ศัมภลา หรือ ชัมบาลา (Shambhala) อาณาจักรลี้ลับ ใน คัมภีร์กาลจักรตันตระ

(1/1)

มดเอ๊ก:
Tweet



ศัมภลา

ศัมภลา (สันสกฤต: Śambhalā; ทิเบต: བདེ་འབྱུང; ฮินดี: शम्भला) เป็นชื่อนครแห่งหนึ่งซึ่งพุทธศาสนาแบบทิเบตและอินเดียเชื่อว่ารี้เร้นอยู่ ณ เอเชียใน นครนี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราโบราณหลายฉบับ รวมถึงกาลจักรตันตระ (Kalachakra Tantra) และเอกสารโบราณในวัฒนธรรมเซี่ยงสฺยง (Zhang Zhung)[1][2] แต่ไม่ว่าจะมีเค้ามูลทางประวัติศาสตร์หรือไม่อย่างไร ก็มีผู้ถือว่าศัมภลานครเป็นเมืองแห่งสุขาวดีกันเรื่อย ๆ มา และศัมภลานครในรูปแบบสุขาวดีนี้เองที่แพร่ไปในวัฒนธรรมตะวันตกจนเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ทั้งผู้เป็นและไม่เป็นพุทธศาสนิกชน


พระเจ้ามัญชุศรีกีรติ ทาง ทิเบต เรียก กษัตริย์ ริกเด็น ในตำนาน

ในคัมภีร์กาลจักรตันตระ

ศัมภลาเป็นคำภาษาสันสกฤตซึ่งยังไม่ทราบรากศัพท์แน่ชัด ความเชื่อเรื่องศัมภลานครในพุทธศาสนานั้น แท้จริงรับเอามาจากคติพราหมณ์เรื่องพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นบุรุษชื่อกัลกีแห่งศัมภลานครซึ่งปรากฏอยู่ในกาพย์มหาภารตะและคัมภีร์ปุราณะ แต่ก็มีผู้เห็นว่าเป็นการสร้างอุดมคติจากวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่แล้ว โดยเอาภูมิภาคในกลางหรือตะวันออกไกลของเอเชียมาปรุงแต่งเป็นศัมภลานคร

ตามความเชื่อในพุทธศาสนา ศัมภลานครเป็นดินแดนแห่งความสงบร่มเย็นและปีติศานติ์ ว่ากันว่าศากยมุนีเคยมีพระพุทธฎีกาตรัสสอนเรื่องกาลจักรให้แก่พระเจ้าสุจันทร (Suchandra) แห่งศัมภลานคร ซึ่งต่อมาได้รับการบันทึกเป็นคัมภีร์ชื่อกาลจักรตันตระ และคัมภีร์นั้นว่าศัมภลานครเป็นสังคมซึ่งไพร่บ้านพลเมืองทั้งปวงมีความรู้ เป็นสุขาวดีโดยแท้จริง ตั้งอยู่กลางกรุงที่ชื่อ กลปะ (Kalapa) ศัมภลากษัตริย์นั้นมีตำแหน่งเรียกว่า "กัลกี" ทรงปกครองแผ่นดินโดยดำรงอยู่ในราชธรรมตามคัมภีร์กาลจักรตันตระ[3][4][5]

คัมภีร์กาลจักรตันตระยังพยากรณ์ว่า เมื่อโลกถดถอยเข้าสู่กลียุค สรรพสิ่งจะถึงแก่ความดับสูญ ครั้งนั้น ศัมภลากษัตริย์พระองค์ที่ยี่สิบห้าจะเสด็จกรีธาพยุหะรี้พลมหึมาออกจากนครเพื่อกระทำสงครามต่อต้านความชั่วร้าย และจะทรงบำรุงโลกให้เป็นยุคทอง นักวิชาการหลายคน เช่น อเลกซ์ เบอร์ซิน (Alex Berzin) อาศัยคัมภีร์กาลจักรตันตระนี้คำนวณว่า เหตุการณ์ดังกล่าวตกใน ค.ศ. 2424[6]

อนึ่ง ยังเชื่อกันด้วยว่า พระเจ้ามัญชุศรีกีรติ (Manjushrikirti) มีพระประสูติกาลในปีที่ 159 ก่อนคริสตกาล และได้เป็นศัมภลากษัตริย์พระองค์ที่แปด ในแว่นแคว้นของพระองค์นั้น พลเมืองสามแสนห้าร้อยสิบคนถือศาสนามฤจฉา (Mleccha) หรือศาสนาอันเห็นผิดเป็นชอบ และบางคนบวงสรวงสุริยเทพ ต่อมา พระองค์จึงทรงขับไล่นักพรตมฤจฉาไปเสียจากนคร แต่ภายหลังเมื่อสดับตรับฟังฎีกาพวกเขาเหล่านั้นแล้ว ก็ทรงอภัยโทษให้กลับเข้ามาได้ ทว่า เพื่อประโยชน์สุขแห่งแว่นแคว้น พระองค์จึงเสด็จเที่ยวสั่งสอนคัมภีร์กาลจักรตันตระแก่ประชาชนพลเมือง ครั้นปีที่ 59 ก่อนคริสตกาล พระองค์ทรงสละพระราชสมบัติให้พระราชกุมารปุณฑริก (Puṇdaŕika) เสวยสืบต่อมา ไม่ช้าก็เสด็จนฤพาน และทรงกลายเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง



การตีความ

มีผู้กำหนดแนวคิดเกี่ยวกับศัมภลานครไว้มากมาย บ้างก็ว่า ศัมภลานครมีความหมายภายนอก ความหมายภายใน และความหมายเผื่อเลือก สำหรับความหมายภายนอกนั้นเห็นว่า ศัมภลานครเป็นสถานที่มีอยู่จริง แต่เฉพาะบุคคลที่ประกอบกรรมอันสมควรเท่านั้นจึงจะเข้าถึงและรับรู้ได้ ทะไลลามะองค์ที่สิบสี่ตรัสไว้เมื่อปี 1985 ว่า ศัมภลานครนั้นมิใช่แว่นแคว้นธรรมดา พระองค์ทรงว่า "แม้ว่าบุคคลซึ่งมีกำเนิดพิเศษย่อมสามารถเข้าสู่ที่นั้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ทางกรรมได้ ทว่า นครนี้มิใช่สถานที่อันจับต้องได้ซึ่งเราจะพบเจอกันได้ พวกเราพูดได้ก็แต่ว่าเป็นสุขาวดี สุขาวดีบนดินแดนมนุษย์ และถ้าการกระทำกับคุณงามความดีไม่สัมพันธ์สอดคล้องกันแล้ว ก็ไม่สามารถถึงที่นั่นได้โดยแท้"

มีผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับที่ตั้งของศัมภลานครเช่นกัน ที่นิยมที่สุดว่าตั้งอยู่กลางเอเชีย ไม่ก็เหนือหรือตะวันตกของประเทศทิเบต ตำราโบราณของวัฒนธรรมเซี่ยงสฺยงระบุว่า ศัมภลานครคือหุบเขาษุตุทริ (Śutudri) รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย ส่วนชาวมองโกลเห็นว่า ศัมภลานครเป็นหุบเขาบางแห่งทางใต้ของไซบีเรีย ขณะที่คติชนอัลไตเชื่อว่า ภูเขาเบลุกา (Belukha Mountain) ในประเทศรัสเซีย เป็นปากทางศัมภลานคร ฝ่ายนักพุทธศาสตร์ในปัจจุบันราวกับจะได้ข้อยุติว่า ศัมภลานครเป็นหมู่เขาอยู่ทางตอนเหนือของหิมาลัยซึ่งเรียกว่า เธาลธาร (Dhauladhar)

ส่วนความหมายภายในและความหมายเผื่อเลือกนั้น มุ่งหมายถึง การทำความเข้าใจโดยแยบคายว่า ศัมภลานครสื่อถึงสิ่งใดในกายและใจของมนุษย์ และในทางวิปัสสนา การสั่งสอนความหมายทั้งสองประการนี้มักเป็นไปในระหว่างอาจารย์กับศิษย์แบบปากต่อปาก

จาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี https://th.wikipedia.org/wiki

มดเอ๊ก:


ชัมบาลา (SHAMBALA), ดินแดนที่ขอบฟ้าไม่ปรากฏ (Lost Horizon)

ชัมบาลา (Shambhala) หรือ แชงกรีลา (Shangri-La) ในภาษา ทิเบต หมายถึง ดินแดนอันบริสุทธิ์ เป็นตำนานลึกลับของโลกแห่งพุทธศาสนา ต้นกำเนิดของการสอน Kalachakra ในหนังสือประวัติศาสตร์ ทิเบต ได้มีการบันทึกเรื่องราวของ ชัมบาลา ไว้มากมาย แต่นักวิชาการทางพุทธศาสนาก็ยังตั้งข้อกังขาว่าแท้จริงแล้ว ชัมบาลา นั้นมีอยู่จริงหรือเป็นเพียงแดนสวรรค์ในนิยาย ถือเป็นความลี้ลับที่ยังไม่มีบทสรุป

มีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับ อาณาจักรในฝัน ซึ่งเป็นต้นตอแห่งศิลปศาสตร์และอารยธรรมของสังคมเอเชียปัจจุบัน ตามตำนานเล่าว่า อาณาจักรแห่งนี้เป็นสถานที่แห่งสันติสุขและความรุ่งเรือง ซึ่งปกครอง โดยผู้ปกครองทรงสติปัญญาและการุณ ทั้งอาณาประชาราษฎร์ก็ล้วนรอบรู้และเมตตาปราณี ดังนั้นเองอาณาจักรนี้จึงเป็นสังคมในอุดมคติ สถานที่นี้ถูกขนานนามว่า ซัมบาลา

เล่ากันว่าพุทธศาสนาได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการสร้างสรรค์สังคมซัมบาลา ตามตำนาน กล่าวว่า ศากยมุณีพุทธได้แสดงธรรมว่าด้วยตันตระขั้นสูงแก่ดาวะ สังโป ปฐมกษัตริย์แห่ง ซัมบาลา บรรดาพระธรรมเหล่านี้ได้สืบทอดกันมาเป็น "กาลจักรตันตระ" ซึ่งถือว่าเป็น ปรีชาญาณที่ลึกซึ้งที่สุดของพุทธศาสนาแบบธิเบต หลังจากองค์กษัตริย์ได้สดับพระธรรม เทศนาเหล่านี้แล้ว เล่ากันว่าบรรดาอาณาประชาราษฎร์แห่งซัมบาลาต่างพากันปฏิบัติสมาธิ ภาวนาและดำเนินชีวิตตามพุทธมรรคา ด้วยการมีเมตตาจิตและเอาใจใส่ทุกข์สุขของสัตว์ทั้ง หลาย โดยนัยนี้เอง ไม่เพียงผู้ปกครองเท่านั้น แต่บรรดาทวยราษฎร์ในอาณาจักรล้วนแล้วเป็น อริยบุคคลผู้มีใจสูงทั้งสิ้น

ในหมู่ชาวธิเบต มีความเชื่อว่าอาณาจักรซัมบาลานี้ยังดำรงอยู่ซ่อนเร้นอยู่หุบเขาอันลี้ลับใน เทือกเขาหิมาลัย ทั้งยังมีบันทึกอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนา ซึ่งบรรยายถึงสถานที่ตั้งและทิศทาง ที่จะไปสู่ซัมบาลา ทว่าข้อมูลเหล่านั้นเลอะเลือนมาก จนกระทั่งมีผู้สงสัยว่านี่จะถือเป็นจริงหรือ เป็นเพียงข้อมูลเปรียบเปรยเท่านั้น ทั้งยังมีคัมภีร์หลายฉบับซึ่งบรรยายอย่างละเอียดลออถึง อาณาจักรแห่งนี้ ยกตัวอย่างเช่นตามที่อ้างอิงอยู่ใน "มหาอรรถกถาแห่งกาลจักร" ซึ่งเขียนโดย มิฟัม คุรุ ผู้มีชื่อเสียงในสมัยศตวรรษที่สิบเก้า ดินแดนซัมบาลานี้อยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำสิตะ ดินแดนแห่งนี้ ถูกแบ่งออกโดยแนวเทือกเขาทั้งแปด พระราชวังของริกเดนหรือราชันผู้ปกครอง ซัมบาลานั้น สร้างอยู่บนยอดเขาทรงกลมซึ่งตั้งอยู่ตรงกึ่งกลางดินแดน มิฟัมบอกต่อไปว่า ขุนเขา ลูกนี้ชื่อไกรลาส พระราชวังซึ่งมีชื่อว่ากัลปะกว้างยาวหลายร้อยเส้น เบื้องหน้าพระราชวังทางทิศ ใต้มีสวนรุกขชาติอันงดงามที่มีชื่อว่ามาลัย ตรงกึ่งกลางสวนรุกขชาตินี้มีวิหารซึ่งสร้างอุทิศถวาย แด่กาลจักรโดย ดาวะ สังโป

ตามตำนานอื่นๆ กลับกล่าวว่า อาณาจักรซัมบาลานี้ได้สาปสูญไปจากโลกหลายร้อยปีแล้ว มาถึง จุดหนึ่งเมื่อทั้งราชอาณาจักรได้บรรลุถึงการตรัสรู้ จึงได้สูญสลายไปดำรงอยู่ในมิติอื่น ตามตำนาน กล่าวว่า กษัตริย์ริกเดนแห่งซัมบาลายังคงเฝ้าดูกิจกรรมทั้งมวลของมุนษย์โลกอยู่ แล้วสักวันหนึ่ง จะลงมาช่วยมนุษย์ชาติให้รอดพ้นหายนะ ยังมีชาวธิเบตอีกไม่น้อยที่เชื่อว่าราชันนักรบผู้ยิ่งใหญ่ กษัตริย์เกซาร์ แห่งหลิง ทรงได้รับแรงบันดาลใจและได้รับการชี้นำจากกษัตริย์ริกเดน และปรีชา ญาณแห่งซัมบาลานี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อที่ว่าอาณาจักรซัมบาลาดำรงอยู่ในมิติอื่น เพราะ เชื่อกันว่าเกซาร์ก็ไม่เคยเดินทางไปซัมบาลา ดังนั้นสายสัมพันธ์แห่งซัมบาลาจึงเป็นเรื่องของ การเชื่อมโยงทางภาวะธรรม ราชันเกซาร์มีชีวิตอยู่ประมาณศตวรรษที่สิบเอ็ด และได้ปกครอง แว่นแค้วนหลิง ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดคัมธิเบตตะวันออก จากรัชสมัยนี้เอง จึงอุบัติเรื่องราวมากมาย เกี่ยวกับปรีชาสามารถทั้งในแง่ของการศึกษาและการปกครอง เล่าขานกันไปทั้งธิเบต กลายเป็น มหากาพย์อันยิ่งใหญ่ของวรรณกรรมธิเบต บางตำนานก็กล่าวว่าเกซาร์จะปรากฎขึ้นมาอีกครั้ง จากซัมบาลา นำทัพมาปราบมารและพลังมืดดำของโลก

เมื่อไม่นานมานี้ มีนักวิชาการตะวันตกบางคนได้สันนิษฐานว่า อาณาจักรซัมบาลาอาจจะเป็น อาณาจักรโบราณแห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งมีบันทึกอยู่เอกสารทางประวัติศาสตร์ ดังเช่น อาณาจักร ชางชุงในเอเชียกลาง อย่างไรก็ตาม มีนักวิชาการหลายคนที่เชื่อว่าเรื่องราวเกี่ยวกับซัมบาลา เป็นเพียงเรื่องเล่าขานที่ไม่เป็นจริง แต่ในขณะที่อาจสรุปกันง่าย ๆ ว่าอาณาจักรนี้เป็นเรื่อง โกหกทั้งเพนั้น เราก็อาจเห็นได้ชัดถึงร่องรอยของความปรารถนาของมนุษย์ อันฝังรากแน่น อยู่ในสิ่งสูงและชีวิตอันดีงาม ซึ่งแสดงออกผ่านตำนานนี้ ที่จริงแล้วในบรรดาคุรุธิเบตหลาย ท่านมีประเพณีซึ่งถือว่าอาณาจักรซัมบาลามิใช่สถานที่ซึ่งดำรงอยู่ภายนอกหากเป็นรากฐาน ของสภาวะการหยั่งรู้และการประจักษ์แจ้ง อันเป็นศักยภาพที่ดำรงอยู่ภายในตัวมนุษย์ทุกคน จากทัศนะนี้เอง จึงไม่สำคัญว่าอาณาจักรณ์ซัมบาลาเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ หากควรที่เราจะเห็น คุณค่า และดำเนินตามอุดมคติของสังคมอริยะซึ่งแสดงนัยอยู่



อีกตำนานเล่าว่า เรื่องราวของชางกรีลา สืบเนื่องมาจากความกว้างใหญ่ไพศาลแห่งขุนเขาหิมาลัย ซึ่งนอกจากจะสูงลิบลิ่วแล้ว ก็ยังมีหิมะปกคลุม จนยากที่มนุษย์จะบุกบั่นเข้าไปถึง จึงเกิดมีตำนานเล่าขานว่า ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งภายในขุนเขานี้ มีอาณาจักรสวรรค์นาม ชางกรีลา ปรากฏอยู่ และมีนครหลวงชื่อ ชัมบาลา (SHAMBALA) ผู้คนเมืองนี้มีจิตใจสดใสบริสุทธิ์ ปราศจากความอาฆาตคิดร้ายต่อกัน มีความเฉลียวฉลาดผิดมนุษย์ธรรมดา และที่น่าอัศจรรย์ก็คือ แม้รอบด้านจะเต็มไปด้วยหิมะอันหนาวเย็น แต่พื้นแผ่นดินของอาณาจักรนี้กลับเขียวขจีด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร

จากตำนานดังกล่าวนี้เอง ทำให้มีคนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน นักบวช นักเผชิญโชค ตลอดจนนักวิทยาศาสตร์ ในซีกโลกที่เจริญวิทยาการ พากันเดินทางมาค้นหา อาณาจักรชางกรีลากันมากมาย

บุคคลหนึ่งซึ่งลงทุนลงแรง ค้นคว้าอย่างจริงจัง ได้แก่ นาย นิโคลาส โลเอริก ชาวรัสเซียในอเมริกา เขาเดินทางมายังลาซา เมืองหลวงของทิเบต และตระเวนสำรวจหาชางกรีลา ในดินแดนหลังคาโลกแห่งนี้ในช่วงปี ค.ศ. 1925-1928 เป็นระยะทางกว่า 15,000 ไมล์ แม้เขาจะมิได้ยืนยันเป็นถ้อยคำแน่นอนว่า ได้ค้นพบสวรรค์บนดินแห่งนี้ แต่เขาก็ได้เขียนภาพที่อ้างว่าเขียนขึ้นจากตาเห็น เป็นจำนวนหลายภาพ เป็นรูปทิวทัศน์และอาคารที่มีสีสันเฉิดฉายแปลกตา และมีอยู่ภาพหนึ่งที่น่าตื่นใจเป็นพิเศษ นั่นคือนิโคลาส ได้เขียนภาพมนุษย์ที่ดูราวกับผุดออกมาจากภูผา โดยนิโคลาสเรียกมนุษย์เหล่านี้ว่า "มหาตมะ" หรือผู้ทรงความรู้ มหาตมะคนหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นหัวหน้าได้ถือกล่องเงินเป็นประกาย ซึ่งอาจมีสิ่งสำคัญลํ้าค่าอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ภายใน ภาพนี้ ชื่อว่า การเผาผลาญความมืดมน (Burning of Darkness)

นิโคลาสได้ไปพบกับพลเมืองของอาณาจักรชางกรีลาจริงหรือ?

ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั่วโลกตก อยู่ในสภาพเศรษฐกิจตกตํ่า ผู้คนอดอยากจนเป็นแรงดลใจ ให้นาย เจมส์ ฮิลตัน ประพันธ์เรื่อง ขอบฟ้าไม่ปรากฏ (Lost Horizon) ออกมา กล่าวถึงนักเดินทางคณะหนึ่ง เครื่องบินตกแถวๆ ทุ่งหิมะ และได้พบกับนครลี้ลับแห่งหนึ่ง ซึ่งประชากรของนครนี้ไม่แก่ไม่เฒ่า แต่เมื่อพาประชากรคนหนึ่ง ออกมาพ้นจากนครไม่กี่วัน ร่างกายของเขา ก็ชราลงอย่างรวดเร็ว และเสียชีวิตไปในที่สุด



คัมภีร์พุทธของทิเบตนั้น ยืนยันเรื่องของนครชางกรีลา โดยได้อ้างว่าเป็นพุทธวัจนะ ซึ่งพระพุทธองค์เคยตรัสว่า ดินแดนชัมบาลาอยู่ในแถบมณฑล เทียนซาน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลทรายโกบี!

และถ้าหากเรา มีโอกาสได้ไปเยือนมณฑลนี้ ก็จะได้เห็นภูผาหลายแห่ง ที่จะเป็นโพรง หรือเป็นถํ้ามากมาย อันเป็นที่ผู้แสวงบุญ ที่จาริกมาในถิ่นนี้ ได้ใช้อาศัยเป็นที่อยู่หลับนอน โบราณสถานที่โด่งดังที่สุด ก็คือถํ้า ซึ่งมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ถึง 1,000 องค์ นอกจากนี้ก็ยังมีการ ค้นพบคัมภีร์โบราณ ที่จัดว่าเป็นเอกสารพุทธ ของทิเบตที่เก่าแก่ที่สุด เขียนขึ้นใน ค.ศ.1868 สันนิษฐานกันว่าเป็นเสมือนลายแทง ที่ชี้บอกเส้นทางเข้าสู่เมือง ชัมบาลา หากทว่าขณะนี้ ยังไม่มีผู้ใดสามารถอ่านอักษรดังกล่าวออก

พุทธศาสนานั้น แพร่มาถึงทิเบตราวศตวรรษที่ 17 และพอถึงศตวรรษที่ 20 ก็ปรากฏว่า มีวัดพุทธศาสนาในทิเบตถึง 6,000 วัด ในขณะที่วัดคริสต์ในยุโรปมีอยู่เพียง 2,000 กว่าวัด โดยพลเมืองทิเบตก็มีเพียงราว 8 ล้านคนเท่านั้นเอง จะเห็นได้ว่า พุทธศาสนาได้ขัดเกลาเปลี่ยนนิสัยดุร้าย ของชนทิเบตให้หันมารักความสงบสุข และศรัทธาในศาสนาได้อย่างไม่น่าเชื่อเพียงใด พระสงฆ์ทิเบตจะเพียรสวดมนต์ภาวนานั่งฌาน ชักลูกประคำ และหมุนวงล้อ ที่ภายในมีพระธรรมคำสอน บรรจุอยู่อย่างมิรู้เหน็ดเหนื่อย

เป็นไปได้ไหมว่า เป้าหมายแห่งศรัทธาแรงกล้านี้ อยู่ที่ความหวังว่าจะได้เข้าถึงซึ่งดินแดนสวรรค์บนดิน

ตำแหน่งดาไลลามะนั้นสืบทอดกันมา โดยเมื่อองค์ใดสวรรคต ทีมงานก็จะออกค้นหาองค์ใหม่ โดยสืบค้นหาเด็กที่สามารถระลึกชาติได้ว่า ในชาติก่อนนั้น ตนได้เป็นดาไลลามะ พร้อมทั้งระบุเครื่องมือเครื่องใช้ของดาไลลามะองค์เดิมได้ อย่างถูกต้องแม่นยำอย่างน่าอัศจรรย์ใจ

ดาไลลามะองค์ปัจจุบัน นับเป็นองค์ที่ 14 และเคยมีผู้พยากรณ์ ไว้ว่าตำแหน่งดาไลลามะ จะสิ้นสุดลงที่องค์ที่ 14 นี่เอง! ขณะนี้พระองค์ทรงลี้ภัยการเมือง ไปอาศัยอยู่นอกทิเบตตลอดกาล ถ้าหากพระองค์รู้ถึงหนทางเข้าสู่ชางกรีลา และหากสวรรคต ไปพร้อมกับความลับนี้ กุญแจไขเข้าสู่ดินแดนสวรรค์บนดิน ก็จะสูญสิ้นไปด้วยฉะนั้นหรือ?

พระภารกิจประการหนึ่งที่องค์ดาไลลามะที่ 14 ทรงลงมือปฏิบัติเองโดยมีผู้ช่วย 2-3 คน ก็คือสร้างผังภูมิพุทธมณฑล ซึ่งมีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมขนาดกว้างยาวราวหนึ่งเมตร ทรงใช้ทรายสีต่างๆโรยเป็นรูปเรขา ประกอบด้วยเส้นสายและสัญลักษณ์หลายรูปแบบ

สิ่งนี้เปรียบประดุจลายแทงแผนที่เข้าสู่ดินแดนชางกรีลาใช่ไหม? “มีผู้นำคำถามนี้ไปทูลถามองค์ดาไลลามะ”

พระองค์ทรงแย้มสรวลเล็กน้อย และตรัสว่า ผู้ใดที่หมั่นเพียรชำระจิตใจให้สะอาด มีฌานและศรัทธาอันแน่วแน่ ในพระศาสนา สักวันหนึ่งเขา จะได้เข้าถึงซึ่งชางกรีลา อย่างแน่นอน..

ที่มา: http://travel.mthai.com/world-travel/35182.html
http://www.geocities.ws/kyo_petrucci/storyshangrila.html
ฯลฯ

http://www.oknation.net/blog/talkwithMetha/2012/09/11/entry-1

เคยลงไว้ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,1466.0.html

มดเอ๊ก:


อาณานิคมก่อนสมัยน้ำท่วม


ศัมภาลาตอนเหนือ

                หนังสือพิมพ์เซี่ยงไฮ้ในทศวรรษที่ยี่สิบ ได้ลงบทความของด็อกเตอร์เล่าจินเกี่ยวกับการเดินทางของตนไปยังเมืองในฝันในเอเชียกลาง จากการบอกเล่าอย่างน่าฟัง เรื่อง เส้นขอบฟ้าที่สาบสูญ ของเจมส์ ฮิลตัน ศัลยแพทย์ได้พรรณนาถึงการเดินทางที่อันตราย โดยใช้เกวียนไปกับโยคีชาวเนปาล ถึงที่ราบสูงแห่งทิเบต ในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยเทือกเขาที่แยกตัวออกมาอย่างโดดเดี่ยว นักผจญภัยทั้งสองได้พบหุบเขาที่เร้นลับ มีสายลมทางเหนือที่พัดอย่างรุนแรงคอยขวางกั้น และสดชื่นรื่นรมย์กับสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่าภูมิภาคโดยรอบ นายแพทย์เล่าจินกล่าวถึงหอคอยศัมภาลาและห้องทดลองที่น่าสงสัย ผู้เยี่ยมเยือนทั้งสองได้เห็นการบรรลุผลสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงของผู้พำนักในหุบเขานั้น พวกเขายังเฝ้าดูความสามารถอันเลอเลิศในการถ่ายทอดกระแสจิตที่กระทำขึ้นในระยะห่างไกลกันมาก นายแพทย์ชาวจีนท่านนี้ยังจะมีเรื่องเล่าอีกมากมายเกี่ยวกับการพักอยู่บนหุบเขานั้น หากมิได้สัญญากับผู้คนที่นั่นว่าจะไม่เปิดเผยเรื่องทั้งหมดนั้น

                จากเรื่องเล่าของผู้คนทางตะวันออกของศัมภาลาตอนเหนือ ซึ่งปัจจุบันพบแต่ทรายและทะเลสาบน้ำเค็มเท่านั้น กล่าวว่าครั้งหนึ่งยังมีทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาลในเอเชียกลาง ทะเลแห่งนี้มีเกาะแห่งหนึ่งที่ปัจจุบันไม่มีสิ่งใดคงอยู่เลย เว้นแต่ภูเขาในยุคอันไกลโพ้นย้อนหลังไปนั้น มีเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่บังเกิดขึ้น “ด้วยเสียงแผดคำรามร้องอย่างทรงพลัง จากลมที่พัดลงมาจากความสูง สุดจะคะเนได้ รายรอบด้วยไฟสว่างเจิดจ้า วาบวาวไปทั่วท้องฟ้า โชติช่วงทั่วอากาศ เห็นราชรถของโอรสแห่งไฟ เจ้าแห่งเพลิงจากวีนัส สรรพสิ่งทั้งปวงนี้ปรากฏคละเคล้าอยู่เหนือเกาะสีขาวที่นอนยิ้มอยู่ในอ้อมกอดแห่งทะเลโกบี”


กษัตริย์แห่งศัมภาลา

     เมื่อเราได้ยินภูมิหลังของการถกเถียงในทุกวันนี้ เรื่องยานจากนอกโลกมาชนที่ทังกัสกา ในไซบีเรีย เราอย่าได้ขบขันกันเรื่องเล่าของอินเดียนี้เลย

                ในเรื่องพื้นบ้านและบทเพลงของทิเบตและมองโกเลีย กล่าวว่า ศัมภาลาถูกยกขึ้นสูงยังจุดที่คาดว่าเป็นรูปของความจริงสูงสุด ในช่วงการเดินทางสู่เอเชียกลาง นิโคลัส เรอริชได้ผ่านเสาหลักแดนสีขาวที่ถือเป็นด่านแห่งหนึ่งในสามแห่งของศัมภาลา และเพื่อจะแสดงว่าพระลามะทั้งหลายเชื่อมั่นในเรื่องศัมภาลา เราจึงขอยกอ้างคำพูดของพระทิเบตรูปหนึ่งที่บอกเรอริชว่า “ชาวศัมภาลาบางครั้งโผล่ขึ้นมาสู่โลก พวกเขาพบกับผู้ร่วมงานของศัมภาลาบนโลก และพวกเขามอบของกำนัลล้ำค่าให้ อันเป็นของที่ระลึกอันน่าพิศวงเพื่อแสดงถึงความเป็นมนุษย์ ”

                หลังจากพิจารณาเรื่องเล่าทางพุทธศาสนาในทิเบตแล้ว โซมา เด โกโรส ค.ศ.1784 – 4842 ระบุว่าศัมภาลาอยู่ไกลจากแม่น้ำไซร์ดาเรีย ระหว่างละติจูด 45 – 50 องศาเหนือ นับเป็นเรื่องจริงที่น่าสนใจมาก ที่แผนที่สมัยศตวรรษที่สิบเจ็ด (พิมพ์ในเมืองอันท์แวป ประเทศเบลเยียม) ได้แสดงถึงประเทศศัมภาลาด้วย

                นักเดินทางชาวคริสต์สมัยต้นที่เดินทางในเอเชียกลาง เช่นหลวงพ่อสตีเฟน คาเซลลา ได้บันทึกการมีอยู่ของอาณาจักรที่ไม่มีใครรู้จัก เรียกว่า “เซมพาลา”

                นายพัน เอ็น.เอ็ม. ปริวัลสกี้ และ ด็อกเตอร์เอ.เอช. แฟรงค์ ได้ระบุถึงศัมภาลาไว้ในงานของตน งานแปลคัมภีร์ทิเบตโบราณ โดย ศาสตราจารย์ กรีนเวเดล เรื่อง เส้นทางสู่ศัมภาลา เป็นเอกาสารที่น่าสนใจชิ้นหนึ่ง อย่างไรก็ตาม จุดชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นมีความคลุมเครือโดยจงใจ นับว่าไม่มีประโยชน์แก่ใครเลย ถ้าไม่คุ้นเคยอย่างทะลุปรุโปร่งกับชื่อโบราณและชื่อสมัยใหม่ของสถานที่และอารามต่าง ๆ เหล่านั้น การบ่งบอกทางภูมิศาสตร์อาจจะมีความสับสนจากเหตุผลสองประการ นั่นคือผู้ที่รู้จักอาณานิคมนั้นจริง ๆ จะไม่เปิดเผยบริเวณที่ปรากฏจริง เพื่อมิให้ไปรบกวนงานของผู้พิทักษ์ดังกล่าว อีกกรณีหนึ่งเป็นการอ้างอิงแหล่งพำนักเหล่านี้กับเรื่องพื้นบ้านและวรรณคดีของตะวันออกซึ่งในบางครั้งก็ดูเหมือนจะเป็นการขัดแย้ง เพราะกล่าวถึงชุมชนต่าง ๆ ในตำแหน่งอันหลากหลาย

                หลังจากได้ศึกษาเรื่องนี้อยู่หลายปี ผู้เขียนได้เขียนบทนี้ในเทือกเขาหิมาลัยและสำหรับผู้เขียนแล้ว ชื่อ ศัมภาลา นั้นครอบคลุมเกาะสีขาวในโกบี หุบเขาเร้นลับและอุโมงค์ใต้ภูเขาในเอเชียและที่อื่น ๆ และเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย

                เล่าจื้อ (ศตวรรษที่หกก่อนคริสตกาล) ผู้ก่อตั้งลัทธิเต๋า ได้เดินทางแสวงหาที่พำนักของ ซีหวังมู เทวีแห่งทิศตะวันตก และท้ายสุดก็ได้พบเรื่องเล่าของเต๋ายืนยันว่า เทวีองค์นี้เป็นมนุษย์เมื่อหลายพันปีก่อน หลังจากกลายเป็นเทพ นางก็คอยพิทักษ์เทือกเขาคุนลุน พระจีนยืนยันว่ามีหุบเขาอันสวยสดงดงานยิ่งในเทือกเขานั้น ที่นักเดินทางทั่วไปไม่อาจจะไปถึง หากไม่มีคนนำทาง หุบเขาดังกล่าวเป็นที่อยู่ของซีหวังมู ผู้เป็นประธานการประชุมของเทพเจ้า เทพเหล่านี้อาจจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ปราดเปรื่องที่สุดในโลกก็ได้

                จากความสัมพันธ์นี้ พบว่าการมองเห็นยานประหลาดเหนือคาราโครัม (ซึ่งเป็นปลายสุดของเทือกเขาคุนลุ้น) จากการสำรวจของเรอริชนั้นเป็นเรื่องแปลกมาก จานประหลาดดังกล่าวอาจจะมาจากสนามบินของเทพเจ้าก็ได้

                จากสิ่งที่กล่าวอยู่ในขณะนี้ คงจะเห็นได้ชัดเจนถึงความยากที่จะสร้างความสัมพันธ์กับผู้อาศัยในชุมชนลึกลับนั้น แต่การพบเช่นนี้ก็ยังเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าในรายงาน การไม่ปรากฏในรายงานนั้น เป็นเพราะผู้พบเห็นได้รับคำสาบานว่า จะไม่เปิดเผยถึงความลับเรื่องชุมชนโบราณ ด้วยเหตุผลที่เหมาะสม “มหาตมะ” เหล่านั้นไม่ต้องการจะถูกรบกวนจากผู้แสวงหาที่อยากรู้อยากเห็น หรือจากบรรดานักล่าสมบัติ เพราะพวกเขาเป็นผู้พิทักษ์แห่งศาสตร์โบราณ และเป็นผู้รักษาสมบัติแห่งยุคสมัย

                คงเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่จะยกอ้างจดหมายฉบับหนึ่งของมหาตมะเองที่กล่าวถึงขอบเขตของกิจกรรมการทำงานของตน “เพราะผู้คนหลายชั่วอายุนับไม่ถ้วน มีความชำนาญในการสร้างโบสถ์วิหารด้วยศิลาที่ไม่ผุกร่อน หอคอยยักษ์แห่งความคิดชั่วนิรันดร์ที่มียักษ์อาศัยอยู่ภายใน และหากมีความจำเป็นก็จะพำนักแต่ผู้เดียว เพียงแต่ปรากฏออกมาเมื่อปลายวัฏจักรเวลาเท่านั้น เพื่อเชิญผู้รับเลือกไปร่วมทำงานกับตน และช่วยมนุษย์ผู้ล้ำลึกและรู้แจ้งเป็นการตอบแทน” งานนี้ มหาตมะกูต ฮูมี เขียนไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1881



                จุดกำเนิดของชุมชนที่ไม่รู้จักเหล่านี้ได้สาบสูญไปในเวลาชั่วคืนเดียว เรื่องนี้มีความเป็นไปได้ยิ่งกว่าเรื่องที่บรรพบุรุษของเราในวิวัฒนาการ สั่งผู้คนจากแอตแลนติสให้เพิกถอนจากกฎอันดีงาม

                การบรรลุผลสำเร็จทางจิตใจและวัตถุตามแบบฉบับของแอตแลนติสอันยิ่งใหญ่ อาจจะยังคงมีอยู่ในอาณานิคมอันลึกลับนี้ แม้ว่ามิได้มีตัวแทนอยู่ในองค์การสหประชาชาติ แต่สาธารณรัฐขาดเล็กนี้ก็อาจจะเป็นรัฐถาวรเพียงแห่งเดียวในโลกราหูนี้ และเป็นแหล่งพิทักษ์ความรู้วิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่พอ ๆ กับหินผาก็ได้ ผู้สงสัยจะระลึกไว้ในใจว่า ข่าวสารจากมหาตมะนั้นยังคงเก็บรักษาอยู่ในที่เก็บเอกสารสำคัญของรัฐในประเทศไหนสักแห่งหนึ่ง

                ในเรื่องพื้นบ้านของรัสเซีย มีนิทานปรัมปราเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับนครใต้ดินชื่อ คิเจช มีการปกครองอย่างเป็นธรรม สาวกเก่าแก่เมื่อถูกข่มเหงจากรัฐบาลแห่งซาร์ ก็แสวงหาดินแดนในฝัน “จะไปหาที่ไหน ?” คนหนึ่งถาม “ตามเส้นทางแห่งบาตู” บาตูข่านวัยชรา นักรบแห่งทาร์ทาร์ตอบ เขามาจากมองโกเลีย เดินทางไปทางตะวันตก ทิศทางนั้นหมายถึงดินแดนในฝันที่บังเกิดขึ้นในเอเชียกลาง

                ตำนานอีกเรื่องหนึ่ง ชี้ถึงทะเลสาบเวลต์โลยาร์ในรัสเซีย แต่ไม่มีพื้นฐานรอรับ เพราะเคยมีการสำรวจใต้ท้องทะเลสาบนั้นแต่ไม่พบสิ่งใดเลย ดูเหมือนว่าเรื่องเล่าเกี่ยวกับคิเจชนั้น ควรจะอยู่บริเวณเดียวกับศัมภาลาตอนเหนือ เรื่องทำนองเดียวกันนี้ยังมีอีกในกรณีของเบโลวอดยี

                ในวารสารของสมาคมภูมิศาสตร์รัสเซีย เมื่อปี ค.ศ.1903 มีบทความหนึ่งของโคโรเลนโก ชื่อ “การเดินทางของอูรัล คอสแซคส์ เข้าสู่อาณาจักรเบโลวอดยี” ขณะเดียวกันสมาคมภูมิศาสตร์ไซบีเรียตะวันตกก็ตีพิมพ์เรื่องหนึ่งเมื่อปี ค.ศ.1916 เขียนโดย เบโลสลิอูดอฟ ชื่อบทความว่า “สู่ประวัติศาสตร์แห่งเบโลวอดยี”

                จากเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ของทั้งสองบทความนี้ นับเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยบทความนั้นกล่าวถึงเรื่องเล่าประหลาด ซึ่งขจรขจายไปในบรรดาสตาโรเวรี หรือสาวกเก่าแก่ในรัสเซีย กล่าวคือ สวรรค์บนโลกมีอยู่ในพื้นที่บางแห่งในเบโลวอดยี หรือ เบโลกอร์ยี อันเป็นดินแดนแห่งน้ำสีขาวและภูเขาสีขาว ตอนนี้ขอให้นึกถึงศัมภาลาตอนเหนือ ซึ่งตั้งอยู่ในเกาะสีขาวเช่นกัน

                ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของอาณาจักรลี้ลับนี้ อาจจะคลุมเครือเล็กน้อยเมื่อปรากฏแก่สายตาในตอนแรก มีทะเลสาบน้ำเค็มมากมายในเอเชียกลาง บ้างก็แห้งและมีชั้นผิวขาวอยู่เต็ม ส่วนเทือกเขาชานชุง และคุนลุ้นก็มีหิมะปกคลุมอยู่ตอนบน

                เมืออยู่ที่เทือกเขาอัลไต นิโคลัส เรอริชได้ทราบว่ามีหุบเขาลีลับไกลโพ้นจากทะเลสาบกว้างใหญ่ และเทือกเขาสูง เขาทราบมาว่า คนส่วนมากพยายามจะไปให้ถึงเบโลวอดยี แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ อย่างไรก็ตาม มีบางคนได้พบและอยู่ที่นั่นเป็นเวลาสั้น ๆ เมื่อศตวรรษที่สิบเก้า มีชายสองคนได้ไปถึงดินแดนในฝันนี้ และพักอยู่ที่นั่นระยะหนึ่ง เมื่อพวกเขากลับมาก็ได้พรรณนาถึงความน่าอัศจรรย์เกี่ยวกับอาณานิคม ที่สาบสูญดังกล่าว แต่ “ในบรรดาความน่าอัศจรรย์อื่น ๆ พวกเขาไม่ยอมให้เรากล่าวถึง”

                เรื่องนี้มีหลายจุดที่คล้ายคลึงกับเรื่องของนายแพทย์เล่าจินที่เล่ามาก่อนนี้

                เรื่องที่ผู้คนในอาณานิคมลี้ลับเหล่านี้มีความสำนึกทางวิทยาศาสตร์ อาจจะสรุปได้จากเรื่องของเรอริช เกี่ยวกับพระลามะผู้กลับจากหนึ่งในอาณานิคมเหล่านี้ไปยังอารามของตน พระรูปนี้พบกับชายสองคนที่นำแกะพันธุ์ดีเยี่ยมเดินทางตามเส้นทางใต้ดินแคบ ๆ สัตว์ตัวนี้เป็นที่ต้องการขยายพันธุ์ทางวิทยาศาสตร์ในหุบเขาลับนั้น

                เอกสารของสำนักวาติกันได้เก็บรายงานหายากเรื่องมิชชันนารีในศตวรรษที่สิบเก้า ที่ยืนยันว่าในคราววิกฤต จักรพรรดิแห่งจีนเคยส่งตัวแทนไปยัง “เทพเจ้าแห่งขุนเขา” เพื่อขอคำปรึกษา เอกสารเหล่านี้มิได้แสดงว่าม้าด่วนคนนั้นไปยังที่ใด แต่บอกเพียงว่าไปยังเทือกเขาชานตุง คุนลุ้น หรือหิมาลัย

                บันทึกเหล่านี้ของมิชชันนารีคาทอลิก (และงานของมองซินอีเยอร์ เดลาปลาซ เรื่อง บันทึกประจำปี การประกาศศรัทธา (Annales de la Propagation de la Foi) บ่งบอกถึงความเชื่อของนักพรตชาวจีน ที่เชื่อในมนุษย์วิเศษผู้อาศัยอยู่ในส่วนเร้นลับยากจะเข้าถึงในประเทศจีน พงศาวดารนั้นพรรณนาถึง “ผู้พิทักษ์แห่งจีน” ว่า มีลักษณะทั่วไปคล้ายมนุษย์ แต่ทางสรีระต่างกัน
แอนดรูว์ โทมัส เขียน

ธวัชชัย ดุลยสุจริต แปล

จาก http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/15/1/ATLANTIS/atlan11.htm

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ