[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 05:02:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระอริยจริยาวัตร “สมเด็จพระญาณสังวรฯ” ที่หาชมได้ยากมาก  (อ่าน 3028 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 สิงหาคม 2559 00:00:20 »

สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) กับ วงศ์พระกรรมฐาน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=43517

ที่นี่...พระของประชาชน
(พระอริยจริยาวัตรของสมเด็จพระสังฆราช)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=49462

พระอริยจริยาวัตร
“สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ”
อันทรงคุณค่า หาชมได้ยากมาก


ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : พระศรัณย์ ปญฺญาพโล
ที่พักสงฆ์อาพาธ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
: หนังสือ บวรธรรมบพิตร ฉบับประมวลพระรูป




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงทอดพระเนตรพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระราชปิตุจฉา
เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
ที่จัดแสดงอยู่ภายในพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร เขตพระราชฐานชั้นใน
พระราชวังบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๖

พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรนี้เคยถูกอัคคีภัยทั้งองค์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๑
จนในภายหลังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่
ตามแบบสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียน เพื่อใช้เป็นที่แปรพระราชฐาน
และใช้ในการรับรองพระราชอาคันตุกะ แล้วเสร็จเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๗

ในส่วนของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์นั้น ทรงเป็นพระราชธิดา
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
จึงทรงเป็นพระราชปิตุจฉา (ป้า)
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ ๙




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงทอดพระเนตรพระบรมสาทิสลักษณ์ล้นเกล้าทั้ง ๒ พระองค์
ภายในพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร เขตพระราชฐานชั้นใน
พระราชวังบางปะอิน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงทอดพระเนตร “พระแท่นที่ประทับ”
ภายในท้องพระโรงของพระที่นั่งวโรภาษพิมาน
เขตพระราชฐานชั้นนอก พระราชวังบางปะอิน
อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๖




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงกราบสักการะ “หลวงพ่อพุทธโสธร” หรือ “หลวงพ่อโสธร”
พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา
ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ (หลังเก่า) วัดโสธรวราราม วรวิหาร
ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๖


ประวัติ “หลวงพ่อพุทธโสธร” วัดโสธรวราราม วรวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=38565




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงนำพระเถรานุเถระกราบสักการะ “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร”
หรือ “พระแก้วมรกต” พระประธานในพระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ในพระบรมมหาราชวัง
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๐


ประวัติ “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร” หรือพระแก้วมรกต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19306




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงกราบสักการะ “พระพุทธเทวปฏิมากร” พระประธานในพระอุโบสถ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๖

พระพุทธเทวปฏิมากรนี้
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า (วัดคูหาสวรรค์)
มาประดิษฐานเป็นองค์พระประธาน ณ พระอารามแห่งนี้


ประวัติ “พระพุทธเทวปฏิมากร” วัดพระเชตุพนฯ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19303



สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงถวายพวงมาลัยสักการะ “พระไพรีพินาศ”
พระพุทธรูปศิลาปิดทอง ศิลปะศรีวิชัย ปางประทานพร
ในโอกาสที่เสด็จขึ้นคำบูชาและวางเครื่องสักการะพระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร
เนื่องในวันมาฆบูชา วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๕


“พิธีมาฆบูชา” เป็นธรรมเนียมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ ทรงตั้งขึ้นนับแต่ยังทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร
ด้วยเป็นพิธีบูชาที่ทรงพระราชดำริขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก
ซึ่งหลังจากพระองค์ทรงนำทำวัตรสวดมนต์แล้ว
จักเสด็จไปยังลานประทักษิณชั้นบนของพระเจดีย์
ทรงกล่าวคำบูชาพระเจดีย์แล้ววางเครื่องสักการะ
(โดยไม่มีการเวียนเทียนแต่อย่างใด)



เหตุใดจึงชื่อ “พระไพรีพินาศ” ?
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=44199



สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงกราบสักการะ “พระพุทธวชิรญาณ” พระพุทธรูปฉลองพระองค์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ภายในพระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศวิหาร
เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๕


รัชกาลที่ ๔ พระบูรพาจารย์ในการก่อตั้งวงศ์พระธรรมยุต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=45383



สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงกราบสักการะ “พระพุทธวชิรญาณ” พระพุทธรูปฉลองพระองค์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ภายในพระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศวิหาร
เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๕


รัชกาลที่ ๔ พระบูรพาจารย์ในการก่อตั้งวงศ์พระธรรมยุต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=45383



สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงกราบสักการะ “พระพุทธปัญญาอัคคะ” พระพุทธรูปฉลองพระองค์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค)
ภายในพระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๕

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๒
และทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ (พระอุปัชฌาย์)
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕



พระประวัติ “สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=26031



ณ พระตำหนักเดิม (พระตำหนักใหญ่) ชั้น ๒
ที่สถิตของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร - ภาพในอดีต

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงสักการะพระอัฐิและอัฐิของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
ภายในพระคูหาไม้แกะสลัก ด้านบนประดับลวดลายฉัตร ๕ ชั้น
พระคูหาหลังนี้เป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิร่วมกัน ๓ พระองค์ ได้แก่
๑. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๒
๒. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๓
๓. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๔

สำหรับอัฐิของ “พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)”
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๕
ประดิษฐาน ณ ม้าหมู่ด้านหน้าพระคูหาไม้แกะสลักดังกล่าว




ณ พระตำหนักเดิม (พระตำหนักใหญ่) ชั้น ๒
ที่สถิตของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร - ภาพในปัจจุบัน

 พระคูหาตรงกลาง : ประดิษฐานพระอัฐิ
๑. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๒ ร่วมกับ
๒. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๓

 พระคูหาเบื้องซ้าย : ประดิษฐานพระอัฐิ
๑. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๔ ร่วมกับ
๒. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๖

 พระคูหาเบื้องขวา : ประดิษฐานอัฐิ “พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)”
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๕

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2559 00:01:01 »



สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
กำลังเสด็จกลับภายหลังทรงนมัสการพระปฐมเจดีย์
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม
เนื่องในธรรมเนียมการนมัสการพระปฐมเจดีย์

ธรรมเนียมการนมัสการพระปฐมเจดีย์นี้
เป็นธรรมเนียมของ “คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย”
ที่สืบมาตั้งแต่ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ ยังทรงพระผนวช และทรงค้นพบพระปฐมเจดีย์
โดยสันนิษฐานว่าเป็นพระสถูปโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในแผ่นดินนี้
จึงทรงโปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระปฐมเจดีย์
พร้อมด้วยพระเถรานุเถระ ด้วยพระราชศรัทธาเลื่อมใส
ด้วยทรงสันนิษฐานเห็นความมหัศจรรย์ของพระสถูป
จึงสถาปนาให้เป็นพระมหาสถูปและเป็นพระเจดีย์สำคัญของแผ่นดิน

เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายสืบมา
ได้ทรงตั้งเป็นธรรมเนียมขึ้นโดยกำหนดไว้ว่า
ภายหลังเสร็จการรับกฐินแห่งวัดทั้งหลายแล้ว
ทรงนัดพระเถรานุเถระทั้งหลายไปนมัสการพระปฐมเจดีย์
สืบมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ได้ทรงกำหนดธรรมเนียมนี้ในวันแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี



ประวัติ “คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=47044

พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=39910



สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เสด็จฯ ออกทรงรับน้ำสรงพระราชทานฯ
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติพระชันษา ๘๙ ปี
เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕
ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น ๖ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์




“ห้องกระจก” ใต้กุฏิไม้หลังใหญ่
ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้า “พระตำหนักคอยท่าปราโมช”
คณะเหลืองรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร




พลโท Phone Myint รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและการศาสนา
พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตแห่งเมียนมาร์ และคณะ
เข้าถวายสักการะ ณ ห้องรับแขก พระตำหนักคอยท่าปราโมช ชั้นล่าง
วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔
ในคราวอัญเชิญเครื่องสมณศักดิ์ที่ “อภิธชมหารัฏฐคุรุ”
อันเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์เมียนมาร์
มาถวายแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
นับว่าทรงเป็นพระมหาเถระไทยองค์ที่ ๒ ที่ได้รับพระเกียรติยศเช่นนี้
จากคณะสงฆ์เมียนมาร์ สืบต่อจาก “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์”
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ที่ทรงได้รับการถวายเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐
ในคราวที่นายกรัฐมนตรีแห่งเมียนมาร์
ได้รับเชิญมาร่วมในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษในประเทศไทย


หมายเหตุ : สมัยก่อนเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงรับแขก
ที่ห้องรับแขก พระตำหนักคอยท่าปราโมช ชั้นล่างบ้าง
ที่ห้องกระจก ใต้กุฏิไม้หลังใหญ่ ด้านหน้าพระตำหนักคอยท่าปราโมชบ้าง
เมื่อประมาณหลังปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ เป็นต้นมา
แต่ละวันจะมีประชาชนเดินทางมาเข้าเฝ้ากราบนมัสการเป็นจำนวนมาก
เนื่องด้วยทั้งพระตำหนักฯ ชั้นล่าง และในห้องกระจกดังกล่าวคับแคบ
จึงเปลี่ยนมาทรงรับแขกที่บริเวณลานด้านหน้าพระตำหนักฯ ซึ่งเป็นพื้นที่โล่ง
เชื่อมต่อระหว่างพระตำหนักฯ กับกุฏิไม้หลังใหญ่ที่ชั้นล่างเป็น “ห้องกระจก”




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ทรงถวายสังฆทานทุกวันจันทร์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ณ ห้องรับแขก
พระตำหนักคอยท่าปราโมช ชั้นล่าง วัดบวรนิเวศวิหาร


ในภาพ : (ก) ประตูที่อยู่ด้านหลังของเจ้าประคุณสมเด็จฯ
คือ ประตูเข้าห้องทรงงานซึ่งใช้เป็นที่เสวยด้วย
(ข) ป้ายที่แขวนอยู่บนตู้เหนือพระเศียรของเจ้าประคุณสมเด็จฯ
คือ ป้ายลายพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ที่ทรงเขียนป้ายบอกให้พุทธศาสนิกชนรอก่อนเมื่อถึงเวลาเสวย
โดยทรงลงพระนามกำกับไว้ด้วย ความว่า “เมื่อถวายภัตตาหารแล้ว
ขอเชิญท่านสาธุชนทั้งหลายลงคอยข้างล่างจนฉันเสร็จ
ระหว่าง ๘.๐๐ น. - ๙.๓๐ น.
สิรินธร
๒๙ เมษายน ๒๕๒๕”




ความเรียบง่ายภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนา
เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ “สมเด็จพระญาณสังวร”
ทรงออกรับการปฏิสันถารจากพุทธศาสนิกชน ณ ห้องหน้ามุข
พระตำหนักคอยท่าปราโมช ชั้น ๒ วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕


“พระตำหนักคอยท่าปราโมช” วัดบวรนิเวศวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=46698




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงเป็นองค์ประธานในการประชุมมหาเถรสมาคม (มส.)
ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๓
โดยทรงนำกรรมการมหาเถรสมาคมและพระมหาเถรานุเถระ
นมัสการพระรัตนตรัยก่อนเริ่มการประชุม




ท้องพระโรงพระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร



ธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์อย่างหนึ่งในเทศกาลเข้าพรรษา
คือพระสงฆ์จะไปกราบขอขมาคารวะต่อพระเถระ
ที่อาจจะพลั้งเผลอล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจ ในรอบปีที่ผ่านมา
ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกเวลาหากมีความประมาท ก่อนอธิษฐานเข้าพรรษา
จึงมีธรรมเนียมปฏิบัติคือการกราบขอขมาคารวะต่อพระรัตนตรัย
จากนั้นก็จะมากราบขอขมาคารวะต่อพระเถระในอารามที่พระสงฆ์จะอยู่จำพรรษา
หลังเข้าพรรษาก็จะนิยมเดินทางไปกราบขอขมาคารวะ
ต่อพระเถระทั้งหลายตามวัดต่างๆ ขอให้ท่านอดโทษ ยกโทษให้
ดังนั้น หลังวันเข้าพรรษาตามอารามต่างๆ
ที่มีพระเถระผู้มีตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์อยู่
จึงมีพระภิกษุสามเณรจากวัดต่างๆ
เดินทางมากราบขอขมาคารวะต่อพระเถระ ณ อารามทั้งหลาย


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา ก็มักทรงเสด็จฯ ไปสักการะ
อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารทุกพระองค์ในวันเข้าพรรษา
หลังจากนั้นก็จะเสด็จฯ ไปสักการะพระอัฐิ
ของสมเด็จพระสังฆราชในอดีตทุกพระองค์
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส
ตลอดจนเสด็จฯ ไปสักการะ “พระเทพมงคลรังษี (หลวงพ่อดี พุทฺธโชติ)”
พระอุปัชฌาย์ในคราวอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย
ณ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
อยู่เป็นประจำทุกปีมิได้ขาด ในขณะเมื่อพระอนามัยยังอำนวย
ทั้งยังโปรดให้มีการสร้างสาธารณูปโภคอุทิศถวาย
เป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระสังฆราชในอดีตทุกพระองค์ด้วย
นับเป็นความกตัญญุตาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ


ประเพณีการขอขมาคารวะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=30082



สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงบิณฑบาต ณ วัดสีตลาราม (วัดน้ำหัก) ต.ระแหง อ.เมือง จ.ตาก
ในคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ภาคพายัพ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๔




ภิกษุ ซึ่งแปลว่า ผู้ขอนั้นเป็นผู้ขอโดยปรกติ
เดินอุ้มบาตรเข้าไปในละแวกบ้าน ด้วยอาการที่สำรวม
สำรวมตา สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ เดินเข้าไป
ผู้มีศรัทธาเกิดความเลื่อมใสก็ใส่บาตรถวาย
และผู้ถวายนั้นก็ไม่ได้ดูหมิ่นว่าเป็นยาจกวณิพก
แต่ว่าถวายด้วยความเคารพนับถือ
ถือว่าเมื่อใส่บาตรถวายพระแล้วก็ได้บุญ
เพราะฉะนั้น เมื่อพระอุ้มบาตรเข้าไป คนไทยเราจึงเรียกว่า พระมาโปรด
อันแสดงว่าใส่บาตรถวายด้วยความเคารพ และถือว่าได้บุญกุศล

การบิณฑบาต “อาการที่ขออย่างภิกษุ” ดั่งนี้
จึงไม่ใช่เป็นการขอที่เบียดเบียนใครให้เดือดร้อน
พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเปรียบว่า
เหมือนอย่างแมลงผึ้งที่เคล้าเอารสของดอกไม้เพื่อไปทำน้ำผึ้ง
โดยไม่เบียดเบียนดอกไม้ ไม่เบียดเบียนกลิ่นของดอกไม้
ไม่เบียดเบียนรสส่วนใดส่วนหนึ่งของดอกไม้ต้นดอกไม้
นำเอารสหวานไปเท่านั้น

มุนีผู้ที่จาริกบิณฑบาตไปในละแวกบ้านก็เช่นเดียวกัน
ไม่เบียดเบียนชาวบ้านให้เดือดร้อน
รับแต่ของที่เขาแบ่งมาใส่บาตรคนละเล็กคนละน้อย
โดยไม่ทำให้ผู้ที่ใส่บาตรต้องเดือดร้อน ต้องเสียหายแต่อย่างใด
เพราะโดยปกตินั้นเขาก็ปรุงอาหารไว้สำหรับบริโภคอยู่แล้ว
และโดยมากนั้นก็มักจะปรุงไว้มีส่วนเหลือ
เพราะฉะนั้น แม้เขาจะแบ่งมาใส่บาตรบ้าง
ก็ไม่ทำให้เขาต้องขาดอาหารบริโภค
แล้วก็ใส่บาตรกันหลายๆ คน คนละเล็กคนละน้อย


จาก...หนังสือพระไตรรัตนคุณ เรื่อง “ปาหุเนยโย” หนึ่งในพระสังฆคุณ
หนังสือที่ระลึกงานออกพระเมรุพระศพ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านพระไตรปิฎก วรรณกรรมบาลี
และภาษาบาลีเป็นอย่างดี ด้วยทรงพระนิพนธ์ตำราทางด้านนี้ไว้เป็นจำนวนมาก
พระเกียรติคุณของพระองค์จึงเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ
ดังที่พระองค์ทรงได้รับเลือกเป็นกรรมการรจนาพจนานุกรมภาษาบาลี
ที่มีชื่อว่า A Critical Pali Dictionary จาก
ราชบัณฑิตสมาคมทางวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์แห่งประเทศเดนมาร์ก
(The Royal Danish Academy of Sciences and Letters)
อันนับว่าเป็นพระเกียรติคุณอย่างสูงที่พระองค์ทรงได้รับประการหนึ่ง


ส่วนหนึ่งจาก...คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณในวโรกาส
ถวายปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศาสนาเปรียบเทียบ)
แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ของมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปีการศึกษา ๒๕๓๑




หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช มาร่วมถวายสักการะ
และเฝ้าอังคาส (ถวายอาหารพระ) แด่
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
เนื่องในงานพิธีสมโภชสุพรรณบัฏ สมเด็จพระราชาคณะ
และวันคล้ายวันประสูติครบ ๖๐ ปี วันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖


สมเด็จพระญาณสังวรฯ กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เมื่อครั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการปรับปรุงหลักสูตรวิชาพื้นฐาน
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ นั้น มีการเพิ่มรายวิชาอารยธรรมไทย
เป็นวิชาพื้นฐานทั่วไปสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ ทุกคน
ในที่ประชุมครั้งนั้น ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ ได้เสนอว่า
วิชาพื้นฐานทั่วไปสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ ในต่างประเทศนั้น
“...มักเอาอาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ที่มีความรู้มากมาสอนปี ๑
ไม่ใช่เอาอาจารย์เด็กไปสอนปี ๑...”

ในที่ประชุมจึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรกราบเรียน
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มาเป็นผู้สอน แม้ท่านจะกรุณารับ
แต่ก็ได้เสนอแนวทางเพิ่มเติมไว้ให้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน
โดยที่ท่านเป็นคนมาสอนทางด้านวัฒนธรรม
นาฏศิลป์ และวรรณคดีในตอนเริ่มต้น

ในส่วนของศาสนา ในครั้งแรกท่านจะไม่สอน
โดยท่านแนะนำให้อาราธนาเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
ซึ่งในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ
มาเป็นผู้บรรยายในส่วนของพระพุทธศาสนา
โดยท่านอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เป็นผู้นำคณาจารย์
ไปกราบเรียนเชิญด้วยตนเอง
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็บอกว่าท่านสอนได้ช่วงหนึ่ง
คือเป็นหลักพระพุทธศาสนาเท่านั้น
เรื่องอื่นๆ ขอให้อาจารย์คึกฤทธิ์ช่วยสอน

ครั้งนั้นจึงเป็นครั้งแรกที่มีการนิมนต์พระเถระผู้ใหญ่
มาเป็นผู้บรรยายในมหาวิทยาลัยฝ่ายโลก



จาก...หนังสือครูคึกฤทธิ์
โดย อัจฉราพร กมุทพิสมัย และสุนทรี อาสะไวย์
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
พิมพ์ในโอกาสครบรอบอายุ ๘๔ ปี วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๘
และหนังสือบวรธรรมบพิตร ฉบับประมวลพระรูป




รถยนต์... ก็ยังนับว่าไม่เหมาะ

ในการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มักใช้บริการรถรับจ้างสาธารณะ
ด้วยไม่โปรดที่จะรบกวนผู้อื่น หากเดินไปเองได้ ก็จะเดิน

บ่อยครั้งที่มีผู้มาอาราธนาไปบำเพ็ญกุศลที่บ้าน
ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดมากนัก
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็จะตรัสแก่เจ้าภาพว่า
“ไม่ต้องเอารถมารับนะ แล้วจะเดินไปเอง”

เมื่อคราวที่ต้องไปปฏิบัติหน้าที่พระอุปัชฌาย์
ประทานบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตร ณ วัดพุทธบูชา บางมด
เป็นประจำทุกปีก่อนเข้าพรรษา ก็โปรดที่จะเดินทางโดยรถแท็กซี่
จากวัดบวรนิเวศวิหารต่อหนึ่ง แล้วไปลงเรือหางยาวอีกต่อหนึ่ง
ลัดเลาะเรื่อยไปตามคลอง จนถึงวัดพุทธบูชา

ด้วยเหตุนี้ ผู้เคารพนับถือหลายคน
จึงพยายามที่จะถวายรถยนต์สำหรับทรงใช้ส่วนพระองค์
แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ ด้วยเหตุผลง่ายๆ
“ไม่รู้จะเอาไปเก็บไว้ที่ไหน”

อีกครั้งหนึ่ง คราวเกิดเหตุระเบิดขึ้นข้างพระตำหนัก
ในช่วงบ่ายขณะที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
กำลังสนทนาธรรมอยู่กับนางโยเซฟีน สแตนตัน*
ซึ่งโชคดีว่าไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
แต่เหตุระเบิดในครั้งนั้นทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาถวายอารักขา วันละ ๑ นาย
และโปรดให้รถยนต์หลวง (รยล.) มาประจำไว้ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
เพื่อถวายความสะดวกในการเสด็จไปปฏิบัติศาสนกิจยังสถานที่ต่างๆ

สำหรับกรณีของรถยนต์หลวงนั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับสั่ง
กับเจ้าหน้าที่ผู้รับรับสั่งสั้นๆ เพียงว่า
“ไม่สมควร”

เป็นอันว่าไม่ทรงรับไว้
เพียงแต่ขอรับพระราชทานใช้เป็นครั้งคราวเท่านั้น


หมายเหตุ : * นางโยเซฟีน สแตนตัน
คือ ภรรยาของนายเอดวิน เอฟ สแตนตัน
อดีตเอกอัครราชทูตอเมริกาประจำประเทศไทยคนแรก


หลวงพ่อชากับรถยนต์ (หนังสือลำธารริมลานธรรม)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=52037




พระเมตตาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไม่มีประมาณ
ปีพุทธศักราช ๒๕๒๑ เสด็จไปปฏิบัติศาสนกิจทางภาคอีสาน
ทรงแวะตามหมู่บ้านประทานของแจกแก่ชาวบ้านที่ประสบภัยพิบัติ


ในยามที่ประชาชนประสบภัยพิบัติต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ไฟไหม้ โรคระบาด ภัยร้อน ภัยแล้ง ภัยหนาวต่างๆ
ก็จะทรงขวนขวายในทันทีทั้งด้านปัจจัยสี่ ทั้งการเยียวยาจิตใจ
และบำรุงขวัญด้วยธรรมะ เพื่อเกื้อกูล ผ่อนหนักให้บรรเทาเบาลง
ทั้งที่พระองค์เองก็ใช่ว่าจะมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์นัก
แต่ละวันถูกรุมเร้าด้วยพระศาสนกิจตั้งแต่เช้าจรดค่ำ
บางคราวต้องเสด็จไปกิจนิมนต์ไกลโพ้นข้ามจังหวัด
ทว่าก็ไม่เคยแสดงอาการอ่อนล้า
ครั้นผู้ถวายงานใกล้ชิดกราบทูลให้ทรงผ่อนคลายหรือละเว้นเสียบ้าง
ก็จะทรงพระสรวลแต่เบาๆ พลางรับสั่งว่า
“เออ ! จะทำอย่างไรได้...ที่นี่เป็นพระของประชาชน”




วินัยกรรม ชีวิตก
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระโศภณคณาภรณ์
ทรงเป็นผู้ดำรงอยู่ในความไม่ประมาท
ด้วยทรงมีพระลิขิต “วินัยกรรม” หรือพระพินัยกรรม
ไว้ด้วยลายพระหัตถ์ของพระองค์เองลงบนกระดาษ ๑ แผ่น
จัดแจกบริขารทั้งปวงให้แก่สงฆ์ในอารามต่างๆ ดังปรากฏความว่า


บริกขารทั้งปวงก็ดี สิทธิเพื่อบริกขารทั้งปวงก็ดี ของข้าพเจ้า :
อยู่วัดบวรนิเวศ ถวายแด่ท่านเจ้าอาวาส


(ภายหลังเมื่อทรงครองวัด จึงขีดฆ่าออกแล้วลงพระนามกำกับไว้
ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ)

และพระกรรมการวัดบวรนิเวศ
อยู่ที่วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี
ถวายแด่ท่านเจ้าอาวาส
และพระเถระผู้รองลงมาอีก ๓ รูป วัดเทวสังฆาราม
นอกจากนี้ อยู่ที่ผู้ใดที่ไหน ให้แก่ผู้นั้นที่นั้น
ข้าพเจ้ามีความประสงค์แจ้งอยู่ในแบบวินัยกรรมชีวิตกนี้

พระโศภณคณาภรณ์
เขียนที่กุฏิคอยท่า วัดบวรนิเวศวิหาร
๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๒
เวลา ๒๓.๒๐ น.

ยืนยันตามนี้ พระโศภณคณาภรณ์
ยืนยันตามนี้ พระโศภณคณาภรณ์ ๒๒ เม.ย. ๒๔๙๖
,,______,, พระสาสนโสภณ ๒๕ ก.ค. ๒๕๐๙


พระวินัยกรรมนี้นอกจากจะแสดงความไม่ประมาทในการใช้ชีวิต
เนื่องด้วยทรงมีพระลิขิตตั้งแต่มีพระชนมายุได้ ๓๖ ปี
แล้วยังคงดำรงมั่นในเจตนารมณ์นี้ด้วยการลงพระนามกำกับอีก ๒ ครั้ง
ทั้งในปีพุทธศักราช ๒๔๙๖ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๔๐ ปี
และในปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๕๓ ปี
ในครั้งหลังนี้พระองค์ได้ทรงขีดทับข้อความในพระวินัยกรรม
ที่ยกบริขารในส่วนของวัดบวรนิเวศวิหารออก
เนื่องด้วยพระองค์ท่านดำรงสถานะเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว
จึงไม่จำเป็นต้องยกบริขารใดๆ ให้เจ้าอาวาสอีก
พระวินัยกรรมนี้ยังสะท้อนถึงหลักอนุสสติ ๑๐
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงพิจารณามรณานุสสติอยู่เนืองๆ
นับเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้ชิวิต
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับคนรอบข้างหากต้องจากโลกนี้ไป


จาก : หนังสือบวรธรรมบพิตร ฉบับประมวลพระรูป

จาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=51025
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สติ เหนือกรรม (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
เงาฝัน 1 2782 กระทู้ล่าสุด 16 สิงหาคม 2553 10:33:22
โดย 時々๛कभी कभी๛
อุเบกขา ให้เชื่อกรรมผลของกรรม (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 2 2685 กระทู้ล่าสุด 26 เมษายน 2555 06:32:35
โดย เงาฝัน
ผลกรรมดีและกรรมชั่วก็เป็นไตรลักษณ์ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 1774 กระทู้ล่าสุด 29 พฤษภาคม 2555 20:00:01
โดย เงาฝัน
มูลกรรมฐาน โดย สมเด็จพระญาณสังวรฯ
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 1699 กระทู้ล่าสุด 22 กรกฎาคม 2555 18:35:12
โดย เงาฝัน
ความริษยาพาโลกฉิบหาย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
ธรรมะจากพระอาจารย์
Compatable 0 1996 กระทู้ล่าสุด 12 มีนาคม 2556 10:24:13
โดย Compatable
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.842 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 09:06:06