[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 21:54:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๔ ความไม่ประมาทในโพธิจิต  (อ่าน 1095 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2559 02:15:00 »

หมวดหมู่: คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร

ตอนนี้ผมเรียบเรียง คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร เนื้อหาประกอบด้วย ๑๐ ปริเฉทเสร็จเรียบร้อยแล้ว ภายในจะมีเนื้อหา แบ่งเป็นในแต่ละปริเฉท ซึ่งจะมีบทปริวรรตภาษาสันสกฤตเป็นอักษรไทย 2 แบบ และมีเสียงประกอบให้อ่านตามได้ ส่วนล่างสุดจะเป็นบทแปลครับ เหมาะสำหรับผู้สนใจทั้งคัมภีร์ศาสนา, การออกเสียงภาษาสันสกฤต, และฉันทลักษณ์สันสกฤต

คัมภีร์โพธิจรรยาวตารเป็นบทประพันธ์อันมีชื่อเสียงของท่านศานติเทวะ ผู้เป็นพระอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทาเมื่อประมาณคริสตศตวรรษที่ 8 เนื้อหาประกอบด้วย ๑๐ ปริเฉท มีจํานวนโศลกทั้งสิ้น 913 โศลก ในการประพันธ์ได้ใช้ฉันทลักษณ์11 ชนิด

คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร เป็นคัมภีร์สําคัญของพระพุทธศาสนามหายานนิกายมาธยมิก ที่กล่าวถึงแนวทางปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้ หรือหลักการดําเนินชีวิตของพระโพธิสัตว์ เป็นคัมภีร์ที่ประมวลไว้ซึ่งหลักคําสอนอันครอบคลุมแนวความคิดสําคัญทั้ง 3 ด้านของพระพุทธศาสนามหายานคือ แนวความคิดเรื่องพระโพธิสัตว์ แนวความคิดเรื่องปรัชญาศูนยตาและแนวความคิด เรื่องพุทธภักติ อันมีเนื้อหาสาระส่วนใหญ่มุ่งอธิบายถึงหลักการปฏิบัติตนของพระโพธิสัตว์เป็นสําคัญ

ต้นฉบับภาษาสันสกฤต อักษรเทวนาครีจากโครงการ DSBC ปริวรรตเป็นไทยโดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์ เสียงจากโครงการ Bodhisvara ในส่วนคำแปลนั้น ได้รับอนุญาตจากผู้แปลคือ พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ

เนื้อหาเพิ่มเติม http://blog.thai-sanscript.com/category/bodhicharyavatara/




โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๔ ความไมประมาทในโพธิจิต

ในปริเฉทที่ ๔ ท่านศานติเทวะอธิบายการยึดถือเอาโพธิจิตให้มั่นคง
โดยไม่ประมาทและตั้งมั่นอยู่บนวิถีทางโพธิสัตว์ไม่คิดหวนคืนกลับ


ต้นฉบับจากโครงการ DSBC เสียงจากโครงการ Bodhisvara  แปลโดย พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ ปริวรรตเป็นไทยโดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์

เพิ่มเติม http://blog.thai-sanscript.com/attending_bodhicitta/




โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ

ปริเฉทที่ ๔ ความไมประมาทในโพธิจิต

๑. เมื่อได้ยึดเอาซึ่งโพธิจิตอันมั่นคงเช่นนี้แล้ว บุตรของพระชินเจ้าไม่พึงล่วงละเมิดหลักข้อปฏิบัติทั้งหลาย แต่ควรบำเพ็ญเพียรตลอดกาลเป็นนิตย์โดยไม่ท้อถ้อยเถิด
๒. สิ่งใดอันบุคคลปรารภแล้วโดยพลัน สิ่งใดอันบุคคลไม่พิจารณาแล้วด้วยดี บุคคลนั้นย่อมไม่คิดอย่างนี้ว่า เขาพึงกระทำในสิ่งนั้น แม้ว่าเขาจะประกอบคำปฏิญญาไว้ก็ตาม
๓. ด้วยความสามารถอันกล้าหาญของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะละเลยในสิ่งที่พระพุทธเจ้าผู้ทรงปัญญามหาศาลทั้งหลาย หรือที่เหล่าพุทธบุตรและตัวข้าพเจ้าเองได้พิจารณาโดยถี่ถ้วนแล้วได้อย่างไร
๔. เมื่อได้ตั้งคำมั่นสัญญาไว้อย่างนี้แล้วถ้าหากข้าพเจ้าไม่กระทำตามคำปณิธานให้สมบูรณ์และเมื่อได้กล่าวคำเท็จไว้กับมนุษย์ทั้งปวงนั้น ชะตากรรมของข้าพเจ้าจักเป็นเช่นไรเล่า
๕. หากได้พิจารณาไตร่ตรองด้วยความคิดแล้วว่า ผู้ที่ไม่เคยให้(วัตถุใด ๆ) เลย เขาย่อมเป็นเปรตที่หิวกระหาย ดังนั้น บุคคลควรเอาใจใส่(บริจาค) ซึ่งวัตถุทั้งหลาย แม้มาตรว่าเล็กน้อยก็ตาม
๖. เพราะความที่สัตว์จำนวนมากมายได้ประกาศซึ่งความสุขอันยอดเยี่ยม ด้วยเสียงอันกึกก้องเมื่อกล่าวเท็จหลอกลวงต่อสัตว์โลกทั้งปวงนั้น ชะตากรรมแห่งชีวิตของข้าพเจ้าจักเป็นอย่างไรเล่า
๗. พระผู้ทรงเป็นสัพพัญญูพระองค์เดียวเท่านั้น ย่อมทรงทราบถึงคติแห่งการกระทำที่ใคร ๆ ไม่สามารถจะหยั่งรู้ได้ซึ่งเป็นคติอันยังนรชนเหล่านั้นให้หลุดพ้นเสียได้แม้จะเลิกล้มความตั้งใจในโพธิจิตแล้วก็ตาม
๘. เหตุเพราะเมื่อเขาล่วงละเมิดอยู่ซึ่งความผิดนี้ อันเป็นเครื่องทำลายซึ่งประโยชน์สุขของสรรพสัตว์ให้หมดไป ด้วยเหตุนั้น อาบัติทั้งปวงของพระโพธิสัตว์ จึงเป็นความลำบากยากเข็ญอย่างยิ่ง
๙. ผู้ใดก็ตามเมื่อได้สร้างอุปสรรคขวากหนามแห่งบุญกุศลไว้แก่เขา แม้เพียงชั่วขณะหนึ่งเพราะได้ทำลายประโยชน์สุขของสัตว์ทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมมีความทุกข์ยากอย่างไร้ขอบเขตที่สิ้นสุด
๑๐. โดยแท้จริงผู้ที่ได้ประทุษร้ายต่อคนผู้ทำประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์แม้ตัวเดียวเท่านั้น ก็ย่อมเป็นคนทุกข์ยากแสนลำบาก จะป่วยกล่าวไปใยถึงการประทุษร้ายต่อสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่โดยรอบอากาศธาตุทั้งปวงอีกเล่า
๑๑. เมื่อเขาได้แกว่งไกวเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร ด้วยพลังแห่งการล่วงละเมิดประพฤติผิด และด้วยพลังแห่งโพธิจิตอย่างนี้ เขาย่อมประพฤติตนชักช้าอยู่ แม้ขณะจะได้รับชั้นภูมิธรรมก็ตาม
๑๒. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าพึงทำสิ่งที่ได้ตั้งปณิธานไว้ให้สำเร็จสมบูรณ์ด้วยความเอาใจใส่วันนี้หากข้าพเจ้าไม่พึงบำเพ็ญเพียรไซร้ข้าพเจ้าก็ย่อมตกไปสู่คติอันมืดมิดต่ำทราม
๑๓. พระพุทธเจ้าจำนวนมากมาย ผู้ทรงแสวงหาความช่วยเหลือแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ได้เสด็จผ่านไปแล้ว เพราะความผิดพลาดของตนเอง ข้าพเจ้าจึงมิได้ดำเนินไปสู่ทางโคจรแห่งยา(รักษาทุกข์) ของพระองค์ทั้งหลาย
๑๔. แม้หากในวันนี้ ข้าพเจ้าพึงเป็นอย่างที่ข้าพเจ้าเคยเป็นซ้ำ ๆ ซาก ๆ มาแล้วอีก ข้าพเจ้าย่อมสมควรจะได้รับความทุกข์ยาก ความเจ็บปวด ความตายและการตัดทำลายไป เป็นต้น
๑๕. การอุบัติขึ้นแห่งพระตถาคต ความศรัทธา ความเป็นมนุษย์และความสามารถในการบำเพ็ญกุศลทั้งหลาย ย่อมมีขึ้นในคราวใด ในคราวนั้น ข้าพเจ้าย่อมได้รับซึ่งสิ่งทั้งปวงนั้นได้ยากอย่างยิ่ง
๑๖. ก็ในวันนี้เป็นวันที่ข้าพเจ้าไม่มีโรค เพียบพร้อมไปด้วยภักษาหาร ปราศจากภัยอันตราย อายุเป็นสิ่งหลอกลวงไม่แน่นอน อุปมาเหมือนร่างกายที่ถูกยืมมาเพียงชั่วขณะเท่านั้น
๑๗. ก็แล เพราะความประพฤติอยู่เช่นนี้ ข้าพเจ้าจึงไม่ได้รับสภาวะแห่งความเป็นมนุษย์อีก เมื่อข้าพเจ้าไม่ได้รับความเป็นมนุษย์บาปเท่านั้นย่อมมี คุณงามความดีจักมีแต่ที่ไหน
๑๘. เมื่อใด ข้าพเจ้าเป็นผู้สามารถจะบำเพ็ญซึ่งกุศลได้ แต่กลับไม่บำเพ็ญซึ่งกุศล เมื่อนั้นข้าพเจ้าผู้หลงงมงายอยู่กับด้วยความทุกข์ในอบาย จักกระทำอย่างไรได้อีกเล่า
๑๙. เพราะการไม่บำเพ็ญกุศลและเพราะการสะสมซึ่งบาป แม้คำว่า สุคติ ก็ย่อมถูกลบเลือนทำลายไปเป็นเวลาหลายร้อยโกฏิกัลป์
๒๐. เพราะเหตุนี้เอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อัตภาพความเป็นมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ได้ยากอย่างยิ่ง อุปมาเหมือนการสอดคอไปแห่งเต่าตัวต้องการจะเกาะยึดซึ่งแอกในมหาสมุทรฉะนั้น
๒๑. ด้วยบาปที่ได้กระทำไว้เพียงชั่วขณะหนึ่ง บุคคลย่อมอยู่ในอเวจีมหานรกตลอดกัลป์ เพราะบาปที่ได้สั่งสมไว้ในกาลอันไม่มีจุดเริ่มต้น การกล่าวถึงสุคติจักมีได้อย่างไรเล่า
๒๒. แม้ว่าบุคคลจะได้รับรู้ซึ่งผลแห่งบาปเพียงเท่านี้ ก็ย่อมไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ ดังนั้น เมื่อบุคคลได้รับรู้ซึ่งผลบาปนั้นอยู่นั่นเอง บาปอื่น ๆ ก็จะเกิดขึ้น (แก่เขา)
๒๓. ความหลอกลวงอื่น ๆ ไม่มียิ่งไปกว่านี้ ทั้งความโง่เขลาอื่นก็จะไม่มียิ่งไปกว่าการไม่สร้างคุณความดี เหตุนั้น เมื่อได้รับโอกาส(อันน้อยนิด) เช่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าจักยังไม่บำเพ็ญซึ่งการพอกพูนบุญกุศล(อีกหรือ )
๒๔. แต่หากข้าพเจ้าย่อมทุกข์เสียใจอยู่อย่างนี้ ข้าพเจ้าก็ย่อมนั่งหลงโง่อยู่อีกต่อไป ข้าพเจ้าผู้ถูกยมทูตทั้งหลายบีบคั้นครอบงำอยู่ ก็จะเร่าร้อนอย่างยิ่งยวดตลอดกาลนาน
๒๕. เปลวไฟในนรกที่ยากจะทนทานได้ จักเผาไหม้ซึ่งร่างกายของข้าพเจ้าตลอดกาลนานไฟเครื่องเผาผลาญให้เร่าร้อนในภายหลัง จักเผาไหม้ซึ่งจิตที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมให้เร่าร้อนสิ้นกาลนาน
๒๖. อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับซึ่งภูมิอันประเสริฐที่หาได้ยากอย่างยิ่งแล้ว ข้าพเจ้าแม้รู้อยู่ ก็ยังเป็นผู้ตกลงไปสู่นรกทั้งหลายเหล่านั้นอีก
๒๗. เจตนาในเรื่องนี้ย่อมไม่มีแก่ข้าพเจ้า เหมือนบุคคลผู้โง่หลงอยู่กับเวทมนตร์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมไม่รู้ว่า ข้าพเจ้าหลงอยู่ด้วยสิ่งใด ในเพราะเหตุนี้อะไรย่อมตั้งอยู่ในภายในของข้าพเจ้า
๒๘. ศัตรูทั้งหลายมี ความโลภและความโกรธ เป็นต้น ล้วนเป็นสิ่งที่ปราศจากซึ่งอวัยวะทั้งหลายมี มือและเท้า เป็นต้น ทั้งศัตรูเหล่านั้นก็ไม่มีความกล้าหาญและไม่มีซึ่งปัญญา ข้าพเจ้าย่อมถูกศัตรูเหล่านั้นทำให้เป็นทาสได้อย่างไร
๒๙. (ศัตรูเหล่านั้น) ได้อาศัยอยู่ภายในจิตของข้าพเจ้านั่นเอง พวกมันอาศัยอยู่อย่างมั่นคงด้วยดีย่อมทำลายซึ่งข้าพเจ้านั่นเทียว แม้กระนั้นก็ตาม ข้าพเจ้าย่อมไม่โกรธ(ตอบ) ในหมู่ศัตรูเหล่านั้น น่าละอายเสียจริง ๆ ที่มีความอดทนในเวลาอันไม่เหมาะสม(เช่นนี้)
๓๐. หากเทวดาและมนุษย์ทั้งปวงพึงเป็นศัตรูของข้าพเจ้าไซร้ แม้พวกเขาเหล่านั้นก็ไม่พึงเป็นผู้สามารถเพื่อจะนำ (ข้าพเจ้า ) ลงไปสู่ไฟอันมีอยู่ในอเวจีมหานรกได้
๓๑. ในขณะที่แม้ขี้เถ้าแห่งภูเขาพระสุเมรุ(ข้าพเจ้า) ก็ไม่อาจจะได้รับเพียงเพราะได้สัมผัสพบเห็นเท่านั้น แต่ศัตรูคือ กิเลสทั้งหลาย ซึ่งมีกำลังมหาศาล ย่อมสามารถซัดเหวี่ยงข้าพเจ้าลงไปใน(นรก) นั้นได้โดยทันที
๓๒. แม้อายุของศัตรูอื่น ๆ ทั้งปวงนั้น ย่อมไม่ยืดยาวเป็นเช่นเดียวกับ(อายุ) ของศัตรูคือกิเลสทั้งหลายของข้าพเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีเบื้องต้นไม่มีที่สิ้นสุดและยืนยาวมาก
๓๓. ศัตรูทั้งปวงที่ถูกข้าพเจ้าปฏิบัติอยู่ด้วยความเมตตานุเคราะห์แล้ว ย่อมสามารถหมุนกลับไปเพื่อประโยชน์สุขได้(แต่) กิเลสเหล่านี้ เมื่อข้าพเจ้าส่องเสพ(คบหา) อยู่ ย่อมเป็นสิ่งสร้างทุกข์ให้เกิดขึ้นได้มากกว่า
๓๔. ดังนั้น เมื่อเหล่าศัตรูผู้มีอายุยืนยาวอย่างมั่นคง อันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดห้วงน้ำแห่งความชั่วร้าย ได้อาศัยอยู่ภายในใจ(ของข้าพเจ้า) ความไม่มีภัยและความรู้สึกยินดีในสังสารวัฏจะพึงมีได้อย่างไรกัน
๓๕. หากผู้คุ้มครองหมู่สัตว์ที่ท่องเที่ยวไปในภพทั้งหลายเหล่านี้ ได้เป็นมือเพชฌฆาตผู้ทำลายในที่ทั้งหลายมี นรก เป็นต้น แล้วดำรงมั่นอยู่ในการควบคุมของความโลภซึ่งอาศัยอยู่ภายในจิตใจ ความสุขของข้าพเจ้าจักมีแต่ที่ไหนเล่า
๓๖. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักไม่ทอดทิ้งธุระในเรื่องนี้ เพียงไรแต่ศัตรูเหล่านี้ยังไม่ถูกทำลายไปโดยแน่ชัด การกระทำผิดแม้ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ย่อมถูกความโกรธท่วมทับแล้ว ฉะนั้นบุคคลผู้มีทิฏฐิมานะจัด เมื่อยังไม่สามารถกำจัดทำลายซึ่งศัตรู(คือกิเลส) นั้นก็ย่อมไม่สามารถจะก้าวลงสู่นิทราได้
๓๗. พลังในการทำลายอันรุนแรงแห่งสงคราม ย่อมมีอำนาจอย่างมากที่จะทำลายความตายความทุกข์และอวิชชา ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วให้หมดไปได้ เมื่อข้าพเจ้ายังไม่สามารถ(ทำลายศัตรูเหล่านั้น ) ให้สำเร็จลงได้ความทุกข์ทรมานที่เกิดจากการทำลายของลูกศรและดาบหอกอันกำหนดนับไม่ได้ก็ย่อมไม่นำไปสู่ความยินยอมได้
๓๘. เหตุนั้น เมื่อข้าพเจ้าได้เริ่มทำลายซึ่ง(ศัตรู) แห่งธรรมชาติ อันเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวงอย่างต่อเนื่องแล้ว วันนี้ เพราะเหตุอะไรหนอแล ความหดหู่และความเศร้าโศกจึงมีแก่ข้าพเจ้า พร้อมกับความทุกข์ยากตั้ง ๑๐๐ ชนิด
๓๙. เพราะไร้ซึ่งประโยชน์นั่นเอง(คนอื่น ๆ) จึงได้นำเอาความเจ็บปวดจากศัตรูทิ้งเสีย เหมือนเครื่องประดับบนร่างกาย ดังนั้น เพราะเหตุอะไร ความทุกข์ยากทั้งหลายจึงเป็นอุปสรรคแก่ข้าพเจ้า ผู้ซึ่งกำลังประสบความสำเร็จในประโยชน์อันยิ่งใหญ่อีกเล่า
๔๐. ชาวประมง คนจัณฑาลและหมู่ชาวนา เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้มีจิตใจยึดติดอยู่เพียงความต้องการดำเนินชีวิตของตน ย่อมอดทนต่อความทุกข์ยากมี ความหนาวและความร้อน เป็นต้นแล้วข้าพเจ้าจะไม่อดทนต่อประโยชน์สุขของโลกได้อย่างไรกัน
๔๑. เมื่อข้าพเจ้าได้สัญญาไว้กับสัตว์โลกซึ่งแผ่ไปทั่วอากาศธาตุทั้ง๑๐ ทิศ เพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลส แต่(ข้าพเจ้ากลับ ) ไม่หลุดพ้นจากกิเลสด้วยตัวของข้าพเจ้าเอง
๔๒. ข้าพเจ้าไม่รู้แล้วซึ่งประมาณของตน เป็นคนบ้าไร้สติ กล่าวอยู่ในเวลาเช่นนั้น ดังนั้นข้าพเจ้าจักไม่หวนกลับในการกำจัดซึ่งกิเลสในกาลทุกเมื่อ
๔๓. ข้าพเจ้าจักเป็นผู้ยึดมั่นในเรื่องนี้ และจักเป็นศัตรูผู้ผูกพันอยู่กับการทะเลาะวิวาท เป็นผู้ติดตามเข่นฆ่าซึ่งกิเลส พร้อมด้วยเหล่ากิเลสชนิดต่าง ๆ ในทุก ๆ ที่
๔๔. ท้องไส้ทั้งหลายของข้าพเจ้าจงหยดไหล ศีรษะของข้าพเจ้าจงตกแตกไปก็ตามเถิด ถึงอย่างไร ข้าพเจ้าก็จะไม่ไปสู่ความถ่อมตนต่อศัตรูคือกิเลสทั้งหลายโดยประการทั้งปวง
๔๕. ก็การยึดเอาซึ่งที่พักอาศัยของศัตรูผู้ถูกขับไล่แล้ว พึงมีในระหว่างประเทศ(อื่น ๆ) ต่อจากนั้น พลังอันศัตรูนั้นสั่งสมแล้วย่อมถึง(แก่เขา) อีก แต่คติแห่งศัตรูคือกิเลสย่อมไม่เป็นเช่นนั้น
๔๖. ศัตรูคือกิเลสซึ่งอาศัยอยู่ในใจของข้าพเจ้านี้ เป็นผู้ถูกขับไล่แล้ว พึงไป ณ ที่ไหน มันดำรงอยู่แล้วในที่ใด พึงพยายามเพื่อประโยชน์แห่งการทำลายข้าพเจ้าได้เล่า ความเพียรย่อมไม่มีแก่ข้าพเจ้า ก็เพราะความรู้ที่โง่เขลาอย่างเดียว กิเลสอันชั่วช้าลามกทั้งหลาย ย่อมทำให้สำเร็จลงได้ด้วยดวงตาแห่งปัญญา
๔๗. กิเลสทั้งหลาย ย่อมไม่ดำรงอยู่ในวัตถุทั้งหลาย ย่อมไม่มีในหมู่แห่งอินทรีย์ ย่อมไม่ตั้งอยู่แม้ในสถานที่อันมีในท่ามกลาง ทั้งย่อมไม่มีในที่อื่น ๆ กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ตั้งอยู่แล้วในที่ใดย่อมก่อกวนซึ่งสัตว์โลกทั้งปวง(ให้เดือดร้อน) อีก มันเป็นเพียงมายาเท่านั้น ดังนั้น ท่านจงปล่อยทิ้งซึ่งความกลัวในจิตใจเสีย จงคบซึ่งความเพียรพยายาม เพื่อประโยชน์แห่งปัญญาเพราะเหตุไร ท่านย่อมเบียดเบียนซึ่งตนในนรกทั้งหลายโดยฉับพลันด้วยเล่า
๔๘. ข้าพเจ้าเมื่อได้พิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมบำเพ็ญซึ่งความพากเพียรเพื่อวัตถุประสงค์แห่งการปฏิบัติตามข้อศีลทั้งหลายดังกล่าวแล้ว เมื่อบุคคลหวั่นไหวอยู่จากคำแนะนำของแพทย์ความเป็นผู้หายป่วยแห่งบุคคลผู้รักษาด้วยการเยียวยา จักมีแต่ที่ไหนได้เล่า

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 สิงหาคม 2559 18:17:26 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
วิถีชีวิตของพระโพธิสัตว์ (โพธิจรยาวตาร) ศานติเทวะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 3 2533 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 01:17:16
โดย มดเอ๊ก
คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๑ อานิสงส์ของโพธิจิต
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1160 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 01:50:05
โดย มดเอ๊ก
คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๒ การแสดงบาป
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1016 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 01:59:49
โดย มดเอ๊ก
คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๓ การเข้าถึงซึ่งโพธิจิต
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1150 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 02:08:00
โดย มดเอ๊ก
คัมภีร์ โพธิจรรยาวตาร ของ ศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๕ การรักษาซึ่งสัมปชัญญะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1259 กระทู้ล่าสุด 13 สิงหาคม 2559 18:19:27
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.453 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 29 กุมภาพันธ์ 2567 15:51:37