[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 08:20:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ (คอลัมน์ มองอย่างพุทธ โดย พระไพศาล วิสาโล )  (อ่าน 925 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 สิงหาคม 2559 17:47:10 »



วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11180 มติชนรายวัน
ก่อนพุทธศาสนาอายุครบ 26 ศตวรรษ

คอลัมน์ มองอย่างพุทธ

โดย พระไพศาล วิสาโล เครือข่ายพุทธิกา http://budnet.info

พุทธศาสนากำลังได้รับความนิยมอย่างมากในซีกโลกตะวันตก ในสหรัฐอเมริกา พุทธศาสนาจัดว่าเป็นศาสนาหนึ่งที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในหมู่คนพื้นเมืองผิวขาว โดยเฉพาะผู้มีการศึกษาชั้นสูง (ผิดกับแต่ก่อนที่การขยายตัวของพุทธศาสนาเกิดจากการอพยพของคนเอเชีย) สมาธิภาวนาแบบพุทธได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางไม่จำเพาะในหมู่ชาวพุทธ หากยังขยายไปสู่แวดวงอื่นๆ รวมทั้งแวดวงการแพทย์และจิตเวช จนคำว่า "วิปัสสนา" กลายเป็นคำที่คุ้นปากผู้คน ร้านหนังสือชั้นนำทุกแห่งทั่วประเทศต้องมีชั้นหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาวางขายโดยเฉพาะ และหลายเล่มเป็นหนังสือขายดี

ในเวลาเดียวกัน แนวคิดทางพุทธศาสนาหรือพุทธธรรมก็ได้รับความสนใจจากคนในวงการต่างๆ มากขึ้น ในฐานะที่อาจเป็นคำตอบให้แก่โลกทางด้านนิเวศวิทยาและสันติภาพ ขณะเดียวกันก็ได้สร้างความรุ่มรวยลุ่มลึกให้แก่องค์ความรู้ในหลายสาขาทั้งวิทยาศาสตร์ การแพทย์ จิตวิทยา และเศรษฐศาสตร์ ดังเห็นได้จากการเสวนาวิสาสะระหว่างชาวพุทธชั้นนำกับนักคิดในวงการและสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างคึกคักตลอดทศวรรษที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวแม้มีแนวโน้มขยายตัวแต่ในที่สุดก็อาจจำกัดอยู่เฉพาะแวดวงส่วนน้อยของชาวพุทธ อาทิ ในหมู่ชนชั้นนำหรือผู้มีการศึกษา จนกลายเป็นรูปแบบการใช้ชีวิต หรือ "ไลฟ์สไตล์" ของคนเฉพาะกลุ่ม (ดังโยคะซึ่งเป็นที่นิยมจนแทบจะกลายเป็น "แฟชั่น" ในหมู่ชนชั้นกลางหรือผู้มีอันจะกินที่มีการศึกษา) อย่างดีก็ทำให้พุทธศาสนาเป็นเรื่องของคนที่ต้องการหลุดพ้นเฉพาะตน ในขณะเดียวกันก็เป็นไปได้เช่นกันว่าพุทธศาสนากระแสใหม่ซึ่งแพร่หลายในกลุ่มคนเหล่านี้จะหดแคบเรียวลงจนเป็นแค่เทคนิคจิตบำบัดหรือวิธีการผ่อนคลายจิตใจอีกชนิดหนึ่งเท่านั้น ในกรณีเช่นนั้นปรากฏการณ์ดังกล่าวก็เป็นเพียงภาพสะท้อนการแปรเปลี่ยนพุทธศาสนาให้เป็นสินค้าเพื่อการบริโภคอีกชนิดหนึ่งเท่านั้น มิพักต้องกล่าวว่าแนวคิดใหม่ๆ ที่พุทธศาสนาจะให้แก่โลกนั้น ในที่สุดก็อาจเป็นเพียงแค่ประเด็นสำหรับการถกเถียงทางวิชาการหรือกลายเป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่จำเพาะผู้คนในแวดวงมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่สนใจ

จะข้ามพ้นจากกับดักดังกล่าวไปได้ การมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับโลกสมัยใหม่และวัฒนธรรมร่วมสมัยอย่างรู้เท่าทัน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชาวพุทธ ขณะเดียวกันก็ไม่ควรพอใจกับการอ้าแขนต้อนรับของวงการต่างๆ โดยยอมให้มีการนำเอาบางแง่บางด้านไปใช้ประโยชน์ แต่ละทิ้งสิ่งที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา (ได้แก่ การลดความเห็นแก่ตัวจนหลุดพ้นจากความยึดติดถือมั่นในตัวตน) เพราะนั่นอาจกลายเป็นการยอมตนให้ถูกกลืนอีกแบบหนึ่ง แต่ชาวพุทธควรก้าวไปมากกว่านั้น นั่นคือ พยายามผลักดันให้แนวโน้มด้านบวกต่างๆ ที่กล่าวมาขยายตัวในทุกปริมณฑลและผสานเข้ากับวิถีชีวิตของผู้คนจนกลายเป็น "วัฒนธรรม" เราอาจเรียกวัฒนธรรมดังกล่าวว่า "วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้" กล่าวคือ เป็นไปเพื่อการตื่นจากความหลงในวัตถุนิยม และจากความยึดติดถือมั่นในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว อันนำไปสู่การเบียดเบียนทำร้ายกัน

ในยามที่โลกกำลังเผชิญวิกฤตจนใกล้ลุกเป็นไฟ (ทั้งด้วยเพลิงสงครามและปรากฏการณ์โลกร้อน) อันเป็นผลจากวัฒนธรรมหลัก ๒ กระแส คือ วัฒนธรรมแห่งความละโมบ และวัฒนธรรมแห่งความโกรธเกลียด โดยมีกระแสโลกาภิวัตน์เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและกระตุ้นเร้า วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะ "ช่วยโลก" ให้ปลอดพ้นจากวิกฤตการณ์ได้อย่างแท้จริง ทั้งโดยการทัดทานถ่วงดุลวัฒนธรรม 2 กระแสดังกล่าว และด้วยการเสนอทางเลือกของชีวิตและสังคมที่ดีกว่า

ไม่ใช่แต่อนาคตของโลกเท่านั้น แต่รวมถึงอนาคตของพุทธศาสนาด้วย ล้วนขึ้นอยู่กับว่าพุทธศาสนาจะสามารถขับเคลื่อนให้เกิดวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ได้หรือไม่ เป็นที่ยอมรับกันว่า พุทธศาสนาเป็นระบบการปฏิบัติที่ช่วยให้บุคคลเกิดความตื่นรู้จนเป็นอิสระจากความทุกข์ แต่นั่นก็เป็นเพียงด้านหนึ่งของพุทธศาสนา หากการนำพาบุคคลให้รู้จักมองตนจนประจักษ์แจ้งในสัจธรรม เป็นมิติด้านลึกของพุทธศาสนา พุทธศาสนาก็ยังมีมิติหนึ่งคือมิติด้านกว้าง ซึ่งหมายถึงการช่วยเหลือมหาชนให้พ้นทุกข์และเกื้อกูลสังคมให้เกิดสันติสุข คำสอนทางพุทธศาสนาไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อชักนำผู้คนให้เข้าถึงปรมัตถธรรมเท่านั้น หากยังมุ่งส่งเสริมให้ผู้คนมีสำนึกความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และช่วยให้สังคมเกิดความสงบสุข วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากชาวพุทธมุ่งแต่ความหลุดพ้นเฉพาะตน หากจำต้องออกไปสร้างสรรค์สังคมเพื่อให้เกื้อกูลต่อความตื่นรู้ของผู้คนในวงกว้างด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ลำพังจิตที่ตื่นรู้เฉพาะตนนั้นยังไม่เพียงพอ แต่ต้องขยายผลให้เกิดวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ด้วย

ทุกวันนี้พุทธศาสนาถูกตีความให้แคบจนเหลือแต่ด้านเดียวคือมิติด้านลึก (หรือยิ่งกว่านั้นคือเหลือแต่เพียงประเพณีพิธีกรรม ซึ่งเป็นความตื้นอย่างยิ่ง) การตีความเช่นนั้นเป็นการตีกรอบพุทธศาสนาให้มีบทบาทแคบลง คือไม่สนใจชะตากรรมของสังคม การจำกัดตัวเช่นนี้นอกจากจะทำให้วัฒนธรรมแห่งความละโมบและความโกรธเกลียดเฟื่องฟูและซึมลึกแล้ว ยังเป็นผลเสียต่อพุทธศาสนาเอง เพราะสังคมที่ถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมแห่งความละโมบและความโกรธเกลียดนั้น ย่อมบั่นทอนพลังของพุทธศาสนาเอง และทำให้พื้นที่ในการปฏิบัติธรรมของชาวพุทธแคบลง จนแม้แต่การรักษาตนให้มีคุณธรรมก็จะเป็นไปได้ยากขึ้น ดังทุกวันนี้ผู้คนพบว่าตนยากที่จะครองตนให้มีความซื่อสัตย์สุจริตได้ในเวลาทำงาน เพียงแค่อยู่บนท้องถนนก็ยากจะมีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่นได้ แต่ต้องเห็นแก่ตัวจึงจะอยู่รอดได้ กลายเป็นว่าจะเป็นคนดีได้ก็เฉพาะเวลาอยู่ในบ้านเท่านั้น และนับวันการทำความดีหรือมีน้ำใจแม้แต่ในบ้านก็เป็นเรื่องยาก เพราะต่างแสวงหาประโยชน์จากกันและกัน การเอาเปรียบและใช้ความรุนแรงในบ้านจึงมีแนวโน้มมากขึ้น สิ่งที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เตือนไว้เกือบ 3 ทศวรรษมาแล้ว จึงใกล้จะเป็นความจริงขึ้นทุกที กล่าวคือ ชาวพุทธกำลังอยู่ในสภาพเป็นฝ่ายตั้งรับและถอยร่นไปเรื่อยๆ "เหมือนหนีไปรวมกันอยู่บนเกาะที่ถูกน้ำล้อมรอบ ขาดจากชาวมนุษย์อื่น" และต่อไปอาจถึงขั้นว่า "การปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธศาสนาไม่อาจเป็นไปได้เลย"

การเสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้จนกลายเป็นวิถีชีวิตของมหาชน จะทำให้พุทธศาสนาพ้นจากการเป็นวิถีปฏิบัติของคนเฉพาะกลุ่มที่มุ่งความหลุดพ้นเฉพาะตน (โดยกระจุกตัวอยู่ในวัดป่าหรือสำนักปฏิบัติต่างๆ) และมีความหมายต่อผู้คนทุกหมู่เหล่า เปรียบเสมือนสระน้ำอันกว้างใหญ่ที่คนทุกประเภทได้ใช้สอย ไม่จำเพาะนักปฏิบัติธรรมหรือคนบางกลุ่มเท่านั้น อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้จะเกิดขึ้นได้ ไม่อาจเกิดขึ้นได้จากลำพังของพุทธคาสนาเอง แต่จำเป็นต้องร่วมมือกับขบวนการอื่นๆ ที่มุ่งสร้างสรรค์สังคมให้เกิดสันติสุขในด้านต่างๆ เช่น ขบวนการสิ่งแวดล้อม ขบวนการสันติภาพ ขบวนการพัฒนา ตลอดจนองค์กรศาสนาอื่นๆ ที่มีจุดร่วมคล้ายกัน โดยเฉพาะที่เห็นโทษภัยของบริโภคนิยม และอุดมการณ์ที่ปลุกให้เกิดความโกรธเกลียดไม่ว่าด้วยสาเหตุทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว

พุทธศาสนาแม้จะมีจุดเด่นในด้านวิถีแห่งการปฏิบัติเพื่อความตื่นรู้เฉพาะตนซึ่งใช้ได้กับผู้คนทุกยุคทุกสมัยเพราะธรรมชาติของคนนั้นเป็นสากล แต่ในด้านการสร้างสรรค์สังคมนั้น พุทธศาสนามีข้อจำกัดตรงที่มีเพียงหลักการกว้างๆ สำหรับการจัดวางสังคมที่ดีงาม แต่ไม่มีคำตอบหรือวิถีทางที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมสำหรับการแก้ปัญหาของสังคมยุคปัจจุบัน (หรือยุคใดก็ตาม) เนื่องจากสังคมมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้น ในการขับเคลื่อนผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ไปทั่วทั้งสังคมนั้น จึงต้องร่วมมือขบวนการทางสังคมเหล่านี้ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่มียุทธศาสตร์ทางสังคมและการเมืองที่ชัดเจนและสอดคล้องกับบริบททางสังคมมากกว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่พุทธศาสนาจะช่วยได้ก็คือการเสริมสร้างมิติทางจิตวิญญาณให้แก่ขบวนการเหล่านี้ เพื่อให้เป็นขบวนการที่ไม่เพียงมุ่งเปลี่ยนแปลงสังคมเท่านั้น หากมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในด้วย นอกจากการมุ่งช่วยให้ผู้คนเป็นอิสระจากการเอารัดเอาเปรียบและการบีบคั้นทางสังคมแล้ว ยังมุ่งให้ผู้คนเป็นอิสระจากความบีบคั้นของกิเลส ซึ่งเป็นรากเหง้าแห่งความทุกข์ทั้งปวง หาไม่แล้วการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอาจลงเอยด้วยการเปลี่ยนกลุ่มคนและรูปแบบการเอารัดเอาเปรียบกันเท่านั้น

ในยุคที่ผู้คนให้ความสำคัญกับเสรีภาพจากความบีบคั้นทางสังคม (รวมทั้งจากการเอาเปรียบผ่านกลไกทางเศรษฐกิจและการเมือง) พุทธศาสนาจะมีความหมายได้ก็ต่อเมื่อนำเอาจุดเน้นดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนาควบคู่กับเสรีภาพจากความทุกข์ภายใน การเน้นเสรีภาพทั้งสองมิติ คือ เสรีภาพทางจิตวิญญาณ และเสรีภาพทางสังคม จะทำให้พุทธศาสนากลับมามีพลังและเป็นความหวังของโลกได้

จะทำเช่นนั้นได้ พุทธศาสนาต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อฟื้นฟูมิติทางจิตวิญญาณที่เลือนหายไปให้กลับมามีพลัง โดยไม่ติดยึดกับประเพณีหรือค่านิยมที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงปรมัตถธรรม ขณะเดียวกันก็ต้องออกมาสัมพันธ์กับโลกให้มากขึ้น เปิดมิติทางสังคมให้กว้าง เพื่อลดทอนความทุกข์ของผู้คน นอกจากการฟื้นฟูในทางหลักธรรมแล้ว การปฏิรูปสถาบันก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ในสภาพที่คณะสงฆ์นับวันจะเสื่อมถอยและปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงตัวเอง การผลักดันจากภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามความสำคัญได้ ขณะเดียวกันก็จำต้องคิดถึงการสร้างชุมชนแห่งความตื่นรู้ชนิดอื่นๆ ที่นอกเหนือจากคณะสงฆ์หรือวัดด้วย ความตื่นตัวของชาวพุทธที่อยู่นอกวัดหรือไม่อิงกับวัด และเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นเครือข่าย อาจเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ให้เกิดขึ้นได้ในสังคมไทยก็ได้

ปี 2555 พุทธศาสนาจะมีอายุครบ 26 ศตวรรษ (หากเริ่มนับตั้งแต่ปฐมเทศนา หรือ ๔๕ ปีก่อนพุทธปรินิพพาน) พุทธศาสนาจะยังมีชีวิตชีวาและพลังในการปลุกความตื่นรู้ให้แก่สังคมไทยได้หรือไม่ ขึ้นอยู่ว่าสามารถปรับตัวไปในทิศทางที่กล่าวข้างต้นได้มากน้อยเพียงใด หากการปรับตัวดังกล่าวมิอาจเกิดขึ้นได้ ก็น่าเป็นห่วงว่าพุทธศาสนาไทยในศตวรรษที่ 27 จะเป็นได้อย่างมากเพียงแค่ร่างทรงของบริโภคนิยมและวัตถุนิยมเท่านั้น

จาก http://happymedia.blogspot.com/search?updated-max=2008-12-30T21:05:00%2B07:00&max-results=4&start=12&by-date=false

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เปลี่ยนแปลงสังคมและตนเอง, พระไพศาล วิสาโล
กระบวนการ NEW AGE
เงาฝัน 3 3097 กระทู้ล่าสุด 28 พฤษภาคม 2553 15:57:42
โดย เงาฝัน
ทำไมสัตว์โลกถึงเป็นไปตามกรรม? พระไพศาล วิสาโล
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
เงาฝัน 3 3683 กระทู้ล่าสุด 20 มิถุนายน 2554 01:10:46
โดย หมีงงในพงหญ้า
นำผู้ป่วยโคม่าสู่ความสงบ พระไพศาล วิสาโล
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 2606 กระทู้ล่าสุด 10 ตุลาคม 2553 19:40:45
โดย หมีงงในพงหญ้า
ธรรมะไม่ใช่ของยาก พระไพศาล วิสาโล
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 2 3110 กระทู้ล่าสุด 08 พฤศจิกายน 2553 11:24:54
โดย หมีงงในพงหญ้า
อย่าติดสมมุติ พระไพศาล วิสาโล
เสียงธรรมเทศนา
เงาฝัน 1 2420 กระทู้ล่าสุด 24 พฤษภาคม 2554 14:00:19
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.375 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 16:00:21