[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 20:21:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มาพบกับความสุขแบบเซน ... แล้วจะไม่ค่อยมีทุกข์  (อ่าน 984 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 49.0.2623.112 Chrome 49.0.2623.112


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2559 11:22:20 »



มาพบกับความสุขแบบเซน ...  แล้วจะไม่ค่อยมีทุกข์

ใกล้จะถึงสิ้นปีแล้ว และจะขึ้นปีใหม่อีกไม่นานวันนัก   เห็นควรมาทำความรู้จักกับความสุขแบบเซนสักเล็กน้อย
เพื่อในปีหน้า จะได้เป็นปีแห่งความสุขโดยแท้  หากเราเข้าใจในหลักการแล้ว  จะไม่ค่อยมีทุกข์เกิดขึ้นมากนัก
ชีวิตเราก็จะสงบสุข  ดำเนินชีวิตด้วยความราบรื่น  ไม่มีสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง

   

เซน  เป็นวิถีชีวิตแห่งความสงบเรียบง่าย   ที่ไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว   ทุกคนสามารถเข้าถึงได้  โดย
ใช้ชีวิตแบบกิจวัตรประจำวัน   ก็จะพบกับความสุขได้ไม่ยาก   ก่อนอื่นควรเข้าใจความเป็นมาของเซนก่อน พอ
สังเขปดังนี้       


ความเป็นมาของเซน

เซน (Zen)   เป็นชื่อญี่ปุ่นของคำว่า  ฉาน (Chan)  ในภาษาจีน  ที่มาจากภาษาบาลีอีกต่อหนึ่ง   ซึ่งหมายถึง 
ฌาน  หรือการเข้าฌานของพุทธศาสนา

เซน  มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย  พัฒนาที่ประเทศจีน  ก่อนที่จะถูกเผยแผ่มาสู่เกาหลีและญี่ปุ่น
โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า   ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น  การฝึกตนของนิกายเซน
เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง

ในกลางคริสตศตวรรษที่ ๒๐  นอกจากศาสนาพุทธนิกายเซน  เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จัก
กันทั่วโลก  โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ

เซนเป็นสาขาหนึ่งของพุทธศาสนา  นิกายมหายาน  ซึ่งยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า  ตาม
หลักของอริยสัจ ๔  และมรรค ๘   เซนได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
บุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้

พระโพธิธรรม  เมื่อท่านเดินทางเผยแผ่พุทธศาสนาเข้าสู่จีน  ที่คนไทยรู้จักกันในนาม "ตั๊กม้อ" ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง
วัดเส้าหลิน  นับเป็นพระสังฆปรินายกฝ่ายเซนองค์แรกในจีน  ต่อมาเมื่อสืบทอดพระสังฆปรินายก องค์ที่ ๓ 
(ฝ่ายจีน)  จึงได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น

วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี  ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น  เช่น 
พิธีชงชา,    อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น),  วิถีซามูไร,  คิวโด (การยิงธนูแบบญี่ปุ่น)   แม้แต่การเล่น
โกะ หรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น  เป็นต้น



เซ็นแบ่งออกได้เป็น  ๒  นิกาย

             ๑. โซโตเซ็น  ผู้ก่อตั้ง คือ โดเก็น โซโตเซ็นเป็นนิกายเซ็นที่มีศาสนิกนับถือเป็นจำนวนมากที่สุดใน
ประเทศญี่ปุ่นปัจจุบัน  ผลงานของท่านอาจารย์โดเก็นนอกจากงานเขียนต่างๆ ก็คือ การนั่งวิปัสสนาซาเซ็น

             ๒. รินไซเซ็น  ผู้ก่อตั้ง คือ นักบวชจีนฝ่ายเซ็น ชื่อลินจิ (Linji) เซ็นฝ่ายรินไซเน้น โกอัน
บทกวี (ไฮกุ) การจัดดอกไม้ (อิเกบานะ) การชงชา การคัดลายมือ การสนทนาโต้ตอบกับอาจารย์ และอื่นๆ



นิกายโซโต

นิกายโซโตมีคำสอนต่างจากนิกายอื่นอยู่  ๒  ประการด้วยกัน

    ๑. นิกายโซโตถือว่า ในการปฏิบัติสมาธินั้น  การขบคิดโกอานหรือปริศนาธรรมพร้อม ๆ กันไปด้วย 
เป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ก่อให้เกิดความสับสนวู่นวายขึ้นในจิตใจ  นิกายโซโตเห็นว่าการปฏิบัติสมาธิอยู่ที่การ
ปล่อยวางทั้งร่างกายและจิตใจให้ว่างเปล่า  อิสระจากกฎเกณฑ์ทั้งปวง

    ๒. พระในนิกายนี้ จะใข้ชีวิตเรียบง่าย  เรื่อย ๆ อยู่กับการงานอย่างมีสติ

ตัวอย่างพระในนิกายนี้  ได้แก่  เรียวกัน   พระเซนญี่ปุ่น นิกายโซโต ซึ่งได้เคยนำบทกวี "คืนฟ้าฉ่ำฝน" ของท่านมาลงไว้ในบล็อกโอเคนานแล้ว 


เรียวกัน


กระท่อม โกะโกอัน ที่เรียวกัน
เคยใช้ชีวิตอันยาวนานที่นี่


 ท่านที่สนใจ กรุณาย้อนไปอ่านบทกวีของท่านได้  จะได้ทราบว่าท่านใช้ชีวิตแบบใด

    ตอนที่ ๑   http://www.oknation.net/blog/surasakc/2007/10/15/entry-1   
    ตอนที่ ๒   http://www.oknation.net/blog/surasakc/2007/10/16/entry-1
     ตอนที่ ๓   http://www.oknation.net/blog/surasakc/2007/10/17/entry-1

    ปัจจุบัน  ยังมี  Olympia  Zen Center อยู่ที่ญี่ปุ่น  เป็นสถานปฏิบัติธรรม  เปิดการอบรมสมาธิ และ
มีกิจกรรมแก่ผู้ที่สนใจในเซน นิกายโซโต  ผู้สนใจเข้าไปชมรายละเอียดได้ที่นี่   
        http://www.olympiazencenter.org/




*+*+*
มาพบกับความสุขแบบเซน

    ๑.  ทุก ๆ วัน  ล้วนเป็นวันที่ดีทั้งสิ้น   

        หากเราเชื่อว่าทุกวันเป็นวันที่ดีแล้ว   จะเกิดความมั่นใจในตนเอง  มีความมุมานะพยายาม 
ตั้งใจปฏิบัติงาน หรือทำตามหน้าที่ของตน   แล้วก็จะเกิดความสำเร็จตามมาในที่สุด 

    ๒.  หิวก็กิน  ง่วงก็นอน   

        ใช้ชีวิตให้เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่ควรฝืนธรรมชาติ เมื่อหิวก็จงกิน  หากปล่อยให้หิวมาก ๆ
นานเข้า  อาจเป็นโรคกระเพาะได้ และโรคอื่นตามมาอีก    เมื่อง่วงก็จงนอน   หากฝืนจนตาลืมไม่ขึ้น  ทำอะไร
ก็ไม่ได้ผล  เป็นการฝืนธรรมชาติ  ผลร้ายก็จะตามมาภายหลัง  สุขภาพก็จะไม่ดี

    ๓.  เมื่อสุขจงสุข  เมื่อทุกข์จงทุกข์   แล้วชีวิตจะไม่มีปัญหา   

        เมื่อประสบความสุข  ก็ให้รู้ว่าสุข  และจงสุข   เมื่อประสบความทุกข์  ก็ให้รู้ว่าทุกข์ และ
หาทางบรรเทาปัดเป่าทุกข์   โดยให้รู้ตนเองอยู่ทุกขณะ ว่าสุขหรือทุกข์  แล้วชีวิตจะไม่มีปัญหา

    ๔.  เมื่อสุข  อย่าได้หลงระเริง   เมื่อทุกข์  อย่าได้วิตกกังวล  เคร่งเครียดมากนัก 

        เมื่อสุขก็จงรู้ว่าสุข จงสุข แต่อย่าได้หลงระเริงหรือฉลองกันอย่างระเริง   เมื่อทุกข์ 
ค่อย ๆ คิดหาทางออก  ผ่อนหนักเป็นเบา  ทุกปัญหามีทางออกเสมอ  และหากประสบช่องโอกาส  อาจเปลี่ยน
วิกฤติให้เป็นโอกาสได้เสมอ  พยายามค้นหาให้พบ   

        อย่าทำให้ทุกข์นั้นเพิ่มขึ้น หนักขึ้น  และควรหาทางปรึกษาหน่วยงานของรัฐ ญาติพี่น้อง 
เพื่อนสนิท  บุคคลที่ไว้ใจได้  จะช่วยให้หาทางออกได้ง่ายและเร็วขึ้น  รวมทั้งหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้อีก

             
    เซนหวังเพียงว่า  ให้คนรู้จักตัวเองมากขึ้นเท่านั้น  อยู่กับปัจจุบัน  มีชีวิตที่ยืดหยุ่น  และรับได้เสมอ
ไม่ว่าจะสุขหรือจะทุกข์ก็ตาม   และหวังว่าทุกท่านคงจะพบกับความสุข และประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งใจไว้
ทุกประการ


*+*+*

เอกสารอ้างอิง

๑.  เซน  จากวิกิพีเดีย  สารานุกรมเสรี 
๒.  สมภาร พรมทา, พระมหา, คืนฟ้าฉ่ำฝน  แปลและเรียบเรียงจาก  ONE ROBE ONE BOWL,The Zen
      Poetry of  Ryokan  ของ  John  Stevens, พิมพ์ครั้งแรก.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จตุจักร, 2525.
๓.  วิรตี ศรีอ่อน,  มีความสุขอย่างเซน, ในนิตยสาร  HEALTH & CUISINE, ปีที่ ๔  ฉบับที่ ๔๖
      พฤจิกายน  ๒๕๔๗.

ขอขอบคุณ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.409 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 มีนาคม 2567 07:39:51