม๊ค
สุขใจ ไปเที่ยว
หมีงงในพงหญ้า 7 4679 กระทู้ล่าสุด 14 กรกฎาคม 2558 15:01:06
โดย หมีงงในพงหญ้า
สะพานสายรุ้ง ช่วง คุยหนังเเนบชีวิต Jiro Dreams of Sushi
หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
มดเอ๊ก 0 1157 กระทู้ล่าสุด 16 มิถุนายน 2559 22:00:47
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.976 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 07:37:36