[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 00:49:33 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อนุทินวันสำคัญในประวัติศาสตร์โลก  (อ่าน 10138 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 12 สิงหาคม 2559 20:01:30 »


วันสำคัญในประวัติศาสตร์โลก

เดือนมกราคม


2 มกราคม พ.ศ. 2462 – วันเกิด ไอแซค อสิมอฟ นักเขียนที่เกิดในรัสเซีย สมญา เจ้าพ่อแห่งวงการนิยายวิทยาศาสตร์
2 มกราคม พ.ศ. 2455 – วันเกิดท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยาของ ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสและอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
2 มกราคม พ.ศ. 2464 – การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเดินขบวนรถไฟสายใต้ติดต่อกับชายแดนมาเลเซีย ระหว่างสถานี บางกอกน้อย-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 990 กิโลเมตรขึ้นเป็นครั้งแรก
2 มกราคม พ.ศ. 2488 – สะพานพระราม 6 ซึ่งเป็นทางลำเลียงยุทธสัมภาระทางรถไฟของญี่ปุ่นในช่วง สงครามมหาเอเชียบูรพาหรือสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกทำลายจากการทิ้งระเบิดของเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตร


3 มกราคม พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1892)  – วันเกิด เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน นักเขียนที่เกิดในแอฟริกาใต้
3 มกราคม พ.ศ.2458 – รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ตึกบัญชาการของ “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” (โรงเรียนมหาดเล็กเดิม) ปัจจุบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


4 มกราคม พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1643) – วันเกิด เซอร์ไอแซก นิวตัน นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาชาวอังกฤษ
4 มกราคม พ.ศ. 2351 (ค.ศ. 1809) – วันเกิด หลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) ชาวฝรั่งเศสผู้ประดิษฐ์ “อักษรเบรลล์”
4 มกราคม พ.ศ.2525 – พิธีเปิดทางด่วน “เฉลิมมหานคร” ช่วงดินแดง-ท่าเรือ อย่างเป็นทางการ


5 มกราคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – วันเกิด ฮายาโอะ มิยาซากิ ผู้กำกับชาวญี่ปุ่น
5 มกราคม พ.ศ.2398 – วันเกิด คิง แคมป์ จิลเลตต์ (King Camp Gillete) ชาวอเมริกันผู้คิดประดิษฐ์มีดโกนหนวดแบบใหม่
5 มกราคม พ.ศ. 2476 – สหรัฐอเมริกาเริ่มก่อสร้างสะพาน Golden Gate


6 มกราคม 2350 –  วันเกิด โจเซฟ แมกซิมิเลียน เพทช์วอล (Jozef Maximilián Petzval) ผู้ออกแบบเลนส์สำหรับถ่ายภาพ
6 มกราคม พ.ศ. 1955 – วันเกิด โยน ออฟ อาร์ค (Joan of Arc หรือภาษาฝรั่งเศส Jeanne d’Arc) วีรสตรีชาวฝรั่งเศส
6 มกราคม พ.ศ.2426 – วันเกิด คาลิล ยิบราน (Kahlil Gibran) นักปรัชญา นักประพันธ์ กวี และศิลปินชาวเลบานอน


7 มกราคม พ.ศ.2153 – กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียน ค้นพบดวงจันทร์บริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดี 4 ดวง


8 มกราคม พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942)  – วันเกิด สตีเฟน ฮอว์คิง ผู้เขียน ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time)
8 มกราคม พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1935) – วันเกิด  เอลวิส เพรสลีย์ นักร้องและนักกีตาร์ชาวอเมริกัน
8 มกราคม พ.ศ.2447 – ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรีไปจนหมด หลังจากยึดครองมาเป็นเวลากว่า 11 ปี


9 มกราคม พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1913)  – วันเกิด ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีคนที่ 37 ของสหรัฐอเมริกา
9 มกราคม พ.ศ. 2433 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีเปิดอู่เรือหลวง ณ กรมอู่ทหารเรือ เพื่อซ่อมและสร้างเรือรบ


10 มกราคม พ.ศ. 2419 – วันประสูติ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นบิดาแห่งสหกรณ์ไทยและรัตนกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าของนามปากกา น.ม.ส.


11 มกราคม พ.ศ. 2329 – วิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ค้นพบ ทิเทเนีย และ โอเบอรอน (Titania and Oberon) ดวงจันทร์บริวารของดาว ยูเรนัส (Uranus)
11 มกราคม พ.ศ.2507 –  ครั้งแรกที่รัฐบาลอเมริกาเปิดเผยถึงพิษภัยของบุหรี่ให้สาธารณชนได้รับรู้อย่างเป็นทางการ


12 มกราคม พ.ศ. 2476 – พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระบรมราชนีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จประพาสยุโรป และประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ
12 มกราคม พ.ศ.2519 –  อกาธา คริสตี นักเขียนนวนิยายขายดีระดับโลกชาวอังกฤษ เสียชีวิต


13 มกราคม พ.ศ. 2380 – หมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันเริ่มการผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทย
13 มกราคม พ.ศ.2456 – พิธีเปิด สถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทย


14 มกราคม พ.ศ. 2285 – เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ (Edmond Halley) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้เชี่ยวชาญด้านดาวหาง เสียชีวิตที่ประเทศอังกฤษ
14 มกราคม พ.ศ. 2385 – มีการพิมพ์ปฏิทินเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
14 มกราคม พ.ศ. 2429 – นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตำแหน่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แทนตำแหน่ง วังหน้า ซึ่งมีมาแต่สมัยอยุธยา


15 มกราคม พ.ศ. 2302 – British Museum เปิดอย่างเป็นทางการ เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกที่ยังคงเปิดบริการมาจนถึงปัจจุบัน
15 มกราคม พ.ศ. 2472 – วันเกิด มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King Jr) นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกัน
15 มกราคม พ.ศ.2477 – พิธีเปิด อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี


16 มกราคม พ.ศ. 2488— กำหนด “วันครู” ขึ้นเป็นครั้งแรก
16 มกราคม พ.ศ. 2336 – ไทยเสียเมือง มะริด ทวาย และ ตะนาวศรี ให้แก่พม่า หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษและรัฐไทยได้ทำสนธิสัญญา กำหนดเส้นเขตแดน ระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า
16 มกราคม พ.ศ. 2464 – วันสถาปนา กรมอุทกศาสตร์
16 มกราคม พ.ศ. 2501 – วันก่อตั้ง “วันราชประชาสมาสัย” เพื่อรณรงค์เรื่องโรคเรื้อน


17 มกราคม พ.ศ. 2249 – วันเกิด เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) รัฐบุรุษและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน
17 มกราคม พ.ศ. 2472 – ป๊อบอาย (Popeye) ปรากฏตัวครั้งแรกในการ์ตูนช่องเรื่อง Thimble Theatre
17 มกราคม พ.ศ. 2484  – เกิดเหตุการ “ยุทธนาวีที่เกาะช้าง” จังหวัดตราด


18 มกราคม พ.ศ. 2320 – กัปตัน เจมส์ คุก (James cook) นักเดินเรือชาวอังกฤษ ค้นพบ หมู่เกาะฮาวาย (Hawaii Island)
18 มกราคม พ.ศ.2425 – วันเกิด Alan Alexander Milne ผู้สร้างการ์ตูน วินนี่ เดอะ พูห์ (Winnie-the-Pooh)
18 มกราคม พ.ศ. 2483 – วันสิ้นพระชนม์ จอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์ วรพินิต “พระบิดาแห่งเพลงไทยเดิม”
18 มกราคม 1849 – วันเกิดของ มองเตสกิเออ รัฐบุรุษชาวฝรั่งเศส


19 มกราคม 1839 – วันเกิด ปอล เซชานน์ ศิลปินชาวฝรั่งเศส
19 มกราคม พ.ศ. 2279 – วันเกิด เจมส์ วัตต์ (James Watt) วิศวกรและนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ ผู้พัฒนากำลังและประสิทธิภาพของเครื่องจักรไอน้ำ
19 มกราคม พ.ศ. 2489  – เปิดประชุมสมัชชา องค์การสหประชาชาติ ครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
19 มกราคม พ.ศ. 2545 – พิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ


20 มกราคม พ.ศ. 2411  – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อยอด พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม พระปฐมเจดีย์เป็นพระเจดีย์ใหญ่และสูงที่สุดในประเทศไทย
20 มกราคม พ.ศ. 2413  – วันเกิด พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ พระเถระที่มีเกียรติคุณเด่นที่สุดในด้านวิปัสสนาธุระรูปหนึ่งในยุคปัจจุบัน จนมีศิษย์จำนวนมาก
20 มกราคม พ.ศ. 2504 – จอห์น เอฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy) เข้าพิธีสาบานตนเพื่อรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา
20 มกราคม พ.ศ. 2527 – จอห์นนี ไวส์สมุลเลอร์ (Johnny Weissmuller) พระเอกภาพยนตร์เรื่อง “ทาร์ซาน” (Tarzan the Ape Man –1932) เสียชีวิต
20 มกราคม พ.ศ. 2539 – พิธีปล่อย เรือหลวงจักรีนฤเบศร ลงน้ำ ณ อู่เรือบาซาน ประเทศสเปน


21 มกราคม พ.ศ. 2453 – วันเกิด เอื้อ สุนทรสนาน หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ครูเอื้อ นักร้อง นักแต่งเพลง และเป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรี สุนทราภรณ์
21 มกราคม พ.ศ.2497 – กองทัพเรือสหรัฐฯ ทำพิธีปล่อยเรือดำน้ำ ยูเอสเอส นอติลุส (The USS Nautilus) ) เรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ลำแรกของโลก
21 มกราคม   พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1905  – วันเกิด คริสเตียน ดิออร์ นักออกแบบแฟชั่นชาวฝรั่งเศส


22 มกราคม ค.ศ.1561 – วันเกิด ฟรานซิส เบคอน(Francis Bacon) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ
22 มกราคม พ.ศ. 2486 – รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศให้ใช้คำว่า สวัสดี เป็นคำทักทายเมื่อแรกพบกัน เป็นครั้งแรก
22 มกราคม พ.ศ.2491 – หลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต) ผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย เสียชีวิต


23 มกราคม พ.ศ. 2424 – วันประสูติ พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
23 มกราคม พ.ศ.2532 – ซัลวาดอร์ ดาลี (Salvador Felipe Jacinto Dali I Domenech) จิตรกรกลุ่ม Surrealism คนสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 ชาวสเปนเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว
23 มกราคม ค.ศ.1832 – วันเกิด เอดูอาร์ด มาเน่ต์ จิตรกรชาวฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในช่วงต้นศตวรรษที่ 19


24 มกราคม พ.ศ.2391 – เจมส์ วิลสัน มาร์แชล คนงานก่อสร้างโรงเลื่อย พบแร่ทองคำบริเวณแม่น้ำอเมริกาในเมืองโคโลมา แคลิฟอร์เนีย การค้นพบของเขานำไปสู่ยุคตื่นทองใน ค.ศ.1849


25 มกราคม พ.ศ.2485 – ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยประกาศสงครามต่ออังกฤษและอเมริกาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม


26 มกราคม พ.ศ.2331 – ผู้อพยพชาวอังกฤษกลุ่มแรกประมาณ 1,000 คนประกอบด้วยนักโทษและผู้คุม นำโดยกัปตันอาร์เธอร์ฟิลลิป เริ่มตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในออสเตรเลียที่ ปอร์ต แจ๊กสัน


27 มกราคม พ.ศ. 2299 – วันเกิด โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) นักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรีย
27 มกราคม พ.ศ. 2431 – สมาคมภูมิศาสตร์แห่งชาติ (National Geographic Society) เริ่มก่อตั้งขึ้นในกรุงวอชิงตัน ดีซี (Washington DC.) สหรัฐอเมริกา อย่างเป็นทางการ
27 มกราคม พ.ศ. 2460 – เริ่มก่อสร้างสร้าง ถนนและวงเวียน 22 กรกฎาคม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
27 มกราคม พ.ศ. 2482 – บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด
27 มกราคม พ.ศ. 2516 – วันสิ้นสุดของ สงครามเวียดนาม หลังจากมีการลงนามใน ข้อตกลงสันติภาพปารีส (Paris Peace Accords)


28 มกราคม พ.ศ.2456  –  ยานขนส่งอากาศแชลเลนเจอร์ระเบิดกลางอากาศหลังทะยานจากศูนย์อวกาศเคนเนดี้ แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา เพียง 73 วินาที


29 มกราคม พ.ศ.2500 –  จอร์น อุตซัน สถาปนิกชาวเดนมาร์ก ชนะการประกวดออกแบบโรงอุปรากรซิตนีย์ (Sydney Opera House) ประเทศออสเตรเลีย


30 มกราคม พ.ศ.2449 –  ร.5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษให้ “บริษัท แบงก์ สยามกัมมาจลทุนจำกัด” ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้อย่างเป็นทางการ นับเป็นธนาคารแห่งแรกของคนไทย
30 มกราคม ค.ศ. 1882 – วันเกิด แฟรงคลิน เดลาโน รูสเวลท์ (อังกฤษ: Franklin Delano Roosevelt) ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา


31 มกราคม พ.ศ. 2340  – วันเกิด ฟรานซ์ ปีเตอร์ ชูเบิร์ต (Franz Peter Schubert) คีตกวีชาวออสเตรีย
31 มกราคม พ.ศ.2514 –  อพอลโล 14  เดินทางสู่ดวงจันทร์

ที่มา sarakadee.com




Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 สิงหาคม 2559 20:30:54 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 16 สิงหาคม 2559 20:07:03 »

.


1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2460 – เยอรมนี เริ่มขยายการปฏิบัติการของเรือดำน้ำในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยจมเรือสินค้าทุกลำที่จะแล่นเข้าหรือออกจากท่าเรือของฝ่ายสัมพันธมิตร
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2436 – การก่อสร้างโรงถ่ายหนัง “แบล็ก มาเรีย” ของ โทมัส เอดิสัน เสร็จเรียบร้อย นับเป็นโรงถ่ายภาพยนตร์แห่งแรกของโลก และถือเป็นจุดเริ่มต้นของระบบการถ่ายทำภาพยนตร์ในสตูดิโอ


2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2486 – มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการสถาปนาขึ้น โดยในระยะแรกเปิดสอน 4 คณะ คือ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ คณะสหกรณ์ และคณะประมง
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา”


3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 – นายยัสเซอร์ อาราฟัต (Yassir Aarafat) ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้นำขององค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palastine Liberation Organisation [PLO])
3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2462 – มีการจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก


4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2402 – เปิดโรงกษาปณ์สิทธิการ ต่อมาคือโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์ด้วยกำลังไฟฟ้าแห่งแรกของประเทศไทย
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 – นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ แห่งอังกฤษ, ประธานาธิบดีแฟลงคลิน ดี. รูสเวลล์ แห่งสหรัฐอเมริกา และโจเซฟ สตาลิน ผู้นำของสหภาพโซเวียด พบปะกันในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2501 – เผยโฉมหน้ามนุษย์กินคน ซีอุย แซ่อึ้ง ในหนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย


5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2404 – พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ถนนเจริญกรุง เป็นถนนสายหลักสายแรก
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2428 – มีการบรรจุ วิชาการทำบัญชี (Bookkeeping) เข้าในหลักสูตรการศึกษาของไทยเป็นครั้งแรก
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2496 – วันสถาปนา กองเรือตรวจอ่าว
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2402 – ค้นพบบ่อน้ำมันเป็นครั้งแรกในอเมริกา


6 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1911 – วันเกิด โรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 40
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2418 (ค.ศ.1876) – วันเกิด พระสรลักษณ์ลิขิต. (มุ่ย จันทรลักษณ์)  จิตรกรวาดรูปคนเหมือน (portrait) คนแรกของประเทศไทย
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2362 – เซอร์โทมัส แสตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ (Sir Thomas Stamford Raffles) นำเมืองสิงคปุระ หรือสิงคโปร์ ตั้งเป็นเมืองท่าการค้าภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2451 – วันเกิด ถนอม มหาเปารยะ นักเขียนหญิงในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองนวนิยายที่สร้างชื่อเสียงให้มากที่สุดและได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์คือเรื่อง พลายมลิวัลลิ์


7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2355 – วันเกิดชาร์ลส์ ดิกเกนส์ (Charles Dickens) (ค.ศ.1812-1870) นักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ ซึ่งสร้างผลงานยิ่งใหญ่ของโลกไว้หลายเล่ม
7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1906 – วันประสูติของ ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของประเทศจีน
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 –  พิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยาซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทย


8 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1828 – วันเกิด ชูลส์ กาบรีล แวร์น นักเขียนชาวฝรั่งเศส ผู้บุกเบิกการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์สมัยแรกๆ
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2467 – ฯพณฯ คำไต สีพันดอน เป็นประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2499 – เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ใน ซานฟรานซิสโก นับเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุ่นแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์อเมริกัน
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2371 – วันเกิด จูลส์ เวิร์น ( Jules Verne) นักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศส ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประพันธ์ที่สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้องเป็นจริง และช่วยให้โลกเจริญก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์


9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2389 – วันเกิดวิลเฮล์ม เมย์แบค (Wilhelm Maybach 1846-1929) วิศวกรชาวเยอรมันผู้ออกแบบรถยนต์คันแรกของ เมอร์ซีเดส
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 – กัปตันเรือออสเตรเลีย ไทด์ ชักธงปานามายอมคืนโบราณวัตถุทั้งหมดที่ลักลอบขุดได้จากซากเรือโบราณที่อับปางในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ใกล้เกาะจวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ให้แก่ไทย


10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2495 – บัณฑิต เยาวราห์ เนรูห์ (Pandit Jawaharlal Nehru) นำพรรคนิติบัญญัติแห่งอินเดีย (The Congress Party of India) ชนะการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในระบอบประชาธิปไตย
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 – ละคร อวสานเซลล์แมน (Death of a Salesman) ซึ่งเขียนบทโดย อาร์เทอร์ มิลเลอร์ นักเขียนบทละครชาวอเมริกัน เปิดแสดงรอบแรก


11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2533 – นายเนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela) ผู้นำการต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวในประเทศอาฟริกาใต้ ได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระหลังจากถูกจำคุกนานถึง 27 ปี
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2472 – รัฐบาลอิตาลีลงนามในสนธิสัญญาลาเตอรัน (The Lateran Agreenent) กับฝ่ายศาสนจักรของสำนักวาติกัน


12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2351 – วันเกิด ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิมๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2455 – ปูยี (Pu Yi) จักรพรรดิ์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์แมนจู ประเทศจีน ถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2352 – วันเกิดอับราฮัม ลินคอร์น มหาบุรุษที่ชาวอเมริกันยกย่องนับถือ


13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446 – มหาอำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) อัครราชทูตไทย ประจำฝรั่งเศส ได้รับมอบอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ให้เป็นผู้เจรจาและลงนามกับฝรั่งเศสในอนุสัญญาไทย-ฝรั่งเศส


14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2441 – วันเกิด ฟริตซ์ ซวิคกี (Fritz Zwicky ค.ศ.1898-1974)นักดาราศาสตร์ ชาวสวิส ผู้ศึกษาเรื่องซุปเปอร์โนวา
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2472 – “การสังหารหมู่ในวันเซนต์วาเลนไทน์”
14 กุมภาพันธ์ – วันนักบุญวาเลนไทน์ หรือ วันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันเฉลิมฉลองให้นักบุญวาเลนตินุส ในศาสนาคริสต์ยุคแรกๆ ต่อมาในช่วงคริสตศตวรรษที่ 15 ได้พัฒนากลายเป็นการเฉลิมฉลองให้กับคู่รัก


15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2107 – วันเกิด กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 – กองทัพสหภาพโซเวียต ถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถาน
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2508 – ธงชาติใหม่ของประเทศแคนาดาได้รับการเชิญขึ้นสู่ยอดเสาเป็นครั้งแรก


16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2420 – บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ (ค.ศ.-1849-1933)เปิดโรงเรียนประจำวัดอัสสัมชัญ เปิดสอนภาษาฝรั่งเศสและไทย
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2209 – สมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเมืองลพบุรี พร้อมทั้งสร้างพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ขึ้น


17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2490 – เสียงจากอเมริกา (Voice of America) รายการวิทยุคลื่นสั้นเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตยของอเมริกา เริ่มออกอากาศไปรัสเซียเป็นวันแรก
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2452 – เจอโรนิโม หัวหน้าอินเดียนแดงเผ่าอาปาเช่ เสียชีวิต


18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 – ค้นพบดาวพลูโต ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ในระบบสุริยะจักรวาล


19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2016 – วันเกิด นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus ค.ศ.1473-1543 ) บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 – สหรัฐยกพลขึ้นบกที่เกาะอิโวจิมาของญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2


20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 – วันทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 – ได้มีการริเริ่มก่อตั้ง “สมาคมทนายความ”  เพื่อให้เป็นสถาบันอิสระ


21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2515 – ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการเป็นวันแรก
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2454 – ประกาศให้ใช้ “พระพุทธศักราช” เป็นปีศักราชอย่างเป็นทางการแทนการใช้ “รัตนโกสินทรศก”


22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2471 – เบิร์ต ฮินต์เลอร์ (Bert Hinkler ค.ศ.1892-1933) นักบินชาวออสเตรเลีย บินเดี่ยวด้วยเครื่องบินปีกสองชั้นจากลอนดอน ประเทศอังกฤษถึงเมืองดาร์วิน ออสเตรเลีย
22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2514 – โกมล คีมทอง บัณฑิตหนุ่มจากรั้วจุฬาฯ ซึ่งอุทิศตนให้แก่อาชีพครูและเข้าไปตั้งโรงเรียนสอนหนังสือใน จ.สุราษฎร์ธานี ถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ยิงเสียชีวิต
22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1732 – วันเกิด จอร์จ วอชิงตัน นายพลของกองทัพอเมริกันในช่วงประกาศเอกราช และเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา


23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 – สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) จับกุมตัว พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีในขนะนั้น พร้อมกับทำการรัฐประหารเป็นผลสำเร็จ
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 – นาวิกโยธินสหรัฐฯ ได้ปักธงชาติลงบนยอดเขา Surabachi ซึ่งเป็นจุดสูงสุดบนเกาะอิโวจิมาเพื่อแสดงให้เห็นว่ายึดเกาะนี้ได้


24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2310 – วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1955 – วันเกิด สตีเฟน พอล จอบส์ (Steven Paul Jobs) ผู้บริหารระดับสูงของแอปเปิล คอมพิวเตอร์ และพิกซาร์อนิเมชันสตูดิโอส์
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2489 – ฮวน โดมิงโก เปรอง (Juan Domingo Peron) ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดี แห่งอาร์เจนตินา
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 – สื่อมวลชนเสนอข่าวความสำเร็จในการโคลนนิงแกะชื่อ “ดอลลี” แกะโคลนตัวแรกของโลก


25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2507 – แคลเซียส เคลย์ (Cassius clay) (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโมฮัมหมัด อาลี) เอาชนะซันนี ลิสตัน (Sonny Liston) กลายเป็นนักชกแชมป์เปี้ยนรุ่นซุปเปอร์เฮฟวีเวท ในวันที่เขาอายุเพียง 22 ปี
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 –  “สถานีวิทยุฯ กรุงเทพฯ ที่พญาไท” สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกในประเทศไทย เริ่มออกอากาศ


26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 – เครื่องบิน แบบ B-50 ชื่อ Lucky Lady II เริ่มเที่ยวบินรอบโลกโดยไม่หยุดพัก
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2459 – มีการจดทะเบียนสหกรณ์แห่งแรกในประเทศไทย คือ “สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้”


27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2517 – นิตยสาร “people ” เริ่มวางจำหน่ายเป็นวันแรก
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2513 – โรงแรมดุสิตธานีเริ่มเปิดดำเนินกิจการ


28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2528 – มาร์ค ชาร์กาล (Marc Chagall ค.ศ. 1887-1985) จิตรกรชาวยิว-รัสเซีย เสียชีวิต
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2226 – วันเกิดของ อาร์.เอ.โรเมอร์ นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส ผู้คิดค้นเทอร์โมมิเตอร์ (เครื่องวัดอุณหภูมิ)


29 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2171 — วันเกิด จอห์น เรย์ บิดาแห่งพฤกษศาสตร์
29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2455 — พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตั้งโรงไฟฟ้าขึ้นที่สามเสน ถือเป็นโรงไฟฟ้าแห่งแรกในประเทศไทย และคนไทยได้ใช้ไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงจากไต้ เทียนไข ตะเกียง น้ำมัน หรือแก๊สในอดีต
29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2483(ค.ศ.1940) – แฮตตี้ แม็คแดเนียล(Hattie McDaniel) กลายเป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน คนแรกที่ชนะรางวัล Academy Award หรือออสการ์ (จากสาขานักแสดงสมทบหญิง) จากภาพยนตร์เรื่อง Gone with the Wind ในบท Mammy
29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2505 — จอห์น เกลน สร้างประวัติศาสตร์เป็นมนุษย์อวกาศชาวอเมริกันคนแรกที่มีอายุมากที่สุดที่ได้เดินทางขึ้นไปโคจรในอวกาศรอบโลกได้สำเร็จ หลังจากที่เคยเป็นวีรบุรุษของสหรัฐอเมริกาในการพิชิตอวกาศไปแล้วก่อนหน้านั้น

ที่มา sarakadee.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 สิงหาคม 2559 20:12:16 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 07 กันยายน 2559 19:55:17 »



1 มีนาคม พ.ศ.2450 – รัฐบาลไทยเริ่มจัดประกวดพันธุ์ข้าวเป็นครั้งแรกที่เมืองธัญบุรี
1 มีนาคม พ.ศ.2475 – วันเกิด สุวรรณี สุคนธา เจ้าของบทประพันธ์ เขาชื่อกานต์ (พ.ศ.2513)


2 มีนาคม พ.ศ.2512 – เครื่องบิน คองคอร์ด เริ่มทดลองบินวันแรก
2 มีนาคม 2534 – สารเคมีที่เก็บไว้ในโกดังของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเกิดระเบิดและเกิดเพลิงลุกไหม้นานถึง 4 วัน


3 มีนาคม พ.ศ.2390 – วันเกิด อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) ผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์
3 มีนาคม พ.ศ.2466 – นิตยสาร TIME ออกวางจำหน่ายเป็นฉบับแรก


4 มีนาคม พ.ศ.2332 – สหรัฐอเมริกาประกาศใช้รัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ
4 มีนาคม พ.ศ.2450 – มีประกาศกระทรวงวังว่ารัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้เรียกนามพระที่นั่งที่จะสร้างขึ้นใหม่ที่วังสวนดุสิตว่า “พระที่นั่งอนันตสมาคม”


5 มีนาคม พ.ศ.2511 – ดาวเทียมโซลาร์ เอ็กซพลอเรอทู (Solar Explorer II) ขึ้นสู่วงโคจรเพื่อตรวจสอบรังสีเอ็กซ์ (X-Ray) และแสงอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์
5 มีนาคม 2436 – เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในกรรมสิทธิ์ดินแดนฝั่งแม่น้ำโขง


6 มีนาคม 2537 – เกิดอุบัติเหตุทางทะเลที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยเมื่อเรือสัญชาติปานามา ชื่อ “โนแวนคิง” บรรทุกปุ๋ยจากฟิลิปปินส์ ชนกับเรือบรรทุกน้ำมัน “เอสโซ่” ทำให้น้ำมันดีเซลเกือบ 5 แสนลิตร ไหลลงสู่อ่าวไทยใกล้เกาะสีชัง
6 มีนาคม พ.ศ.2480 – วันเกิด วาเลนตินา วลาดิมิโรฟนา เทอเรสโควา (Valentina Vladimirovna Tereshkova) นักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลกที่ขึ้นสู่ห้วงอวกาศ ชาวรัสเซีย
6 มีนาคม ค.ศ.1475 – วันเกิด มีเกลันเจโล ศิลปินที่เข้าถึง 3 ศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก


7 มีนาคม พ.ศ.2512 – โกลดา แมร์ (Golda Meir) ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศอิสราเอล เธออายุ 70 แล้ว ขณะที่ได้รับการเลือกตั้ง
7 มีนาคม 2327 – มีพิธีอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต จากพระราชวังเดิม กรุงธนบุรี มาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม


8 มีนาคม พ.ศ.2508 – กองทหารนาวิกโยธินสหรัฐ จำนวน 3,500 คน ขึ้นฝั่งเป็นครั้งแรกในช่วงเริ่มต้นสงครามเวียดนาม โดยตั้งฐานทัพอยู่ใกล้ๆ หาดแดง เมืองดานัง
8 มีนาคม 2457 – เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในประเทศรัสเซียเพื่อล้มล้างพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 กษัตริย์องค์สุดท้ายของรัสเซีย และการปกครองแบบราชาธิปไตย


9 มีนาคม พ.ศ.2493 – บริษัท โรเวอร์ นำรถยนต์ jet 1 ซึ่งเป็นรถยนต์สปอร์ตใช้เครื่องยนต์เทอร์โบ ชนิดเดียวกับที่ใช้ในเครื่องบินเจต มาทดสอบให้สาธารณชนชมเป็นครั้งแรก
9 มีนาคม 2459 – วันเกิด ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ นักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย


10 มีนาคม พ.ศ.2529 – ดาวหางฮัลเลย์ (halley commet) เริ่มปรากฏบนฟากฟ้าเมืองไทยอีกครั้ง หลังจากครั้งก่อนเคยปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 5
10 มีนาคม 2438 – ออกุส และ หลุยส์ พี่น้องตระกูลลูมิแอร์ ชาวฝรั่งเศส ที่คิดค้นกล้องถ่ายและฉายภาพยนตร์ในตัวเดียวกันที่เรียกว่า Cinematographe ได้ทดลองนำภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกไว้ ทดลองฉายครั้งแรกอย่างไม่เป็นทางการ
10 มีนาคม 1858 – วันเกิด โคคิชิ มิกิโมโตะ (Kokichi Mikimoto) นักเพาะเลี้ยงไข่มุกชาวอาทิตอุทัย


11 มีนาคม พ.ศ.2498 – เซอร์ อเลกซานเดอร์ เฟลมมิง นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบ ยาปฎิชีวนะ เพนิซิลิน เสียชีวิตด้วยวัย 73 ปี
11 มีนาคม 2484 – พิธีลงนาม (ในสัญญาสันติภาพ) ความตกลงกรณีพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส


12 มีนาคม พ.ศ.2367 – อังกฤษประกาศสงครามครั้งแรกกับพม่าอย่างเป็นทางการ
12 มีนาคม พ.ศ.2473 – คานธี นำขบวนชาวอินเดียเริ่มการเดินทางไกล 24 วัน ระยะทาง 241 ไมล์ ที่เรียกว่า “ซอลต์ มาร์ช”


13 มีนาคม พ.ศ.2324  – เซอร์วิลเลียม เฮอร์สเชล (8pt]Uranus)
13 มีนาคม พ.ศ.2506 – กำหนดให้เป็น “วันช้างไทย”


14 มีนาคม พ.ศ. 2337 – อีไล วิทนีย์ ชาวอเมริกัน ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เครื่องแยกเมล็ดฝ้ายออกจากเส้นใย (cotton gin)
14 มีนาคม พ.ศ.2422 – วันเกิด อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์  นักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมัน  ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20
14 มีนาคม พ.ศ.2454 – วันเกิด อากิระ โยชิซาว่า นักพับกระดาษผู้ซึ่งถูกขนานนามว่า บิดาแห่งโอริงามิสมัยใหม่
14 มีนาคม พ.ศ.2495 – วันเกิด เอนก นาวิกมูล นักวิชาการชาวไทย นักเขียนสารคดี นักสะสมของเก่า และ ผู้ก่อตั้ง บ้านพิพิธภัณฑ์ (เอนก นาวิกมูล ได้รับรางวัล สารคดีเกียรติยศ ครั้งที่ 1 จาก นิตยสาร สารคดี)


15 มีนาคม พ.ศ.2458 – มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 6 ให้มีการเลิกเล่นการพนัน
15 มีนาคม พ.ศ.499  – จูเลียส ซีซาร์ (443-499) ผู้นำสูงสุดแห่งโรมัน ถูกกลุ่มนักการเมืองนำโดย มาร์คัส บรูตัส และเกอัส แคสซีอัส รุมสังหาร


16 มีนาคม พ.ศ.2528 – ร้านแมคโดนัลด์ เปิดบริการอย่างเป็นทางการในประเทศไทย สาขาแรกที่อาคารอมรินทร์พลาซา
16 มีนาคม พ.ศ.2423 – งานพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ หรือ สมเด็จพระนางเรือล่ม อัครมเหสีองค์แรกในรัชกาลที่ 5


17 มีนาคม พ.ศ.2373 – เอฟ ไมเนอร์ คอนแชร์โต ของ โชแปง (Frederic Chopin ค.ศ.1810 – 1849) นำออกแสดงครั้งแรก ณ โรงละครแห่งชาติที่กรุงวอร์ซอร์ ประเทศโปแลนด์
17 มีนาคม 2464 – ดร. แมรี่ สโตปส์ ผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิของสตรีในการคุมกำเนิด เปิดคลินิกคุมกำเนิดแห่งแรกในประเทศอังกฤษที่กรุงลอนดอน


18 มีนาคม พ.ศ.2503 – เปิดสำนักงานองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่ ถ. ศรีอยุธยา มีพันเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
18 มีนาคม พ.ศ.2481 – เปิด “สวนสัตว์ดุสิต” ให้ประชาชนเข้า


19 มีนาคม พ.ศ.2495 – รถขับเคลื่อนสี่ล้อ ที่รู้จักกันในชื่อ รถจิป วิลลี่ (willys jeep) ผลิตได้ 1 ล้านคัน ตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2482 ในตอนแรก
19 มีนาคม 2542 – พบถังบรรจุสารเคมีที่ ต้องสงสัยว่าเป็น “สารฝนเหลือง” ที่สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์


20 มีนาคม พ.ศ.2279 – วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
20 มีนาคม พ.ศ.2270 – เซอร์ ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton พ.ศ. 2185-2270) นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษเสียชีวิตในลอนดอน
20 มีนาคม พ.ศ. 2395 – วรรณกรรมเรื่อง กระท่อมน้อยของลุงทอม (Uncle Tom’s Cabin) ของ แฮเรียต บีเชอร์ สโตว์ (Harriet Beecher Stowe) วางจำหน่าย


21 มีนาคม พ.ศ.2228 – วันเกิด โยฮันน์ เซบาสเตียน บ๊าค (Johann Sebastian Bach) ประพันธกรชาวเยอรมัน
21 มีนาคม 2449 – วันเกิดจิม ทอมป์สัน ชาวอเมริกันซึ่งทั่วโลกรู้จักในนาม “ราชาไหมไทย”


22 มีนาคม พ.ศ.2431 – เริ่มมีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างสโมสรในอังกฤษ
22 มีนาคม พ.ศ.2535  – “วันของโลกสำหรับน้ำ” หรือ “World Day for Water


23 มีนาคม พ.ศ.2528 – เพลง “We are the world” ติดอันดับเพลงฮิตครั้งแรก
23 มีนาคม พ.ศ.2377 – วันเกิดอากิระ คูโรซาวา (Akira Kurosawa) ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังชาวญี่ปุ่น


24 มีนาคม 1914 – วันเกิด นอร์แมน บอร์ลอก นักพันธุวิศวกรรมพืชชาวสหรัฐอเมริกา  ผู้นำโลกเข้าสู่ห้วงการปฏิวัติเขียว
24 มีนาคม พ.ศ.2532 – เรือขนน้ำมัน แอกซอน วัลเดซ เกยตื้นบริเวณชายฝั่ง ปรินส์ วิลเลียม ซาวนด์ น้ำมันประมาณ 11 ล้านแกลลอนแผ่กว้างเหนือท้องทะเล ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาล
24 มีนาคม 2493 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จนิวัติประเทศไทยพร้อม ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร พระคู่หมั้น


25 มีนาคม พ.ศ.2518 – กษัตริย์ไฟซาล (king Faisal bin Abd Al Aziz ค.ศ. 1906-1975) แห่งซาอุดิอาระเบีย ถูกลอบยิงเสียชีวิต
25 มีนาคม ค.ศ.1906 – วันเกิดของ เดวิด ลีน (David Lean) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษที่ฝากผลงานภาพยนตร์ยิ่งใหญ่ไว้หลายเรื่อง


26 มีนาคม พ.ศ.2370 – บีโทเฟน (Lidwig van Beethoven ค.ศ.1770-1827) ยอดอัจฉริยะทางดนตรีของโลกถึงแก่กรรม
26 มีนาคม 2439 – พิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรกในพระราชอาณาจักร


27 มีนาคม พ.ศ.2404 – อิตาลีประกาศตั้งกรุงโรม เป็นเมืองหลวง
27 มีนาคม พ.ศ.2475 – วันเกิด ส.ศิวรักษ์ นักคิด-ปัญญาชนสยาม และบรรณาธิการสำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์


28 มีนาคม พ.ศ.2411 – วันเกิด แมกซิม กอร์กี้ นักประพันธ์ชื่อดังหัวก้าวหน้าชาวรัสเซีย ผู้สถาปนาวรรณกรรมแนวสมจริงทางสังคม
28 มีนาคม พ.ศ.2473 – เปลี่ยนชื่อกรุง “คอนสแตนติโนเปิล” อดีตเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์และออตโตมัน เป็น “อิสตันบูล”


29 มีนาคม พ.ศ.2430 – วันเกิด พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทย
29 มีนาคม พ.ศ.2514 – ร้อยโทวิลเลียม คัลเลย์ (lieutenant William Calley) ถูกพิพากษาจากศาลทหารว่ามีความผิดในการร่วมฆาตกรรมหมู่ชาวเวียดนามใต้
29 มีนาคม พ.ศ.2493 – วันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8


30 มีนาคม พ.ศ.2530– ภาพ Sunflowers ของ Vincent van Gogh ถูกประมูลขายไปในราคา 22,500,000 ปอนด์ หรือประมาณ 1,350 ล้านบาท
30 มีนาคม พ.ศ.2396 –  วันเกิดฟินเซนต์ ฟาน ก็อกฮ์ (2396-2433) จิตรกรแนวโพสท์อิมเพรสชันนิสม์ชาวดัตช์ หนึ่งในศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 19


31 มีนาคม พ.ศ.2330 วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
31 มีนาคม พ.ศ.2448 – วันเกิด ศรีบูรพา หรือในชื่อจริง กุหลาบ สายประดิษฐ์ (พ.ศ.2448-2517) นักคิด นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ยุคแรกเริ่มของเมืองไทย
31 มีนาคม 2432 – พิธีเปิดหอไอเฟล สัญลักษณ์สำคัญของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ที่มา sarakadee.com
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 10 กันยายน 2559 19:54:41 »



1 เมษายน พ.ศ.2432 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศพระบรมราชโองการให้ถือวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ แทนวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เลิกการนับปีแบบใช้จุลศักราช ใช้การนับปีแบบรัตนโกสินทรศกปีนี้เป็นปีแรก
1 เมษายน พ.ศ.2435 – ก่อตั้งกระทรวงศึกษาธิการ (เดิมคือกระทรวงธรรมการ) มีพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นเสนาบดีคนแรก
1 เมษายน พ.ศ.2457 – วันเกิด สวง ทรัพย์สำรวย หรือ ล้อต๊อก ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง
1 เมษายน พ.ศ.2472 – วันเกิด ปยุต เงากระจ่าง บิดาแห่งการ์ตูนไทย
1 เมษายน พ.ศ.2481 – นายอองรี เนสเล่ได้ผลิตเครื่องดื่ม คือ กาแฟผง ตรา เนสเล่ออกสู่ท้องตลาดในสวิตเซอร์แลนด์เป็นวันแรก
1 เมษายน พ.ศ.2519 – สตีฟ จอบส์ และ สตีฟ วอซเนียก ร่วมกันก่อตั้งบริษัทแอปเปิล
1 เมษายน พ.ศ.2522 – อิหร่านประกาศตนเป็นสาธารณรัฐอิสลาม เทวาธิปไตยที่มี อะญาตุลลอฮ์ โคไมนี เป็นผู้นำสูงสุด
1 เมษายน พ.ศ.2524 – เกิดกบฏยังเติร์กหรือกบฏเมษาฮาวาย โดยทหารกลุ่ม จปร.7 หวังเข้ายึดอำนาจ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี
1 เมษายน พ.ศ.2524 – เอื้อ สุนทรสนาน นักดนตรีไทย นักร้อง นักประพันธ์เพลง หัวหน้าวงดนตรีสุนทราภรณ์เสียชีวิต
1 เมษายน พ.ศ.2546 – เลสลี่ จาง นักแสดงชาวฮ่องกงชื่อดัง เจ้าของผลงานใน A Chinese Ghost Story (โปเยโปโลเย) เสียชีวิต


2 เมษายน พ.ศ.2498 – วันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เป็นพระราชธิดา
2 เมษายน พ.ศ.2415 – แซมมวล มอร์ส (Samuel F.B. Morse ค.ศ.1791-1872) จิตรกรและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เสียชีวิตที่กรุงนิวยอร์ค
2 เมษายน 2348 – วันเกิด ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน (Hans Christian Andersen) (พ.ศ.2348-2418) นักเขียนชาวเดนมาร์คผู้ได้รับยกย่องเป็น “ราชาแห่งเทพนิยาย”


3 เมษายน พ.ศ.2467 – วันเกิด มาร์ลอน แบรนโด นักแสดงชื่อดังชาวอเมริกัน
3 เมษายน พ.ศ.2514 – 8pt]The Godfather[/size]


4 เมษายน พ.ศ.2484 – พระเจ้าช้างเผือก หรือ The King of the White Elephant ภาพยนตร์ไทยเสียงภาษาอังกฤษในฟิล์ม ของ บริษัท ปรีดีภาพยนตร์ ออกฉายรอบปฐมทัศน์พร้อมกันถึง 3 ประเทศ
4 เมษายน พ.ศ.2124 – ฟรานซิส เดรก (Sir Francis Drake) เป็นนักเดินเรือชาวอังกฤษคนแรกที่เดินทางรอบโลกสำเร็จ
4 เมษายน พ.ศ.2492 – วันก่อตั้ง องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต (North Atlantic Treaty Organisation – NATO)
4 เมษายน พ.ศ.2511 – มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Dr.Martin Luther King Jr.) ถูกลอบสังหาร
4 เมษายน พ.ศ.2531 – คณะรัฐมนตรี มีมติระงับการสร้าง เขื่อนน้ำโจน


5 เมษายน พ.ศ.2450 – วันเกิด ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ปูชนียบุคคลที่สำคัญคนหนึ่งของประเทศไทย
5 เมษายน พ.ศ.2131 – วันเกิด โธมัส ฮ็อบส์ (Thomas Hobbes) นักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษ ผู้ค้นคิดทฤษฎี สัญญาประชาคม (Social Contract)
5 เมษายน พ.ศ.2483 – เครื่องบิน มิก 1 (MIG 1) ลำแรกทะยานขึ้นสู้ท้องฟ้ารัสเซีย
5 เมษายน พ.ศ.2518 – เจียง ไคเช็ค (Chiang Kai-shek) นักการเมืองจีนและผู้ก่อตั้ง ประเทศไต้หวัน เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย
5 เมษายน พ.ศ.2537 – เคิร์ธ โคเบน (Kurt Donald Cobain) มือกีตาร์และนักร้องนำวง เนอร์วานา (Nirvana) ยิงตัวตายที่บ้านในซีแอทเทิล รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา


6 เมษายน พ.ศ.2325 – พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
6 เมษายน พ.ศ.2439 – การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกยุคใหม่ (Olympic Games) เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกที่ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ
6 เมษายน พ.ศ. 2447 – วันเกิด ฮาโรลด์ ยูจีน เอ็ดเกอร์ตัน (Harold Eugene Edgerton) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์ถ่ายภาพความเร็วสูงหรือ สโตรโบสโคป (stroboscope)
6 เมษายน พ.ศ.2452 – โรเบิร์ต เพียรี (Robert Edwin Peary) นักสำรวจชาวอเมริกัน เป็นคนแรกที่เดินทางไปถึง ขั้วโลกเหนือ (North Pole)
6 เมษายน พ.ศ.2475 – พิธีเปิด สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ หรือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า


7 เมษายน พ.ศ.2488 – เรือรบ ยามาโตะ (Yamoto) ของญี่ปุ่นจมลงบริเวณทางเหนือของเกาะโอกินาวา
7 เมษายน พ.ศ.2458 – วันเกิด บิลลี ฮอลิเดย์ หรือ เลดี เดย์ (Billie Holiday or Lady Day) นักร้องที่เป็นตำนานหนึ่งในโลกของแจ๊ซ
7 เมษายน พ.ศ.2310 – กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ครั้งที่ 2 ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์
7 เมษายน พ.ศ.2313 – วันเกิด วิลเลียม เวิร์ดสเวิร์ธ ([size=pt]William Wordsworth[/size]) กวีแนวโรแมนติกผู้ยิ่งใหญ่ชาวอังกฤษ
7 เมษายน พ.ศ.2440 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก
7 เมษายน พ.ศ.2490 – เฮนรี ฟอร์ด (Henry Ford) นักอุตสาหกรรมชาวอเมริกันผู้บุกเบิกการผลิตรถยนต์ ถึงแก่กรรม
7 เมษายน พ.ศ.2491 – วันก่อตั้ง องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO)


8 เมษายน พ.ศ.2327 – พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) สร้าง เสาชิงช้า
8 เมษายน พ.ศ.2430 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ จัดตั้ง กรมยุทธนาธิการขึ้น
8 เมษายน พ.ศ.2516 – ปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Ruiz Picasso) ศิลปินเอกของโลกชาวสเปน ถึงแก่กรรม
8 เมษายน พ.ศ.2537 – พิธีเปิด สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
8 เมษายน พ.ศ.2481 – วันเกิด โคฟี อันนัน (Kofi Annan) อดีตเลขาธิการองค์การสหประชา


9 เมษายน พ.ศ.2480 – กรมทหารอากาศ ยกฐานะขึ้นเป็น กองทัพอากาศ ขึ้นกับ กระทรวงกลาโหม
9 เมษายน พ.ศ.2502 – แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ (Frank Lloyd Wright) สถาปนิกที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในคริสตศตวรรษที่ 20 ถึงแก่กรรม
9 เมษายน พ.ศ.2510 – เครื่องบิน โบอิง 737 (Boeing 737) เริ่มออกบินเป็นครั้งแรก
9 เมษายน พ.ศ.2520 – บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เปลี่ยนฐานะเป็น องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.)
9 เมษายน พ.ศ.2528 – พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ณ เมรุมาศ ท้องสนามหลวง


10 เมษายน พ.ศ.2390 – วันเกิด โจเซฟ พูลิตเซอร์ (Joseph Pulitzer) นักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังกาเรียน ผู้ก่อตั้งรางวัล พูลิทเซอร์ (Pulitzer Prizes)
10 เมษายน พ.ศ.2513 – พอล แม็คคาร์ทนีย์ (Paul McCartney) ออกแถลงข่าวว่า เดอะ บีทเทิลส์วงแตก อย่างเป็นทางการ
10 เมษายน พ.ศ.2502 – มกุฎราชกุมารอะกิฮิโตะ (Prince Akihito) ทรงอภิเษกสมรสกับ นางสาวมิชิโกะ โชะดะ (Michiko Shoda) นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่พระราชวงศ์แต่งงานกับสามัญชน
10 เมษายน พ.ศ.2455 – ไททานิค (RMS Titanic) ออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์จากท่าเรือเซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ


11 เมษายน พ.ศ.2426 – วันประสูติ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร เชื้อพระวงศ์ผู้ละทิ้งลาภยศและตำแหน่งการงานอันรุ่งโรจไปเป็นกสิกร
11 เมษายน พ.ศ.2436 – พิธีเปิดการเดินรถไฟสายแรกของสยาม
11 เมษายน พ.ศ.2513 – ยานอะพอลโล 13 (Apollo 13) ขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา เดินทางไปปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์
11 เมษายน พ.ศ.2494 – นายพล ดักลาส แม็คอาร์เธอร์ (Douglas MacArthur) แม่ทัพสหรัฐอเมริกาผู้บัญชาการกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลีถูกสั่งปลดออกจากตำแหน่ง
11 เมษายน พ.ศ.2539 – นายแสงชัย สุนทรวัฒน์ ผู้อำนวยการ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ถูกลอบสังหาร


12 เมษายน พ.ศ.1839 – วันสถาปนาเมือง เชียงใหม่ โดย พ่อขุนเม็งราย พ่อขุนรามคำแหง และ พ่อขุนงำ
12 เมษายน พ.ศ.2476 – นายปรีดี พนมยงค์ ถูกบังคับให้เดินทางออกจากประเทศไทยในข้อกล่าวหาว่าเป็น คอมมิวนิสต์
12 เมษายน พ.ศ.2488 – แฟรงคลิน รูสเวลต์ (Franklin Delano Roosevelt) ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง
12 เมษายน พ.ศ.2504 – ยูริ กาการิน (Yuri Alekseyevich Gagarin) เป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลกชาวรัสเซียออกเดินทางสู่อวกาศ และโคจรรอบโลกสำเร็จ
12 เมษายน พ.ศ.2534 – สงครามอ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf War) ยุติลงอย่างเป็นทางการ


13 เมษายน พ.ศ.2286 – วันเกิด โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson ค.ศ. 1743-1826) ประธานาธิบดีคนที่ 3 แห่งสหรัฐอเมริกา
13 เมษายน ทุกปี  – วันผู้สูงอายุแห่งชาติ ในการประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ (World Assembly on Aging) ได้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเป็นผู้สูงอายุ (Elderly) และใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก


14 เมษายน พ.ศ.2470 – โรงงานผลิตรถยนต์ วอลโว่ (Volvo) ก่อตั้งขึ้นที่เมืองกูเตนเบิร์ก ประเทศสวีเดน
14 เมษายน พ.ศ.2172 – วันเกิด คริสเตียน ไฮเกนส์ (Christiaan Huygens) นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักฟิสิกส์ชาวดัทช์
14 เมษายน พ.ศ.2371 – Webster’s dictionary of the English Language พจนานุกรมภาษาอังกฤษ-อังกฤษได้รับการจดลิขสิทธิ์และตีพิมพ์เป็นครั้งแรก
14 เมษายน พ.ศ.2408 – อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา ถูกลอบสังหาร
14 เมษายน พ.ศ.2418 – วันสถาปนา กระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs)


15 เมษายน พ.ศ.1995 – วันเกิด ลีโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) ศิลปินเอกชาวอิตาเลียน
15 เมษายน พ.ศ.2414 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จนิวัติประเทศไทย หลังจากเสด็จประพาสต่างประเทศครั้งแรก
15 เมษายน พ.ศ.2523 – ฌอง ปอล ซาร์ตร์ (Jean Paul Sartre) นักปรัชญาลัทธิ อัตถิภาวินิยม (Existentialism) ชาวฝรั่งเศส เสียชีวิต
15 เมษายน พ.ศ.2541 – พอล พต (Pol Pot หรือชื่อที่คนทั่วโลกรู้จัก Saloth Sar) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาและผู้นำกองทัพเขมรแดง เสียชีวิต ขณะอายุ 73 ปี


16 เมษายน พ.ศ.2432 – วันเกิดของ เซอร์ ชาลี แชปปลิน (Sir Charlie Chaplin ค.ศ. 1889-1977)  ดาราตลกและผู้สร้างภาพยนตร์ชาวอังกฤษ
16 เมษายน พ.ศ.2410 – วันเกิด วิลเบอร์ ไรต์ (Wilbur Wright) หนึ่งในสองพี่น้องตระกูลไรต์ ผู้บุกเบิกการบินของโลก
16 เมษายน พ.ศ.2503 – “วันนักกีฬายอดเยี่ยม” ของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย
16 เมษายน พ.ศ.2534 – เดวิด ลีน (David Lean) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษ เสียชีวิต


17 เมษายน พ.ศ.2277 – วันพระราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
17 เมษายน พ.ศ.2331 – วันสมภพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) พระเกจิอาจารย์รูปสำคัญแห่งต้นสมัยรัตนโกสินทร์
17 เมษายน พ.ศ.2333 – เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) รัฐบุรุษและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ถึงแก่กรรม
17 เมษายน พ.ศ.2497 – เหม เวชกร จิตรกรที่มีชื่อเสียงของไทย ถึงแก่อสัญกรรม
17 เมษายน พ.ศ.2513 – ยานอะพอลโล 13 (Apollo 13) ขององค์การนาซา เดินทางกลับสู่โลกอย่างปลอดภัย
17 เมษายน พ.ศ.2518 – สงครามกลางเมืองของกัมพูชายุติลง


18 เมษายน พ.ศ.2398 – มีการลงนามใน สนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring treaty) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาทางการค้าระหว่างประเทศสยามกับอังกฤษ
18 เมษายน พ.ศ.2485 – การปฏิบัติการการจู่โจม ดูลิตเทิลเรด (Doolittle Raid) ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
18 เมษายน พ.ศ.2498 – อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20 เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย


19 เมษายน พ.ศ.2477 – โรเบิร์ต วิลสัน สามารถถ่ายภาพสัตว์ประหลาดคอยาว เนสซี (Nessie) ซึ่งโผล่พ้นจากผิวน้ำในทะเลสาบล็อคเนสส์ ประเทศสก็อตแลนด์ได้
19 เมษายน พ.ศ.2318 – เปิดฉาก สงครามประกาศอิสรภาพอเมริกา
19 เมษายน พ.ศ.2440 – การแข่งขัน บอสตัน มาราธอน (Boston Marathon) เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกที่เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา นับเป็นการแข่งขัน วิ่งมาราธอน ประจำปีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
19 เมษายน พ.ศ.2477 – ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Robert Darwin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ เจ้าของทฤษฎีวิวัฒนาการ เสียชีวิต
19 เมษายน พ.ศ.2514 – ซัลยุต 1 (salyut 1) สถานีอวกาศของรัสเซีย เป็นสถานีอวกาศแห่งแรกที่ถูกส่งขึ้นไปสู่วงโคจรของโลก นับเป็นการเริ่มต้นของยุคอวกาศ


20 เมษายน – วันเกิด อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ผู้นำของประเทศเยอรมนีระหว่างปี พ.ศ.2476-2488 (ค.ศ.1933-1945) และเป็นผู้นำของพรรคนาซีเยอรมัน
20 เมษายน – วันเกิด ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ
20 เมษายน พ.ศ.2405 – หลุยส์ ปาสเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และ คล็อด เบร์นาร์ นักสรีรศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ทดสอบการฆ่าเชื้อด้วยวิธีการ พาสเจอร์ไรซ์เซชัน (pasteurization) เป็นครั้งแรก
20 เมษายน พ.ศ.2445 – ปิแอร์ กูรี (Pierre Curie) และ มารี กูรี (Marie Curie) คู่สามีภรรยานักเคมีชาวโปแลนด์ สามารถสกัด เรเดียม คลอไรด์ (radium chloride) บริสุทธิ์ได้เป็นครั้งแรก
20 เมษายน พ.ศ.2487 – วันเกิด ขรรค์ชัย บุนปาน ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์มติชน
20 เมษายน พ.ศ.2510 – วันเกิด เคิร์ธ โคเบน (Kurt Donald Cobain) นักร้องนำวง เนอร์วานา (Nirvana)


21 เมษายน ค.ศ.1926 – วันประสูติ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
21 เมษายน ค.ศ.1864  – วันเกิดของ มักซิมิเลียน เวเบอร์ ผู้ก่อตั้งวิชาสังคมวิทยาสมัยใหม่และรัฐประศาสนศาสตร์
21 เมษายน พ.ศ.2325 – วันสถาปนา กรุงเทพมหานคร
21 เมษายน พ.ศ.2399 – ทาวน์เซนด์ แฮร์ริส (Townsend Harris) กงสุลอเมริกันประจำประเทศญี่ปุ่น เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
21 เมษายน พ.ศ.2499 – เพลง Heartbreak Hotel ของ เอลวิส เพรสลีย์ (Elvis Presley) ขึ้นอันดับสูงสุดในตารางอันดับเพลงยอดนิยมของนิตยสารบิลล์บอร์ด (Billboard) เป็นครั้งแรก
21 เมษายน พ.ศ.2532 – สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศฯ ดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
21 เมษายน พ.ศ.2453 – แซมมวล แลงฮอร์น คลีเมนส์ (Samuel Langhorne Clemens) นักเขียนชาวอเมริกันเจ้าของนามปากกา มาร์ค เทวน (Mark Twain) เสียชีวิต


22 เมษายน – วันเกิด วลาดิมีร์ อิลยิช เลนิน (lenin) (22 เมษายน ค.ศ.1870-21 มกราคม ค.ศ.1924) นักปฏิวัติชาวรัสเซีย หัวหน้าพรรคบอลเชวิก นายกรัฐมนตรีคนแรกของสหภาพโซเวียต
22 เมษายน พ.ศ.1114 – วันเกิด ศาสดามุฮัมมัด (Muhammad) แห่งศาสนาอิสลาม
22 เมษายน พ.ศ.2267 – วันเกิด อิมมานูเอล คานท์ (Immanual Kant) นักปรัชญาชาวเยอรมัน
22 เมษายน พ.ศ. 2513 – เกิดวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day
22 เมษายน พ.ศ. 2527 – แอนเซล อดัมส์ (Ansel Easton Adams) ปรมาจารย์ด้านการถ่ายภาพขาวดำชาวอเมริกัน เสียชีวิต
22 เมษายน พ.ศ. 2537 – ริชาร์ด นิกสัน (Richard Milhous Nixon) ประธานาธิบดีคนที่ 37 ของสหรัฐอเมริกา ถึงแก่อสัญกรรม


23 เมษายน พ.ศ.2107 – วันเกิด วิลเลียม เช็คสเปียร์ (William Shakespeare) (พ.ศ.2107-2159) กวีและนักเขียนบทละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษ
23 เมษายน พ.ศ.2493 – เจียง ไคเช็ค อพยพหนีกองทัพคอมมิวนิสต์ไปยังเกาะไหหลำ


24 เมษายน พ.ศ.2517 – ผืนป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ได้รับการประกาศให้เป็น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
24 เมษายน พ.ศ.2513 – สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียม ดงฟางหง 1 (Dong Fang Hong 1) ดาวเทียมดวงแรกขึ้นสู่ห้วงอวกาศ
24 เมษายน พ.ศ.2533 – กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี (Space Shuttle Discovery) นำ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope : HST) ขึ้นสู่อวกาศเป็นผลสำเร็จ


25 เมษายน พ.ศ.2417 – วันเกิด กูเลียลโม มาร์เคเซย์ มาร์โคนี  (Guglielmo Marconi) นักวิทยาศาสตร์ผู้ประดิษฐ์คลื่นวิทยุ
25 เมษายน พ.ศ.2517 – เกิด การปฏิวัติคาร์เนชั่น (Carnation Revolution) ที่เมืองลิสบอล (Lisbon) ประเทศโปรตุเกส
25 เมษายน พ.ศ.2262 – โรบินสัน ครูโซ (Robinson Crusoe) นิยายของ เดเนียล ดีโฟ (Daniel Defoe) ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรก
25 เมษายน พ.ศ.2402 – เริ่มขุด คลองสุเอซ (The Suez Canal) ในประเทศอียิปต์ เชื่อมต่อระหว่างเมืองพอร์ทเซด (Port Said) ฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนกับเมืองสุเอซ ที่ฝั่งทะเลแดง
25 เมษายน พ.ศ.2449 – วันเกิด มาลัย ชูพินิจ นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทย
25 เมษายน พ.ศ.2460 – วันเกิด เอลลา ฟิทซ์เจอรัลด์ (Ella Jane Fitzgerald) นักร้องเพลงแจ๊สชาวอเมริกัน ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น “สตรีหมายเลขหนึ่งแห่งวงการเพลง” (The First Lady of Song)
25 เมษายน พ.ศ.2496 – เจมส์ วัตสัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน และ ฟรานซิส คริก นักอณูชีววิทยาชาวอังกฤษ ประกาศการค้นพบ โครงสร้างดีเอ็นเอ (DNA)


26 เมษายน พ.ศ.2529 – โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl Nuclear Power Plant) ที่เมืองเชอร์โนบิล ประเทศยูเครน (สมัยนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) เกิดการระเบิด
26 เมษายน พ.ศ.2431 – พิธีเปิด โรงศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลแห่งแรกของสยาม
26 เมษายน พ.ศ.2436 – วันสถาปนา สภากาชาดไทย
26 เมษายน พ.ศ.2456  – พิธีเปิด ปาสตุรสภา (Pasteur Institute) ต่อมาคือ “สถานเสาวภา”


27 เมษายน พ.ศ.2451 – วันเกิด สด กูรมะโลหิต นักเขียนไทย หนังสือที่มีชื่อเสียงมากของเขาคือ ปักกิ่ง นครแห่งความหลัง
27 เมษายน พ.ศ.2302 – วันเกิด แมรี วอลล์สโตนคราฟท์ (Mary Wollstonecraft) นักเขียน นักปรัชญาสายเฟมินิสม์ (Feminism) และนักต่อสู้เรียกร้องสิทธิสตรีคนแรกๆ ของโลก
27 เมษายน พ.ศ.2334 – วันเกิด แซมมวล มอร์ส (Samuel F. B. Morse) นักประดิษฐ์และจิตรกรชาวอเมริกัน มอร์สเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องส่งสัญญาณไฟฟ้าทางไกลและคิดค้นรหัสแทนตัวหนังสือ ซึ่งต่อมาเรียกว่า รหัสมอร์ส
27 เมษายน พ.ศ.2382 – เกิดเอกสารทางราชการฉบับแรกที่ใช้วิธีการพิมพ์ด้วยตัวอักษรไทย และพิมพ์โดยโรงพิมพ์ในประเทศสยาม
27 เมษายน พ.ศ.2064 – เฟอร์ดินานด์ มาเจลแลน (Ferdinand Magellan) นักสำรวจชาวโปรตุเกส เสียชีวิต


28 เมษายน พ.ศ.2480 – วันเกิด ซัดดัม ฮุสเซน (Saddam Hussein) อดีตประธานาธิบดีแห่งอิรัก
28 เมษายน พ.ศ.2406 – วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ศิลปินเอกแห่งรัตนโกสินทร์
28 เมษายน พ.ศ.2493 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงเข้าพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร
28 เมษายน พ.ศ.2544 – เดนนิส ติโต (Dennis Anthony Tito) มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน วัย 60 ปีได้เป็น นักท่องอวกาศ (Space Tourist) คนแรกที่ได้ขึ้นไปท่องอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ


29 เมษายน พ.ศ.2491 – วันเกิด สุรชัย จันทิมาธร หรือ หงา คาราวาน นักร้องนักแต่งเพลงผู้บุกเบิกวงการเพลงเพื่อชีวิตของไทย
29 เมษายน พ.ศ.1972 – โจน ออฟ อาร์ค (Joan of Arc หรือภาษาฝรั่งเศส Jeanne d’Arc–ชาน ดาร์ก) ได้นำกำลังฝรั่งเศสตอบโต้กองทัพอังกฤษ ปลดปล่อยเมือง ออร์เลอ็องส์ (Orleans) จนได้ชัยชนะ
29 เมษายน พ.ศ.2444 – วันพระราชสมภพ พระจักพรรดิฮิโรฮิโต (Emperor Hirohito) จักรพรรดิองค์ที่ 124 แห่งญี่ปุ่น
29 เมษายน พ.ศ.2442 – วันประสูติ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย นักการเงินการคลังคนสำคัญของไทย
29 เมษายน พ.ศ.2442 – วันเกิด ดุ๊ค เอลลิงตัน (Edward Kennedy “Duke” Ellington) นักเปียโนและนักประพันธ์เพลงแจ๊สชาวอเมริกัน
29 เมษายน พ.ศ.2498 – วันก่อตั้ง โรงรับจำนำของรัฐ
29 เมษายน พ.ศ.2516 – เฮลิคอปเตอร์ 1 ใน 2 ลำของกองทัพบกซึ่งคณะนายทหารและตำรวจชั้นผู้ใหญ่ใช้เดินทางไปตั้งแคมป์ลักลอบล่าสัตว์มาฉลองวันเกิดกันอย่างสนุกสนาน ในบริเวณป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ. กาญจนบุรี
29 เมษายน พ.ศ.2523 – อัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก (Sir Alfred Joseph Hitchcock) ราชาแห่งภาพยนตร์ระทึกขวัญ (Thriller) เสียชีวิต
29 เมษายน พ.ศ.2548 – หม่อมเจ้าศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามบมกุฎราชกุมาร มีพระประสูติกาลพระโอรส พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ


30 เมษายน 2428- วันเกิด พระยากัลยาณไมตรี (ดร.ฟรานชิส บี แชร์) ชาวอเมริกันคนที่ ๒ ที่เข้ามารับราชการในไทย และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยา
30 เมษายน พ.ศ.2231 – สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา ร่วมกับคณะบาทหลวงฝรั่งเศส และข้าราชบริพารฝ่ายไทย
30 เมษายน พ.ศ.2332 – จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา
30 เมษายน พ.ศ.2488 – อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ผู้นำเผด็จการชาวเยอรมัน ยิงตัวตายพร้อมภรรยา เอวา บราวน์ (Eva Braun)
30 เมษายน พ.ศ.2518 – ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Securities Exchange of Thailand) เปิดทำการซื้อขายขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก
30 เมษายน พ.ศ.2518 – สงครามเวียดนาม (Vietnam Wars) ยุติลงอย่างเป็นทางการ

ที่มา sarakadee.com
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 21 กันยายน 2559 19:50:02 »


1 พฤษภาคม พ.ศ.2484 – ซิติเซน เคน (Citizen Kane) ภาพยนตร์เรื่องเอกของ ออร์สัน เวลส์ (Orson Welles) ออกฉายรอบปฐมฤกษ์ที่กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
1 พฤษภาคม พ.ศ.2383 – ไปรษณีย์อังกฤษ นำดวงตราไปรษณีย์ หรือ แสตมป์ (Stamp) ดวงแรกของประเทศและของโลกออกจำหน่ายและเริ่มใช้ได้ในวันที่ 6 พฤษภาคม
1 พฤษภาคม พ.ศ.2429 – วันกรรมกรสากล หรือวันกรรมกรโลก ([size=9t]May Day หรือ Labor Day[/size])
1 พฤษภาคม พ.ศ.2454 – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่า ขึ้น
1 พฤษภาคม พ.ศ.2503 – การบินไทย สายการบินประจำชาติของประเทศไทยเริ่มบินเที่ยวแรก


2 พฤษภาคม พ.ศ.2464 – วันเกิด สัตยาจิต เรย์ (Satyajit Ray) ผู้กำกับภาพยนตร์ระดับตำนานชาวอินเดีย
2 พฤษภาคม พ.ศ.2062 – ลิโอนาร์โด ดาวินชิ (Leonarde da Vinci) ศิลปินเอกชาวอิตาเลียน เสียชีวิต
2 พฤษภาคม พ.ศ.2526 – นายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกฯ 3 สมัยและรัฐบุรุษอาวุโส ถึงแก่อสัญกรรมที่บ้านพักชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
2 พฤษภาคม พ.ศ.2446 – วันเกิด บิง ครอสบี (Harry Lillis “Bing” Crosby) นักร้องเพลงแจ๊ซและนักแสดงชาวอเมริกันที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในช่วงทศวรรษที่ 20


3 พฤษภาคม พ.ศ.2012 – วันเกิด นิกโกโล มาคิอาเวลลี (Niccolo Machiavelli) นักปรัชญาการเมืองชาวอิตาลี
3 พฤษภาคม พ.ศ.2480 – วิมานลอย (Gone with the Wind) นิยายขายดีของ มาร์กาเร็ต มิตเชลล์ (Margaret Mitchell) ได้รับรางวัลพูลิเซอร์ สาขานิยาย (Pulitzer Prize for Fiction)
3 พฤษภาคม พ.ศ.2534 – วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day)


4 พฤษภาคม พ.ศ.2522 – นางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ หัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม ได้รับการเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอังกฤษ
4 พฤษภาคม พ.ศ.2471 – วันเกิด ฮอสนี มูบารัก อดีตประธานาธิบดีแห่งอียิปต์
4 พฤษภาคม พ.ศ.2472 – วันเกิด ออเดรย์ เฮปเบิร์น นักแสดงอังกฤษเชื้อสายเนเธอร์แลนด์


5 พฤษภาคม 2509 – จิตร ภูมิศักดิ์ (2473-2509) ปัญญาชนปฏิวัติผู้สร้างแรงบันดาลใจให้ขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเสียชีวิต
5 พฤษภาคม พ.ศ.2361 – วันเกิด คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ผู้นำความคิดด้านสังคมนิยม


6 พฤษภาคม พ.ศ.2399 – วันเกิด ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud พ.ศ.2399-2482 ) บิดาของทฤษฎีจิตวิเคราะห์
6 พฤษภาคม พ.ศ.2411 (ค.ศ.1868) – พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย – เสียชีวิต
6 พฤษภาคม พ.ศ.2399 – วันเกิด โรเบิร์ต เพียรี (Robert Edwin Peary) นักสำรวจชาวอเมริกัน มนุษย์คนแรกที่เดินทางไปถึงขั้วโลกเหนือ (North Pole)
6 พฤษภาคม พ.ศ.2480 – เรือเหาะฮินเดนเบิร์ก (Hindenburg Zeppelin) เรือเหาะของเยอรมันเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้
6 พฤษภาคม พ.ศ.2484 – วันเกิด อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6 พฤษภาคม พ.ศ.2496 – วันเกิด โทนี แบลร์ (Anthony Charles Lynton “Tony” Blair) นายกรัฐมนตรีประเทศอังกฤษคนปัจจุบัน
6 พฤษภาคม พ.ศ.2537 – อุโมงค์ Channel Tunnel (ภาษาฝรั่งเศสคือ le tunnel sous la Manche) เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ


7 พฤษภาคม พ.ศ.2404 – วันเกิด รพินทรนาถ ฐากูร มีสมัญญานามว่า “คุรุเทพ” เป็นนักปรัชญาพรหโมสมัช นักธรรมชาตินิยม และกวีภาษาเบงกาลี
7 พฤษภาคม พ.ศ.2376 – วันเกิด โยฮันเนส บราห์ม (Johannes Brahms) คีตกวีชาวเยอรมันยุคโรแมนติก
7 พฤษภาคม พ.ศ.2367 – ซิมโฟนีหมายเลข 9 (Symphony no.9 “Choral”) ของ ลุดวิก ฟาน บีโธเฟน (Ludwig van Beethoven) คีตกวีเอกของโลกชาวเยอรมัน ถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรก
7 พฤษภาคม พ.ศ.2458 – เรือโดยสาร ลูซิทาเนีย (Lusitania) ของอังกฤษถูกเรืออู (U-Boat Unterseeboot) เรือดำน้ำของเยอรมันยิงจมใกล้ฝั่งทะเลของประเทศไอร์แลนด์ ในมหาสมุทรแอตแลนติก
7 พฤษภาคม พ.ศ.2496 – วันสถาปนาโรงเรียนนายเรืออากาศ
7 พฤษภาคม พ.ศ.2537 – ตำรวจนอร์เวย์ได้ภาพ The Scream คืนหลังถูกขโมยไปจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์


8 พฤษภาคม พ.ศ.2371 – วันเกิด อังรี ดูนังต์ ผู้ให้กำเนิดสภากาชาดสากล
8 พฤษภาคม พ.ศ.2429 – เครื่องดื่ม Coca-Cola หรือ Coke สูตรต้นตำรับถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา
8 พฤษภาคม พ.ศ.2427 – วันเกิด แฮร์รี เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman) ประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 – บริษัท พาราเมาท์ พิกเจอร์ส (Paramount Pictures) บริษัทผลิตภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของอเมริกา ก่อตั้งขึ้นที่ฮอลลีวูด ซานฟราสซิสโก
8 พฤษภาคม พ.ศ.2483 – วันเกิด ซอล บาส(Saul Bass) กราฟฟิคดีไซน์เนอร์ชื่อดังชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักในฐานะคนออกแบบโปสเตอร์, ฉากเปิดเรื่องของหนัง และโลโก้บริษัทใหญ่ๆ 8pt]Victory in Europe Day : V-E Day or VE Day[/size]) หลังจากประเทศเยอรมนีประกาศยอมแพ้


9 พฤษภาคม พ.ศ.2416 – วันเกิด ฮาวเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Cartor) ผู้คนพบสุสานของกษัตริย์ตุตันคาเมน (King Tutankhamen’s tomb) อิยิปต์
9 พฤษภาคม พ.ศ.2472 – เกิดสุริยุปราคาครั้งที่สองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
9 พฤษภาคม พ.ศ.2446 – พอล โกแกง ([size=pt]Paul Gauguin[/size]) โกแกงเป็นศิลปินคนสำคัญของฝรั่งเศสในกลุ่มโพสต์-อิมเพรสชั่นนิสม์ (Post-Impressionism) เสียชีวิต
9 พฤษภาคม พ.ศ.2513 – ชาวอเมริกัน จำนวน 75,000–100,000 คน ร่วมชุมนุมคัดค้าน สงครามเวียดนาม (Vietnam Wars) บริเวณหลังทำเนียบขาว กรุงวอชิงตัน ดี.ซี
9 พฤษภาคม พ.ศ.2529 – เทนซิง นอร์เกย์ (Tenzing Norgay) นักปีนเขาชาวเชอร์ปา (ชนเผ่าหนึ่งแถบเทือกเขาหิมาลัย) เสียชีวิต
9 พฤษภาคม พ.ศ.2537 – เนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela) เป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของประเทศแอฟริกาใต้ ที่ได้รับการเลือกตั้งตามกระบวนการประชาธิปไตย


10 พฤษภาคม พ.ศ.2463 – วันเกิด อ.กรุณา กุศลาสัย นักหนังสือพิมพ์และปราชญ์ด้านอินเดียศึกษา
10 พฤษภาคม พ.ศ.2046 – คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) นักสำรวจชาวสเปนพร้อมลูกเรือ เป็นชาวยุโรปคณะแรกที่ค้นพบหมู่เกาะเคย์แมน (Cayman Islands)
10 พฤษภาคม พ.ศ.2527 – สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 (Pope John Paul II) ประมุขแห่งวาติกัน เสด็จเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรก
10 พฤษภาคม พ.ศ.2524 – ฟร็องซัวส์ มิตแตร์รองด์ (Francois Mitterrand) ขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศส เป็นคนแรกที่มาจากสายสังคมนิยม

   
11 พฤษภาคม พ.ศ.2345 – วันกิด แฝดสยาม อิน-จัน (Eng-Chang Bunker) ฝาแฝดที่มีหน้าอกติดกันและใช้ตับร่วมกันคู่แรกของโลกที่สามารถดำรงชีพเหมือนคนธรรมดาได้ตลอดชีวิต
11 พฤษภาคม พ.ศ.2414 – จอห์น เฮอร์เชล (Sir John Frederick Herschel) นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์และนักเคมีชาวอังกฤษ ถึงแก่กรรม
11 พฤษภาคม พ.ศ.2443 – วันเกิด นายปรีดี พนมยงค์ (พ.ศ.2443-2526)  รัฐบุรุษอาวุโส
11 พฤษภาคม พ.ศ.2461 – วันเกิด ริชาร์ด ฟิลลิปส์ ไฟน์แมน (Richard Phillips Feynman) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 – วันเกิด ซัลวาดอร์ ดาลี (Salvador Dali) ศิลปินกลุ่มเซอเรียลลิสต์ (surrealist) ชาวสเปน
11 พฤษภาคม พ.ศ.2454 – วันเกิดพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
11 พฤษภาคม พ.ศ.2470 – วันก่อตั้ง สถาบันศิลป์และศาสตร์แห่งภาพยนตร์ (Academy of Motion Picture Arts and Sciences : AMPAS)
11 พฤษภาคม พ.ศ.2509 – วันเกิด สรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรและผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียงของไทย
11 พฤษภาคม พ.ศ.2524 – บ็อบ มาร์เลย์ (Robert Nesta “Bob” Marley) ราชาเพลง เร็กเก (reggae) ชาวจาไมกาเสียชีวิตที่ไมอามี สหรัฐอเมริกา ในวัยเพียง 36 ปี



12 พฤษภาคม พ.ศ.2453 – วันเกิด ปรีชา อินทรปาลิต (2453-2511) หรือ ป.อินทรปาลิต นักเขียนเรื่องอ่านเล่นที่สร้างงานประพันธ์ทุกแนว
12 พฤษภาคม พ.ศ.2363 (ค.ศ. 1820) – วันเกิด ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล สตรีชาวอังกฤษผู้บุกเบิกด้านการพยาบาล
12 พฤษภาคม พ.ศ.2438 – วันเกิด จิฑฑุ กฤษณะมูรติ (Jiddu Krishnamurti) นักปราชญ์ชาวอินเดีย
12 พฤษภาคม พ.ศ.2475 – ท่านพุทธทาสภิกขุ และนายธรรมทาส พานิช น้องชาย เริ่มก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรมที่ชื่อว่าสวนโมกขพลาราม


13 พฤษภาคม พ.ศ.2457 – วันเกิด โจ หลุยส์ หนึ่งในนักมวยสากลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล
13 พฤษภาคม พ.ศ.2501 – จอร์จ เดอ เมสทรัล (Georges de Mestral) วิศวกรชาวสวิส จดสิทธิบัตร เวลโคร (VELCRO) หรือ ตีนตุ๊กแก
13 พฤษภาคม พ.ศ.2524 – สมเด็จพระสันตปาปา จอห์น ปอลที่ 2 (Pope John Paul II) ประมุขแห่งคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ถูกลอบสังหาร


14 พฤษภาคม พ.ศ.2487 – วันเกิด จอร์จ ลูคัส (George Walton Lucas, Jr.) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน
14 พฤษภาคม พ.ศ.2150 – ชาวอังกฤษ กลุ่มแรกเริ่มอพยพเข้ามาตั้งรกรากในทวีปอเมริกา
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 – ประเทศอิสราเอล (State of Israel) ประกาศอิสรภาพจากเครือจักรภพอังกฤษ
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 – องค์การนาซา (NASA) ส่งสถานีอวกาศสกายแล็บ (Skylab space station) ขึ้นสู่ชั้นอวกาศ
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 – แฟรงก์ ซินาตรา (Francis Albert “Frank” Sinatra) นักร้องเพลงแจ๊ส ป็อป และนักแสดงชาวอเมริกัน ถึงแก่กรรม


15 พฤษถาคม พ.ศ.2533 - ครม.ชุดนายชาติชาย ชุณหะวัณ อนุมัติงบประมาณโครงการเขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี
15 พฤษภาคม พ.ศ.2524 – นายศรีศักร วัลลิโภดม และนายพรชัย สุจิตต์ เปิดเผยว่าได้ค้นพบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่หน้าผาริมแม่น้ำโขง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี


16 พฤษภาคม พ.ศ.2458 – วันเกิด Orson welles (พ.ศ.2458-2528)ผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับ เขียนบทและแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง Citizen Kane ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาลของอเมริกา
16 พฤษภาคม พ.ศ.2313 – พระนางมารี อองตัวแนตต์ (Marie Antoinette) อาร์คดัชเชสส์แห่งออสเตรีย เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับ มกุฏราชกุมารแห่งฝรั่งเศส หลุยส์ ออร์กุสต์ (Louis-Auguste) ณ พระราชวังแวร์ซายส์
16 พฤษภาคม พ.ศ.2472 – สถาบันศิลปะและศาสตร์แห่งภาพยนตร์ (Academy of Motion Picture Arts and Sciences : AMPAS) ได้จัดพิธีประกาศผลรางวัลออสการ์ (Oscar) ครั้งแรก
16 พฤษภาคม พ.ศ.2467 – วันเกิด วิลาศ มณีวัต นักเขียนนักหนังสือพิมพ์
16 พฤษภาคม พ.ศ.2409 – ชาร์ลส์ ไฮร์ส (Charles Elmer Hires) นักปรุงยาชาวเมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา สามารถผลิตเครื่องดื่ม รูทเบียร์ (root beer) ได้สำเร็จ


17 พฤษภาคม พ.ศ.2535 – เกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ (Black May)
17 พฤษภาคม พ.ศ.2389 – อดอล์ฟ แซกซ์ (Antoine-Joseph “Adolphe” Sax) นักประดิษฐ์เครื่องดนตรีชาวเบลเยียม จดสิทธิบัตรแซกโซโฟน (saxophone)
17 พฤษภาคม พ.ศ.2477 – โรงเรียนนาฎศิลป์ เปิดสอนเป็นวันแรก
17 พฤษภาคม พ.ศ.2504 – วันเกิด เอนยา (Enya ชื่อจริงคือ Eithne Patricia Ni Bhraonain) นักดนตรีและนักแต่งเพลงนิวเอจ (New Age) ชาวไอริช
17 พฤษภาคม พ.ศ.2509 – พิธีเปิดเขื่อนภูมิพล


18 พฤษภาคม พ.ศ.2463 – วันประสูติสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2
18 พฤษภาคม ค.ศ.1872 – วันเกิด เบอร์แทรนด์ รัสเซิลล์ นักคณิตศาสตร์ นักปรัชญา นักเขียนและนักตรรกวิทยา ที่มีอิทธิพลอย่างสูงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20
18 พฤษภาคม พ.ศ.2465 – วันเกิด อิศรา อมันตกุล นักเขียนนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทย
18 พฤษภาคม พ.ศ.2517 – ประเทศอินเดีย ประสบความสำเร็จในการทดลองระเบิดนิวเคลียร์เป็นครั้งแรก ในโครงการ “พระพุทธองค์ทรงแย้มพระโอษฐ์” (Smiling Buddha)
18 พฤษภาคม พ.ศ.2523 – ภูเขาไฟ เซนต์ เฮเลนส์ (Mount St. Helens) ที่รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เกิดระเบิดอย่างรุนแรง


19 พฤษภาคม พ.ศ.2435 – วันเกิด โฮ จิ มินท์ (Ho chi-Minh พ.ศ.2435- 2512)  นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ของเวียดนาม
19 พฤษภาคม พ.ศ.2466 – พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สิ้นพระชนม์ด้วยโรคไข้หวัดใหญ่
19 พฤษภาคม 2468 – วันเกิด พอล พต (Pol Pot หรือ Saloth Sar) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาและผู้นำกองทัพเขมรแดง


20 พฤษภาคม พ.ศ.2342 – วันเกิด ออนอเร เดอ บัลซัค (Honore de Balzac) นักเขียนนวนิยายผู้ยิ่งใหญ่ชาวฝรั่งเศส
20 พฤษภาคม พ.ศ.2041 –วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) นักสำรวจชาวโปรตุเกสพร้อมลูกเรือ 265 คน เป็นชาวยุโรปคณะแรกที่ค้นพบอินเดีย
20 พฤษภาคม พ.ศ.2049 – คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) นักสำรวจชาวอิตาเลียนผู้ค้นพบทวีปอเมริกาในยุคใหม่ เสียชีวิต


21 พฤษภาคม พ.ศ.2432 – ธนาคารฮ่องกงและเซียงไฮ้ (ปัจจุบันคือ HSBC) ซึ่งเป็นธนาคารต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินการในประเทศไทย เริ่มนำ “บัตรธนาคาร” (Bank Note) ออกใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
21 พฤษภาคม พ.ศ.2231 – วันเกิด อเล็กซานเดอร์ โปป (Alexander Pope) กวีชาวอังกฤษ
21 พฤษภาคม พ.ศ.2475 – เอมิเลีย เอียร์ฮาร์ท (Amelia Mary Earhart) เป็นนักบินผู้หญิงคนแรกที่บินเดี่ยวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคได้สำเร็จ
21 พฤษภาคม พ.ศ.2534 – ราจีฟ คานธี (Rajiv Gandhi) นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดีย ถูกลอบสังหาร


22 พฤษภาคม พ.ศ.2356 – วันเกิด ริชาร์ด วากเนอร์ (Wilhelm Richard Wagner) นักประพันธ์เพลงอุปรากรชาวเยอรมัน
22 พฤษภาคม พ.ศ.2362 – เรือกลไฟ เอสเอส สะวันนาห์ (SS Savannah) เริ่มแล่นออกจากท่าเรือสะวันนาห์ เมืองจอเจีย สหรัฐอเมริกา
22 พฤษภาคม พ.ศ.2402 – วันเกิด เซอร์ อาร์เทอร์ โคนัน ดอยล์ (Sir Arthur Conan Doyle) นายแพทย์นักประพันธ์ชาวอังกฤษ
22 พฤษภาคม พ.ศ.2428 – วิคเตอร์ ฮูโก (Victor-Marie Hugo) นักเขียนแนวโรแมนติกชาวฝรั่งเศส ถึงแก่อสัญกรรม
22 พฤษภาคม พ.ศ.2527 – สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 เสด็จสวรรคต
22 พฤษภาคม พ.ศ.2543 – วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ


23 พฤษภาคม พ.ศ.2387 – วันเกิด พระอับดุลบาฮา (Abdu’l-Baha) บุตรชายคนโตของ พระบาฮาอุลลาห์ (Baha’u’llah) ศาสดาแห่ง ศาสนาบาไฮ (Baha’I Faith)
23 พฤษภาคม พ.ศ.2482 – เรือดำน้ำ ยูเอสเอส สควอลัส (USS Squalus) ของสหรัฐอเมริกา เกิดอุบัติเหตุจมลงไปใต้นำระหว่างทำการทดลองดำน้ำบริเวณชายฝั่งเมืองนิวแฮมไชร์ มลรัฐนิวอิงค์แลนด์ สหรัฐอเมริกา
23 พฤษภาคม พ.ศ.2458 – จอห์น ร็อคกีเฟลเลอร์ (John Davison Rockefeller) นักธุรกิจน้ำมันชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิร็อคกีเฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) เสียชีวิต


24 พฤษภาคม พ.ศ.2087 – วันเกิด วิลเลียม กิลเบิร์ต (Sir William Gilbert) แพทย์ นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาธรรมชาติชาวอังกฤษ
24 พฤษภาคม พ.ศ.2086 – นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus) นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ เสียชีวิต
24 พฤษภาคม พ.ศ.2387 – แซมมวล มอร์ส (Samual F. B. Morse) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ทดลองส่งโทรเลข (Telegraph) ฉบับแรกจากบัลติมอร์ รัฐแมรีแลนด์ ไปยังกรุงวอร์ชิงตัน ดี.ซี.
24 พฤษภาคม พ.ศ.2492 – รัฐบาลไทย ได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ให้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จากประเทศอังกฤษกลับมาถึงประเทศไทย
24 พฤษภาคม พ.ศ.2517 – ดุ๊ก เอลลิงตัน นักเปียโนและนักประพันธ์เพลงแจ๊สชาวอเมริกัน เสียชีวิต


25 พฤษภาคม พ.ศ.2346 – วันเกิด ราฟท์ วัลโด อิเมอร์สัน (Ralph Waldo Emerson ค.ศ.1803-1882) เขาเป็นทั้งกวี นักประพันธ์ และนักปรัชญาชาวสหรัฐอเมริกา
25 พฤษภาคม พ.ศ.2394 – พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 2 ในรัชกาลที่ 4
25 พฤษภาคม พ.ศ.2411 – คลองดำเนินสะดวก เปิดใช้งานเป็นวันแรก
25 พฤษภาคม พ.ศ.2504 – จอห์น เอฟ.เคเนดี (John F. Kennedy) ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาประกาศจุดมุ่งหมายที่จะ “ส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์และส่งกลับมาสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัย”


26 พฤษภาคม พ.ศ.2469 – วันเกิด ไมล์ส เดวิส (Miles Dewey Davis III) นักทรัมเป็ตผู้ปฏิวัติดนตรีแจ๊สชาวอเมริกัน
26 พฤษภาคม พ.ศ.2439 – พระเจ้านิโคลัสที่ 2 (Nicholas II) ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 (Tsar Nicholas II) กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของรัสเซีย
26 พฤษภาคม พ.ศ.2534 – เครื่องบิน โบอิง 767-3Z9ER ของสายการบินเลาดาแอร์ (Lauda Air) ประสบอุบัติเหตุระเบิดกลางอากาศ
26 พฤษภาคม พ.ศ.2448 – วันเกิด ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย
26 พฤษภาคม พ.ศ.2499 – วันเกิด ธัญญา สังขพันธานนท์ เจ้าของนามปากกา “ไพฑูรย์ ธัญญา” นักเขียนรางวัลซีไรต์ปี 2530 จากรวมเรื่องสั้นชุดก่อกองทราย


27 พฤษภาคม พ.ศ.2449 – วันเกิด พุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์–เงื่อม อินทปัญโญ) มหาบุรุษแห่งสยามประเทศ
27 พฤษภาคม พ.ศ.2450 – วันเกิด ราเชล คาร์สัน (Rachel Louise Carson) นักสิ่งแวดล้อมชาวอเมริกัน หัวหอกของขบวนการสีเขียวแห่งศตวรรษที่ 20
27 พฤษภาคม พ.ศ.2474 – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์พระองค์แรก สิ้นพระชนม์
27 พฤษภาคม พ.ศ.2480 – ยาวาหะราล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) นายกรัฐมนตรีคนแรกและรัฐบุรุษของอินเดีย ถึงแก่อสัญกรรม
27 พฤษภาคม พ.ศ.2480 – สะพานโกลเดนเกท (Golden Gate Bridge) เปิดใช้อย่างเป็นทางการ เริ่มก่อสร้างในปี 2476


28 พฤษภาคม พ.ศ.2451 – วันเกิด เอียน เฟลมมิง (Ian Fleming) นักประพันธ์ชาวอังกฤษ เจ้าของผลงานนิยายชื่อดัง เจมส์ บอนด์ 007 (James Bond 007)
28 พฤษภาคม พ.ศ.2386 – โนอาห์ เว็บสเตอร์ (Noah Webster) นักเขียนพจนานุกรม (lexicographer) ชาวอเมริกัน ถึงแก่กรรม
28 พฤษภาคม พ.ศ.2510 – ฟรานซิส ไชเชสเตอร์ (Sir Francis Chichester) นักเล่นเรือชาวอังกฤษวัย 65 ปี ประสบความสำเร็จในการแล่นเรือใบสองเสา (ketch) รอบโลกคนเดียว


29 พฤษภาคม พ.ศ.2460 – วันเกิด จอห์น เอฟ เคเนดี้ (2460- 2506) ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของอเมริกา
29 พฤษภาคม พ.ศ.2496 – เอ็ดมุนด์ ฮิลลารี (Sir Edmund Percival Hillary) ชาวนิวซีแลนด์ และเทนซิง นอร์เกย์ (Tenzing Norgay) ลูกหาบชาวเชอร์ปา เป็นนักสำรวจคณะแรกที่สามารถพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกบนเทือกเขาหิมาลัย
29 พฤษภาคม พ.ศ.2435 – พระบาฮาอุลลาห์ (Baha’u’llah) ผู้ก่อตั้งศาสนาบาไฮ (Baha’i Faith) มรณภาพ


30 พฤษภาคม พ.ศ.2452 – วันเกิด เบนนี กูดแมน (Benjamin David “Benny” Goodman) นักคลาริเน็ตชาวอเมริกัน เจ้าของฉายา “ราชาสวิงแจ๊ส” (King of Swing)
30 พฤษภาคม พ.ศ.1974 – โยน ออฟ อาร์ก (Joan of Arc) วีรสตรีผู้กอบกู้ประเทศฝรั่งเศสในช่วงสงครามร้อยปีกับอังกฤษ (Hundred Years’ War) ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการเผาทั้งเป็น
30 พฤษภาคม พ.ศ.2287 – อเล็กซานเดอร์ โปป (Alexander Pope) กวีชาวอังกฤษถึงแก่อสัญกรรม
30 พฤษภาคม พ.ศ.2317 – ฟรองซัวส์ มารี อารูเอต์ (Francois Marie Arouet) เจ้าของนามปากกา วอลแตร์ (Voltaire) นักประพันธ์และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ 18 เสียชีวิต
30 พฤษภาคม พ.ศ.2457 – พิธีเปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
30 พฤษภาคม พ.ศ.2484 – พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยวาย ณ ประเทศอังกฤษ


31 พฤษภาคม พ.ศ.2362 – วันเกิด วอลต์ วิตแมน (Walter “Walt” Whitman) กวีชาวอเมริกัน
31 พฤษภาคม พ.ศ.2325 – โจเซฟ ไฮเดิน (Franz Joseph Haydn) คีตกวีชาวออสเตรียผู้บุกเบิกเพลงซิมโฟนี เสียชีวิต
31 พฤษภาคม พ.ศ.2423 – สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (พระนางเรือล่ม) อัครมเหสีใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ฯ พระราชธิดา เสด็จธิวงคตในอุบัติเหตุเรือพระที่นั่ง
31 พฤษภาคม พ.ศ.2525 – โผน กิ่งเพชร (Pone Kingpetch) หรือชื่อจริง มานะ สีดอกบวบ นักมวยแชมป์โลกรุ่นฟลายเวทคนแรกของไทย เสียชีวิต
31 พฤษภาคม พ.ศ.2531 – องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้วันนี้เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) เป็นครั้งแรก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 กันยายน 2559 19:55:46 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2559 19:43:12 »



1 มิถุนายน พ.ศ.2469 (ค.ศ.1926) – มาริลีน มอนโร นักแสดงชาวอเมริกัน (เสียชีวิต พ.ศ.2505)
1 มิถุนายน พ.ศ.2489 – วันเกิด โกมล คีมทอง บัณฑิตหนุ่มผู้เสียสละตนเองไปเป็นครูในถิ่นทุรกันดาร
1 มิถุนายน พ.ศ.2451 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ซึ่งนับเป็น ประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย
1 มิถุนายน พ.ศ. 2523 – ซีเอ็นเอ็น (Cable News Network : CNN) สถานีเครือข่ายโทรทัศน์เคเบิลของสหรัฐอเมริกา เริ่มแพร่สัญญาณเป็นครั้งแรก



2 มิถุนายน พ.ศ.2489 – วันสถาปนา สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic) โดยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์เป็นระบอบประชาธิปไตย
2 มิถุนายน พ.ศ.2496 – สมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 2 (Queen Elizabeth II) ทรงเข้าพิธีราชาภิเษก ณ วิหารเวสมินเตอร์ กรุงลอนดอน
2 มิถุนายน พ.ศ.2522 – สมเด็จพระสันตปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 (Pope John Paul II) เสด็จเยี่ยมประเทศโปแลนด์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระองค์ โดยทรงเป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรกที่เสด็จเยือนประเทศคอมมิวนิส



3 มิถุนายน พ.ศ.2379 – หมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) มิชชันนารีชาวอเมริกัน ให้กำเนิดสิ่งพิมพ์ฉบับแรกในประเทศไทยคือ หนังสือบัญญัติสิบประการ (The Commandments)
3 มิถุนายน พ.ศ.2442 – โยฮันน์ สเตราส์ จูเนียร์ หรือโยฮันน์ สเตราส์ ที่ 2 (Johann Strauss Junior) คีตกวีชาวออสเตรียที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชาแห่งเพลงวอลซ์” (The Waltz King) เสียชีวิต
3 มิถุนายน พ.ศ.2467 – ฟรานซ์ คาฟกา (Franz Kafka) นักเขียนนิยายชาวเช็ก หนึ่งในนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20 เสียชีวิต
3 มิถุนายน พ.ศ.2516 – พิธีเปิด เขื่อนจุฬาภรณ์



     -


5 มิถุนายน พ.ศ.2524 – ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของสหรัฐอเมริกา ได้รายงานการค้นพบโรคเอดส์อย่างเป็นทางการครั้งแรกในโลก
5 มิถุนายน พ.ศ.2460 – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวม กรมรถไฟสายเหนือ และกรมรถไฟสายใต้ ขึ้นกับกรมรถไฟหลวง
5 มิถุนายน พ.ศ.2231 – เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (วิชาเยนทร์ หรือวิไชเยนทร์) ขุนนางคนสนิทของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถูกพระเพทราชาใช้อุบายหลอกไปประหาร
5 มิถุนายน พ.ศ.2510 – สงคราม 6 วัน (Six Day War) เริ่มต้นขึ้นเมื่ออิสราเอล เริ่มโจมตีอียิปต์ จอร์แดน และซีเรีย ทางอากาศ
5 มิถุนายน พ.ศ.2515 – เริ่ม “วันสิ่งแวดล้อมโลก” (World Environment Day)



6 มิถุนายน พ.ศ.2487 – วัน ดี-เดย์ (D-day) วันเริ่มต้นของยุทธการนอร์มังดี (Battle of Normandy) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
6 มิถุนายน พ.ศ.2468 – วันเกิด กิมย้ง (Jin Yong) นามปากกา-v’ หลุยส์ ชา (Louis Cha) นักเขียนนิยายกำลังภายใจของจีนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคนหนึ่ง
6 มิถุนายน พ.ศ.2418 – วันเกิด โทมัส มันน์ (Thomas Mann) นักเขียนนวนิยาย กวี ชาวเยอรมัน
6 มิถุนายน ค.ศ.1901 – วันเกิด ซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย (ถึงแก่กรรม พ.ศ.2513)



7 มิถุนายน 2391  – วันเกิด ปอล โกแกง (2391-2446) หนึ่งในจิตรกรคนสำคัญของฝรั่งเศสในยุคโพสต์-อิมเพรสชั่นนิสม์
7 มิถุนายน พ.ศ.1642 – สงครามครูเสดครั้งที่ 1 (The First Crusade) เริ่มต้นขึ้น
7 มิถุนายน พ.ศ.2472 – นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City) ได้รับอิสรภาพจากอิตาลี
7 มิถุนายน พ.ศ.2472 – อลัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) นักคณิตศาสตร์ นักตรรกศาสตร์ นักรหัสวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์สมัยใหม่” เสียชีวิต



8 มิถุนายน พ.ศ.2410 – วันเกิด แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ (Frank Lloyd Wright) สถาปนิกชาวอเมริกัน
8 มิถุนายน พ.ศ.1175 – ศาสดามุฮัมมัด (Muhammad) แห่งศาสนาอิสลาม ถึงแก่กรรม
8 มิถุนายน พ.ศ.2352 – โธมัส เพน (Thomas Paine) นักปฏิวัติเสรีประชาธิปไตยชาวอังกฤษผู้มีอิทธิพลต่อการประกาศเอกราชของอเมริกา ถึงแก่กรรม
8 มิถุนายน พ.ศ.2353 – วันเกิด โรเบิร์ต อเล็กซานเดอร์ ชูมันน์ (Robert Alexander Schumann) คีตกวียุคโรแมนติกชาวเยอรมัน
8 มิถุนายน พ.ศ.2417 – วันพระราชสมภพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์พระองค์แรก
8 มิถุนายน พ.ศ.2514 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง ถนนรัชดาภิเษก
8 มิถุนายน พ.ศ.2518 – สหภาพโซเวียต ส่งยาน เวเนอรา 9 (Venera 9) ขึ้นสู่อวกาศ เพื่อปฏิบัติการสำรวจดาวศุกร์
8 มิถุนายน พ.ศ.2547 – เกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (Transit of Venus)
8 มิถุนายน พ.ศ.2498 (ค.ศ.1955) – วันเกิด ทิม เบิร์นเนอร์ส-ลี ผู้คิดค้นเวิลด์ไวด์เว็บ



9 มิถุนายน พ.ศ.2324 – วันเกิด จอร์จ สตีเฟนสัน (George Stephenson) บิดาแห่งการรถไฟโลก
9 มิถุนายน พ.ศ.2489 – พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืนลั่น ณ พระที่นั่งบรมพิมาน



10 มิถุนายน 2465 –  วันเกิด จูดี้ การ์แลนด์ (Judy Garland)(1922- June 22, 1969 ) นักแสดงและนักร้อง ที่โด่งดังจากเรื่อง “The Wizard of Oz
10 มิถุนายน พ.ศ.2450 – วันเกิด มนัส จรรยงค์ นักประพันธ์ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชาเรื่องสั้นไทย”
10 มิถุนายน พ.ศ.220 – พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยกรีกโบราณ ผู้พิชิตดินแดนเกือบครึ่งค่อนโลก สวรรคต
10 มิถุนายน พ.ศ. 325 – พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างย่อ



11 มิถุนายน พ.ศ.2313 – กัปตัน เจมส์ คุก (Captain James Cook) นักสำรวจชาวอังกฤษ ควบคุมเรือ Endeavour ไปชนแนวหินปะการังขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เกรตแบร์เรียรีฟ (Great Barrier Reef)
11 มิถุนายน พ.ศ.2507 – จอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวาย



12 มิถุนายน พ.ศ.2472 – วันเกิด แอนน์ แฟรงค์ (Annelies Marie “Anne” Frank) เด็กหญิงชาวเยอรมันเชื้อสายยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
12 มิถุนายน พ.ศ.2363 – วันเกิด หม่อมราโชทัย หรือ ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูล ณ อยุธยา บุคคลสำคัญของไทย
12 มิถุนายน พ.ศ.2467 – วันเกิด จอร์จ เอช.ดับเบิลยู. บุช (George Herbert Walker Bush) ประธานาธิบดีคนที่ 41 ของสหรัฐอเมริกา



13 มิถุนายน พ.ศ.2408 – วันเกิด วิลเลียม ยีตส์ (William Butler Yeats) กวีและนักเขียนบทละครชาวไอริช
13 มิถุนายน พ.ศ.2471 – สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระบิดาแห่งไปรษณีย์ไทย เสด็จทิวงคต
13 กรกฎาคม พ.ศ.2478 – วันเกิด สมัคร สุนทรเวช นักการเมือง อดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทย
13 มิถุนายน พ.ศ.2529 – เบนนี กูดแมน (Benjamin David “Benny” Goodman) นักคลาริเน็ตชาวอเมริกัน เจ้าของฉายา “ราชาเพลงสวิง” (King of Swing) เสียชีวิต
13 มิถุนายน พ.ศ.2535 – พุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีเพลงลูกทุ่ง เสียชีวิต



14 มิถุนายน พ.ศ.2471 – วันเกิด เช เกวารา นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่แห่งละตินอเมริกา
14 มิถุนายน พ.ศ.2354 – วันเกิด แฮเรียต บีเชอร์ สโตว์ (Harriet Elizabeth Beecher Stowe) นักประพันธ์ชาวอเมริกัน
14 มิถุนายน พ.ศ.2463 – แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) นักสังคมวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวเยอรมัน เสียชีวิต
14 มิถุนายนปี พ.ศ.2479 – แมกซิม กอร์กี (Maxim Gorky) นักประพันธ์ชื่อดังชาวรัสเซีย ถึงแก่กรรม
14 มีนาคม พ.ศ.2512 – อิศรา อมันตกุล นักเขียนนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทย ถึงแก่อสัญญกรรม



15 มิถุนายน พ.ศ.2505 – ศาลโลก หรือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ พิพากษาชี้ขาดคดีปราสาทเขาพระวิหาร ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศกัมพูชา
15 มิถุนายน พ.ศ.2295 – เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) นักวิทยาศาสตร์และรัฐบุรุษของสหรัฐอเมริกา ค้นพบประจุไฟฟ้าในอากาศ
15 มิถุนายน พ.ศ.2504 – หมอบรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) มิชชันนารีชาวอเมริกัน ซื้อลิขสิทธิ์ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูล ณ อยุธยา) ในราคา 400 บาท นับเป็นการขายลิขสิทธิ์ครั้งแรกในเมืองไทย
15 มิถุนายน พ.ศ.2524 – พิธีเปิดเขื่อนศรีนครินทร์
15 มิถุนายน พ.ศ.2539 – เอลลา ฟิทซ์เจอรัลด์ (Ella Jane Fitzgerald) นักร้องเพลงแจ๊สชาวอเมริกัน ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น “สตรีหมายเลขหนึ่งแห่งวงการเพลง” (The First Lady of Song) ถึงแก่กรรม



16 มิถุนายน พ.ศ.2451 – วันเกิด จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 และผู้นำจอมเผด็จการของไทย
16 มิถุนายน พ.ศ.2442 – วันเกิด หลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต) ช่างถ่ายภาพยนตร์มืออาชีพที่มีบทบาทมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย
16 มิถุนายน พ.ศ.2448 – วันเกิด ก้าน พึ่งบุญ ณ อยุธยา เจ้าของนามปากกา “ไม้ เมืองเดิม” นักประพันธ์คนสำคัญของไทย
16 มิถุนายน พ.ศ.2517 – กุหลาบ สายประดิษฐ์ เจ้าของนามปากกา ศรีบูรพา นักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์และนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยคนสำคัญของไทย ถึงแก่อสัญกรรม
16 มิถุนายน พ.ศ.2518 – วันสถาปนา วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฏเกล้า (วพม.) วิทยาลัยแพทย์ทหารแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย



17 มิถุนายน 2463 –  วันเกิดประมูล อุณหธูป เจ้าของนามปากกา อุษณา เพลิงธรรม  นักเขียน นักแปลที่มีผลงานเป็นที่เลื่องลือ
17 มิถุนายน พ.ศ.2174 – มัมทัส มาฮาล (Mumtaz Mahal) พระราชินี แห่งประเทศอินเดียสิ้นพระชนม์ระหว่างมีพระประสูติการ
17 มิถุนายน พ.ศ.2472 – วันเกิด เสถียร โพธินันทะ ปราชญ์แห่งวงการพุทธศาสนา ผู้บุกเบิกพุทธศาสนามหายาน ในประเทศไทย
17 มิถุนายน พ.ศ.2487 – วันสถาปนาสาธารณรัฐไอซ์แลนด์ (Republic of Iceland) หลังจากที่เป็นอิสระจากเดนมาร์ก (Denmark)
17 มิถุนายน พ.ศ.2515 – เกิดคดีวอเตอร์เกต (Watergate scandal)



18 มิถุนายน พ.ศ.2485 – วันเกิด พอล แม็กคาร์ตนีย์ (Paul Mccartney) มือเบสกีตาร์วง เดอะ บีเทิลส์ (The Beatles)
18 มิถุนายน พ.ศ.2455 – เรือรบหลวงเสือคำรณสินธุ์ (H.T.M.S. Sua Khamronsin) ขึ้นระวางประจำการในกองทัพเรือในสมัย รัชกาลที่ 6
18 มิถุนายน พ.ศ.2507 – มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดสอนสามคณะแรก



19 มิถุนายน พ.ศ.2488 – วันเกิด ออง ซาน ซู จี (Aung San Suu Kyi) หัวหน้า พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy : NLD) ผู้นำการเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยด้วยสันติวิธี
19 มิถุนายน พ.ศ.2166 – วันเกิด แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์และนักปรัชญาศาสนาชาวฝรั่งเศส
19 มิถุนายน พ.ศ.2389 – เบสบอล (Baseball) ถูกจัดการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกภายใต้กฎสมัยใหม่
19 มิถุนายน พ.ศ.2521 – การ์ฟิลด์ (Garfield) ตัวการ์ตูนแมวอ้วนจอมกวน ปรากฏตัวครั้งแรกในหน้าหนังสือพิมพ์



20 มิถุนายน พ.ศ.2369 – รัฐบาลสยาม ลงนามใน สนธิสัญญาเบอร์นี (Burney Treaty) กับอังกฤษ นับเป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกที่สยามได้ทำกับประเทศตะวันตก
20 มิถุนายน พ.ศ.2362 – เรือกลไฟ เอสเอส สะวันนาห์ (SS Savannah) เดินทางไปเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ กลายเป็นเรือกลไฟลำแรกที่แล่นข้ามมหาสมุทรแอทแลนติกได้สำเร็จ
20 มิถุนายน พ.ศ.2380 – สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย (Queen Victoria) แห่งสหราชอาณาจักร และเครือจักรภพ เสด็จเสวยราชสมบัติสืบทอดจากสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 (King William IV) พระราชปิตุลา
20 มิถุนายน พ.ศ.2420 – อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) ได้ให้บริการโทรศัพท์ (Telephone) ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก
20 มิถุนายน พ.ศ. 2498 – เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็นได้ในกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียง
20 มิถุนายน พ.ศ.2520 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มแปลนวนิยายเรื่อง “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” หรือ “A Man Called Intrepid” ของ วิลเลียม สตีเวนสัน (Sir William Stevenson) หน้าแรก
20 มิถุนายน พ.ศ.2513 – จอห์น และ เดฟ คุนส์ท (John Kunst & Dave Kunst) สองพี่น้องชาวอเมริกัน เริ่มต้นการเดินเท้ารอบโลก เพื่อหาเงินช่วยเหลือองค์การยูนิเซฟ (UNICEF)



21 มิถุนายน พ.ศ.2483 – วันเกิด ฌอง ปอล ซาร์ตร์ (Jean Paul Sartre) นักปรัชญาสำนักอัตถิภาวินิยม (Existentialism) ชาวฝรั่งเศส
21 มิถุนายน พ.ศ.2189 – วันเกิด ก็อตต์ฟรีด ไลบ์นิซ (Gottfried Wilhelm von Leibniz) นักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญาสำนักเหตุผลนิยมชาวเยอรมันเชื้อสายเซิร์บ
21 มิถุนายน พ.ศ.2405 – วันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  “บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย”
21 มิถุนายน พ.ศ.2463 – วันเกิด เรืองอุไร กุศลาสัย นักเขียนและนักแปลงานวรรณกรรมอินเดีย
21 มิถุนายน พ.ศ.2526 – พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ก่อตั้งบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 20 ล้านบาท
21 มิถุนายน พ.ศ.2547 – เจริญ วัดอักษร ประธานกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก แกนนำต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอกและหินกรูด ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต



22 มิถุนายน พ.ศ.2514 – ม.จ.สิทธิพร กฤดากร เชื้อพระวงศ์ผู้ละทิ้งลาภยศและตำแหน่งการงานอันรุ่งโรจน์ไปเป็นกสิกร สิ้นชีพิตักษัย
22 มิถุนายน พ.ศ.2415 – สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) พระเกจิอาจารย์รูปสำคัญแห่งต้นสมัยรัตนโกสินทร์ มรณภาพ
22 มิถุนายน พ.ศ.2512 – จูดี การ์แลนด์ (Judy Garland) ชื่อจริงคือ ฟรานเซส กัมม์ (Frances Gumm) นักแสดงชาวอเมริกันเสียชีวิต
22 มิถุนายน พ.ศ.2529 – ดิเอโก มาราโดนา (Diego Maradona) นักฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา ทำประตู “หัตถ์ของพระเจ้า” (Hand of God)
22 มิถุนายน พ.ศ 2507 – วันเกิด แดน บราวน์ (Dan Brown) นักเขียนชาวอเมริกัน เจ้าของผลงาน “รหัสลับดาวินชี” (The Davinci Code)



23 มิถุนายน พ.ศ.2466 – “นางสาวสุวรรณ” (Suvarna of Siam) ภาพยนตร์เรื่องแรกของสยามที่สร้างโดยชาวต่างชาติ ออกฉายเป็นครั้งแรกในกรุงเทพฯ
23 มิถุนายน พ.ศ.2416 – หมอบรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley, M.D.) มิชชันนารีชาวอเมริกันผู้มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อแผ่นดินสยาม เสียชีวิตด้วยโรคไทฟอยด์
23 มิถุนายน พ.ศ.2455 – วันเกิด อลัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) นักคณิตศาสตร์ นักตรรกศาสตร์ นักรหัสวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์สมัยใหม่”
23 มิถุนายน พ.ศ.2437 – มีการก่อตั้ง คณะกรรมการโอลิมปิคสากล หรือ ไอโอซี (International Olympic Committee : IOC) ที่เมืองซอร์บบอนน์ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
23 มิถุนายน พ.ศ. 2477 – เบียร์สิงห์ (Singha Beer) ได้รับการเผยแพร่ครั้งแรก



24 มิถุนายน พ.ศ.2475 – เกิด “การปฏิวัติ 2475” โดย คณะราษฎร
24 มิถุนายน พ.ศ.2482 – จอมพล ป.พิบูลสงครามประกาศใช้รัฐนิยมฉบับที่ 1 เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย”
24 มิถุนายน พ.ศ.2485 – จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
24 มิถุนายน พ.ศ.2488 – วันเกิด สุชาติ สวัสดิ์ศรี หรือ “สิงห์สนามหลวง” นักเขียน นักวิจารณ์วรรณกรรม อดีตบรรณาธิการนิตยสาร โลกหนังสือ, ถนนหนังสือ, สังคมศาสตร์ปริทรรศ, บานไม่รู้โรย และ ช่อการะเกด
24 มิถุนายน พ.ศ.2498 – “สถานีวิทยุโทรทัศน์ ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรม” เริ่มแพร่ภาพโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย



25 มิถุนายน พ.ศ.2459 – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด สถานีรถไฟกรุงเทพ
25 มิถุนายน พ.ศ.2493 – หนังสือพิมพ์สยามรัฐฉบับปฐมฤกษ์ออกวางแผง
25 มิถุนายน พ.ศ.2498 – สงครามเกาหลี (Korean War) เริ่มต้นขึ้น
25 มิถุนายน พ.ศ.2446 – วันเกิด เอริก แบลร์ (Eric Arthur Blair) เจ้าของนามปากกา จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) นักเขียนชาวอังกฤษ
25 มิถุนายน พ.ศ.2497 – วันเกิด ชาติ กอบจิตติ (Chart Korbjitti) นักเขียนรางวัลซีไรต์ 2 สมัย และศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ประจำปี 2547



26 มิถุนายน พ.ศ.2362 – ดับเบิลยู. เค. คลาร์กสัน จูเนียร์ (W. K. Clarkson, jr.) จดสิทธิบัตร จักรยาน
26 มิถุนายน พ.ศ.2329 – วันเกิด พระสุนทรโวหาร (ภู่) หรือ สุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
26 มิถุนายน พ.ศ.2471 – วันเกิด คำพูน บุญทวี นักเขียนซีไรต์คนแรกของไทย



27 มิถุนายน พ.ศ.2475 – คณะราษฎร ประกาศใช้รัฐธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
27 มิถุนายน พ.ศ.2404 – พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะราชทูตไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส
27 มิถุนายน พ.ศ.2477 – วันสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) (Thammasat University : TU)
27 มิถุนายน พ.ศ.2497 – โรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ APS-1 (APS-1 nuclear power plant) ที่เมืองอ็อบนิค (Obninsk) ใกล้กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย เริ่มเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า นับเป็นโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกในโลก
27 มิถุนายน พ.ศ.2511 – บทกวี “เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน” ของ วิทยากร เชียงกูล ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ยูงทองของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27 มิถุนายน พ.ศ.2519 – พระกิตติวุฒโฑ (พระเทพกิตติ ปัญญาคุณ) ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ จตุรัส ว่า การฆ่าพวกคอมมิวนิสต์ไม่บาป แต่กลับได้บุญ



28 มิถุนายน พ.ศ.2457 – ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ (Franz Ferdinand, Archduke of Austria) รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์ออสเตรีย-ฮังการี และพระชายา ถูกลอบปลงพระชนม์
28 มิถุนายน พ.ศ.2255 – วันเกิด ฌอง-ฌาค รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) นักปรัชญาสังคมชาวสวิส ผู้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution)
28 มิถุนายน พ.ศ.2475 – พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย
28 มิถุนายน พ.ศ.2509 – เขาสามร้อยยอด ได้รับการประกาศให้เป็น “อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด” ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 4 และเป็น “อุทยานแห่งชาติทางทะเล” แห่งแรกของประเทศไทย



28 มิถุนายน พ.ศ.2457 – ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ (Franz Ferdinand, Archduke of Austria) รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์ออสเตรีย-ฮังการี และพระชายา ถูกลอบปลงพระชนม์
28 มิถุนายน พ.ศ.2255 – วันเกิด ฌอง-ฌาค รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) นักปรัชญาสังคมชาวสวิส ผู้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution)
28 มิถุนายน พ.ศ.2475 – พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย
28 มิถุนายน พ.ศ. 2509 – เขาสามร้อยยอด ได้รับการประกาศให้เป็น “อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด” ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 4 และเป็น “อุทยานแห่งชาติทางทะเล” แห่งแรกของประเทศไทย



30 มิถุนายน พ.ศ.2448 – อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เผยแพร่บทความเรื่อง “On the Electrodynamics of Moving Bodies” ซึ่งเสนอ “ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ” (special relativity)
30 มิถุนายน พ.ศ.2479 – นวนิยายเรื่อง วิมานลอย (Gone with the Wind) ของ มาร์กาเร็ต มิตเชลล์ (Margaret Mitchell) นักเขียนชาวอเมริกัน ออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก
30 มิถุนายน พ.ศ.2503 – สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic of the Congo: DRC) ได้รับเอกราชจากเบลเยียม
30 มิถุนายน พ.ศ.2514 – องค์การนาซา (NAZA) ของสหรัฐอเมริกา ปล่อยยานอวกาศ มารีเนอร์ 9 (Mariner 9) ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ

sarakadee.com.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 ตุลาคม 2559 19:45:06 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2559 19:42:06 »

http://www.sarakadee.com/wp-content/uploads/01july.jpg
อนุทินวันสำคัญในประวัติศาสตร์โลก

1 กรกฎาคม พ.ศ.2455 – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองลูกเสือ
1 กรกฎาคม พ.ศ.2109 – นอสตราดามุส (Nostradamus) แพทย์และนักพยากรณ์ชาวฝรั่งเศส เสียชีวิต
1 กรกฎาคม พ.ศ.2377 – หมอบรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley, M.D.) มิชชันนารีชาวอเมริกันผู้มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อแผ่นดินสยาม ออกเดินทางจากบอสตัน สหรัฐอเมริกา พร้อมกับคณะมิชชันนารี A.B.C.F.M. (American Board of Commissioners of Foreign Missions) มุ่งหน้าสู่สยาม
1 กรกฎาคม พ.ศ.2439 – แฮเรียต บีเชอร์ สโตว์ (Harriet Elizabeth Beecher Stowe) นักประพันธ์ชาวอเมริกัน สโตว์ เสียชีวิต
1 กรกฎาคม พ.ศ.2494 – จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาเห็นสมควรจัดตั้งกิจการรถไฟเป็นเอกเทศ จึงเปลี่ยนฐานะมาเป็นรัฐวิสาหกิจ ประเภทสาธารณูปการภายใต้ชื่อว่า “การรถไฟแห่งประเทศไทย” (รฟท.)



3 กรกฎาคม พ.ศ.2426 – วันเกิด ฟรานซ์ คาฟกา (Franz Kafka  ค.ศ.1883-1924) นักเขียนชาวเชคโกสะโลวะเกีย ผู้เขียน Metamorphosis
3 กรกฎาคม พ.ศ.2540 – พูน เกษจำรัส นักถ่ายภาพชั้นครูของเมืองไทย ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ศิลปะภาพถ่าย) ถึงแก่กรรม
3 กรกฎาคม พ.ศ.2547 – พิธีเปิดโครงการรถไฟฟ้ามหานคร รฟม. (Mass Rapid Transit Authority of Thailand : MRTA) สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ


4 กรกฎาคม พ.ศ.2319 – วันชาติสหรัฐอเมริกา (Independence Day)
4 กรกฎาคม พ.ศ.2387 – “บางกอกรีคอร์เดอร์” (Bangkok Recorder) หรือ “หนังสือจดหมายเหตุ” หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย ฉบับปฐมฤกษ์เริ่มออกวางแผง
4 กรกฎาคม พ.ศ.2477 – มารี กูรี (Maria Sklodowska-Curie) นักเคมีชาวโปแลนด์ผู้ค้นพบ รังสีเรเดียม (radium) ผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล เสียชีวิต
4 กรกฎาคม พ.ศ.2489 – สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) ได้รับเอกราชจากอเมริกา
4 กรกฎาคม พ.ศ.2540 – ยานอวกาศ มาร์ส พาทไฟน์เดอร์ (Mars Pathfinder) ขององค์การนาซา แห่งสหรัฐอเมริกา ลงจอดบนดาวอังคารเป็นผลสำเร็จ
4 กรกฎาคม พ.ศ.2548 – “ดีพ อิมแพค” (Deep Impact) ยานอวกาศขององค์การนาซาสหรัฐอเมริกา ส่งหัวกระสวย “อิมแพคเตอร์” (Impactor) เข้าปะทะกับ “ดาวหาง เทมเปล-1” (Comet Tempel-1) เป็นผลสำเร็จ


5 กรกฎาคม พ.ศ.2230 – เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ผลงานชิ้นสำคัญคือ “Philosophiae Naturalis Principia Mathematica” หรือ “Principia” ออกเผยแพร่เป็นครั้งแรก
5 กรกฎาคม พ.ศ.2410 – แอนนา เลียวโนเวนส์ (Anna Leonowens) สตรีชาวอังกฤษ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษให้แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระราชโอรสธิดา เดินทางออกจากประเทศไทยกลับสหรัฐอเมริกา
5 กรกฎาคม พ.ศ.2489 – หลุยส์ เรอาร์ด (Louis Reard) วิศวกรยานยนต์ชาวฝรั่งเศส และ ณาคส์ เอียม (Jacques Heim) แฟชั่นดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศส นำชุดว่ายน้ำแบบสองชิ้น หรือ บิกินี ออกเดินแบบครั้งแรกในประวัติศาสตร์แฟชั่น
5 กรกฎาคม พ.ศ.2505 – ประเทศแอลจีเรีย (Algeria) หรือชื่อเต็ม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย (People’s Democratic Republic of Algeria) ประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส


6 กรกฎาคม พ.ศ.2478 – วันประสูติ สมเด็จพระเทนซิน กยัตโส (หรือ “เกียโซ”) ดาไลลามะ องค์ที่ 14 (His Holiness Tenzin Gyatso the 14th Dalai Lama) ผู้นำทางศาสนา ผู้นำทางการเมือง และผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวธิเบต
6 กรกฎาคม พ.ศ.2428 – หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) นักเคมีชาวฝรั่งเศส ประสบความสำเร็จในการทดสอบวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) เป็นครั้งแรก
6 กรกฎาคม พ.ศ.2450 – วันเกิด ฟริดา คาห์โล (Frida Kahlo) จิตรกรชื่อดังชาวแม็กซิกัน
6 กรกฎาคม พ.ศ.2489 – วันเกิด จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George Walker Bush) ประธานาธิบดีดีคนที่ 43 ของสหรัฐอเมริกา (คนปัจจุบัน)
6 กรกฎาคม พ.ศ.2497 – วันเกิด พจนา จันทรสันติ นักเขียน นักแปล นักแสวงหา ผู้ได้รับการขนานนามว่า “ฤๅษีแห่งป่าคอนกรีต”

http://www.sarakadee.com/wp-content/uploads/07july.jpg
อนุทินวันสำคัญในประวัติศาสตร์โลก

7 กรกฎาคม พ.ศ.2480 – สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 (Second Sino-Japanese War ระหว่างปี 2480-2488) หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “สงครามต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่น” (War of Resistance Against Japan) ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War 2) ในทวีปเอเชียเปิดฉากขึ้น
7 กรกฎาคม พ.ศ.2417 – ดรุโณวาท หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของคนไทยออกวางแผงครั้งแรก
7 กรกฎาคม พ.ศ.2430 – วันเกิด มาร์ค ชากาลล์ (Marc Chagall) ศิลปินรัสเซียเชื้อสายยิว
7 กรกฎาคม พ.ศ.2445 – “ธนบัตร” หรือ “เงินกระดาษ” ของไทย เริ่มพิมพ์ออกใช้ครั้งแรก
7 กรกฎาคม พ.ศ.2473 – เซอร์ อาร์เทอร์ โคนัน ดอยล์ (Sir Arthur Conan Doyle) นายแพทย์นักประพันธ์ชาวอังกฤษเสียชีวิต
7 กรกฎาคม พ.ศ.2501 – ดไวท์ ดี.ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ลงนามในกฎหมายเพื่อรับรองให้อะแลสกา (Alaska) เป็นมลรัฐที่ 49 ของสหรัฐอเมริกา
7 กรกฎาคม พ.ศ.2510 – สะพานสารสินเริ่มเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ

http://www.sarakadee.com/wp-content/uploads/08july.jpg
อนุทินวันสำคัญในประวัติศาสตร์โลก

8 กรกฎาคม พ.ศ.2040 – วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) นักสำรวจชาวโปรตุเกสพร้อมลูกเรือ 265 คนกับกองเรือ 4 ลำ เริ่มออกเดินทางจากกรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกสมุ่งหน้าไปยังประเทศอินเดีย
8 กรกฎาคม พ.ศ.2238 – คริสเตียน ไฮเกนส์ (Christiaan Huygens) นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักฟิสิกส์ชาวดัทช์ ถึงแก่กรรม
8 กรกฎาคม พ.ศ.2382 – วันเกิด จอห์น ร็อคกีเฟลเลอร์ (John Davison Rockefeller) นักธุรกิจน้ำมันชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิร็อคกีเฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation)
8 กรกฎาคม พ.ศ.2536 – พุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์–เงื่อม อินทปัญโญ) มหาบุรุษผู้แห่งสยามประเทศ มรณภาพ
8 กรกฎาคม พ.ศ.2529 – องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย [ปัจจุบันคือ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TOT Corporation Public Company Limited)] เริ่มเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ “เซลลูลาร์ 470” (Cellular 470) ซึ่งเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่อัตโนมัติระบบแรก


9 กรกฎาคม พ.ศ.2524 – หมู่เกาะสุรินทร์ ได้รับการประกาศจัดตั้งให้เป็น “อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์” เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 ของประเทศไทย
9 กรกฎาคม พ.ศ.2359 – อาร์เจนตินา (Argentina) ประกาศเอกราชจากสเปน
9 กรกฎาคม พ.ศ.2534 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง “มูลนิธิรางวัลมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์” พร้อมกับ “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล”

http://www.sarakadee.com/wp-content/uploads/10july.jpg
อนุทินวันสำคัญในประวัติศาสตร์โลก

10 กรกฎาคม พ.ศ.2528 – “เรนโบว์ วอริเออร์” (Rainbow Warrior) หรือ “นักรบสายรุ้ง” เรือรณรงค์ลำแรกขององค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กรีนพีซ (greenpeace) ถูกลอบวางระเบิด ขณะจอดอยู่ที่ท่าเรือโอคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์
10 กรกฎาคม พ.ศ.2480 – วันเกิด วิมล ศิริไพบูลย์ เจ้าของนามปากกา “ทมยันตี” ผู้เขียนนิยายชื่อดัง “คู่กรรม”
10 กรกฎาคม พ.ศ.2490 – วันเกิด อัศศิริ ธรรมโชติ นักเขียนวรรณกรรมรางวัลซีไรต์ประจำปี 2524
10 กรกฎาคม พ.ศ.2534 – บอริส เยลชิน (Boris Yeltsin) เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกแห่ง สหพันธ์รัสเซีย (Russian Federation) ที่มาจากการเลือกตั้ง

http://www.sarakadee.com/wp-content/uploads/11july.jpg
อนุทินวันสำคัญในประวัติศาสตร์โลก

11 กรกฎาคม พ.ศ.1948 – เจิ้งเหอ (Zheng He) ขุนนางมุสลิมจากกรมขันทีของราชสำนักจีน เริ่มออกเดินทางไป “ทะเลตะวันตก” (Western Ocean) เป็นเที่ยวแรก
11 กรกฎาคม พ.ศ.2231 – สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย เสด็จสวรรคต
11 กรกฎาคม พ.ศ.2436 – โคคิชิ มิกิโมโตะ (Kokichi Mikimoto) สามารถเพาะเลี้ยง ไข่มุก (Pearl) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก
11 กรกฎาคม พ.ศ.2522 – สถานีอวกาศ สกายแล็บ (Skylab Space Station) ขององค์การนาซา (NASA) สหรัฐอเมริกา ตกลงมาบริเวณมหาสมุทรอินเดียและแถบตะวันตกของออสเตรเลีย


12 กรกฎาคม 2397 – วันเกิด จอร์จ อีสต์แมน (2397-2475) ชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งบริษัท โกดัก  ผู้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพยี่ห้อโกดัก (Kodak)
12 กรกฎาคม พ.ศ.2360 – วันเกิด เฮนรี เดวิด ธอโร (Henry David Thoreau ค.ศ.1817-1862) นักเขียนและนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติชาวอเมริกัน

[img width=270 height=300ลhttp://www.sarakadee.com/wp-content/uploads/13july.jpg[/img]http://http://13 กรกฎาคม พ.ศ.2436 (ร.ศ. 112) – เกิด “การรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา” (The Naval Action at Paknam) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ “วิกฤติการณ์ ร.ศ.112″ หรือ “กรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส ร.ศ.112” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
13 กรกฎาคม พ.ศ.2452 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ประกาศพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้กรมศุขาภิบาลนำน้ำมาใช้ในพระนครตามแบบอย่างที่สมควรแก่ภูมิประเทศการ
13 กรกฎาคม พ.ศ.2497 – ฟริดา คาห์โล (Frida Kahlo) จิตรกรชื่อดังชาวแม็กซิกัน ผู้สร้างงานศิลปะออกมาจากความขื่นขมของชีวิต เสียชีวิต
13 กรกฎาคม พ.ศ.2528 – คอนเสิร์ต ไลว์ เอด (Live Aid Concert) เปิดการแสดงขึ้นที่เวมบลีย์ สเตเดียม กรุงลอนดอน (Wembley Staduim)

http://www.sarakadee.com/wp-content/uploads/14july.jpg
อนุทินวันสำคัญในประวัติศาสตร์โลก

14 กรกฎาคม 2405 – วันเกิด กุสตาฟ คลิมต์ (Gustav Klimt)  จิตรกรและมัณฑนากรหัวก้าวหน้าแห่งออสเตรเลียในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
14 กรกฎาคม พ.ศ.2440 – วันเกิด จอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี คนที่ 3 ของประเทศไทย
14 กรกฎาคม พ.ศ.2332 – จุดเริ่มต้นของ “การปฏิวัติฝรั่งเศส” (French Revolution ระหว่างปี 2332-2342)
14 กรกฎาคม พ.ศ.2466 – วันเกิด สุวัฒน์ วรดิลก นักเขียนนวนิยาย เจ้าของนามปากกา “รพีพร” ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ประจำปี 2534
14 กรกฎาคม พ.ศ.2501 – เกิด การปฏิวัติอิรัก (Iraqi Revolution) โดย นายพลอับดุล คาริม กัสเซ็ม (Abdul Karim Qassim)


15 กรกฎาคม พ.ศ.2149 – วันเกิด เรมบรันต์ (Reamrandt Harmenszoon van Rijn  ค.ศ.1606-1669)  ศิลปินชาวเนเธอร์แลนด์
15 กรกฎาคม 2427 – วันเกิด พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย
15 กรกฎาคม พ.ศ.2457  – วันพระราชสมภพ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช หรือที่คนทั่วโลกรู้จักกันในนาม “พ. พีระ” ราชานักแข่งรถผู้ยิ่งยง แชมป์กรังปรีซ์ 3 ปีซ้อนระหว่างปี 2479-2481

http://www.sarakadee.com/wp-content/uploads/16july.jpg
อนุทินวันสำคัญในประวัติศาสตร์โลก

16 กรกฎาคม พ.ศ.2488 – สหรัฐอเมริกา ทดลองระเบิดปรมาณู (Atomic Bomb) เป็นครั้งแรกในโลก
16 กรกฎาคม พ.ศ.2415 – วันเกิด โรอัลด์ อะมุนด์เซน (Roald Amundsen) นักสำรวจชาวนอร์วีเจียน บุคคลแรกที่สามารถพิชิต ขั้วโลกใต้ (South Pole) ได้สำเร็จ
16 กรกฎาคม พ.ศ.2512 – องค์การนาซา (NAZA) ของสหรัฐอเมริกาส่งยานอวกาศ อพอลโล 11 (Apollo XI) ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศที่ฐานยิงจรวจที่แหลมเคเนดี มลรัฐฟลอริดา


17 กรกฎาคม พ.ศ.2537 – ดาวหาง ชูเมกเกอร์-เลวี 9 (Comet Shoemaker-Levy 9 : SL9) ซึ่งประกอบด้วยดาวหางจำนวน 21 ชิ้น พุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดี (jupiter)
17 กรกฎาคม พ.ศ.2461 – พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 (Tsar Nicholas II) กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของรัสเซียถูกปลงพระชนม์พร้อมพระราชวงศ์อีกหลายพระองค์ที่ไซบีเรีย
17 กรกฎาคม พ.ศ.2498 – สวนสนุก “ดิสนีย์แลนด์” (Disneyland) ดินแดนแห่งความสุข สนุก และแฟนตาซีแห่งแรกในโลกเปิดบริการรอบสื่อมวลชน ก่อนจะเปิดจริงในวันต่อมา
17 กรกฎาคม พ.ศ.2502 – บิลลี ฮอลิเดย์ หรือ “เลดี เดย์” (Billie Holiday or Lady Day) นักร้องที่เป็นตำนานหนึ่งในโลกของแจ๊ซ เสียชีวิต
17 กรกฎาคม พ.ศ.2510 – จอห์น โคลเทรน (John William Coltrane) นักเทเนอร์แซ็กโซโฟนแจ๊สผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน เสียชีวิต


18 กรกฏาคม พ.ศ.2347 – วันเกิด หมอบรัดเลย์ (Dr.Dan Beach Bradley, M.D.) มิชชันนารีชาวอเมริกันผู้มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อแผ่นดินสยาม
18 กรกฎาคม พ.ศ.2441 – มารี คูรี (Marie Curie) และ ปิแอร์ คูรี (Pierre Curie) คู่ภรรยาสามีนักฟิสิกส์ชาวโปแลนด์ ประกาศการค้นภพธาตุกัมมันตรังสีชนิดใหม่ โดยตั้งชื่อว่า โพโลเนียม (iPolonum–Po เลขอะตอม 84)
18 กรกฎาคม พ.ศ.2461 – วันเกิด เนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela) นักต่อสู้เพื่อสิทธิและความเสมอภาคของชนผิวสี และประธานาธิบดีคนแรกของประเทศแอฟริกาใต้
18 กรกฎาคม พ.ศ.2521 – วันสถาปนาหน่วยทหารพราน
18 กรกฎาคม พ.ศ.2538 – สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ “สมเด็จย่า” เสด็จสวรรคตที่โรงพยาบาลศิริราช รวมพระชนม์มายุ 95 พรรษา


19 กรกฎาคม พ.ศ.2377 – วันเกิด เอดการ์ เดอกาส์ (Edgar Degas) (พ.ศ.2377-2460) จิตรกรอิมเพรสชันนิสต์ ชาวฝรั่งเศส
19 กรกฎาคม พ.ศ.2519 – เทือกเขาหิมาลัย บริเวณด้านทิศใต้ของ ยอดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) ในเขตประเทศเนปาลได้รับการประกาศให้เป็น “อุทยานแห่งชาติซาการ์มาธา” (Sagarmatha National Park)
19 กรกฎาคม พ.ศ.2490 – นายพล อู ออง ซาน (U Aung San) วีรบุรุษนักปฏิวัติและผู้นำในการเรียกร้องเอกราชของเมียนมาร์ (Myanmar)บิดาของ อองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi) ถูกสังหารพร้อมกับรัฐมนตรีอีก 6 คน
19 กรกฎาคม พ.ศ.2504 – รัฐคูเวต (State of Kuwait) หรือ ประเทศคูเวต ได้รับเอกราชจากอังกฤษ
19 กรกฎาคม พ.ศ.2528 – เขื่อน วัล ดี สตาวา (Val di Stava Dam) ที่เมืองเตร็นโต (Trento) ในประเทศอิตาลี พังทลาย


20 กรกฎาคม พ.ศ.2512 – ยานอวกาศ อพอลโล 11 (Apoll XI) ขององค์การนาซา (NAZA) สหรัฐอเมริกา เป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนผิวของดวงจันทร์สำเร็จ
20 กรกฎาคม พ.ศ.187 – วันพระราชสมภพ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยกรีก-โรมัน
20 กรกฎาคม พ.ศ.2480 – กูลิเอลโม มาร์โกนี (Guglielmo Marconi) วิศวกรไฟฟ้าและนักประดิษฐ์ชาวอิตาเลียนเสียชีวิต
20 กรกฎาคม พ.ศ.2516 – บรูซ ลี (Bruce Lee) ไอ้หนุ่มซินตึ๊งแห่งแดนมังกร ปรมาจารย์ศิลปะการต่อสู้แห่งโลกเซลลูลอยด์ เสียชีวิตในวัยเพียง 32 ปี
20 กรกฎาคม พ.ศ.2541 – โสภณ สุภาพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัล แมกไซไซ (Ramon Magsaysay Award) สาขางานบริการสาธารณะประจำปี 2541


21 กรกฎาคม พ.ศ.2442 – วันเกิด เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (Ernest Miller Hemingway) นักประพันธ์ชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่
21 กรกฎาคม พ.ศ.2367 – พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต สิริรวมพระชนมายุ 57 พรรษา
21 กรกฎาคม พ.ศ.2367 – พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เสด็จเสวยราชสมบัติต่อจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2


22 กรกฎาคม พ.ศ.2460 – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศสงครามกับกลุ่มมหาอำนาจกลาง
22 กรกฎาคม พ.ศ.2476 – ไวลีย์ โพสต์ (Wiley Post) นักบินชาวอเมริกัน ประสบความสำเร็จในการบินเดี่ยวรอบโลกเป็นคนแรก


23 กรกฎาคม พ.ศ.2541 – ชาวนาไทยกว่า 500 คน เคลื่อนไหวประท้วงหน้าสถานทูตอเมริกากรณีข้าวหอมมะลิ “จัสมาติ” (Jasmati)
23 กรกฎาคม พ.ศ.2457 – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตราพระราชกฤษฎีกาตั้ง “วรรณคดีสโมสร” ขึ้นเพื่อสนับสนุนวิชาแต่งหนังสือไทยให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย


24 กรกฎาคม ค.ศ.1783 – วันเกิดของ ซิมอง โบลิวาร์(Simon Bolivar) รัฐบุรุษผู้นำคนสำคัญของลาติน อเมริกา
24 กรกฎาคม 2508 – อาภัสรา หงสกุล นางสาวไทยคนที่ 14 ได้รับเลือกเป็นนางงามจักรวาล ในการประกวดที่ไมอามี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา นับเป็นนางงามจักรวาลคนที่ 14 และเป็นนางงามจักรวาลคนแรกของไทย
24 กรกฎาคม พ.ศ.2440 – วันเกิด เอมิเลีย เอียร์ฮาร์ท ผู้หญิงคนแรกที่บินเดี่ยวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค


25 กรกฎาคม พ.ศ.2342 – วันเกิด เดวิด ดักลาส (David Douglas ค.ศ.1799-1834) นักพฤกษศาสตร์ชาวสกอตแลนด์
25 กรกฎาคม พ.ศ.2521 – หลุยส์ บราวน์ (Louise Joy Brown) เด็กหลอดแก้ว (Test-Tube Baby) คนแรกของโลกถือกำเนิดขึ้นที่โรงพยาบาล Royal Oldham Hospital
25 กรกฎาคม พ.ศ.2437 – สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งแรก (First Sino-Japanese War) เริ่มเปิดฉากขึ้นเมื่อเรือลาดตระเวณของจักรวรรดิญี่ปุ่นยิงปืนใส่เรือรบของจีน


26 กรกฎาคม พ.ศ.2399 – วันเกิด จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Bernard Shaw ค.ศ.1856-1950) นักเขียนบทละคร วรรณกรรม นักวิจารณ์ดนตรี ชาวไอร์แลนด์
26 กรกฎาคม พ.ศ.2418 – วันเกิด คาร์ล ยุง (Carl Gustav Jung) จิตแพทย์ชาวสวิส นักคิดผู้ก่อตั้งสำนัก “จิตวิทยาวิเคราะห์” (analytical psychology)
26 กรกฎาคม พ.ศ.2471 – วันเกิด สแตนลีย์ คิวบริก (Stanley Kubrick) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน หนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20
26 กรกฎาคม พ.ศ.2495 – เอวา เปรอง (Maria Eva Duarte de Peron) หรือ “เอวิตา” (Evita) สตรีหมายเลขหนึ่งของอาเจนตินาระหว่างปี 2489-2495 ภรรยาผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของประธานาธบดี ฮวน เปรอง (Juan Domingo Peron) เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในมดลูก ขณะอายุได้เพียง 33 ปี
26 กรกฎาคม พ.ศ.2514 – ดีแอน อาร์บัส (Diane Nemerov Arbus) ช่างภาพชาวอเมริกันผู้เปลี่ยนโฉมหน้าวงการถ่ายภาพระดับโลก กระทำอัตวินิบาตกรรม
26 กรกฎาคม พ.ศ.2522 – กรมป่าไม้ ประกาศจัดตั้ง “อุทยานแห่งชาติภูเรือ” นับเป็นอุทยานแห่งชาติอันดับที่ 16 ของไทย


27 กรกฎาคม พ.ศ.2464 – เฟรเดอริก แบนติง (Frederick G. Banting) นักวิจัยประจำมหาวิทยาลัยโตรอนโต (University of Toronto) ประเทศแคนนาดา แถลงข่าวการค้นพบฮอโมน “อินซูลิน” (insulin)
27 กรกฎาคม พ.ศ.2483 – บักส์ บันนี (Bugs Bunny) ตัวการ์ตูนกระต่ายซูเปอร์สตาร์ ปรากฏตัวอย่างเป็นทางการในการ์ตูนอนิเมชันชุด “The Wild Hare” ของบริษัท Wanrner Bros
27 กรกฎาคม พ.ศ.2452 – วันพระราชสมภพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
27 กรกฎาคม พ.ศ.2496 – สงครามเกาหลี (Korean War) ยุติลงอย่างเป็นทางการเมื่อสหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ลงนามในข้อตกลงสงบศึกที่เมืองปันมุนจอน (Panmunjon)
27 กรกฎาคม 2533 – วันสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


28 กรกฎาคม พ.ศ.2457 – สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I) เริ่มเปิดฉากขึ้นเมื่อ ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) ประกาศสงครามกับ เซอร์เบีย (Serbia)
28 กรกฎาคม พ.ศ.2481 – วันเกิด อัลเบอร์โต ฟูจิโมริ (Alberto Kenya Fujimori) อดีตประธานาธิบดีเปรู ชาวเอเชียตะวันออกคนแรกที่ได้เป็นใหญ่เป็นโตในประเทศละตินอเมริกา
28 กรกฎาคม พ.ศ.2293 – โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) นักออร์แกนและคีตกวีชาวเยอรมัน ผู้นำวิถีแห่งยุค บาโรก (Baroque : ช่วงปี 2143-2293) เสียชีวิต
28 กรกฎาคม พ.ศ.2495 – วันพระราชสมภพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (Vajiralongkorn, Crown Prince of Thailand)
28 กรกฎาคม พ.ศ.2540 – ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี 4 สมัยของไทย ถึงแก่อสัญกรรม รวมอายุได้ 92 ปีเศษ
28 กรกฎาคม พ.ศ.2542 – อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ปูชนียบุคคลแห่งสยามประเทศ ถึงแก่อสัญกรรมที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ


29 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 – วันเกิด เบนิโต มุสโสลินี (Benito Amilcare Andrea Mussolini) ผู้สถาปนาลัทธิ “ฟาสซิสม์” (Fascism)
29 กรกฎาคม พ.ศ.2399 – โรเบิร์ต อเล็กซานเดอร์ ชูมันน์ (Robert Alexander Schumann) คีตกวียุคโรแมนติกชาวเยอรมัน เสียชีวิต
29 กรกฎาคม พ.ศ.2433 – ฟินเซนต์ ฟาน ก็อกฮ์ (Vincent Willem van Gogh) ศิลปินเอกของโลกชาวดัตช์ เสียชีวิต
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 – เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ (HRH the Prince Charles, The Prince of Wales) มกุฎราชกุมารแห่งเวลส์ พระราชโอรสองค์โตแห่งสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 (Queen Elizabeth II) เข้าร่วมพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับไดอานา สเปนเซอร์ (Diana Frances Spencer) ที่มหาวิหารเซนต์ปอล ในกรุงลอนดอน


30 กรกฎาคม พ.ศ.2406 – วันเกิด เฮนรี ฟอร์ด (Henry Ford) นักอุตสาหกรรมชาวอเมริกันผู้บุกเบิกการผลิตรถยนต์
30 กรกฎาคม พ.ศ.2429 – “สนุกนิ์นึก” เรื่องสั้นเรื่องแรกของไทย พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร ตีพิมพ์เป็นครั้งแรก (ตอนแรก) ในหนังสือ “วชิรญาณวิเศษ”
30 กรกฎาคม พ.ศ.2470 – “โชคสองชั้น” ภาพยนตร์ฝีมือของคนไทยเรื่องแรก ออกฉายสู่สาธารณชนที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร กรุงเทพฯ
30 กรกฎาคม พ.ศ.2489 – วันเกิด ณรงค์ จันทร์เรือง นักเขียนเรื่องขนหัวลุก เจ้าของนามปากกา “ใบหนาด”

http://www.sarakadee.com/wp-content/uploads/31july.jpeg
อนุทินวันสำคัญในประวัติศาสตร์โลก

31 กรกฎาคม พ.ศ.2508 – วันเกิด โจแอนน์ โรลลิง (Joanne Kathleen Rowling) นักเขียนชาวอังกฤษ เจ้าของนามปากกา “เจ. เค. โรลลิง” (J. K.Rowling) ผู้ให้กำเนิดวรรณกรรมชื่อดัง “แฮรี พอตเตอร์” (Harry Potter)
31 กรกฎาคม พ.ศ.2410 – หม่อมราโชทัย หรือ ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูล ณ อยุธยา บุคคลสำคัญของไทย ถึงแก่อสัญกรรม
31 กรกฎาคม พ.ศ.2466 – รถแท็กซี่ (Taxi) เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย โดย พลโท พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
31 กรกฎาคม พ.ศ.2487 – อังตวน เดอ แซง-เตกซูเปรี (Antoine de Saint-Exupery) นักบินและนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ผู้แต่ง “เจ้าชายน้อย” (The Little Prince) หายสาบสูญไปขณะบินลาดตระเวนอยู่เหนือน่านฟ้าแอฟริกา
31 กรกฎาคม พ.ศ.2509 – วันสถาปนา สมาคมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southest Asia – ASA)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 พฤศจิกายน 2559 20:07:02 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2559 20:08:20 »



1 สิงหาคม พ.ศ.2484 – “รถจิป” (Jeep) ยานยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อในตำนานคันแรกถูกผลิตขึ้น เพื่อใช้เป็นยานยนต์อเนกประสงค์ในราชการทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
1 สิงหาคม พ.ศ.1834 – วันสถาปนาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland)
1 สิงหาคม พ.ศ.2317 – โจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestley) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ค้นพบธาตุ ออกซิเจน (oxygen : O2) ในอากาศ
1 สิงหาคม พ.ศ.2367 – พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เถลิงถวัลยราชสมบัติ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
1 สิงหาคม พ.ศ.2445 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ยกกำลังไปปราบกบฎเงี้ยว


2 สิงหาคม พ.ศ.2533 – สงครามอ่าวเปอร์เซีย (Gulf War) เปิดฉากขึ้น
2 สิงหาคม พ.ศ.2464 – สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า องค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์
2 สิงหาคม พ.ศ.2413 – ทาวเวอร์ ซับเวย์ (Tower Subway) รถไฟใต้ดิน (Underground Tube Railway) สายแรกของโลกเปิดให้บริการที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
2 สิงหาคม พ.ศ.2465 – อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) นักประดิษฐ์ชาวสกอต เสียชีวิต เบลล์
2 สิงหาคม พ.ศ.2477 – อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ขึ้นเป็นผู้นำของเยอรมนี
2 สิงหาคม พ.ศ.2516 – วันเกิด ปราบดา หยุ่น นักเขียนรุ่นใหม่ของวงการวรรณกรรมไทย เจ้าของรางวัลซีไรต์ประจำปี 2545


3 สิงหาคม พ.ศ.2035 – คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) นักสำรวจชาวเจนัว (อิตาลี) เริ่มออกเดินเรือเที่ยวแรก เพื่อค้นหาอินเดียและจีน
3 สิงหาคม พ.ศ.2400 – โจเซฟ คอนราด (Joseph Conrad) นักประพันธ์ชาวโปแลนด์ นักเขียนเอกแห่งศตวรรษที่ 20 เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย
3 สิงหาคม พ.ศ.2500 – มีการประกาศผล “รางวัล ตุ๊กตาทอง” เป็นครั้งแรกที่เวทีลีลาศลุมพินีสถาน จัดโดยหอการค้ากรุงเทพฯ
3 สิงหาคม พ.ศ.2501 – ยูเอสเอส นอติลุส (USS Nautilus : SSN-571) เรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ลำแรกของโลก ซึ่งเป็นของของราชนาวีอเมริกัน ออกเดินทางสู่ใต้ผืนน้ำแข็งอาร์คติก (Arctic Ice Cap) บริเวณขั้วโลกเหนือ


4 สิงหาคม พ.ศ.2444 – วันเกิด หลุยส์ อาร์มสตรอง (Louis Daniel Armstrong) นักทรัมเป็ตและนักร้องเพลงแจ๊สผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน
4 สิงหาคม พ.ศ.2418 – ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เสน (Hans Christian Andersen) “ราชาแห่งเทพนิยาย” ชาวเดนมาร์ก เสียชีวิต
4 สิงหาคม พ.ศ.2426 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา “กรมไปรษณีย์” และ “กรมโทรเลข” ขึ้นและเปิดทำการไปรษณีย์อย่างเป็นทางการ
4 สิงหาคม พ.ศ.2476 – “บริษัท บุญรอด บริวเวอรี จำกัด” ผู้ผลิต “เบียร์สิงห์” (Singha Beer) ได้รับการจดทะเบียนก่อตั้งขึ้น โดยพระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร)
4 สิงหาคม พ.ศ.2539 – สมรักษ์ คำสิงห์ (Somluck Kamsing) เป็นนักกีฬาไทยคนแรกที่สามารถคว้า เหรียญทองโอลิมปิก จากกีฬามวยสากลสมัครเล่น รุ่นเฟเธอร์เวท (Featherweight) ในการแข่งขันกีฬาโลลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 26 ที่แอตแลนตา มลรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา


5 สิงหาคม พ.ศ.2473 – วันเกิด นีล อาร์มสตรอง (Neil Alden Armstrong) นักบินอวกาศชาวอเมริกัน มนุษย์คนแรกที่ได้ประทับรอยเท้าบนดวงจันทร์
5 สิงหาคม พ.ศ.2345 – วันเกิด นีลส์ อาเบล (Niels Henrik Abel) นักคณิตศาสตร์ผู้อาภัพชาวนอร์เวย์ ผู้มีส่วนในการพัฒนาคณิตศาสตร์สมัยใหม่
5 สิงหาคม พ.ศ.2430 – วันสถาปนา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) (Chulachomklao Royal Military Academy)
5 สิงหาคม พ.ศ.2505 – มาริลิน มอนโร (Marilyn Monroe) นักร้อง ดาราภาพยนตร์และนางแบบชาวอเมริกัน เสียชีวิตจากการกินยาเกินขนาด


6 สิงหาคม พ.ศ.2488 – สหรัฐอเมริกา ทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกในสงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II) ที่เมืองฮิโรชิมา (Hiroshima)
6 สิงหาคม พ.ศ.2471 – วันเกิด แอนดี วอร์โฮล (Andy Warhol) ราชาป็อปอาร์ต (pop art : ศิลปะประชานิยม)
6 สิงหาคม พ.ศ.2532 – เกรียงไกร เตชะโม่ง คนงานไทยชาวลำปางที่ทำงานอยู่ในพระราชวังของกษัตริย์ไฟซาล (King Faisal) แห่งซาอุดิอารเบีย ขโมยเครื่องเพชรของ เจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด (Prince Faisal Bin Fahd Bin Abdul Aziz) มูลค่าหลายร้อยล้านบาทกลับมาประเทศไทย


7 สิงหาคม พ.ศ.2508 – พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เริ่มปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจของรัฐบาลไทยเป็นครั้งแรก ที่บ้านนาบัว ตำบลเรณุนคร จังหวัดนครพนม ซึ่งต่อมาเรียกวันนี้ว่า “วันเสียงปืนแตก”
7 สิงหาคม พ.ศ.2419 – วันเกิด มาตา ฮารี (Mata Hari) นางระบำชาวเนเธอร์แลนด์ ผู้แฝงตัวเป็นจารสตรีสองหน้าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
7 สิงหาคม พ.ศ.2463 – “วันรพี” พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายรพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย สิ้นพระชนม์
7 สิงหาคม พ.ศ.2484 – รพินทรนาถ ฐากูร (Rabindranath Tagore) มหากวีผู้ยิ่งใหญ่ชาวอินเดียถึงแก่กรรม


8 สิงหาคม 2329 – ดร.มิเชล กาเบรียล แพคการ์ด (Michel-Gabriel Paccard) และ ฌาคส์ บัลมาต์ (Jacques Balmat) สามารถเดินทางขึ้นไปพิชิตยอดเขามงต์บลังก์ (Mont Blanc) ยอดสูงสุดของเทือกเขาแอลป์ส ตรงพรหมแดนฝรั่งเสศกับอิตาลี ในทวีปยุโรปได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก
8 สิงหาคม 2492 – ภูฏานมีเอกราช
8 สิงหาคม 2531 – การลุกฮือ 8888 ในพม่า


9 สิงหาคม พ.ศ.2538 – “วันสากลว่าด้วยชนพื้นเมืองดั้งเดิมของโลก” (International Day Of the World’s Indigenous People) เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก
9 สิงหาคม พ.ศ.2505 – แฮร์มันน์ เฮสเส (Hermann Hesse) นักเขียนวรรณกรรมร่วมสมัยผู้ยิ่งใหญ่ชาวเยอรมัน ผู้เชื่อมโลกตะวันตกเข้ากับโลกตะวันออก เสียชีวิต
9 สิงหาคม พ.ศ.2517 – ริชาร์ด นิกสัน (Richard Milhous Nixon) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาที่ลาออกจากตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2518 – ดมิตรี ชอสตาโควิช (Dmitri Dmitrievich Shostakovich) คีตกวีคนสำคัญของรัสเซียในยุคหลังปฏิวัติรัสเซียเสียชีวิต


10 สิงหาคม พ.ศ.2389 – วันก่อตั้งสถาบันสมิธโซเนียน (The Smithsonian Institute) พิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
10 สิงหาคม พ.ศ.2357 – วันเกิด อองรี เนสท์เล่ (Henri Nestle’) นักอุตสาหกรรมชาวเยอรมัน ผู้ก่อตั้งบริษัท เนสท์เล่ (Nestle’ S.A.) บริษัทเครือข่ายอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก
10 สิงหาคม พ.ศ.2534 – ยานอวกาศ มาเจลแลน (Magellan spacecraft) ขององค์การนาซาสหรัฐอเมริกาเดินทางเข้าใกล้ดาวศุกร์ (Venus)


11 สิงหาคม พ.ศ.2112 – “เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1”
11 สิงหาคม พ.ศ.2329 – บริษัท อินเดียตะวันออก (British East India Company) ของอังกฤษเข้าครอบครองและตั้งอาณานิคมบน “เกาะปีนัง” (Penang Island) หรือ “เกาะหมาก” ของไทยอย่างเป็นทางการ
11 สิงหาคม พ.ศ.2441 – วันเกิด พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ นักคิดนักเขียนคนสำคัญของไทย
11 สิงหาคม พ.ศ.2499 – แจ็กสัน พอลล็อก (Paul Jackson Pollock) จิตรกรชาวอเมริกันถึงแก่กรรมในอุบัติเหตุทางรถยนต์
11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 – พระธาตุพนม ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองนครพนม ล้มพังทลายลงมา


12 สิงหาคม พ.ศ.2394 – ไอแซก ซิงเกอร์ (Isaac Merritt Singer) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันได้รับสิทธิบัตร “จักรเย็บผ้า” (Sewing Machine) เครื่องแรกของเขา
12 สิงหาคม พ.ศ.2475 – “วันแม่”  – วันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (Her Majesty Queen Regent Sirikit)
12 สิงหาคม พ.ศ.2507 – เอียน เฟลมมิง (Ian Fleming) นักประพันธ์ชาวอังกฤษ เจ้าของผลงานนิยายชื่อดัง เจมส์ บอนด์ 007 (James Bond 007) เสียชีวิต
12 สิงหาคม พ.ศ.2524 – ไอบีเอ็ม (Personal  Computer : PC) เป็นครั้งแรก


13 สิงหาคม พ.ศ.2469 – วันเกิด ฟิเดล คาสโตร (Fidel Castro Ruz) นักปฏิวัติและผู้นำคนปัจจุบันของประเทศคิวบา (Republic of Cuba)
13 สิงหาคม พ.ศ.2442 – วันเกิด อัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก (Sir Alfred Joseph Hitchcock) ปรมาจารย์ภาพยนตร์เขย่าขวัญ (Thriller)
13 สิงหาคม พ.ศ. 2453 – ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) สตรีชาวอังกฤษผู้บุกเบิกด้านการพยาบาลสมัยใหม่ เสียชีวิต
13 สิงหาคม พ.ศ.2504 – รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเยอรมนีตะวันออกเริ่มก่อสร้าง “กำแพงเบอร์ลิน” (Berlin Wall)
13 สิงหาคม พ.ศ.2536 – โรงแรม รอยัล พลาซ่า (Royal Plaza Hotel) ที่จังหวัดนครราชสีมา ถล่มลงมาอย่างรุนแรงและฉับพลัน


14 สิงหาคม พ.ศ.2488 – สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II) ในแปซิฟิก-เอเชียยุติลงอย่างเป็นทางการ
14 สิงหาคม พ.ศ.2423 – มหาวิหารโคโลญ (Cologne Cathedral หรือ Kolner Dom) สร้างสำเร็จพร้อมกับมีพีธีวางหลักหินบันทึกข้อมูลการก่อสร้าง (foundation stone)
14 สิงหาคม พ.ศ.2502 – วันเกิด เออร์วิน จอห์นสัน(Earvin Johnson) หรือ เมจิค จอห์นสัน นักบาสเก็ตบอลชาวอเมริกันชื่อดัง
14 สิงหาคม พ.ศ.2503 – วันเกิด ซาร่าห์ ไบร์ทแมน(Sarah Brightman) นักร้องเสียงโซปราโนและนักแต่งเพลงชื่อดังชาวอังกฤษ


15 สิงหาคม พ.ศ.2312 – วันประสูติ สมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 (Emperor Napolean I) แห่งฝรั่งเศส หรือ “พระเจ้านโปเลียนมหาราช”
15 สิงหาคม พ.ศ.2442 – ตัดถนนหลวงสายใหม่ “ถนนราชดำเนิน”
15 สิงหาคม พ.ศ.2457 – คลองปานามา (Panama Canal) เปิดใช้งานเป็นครั้งแรก
15 สิงหาคม พ.ศ.2490 – ประเทศอินเดีย หรือชื่ออย่างเป็นทางการสาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India) ได้รับเอกราชจากอังกฤษ
15 สิงหาคม พ.ศ.2512 – เปิดเทศกาล วูดสต็อก(Woodstock) งานดนตรีและศิลปะ  ที่เมืองเบเธล นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ต่อมาได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์ดนตรี
15 สิงหาคม พ.ศ.2547 – อุดมพร พลศักดิ์ คว้าเหรียญทองยกน้ำหนักในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก นับเป็นนักกีฬาหญิงคนแรกของไทยที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก


16 สิงหาคม พ.ศ.2358 – วันเกิด นักบุญยอห์น บอสโก หนึ่งในครูผู้เป็นแบบอย่าง
16 สิงหาคม พ.ศ.2472 – วันเกิด บิลล์ อีแวนส์ (Bill Evans) นักเปียโนแจ๊สผิวขาวชาวอเมริกัน
16 สิงหาคม พ.ศ.2488 – “วันสันติภาพไทย” – ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 ได้ออกประกาศสันติภาพ
16 สิงหาคม พ.ศ.2511 – สุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่งของไทยถูกยิงเสียชีวิต


17 สิงหาคม พ.ศ.2472 – วันเกิด เจียง เจ๋อหมิน (Jiang Zemin) อดีตผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีน
17 สิงหาคม พ.ศ.2474 – พลตรี เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เจ้าน้อยมหาพรหม ณ น่าน) ผู้ครองนครน่านถึงแก่พิราลัย
17 สิงหาคม พ.ศ.2486 – วันเกิด โรเบิร์ต เดอ นีโร (Robert De Niro) นักแสดงชาวอเมริกัน เชื้อสาวอิตาเลียนชื่อดังเจ้าของบทบาทอมตะใน Raging Bull (1980)
17 สิงหาคม พ.ศ.2488 – ประเทศอินโดนีเซียชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) ประกาศเอกราช
17 สิงหาคม พ.ศ.2513 – รัตน์ เปสตันยี นักสร้างภาพยนตร์คุณภาพคนหนึ่งของไทย เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย
17 สิงหาคม พ.ศ.2521 – เบน แอบรัซโซ, ลาร์รี นิวแมน และ แมกซ์ แอนเดอร์สัน (Ben Abruzzo, Larry Newman and Max Anderson) นับบินบัลลูน ชาวอเมริกันบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้เป็นครั้งแรก


18 สิงหาคม พ.ศ.2411 – “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ”
18 สิงหาคม พ.ศ.1770 – เจงกิสข่าน (Genghis Khan) ผู้นำชนเผ่ามองโกล สิ้นพระชนม์
18 สิงหาคม พ.ศ.2392 – ออนอเร เดอ บัลซัค (Honore de Balzac) นักเขียนนวนิยายผู้ยิ่งใหญ่ชาวฝรั่งเศส เสียชีวิต
18 สิงหาคม พ.ศ.2520 – เอแซฟ ฮอลล์ (AAsaph Hall) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ค้นพบ “โฟบอส” (Phobos) ดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่ที่สุดของดาวอังคาร


19 สิงหาคม พ.ศ.2414 – วันเกิด เออร์วิล ไรต์ (Orville Wright) น้องชายของ วิลเบอร์ ไรต์ (Wilbur Wright) สองพี่น้องตระกูลไรต์ ผู้บุกเบิกการบินชาวอเมริกัน
19 สิงหาคม พ.ศ.2205 – แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์และนักปรัชญาศาสนาชาวฝรั่งเศส เสียชีวิต
19 สิงหาคม พ.ศ.2503 – สหภาพโซเวียตส่งดาวเทียม สปุตนิก 5 (Sputnik 5) ขึ้นสู่อวกาศ
19 สิงหาคม พ.ศ.2534 – มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Sergeyevich Gorbachyov) ประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียตถูกปลดออกจากตำแหน่ง


20 สิงหาคม พ.ศ.2284 – ไวตัส โจนาส แบริง (Vitus Jonas Bering) นักเดินเรือชาวเดนมาร์กค้นพบอแลสกา (Alaska)
20 สิงหาคม พ.ศ.2506 – มาลัย ชูพินิจ นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทยถึงแก่กรรม
20 สิงหาคม พ.ศ.2469 – ประเทศญี่ปุ่นก่อตั้งสถานีโทรทัศ NHK ซึ่งย่อมาจาก Nippon Hoso Kyokai


21 สิงหาคม พ.ศ.2382 – วันเกิด อ็อตโต บาเช ([size=8t]Otto Bache[/size]) ศิลปินชาวเดนมาร์ก
21 สิงหาคม พ.ศ.2353 – เบนจามิน ทอมป์สัน (Sir Benjamin Thompson, Count Rumford) นักฟิสิกส์และนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันเสียชีวิต
21 สิงหาคม พ.ศ.2417 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสไทย ร.ศ.93 ซึ่งหมายถึงเป็นการเริ่มดำเนินการเลิกทาส


22 สิงหาคม พ.ศ.2447 – วันเกิด เติ้ง เสี่ยวผิง (Deng Xiaoping) ผู้นำคนสำคัญของจีน ผู้นำจีนเข้าสู่วิถีทุนนิยม
22 สิงหาคม พ.ศ.2407 – วันก่อตั้งกาชาดสากล (Red Cross)
22 สิงหาคม พ.ศ.2436 – วันเกิด โดโรธี พาร์คเกอร์ (Dorothy Parker) นักเขียนเรื่องสั้น กวี และนักวิจารณ์ชาวอเมริกัน
22 สิงหาคม พ.ศ.2444 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
22 สิงหาคม พ.ศ. 2454 – โมนา ลิซา (Mona Lisa) ภาพจิตรกรรมชิ้นเอกของโลก ถูกขโมยจากพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Louvre) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
22 สิงหาคม พ.ศ.2503 – พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย นักการเงินการคลังคนสำคัญของไทย สิ้นพระชนม์


23 สิงหาคม พ.ศ.2500 – วันเกิด ศักดิ์สิริ มีสมสืบ กวีซีไรต์ประจำปี 2535
23 สิงหาคม พ.ศ.2312 – วันเกิด จอร์จส์ คูวิเยร์ (Georges Cuvier) นักธรรมชาติวิทยาและสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส ในยุคต้นศตวรรษที่ 19
23 สิงหาคม พ.ศ.2509 – ลูนาร์ ออร์บิเตอร์ 1 (Lunar Orbiter 1) ยานอวกาศขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา ถ่ายภาพของโลกภาพแรก


24 สิงหาคม พ.ศ.2502 – วันก่อตั้ง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) สายการบินแห่งชาติ
24 สิงหาคม พ.ศ.622 – ภูเขาไฟ วิซุเวียส (Mount Vesuvius) ในประเทศอิตาลี ระเบิดอย่างรุนแรง
24 สิงหาคม พ.ศ.2472 – วันเกิด ยัสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat) ผู้นำและวีรบุรุษแห่งปาเลสไตน์ (Palestine)
24 สิงหาคม พ.ศ.2494 – วันเกิด แก้วสรร อติโพธิ สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหาน


25 สิงหาคม 2418 – วันเกิดพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) (2418-2485) ผู้ใช้นามปากกา “แม่วัน”
25 สิงหาคม พ.ศ.2501 – วันเกิด ทิม เบอร์ตัน (Tim Burton) ผู้กำกับภาพยนตร์แนวสยองขวัญแฟนตาซีชาวอเมริกัน
25 สิงหาคม พ.ศ.2319 – เดวิด ฮูม (David Hume) นักปรัชญาชาวสก็อตแลนด์ ในยุคแสงสว่างทางปัญญาของสก็อตแลนด์ (Scottish Enlightenment) เสียชีวิต
25 สิงหาคม พ.ศ.2410 – ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) นักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งไฟฟ้า” (Father of Electricity) เสียชีวิต
25 สิงหาคม พ.ศ.2418 – แมทธิว เวบบ์ (Matthew Webb) ชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่สามารถว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษได้เป็นผลสำเร็จโดยปราศจากอุปกรณ์ช่วยชีวิต
25 สิงหาคม พ.ศ.2475 – คณะราษฎร จดทะเบียนจัดตั้ง “สมาคมคณะราษฎร” โดย พระยานิติศาสตร์ไพศาล (วัน จามรมาน) ซึ่งถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของไทย
25 สิงหาคม พ.ศ.2455 – วันก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (Kuomintang : KMT) พรรคชาตินิยมแห่งสาธารณรัฐจีน (ประเทศไต้หวันในปัจจุบัน)


26 สิงหาคม พ.ศ.2515 – ผืนป่าห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศเป็น “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง”
26 สิงหาคม 2416 – วันประสูติพระราชชายาเจ้าดารารัศมี มีพระนามเดิมว่า “เจ้าดารารัศมี”
26 สิงหาคม พ.ศ. 2426 – ภูเขาไฟ กรากะตัว (Krakatoa) ระหว่างเกาะสุมาตรากับเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย เกิดการระเบิดครั้งใหญ่
26 สิงหาคม พ.ศ.2453 – วันเกิดแม่ชี เทเรซา (Mother Teresa) แม่ชีและนักบุญแห่งคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิก
26 สิงหาคม พ.ศ.2547 – เยาวภา บุรพลชัย หรือ “วิว” คว้าเหรียญทองแดงการแข่งขันเทควันโด รุ่น 47-51 กิโลกรัม จากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก


27 สิงหาคม พ.ศ.2513 –  “โทรา ซัง” (Tora-san : Our Lovable Tramp) หรือ “Otoko wa Tsurai yo” (It’s Tough Being a Man) ภาพยนตร์ชุดของญี่ปุ่นตอนแรกออกแพร่ภาพทางโทรทัศน์ในญี่ปุ่น
27 สิงหาคม พ.ศ.2425 – ราล์ฟ วัลโด อีเมอร์สัน (Ralph Waldo Emerson) กวี นักเขียนและนักปรัชญาชาวอเมริกัน ผู้นำขบวนการเคลื่อนไหวปรัชญาอุตรวิสัย (Transcendentalism) ในต้นศตวรรษที่ 19 เสียชีวิต
27 สิงหาคม พ.ศ.2498 – รัฐบาลชุด จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุญาตให้คนไทยเปิดการพูดไฮปาร์ค ตามแบบอังกฤษได้เป็นครั้งแรกที่ท้องสนามหลวง
27 สิงหาคม พ.ศ.2505 – สหรัฐส่งดาวเทียมมาริเนอร์ 2 ขึ้นสู่วงโคจรรอบดวงอาทิตย์


28 สิงหาคม พ.ศ.2292 – วันเกิด โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธ่ (Johann Wolfgang von Goethe) นักเขียน นักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญาชาวเยอรมัน
28 สิงหาคม พ.ศ.2357 – วันเกิด โจเซฟ เชอริดัน เลอ ฟานู (Joseph Sheridan Le Fanu) นักประพันธ์แนวโกธิกชาวไอริชเชื้อสายฝรั่งเศสแห่งศตวรรษที่ 19 “บิดาแห่งเรื่องสยองขวัญของอังกฤษ”
28 สิงหาคม พ.ศ.2388 – นิตยสาร Scientific American หรือเรียกอย่างย่อว่า “SciAm” นิตยสารวิทยาศาสตร์ยอดนิยมของอเมริกาฉบับแรกออกจำหน่าย
28 สิงหาคม พ.ศ.2506 – มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King Jr) ผู้นำขบวนการสิทธิประชาชน เรียกร้องสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคให้แก่ชนผิวดำในอเมริกาโดยสันติวิธี นำฝูงชนราว 200,000 คน เดินขบวนไปยังอนุสาวรีย์ลินคอล์น
28 สิงหาคม พ.ศ.2520 – อำเภอพระเยา ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดพะเยา นับเป็นจังหวัดที่ 72 ของไทย (ขณะนั้น)


29 สิงหาคม พ.ศ.2175 – วันเกิด จอห์น ล๊อก (John Locke) นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาของลัทธิประสบการณ์นิยม”
29 สิงหาคม พ.ศ.2323 – วันเกิด ฌอง แองเกรอส์ (Jean Auguste Dominique Ingres) จิตรกรชาวฝรั่งเศส สำนัก “นีโอ-คลาสสิค” (Neo-classic)
29 สิงหาคม พ.ศ.2463 – วันเกิด ชาลี ปาร์คเกอร์ (8pt]Bebop)


30 สิงหาคม พ.ศ.2542 – ประชาชนชาว ติมอร์ตะวันออก (East Timor) ลงประชามติครั้งประวัติศาสตร์ เพื่อแยกตัวเป็นอิสระจากประเทศอินโดนีเซีย
30 สิงหาคม พ.ศ.2291 – วันเกิด ฌาค-หลุยส์ ดาวิด (Jacques-Louis David) จิตรกรชาวฝรั่งเศส ผู้นำแห่งลัทธิ “นีโอ-คลาสสิก” (Mary Wollstonecraft Godwin Shelley) นักเขียนชาวอังกฤษ ผู้สร้างตำนาน “แฟรงเกนสไตน์” (Fanya Kaplan) สมาชิกพรรคปฏิวัติสังคมนิยม ได้ลอบยิงเลนิน (Vladimir Lenin) ผู้นำของสหภาพโซเวียต (USSR) ขณะที่เดินกลับจากการปราศรัย
30 สิงหาคม พ.ศ.2549 – นากิบ มาห์ฟูซ(]Naguib Mahfouz) นักเขียนรางวัลโนเบลชาวอียิปต์ เสียชีวิตในวัย 94 ปี


31 สิงหาคม พ.ศ.2450 – วันเกิด รามอน แมกไซไซ (Ramon del Fierro Magsaysay) ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของฟิลิปปินส์
31 สิงหาคม พ.ศ.2364 – วันเกิด แฮร์มันน์ วอน เฮล์มโฮลทซ์ (Hermann Ludwig Ferdinand von Helmholtz) แพทย์และนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน
31 สิงหาคม พ.ศ.2431 – “แจ็ค เดอะ ริปเปอร์” (Jack The Ripper) เริ่มลงมือสังหารเหยื่อรายแรกคือ แมรี แอนน์ นิโคลส์ (Mary Ann Nichols)
31 สิงหาคม พ.ศ.2440 – โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน จดสิทธิบัตร “คิเนโตสโคป” (kinetoscope) ซึ่งเป็นเครื่องฉายภาพยนตร์รุ่นแรกของโลก
31 สิงหาคม พ.ศ.2500 – ประเทศ มาเลยเซีย (Malaysia) ได้รับเอกราชจากอังกฤษ หลังจากที่ถูกยึดเป็นอาณานิคมมาตั้งแต่ปี 2329
31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 – เจ้าหญิงไดอานา (Diana, Princess of Wales) ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียชีวิตที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส





บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2559 19:59:02 »



1 กันยายน  พ.ศ.2533 – สืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ยิงตัวตาย
1 กันยายน พ.ศ.2482 – สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II) ในยุโรประเบิดขึ้น
1 กันยายน พ.ศ.2258 – พระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เสด็จสวรรคต
1 กันยายน พ.ศ.2229 – คณะทูตไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการ แด่พระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ อย่างเป็นทาาร
1 กันยายน พ.ศ.2457 – “มาธาร์” (Martha) นกพิราบนักเดินทาง หรือ นกพิราบพาสเซนเจอร์  ตัวสุดท้ายของโลก เสียชีวิต


2 กันยายน พ.ศ.2488 – สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงเมื่อญี่ปุ่นลงนามยอมแพ้อย่างเป็นทางการ
2 กันยายน พ.ศ.2512 – โฮ จิ มินห์ นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ของชาวเวียดนาม ถึงแก่อสัญกรรม
2 กันยายน พ.ศ.2535 – บาร์บารา แม็คคลินท็อค มารดาของวิทยาการด้านพันธุศาสตร์เสียชีวิต


3 กันยายน พ.ศ.844 – ซาน มาริโน ได้รับการสถาปนาเป็นประเทศ
3 กันยายน พ.ศ.2426 – อิวาน ตูร์เกเนฟ นักเขียนนิยายและบทละครชาวรัสเซีย เสียชีวิต
3 กันยายน พ.ศ.2482 – สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นเมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนี
3 กันยายน พ.ศ.2544 – จรัล มโนเพชร ศิลปินเจ้าของฉายา “ราชาโฟล์คซองคำเมือง” เสียชีวิต
3 กันยายน พ.ศ.2478 – เซอร์ มัลคอล์ม แคมป์เบล สามารถสร้างสถิติความเร็วของรถยนต์ได้ที่ 300 ไมล์ต่อชั่วโมง


4 กันยายน พ.ศ.2351 – วันพระราชสมภพ สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 ในรัชกาลที่ 4
4 กันยายน พ.ศ.2403 – วันเกิด พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) นัดดนตรีไทยคนสำคัญ
4 กันยายน พ.ศ.2429 – เจอโรนิโม (Gnimo) หรือชื่อภาษาอาปาเช่ว่า “โกยาตเลย์” (Goyathlay) หัวหน้านักรบอินเดียนแดงเผ่าอาปาเช่ (Apache) ยอมแพ้ต่อนายพลเนลสัน ไมลส์ (General Nelson Miles) แห่งกองทัพอเมริกัน
4 กันยายน พ.ศ.2431 – จอร์จ อีสต์แมน (George Eastman) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “โกดัก” (Kodak)
4 กันยายน พ.ศ.2461 – วันเกิด ไพบูลย์ บุตรขัน นักแต่งเพลงคำสำคัญของไทย เจ้าของเพลงลูกทุ่งอมตะมากมาย


5 กันยายน พ.ศ.2181 – วันพระราชสมภพพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (Louis XIV of France) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งของฝรั่งเศส
5 กันยายน พ.ศ.2393  – วันเกิด ยูจีน โกลด์สไตน์ (Eugen Goldstein) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ผู้ค้นพบ “อนุภาคไฟฟ้าบวก” หรือ “โปรตอน” (Proton)
5 กันยายน พ.ศ.2420 – เครซี ฮอร์ส (Crazy Horse) หัวหน้านักรบชนเผ่าโอกลาลา ลาโกตา (Oglala Lakota หรือ Oglala Sieux) วีรบุรุษตลอดกาลของชาวอินเดียนแดง ถูกลอบสังหาร
5 กันยายน พ.ศ.2449 – ลุดวิก โบลต์ซมันน์ (Ludwig Eduard Boltzmann) นักฟิสิกส์คนสำคัญคนหนึ่งของโลกชาวออสเตรีย เสียชีวิต
5 กันยายน พ.ศ.2515 – เกิดเหตุการณ์ สังหารหมู่ในกีฬาโอลิมปิก (Munich Massacre) ที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี โดยผู้ก่อการร้ายปาเลสไตน์
5 กันยายน พ.ศ.2519 – พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ หรือ “พระองค์วรรณ”  ผู้ทรงมีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก สิ้นพระชนม์
5 กันยายน พ.ศ.2540 – แม่ชี เทเรซา (Mother Teresa) แม่ชีและนักบุญแห่งคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิก เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย


6 กันยายน พ.ศ.2065 – เรือวิกตอเรีย (Victoria) หนึ่งในคณะเรือ 5 ลำที่ออกไปสำรวจดินแดนตะวันออกร่วมกับ เฟอร์ดินนานด์ มาเจลแลน (Ferdinand Magellan) เดินทางกลับมาถึงสเปน นับเป็นเรือลำแรกที่เดินทางรอบโลกได้สำเร็จ
6 กันยายน พ.ศ.2413 – ลุยซา สเวน (Mrs.Louisa Ann Swain) จากชาวเมืองลาราไมน์ รัฐไวโอมิง เป็นผู้หญิงอเมริกันคนแรกทีได้รับสิทธิ์ในการออกเสียงเลือกตั้ง
6 กันยายน พ.ศ.2435 – วันเกิด ชิต บุรทัต กวีคนสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 6 ผู้แต่ง “สามัคคีเภทคำฉันท์”
6 กันยายน พ.ศ.2479 – “เบนจามิน” (Benjamin) เสือทัสมาเนีย (Tasmanian Tiger : Thylacine species) ตัวสุดท้ายของโลกเสียชีวิต
6 กันยายน พ.ศ.2486 – วันเกิด โรเจอร์ วอเตอร์ส (George Roger Waters) นักร้อง นักดนตรี มือกีตาร์ เบส และนักแต่งเพลงร็อคชาวอังกฤษ อดีตสมาชิกผู้ก่อตั้ง “พิงค์ ฟลอยด์” (Pink Floyd) วงดนตรีที่เป็นตำนานแห่งโปรเกรสซีฟ ร็อค (Pregressive Rock) สัญชาติอังกฤษ


7 กันยายน พ.ศ.2473 – วันเกิด ซันนี โรลลินส์ (Sonny Rollins) นักเทเนอร์แซ็กโซโฟนแจ๊สผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน
7 กันยายน พ.ศ.2488 – ประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” อย่างเป็นทางการ
7 กันยายน พ.ศ.2352 – พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสวรรคต
7 กันยายน พ.ศ.2527 – วันก่อตั้งหอภาพยนตร์ไทย
7 กันยายน พ.ศ.2529 – เดสมอน ตูตู (Archbishop Desmond Tutu) เป็นคนผิวดำคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระสังฆราชแห่งคริสตจักรนิกายแองกลิกันแห่งประเทศแอฟริกาใต้ (Anglican Church of Southern Africa)
7 กันยายน พ.ศ.2541 – แลรี เพจ (Larry Page) และเซอร์เกย์ บริน (Sergey Brin) สองนักศึกษาปริญญาเอกแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ร่วมกันก่อตั้งบริษัท “กูเกิล” (Google Inc.)


8 กันยายน พ.ศ.2479 – ถนนสุขุมวิท เริ่มเปิดใช้เป็นครั้งแรก
8 กันยายน พ.ศ.2047 – ประติมากรรมหินอ่อน เดวิด (David) ของ มิเคลันเจโล (Michelangelo Buonarroti) ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ของโลกชาวอิตาลี เปิดแสดงเป็นครั้งแรกที่กรุงฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
8 กันยายน พ.ศ.2437 – แฮร์มันน์ วอน เฮล์มโฮลทซ์ (Hermann Ludwig Ferdinand von Helmholtz) แพทย์และนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เสียชีวิต
8 กันยายน พ.ศ.2482 – ประกาศให้มีการแสดงความเคารพธงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมี ปฏิบัติสืบต่อมาถึงปัจจุบันนี้
8 กันยายน 2497 – วันก่อตั้ง “องค์การสนธิสัญญาป้องกันการรุกรานแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ “ซีโต” (Southeast Asia Treaty Organization -SEATO)


9 กันยายน พ.ศ.2371 – วันเกิด ลีโอ ตอลสตอย (Count Leo Nikolayevich Tolstoy) หนึ่งในนักเขียนนิยายผู้ยิ่งใหญ่ของโลกชาวรัสเซีย
9 กันยายน พ.ศ.2513  – สอ เสถบุตร หรือ สอ เศรษฐบุตร ผู้เขียน-แปล “ดิกชันนารีอังกฤษ-ไทย ฉ.สอ เสถบุตร” เสียชีวิต
9 กันยายน พ.ศ.2528 – เกิดเหตุการณ์ “กบฎ 9 กันยายน” หรือ “กบฏทหารนอกราชการ” ในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
9 ตุลาคม พ.ศ.2538 – พล.ต. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ ปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของไทย ถึงแก่อสัญกรรม
9 กันยายน พ.ศ. 2519 – เหมา เจ๋อตง (Mao Zedong) หรือ “ประธานเหมา” อดีตประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนและผู้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ถึงแก่อสัญกรรม


10 กันยายน พ.ศ.2546 – องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้วันนี้เป็น “วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก” (World Suicide Prevention Day) ครั้งแรก
10 กันยายน พ.ศ.2292 – เอมีลี ดู ชาเตอเลต์ (Emilie du Chatelet) นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวฝรังเศส เสียชีวิต
10 กันยายน พ.ศ.2340 – แมรี วอลสโตนคราฟท์ (Mary Wollstonecraft) นักเขียน นักปรัชญาสายเฟมินิสม์ (Feminism) และนักต่อสู้เรียกร้องสิทธิสตรีคนแรกๆ ของโลก เสียชีวิต
10 กันยายน พ.ศ.2405 – วันประสูติของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชชนนี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5


11 กันยายน พ.ศ.2544 – เกิดเหตุการณ์ “วินาศกรรม 11 กันยายน” หรือ “9/11”
11 กันยายน พ.ศ.2359 – วันเกิด คาร์ล ไซส์ (Carl Zeiss) ช่างฝนเลนส์ชาวเยอรมัน ผู้ก่อตั้งบริษัท “Zeiss” ผู้ผลิตเลนส์คุณภาพสูง
11 กันยายน พ.ศ.2405 – วันเกิด วิลเลียม ซิดนีย์ พอร์เตอร์ (William Sydney Porter) นักเขียนเรื่องสั้นชาวอเมริกัน เจ้าของนามปากกา “โอ. เฮนรี” (O. Henry)
11 กันยายน พ.ศ.2504 – วันก่อตั้ง WWF (World widelife fund for Nature ต่อมาลดเหลือแค่ “World widelife fund”) องค์กรนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก


12 กันยายน พ.ศ. 2152 – เฮนรี ฮัดสัน (Henry Hudson) นักเดินเรือชาวอังกฤษ ค้นพบ “แม่น้ำ ฮํดสัน” (Hudson River) ในทวีปอเมริกาเหนือ
12 กันยายน พ.ศ.2489 – วันเกิด โสภณ สุภาพงษ์ นักธุรกิจและนักพัฒนาชุมชนเจ้าของรางวัลแมกไซไซ
12 กันยายน พ.ศ.2496 – นิกิตา ครุชอฟ (Nikita Khrushchev) ได้รับเลือกตั้งขึ้นเป็นเลขานุการคนที่ 1 ของ “พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต” (Communist Party of the Soviet Union) หลังจาก โจเซฟ สตาลิน (Joshep Stalin)
12 กันยายน พ.ศ.2548 – ฮ่องกง ดิสนีย์แลนด์ รีสอร์ท (Hong Kong Disneyland Resort) เปิดบริการวันแรก


13 กันยายน พ.ศ.2459 – วันเกิด โรอัลด์ ดาห์ล (Roald Dahl) นักเขียนชาวอังกฤษ
13 กันยายน พ.ศ.2442 – เฮนรี บลิสส์ (Henry Hale Bliss) เป็นชาวอเมริกันคนแรกที่เสียชีวิตในอุบัติเหตุรถยนต์
13 กันยายน พ.ศ.2528 – นินเทนโด (Nintendo) บริษัทเกมของญี่ปุ่นเปิดตัววิดิโอเกม “ซูเปอร์ มาริโอ” (Super Mario Bros.) สำหรับเครื่องเล่นวิดีโอเกมขนาด 8-Bits รุ่น Nintendo Entertainment System (NES)
13 กันยายน พ.ศ.2541 – พันธกรณีของ อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) มีผลบังคับใช้ในประเทศไทยเป็นวันแรก


14 กันยายน พ.ศ.2503 – วันก่อตั้ง “โอเปก” หรือ “องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน” (OPEC-Organization of Petroleum Exporting Countries)
14 กันยายน พ.ศ.2066 – สมเด็จพระสันตะปาปา เอเดรียนที่ 6 (Pope Adrian VI) สิ้นพระชนม์
14 กันยายน พ.ศ.2452 – วันเกิด เซอร์ ปีเตอร์ สก็อต (Sir Peter Markham Scott) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ก่อตั้ง WWF (World widelife fund) องค์กรนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก
14 กันยายน พ.ศ.2476 – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน “พระบิดาแห่งรถไฟไทย” สิ้นพระชนม์
14 กันยายน พ.ศ.2433 – วันเกิด อกาธา คริสตี (Agatha Christie) นักเขียนนิยายฆาตกรรม ชาวอังกฤษ


15 กันยายน พ.ศ.2435 – วันเกิด ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (Professor Silpa Bhirasri) ประติมากรชาวอิตาลีผู้วางรากฐานการศึกษาศิลปะสมัยร่วมสมัยของไทย
15 กันยายน พ.ศ.1797 – วันเกิด มาร์โค โปโล (Marco Polo) นักเดินทางชาวอิตาเลียนในยุคกลาง ชาวยุโรปคนแรกๆ ที่เดินทางข้ามทวีปเอเชีย
15 กันยายน พ.ศ.2378 –  ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Robert Darwin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ เดินทางด้วยเรือ บีเกิล (HMS Beagle) ถึงหมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos Islands)
15 กันยายน พ.ศ.2478 – อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำพรรคนาซีเยอรมัน เริ่มใช้นโยบายเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ โดยประกาศ “กฎหมายนูเร็มเบิร์ก” (Nuremberg Laws)
15 กันยายน พ.ศ.2523 – บิลล์ อีแวนส์ (Bill Evans) นักเปียโนแจ๊สผิวขาวชาวอเมริกัน ผู้ที่บรรเลงเปียโนได้งดงามที่สุดคนหนึ่งของโลก เสียชีวิตด้วยอาการปอดอักเสบ
15 กันยายน พ.ศ.2541 – รักเกียรติ สุขธนะ ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากต้องการยุติข่าวทุจริตการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ราคาแพงของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตใดๆ


16 กันยายน พ.ศ.2530 – “วันโอโซน” (Ozone Day)
16 กันยายน พ.ศ.2465 – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ พระราชทานที่ดินหวงห้ามที่สัตหีบให้ใช้เป็นฐานทัพเรือ ตามที่นายพลเรือเอก กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ได้ขอพระราชทาน และกองทัพเรือสร้างฐานทัพเรือที่สัตหีบ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ
16 กันยายน พ.ศ.2466 –  วันเกิด ลีกวนยู นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์


17 กันยายน พ.ศ.2500 – จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจ จอมพล ป.พิบูลลสงคราม และขับไล่ออกนอกประเทศ
17 กันยายน พ.ศ.2502 – ซีอุย แซ่อึ้ง ฆาตกรต่อเนื่องรายแรกของไทยถูกประหารชีวิตโดยการยิงเป้าที่เรือนจำบางขวาง
17 กันยายน พ.ศ.2330 – ผู้แทนจาก 12 มลรัฐ มาร่วมลงนามใน “รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา” (United States Constitution) ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลวาเนีย
17 กันยายน พ.ศ.2403 – รัฐบาลได้ออกประกาศพิกัดราคาและเหรียญทองตราเหรียญบาทและเงินแป โดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4


18 กันยายน พ.ศ.2514 – วันเกิด แลนซ์ อาร์มสตรอง (Lance Edward Armstrong) นักปั่นจักรยานชาวอเมริกัน แชมป์ ตูร์ เดอ ฟรองซ์ (Tour de France) 7 สมัยซ้อน (ระหว่างปี 2542-2548)
18 กันยายน พ.ศ.2362 – วันเกิด ฌอง เลอง ฟูโกต์ (Jean Bernard Leon Foucault) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ผู้พิสูจน์ให้โลกรู้ว่าโลกหมุนรอบตัวเอง
18 กันยายน พ.ศ.2505 – ผืนป่าเขาใหญ่ได้รับการประกาศให้เป็น “อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่” นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย
18 กันยายน พ.ศ.2513 – จิมมี เฮนดริกซ์ (Jimi Hendrix) กีตาร์ฮีโร่ชาวอเมริกัน เสียชีวิตขณะอายุเพียง 27 ปี
18 กันยายน พ.ศ.2543 – เกษราภรณ์ สุตา จอมพลังลูกเหล็กหญิง เป็นผู้หญิงไทยคนแรกที่ได้รับเหรียญทองแดงในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
18 กันยายน พ.ศ.2549 – อนุชเชฮ์ แอนซาริ (Anousheh Ansari) นักธุรกิจสาวชาวอเมริกันเชื้อสายอิหร่านวัย 40 ปี เป็นผู้หญิงมุสลิมคนแรกของโลกและเป็นชาวอิหร่านคนแรก (เป็นนักท่องเที่ยวอวกาศคนที่ 4) ที่ขึ้นไปท่องเที่ยวอวกาศ


19 กันยายน พ.ศ.2549 – คณะทหารในนาม “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” (คปค.) ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
19 กันยายน พ.ศ.2417 – “วันพิพิธภัณฑ์ไทย”
19 กันยายน พ.ศ.2490 – วันเกิด จอน อึ๊งภากรณ์ อดีตวุฒิสมาชิกกรุงเทพมหานคร นักกิจกรรมทางสังคมคนสำคัญของไทย
19 กันยายน พ.ศ.2519 – จอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรีมือเปื้อนเลือด เดินทางจากกลับเข้าเข้าประเทศไทย ด้วยการบวชเป็นสามเณรมาจากประเทศสิงคโปร์


20 กันยายน พ.ศ.2489 – เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (Festival de Cannes) หนึ่งในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรก
20 กันยายน พ.ศ.2396 – วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาราช รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี
20 กันยายน พ.ศ.2468 – วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี
20 กันยายน พ.ศ.474 – วันเกิด เชิด ทรงศรี ผู้กำกับภาพยนตร์แนวหน้าคนหนึ่งของไทย


21 กันยายน พ.ศ.2409 – วันเกิด เฮอร์เบิร์ต จอร์จ เวลส์ หรือ “เอช. จี. เวลส์” (Herbert George Wells หรือ H.G. Wells) นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งนิยายวิทยาศาสตร์” ร่วมกับ จูลส์ เวิร์น (Jules Gabriel Verne)
21 กันยายน พ.ศ.2119 – จิโรลาโม คาร์ดาโน (Girolamo Cardano) นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาเลียน ในยุคเรอเนซองส์ เสียชีวิต
21 กันยายน พ.ศ.2480 – “เดอะ ฮอบบิท” (The Hobbit) หนังสือนวนิยายแฟนตาซีของ เจ. อาร์. อาร์. โทคคีน (J. R. R. Tolkien) วางแผงเป็นครั้งแรก
21 กันยายน พ.ศ.2497 – โคคิชิ มิกิโมโตะ (Kokichi Mikimoto) นักเพาะเลี้ยงไข่มุกชาวอาทิตอุทัย เสียชีวิต
21 กันยายน พ.ศ.2528 – โสง เอี๋ยวฮว๋า (Xiong Yaohua) เจ้าของนามปากกา “โกวเล้ง” (Gu Long) นักประพันธ์นิยายกำลังภายในชาวจีนไต้หวัน เสียชีวิตด้วยโรคตับแข็ง
21 กันยายน พ.ศ.2529 – องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันนี้เป็น “วันสันติภาพสากล” (The International Day of Peace)


22 กันยายน พ.ศ.2405 – อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศเลิกทาส (Emancipation Proclamation) ครั้งแรก
22 กันยายน พ.ศ.2334 – วันเกิด ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) นักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งไฟฟ้า” (Father of Electricity)
22 กันยายน พ.ศ.2431 – รถรางเริ่มเปิดให้บริการเที่ยวปฐมฤกษ์ของประเทศไทยและเอเชีย โดยบริษัทรถรางของชาวเดนมาร์ก
22 กันยายน พ.ศ.2495 – วันเกิด หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
22 กันยายน พ.ศ.2541 – “วันปลอดรถสากล” (Car Free Day) เริ่มขึ้นครั้งแรกที่ประเทศฝรั่งเศส


23 กันยายน พ.ศ.2469 – วันเกิด จอห์น โคลเทรน (John William Coltrane) นักเทเนอร์แซ็กโซโฟนแจ๊สผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน
23 กันยายน พ.ศ.2389 – ดาวเนปจูน (Neptune) หรือดาวเกตุ ดาวเคราะห์ดวงที่ 8 ของระบบสุริยะจักรวาล ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก
23 กันยายน พ.ศ.2482 – ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Schlomo Freud) แพทย์และนักจิตวิทยาชาวออสเตรีย บิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) เสียชีวิต
23 กันยายน พ.ศ.2479  – รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ตั้งหน่วยยุวชนทหาร (ยวท.) เพื่อฟื้นฟูกองกำลังกึ่งทหารขึ้น


24 กันยายน พ.ศ.2439 – วันเกิด เอฟ. สก็อต ฟิตซ์เจอรัลด์ (Francis Scott Key Fitzgerald) นักเขียนชาวอเมริกันใน “ยุคแจ๊ส” (Jazz Age ระหว่างปี 2461-2472)
24 กันยายน พ.ศ.2044 – วันเกิด จิโรลาโม คาร์ดาโน (Girolamo Cardano) นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาเลียน ในยุคเรอเนซองส์
24 กันยายน พ.ศ.2472 – “วันมหิดล”
24 กันยายน พ.ศ.2491 – วันก่อตั้งบริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ (Honda Motor) บริษัทผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น
24 กันยายน พ.ศ.2516 – สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เริ่มเปิดการจราจรเป็นวันแรก


25 กันยายน พ.ศ.2473 – วันเกิด จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนนักปฏิวัติคนสำคัญของสยาม
25 กันยายน พ.ศ.2433 –โยเซมิตี พื้นที่ของสหรัฐอเมริกาได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติโยเซมิตี(Yosemite National Park)
25 กันยายน พ.ศ.2473 – วันเกิด สุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่งของเมืองไทย
25 กันยายน พ.ศ.2449 – วันเกิด ดมิตรี ชอสตาโควิช (Dmitri Dmitrievich Shostakovich) คีตกวีคนสำคัญของรัสเซียในยุคหลังปฏิวัติรัสเซีย
25 กันยายน พ.ศ.2511 – ปรีชา อินทรปาลิต เจ้าของนามปากกา “ป. อินทรปาลิต” นักเขียนนิยายอ่านเล่นชื่อดังของไทย ถึงแก่กรรม
25 กันยายน พ.ศ.2541 – วันสถาปนามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.)


26 กันยายน พ.ศ.2418 – ค๊อต (COURT) หนังสือพิมพ์ที่รายงานข่าวของทางราชการและเป็นหนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกของคนไทย ออกเป็นฉบับปฐมฤกษ์
26 กันยายน พ.ศ.2123 – เซอร์ ฟรานซิส เดรก (Sir Francis Drake) นักสำรวจชาวอังกฤษ สามารถแล่นเรือได้รอบโลกได้สำเร็จ
26 กันยายน พ.ศ.2488 – เบลา บาท็อค (Bela Viktor Janos Bartok) คีตกวีและนักเปียโนชาวฮังกาเรียน เสียชีวิต


27 กันยายน พ.ศ.2448 – อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักวิทยาศาสตร์เอกของโลกเผยแพร่บทความเรื่อง “Does the Inertia of a Body Depend Upon Its Energy Content ?” (“จริงหรือไม่ที่ความเฉื่อยขึ้นอยู่กับพลังงานภายในของวัตถุ”) ซึ่งได้นำเสนอสมการก้องโลก E=mc2
27 กันยายน พ.ศ.2460  – เอ็ดการ์ เดกาส์ (Edgar Degas) จิตรกรและประติมากรชาวฝรั่งเศส หนึ่งในผู้บุกเบิกศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism) เสียชีวิต 27 กันยายน พ.ศ.2524 – พิธีเปิดเขื่อนบางลาง


28 กันยายน 8 ปีก่อนพุทธกาล (551 ปีก่อนคริสตกาล) – วันเกิด ขงจื๊อ (Confucius) ปราชญ์จีนโบราณ
28 กันยายน พ.ศ.2438 – หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis pasteur) นักเคมีชาวฝรั่งเศส เสียชีวิต
28 กันยายน พ.ศ.2496 – เอ็ดวิน ฮับเบิล (Edwin Powell Hubble) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน หนึงในนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 เสียชีวิต
28 กันยายน พ.ศ.2534 – ไมล์ส เดวิส (Miles Dewey Davis III) นักทรัมเป็ตผู้ปฏิวัติดนตรีแจ๊สชาวอเมริกัน เสียชีวิต


29 กันยายน พ.ศ.2090 – วันเกิด มิกูเอล เด เซร์บานเตส (Miguel de Cervantes) นักประพันธ์ชาวสเปน เจ้าของนิยายคลาสสิกเรื่องยิ่งใหญ่ “Don Quixote de la Mancha” (ดอน กิโฆเต้ แห่งลามันช่า ขุนนางต่ำศักดิ์นักฝัน)
29 กันยายน พ.ศ.2061 – วันเกิด จาโคโป โรบัสตี (Jacopo Robusti) หรือ “ตินโตเร็ตโต” (Tintoretto) จิตรกรผู้ยิ่งใหญ่คนสุดท้ายแห่งยุคเรอเนซองส์
29 กันยายน พ.ศ.2114 – วันเกิด มิเกลันเจโล การาวัจจิโอ (Michelangelo Merisi da Caravaggio) จิตรกรเอกชาวอิตาเลียน ในยุคบาโรก (Baroque)
29 กันยายน พ.ศ.2405 – วันพระราชสมภพเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)
29 กันยายน พ.ศ.2540 – สมพงษ์ เลือดทหาร คนขับรถแท็กซี่ ถูกศาลอาญาพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทย์ยื่นฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน


30 กันยายน พ.ศ.2530 – พิธีเปิด “เขื่อนรัชชประภา”
30 กันยายน พ.ศ.2455 – รูดอล์ฟ ดีเซล (Rudolf Christian Karl Diesel) นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน เสียชีวิต
30 กันยายน พ.ศ.2497 – ยูเอสเอส นอติลุส (USS Nautilus : SSN-571) เรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ลำแรกของโลกเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา
30 กันยายน พ.ศ.2498 – เจมส์ ดีน (James Dean) ดาราวัยรุ่นอเมริกันชื่อดัง เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์









บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2559 19:46:13 »

.


1 ตุลาคม พ.ศ.2483 – วันเกิด นิวัฒน์ ธาราพรรค์ นักวาดภาพประกอบและนักวาดการ์ตูนชื่อดังของไทย เจ้าของนามปากกา “ราช เลอสรวง”
1 ตุลาคม พ.ศ.2411 – พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสวรรคต
1 ตุลาคม พ.ศ.2411 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี
1 ตุลาคม พ.ศ.2491 – พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทยถึงแก่อนิจกรรมที่ประเทศมาเลเซีย
1 ตุลาคม พ.ศ.2436  – มหามกุฎราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกในประเทศสยาม เริ่มเปิดสอนเป็นครั้งแรก


2 ตุลาคม พ.ศ.2412 (ค.ศ.1869) – วันเกิด มหาตมะ คานธี ปูชนียบุคคลของอินเดีย
2 ตุลาคม พ.ศ.2447 – วันเกิด แกรห์ม กรีน (Henry Graham Greene) นักเขียนนิยายชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในศตวรรษที่ 20
2 ตุลาคม พ.ศ.2501 – แมรี สโตปส์ (Dr. Marie Stopes) แพทย์ผู้บุกเบิกวิชาการวางแผนครอบครัว นักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและนักเขียนชาวสก็อต ถึงแก่กรรม


3 ตุลาคม พ.ศ.2533 – เยอรมนีตะวันออก (German Democratic Republic) รวมชาติกับ เยอรมนีตะวันตก (Federal Republic of Germany) อย่างเป็นทางการ กลายเป็นประเทศ “สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี” (Federal Republic of Germany) เพียงหนึ่งเดียว
3 ตุลาคม พ.ศ.2436 – สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ได้ทรงลงนามใน “สนธิสัญญาสันติภาพ” เพื่อสงบศึกกับฝรั่งเศส
3 ตุลาคม พ.ศ.2456 – วันประสูติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


4 ตุลาคม พ.ศ.2449 – ประกอบพิธีเปิด “บุคคลัภย์” (Book Club) สำนักงานทดลองดำเนินกิจการแบบธนาคารพาณิชย์แห่งแรกขึ้น
4 ตุลาคม พ.ศ.2212 – เรมแบรนดท์ ฟาน ไรน์ หนึ่งในศิลปินเอกของโลกชาวดัทช์ เสียชีวิต
4 ตุลาคม พ.ศ.2500 – สหภาพโซเวียต ส่ง สปุตนิก 1 (Sputnik 1) ดาวเทียมดวงแรกของโลก ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก
4 ตุลาคม พ.ศ.2520 – บิง ครอสบี นักร้องเพลงแจ๊สและนักแสดงชาวอเมริกันเสียชีวิต
4 ตุลาคม พ.ศ.2426 – “โอเรียนต์ เอ็กเพรส” รถไฟทางไกลนานาชาติ สายประวัติศาสตร์ จากฝรั่งเศส – ตุรกี เริ่มเปิดบริการเที่ยวแรก
4 ตุลาคม พ.ศ.2313 – สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี
4 ตุลาคม พ.ศ.2222 – พระสันตะปาปา อินโนเซ็นต์ ที่ 11 ได้มีพระราชสาส์นมาถวายพระพรสมเด็จพระนารายณ์
4  ตุลาคม พ.ศ.2519 – ประเทศอังกฤษนำ รถไฟความเร็วสูงที่สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุด 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงมาให้บริการประชาชน

http://www.sarakadee.com/wp-content/uploads/05oct.jpg
อนุทินวันสำคัญในประวัติศาสตร์โลก

5 ตุลาคม พ.ศ.2420 – หัวหน้าโจเซฟ (Chief Joseph) ชาวอินเดียนแดงเผ่า เนซ เพอร์ซ (Nez Perce) ประกาศยอมจำนนต่อ นายพล เนลสัน ไมล์ส (General Nelson A.Miles) แห่งกองทัพบกอเมริกัน
5 ตุลาคม พ.ศ.2423 – ฌากส์ ออฟเฟนบาค (Jacques Offenbach) คีตกวีและนักเชลโลชาวฝรั่งเศส ในยุคโรแมนติก เสียชีวิต
5 ตุลาคม พ.ศ.2481 – วันขึ้นระวางประจำการ เรือรบหลวงปัตตานี เรือรบหลวงสุราษฎร์ เรือรบหลวงจันทบุรี เรือรบหลวงระยอง เรือรบหลวงชุมพร เรือรบหลวงสงขลา เรือรบหลวงบางระจัน เรือรบหลวงหนองสาหร่าย ซึ่งต่อจากประเทศอิตาลี และเรือรบหลวงธนบุรี ซึ่งต่อจากประเทศญี่ปุ่น
5 ตุลาคม พ.ศ.2503 – “Love me do” ซิงเกิลฮิตของสี่เต่าทอง “The Beatles” วางแผงเป็นครั้งแรกที่เกาะอังกฤษ
5 ตุลาคม พ.ศ.2543 – คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีเปิด “อนุสาวรีย์ วิชิตชัย อมรกุล” อดีตนิสิตปี 2 ที่ถูกฆ่าแขวนคอใต้ต้นมะขาม
5 ตุลาคม พ.ศ.2547 – UNESCO ประกาศให้เป็น “วันครูโลก”


6 ตุลาคม พ.ศ.2519 – เกิดเหตุการณ์ “6 ตุลา 19” เหตุการณ์ล้อมฆ่าหมู่นิสิตนักศึกษาและประชาชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ที่ชุมนุมประท้วงขับไล่ จอมพลถนอม กิตติขจร
6 ตุลาคม พ.ศ.2470 – “เดอะแจ๊ส ซิงเกอร์” (The Jazz Singer) ภาพยนตร์พูดขนาดยาวเรื่องแรกของโลกเปิดฉายเป็นรอบปฐมฤกษ์ในอเมริกา
6 ตุลาคม พ.ศ.2524 – อันวาร์ ซาดัต (Muhammad Anwar al-Sadat) ประธานาธิบดี แห่งอียิปต์ ถูกลอบยิงเสียชีวิต
6 ตุลาคม พ.ศ.2502  – รัฐบาลกัมพูชา ยื่นฟ้องต่อศาล เรียกร้องกรรมสิทธิ์เหนือ เขาพระวิหาร ในเขตอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษของไทย
6 ตุลาคม พ.ศ.2509 – ประเทศสหรัฐอเมริกา ประกาศให้สาร “แอลเอสดี” (LSD : Lysergic acid diethylamide) เป็นสิ่งเสพติด


8 ตุลาคม พ.ศ.2438 – วันเกิด ฮวน โดมิงโก เปรอง (Juan Domingo Peron) อดีตประธานาธิบดีคนสำคัญของอาร์เจนตินา
8 ตุลาคม พ.ศ.2483  – มีการ “เดินขบวนประท้วง” เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย
8 ตุลาคม พ.ศ.2513 – ฌอง ฌิโอโน (Jean Giono) นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ผู้แต่งนวนิยายเรื่องเล็กแต่ยิ่งใหญ่ “The Man Who Planted trees” (คนปลูกต้นไม้) เสียชีวิต
8 ตุลาคม พ.ศ.2513 – มิตร ชัยบัญชา พระเอกยอดนิยมของคนไทย เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุพลัดตกจากเฮลิคอปเตอร์


9 ตุลาคม พ.ศ.2483 – วันเกิด จอห์น เลนนอน (John Winston Ono Lennon) นักร้อง นักดนตรี นักประพันธ์เพลง อดีตสมาชิกผู้ก่อตั้ง “เดอะ บีทเทิลส์” (The Beatles)
9 ตุลาคม พ.ศ.2378 – วันเกิด กามีลล์ แซงต์-ซองส์ (Charles Camille Saint-Saens) คีตกวีชาวฝรั่งเศส แห่งยุคโรแมนติก
9 ตุลาคม พ.ศ.2510 – เช เกวารา (Che Guevara หรือชื่อจริง Ernesto Rafael Guevara de la Serna) นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่แห่งละตินอเมริกา เสียชีวิต
9 ตุลาคม พ.ศ.2517 – ออสการ์ ชินด์เลอร์ (Oskar Schindler) นักธุรกิจชาวโปแลนด์เชื้อสายยิว ผู้ช่วยชีวิตชาวยิวกว่า 1,200 คน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เสียชีวิต
9 ตุลาคม พ.ศ.2538 – พล.ต.ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ ปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของไทย ถึงแก่อสัญกรรม


10 ตุลาคม พ.ศ.2460 – วันเกิด เธโลเนียส มังค์ (Thelonious Sphere Monk) นักเปียโนแจ๊สหนึ่งในตำนาน
10 ตุลาคม พ.ศ.2356 – วันเกิด จูเซปเป แวร์ดี (Giuseppe Fortunino Francesco Verdi) คีตกวีชาวอิตาเลียน แห่งยุคโรแมนติก
10 ตุลาคม พ.ศ.2513 – สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ (Republic of the Fiji Islands) ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร


11 ตุลาคม พ.ศ.2511 – วันเกิด หลวงปู่ ติชนัทฮันห์ (Thich Nhat Hanh) ธรรมาจารย์ด้านพุทธศาสนานิกายเซนชาวเวียตนาม
11 ตุลาคม พ.ศ.2476 – เกิดเหตุการ “กบฏบวรเดช” ซึ่งเป็นกบฎครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย
11 ตุลาคม พ.ศ.2512 – อะพอลโล 7 (Apollo 7) ยานอวกาศลำแรกในปฏิบัติการอพอลโล (Apollo mission) ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศเป็นเวลา 11 วัน
11 ตุลาคม พ.ศ.2540 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”


12 ตุลาคม พ.ศ.2035 – คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) นักเดินเรือชาวอิตาเลียน ค้นพบทวีปอเมริกา
12 ตุลาคม พ.ศ.2435 – โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ เริ่มเปิดสอนวันแรก ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยครูพระนคร และ สถาบันราชภัฏ ตามลำดับ
12 ตุลาคม พ.ศ.2448 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศให้รวมกิจการหอพระสมุดสามแห่ง จัดตั้งเป็น “หอสมุดสำหรับพระนคร” ปัจจุบันคือ “หอสมุดแห่งชาติ”
12 ตุลาคม พ.ศ.2486 – โรงเรียนศิลปากร แผนกช่าง ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร
12 ตุลาคม พ.ศ.2549 – ช่วงช่วง และหลินฮุ่ย แพนด้าทูตสันถวไมตรีจากประเทศจีนเดินทางมาถึงสวนสัตว์เชียงใหม่


13 ตุลาคม 2468 – วันเกิดของอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงเหล็ก นางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ (Margaret  Thatcher)  แห่งอังกฤษ
13 ตุลาคม พ.ศ.2316 – ชาร์ลส์ เมสซิเยร์(Charles Messier) นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวฝรั่งเศส ค้นพบ “กาแล็กซีวังน้ำวน”
13 ตุลาคม พ.ศ.2415 – วันเกิด พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ผู้ให้กำเนิด “เบียร์สิงห์” (Singha Beer) และ “บริษัท บุญรอด บริวเวอรี จำกัด”
13 ตุลาคม พ.ศ.2458 – วันตำรวจไทย
13 ตุลาคม พ.ศ.2482 – วันเกิด ศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ ภูมิศถาปนิก (Landscape Architect) คนสำคัญของเมืองไทย
13 ตุลาคม พ.ศ.2536 – พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ สิ้นพระชนม์
13 ตุลาคม พ.ศ.255 – พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสวรรคต


14 ตุลาคม พ.ศ.2516 – เกิดเหตุการณ์ “14 ตุลา 16” หรือ “วันมหาวิปโยค”
14 ตุลาคม พ.ศ.1609 – วิลเลียม ดยุคแห่งนอร์มังดี (William Duke of Normandy) นำทัพชาวนอร์มังดี ซึ่งตั้งถิ่นฐานแถบภาคเหนือของฝรั่งเศสรุกรานอังกฤษจนได้ชัยชนะเหนือ พระเจ้าฮาโรลด์ที่ 2 (King Harold II of England) กษัตริย์อังกฤษ
14 ตุลาคม พ.ศ.2469 – วินนี เดอะ พูห์ (Winnie-the-Pooh) หนึ่งในหนังสือชุดหมีพูห์ ของ เอ.เอ. มิล์น (Alan Alexander Milne) ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรก
14 ตุลาคม พ.ศ.2518 – วันเกิด ฟลอยด์ แลนดิส (Floyd Landis) นักแข่งจักรยานชาวอเมริกัน แชมป์ตูร์ เดอร์ ฟรองซ์ ปี 2006
14 ตุลาคม พ.ศ.2547 – พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เสด็จขึ้นครองราชย์


15 ตุลาคม พ.ศ.2387 – วันเกิด เฟรดริช นิทเช (Friedrich Wilhelm Nietzsche) นักปรัชญาชาวเยอรมัน ในสำนัก “อัตถิภาวนิยม” (Existentialism) ผู้วางรากฐานปรัชญา “โพสต์ โมเดิร์น” (Post Modernism) คนสำคัญแห่งศตวรรษที่ 19
15 ตุลาคม พ.ศ.2423 – วันเกิด แมรี สโตปส์ (Dr. Marie Stopes) แพทย์ผู้บุกเบิกวิชาการวางแผนครอบครัว นักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี และนักเขียนชาวสก็อต
15 ตุลาคม พ.ศ.2460 – มาตา ฮารี (Mata Hari) นางระบำชาวเนเธอร์แลนด์ ผู้แฝงตัวเป็นจารสตรีสองหน้าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ถูกประหารชีวิต
15 ตุลาคม พ.ศ.2463 – วันเกิด มาริโอ พูโซ (Mario Puzo) นักเขียนและนักเขียนบทภาพยนตร์ชาวอเมริกัน เจ้าของนวนิยาย “The Godfather
15 ตุลาคม 2533 – ประธานาธิบดี มิคาอิล กอร์บาชอพ ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบิลไพรซ์ สาขาสันติภาพ ที่กรุงออสโลว์ ซึ่งเขาได้รับรางวันนี้ในปีนั้นด้วย


16 ตุลาคม พ.ศ.2505 – “วิกฤติการณ์ขีปนาวุธในคิวบา” (Cuban Missile Crisis) เริ่มต้นขึ้น ในช่วงสงครามเย็น
16 ตุลาคม พ.ศ.2301 – วันเกิด โนอาห์ เว็บส์เตอร์ (Noah Webster) นักพจนานุกรม (lexicographer) ชาวอเมริกัน
16 ตุลาคม พ.ศ.2336 – พระนาง มารี อองตัวแนตต์ (Marie Antoinette) พระราชินีแห่งฝรั่งเศส พระมเหสีของพระเจ้าหลุยส์ ที่ 16 (Louis XVI) ถูกประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยตีน
16 ตุลาคม พ.ศ.2389 – วิลเลียม มอร์ตัน (William Thomas Green Morton) แพทย์ชาวอเมริกัน สาธิตการใช้ยาสลบอีเทอร์ (Ether) ในการผ่าตัดต่อหน้าสาธารณชนอยางเป็นทางการครั้งแรก
16 ตุลาคม พ.ศ.2397 – วันเกิด ออสการ์ ไวลด์ (Oscar Fingal O’Flahertie Wills Wilde) นักเขียนชาวไอริช ในสมัยปลายยุควิคตอเรีย
16 ตุลาคม พ.ศ.2466 – วอลต์ ดิสนีย์และรอย ดิสนีย์ก่อตั้งเดอะวอลต์ดิสนีย์ขึ้นในฮอลลีวูด รัฐแคลิฟอร์เนีย
16 ตุลาคม พ.ศ.2488 – สหประชาชาติได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันอาหารโลกสากล
16 ตุลาคม พ.ศ.2516 – เล ดึ๊ก เถาะ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกับเฮนรี่ คิสซิงเจอร์ จากกรณีการเจรจาจนเกิดข้อตกลงสันติภาพปารีส ที่ยุติการแทรกแซงทางทหารของสหรัฐในสงครามเวียดนาม
16 ตุลาคม พ.ศ.2521 – คาโรล โยเซฟ วอยตีวา (Karol Jozef Wojtyla) บิชอพแห่งประเทศโปแลนด์ ทรงได้รับเลือกเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ที่ 265


17 ตุลาคม พ.ศ.2335 – วันเกิด เซอร์ จอห์น เบาว์ริง (Sir John Bowring) ข้าหลวงอังกฤษที่เข้ามาติดต่อทำ “สนธิสัญญาเบาว์ริง” (Bowring treaty) กับสยามในสมัยรัชกาลที่ 4
17 ตุลาคม พ.ศ.2392 – เฟรเดริก ฟรองซัวส์ โชแปง (Frederic Francois Chopin) นักเปียโนและคีตกวีเอกของโลกชาวโปแลนด์ ในยุคโรแมนติก เสียชีวิตด้วยวัณโรค
17 ตุลาคม พ.ศ.2468 – วันเกิด ศ.ดร. ระวี ภาวิไล นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา และราชบัณฑิต
17 ตุลาคม พ.ศ. 2510 – สมเด็จพระจักรพรรดิปูยี (Emperor Pu yi) จักรพรรดิองค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ชิง (Qing Dynasty) และเป็นจักรพรรดิหรือ “ฮ่องเต้” องค์สุดท้ายของจีน สิ้นพระชนม์


18 ตุลาคม พ.ศ.2347 – วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
18 ตุลาคม พ.ศ.2441 – สหรัฐอเมริกา เข้าครอบครองเปอร์โตริโก
18 ตุลาคม พ.ศ.2474  – ทอมัส อัลวา เอดิสัน ยอดนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันแห่งศตวรรษที่ 19 เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานและไตวาย
18 ตุลาคม พ.ศ.2499 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกสีหบัญชร ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท พระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระราชดำรัสแถลงถึงพระราชดำริในการที่จะเสด็จออกบรรพชาอุปสมบทแก่ประชาชนที่มาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท
18 ตุลาคม พ.ศ.2504 – ภาพวาด “Le Bateau” ของศิลปินฝรั่งเศส อองรี มาติส (Henri Matisse) จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ในกรุงนิวยอร์ค (Museum of Modern Art in New York City)
18 ตุลาคม พ.ศ.2518 – หนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ ตีพิมพ์บทความ The Quality of Life of a South East Asia : A Chronical of Hope from Womb to Tomb (จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน) ของ อาจารย์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์

http://www.sarakadee.com/wp-content/uploads/19oct.jpg
อนุทินวันสำคัญในประวัติศาสตร์โลก

19 ตุลาคม พ.ศ.2405 – วันเกิด ออกุสต์ ลูมิแยร์ (Auguste Lumiere) พี่ชายของ หลุยส์ ลูมิแยร์ (Louise Lumiere เกิดวันที่ 5 ตุลาคม 2407) สองพี่น้องลูมิแยร์ นักประดิษฐ์และนักสร้างหนังยุคบุกเบิก ชาวฝรั่งเศส
19 ตุลาคม พ.ศ.2513 – อาคาร “เวิร์ลเทรดเซนเตอร์ 1” (One World Trade Center) เริ่มเปิดใช้งานเป็นวันแรก
19 ตุลาคม พ.ศ.2515 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ เสด็จพระราชดำเนินทรงควบคุมการทดลองปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตให้ผู้แทนของรัฐบาลสิงคโปร์ชม ณ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน
19 ตุลาคม พ.ศ.2532 – เจอร์รี คอลลอน (Gerry Conlon), พอล ฮิล (Paul hill) และเพื่อนอีกสองคน ชาวไอริช ถูกปล่อยตัวเป็นอิสระหลังจากถูกจำคุกนานถึง 15 ปี


20 ตุลาคม พ.ศ.2501 – จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี (ซึ่งพร้อมใจลาออก)
20 ตุลาคม พ.ศ.2516 – โรงอุปรากรซิดนีย์ (Sydney Opera House) มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ
20 ตุลาคม พ.ศ.2520 – คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี
20 ตุลาคม พ.ศ.2540 – ประชาชนกว่า 5,000 คน ชุมนุมบริเวณถนนสีลมเพื่อเรียกร้องให้ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


21 ตุลาคม พ.ศ.2376 – วันเกิด อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel ค.ศ. 1833-1896) นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ดินระเบิดที่เรียกว่า ไดนาไมต์ และก่อตั้งรางวัลโนเบล
21 ตุลาคม พ.ศ.2417 – วันประสูติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายรพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย
21 ตุลาคม พ.ศ.2422 – หลอดไฟฟ้า หลอดแรกของ โธมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) ส่องส่วางขึ้นเป็นครั้งแรก
21 ตุลาคม พ.ศ.2443 – วันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ “สมเด็จย่า”

http://www.sarakadee.com/wp-content/uploads/22oct.jpg
อนุทินวันสำคัญในประวัติศาสตร์โลก

22 ตุลาคม พ.ศ.2354 – วันเกิด ฟรานซ์ ลิสต์ (Franz Liszt) นักเปียโนเอกและคีตกวีชาวฮังกาเรียน
22 ตุลาคม พ.ศ.2449 – ปอล เซซาน(Paul Cezanne) จิตรกรชาวฝรั่งเศส ในลัทธิโพสต์-อิมเพรสชันนิสม์ (Post-Impressionism) บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) เสียชีวิต
22 ตุลาคม พ.ศ.2496 – ประเทศลาว (Lao People’s Democratic Republic) ได้รับเอกราชคืนจากฝรั่งเศส
22 ตุลาคม พ.ศ.2499 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม


23 ตุลาคม พ.ศ.2483 – วันเกิด เปเล่ (Pele) นักฟุตบอลผู้ยิ่งใหญ่ชาวบราซิล เจ้าของฉายา “ไข่มุกดำ” ชื่อเต็มคือ เอ็ดสัน อรันเตส โด นสซิเมนโต (Edson Arantes do Nascimento)
23 ตุลาคม พ.ศ.2453 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสวรรคต
23 ตุลาคม พ.ศ.2453 – สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี
23 ตุลาคม พ.ศ.2544 – บริษัท แอปเปิล คอมพิวเตอร์ เปิดตัว ไอพอด (iPod) เครื่องเล่นเพลงดิจิทัล เป็นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา
23 ตุลาคม 2534 – สงครามกลางเมืองในกัมพูชาที่ดำเนินมา 13 ปี สามารถยุติลงได้โดยเขมร 4 ฝ่าย ลงนามร่วมกันในข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีส

http://www.sarakadee.com/wp-content/uploads/24oct.jpg
อนุทินวันสำคัญในประวัติศาสตร์โลก

24 ตุลาคม พ.ศ.2144 – ทีโค บราห์ (Tycho Brahe) นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ชาวเดนมาร์ก ถึงแก่กรรม
24 ตุลาคม พ.ศ.2175 – วันเกิด อันโทนี ฟาน เลเวนฮุก นักวิทยาศาสตร์ชาวดัตช์ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งจุลชีววิทยาศาสตร์”
24 ตุลาคม พ.ศ.2472 – เกิดเหตุการณ์ “พฤหัสทมิฬ” (Black Thursday) เป็นวันที่ภาวะการซื้อขายหุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ย่านถนนวอลสตรีท นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ถูกเทขายจนมีมูลค่าตกต่ำสุดขีด
24 ตุลาคม พ.ศ.2488 – องค์การสหประชาชาติได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการ


25 ตุลาคม 1888 – ริชาร์ด อีเวลิน ไบรด์ (Richard Evelyn Byrd) สามารถนำเครื่องบิน บินถึงขั้วโลกใต้ได้เป็นครั้งแรก
25 ตุลาคม พ.ศ.2424 – วันเกิด ปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Ruiz Picasso) ศิลปินเอกของโลกชาวสเปน
25 ตุลาคม พ.ศ.2354 – วันเกิด เอวาริสต์ กาลัวส์ (Evariste Galois) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส
25 ตุลาคม พ.ศ.2368 – วันเกิด โยฮันน์ สเตราส์ จูเนียร์ หรือ โยฮันน์ สเตราส์ ที่ 2 (Johann Strauss Junior) คีตกวีชาวออสเตรียที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชาแห่งเพลงวอลซ์” (The Waltz King)
25 ตุลาคม พ.ศ.2473 – พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในสยาม
25 ตุลาคม พ.ศ.2498 – ซาดาโกะ ซาซากิ (Sadako Sasaki) เด็กหญิงชาวญี่ปุ่น เหยื่อของระเบิดนิวเคลียร์ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเม็ดโลหิต (ลูคีเมีย) ขณะอายุได้ 11 ปี


26 ตุลาคม พ.ศ.2448 – ประเทศนอร์เวย์ (Norway) ได้รับเอกราชจากประเทศสวีเดน (Sweden) หลังจากถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนมาตั้งแต่ปี 2357
26 ตุลาคม พ.ศ.2307 – วิลเลียม โฮการ์ธ (William Hogarth) จิตรกรชาวอังกฤษ ถึงแก่กรรม
26 ตุลาคม พ.ศ.2406 – วันก่อตั้ง สมาคมฟุตบอลแห่งอังกฤษ (The Football Association–The FA) ณ กรุงลอนดอน
26 ตุลาคม 2428 – พันเอก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ผู้บังคับการกรมทหารรักษาพระราชวัง เป็นแม่ทัพ กองทัพฝ่ายใต้ ไปปราบพวกฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ โดยตั้งกองบัญชาการที่เมืองหนองคาย


27 ตุลาคม พ.ศ.2401 – วันเกิด ธีโอดอร์ รูสเวลท์ (Theodore Roosevelt  ค.ศ. 1858-1919) ประธานาธิบดีคนที่ 26 ของสหรัฐอเมริกา
27 ตุลาคม พ.ศ.2271 – วันเกิด กัปตัน เจมส์ คุก (Captain James Cook) นักสำรวจชาวอังกฤษ ผู้เดินเรือสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิกถึง 3 ครั้ง และเป็นผู้ค้นพบทวีปออสเตรเลีย
27 ตุลาคม พ.ศ.2325 – วันเกิด นิโกโล ปากานีนี (Nicolo Paganini) ยอดนักไวโอลินเอกของโลก และคีตกวีชาวอิตาเลียน
27 ตุลาคม พ.ศ.2354 – วันเกิด ไอแซก ซิงเกอร์ (Isaac Merritt Singer) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ผู้พัฒนาจักรเย็บผ้าสำหรับใช้ในครัวเรือน และผู้ก่อตั้งโรงงานผลิตจักรเย็บผ้าซิงเกอร์ (Singer Sewing Machine Company)
27 ตุลาคม พ.ศ.2447 – ประกาศเลิกใช้ เงินพดด้วง ทุกชนิดอย่างเป็นทางการ เนื่องจากความต้องการเงินตราไทยมีมากเพราะการค้าระหว่างประเทศขยายตัว การผลิตเงินพดด้วงไม่ทันใช้
27 ตุลาคม พ.ศ.2511 – ลิซ ไมท์เนอร์ (Lise Meitner) นักฟิสิกส์ชาวสวีเดน ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น “มารดาของระเบิดปรมาณู” ถึงแก่กรรม


28 ตุลาคม พ.ศ.2429 – อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ (Statue of Liberty) มีพิธีส่งมอบอย่างเป็นทางการ โดยประธานาธิบดีโกรเวอร์ คลีฟแลนด์ (Grover Cleveland) ณ เกาะลิเบอร์ตี (Liberty Island) ปากอ่าวแมนฮัตตัน เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
28 ตุลาคม พ.ศ.2228 – คณะทูตคณะแรกของฝรั่งเศสเข้ามาติดต่อกับสยาม
28 ตุลาคม พ.ศ.2247 – จอห์น ล็อค(John Locke) นักปรัชญาชาวอังกฤษ หนึ่งในผู้ก่อตั้งปรัชญาสำนัก ประสบการณ์นิยม หรือประจักษ์นิยม (Empiricism) เสียชีวิต
28 ตุลาคม พ.ศ.2496 – จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนิสิตจุฬาฯ คนแรกที่ถูกจับ “โยนบก” โทษฐานเสนอแนวคิดที่ขัดแย้งกับสังคมในยุคนั้น
28 ตุลาคม พ.ศ.2539 – สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Queen Elizabeth II) และ เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินเบร์ก (Prince Philip, Duke of Edinburgh) พระสวามี เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ


29 ตุลาคม พ.ศ.2478 – วันเกิด อิซาโอะ ทาคาฮาตะ (Isao Takahata) ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชันชาวญี่ปุ่น แห่ง สตูดิโอ จิบลิ (Studio Ghibli)
29 ตุลาคม พ.ศ.2466 – โจเซฟ พูลิตเซอร์ (Joseph Pulitzer) นักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังกาเรียน เสียชีวิต
29 ตุลาคม พ.ศ.2524 – การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เปิดทดลองใช้ทางด่วนสายดินแดง-ท่าเรือ ซึ่งเป็นเส้นแรกของระบบทางด่วนขั้นที่ 1


30 ตุลาคม พ.ศ.2481 – ละครวิทยุเรื่อง “The War of The Worlds” ของ ออร์สัน เวลล์ (Orson Welles) ในนามคณะ “Mercury Theatre on the Air”   ออกอากาศในสหรัฐอเมริกา
30 ตุลาคม พ.ศ.2369 – พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ คุณหญิงโม ภริยาของพระยามหิศราธิบดี (พระยาปลัด) ที่ปรึกษาราชการแห่งเมืองนครราชสีมา ขึ้นเป็น “ท้าวสุรนารี”
30 ตุลาคม พ.ศ.2453 – อองรี ดูนังต์ (Jean Henri Dunant) นักธุรกิจและนักเคลื่อนไหวทางสังคมชาวสวิส ผู้ริเริ่มก่อตั้งสภาการกาชาดสากล (International Committee of the Red Cross : ICRC) เสียชีวิต
30 ตุลาคม พ.ศ.2518 – เจ้าชาย ฮวน คาร์ลอส (Prince Juan Carlos) ก้าวขึ้นมากุมอำนาจการปกครองในประเทศสเปน


31 ตุลาคม พ.ศ.2465 – วันประสูติ เจ้านโรดม สีหนุ กษัตริย์แห่งประเทศกัมพูชา
31 ตุลาคม พ.ศ.2430 – วันเกิด เจียง ไคเช็ค (Chiang Kai-shek) ประธานาธิบดีคนแรกของไต้หวัน
31 ตุลาคม พ.ศ.2465 – เบนิโต มุสโสลินี (Benito Amilcare Andrea Mussolini) ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของอิตาลี
31 ตุลาคม พ.ศ.2527 – อินทิรา คานธี (Indira Gandhi) นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดีย ถูกยิงเสียชีวิต




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 ธันวาคม 2559 20:01:15 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2559 15:13:24 »


1 พฤศจิกายน พ.ศ.2455 – “คีตาญชลี” (Gitanjali) หนังสือรวมบทกวีนิพนธ์ของรพินทรนาถ ฐากูร กวีเอกแห่งชมภูทวีป ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก
1 พฤศจิกายน พ.ศ.2432 – วันก่อตั้ง โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกของไทย
1 พฤศจิกายน พ.ศ.2484 – วันเปิดอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมาต์รัชมอร์ (Mt.Rushmore National Memorial)
1 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 – วันสถาปนามหาวิยาลัยทักษิณ (มท.)


2 พฤศจิกายน พ.ศ.2298 – วันเกิด พระนางมารี อองตัวแนตต์ พระราชินีแห่งฝรั่งเศส พระมเหสีของพระเจ้าหลุยส์ ที่ 16
2 พฤศจิกายน พ.ศ.2373 – โชแปง คีตกวีชาวโปแลนด์ เดินทางกลับบ้านเกิด
2 พฤศจิกายน พ.ศ.2493 – จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Bernard Shaw) นักประพันธ์และนักวิจารณ์ฝีปากกล้าชาวไอริช  ประเทศไอร์แลนด์ เสียชีวิต
2 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 – ประเทศไทยมีประชากรครบ 60 ล้านคนในเวลาประมาณ 9.48 น. ตามการคาดหมายของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล


3 พฤศจิกายน พ.ศ.2428 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าหอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ พันเอกเจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสงชูโต) หรือ “พระนายไวย”  ยกกองทัพไปปราบฮ่อ ณ หัวเมืองหลวงพระบาง
3 พฤศจิกายน พ.ศ.2500 – ไลก้า (Leika แปลว่า เห่า) สุนัขอวกาศตัวแรกของโลก ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศไปโคจรรอบโลกด้วยยานสปุตนิค 2 ของสหภาพโซเวียต
3 พฤศจิกายน พ.ศ.2516 – องค์การนาซาส่ง ยานมารีเนอร์ 10 (Mariner 10) ไปยังดาวพุธ


4 พฤศจิกายน 2465 (ค.ศ.1922)  – โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) นักโบราณคดีชาวอังกฤษ พร้อมคณะทำงาน ขุดค้นพบบันไดทางเข้าสุสานของยุวกษัตริย์ตุตันคามุน (Tutankhamun)
4 พศจิกายน พ.ศ.2538 – นายยิตซ์ฮัก ราบิน (Yitzhak Rabin) นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ผู้อุทิศตนเพื่อสันติภาพในตะวันออกกลาง ถูกนักศึกษาชาวยิวหัวรุนแรงลอบสังหาร


5 พฤศจิกายน พ.ศ.2473 – วันเกิด ซินแคลร์ เลวิส (Sinclair Lewis) นักเขียนนวนิยายและนักเขียนบทละครชาวอเมริกัน เป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม
5 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 – เกิดวิกฤติการณ์คลองสุเอซ


6 พฤศจิกายน พ.ศ.2404 – นิราศลอนดอน วรรณคดีผลงานของหม่อมราโชทัย (ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูร ณ อยุธยา) ออกจำหน่ายครั้งแรก
6 พฤศจิกายน พ.ศ.2495 – กองสลากกินแบ่งรัฐบาล ตกลงกับกรมประชาสัมพันธ์ให้เริ่มถ่ายทอดเสียงการออกสลากทางวิทยุทั่วราชอาณาจักรนับแต่วันนี้


7 พฤศจิกายน พ.ศ.2460 – เกิด การปฏิวัติรัสเซีย (Russian Revolution) เป็นครั้งที่สองในปีเดียวกัน
7 พฤศจิกายน พ.ศ.2510 – สหรัฐอเมริกา ส่งยานอวกาศเซอร์เวเยอร์ 6 (Surveyor VI) ขึ้นสู่วงโคจรเพื่อสำรวจดวงจันทร์
7 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 – พม่า ย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้ง (Rangkoon) ไปที่ปีนมานา (Pyinmana หรือเมือง เนปยีดอว์ ในภาษาพม่า)
7 พฤศิจกายน พ.ศ.2410 – วันเกิด มารี กูรี นักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง


8 พฤศิจกายน พ.ศ.2199 – วันเกิดของ เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์(Admond Hally) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ
8 พฤศจิกายน พ.ศ.2436 – วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
8 พฤศจิกายน พ.ศ.2336 – พิพิธภัณฑ์ ลูฟว์ (Louvre Museum) เปิดให้บริการประชาชน


9 พฤศจิกายน พ.ศ.2417 – เปิดใช้งาน “ประภาคารสันดอน” เป็นวันแรก
9 พฤศจิกายน พ.ศ.2497 – วันเกิดยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว
9 พฤศจิกายน พ.ศ.2532 – รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเยอรมนีตะวันออกเริ่มทะลายกำแพงเบอร์ลิน (Berliner Mauer-Berlin Wall) อนุญาตให้ชาวเยอรมัน ตะวันออกเดินทางสู่เยอรมนีตะวันตกได้โดยเสรี


10 พฤศจิกายน พ.ศ.2471 – จักรพรรดิฮิโตฮิโต เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่น องค์ที่ 124 ครองราชย์ในช่วง 2469-2532
10 พฤศจิกายน พ.ศ.2495 – รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม จับกุมนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับพวกในข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร หรือ “กบฏสันติภาพ”
10 พฤศจิกายน พ.ศ.2512 – “Sesame Street” รายการโทรทัศน์ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ออกอากาศครั้งแรกในอเมริกา
10 พฤศจิกายน พ.ศ.2531 – ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ทับหลังศิลาโบราณวัตถุล้ำค่าของไทย ซึ่งถูกลักลอบนำไปจากปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเวลาเกือบ 30 ปี กลับคืนสู่ไทยอีกครั้ง


11 พฤศจิกายน พ.ศ.2451 – พระพุทธเจ้าหลวง (ร.5) เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมรูปทรงม้า นอกจากนี้ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาพระฤกษ์สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม อันเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ร.ศ.112
11 พฤศจิกายน 2511 – อิบราฮิม นัสเซอร์ (Ibrahim Nasir) ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐมัลดีฟส์ (Republic of Maldives)
11 พฤศจิกายน พ.ศ.2518 – ประเทศแองโกลา ได้รับเอกราชจากประเทศโปรตุเกส


12 พฤศจิกายน พ.ศ.2383 – วันเกิด ฟรองซัว ออกุสต์ โรแดง (Auguste Rodin) ประติมากรผู้ยิ่งใหญ่ชาวฝรั่งเศส
12 พฤศจิกายน พ.ศ.2409 – วันเกิด ซุน ยัตเซ็น (Sun Yat-sen) ผู้นำทางการเมือง และนักปกิวัติของจีน
12 พฤศจิกายน พ.ศ.2448  – วันประสูติ ม.จ.อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ผู้นิพนธ์นวนิยาย “ละครแห่งชีวิต”


13 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 – จิโออาชิโน โรซินี (Gioachino Antonio Rossini) คีตกวีชาวอิตาเลียน เสียชีวิต
13 พฤศจิกายน พ.ศ.2450 – วันพระราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา  (พ.ศ.2450-2521) กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งพระราชอาณาจักรลาว
13 พฤศจิกายน พ.ศ.2456 – รพินทรนาถ ฐากูร (Robindronath Thakur) กวีเอกชาวอินเดีย เป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลจากหนังสือรวมบทกวีชื่อ “คีตาญชลี” (Gitanjali)


14 พฤศจิกายน พ.ศ.2259 – ก็อตต์ฟรีด ไลบ์นิซ (Gottfried Wilhelm von Leibniz) นักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญาสำนักเหตุผลนิยมชาวเยอรมันเชื้อสายเซิร์บ ถึงแก่กรรม
14 พฤศจิกายน พ.ศ.2383 – วันเกิด โคลด โมเนต์ (Claude Oscar Monet) จิตรชาวฝรั่งเศส ผู้ให้กำเนิดศิลปะอิมเพรสชันนิสม์
14 พฤศจิกายน พ.ศ.2394 – นิยายเรื่อง “Moby-Dick” ของ เฮอร์แมน เมลวิลล์ (Herman Melville) นักประพันธ์ชาวอเมริกัน ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา
14 พฤศจิกายน พ.ศ.2432 – วันเกิด ยาวาหะราล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) นายกรัฐมนตรีคนแรกและรัฐบุรุษของอินเดีย
14 พฤศจิกายน พ.ศ.2457 – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีเปิด “การประปากรุงเทพฯ” อย่างเป็นทางการ
14 พฤศจิกายน พ.ศ.2459 – เฮกเตอร์ ฮิว มันโร นักเขียนเรื่องเสียดสีชาวอังกฤษ (1870-1916) เจ้าของนามปากกา ซากี (ผู้ถือถ้วยในเรื่องรุไบยาตของโอมาร์ ไคยัม)


15 พฤศจิกายน พ.ศ.2399 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดสะพานผ่านพิภพลีลา
15 พฤศจิกายน พ.ศ.2476 – คณะราษฎรจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
15 พฤศจิกายน พ.ศ.2512 – ชาวอเมริกันกว่าสองแสนคน ออกมาประท้วงรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ให้ยกเลิกการส่งทหารเข้ามาร่วมรบในสงครามเวียดนาม


16 พฤศจิกายน พ.ศ.2446 – กองทัพบกได้จัดทำคทาจอมพล ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในฐานะองค์จอมทัพไทย ในพระราชพิธีทวีธาภิเษก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท นับเป็นครั้งแรกที่มีคทาจอมพลขึ้นในประเทศไทย
16 พฤศจิกายน พ.ศ.2516 – องค์การนาซา ส่งมนุษย์อวกาศ 3 คนได้แก่ Gerald Carr, William Pogue และ Edward Gibson ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ พร้อมกับสถานีอวกาศสกายแลบ 4 (Skylab 4)
16 พฤศจิกายน พ.ศ.2531 – นางเบนาซีร์ บุตโต (Benazir Bhutto) ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศปากีสถาน ในขณะมีอายุเพียง 35 ปี และนับเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ของโลกมุสลิม


17 พฤศจิกายน พ.ศ.2458 – วันเกิดประยูร จรรยาวงษ์ นักเขียนการ์ตูนที่สะท้อนปัญหาการเมือง สังคม การเรียกร้องอย่างสันติ
17 พฤศจิกายน พ.ศ.2460 – ออกุสต์ โรแดง (Auguste Rodin) ประติมากรผู้ยิ่งใหญ่ของโลกชาวฝรั่งเศส เสียชีวิต
17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 – จอมพลถนอม กิตติขจร ก่อการปฏิวัติรัฐประหารตนเอง จัดตั้งรัฐบาลคณะปฏิวัติขึ้นปกครองประเทศ


18 พฤศจิกายน พ.ศ.2329 – วันเกิดคาร์ล เวเบอร์ (Carl Maria Friedrich Weber) คีตกวีชาวเยอรมัน ผู้เบิกทางอุปรากรโรแมนติก
18 พฤศจิกายน พ.ศ.2379 – วันเกิดวิลเลียม เอส. กิลเบิร์ต (Sir William Schwenck Gilbert) นักแต่งอุปรากรชาวอังกฤษ
18 พฤศจิกายน พ.ศ.2390 – วันเกิดบราฮัม สโตเกอร์ นักเขียนไอริช ซึ่งโด่งดังจากผลงานเรื่อง Dracula (1897)
18 พฤศจิกายน พ.ศ.2471 – Steamboat Willie หรือ วิลลี่เรือกลไฟ ภาพยนตร์การ์ตูนประกอบเสียงและดนตรีเรื่องแรกของโลก สร้างโดยวอลท์ ดีสนีย์ ออกฉายรอบแรกที่กรุงนิวยอร์ค
18 พฤศจิกายน พ.ศ.2502 – ภาพยนตร์แนวอีพิกเรื่อง Ben-Hur เปิดฉายรอบปฐมทัศน์ที่กรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา
18 พฤศจิกายน พ.ศ.2505 – นีลส์ บอร์ (Niels Hendrik David Bohr) นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก ผู้บุกเบิกการศึกษา “โครงสร้างอะตอม” เสียชีวิต


19 พฤศจิกายน พ.ศ.2371 – ฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Peter Schubert) คีตกวีชาวออสเตรีย ในยุค เสียชีวิต
19 พฤศจิกายน พ.ศ.2460 – วันเกิด อินทิรา คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย
19 พฤศจิกายน พ.ศ.2512 – เปเล่(Pele’) ยอดนักฟุตบอลชาวบราซิล สามารถยิงประตูที่ 1,000 ของเขา ในฟุตบอลอาชีพ


20 พฤศจิกายน พ.ศ.2340 – พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ เป็นเรื่องยาวเขียนลงสมุดไทยถึง 102 เล่ม
20 พฤศจิกายน พ.ศ.2404 – วันประสูติ พระองค์เจ้าชายวรวรรณากร พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 องค์ที่ 56 ทรงเป็นผู้บุกเบิกละครร้องเป็นครั้งแรกในเมืองไทย
20 พฤศจิกายน พ.ศ.2432 – วันเกิด เอ็ดวิน ฮับเบิล (Edwin Powell Hubble) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน หนึงในนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20
20 พฤศจิกายน พ.ศ.2453 – ลีโอ ตอลสตอย (Count Leo Nikolayevich Tolstoy) หนึ่งในนักเขียนนิยายผู้ยิ่งใหญ่ของโลกชาวรัสเซีย เสียชีวิต


21 พฤศจิกายน พ.ศ.2237 – วันเกิด ฟรองซัวส์ มารี อารูเอต์ (Francois Marie Arouet) เจ้าของนามปากกา “วอลแตร์” (Voltaire) นักประพันธ์และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ 18
21 พฤศจิกายน พ.ศ.2326 – โจเซฟ และฌาค มงต์กอลฟิเออร์ (Joseph Michel and Jacques Etienne Montgolfier-The Montgolfier Brothers) ชาวฝรั่งเศส ได้สร้างบอลลูนลมร้อน (hot-air Balloon) สำเร็จและได้บรรทุกคนขึ้นไปในอากาศเป็นครั้งแรก
21 พฤศจิกายน พ.ศ.2410 – หนังสือแสดงกิจจานุกิจ ตีพิมพ์สำเร็จเป็นครั้งแรก เป็นหนังสือไทยเล่มแรกที่อธิบายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์และศาสนาอย่างทันสมัยที่สุด
21 พฤศจิกายน พ.ศ.2471 – วันเกิด ประยูร อุลุชาฏะ เจ้าของนามปากกา “น. ณ ปากน้ำ”


22 พฤศิจกายน – วันเกิดของ ชาลส์ อองเดร โจเซฟ มารี เดอ โกล (ชาตะ 22 พฤศจิกายน ค.ศ.1890 – มรณะ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1970) อาชีพทหารและเป็นรัฐบุรุษของฝรั่งเศสแห่งคริตศตวรรษที่ 20
22 พฤศจิกายน พ.ศ.2506 – จอห์น เอฟ. เคเนดี้ (John Federic Kennedy หรือ JFK.) ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐฯ ถูกลอบสังหารระหว่างการเยือนเมืองดัลลัส ในมลรัฐเท็กซัส
22 พฤศจิกายน พ.ศ.2486 – ประเทศสาธารณรัฐเลบานอน ได้รับเอกราชจากประเทศฝรั่งเศส


23 พฤศจิกายน พ.ศ.2440 – พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 ถึงแก่พิราลัย
23 พฤศจิกายน พ.ศ.2415 – เซอร์ จอห์น เบาริง (Sir John Bowring) “ตัวแทนประจำคนแรกของไทย” เสียชีวิต
23 พฤศจิกายน พ.ศ.2474 – วันเกิด พนมเทียน ผู้เขียนนิยายเพชรพระอุมา
23 พฤศจิกายน พ.ศ.2479 – นิตยสาร ไลฟ์ (Life magazine) ออกจำหน่ายเป็นฉบับแรก
23 พฤศจิกายน พ.ศ.2533 – โรอัลด์ ดาห์ล (Roald Dahl) นักเขียนชาวเวลส์ เสียชีวิต


24 พฤศจิกายน พ.ศ.2402 – ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ตีพิมพ์หนังสือ “On the Origin of Species
24 พฤศจิกายน พ.ศ.2468 – วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพรรณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในรัชกาลที่ 6 กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
24 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 – วันเกิดสุทธิชัย หยุ่น นักหนังสือพิมพ์ คอลัมนิสต์ พิธีกรฝีปากกล้า


25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 – ราชาภิเษก พระองค์เจ้ายอดยิ่งบวรยศ เป็น กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าองค์สุดท้ายในสมัยรัตนโกสินทร์
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – เปิดเดินรถไฟสายใต้ได้ถึงหัวหินและการก่อสร้างทางรถไฟรุดลงใต้อย่างรวดเร็ว
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 – ยูกิโอะ มิชิม่า (yukio Mishima) นักเขียนผู้มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ได้กระทำการ “ฮาราคีรี” หรือ “เซปปุกุ” (Seppuku) หรือการคว้านท้องฆ่าตัวตาย
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์


26 พฤศจิกายน พ.ศ.2441 – วันเกิด คาร์ล ซีส์เลอร์ (Karl Ziegler)  นักเคมีชาวเยอรมัน ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ในปี 2506
26 พฤศจิกายน พ.ศ.2468 – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต


27 พฤศจิกายน พ.ศ.2474 – วันเกิด กฤษณา อโศกสิน นามปากกาของสุกัญญา ชลศึกษ์ นักประพันธ์สตรีรางวัลซีไรต์ประจำปี 2528
27 พฤศจิกายน พ.ศ.2510 – สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 หรือ “ช่อง 7 สี” เริ่มออกอากาศ-แพร่ภาพเป็นครั้งแรก
27 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เสด็จทรงเปิด “เขื่อนสิรินธร”
27 พฤศจิกายน พ.ศ.2533 – เซอร์ จอห์น เมเจอร์ (Sir John Major) ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร


28 พฤศจิกายน พ.ศ.2063 – กองเรือของโปรตุเกส ภายใต้การควบคุมของเฟอร์ดินานด์ มาเจแลน (Ferdinand Magellan) เป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ค้นพบ มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean)
28 พฤศจิกายน พ.ศ.2237 – มะสึโอะ บาโช หรือบาโช (Basho) ปรมาจารย์ด้านกวีไฮกุ (Haiku) ของญี่ปุ่น เสียชีวิต
28 พฤศจิกายน พ.ศ.2533  – ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) โอนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ให้แก่ผู้นำรุ่นสอง นายโก๊ะ จ๊ก ตง (Ko Jok Tong) หลังจากที่เป็นนายกฯ ยาวนานถึง 31 ปี


29 พฤศจิกายน พ.ศ.2378 – วันประสูติ พระนางซูสีไทเฮา
29 พฤศจิกายน พ.ศ.2450  – ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) ผู้บุกเบิกวิชาการพยาบาลสมัยใหม่ชาวอิตาลี อายุ 87 ปี เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับอิสริยาภรณ์เชิดชูคุณความดีของอังกฤษ
29 พฤศจิกายน พ.ศ.2472 – ริชาร์ด อีเวลิน ไบรด์ (Richard Evelyn Byrd) นักบินชาวอเมริกัน สามารถขับเครื่องบินถึงขั้วโลกใต้ได้เป็นครั้งแรก
29 พฤศจิกายน พ.ศ.2485 – วันประสูติ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย


30 พฤศจิกายน พ.ศ.2106 – วิลเลียม กิลเบิร์ต แพทย์ นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาธรรมชาติชาวอังกฤษ  เสียชีวิต
30 พฤศจิกายน พ.ศ.2378 – วันเกิด แซมมวล แลงฮอร์น คลีเมนซ์ (Samuel Langhorne Clemens) นักเขียนชาวอเมริกันเจ้าของนามปากกา มาร์ค ทเวน (Mark Twain)
30 พฤศจิกายน พ.ศ.2417 – วันเกิด วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Sir.Winston Churchill) รัฐบุรุษของอังกฤษ ผู้นำพาประเทศผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่ 2
30 พฤศจิกายน พ.ศ.2443 – ออสการ์ ไวลด์ (Oscar Fingal O’Flahertie Wills Wilde) นักเขียนชาวไอริช ในสมัยปลายยุควิคตอเรีย เสียชีวิต
30 พฤศจิกายน พ.ศ.2544 – วรรณ กับหมู เริ่มต้นปั่นจักรยานรอบโลก

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 11 มกราคม 2560 19:33:47 »



1 ธันวาคม พ.ศ.2476 – วันเกิดของ ฟุจิโมโตะ ฮิโรชิ หนึ่งในเจ้าของนามปากการ ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ ผู้เขียนหนังสือการ์ตูนชาวญี่ปุ่นเรื่องดัง โดราเอมอน
1 ธันวาคม พ.ศ.2485  – วันก่อตั้ง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)
1 ธันวาคม พ.ศ.2495 – มีการผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงครั้งแรกในโลก
1 ธันวาคม พ.ศ.2498 – โรซา ปาร์กส์ (Rosa Parks) สตรีผิวดำในสหรัฐอเมริกา ละเมิดกฎหมายในมอนต์โกเมอรี่ รัฐอลาบามา โดยปฏิเสธที่จะยกที่นั่งด้านหน้าบนรถโดยสารให้กับชายผิวขาวตามที่กฎหมายกำหนด การกระทำนี้ทำให้ปาร์กส์ถูกจับและนำไปสู่การประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิของคนผิว
1 ธันวาคม พ.ศ.2523 – มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เริ่มเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก นับเป็นมหาวิทยาลัยระบบเปิด ที่สอนโดยระบบทางไกลแห่งแรกของประเทศไทย
1 ธันวาคม พ.ศ.2532 – องค์การอนามัยโลก(WHO) เริ่มวันเอดส์โลกเป็นครั้งแรก เพื่อรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์


2 ธันวาคม พ.ศ.2451 – พระนางซูสีไทเฮา ทรงตั้งให้ ซวนถง ปูยี (Pu Yi) เป็น จักรพรรดิแห่งประเทศจีน นับเป็นจักรพรรดิ์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ชิง (ชาวแมนจู)
2 ธันวาคม พ.ศ.2347 – นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte) สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิฝรั่งเศส ภายใต้พระนามว่า “นโปเลียนที่ 1 ”
2 ธันวาคม พ.ศ.2431 – ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด ธนาคารของชาวอังกฤษ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฮ่องกง เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรก ที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย
2 ธันวาคม พ.ศ.2518 – วันชาติลาว


3 ธันวาคม พ.ศ.2400 – วันเกิด โจเซฟ คอนราด (Joseph Conrad) ผู้เขียน Heart of Darkness
3 ธันวาคม พ.ศ.2507 – อาภัสรา หงสกุล ได้ตำแหน่งนางสาวไทยประจำปีนี้ ซึ่งในปีต่อมาเธอก็ได้เป็นนางงามจักรวาล
3 ธันวาคม พ.ศ.2510 – ดร.คริสเตียน บาร์นาร์ด (Dr.Christiaan Barnard) ได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ของมนุษย์สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก ที่เมืองเคปทาวน์ แอฟริกาใต้
3 ธันวาคม พ.ศ.2542 – ทอรี เมอร์เดน (Tori Murden McClure) เป็นผู้หญิงคนแรกที่สามารถพายเรือคนเดียวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก


4 ธันวาคม พ.ศ.2461 – ประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) เดินทางออกจากสหรัฐอเมริกาทางเรือไปยังเมืองแวร์ซายด์ ประเทศฝรั่งเศส เพื่อร่วมประชุมสันติภาพสำหรับสงครามโลกครั้งที่ 1
4 ธันวาคม พ.ศ.2465  – วันเกิด ศาสตราจารย์ระพี สาคริก
4 ธันวาคม พ.ศ.2535 – นางชูศรี มีสมมนต์ ดาราภาพยนตร์ผู้มีชื่อเสียง ถึงแก่กรรม


5 ธันวาคม  พ.ศ.2444 วันเกิด วอลท์ ดีสนีย์ (วอลเตอร์ อีไลแอส ดีสนีย์-Walter Elias Disney พ.ศ. 2544-2509) ผู้อำนวยการสร้างและนักสร้างสรรค์ภาพยนตร์การ์ตูนชาวอเมริกัน
5 ธันวาคม พ.ศ.2470 –วันพ่อแห่งชาติ – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ
5 ธันวาคม พ.ศ.2334 – โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ต (Wolfgang Amadeus Mozart) คีตกวีเอกของโลกชาวออสเตรีย เสียชีวิต


6 ธันวาคม พ.ศ.2443 – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานที่วัดเพิ่มเติม และสร้อยนามต่อท้ายชื่อวัดว่า “ดุสิตวนาราม” เรียกรวมกันว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม”
6 ธันวาคม พ.ศ.2460 –  เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ ที่ท่าเรือฮาลิแฟกซ์ (Halifax) เมืองโนวาสโกเชีย ประเทศแคนนาดา
6 ธันวาคม พ.ศ.2460 – ประเทศฟินแลนด์ (Republic of Finland) ประกาศเอกราชจากรัสเซีย


11 ธันวาคม พ.ศ.2228 – สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงกล้องโทรทรรศน์ทอดพระเนตรจันทรุปราคาเต็มดวง ณ พระที่นั่งเย็น ทะเลชุบศร เมืองลพบุรี
11 ธันวาคม พ.ศ.2489 – สมัชชาสามัญแห่งสหประชาชาติก่อตั้ง กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือยูนิเซฟ (The United Nations Internationals Children’s Emergency Fund–UNICEF)


12 ธันวาคม พ.ศ.2458 – วันเกิด แฟรงค์ ซินาตรา นักร้องเพลงแจ๊ส ป็อป และนักแสดงชาวอเมริกัน
12 ธันวาคม พ.ศ.2477 – กันยา เทียนสว่าง วัย 20 ปี คว้าตำแหน่ง “นางสาวสยาม” คนแรกของไทยในงานฉลองรัฐธรรมนูญ
12 ธันวาคม พ.ศ.2502 เริ่มเปิดการแข่งขัน กีฬาซีเกมส์ (Southeast Asian Games–SEA Games) ครั้งแรกในประเทศไทย ในสมัยนั้นชื่อว่า กีฬาแหลมทอง (Southeast Asian Peninsular Games) หรือเซียปเกมส์ (SEAP Games)
12 ธันวาคม พ.ศ.2520 – สนามหลวง หรือท้องสนามหลวง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ


13 ธันวาคม พ.ศ.2120 – เซอร์ ฟรานซิส เดรก (Sir Francis Drake) นักเดินเรือชาวอังกฤษ ออกเดินเรือจากอังกฤษด้วยเรือ โกลเด้นไฮน์ (Goldenhinde) เพื่อเดินทางรอบโลก
13 ธันวาคม พ.ศ.2534 – คณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโก ได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม และประกาศให้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ
13 ธันวาคม พ.ศ.2546 – ซัดดัม ฮุสเซน (Suddam Hussain) อดีตประธานาธิบดีแห่งอีรักถูกจับกุมโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ซ่อนตัวอยู่ในหลุมขนาดเล็ก


14 ธันวาคม พ.ศ.2431 – วันเกิดพระยาอนุมานราชธน (เสฐียรโกเศศ ( พ.ศ.2431-2512) ผู้เป็นนักปราชญ์คนสำคัญของประเทศ
14 ธันวาคม พ.ศ.2342 – จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) ประธานาธิปดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา ถึงแก่อสัญกรรม


15 ธันวาคม พ.ศ.2043 – วันเกิด นอสตราดามุส (Nostradamus) หรือ มิเคล เดอ นอสตราดาม (Michel De Nostradame) แพทย์และนักพยากรณ์ชื่อดังชาวฝรั่งเศส เชื้อสายยิว
15 ธันวาคม พ.ศ.2375 – วันเกิด กุสตาฟ ไอเฟล (Alexandre Gustave Eiffel) วิศวกรและสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ผู้ออกแบบหอไอเฟล (Eiffel Tower)
15 ธันวาคม พ.ศ.2434 – เจมส์ ไนสมิธ (James Naismith) นายแพทย์ชาวคานาดา สามารถคิดค้นกีฬาบาสเก็ตบอล ได้สำเร็จ
15 ธันวาคม พ.ศ.2482 –  ภาพยนตร์เรื่อง วิมานลอย หรือ Gone with the wind เปิดฉายครั้งแรกในโลก
15 ธันวาคม พ.ศ.2509 – วอลท์ ดิสนีย์ (Walt Disney) ผู้อำนวยการสร้างและบุกเบิกการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนชาวอเมริกัน เสียชีวิต


16 ธันวาคม พ.ศ.2489 – ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (United Nation-UN) ฐานะสมาชิกใหม่เป็นลำดับที่ 55
16 ธันวาคม พ.ศ.2510 – วันกีฬาแห่งชาติ
16 ธันวาคม พ.ศ.2316 – ชาวอาณานิคมอเมริกันประท้วงการออกพระราชบัญญัติภาษีใบชาของอังกฤษ โดยปลอมตัวเป็นอินเดียนแดงลอบลงเรือ 3 ลำของบริษัทอินเดียตะวันออกซึ่งจอดอยู่ที่ท่าเรือบอสตันและโยนใบชาทิ้งทะเลจนหมด เหตุการณ์นี้รู้จักกันในชื่อ “การเลี้ยงน้ำชาที่เมืองบอสตัน” (The Boston Tea Party) ซึ่งเป็นอีกเหตุการณ์ที่นำไปสู่สงครามประกาศอิสรภาพในอเมริกา


17 ธันวาคม พ.ศ.2313 – วันเกิด ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven) คีตกวีชาวเยอรมัน ที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี
17 ธันวาคม พ.ศ.2498 – วันสวรรคตของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระนามเดิมพระองค์เจ้าสว่างวัฒนา
17 ธันวาคม พ.ศ.2446 – สองพี่น้อง ออร์วิลและวิลเบอร์ ไรต์ (Orville & Wilbur Wright) นักบุกเบิกการบินของอเมริกัน ทำการบินโดยใช้เครื่องยนตร์โดยมีนักบินบังคับเป็นครั้งแรกของโลก


18 ธันวาคม พ.ศ.2515 – ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ได้สั่งให้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ บี-52 ไปทิ้งระเบิดโจมตีเวียดนามเหนือ
18 ธันวาคม พ.ศ.2536 – ดาวเทียมไทยคม (THAICOM) ดาวเทียมดวงแรกของไทย ถูกส่งขึ้นวงโคจร


19 ธันวาคม พ.ศ.2395 – วันเกิด อัลเบิร์ต ไมเคิลสัน (Albert Abraham Michelson) นักฟิสิกส์ผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกของอเมริกันที่ได้รับรางวัลโนเบล
19 ธันวาคม พ.ศ.2423 – วันประสูติ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระนามเดิมคือ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ หรือที่ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “เสด็จเตี่ย”
19 ธันวาคม พ.ศ.2461 –  โรเบิร์ต ริปลีย์ (Robert Ripley) เริ่มต้นคอลัมน์ Believe It or Not! ในหนังสือพิมพ์ New York Globe
19 ธันวาคม พ.ศ.2527 – อังกฤษ และจีน ร่วมลงนาม ณ กรุงปักกิ่ง ในการส่งมอบอาณานิคมฮ่องกง คืนให้


20 ธันวาคม พ.ศ.2510 – เปิด มหาวิทยาลัยขอนแก่น อย่างเป็นทางการ นับเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
20 ธันวาคม พ.ศ.2511 – จอห์น สไตน์เบ็ค (John Ernst Steinbeck) นักเขียนนวนิยายรางวัลโนเบลชาวอเมริกัน เสียชีวิต
20 ธันวาคม พ.ศ.2537 – พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต) รับรางวัล “การศึกษาเพื่อสันติภาพ” จากองค์การยูเนสโก ที่กรุงปารีส นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้


21 ธันวาคม พ.ศ.2443 – เปิดการเดินรถไฟจากพระมหานคร-นครราชสีมา ถือเป็นทางรถไฟสายแรกในประเทศไทย
21 ธันวาคม พ.ศ.2484 – พิธีลงนามในสัญญาร่วมวงศ์ไพบูลย์ ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ในสงครามมหาเอเชียบูรพา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
21 ธันวาคม 2525 – พิธีสมโภช “พระศรีศากยทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์” พระประธานพุทธมณฑล


22 ธันวาคม พ.ศ.2472 – คณะนักบินไทยนำ “เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ 2 บริพัตร” (บ.ท.2 –Boripatra) นำนวน 3 เครื่องขึ้นบินออกจากประเทศไทยไปเยือนประเทศอินเดีย
22 ธันวาคม พ.ศ.2532 – ประตูเบรนเดนเบิร์ก (The Brandenburg Gate) ในกรุงเบอร์ลิน ได้เปิดขึ้นอีกครั้งหลังจากปิดมาเป็นเวลานานกว่า 3 ทศวรรษ


23 ธันวาคม พ.ศ.2491 – พลเอก ฮิเดกิ โตโจ (Hideki Tojo) อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระหว่างปี 2484-2487 ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกแขวนคอ ในฐานะอาชญากรสงคราม
23 ธันวาคม พ.ศ.2497 – ภาพยนตร์เรื่อง “ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์” (20,000 Leagues Under the sea) เปิดฉายรอบแรก
23 ธันวาคม พ.ศ.2529 – เครื่องบิน Rutan Voyager Aircraft สามารถบินรอบโลกโดยไม่มีการหยุดพัก ใช้เวลาบิน 9 วัน 3 ชั่วโมง 44 นาที


24 ธันวาคม พ.ศ.2449 – รายการวิทยุรายการแรกออกอากาศ โดยศาสตราจารย์ เรจิเนลด์ เฟสเซสเดนท์ จากรัฐแมสซาชูเสจ ประเทศสหรัฐอเมริกา
24 ธันวาคม พ.ศ.2522 – Ariane 1 จรวดลำแรกของกลุ่มประเทศยุโรป ทะยานขึ้นสู่อวกาศเป็นผลสำเร็จ
24 ธันวาคม พ.ศ.2361 – วันเกิด เจมส์ จูล (James Joule) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้ที่ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกลและพลังงานความร้อน


25 ธันวาคม พ.ศ.879 – วันคริสต์มาส
25 ธันวาคม พ.ศ.2511 – วันเกิด คำสิงห์ ศรีนอก นักเขียนเรื่องสั้นเจ้าของนามปากกา ลาว คำหอม
25 ธันวาคม 2185 – (ค.ศ.1642-1727)วันเกิด เซอร์ ไอเแซค นิวตัน (Sir Isac newton) ชาวอังกฤษ ผู้ค้นพบกฎแรงโน้มถ่วง


26 ธันวาคม พ.ศ.2503–วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
26 ธันวาคม พ.ศ.2436 – วันเกิด เหมาเจ๋อตุง (Mao Tse-tung) หรือประธานเหมาอดีตประธานสาธารณรัฐประชาชนจีน
26 ธันวาคม พ.ศ.2525 – หน้าปกของนิตยสาร Time ฉบับ Man of the year โดยปกติจะเป็นภาพคน แต่ในปีนี้ ไทม์ยกปกให้กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์เป็นครั้งแรก ภาพปกนั้นก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer-PC)
26 ธันวาคม พ.ศ.2533 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของไทยว่า “ไทยคม” (Thaicom)
26 ธันวาคม พ.ศ.2547 – เกิดปรากฏการณ์ คลื่นยักษ์สึนามิ (Tsunami) ซัดเข้าถล่มชายฝั่งประเทศต่างๆ บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่อินโดนีเซีย ไทย พม่า ศรีลังกา อินเดีย จนถึงแอฟริกา ส่งผลให้เกิดผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณกว่า 3 แสนคน


27 ธันวาคม พ.ศ.2365 – วันเกิด หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis pasteur) นักเคมีผู้ยิ่งใหญ่ชาวฝรั่งเศส ผู้ค้นพบวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
27 ธันวาคม พ.ศ.2374 – ชาลส์ ดาร์วิน (Chales Darwin) ได้ออกเดินทางจากเมืองพลีมัธ ด้วยเรือบีเกิล (HMS Beagle) นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์สู่ทวีปอเมริกาใต้
27 8pt]James M.Barrie[/size]) นักเขียนบทละครชาวอังกฤษ เปิดแสดงครั้งแรก


28 ธันวาคม พ.ศ.2311 – สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ณ กรุงธนบุรี พร้อมทั้งสถาปนากรุงธนบุรีให้เป็นราชธานี
28 ธันวาคม พ.ศ.2438 – วันกำเนิดภาพยนตร์โลก


29 ธันวาคม พ.ศ.2454 – ดร.ซุน ยัตเซ็น (Sun Yat-sen) อดีตผู้นำทางการเมือง หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง และนักปฏิวัติของจีน ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีน (Republic of China)
29 ธันวาคม พ.ศ.2456 – มีการเริ่มการทดลอง กิจการบิน เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ บริเวณสนามม้าสระปทุม (สนามราชกรีฑาสโมสร) ซึ่งถือเป็นสนามบินแห่งแรกของไทย
29 ธันวาคม พ.ศ.2459 – นวนิยายเรื่อง A Portrait of the Artist as a Young Man ของเจมส์ จอยซ์ (James Joyce) ซึ่งเป็นนวนิยายแบบอิมเพรนชั่นนิสต์ เรื่องแรกของเขาออกวางจำหน่ายครั้งแรกที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา
29 ธันวาคม พ.ศ.2540 – รัฐบาลฮ่องกง สั่งกำจัดไก่บนเกาะนับล้านตัวเพื่อป้องกันการกระจายของโรคไข้หวัดนก (avian flu หรือ bird flu–H5N1) ที่สามารถแพร่ติดต่อจากสัตว์ (สัตว์ปีกโดยเฉพาะไก่) ถึงคนได้เป็นครั้งแรกที่ฮ่องกง


30 ธันวาคม พ.ศ.2408  – วันเกิดรัดยาร์ด คิปลิง นักประพันธ์ชาวอังกฤษคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล
30 ธันวาคม พ.ศ.2427 – วันเกิดนายพลฮิเดกิ โตโจ (Hideki Tojo) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
30 ธันวาคม พ.ศ.2498 – จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์สุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่ ต.บ้านกร่ำ อ.แกลง จ.ระยอง


31 ธันวาคม พ.ศ.2492 – วันเกิด สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของไทย
31 ธันวาคม พ.ศ.2057 – วลาดิมีร์ ปูติน (Vladimir Vladimirovich Putin) เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีรัสเซีย
31 ธันวาคม พ.ศ.2057 –  วันเกิดแอนเครียส วีเซลิอัส นักกายวิภาคชาวเบลเยี่ยมที่มีชื่อเสียง จนได้รับสมญาว่า “บิดาแห่งวิชากายวิภาค”
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2561 17:04:39 »


อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

25 ก.พ. 1932: “ฮิตเลอร์” ได้สัญชาติเยอรมันด้วยกระบวนการพิเศษ ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเผด็จการนาซีเกิดและถือสัญชาติออสเตรียมาโดยตลอด ก่อนสละสัญชาติเดิมทิ้งในปี 1925 ซึ่งในขณะนั้นเขาเป็นผู้นำพรรคสังคมนิยมแรงงานเยอรมัน (NSDAP หรือพรรคนาซี) แล้วและเพิ่งพ้นโทษจากการก่อรัฐประหารที่ล้มเหลว แต่ขณะเดียวกันเขาก็ยังไม่ได้สัญชาติเยอรมัน ทำให้เขากลายเป็นบุคคลไร้รัฐ

ฮิตเลอร์พยายามคว้าสัญชาติเยอรมันมานาน แต่เขาไม่ต้องการได้สัญชาติด้วยกระบวนการปกติแบบคนต่างด้าวทั่วไป ในปี 1930 สมาชิกพรรคนาซีรายหนึ่งได้วิ่งเต้นให้เขาได้ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำเมืองฮิลด์เบอร์กเฮาเซน (Hildburghausen) ในแคว้นธูริงเกีย (Thuringia) ของเยอรมนีซึ่งการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐย่อมทำให้เขาได้รับสัญชาติโดยอัตโนมัติ แต่เขาปฏิเสธเนื่องจากมองว่า การเป็นตำรวจในหมู่บ้านเล็กๆเป็นสิ่งที่ไม่สมฐานะ

ต่อมาสมาชิกนาซีในบรุนช์วิก (Braunschweig) ฐานเสียงสำคัญของนาซีได้ผลักดันให้เขารับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งแต่ล้มเหลวอีกเช่นกัน ก่อนที่จะหาตำแหน่งให้เขาได้สำเร็จในกองงานสำรวจที่ดิน

แต่ด้วยเหตุที่ฮิตเลอร์ต้องการได้สิทธิในการลงแข่งขันเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยด่วนที่สุด ทางรัฐบรุนช์วิกจึงได้แต่งตั้งให้เข้าเป็นผู้แทนรัฐประจำกรุงเบอร์ลินภายใต้การผลักดันของรัฐมนตรีมหาดไทยของรัฐบรุนช์วิกซึ่งเป็นผู้ช่วยคนสำคัญของฮิตเลอร์เอง

กระบวนการดังกล่าวถือเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและรวดเร็วที่สุดเพื่อให้เขาได้สัญชาติเยอรมัน โดยไม่จำเป็นต้องสละตำแหน่งผู้นำพรรคนาซี

อ้างอิง: นิวยอร์กไทม์ส (German Citizenship Acquired by Hitler) และ Spiegel สื่อเยอรมนี (Revoking The Führer’s Passport: Hitler May Be Stripped of German Citizenship)



นายพล เน วิน (General Ne Win) ในสมัยที่เรืองอำนาจ
และเป็นผู้ทำให้กองทัพพม่า กลับเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองอีกครั้ง

2 มีนาคม 1962: “เนวิน” ทำรัฐประหาร เปลี่ยนพม่าจาก “ผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก” เหลือแค่พอกิน

พม่าหลังได้รับเอกราช (มกราคม 1948) เต็มไปด้วยปัญหาความวุ่นวาย เมื่อ อองซาน ผู้นำในการต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศเสียชีวิตจากการลอบสังหาร อูนุได้ขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคสันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสม์ (AFPFL) แทน ในขณะที่พรรคตกอยู่ในสภาพที่แตกแยกทั้งเรื่องอุดมการณ์ และนโยบาย ทั้งยังต้องเผชิญปัญหาใหญ่อย่างความขัดแย้งทางเชื้อชาติกับชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ

แม้อูนุจะได้รับความไว้วางใจจากประชาชนให้เขาเข้ามาบริหารประเทศ แต่ปัญหาขาดเอกภาพภายในพรรค และการไม่ได้รับความร่วมมือจากข้าราชการประจำทั้งทหารและพลเรือน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากชนชั้นสูง ตรงกันข้ามกับนักการเมืองที่มาจากครอบครัวระดับกลางทำให้การขับเคลื่อนประเทศเป็นไปอย่างยากลำบาก

ขณะที่กองทัพพม่าเมื่อผ่านการปฏิรูปขนานใหญ่หลังสงครามกลางเมือง ขจัดทหารกะเหรื่ยงที่ตกทอดมากจากสมัยอาณานิคมออกไป ทำให้กองทัพเข้มแข็งเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น เมื่อถึงปี 1958 รัฐบาลของอูนุไม่อาจรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลไว้ได้ จึงต้องร้องขอกองทัพภายใต้การนำของนายพลเนวินให้เข้ามาเป็นรัฐบาลรักษาการอยู่ 2 ปี ก่อนจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 1960 ซึ่งอูนุชนะการเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลฟื้นฟูระบบรัฐสภาขึ้นมาอีกครั้ง

อย่างไรก็ดี ในวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ.1962 นายพลเนวินได้นำกำลังทหารพม่าเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลอูนุที่มาจากการเลือกตั้ง ล้มล้างรัฐธรรมนูญ แล้วตั้งสภาปฏิวัติซึ่งประกอบขึ้นด้วยสมาชิกที่เป็นทหารเกือบทั้งหมด ภายใต้นโยบายปฏิรูปแบบสังคมนิยม และการโดดเดี่ยวตนเองจากสังคมโลก จนได้รับฉายาว่า “ฤาษีแห่งเอเชีย” เนวินทำให้พม่ากลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกในยุคทศวรรษที่ 1980

แม้ในด้านการปกครองคณะทหารจะประสบความสำเร็จในการยึดกุมอำนาจได้นานกว่า 3 ทศวรรษ แต่เศรษฐกิจของพม่าต้องถดถอยอย่างรุนแรงจากประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลกกลายเป็นเพียงประเทศที่ผลิตข้าวได้เพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศเท่านั้น การค้าและอุตสาหกรรมด้านอื่นๆก็หยุดนิ่งทั้งหมด สินค้าอุปโภคบริโภคกลายเป็นของหายาก เกิดตลาดมืดไปทั่วจนไม่อาจควบคุมได้ ปัญหาการทุจริตยังทำให้ข้าราชการร่ำรวยขึ้น ขณะที่ปัญหาความเป็นอยู่ของประชาชนไม่ได้รับการเหลียวแล

อ้างอิง: Encyclopedia Britannica, พม่า ประวัติศาสตร์และการเมือง โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ประวัติศาสตร์พม่า โดย หม่องทินอ่อง

silpa-mag.com
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.822 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 21 มีนาคม 2567 17:48:04