[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 01:41:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
กระบวนการ NEW AGE


.:::

เริ่มต้นที่ดอกหญ้าริมทาง ( อาจารย์ ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ แห่ง ทฤษฎีไร้ระเบียบ )

:::.
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เริ่มต้นที่ดอกหญ้าริมทาง ( อาจารย์ ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ แห่ง ทฤษฎีไร้ระเบียบ )  (อ่าน 2669 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 สิงหาคม 2559 19:53:42 »





เริ่มต้นที่ดอกหญ้าริมทาง

          ราษฎรอาวุโสอย่าง อาจารย์ประเวศ วะสี ได้เขียนคำปรารภไว้ในหนังสือ “ทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos Theory) กับทางแพร่งของสังคมสยาม” (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2537) ว่า ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ คือ คนแรกที่นำทฤษฎีไร้ระเบียบมาสู่สังคมไทย

           สาระสำคัญของทฤษฎีที่ว่านี้เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์แนวใหม่ที่มองสรรพสิ่งสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงถึงกันและกันอย่างสลับซับซ้อน และที่สำคัญ เป็นแนวคิดที่เปิดใจ มีพื้นที่ว่างให้แก่ “ความบังเอิญ” ไร้ต้นสายปลายเหตุ ซึ่งทฤษฎีวิทยาศาสตร์แบบเก่ารับไม่ได้

          แต่ใช่ว่าสังคมไทยจะใจกว้าง เพราะถึงวันนี้ ทฤษฎีไร้ระเบียบก็ยังเป็นเพียงหนังสือเล่มเล็กๆ เล่มหนึ่งที่วางนิ่งอยู่บนชั้นหนังสือ ปราศจากการนำมาศึกษาต่อเพื่อปรับใช้ในสังคมอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

          แต่ถึงอย่างไร ชัยวัฒน์วันนี้ก็ยังยืนยันในจุดยืน ไม่ละทิ้งความใฝ่ฝันที่ต้องการเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่คนมีคุณภาพ และเป็นสังคมที่น่าอยู่กว่าเดิม
          เขายังคงปรารถนาอยากเป็น “นักอภิวัฒน์” (revolutionist) ไม่เสื่อมคลาย

          งานอภิวัฒน์ชิ้นแรกของชัยวัฒน์คือ “บางกอกฟอรัม” (Bangkok Forum) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2537 ซึ่งเขาเล่าว่าเป็นเสมือน “บททดลอง” ภาคปฏิบัติของโครงการสร้างประชาคมเมืองหรือ Civil Society ในทัศนะของเขา

          “ผมคิดว่าหากเราอยากทำอะไรสักอย่าง เราก็ลุกขึ้นมาทำเลย เพราะในระบอบประชาธิปไตย เรามีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ เรามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของประเทศ นี่คือประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วม คือเราทำได้ ไม่ต้องรอใคร เราลุกขึ้นมาเป็นพลเมืองริเริ่มหรือที่ภาษาเยอรมันเรียกว่า BÜrger initiative หรือ Civil Initiative ได้เลย”

          เพราะชัยวัฒน์เชื่อว่า สังคมที่น่าอยู่ควรมีบรรยากาศของการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เป็นสังคมที่มีความรักความอบอุ่น เต็มไปด้วยพื้นที่สาธารณะที่เอื้อโอกาสให้ทุกๆ คนได้ใช้ในการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน

          โครงการถนนคนเดินที่เคยนิยมกันระยะหนึ่ง เช่น บนถนนพระอาทิตย์และถนนสีลม คือผลงานของบางกอกฟอรัมและความคิดริเริ่มของเขา

          ทุกวันนี้ ชัยวัฒน์ยังคงสนใจงานสร้างเสริมสุขภาพของสังคมเหมือนเดิม โดยเปลี่ยนบทบาทเป็นประธานสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม (Civicnet)

     ว่าไปแล้ว เขาเองก็ยอมรับว่า ความกล้าคิดกล้าลงมือทำโดยไม่ต้องรอใครของเขา อาจเริ่มต้นจากการเป็นหนอนหนังสือตั้งแต่วัยเด็ก

          “อิทธิพลที่มีผลต่อชีวิตของผมมาจากหนังสือ ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็กๆ ที่ต้องอ่านก็เพราะคุณยายให้เลือกระหว่างต้องนวดกับอ่านหนังสือให้ยายฟัง ผมจะเอาอย่างไหน ซึ่งผมเลือกอ่านหนังสือดีกว่า เพราะอ่านแล้วยังได้สตางค์ด้วย”

          เด็กชายชัยวัฒน์อ่านหนังสือมากมายหลายประเภท ทั้งนิยายจีน นิทาน เรื่องจักรๆ วงศ์ๆ ไปจนถึงเรื่องราวขนาดยาวอย่างมหากาพย์ รวมทั้งตำนานที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

          ที่จริง เขาตะลุยอ่านสามก๊กจนจบเล่มตั้งแต่อายุเพียง 7 ขวบเท่านั้นเอง

          ชัยวัฒน์เป็นบุตรชายคนโตของครอบครัว เติบโตขึ้นท่ามกลางบรรยากาศของการอ่านการเขียน เขาเริ่มต้นค้นหาหนังสืออ่านเองจากชั้นหนังสือในบ้านของคุณตาเพื่อนบ้านที่ชื่อ “ขุนอาเทพคดี” ปราชญ์ชาวบ้านแห่งเมืองนครฯ รุ่นราวคราวเดียวกับบิดาของ ฯพณฯ ประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

          เมื่อเขาย้ายมาพำนักอยู่ในกรุงเทพฯ ชีวิตการเรียนการศึกษาของเขาก็ดำเนินต่อไปเป็นปรกติ ไม่หวือหวาอะไรมากนัก นับจากโรงเรียนมัธยมสาธิตประสานมิตร ต่อด้วยโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาต่อด้านการบริหารธุรกิจที่เมืองนูเล็มเบิร์ก ประเทศเยอรมนี

          เขาใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นกว่าสิบปี (ราวคริสต์ทศวรรษที่ 1960 – 70) เติบโตเป็นผู้ใหญ่ในช่วงที่หนุ่มสาวกำลังตั้งคำถามกับสังคมและการเมือง กำลังแสวงหาคุณค่าที่แท้และความหมายของชีวิต

          คนรุ่นนั้นผิดหวังกับมนุษย์ที่ก่อสงครามอย่างสงครามเวียดนาม และยังเฉยเมยต่ออารยธรรมแห่งโลกสมัยใหม่จากตะวันตก โดยหันกลับไปพึ่งความสงบจากโลกตะวันออก เลือกใช้ชีวิตอย่างอิสระเสรีทั้งความคิดและพฤติกรรม

          และในบรรยากาศของสังคมที่อุดมไปด้วยนักคิดนักปรัชญาอย่างเยอรมนี คือเบ้าหลอมสำคัญในการดำเนินชีวิตและความคิดอ่านของเขาตั้งแต่นั้นมา

          หนังสือ “The German Ideology” เขียนโดย คาร์ล มาร์กซ์ และ “สิทธารถะ” (Siddhartha) ของนักเขียนชื่อก้องโลกอย่าง เฮอร์มาน เฮสเส (Hermann Hesse, ค.ศ.1877 - 1962) คือหนังสือเล่มแรกๆ ที่หนุ่มน้อยอย่างชัยวัฒน์หยิบจับขึ้นมาอ่านขณะอยู่ที่นั่น



          แต่แล้ว ชีวิตของเขาก็เปลี่ยนไปอีกครั้งเพียงเพราะกอดอกหญ้าเล็กๆ ริมทางเดินกอหนึ่ง

          “วันนั้นเป็นวันที่อากาศดีมากเป็นพิเศษ มีแสงแดดอุ่น สวยมาก ท้องฟ้าสีคราม ผมมีความสุขมากเป็นพิเศษ ขณะที่เดินออกจากบ้านไปเรียนหนังสือ ผ่านสวนสาธารณะก็ไปพบกอดอกหญ้าเข้าโดยบังเอิญ ซึ่งทุกวัน ผมก็เดินผ่านอยู่บ่อยๆ แต่วันนั้นไม่รู้เป็นไง จิตใจกลับเป็นสุขมากกว่าธรรมดา ได้เห็นความงามและความสุขอย่างคาดไม่ถึง”

          ดอกหญ้าริมทางกอนั้น ภาษาเยอรมันเรียกว่า “เลอเวนซาห์น” (LÖwenzahn) หรือแปลเป็นภาษาไทยคือ “เขี้ยวราชสีห์” ดอกมีสีเหลือง ชูช่อสูงขึ้นจากพื้นดินไม่ถึงหนึ่งฟุต

          ชัยวัฒน์เล่าวินาทีนี้อย่างออกรสว่าเป็นช่วงเวลาที่เขารู้สึกปีติหรืออิ่มเอิบภายในจนลืมทุกสิ่งทุกอย่าง หลงลืมเป้าหมายที่กำลังไปชั่วขณะ จากนั้น เขาก็ล้มตัวลงนอนและเหม่อมองไกลขึ้นไปบนท้องฟ้าสีครามกระจ่างสว่างใส เห็นภาพปุยเมฆขาวล่องลอยไปตามสายลม และภาพอันงดงามของกิ่งก้านและกลีบดอกเหลือง

          เป็นความงามที่แสนเรียบง่ายของช่อดอกที่เริงระบำร่ายรำตามแรงลม ราวกับเฝ้ารอให้ผู้ผ่านทางก้าวเดินมาพบและสัมผัสด้วยตนเอง
          เขาหยุดพักใจและกายอย่างผ่อนคลาย ใช้มือหนุนศีรษะและดื่มด่ำบรรยากาศ พร้อมภาพอันพิสุทธิ์
          และเช้าวันนั้น เขาก็ตัดสินใจไม่เข้าห้องเรียน เพราะสะดุดเข้ากับความงามริมทางเสียก่อน

          ที่สำคัญ เป็นความงดงามเล็กๆ ที่เปลี่ยนชีวิตของเขาให้รู้จักกับรสสัมผัสแห่งความสุขง่ายๆ ที่หาได้รอบๆ ตัวเรา โดยไม่จำเป็นต้องแสวงหาหรือดิ้นรนทำอะไรใหญ่โตให้ยุ่งยากแต่อย่างใด



ชีวิตรื่นรมย์ // โพสต์ทูเดย์ // ฉบับวันอังคารที่ 20 มี.ค. 2550
เอกชัย เอื้อธารพิสิฐ media4joy@hotmail.com
กลุ่มสื่อสร้างสรรค์ www.happymedia.blogspot.com
และศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

จาก http://happymedia.blogspot.com/2007/03/blog-post_21.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เทิดทูลพระคุณครู - อาจารย์
สุขใจ ห้องสมุด
sometime 1 2486 กระทู้ล่าสุด 17 กุมภาพันธ์ 2553 09:55:52
โดย sometime
Deep listening การฟังอย่างลึกซึ้ง สุนทรียสนทนา โดย อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 0 2219 กระทู้ล่าสุด 04 กรกฎาคม 2559 07:10:44
โดย มดเอ๊ก
(เสียงบรรยาย) พุทธศาสนามหายานในทิเบต โดย อาจารย์ กฤษดาวรรณ แห่ง มูลนิธิพันดารา
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1315 กระทู้ล่าสุด 30 กันยายน 2559 11:01:37
โดย มดเอ๊ก
[ข่าวมาแรง] - พิพากษาจำคุก 3 ปี ‘ชัยวัฒน์’ ไม่รอลงอาญา ผิด ม.157 ปมจับกุม ‘บิลลี่’ ยกฟ้องคดีฆ่าทำ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 44 กระทู้ล่าสุด 28 กันยายน 2566 14:22:58
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - หลาน 'ปู่คออี้' ถูก 'ชัยวัฒน์' แจ้งข้อหาให้การเท็จ กรณีเผ่าบ้านปู่คออี้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 38 กระทู้ล่าสุด 24 มกราคม 2567 19:57:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.359 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 13 ชั่วโมงที่แล้ว