[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 23:06:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ญาณ ๑๖  (อ่าน 5474 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1003


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 47.0.2526.111 Chrome 47.0.2526.111


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 28 มกราคม 2559 16:32:50 »

.



ญาณ ๑๖

ลำดับญาณ ๑๖ โดยสังเขป
 ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารู้จักแยกรูปแยกนามออกจากกัน คือรู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม เพราะรู้แจ้งชัดซึ่งรูปนาม
 ๒. ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารู้เหตุ รู้ปัจจัยของรูปนาม คือรู้ว่ารูปธรรม และนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อาศัยรวมกันอยู่
 ๓. สัมมสนญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามเป็นพระไตรลักษณ์ปรากฏแจ้งชัด ๑๕ % คือกำหนดยกรูปนามขึ้นพิจารณาให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
 ๔. อุทยัพพยญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความดับไปของรูปนาม พระไตรลักษณ์ปรากฏชัดเจนแจ่มแจ้ง ๙๐ % สันตติขาดจนเป็นเหตุทราบชัดว่า สิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นแล้ว ก็ล้วนแต่ต้องดับไปเป็นธรรมดา
 ๕. ภังคญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นเฉพาะความดับไปของรูปนาม คือ อุปาทะ ความเกิดขึ้น ฐิติ ความตั้งอยู่ มีอยู่ แต่ปรากฏไม่ชัดเจน เพราะวิปัสสนาญาณมีกำลังกล้าขึ้น รูปนามปรากฏเร็วขึ้น จึงเป็นเหตุให้พิจารณาเห็นชัดลงไปเฉพาะในส่วนแห่งความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ว่า สังขารทั้งปวงล้วนดับสลายไปทั้งสิ้น
 ๖. ภยตูปัฏฐานญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามโดยความเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่ต้องแตกสลายไปทั้งสิ้น
 ๗. อาทีนวญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนาม คือเมื่อเห็นรูปนามล้วนแต่ดับสลาย เป็นของน่ากลัวมาตามลำดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า รูปนามทั้งปวงล้วนแต่เป็นทุกข์ เป็นโทษ
 ๘. นิพพิทาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูปนาม คือเมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษของรูปนามแล้ว ย่อมเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่รื่นเริง เพลิดเพลิน หลงใหลในรูปนาม
 ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาปรารถนาอยากจะออก อยากจะหนี อยากหลุดพ้นไปจากรูปจากนาม เพราะพิจารณาเห็นทุกข์ เห็นโทษ และเกิดความเบื่อหน่ายในรูปนามที่ผ่านมา
 ๑๐. ปฏิสังขาญาณ ปัญญากำหนดกลับไปพิจารณาทบทวนพระไตรลักษณ์อีก เพื่อที่จะหาทางหลุดพ้นไปจากรูปนาม คือตั้งใจจริง ปฏิบัติจริง ไม่ย่อท้อ ใจหนักแน่นมั่นคง เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว สู้ตาย
 ๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาวางเฉยเป็นกลางในรูปนาม คือทราบชัดตามความเป็นจริงในรูปนามแล้วจึงเป็นผู้มีใจเป็นกลาง วางเฉยได้
 ๑๒. อนุโลมญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารูปนามที่เป็นไปตามลำดับอนุโลมญาณต่ำ อนุโลมญาณสูง อันเป็นเครื่องตัดสินใจว่าไม่ผิดแน่ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน โดยอาการของพระไตรลักษณ์ อาการใดอาการหนึ่ง
 ๑๓. โคตรภูญาณ ปัญญาที่โอนจากโคตรของปุถุชนเข้าสู่โคตรของพระอริยะ เพื่อจะหน่วงยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
 ๑๔. มรรคญาณ ปัญญาที่ปหานกิเลสให้เป็น สมุทเฉทปหาน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
 ๑๕. ผลญาณ ปัญญาที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่มรรคญาณปหานกิเลสแล้วมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
 ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ปัญญากำหนดพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ที่ยังเหลืออยู่ ตลอดถึงมรรค ผล และนิพพาน



ญาณที่ ๑
นามรูปปริจเฉทญาณปัญญา

นามรูปปริจเฉทญาณปัญญา กำหนดพิจารณารู้จักแยกรูปแยกนามออกจากกันอาจารย์ผู้สอบอารมณ์ถามเขาว่า “กำหนดง่ายไหม” ถ้าเขาตอบว่า “กำหนดง่าย” ก็แสดงว่าเขาโกหก เพราะการกำหนดบทพระกรรมฐานนั้นกำหนดยาก ถ้าเขาตอบว่า “กำหนดสบาย คิดก็ไม่คิด” ก็แสดงว่าคนนั้นสติหย่อน สติตามจิตไม่ทัน (เว้นแต่ได้ฌาน) (การไม่คิดมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ ๑.สติตามจิตไม่ทัน ๒.เข้าฌาน) ถ้าเขาว่าไม่คิด ควรถามเขาดูว่า “เวลาคนอื่นคุยกันได้ยินเสียงไหม ได้ยินเสียงดังมากน้อยขนาดไหนหงุดหงิดไหม ได้ยินเสียงดังๆ สะดุ้งตกใจหรือเปล่า” (ถ้าตกใจแสดงว่ายังไม่ได้ฌานแม้แต่ฌานเดียว) ถ้าเขาตอบว่า “กำหนดยาก” ก็เข้าล็อคของเราถามต่อไปอีกว่า “ท้องพองกับท้องยุบเป็นอันเดียวกันหรือไม่” การตอบไม่คงที่ก็มี วันนี้ตอบอย่างหนึ่ง พรุ่งนี้ตอบอีกอย่างหนึ่งก็มี ถ้าเขาตอบว่า “อาการพอง-ยุบเป็นอันเดียวกัน” แล้ว ก็ยกตัวอย่างขึ้นมา เช่น การเดินจงกรม กำหนดขวาย่าง-ซ้ายย่าง อันเดียวกันหรือไม่ ถ้าเขาตอบว่าอันเดียวกัน ถามต่อไปอีกว่า “เท้าขวากับเท้าซ้ายนี้ก้าวไปพร้อมกันหรือไม่”

ถามทางจิต “เวลากำหนดท้องพองท้องยุบเอาอะไรมากำหนด” ถ้าเขายังไม่รู้ให้ถามเขาว่า “คนตายพูดได้ไหม” ตอบว่า “ไม่ได้” ถามว่า “ไม่ได้เพราะอะไร” ตอบว่า “เพราะไม่มีจิต”ถามว่า “เวลากำหนดท้องพอง-ยุบนี้ ใจที่กำหนดท้อง พอง-ยุบ เป็นใจเดียวกันหรือไม่” ถ้าเขาตอบว่า “เป็นใจเดียวกัน” ถามว่า “แล้วใจบุญกับใจบาป ใจโลภ ใจโกรธ ใจหลง ใจเดียวกันหรือเปล่า” ใจกำหนดท้องพองท้องยุบต้องเป็นคนละขณะกันจึงจะใช่ สอบท้องพอง-ท้องยุบ ขวาย่าง-ซ้ายย่างเสร็จแล้ว ถ้ามีเวลามาก ก็สอบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สอบไปหมดทุกทางถ้าพื้นฐานของการปฏิบัติดี มานะ ทิฏฐิก็ลดลงไปด้วย ถ้าพื้นฐานไม่ดีไม่ค่อยได้ผล หนักๆ เข้าก็หาว่าอาจารย์สู้เราไม่ได้ เสียผู้เสียคนเกิดทิฏฐิวิปลาสไปก็ได้ ถ้ามานะ ทิฏฐิกล้า เจ็บปวดนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่กล้าสู้ ถ้ามานะ ทิฏฐิลดลง ไปธุดงค์ก็ได้ไม่กลัวตาย

ถามทางตา “สีขาวกับตาเป็นอันเดียวกันหรือไม่” ถ้าเขาตอบว่า “เป็นอันเดียวกัน” แล้วให้เอาผ้าปิดตาไว้ ถามเขาว่า “เห็นหรือไม่” ถ้าตอบว่า “เห็น” หยุดสอบแค่นั้น แต่อย่าบอกว่าเป็นคนละอันกันอย่างโน้นอย่างนี้ไม่ได้

ถามทางหู “หูได้ยินเสียงนกร้องไหม เสียงกับหูเป็นอันเดียวกันหรือไม่” ถ้าเขาตอบว่า “เป็นอันเดียวกัน” ถามว่า “คุณฟังเสียงวิทยุเทปอยู่ที่บ้านสนุกไหม เสียงวิทยุเทปติดหูมาไหม” ถ้าตอบว่า “ติด” ก็ถามว่า “ไหนลองฟังเสียงวิทยุเทปดูซิ” แล้วก็แนะให้สังเกตว่าขณะที่ฟังเสียงแล้วดีใจ เสียใจ กลุ้มใจมีหรือเปล่า แนะให้สังเกตกำหนดดูให้รู้

ถามทางจมูก “จมูกกับกลิ่นอันเดียวกันหรือไม่” ถ้าเขาตอบว่า “อันเดียวกัน” ถามว่า “กลิ่นติดจมูกมาหรือไม่”

ถามทางลิ้น “ลิ้นกับรสอันเดียวกันหรือไม่” ถ้าเขาตอบว่า “อันเดียวกัน” ถามว่า “รสเผ็ด รสเค็ม เป็นต้น ที่เกิดจากอาหารที่เราบริโภคติดอยู่ที่ลิ้นหรือไม่”

ถามทางกายสัมผัส “เสื่ออ่อนไหม” ถ้าเขาตอบว่า “อ่อน” ถามเขาว่า “อ่อนกับกายอันเดียวกันหรือไม่” ถ้าเขาตอบว่า “อันเดียวกัน” แล้วก็ถามว่า “สัมผัสอ่อนนั้นติดกายไปด้วยหรือเปล่า” สอบเสร็จเป็นลำดับๆ ไปในการสอบอารมณ์ ถ้ามีเวลามาก ให้ถามรูปกับนามควบคู่กันไป เช่น ถามตากับรูปและความรู้สึก ๓ อย่างนี้เป็นอันเดียวกันหรือไม่ตา+สี เกิดความรู้สึกขึ้น ให้ถามว่า “ตาเป็นรูปหรือเป็นนาม สีเป็นรูปหรือเป็นนาม ความรู้สึกเป็นรูปหรือเป็นนาม ตา สี และความรู้สึกทั้ง ๓ อย่างนี้ เป็นอันเดียวกันหรือไม่”หู+เสียง เกิดความรู้สึกขึ้น ฯลฯ จมูก+กลิ่น เกิดความรู้สึกขึ้น ฯลฯ ลิ้น+รส เกิด ความรู้สึกขึ้น ฯลฯ กาย+ผัสสะ เกิดความรู้สึกขึ้น ถามเขาว่า “กายเป็นรูปหรือเป็นนาม ผัสสะเป็นรูปหรือเป็นนาม ความรู้สึกเป็นรูปหรือเป็นนาม และกาย ผัสสะ และความรู้สึกทั้ง ๓ นี้เป็นอันเดียวกันหรือไม่” ถ้าเขาตอบถูก ก็เทศน์โปรดเขาต่อ เช่น การปฏิบัติธรรมนี้ต้องตั้งใจสำเหนียกรูปนามที่เกิดขึ้นให้เห็นชัดให้เห็นรูป กับนามเกิดขึ้นพร้อมกัน จึงจะใช้ได้ สิ่งเหล่าใดสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สิ่งเหล่านี้เป็นรูป (ลิ้นสัมผัสกับโอชารส)ถ้าผู้ถูกสอบอารมณ์ถามขึ้นว่า “ผมตอบถูกไหม” พึงตอบเขาไปว่า “จะถูกหรือไม่ไม่เป็นไรหรอก อาจารย์ต้องการทราบถึงความรู้สึกในเวลานี้เท่านั้น” สอบอารมณ์ขั้นต่อไป คือสอบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับขันธ์ ๕ หมายความว่า ขณะที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องโผฏฐัพพะ ใจรู้ธรรมารมณ์ การกระทบกันของอายตนะเหล่านี้แต่ละครั้ง ขันธ์ ๕ (ย่อก็คือ รูปนาม) ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกันทุกครั้ง เช่นตาเห็นรูปคน ตาและรูปนั้นจัดเป็นรูปขันธ์ เมื่อเห็นคนแล้วรู้สึกดีใจ เสียใจ หรือเฉยๆ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ถ้าจำได้ว่าคน จัดเป็นสัญญาขันธ์ ถ้าใจปรุงแต่งให้รู้ว่าเป็นคนดีหรือว่าเป็นคนไม่ดี จัดเป็นสังขารขันธ์ และการเห็นเป็นจิตดวงหนึ่ง เรียกว่า จักขุวิญญาณจิต จัดเป็นวิญญาณขันธ์หูกับเสียง จัดเป็นรูปขันธ์ เมื่อได้ยินเสียงแล้วรู้สึกดีใจ เสียใจ หรือเฉยๆ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ความจำเสียงได้ จัดเป็นสัญญาขันธ์ ถ้าใจปรุงแต่งให้รู้ว่าเป็นเสียงดีหรือว่าเป็นเสียงไม่ดีจัดเป็นสังขารขันธ์ และการฟังเป็นจิตดวงหนึ่ง เรียกว่าโสตวิญญาณจิต จัดเป็นวิญญาณขันธ์จมูกกับกลิ่น จัดเป็นรูปขันธ์ เมื่อได้กลิ่นแล้วรู้สึกดีใจเสียใจ หรือเฉยๆ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ความจำกลิ่นได้ จัดเป็นสัญญาขันธ์ ถ้าใจปรุงแต่งให้รู้ว่าเป็นกลิ่นดีหรือว่าเป็นกลิ่นไม่ดี จัดเป็นสังขารขันธ์ และการดมกลิ่นเป็นจิตดวงหนึ่ง เรียกว่า ฆานวิญญาณจิต จัดเป็นวิญญาณขันธ์ลิ้นกับรส จัดเป็นรูปขันธ์ เมื่อได้รับรสแล้วรู้สึกดีใจ เสียใจหรือเฉยๆ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ความจำรสได้ จัดเป็นสัญญาขันธ์ ถ้าใจปรุงแต่งให้รู้ว่าเป็นรสดีหรือว่าเป็นรสไม่ดี จัดเป็นสังขารขันธ์ และการลิ้มรสเป็นจิตดวงหนึ่ง เรียกว่า ชิวหา วิญญาณจิต จัดเป็นวิญญาณขันธ์กายกับโผฏฐัพพะ จัดเป็นรูปขันธ์ เมื่อกายถูกต้องโผฏฐัพพะแล้วรู้สึกดีใจ เสียใจ หรือเฉยๆ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ความจำการถูกต้องโผฏฐัพพะได้ จัดเป็นสัญญาขันธ์ ถ้าใจปรุงแต่งให้รู้ว่าการถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นดีหรือไม่ดี จัดเป็นสังขารขันธ์ และความถูกต้องเป็นจิตดวงหนึ่ง เรียกว่า โผฏฐัพพวิญญาณจิต จัดเป็นวิญญาณขันธ์ใจกับธรรมารมณ์ หทัยวัตถุ จัดเป็นรูปขันธ์ ธรรมารมณ์เป็นนาม เมื่อใจถูกต้องกระทบอารมณ์ เกิดความรู้สึกดีใจเสียใจ หรือเฉยๆ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ความจำการกระทบอารมณ์นั้นได้ จัดเป็นสัญญาขันธ์ การปรุงแต่งใจให้รู้ว่าอารมณ์นั้นดีหรือไม่ดี จัดเป็นสังขารขันธ์ การรับรู้อารมณ์เป็นจิตดวงหนึ่ง เรียกว่ามโนวิญญาณจิต จัดเป็นวิญญาณขันธ์

ถ้าไม่มีสติกำหนด ขันธ์ ๕ ไม่เกิด ถ้ารูปนามขันธ์ ๕ ไม่ชัด มานะ ทิฏฐิจะแรงกล้ามาก เราจะต้องแก้ด้วยวิธีพูดให้เขาเจ็บใจมากๆ แล้วความโกรธก็จะเกิดขึ้น เมื่อความโกรธเกิดขึ้นแล้ว สมาธิก็ลดลงทันที สภาวะต่างๆ ช่วงนั้นจะหายไป แล้วเขาก็จะเกิดความรู้สึกผิดชอบชั่วดีได้ ถ้ารูปนามขันธ์ ๕ ชัด ตายก็ยอมตาย ขาขาดเอาคางเกาะไป เมื่อรูปนามชัด จะเห็นว่าร่างกายนี้ไม่มีอะไรดี มีแต่รูปนามเท่านั้น บางท่านจะไม่ยอมเรียกชื่อตนเอง เพราะเห็นแต่รูปแต่นามเท่านั้น ใช้อนัตตาแทนชื่อตัวเองบ้างญาณนี้อย่าปล่อยให้ผ่านเร็วมากนัก ให้ใจเย็นๆ สอบให้ละเอียดๆ ถ้าจะไปเพิ่มบทพระกรรมฐานเข้าไป จะเกิดความฟุ้งซ่าน ถ้าผ่านแล้วก็เพิ่มบทจงกรมเข้าไปอีก ญาณจะผ่านช้าหรือเร็วแล้วแต่บารมีญาณที่ ๑ ถ้าตายในขณะที่อยู่ในญาณ หรือเวลาที่จะตาย เรามีสติกำหนดท้องพอง ท้องยุบ ภาวนาพองหนอ ยุบหนอ เวลาตายจะไม่ไปสู่อบายภูมิ ๑ ชาติ ถ้าไม่ประมาท เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา ก็จะเป็นสัมมาทิฏฐิ  


นามรูปปริจเฉทญาณ จบ


-www.watpit.org-

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 มกราคม 2559 16:36:36 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1003


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 48.0.2564.97 Chrome 48.0.2564.97


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 29 มกราคม 2559 16:04:10 »

.

ญาณที่ ๒
ปัจจยปริคคหญาณ

ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารู้เหตุรู้ปัจจัยของรูปนาม คือรู้ว่ารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อาศัยรวมกันอยู่

อาจารย์ผู้สอบถามว่า “เวลากำหนดท้องพอง ท้องยุบกำหนดยากไหม กำหนดยากเป็นอย่างไร” อาการของญาณนี้ เป็นต้นว่า เวลาบริกรรมกำหนดว่าพอง แต่ท้องกลับยุบลงไปเวลาบริกรรมกำหนดว่ายุบ แต่ท้องกลับพองขึ้นมา และถามการเดินจงกรมด้วยว่า “กำหนดยากไหม ทันปัจจุบันหรือเปล่า” ถามดูอาการพอง อาการยุบมีกี่ระยะ ถ้าตอบมี ๒ ระยะ ให้ได้ระยะใดระยะหนึ่งก็ให้ได้บางครั้งไม่เห็นอาการพอง-ยุบ ต้องถึงกับเอามือไปดันไปจี้ถึงเห็นก็มี นั่งภาวนาไปๆ มือดีดผึง นั่งภาวนาไปๆ สัปหงกไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา สะดุ้งกระโดดไปข้างหน้า สะดุ้งหงายไปข้างหลัง เป็นต้น

โรคภัยไข้เจ็บที่หายนานแล้วกลับเกิดมาอีก นี้คือสภาวะของญาณนี้ ให้ถามว่ากำหนดได้ไหมเป็นตัวยืน ส่วนอาการอื่นเป็นเพียงตัวประกอบ ถ้าเขาทำได้แล้วให้เทศน์เรื่องเหตุปัจจัยของขันธ์ ๕ และอาการเกิดอาการดับของรูปนามทุกอย่างมีเหตุปัจจัยเป็นแดนเกิด

อาการเกิดของรูปนาม
รูปเกิดจากอวิชชา ตัณหา กรรม อาหาร และความเกิดขึ้นของรูปอย่างเดียว เช่น อยากเกิดเป็นคน เป็นตัณหา รักษาศีลเป็นกรรม แล้วก็ปรนเปรอด้วยอาหาร
เวทนาเกิดจากอวิชชา ตัณหา กรรม ผัสสะ และความเกิดขึ้นของเวทนาอย่างเดียว
สัญญาเกิดจากอวิชชา ตัณหา กรรม ผัสสะ และความเกิดขึ้นของสัญญาอย่างเดียว
สังขารเกิดจากอวิชชา ตัณหา กรรม ผัสสะ และความเกิดขึ้นของสังขารอย่างเดียว
วิญญาณเกิดจากอวิชชา ตัณหา กรรม ผัสสะ และความเกิดขึ้นของวิญญาณอย่างเดียว

อาการดับของรูปนาม
รูปดับไปเพราะอวิชชา ตัณหา กรรม อาหารดับไป และความดับไปของรูปอย่างเดียว
เวทนาดับไปเพราะอวิชชา ตัณหา กรรม ผัสสะดับไปและความดับไปของเวทนาอย่างเดียว
สัญญาดับไปเพราะอวิชชา ตัณหา กรรม ผัสสะดับไปและความดับไปของสัญญาอย่างเดียว
สังขารดับไปเพราะอวิชชา ตัณหา กรรม ผัสสะดับไปและความดับไปของสังขารอย่างเดียว
วิญญาณดับไปเพราะอวิชชา ตัณหา กรรม ผัสสะดับไปและความดับไปของวิญญาณอย่างเดียว

รวมอาการของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดพร้อมกัน ๒๕ ดับพร้อมกัน ๒๕ รวมทั้งหมดเกิดดับ ๕๐ (อาการเกิดดับก็คือการเปลี่ยนแปลงของรูปนามนั่นเอง)

ผู้อยากตาย ถ้าจะตายก็ให้ความโลภ ความโกรธ ความหลงตายให้หมดเสียก่อน หรือตายไม่หมด ตายเสียครึ่งหนึ่งก็ยังดี หลวงพ่อไม่ห้าม ทำไมจึงอยากตาย ก็เพราะมันเป็นทุกข์มาก เออ...คนรู้จักทุกข์นี้เป็นผู้มีปัญญา เมื่อเราเป็นคนมีปัญญาแล้ว เราก็หาสาเหตุและวิธีแก้ให้ได้สิ

ผู้หญิงสาวมีธรรมข้อหนึ่งที่เท่าเทียมกันกับภิกษุสามเณร คือการรักษาพรหมจรรย์ของตนเองให้บริสุทธิ์ เกิดเป็นผู้หญิงนี่ดีแล้วได้รักษาธรรม

สำหรับผู้ไม่อยากตาย ถ้าเจ็บปวดมากให้อธิษฐานอนิมิตตเจโต พร้อมทั้งอธิษฐานให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บผู้ได้ญาณที่ ๒ นี้เรียกว่าจุลโสดาบัน ไม่ไปสู่อบายภูมิ ๒-๓ ชาติเป็นอย่างน้อย เมื่อไปเกิด ก็เป็นสัมมาทิฏฐิ



ปัจจยปริคคหญาณ จบ


www.watpit.org-
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1003


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 48.0.2564.97 Chrome 48.0.2564.97


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2559 12:49:06 »


ญาณที่ ๓
สัมมสนญาณ

ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามเป็นพระไตรลักษณ์ คือกำหนดยกรูปนามขึ้นพิจารณาให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน

ให้อาจารย์ผู้สอนถามทวนหลังก่อนว่า “กำหนดดูอาการ พอง-ยุบ ชัดเจนดีไหม พอง-ยุบ นี้มีกี่ระยะ” เมื่อเราถามเขา บางคนก็นั่งคิดก่อน บางทีก็บอกว่าไม่ได้สังเกต ถ้าเขาไม่ได้สังเกตต้องเตือนให้เขาสังเกต บางคนตอบออกมาเลยว่าเป็น ๓ ระยะ คือ ต้นพอง กลางพอง สุดพอง และถามว่า “เวลากำหนดพองยุบ อาการฝืดๆ แน่นๆ จนกำหนดไม่สะดวก มีไหม” บางท่านก็พูดขึ้นมาเอง และบางท่านไม่ยอมปฏิบัติต่อเกรงว่าจะตาย หรือได้รับอันตรายจากการปฏิบัติ (อาการเหล่านี้ ถ้าเกิดขึ้นมานิดเดียวก็หายไป เช่น อาการพอง-ยุบฝืดๆ แน่นขึ้นๆ แล้วหายไป ไม่สัปหงก เป็นญาณที่ ๓ ถ้าฝืดๆ แน่นขึ้นๆ แล้วสัปหงกลงไป เป็นญาณที่ ๔) เหล่านี้เป็นอาการของทุกขัง นอกจากอาการฝืดและเร็วแล้ว มีอะไรอีกบ้างไหม เวลาเรากำหนดดูอาการพอง-ยุบไปๆ อาการพอง-ยุบเล็กลงๆ เท่ากับเส้นด้ายเหมือนใจจะขาดมีไหม (เมื่อเล็กเข้าๆ แล้วหายไป อยู่ในญาณที่ ๓ แต่ถ้าเล็กเข้าๆ แล้วสัปหงกไป นี้แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๔) สิ่งเหล่านี้เป็นอาการแสดงชัดของอนัตตา อนัตตาปรากฏชัด

นักปฏิบัตินี้ส่วนมากติดอยู่ในญาณที่ ๓ นี้ เพราะญาณนี้เป็นน้ำหวานทำให้ยึดมั่นถือมั่น

ถามเรื่องนามทางใจ เช่นถามว่า “คิดมากหรือเปล่า” หรือปกติบางครั้งเขาก็บอกมาเองว่าคิดมาก ๕ นาทีนี้คิดเป็นร้อยๆ เรื่อง คิดแต่เรื่องจะทำบุญ ทำทาน คิดมากจนผิวคล้ำ (ถ้าต้องการให้หยุดคิด ต้องทำให้สมาธิอ่อนกำลัง เช่น พูดให้เจ็บใจเป็นต้น) ถามว่า “เวลาคิดมากนี้กำหนดไหมว่ามันเริ่มคิดขณะต้นพอง กลางพอง หรือสุดพอง และมันหยุดคิดและเปลี่ยนเรื่องคิดขณะไหน ขณะต้นพอง กลางพอง หรือสุดพอง” ให้สังเกต เดินจงกรมก็เหมือนกัน ให้รู้และพยายามสังเกตว่าเราคิดขณะไหน ขณะยก ย่าง เหยียบ และเปลี่ยนเรื่องคิดหยุดคิดขณะไหน ให้พยายามสังเกตให้รู้ พยายามจำให้ได้ เวลาเดินจงกรม ถ้าคิดมากต้องให้หยุดกำหนดที่จิตเสียก่อนว่า “คิดหนอๆๆ” จี้ลงตรงหทัยวัตถุ อาการคิดมากนั้นเป็นเพราะจิตใจของเราก็เป็นพระไตรลักษณ์ได้เหมือนกัน อาการเหล่านี้อยู่ในญาณที่ ๓ อุปกิเลส ๑๐ ประการจะเกิดขึ้นในญาณนี้

อาจารย์ผู้สอนถามว่า “เวทนามีไหม ได้กำหนดเวทนาไหม กำหนดกี่ครั้งจึงจะหาย หรือไม่หายเลย หรือยิ่งปวด” ถ้าอยู่ในญาณนี้กำหนดไม่หาย บางครั้งแทนที่จะปวดขาข้างล่างกลับปวดขาข้างบนก็มี เห็นนิมิต เช่น ป่าไม้ ภูเขา แม่น้ำ โบสถ์ ฯลฯ สภาวะของญาณนี้ ถ้าเป็นพระแก่ หลวงปู่ หลวงตา จะเห็นบุคคลนั้นบุคคลนี้เอาของมาถวาย บางครั้งฉันไปแล้วก็มี แถมยังกลัวตายด้วย เพราะคิดว่าเราฉันของผี ถ้าเป็นเช่นนี้ให้เขากำหนด (ถ้ากำหนด ๗-๘ ครั้งหาย แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๓ ถ้ากำหนด ๒-๓ ครั้งหาย อยู่ในญาณที่ ๔) และญาณนี้มีอาการพยักหน้า สั่นศีรษะ เป็นสภาวะตายตัว


อุปกิเลสที่เกิดขึ้นในญาณที่ ๓
๑.โอภาส แสงสว่าง สอบถามว่า “นั่งไปมีแสงสว่างไหม” เช่นเท่าแสงตะเกียง เท่าตารถยนต์ ตารถไฟ พุ่งออกจากตัวเรา พุ่งจากด้านนอกมาหาตัวเราบ้าง ถูกตัวเราล้มไปบ้างก็มี แสงสว่างพุ่งออกจากตาจากศีรษะ บางครั้งก็เห็นอสุภะชัดเจนแจ่มแจ้ง มองเห็นทะลุเข้าไปในร่มผ้าก็มี นั่งอยู่ในห้องเห็นพระปฐมเจดีย์ จนถึงอเมริกา ฯลฯ เป็นต้น บางรูปปิดประตูไว้เหมือนคนมาเปิดประตูออก บางรูปนั่งอยู่ในห้องมืดๆ เกิดแสงสว่างจนสามารถมองเห็นตัวเอง เดินจงกรมตอนเช้าเงาน่าจะไปทางทิศตะวันตก แต่กลับมาอยู่ทางทิศตะวันออก คือเงากลับไปอยู่ด้านตรงกันข้าม (ถ้าแสงเท่ากับแสงหิ่งห้อย ตารถยนต์ ตารถไฟ นี้แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๓ สว่างมากเหมือนดวงเดือน ดวงจันทร์ ตะเกียงเจ้าพายุ แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๔)

๒.ปีติ ความอิ่มเอิบใจ ภาคภูมิใจ ความดื่มด่ำ เป็นอาหารของจิตใจ จะปฏิบัติธรรมต้องมีปีติเกิดขึ้นก่อน ถ้าไม่มีปีติเกิดขึ้นก่อน ปฏิบัติไม่ได้


การไม่ฉันอาหารอยู่ได้
การที่จะไม่ฉันอาหารอยู่ได้เป็นนานๆนั้น ต้องมีอุบายคือต้องอธิษฐานจิตว่า “ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป ๓๐ นาที พร้อมกันนี้ขอให้เกิดปีติธรรมเป็นโอชะหล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจของข้าพเจ้า ให้มีความกระชุ่มกระชวย กระฉับกระเฉง พร้อมนี้ขอโรคภัยไข้เจ็บอย่าได้เกิดมีขึ้นแก่ข้าพเจ้าเลย” วันหนึ่งทำประมาณ ๑-๓ ครั้ง เช้า-เที่ยง-เย็น เวลาอดอาหารไม่ให้ฉันนั้นอัดลม น้ำนม เพราะจะทำให้ท้องร่วง แต่น้ำเปล่านี้ต้องฉันให้มากๆ ถ้าได้ฉันน้ำอ้อย จะรู้สึกเย็นไปตามร่างกายอยู่ได้ ๓ เดือน ผลเสียเวลาเลิก จะป่วยก็ป่วยตรงนี้ เวลาเลิกให้ฉันข้าวต้ม ฉันของอ่อนๆ ก่อน แต่อย่าฉันมากและอย่าฉันข้าวนึ่ง ข้าวเหนียว และของที่ย่อยยาก วันแรกฉันน้อยๆ ก่อน แล้วค่อยเพิ่มขึ้นๆ อย่าอดน้ำเป็นอันขาด ไม่ถึง ๗ วันตาย

หลวงพ่อขอรางวัลในการบวชตลอดชีวิต ๓ อย่าง คือ
๑.ดำดินได้
๒.ย่อแผ่นดินได้
๓.เดินบนน้ำได้

โอภาสกับปีติเกิดพร้อมกัน จะเป็นอภิญญาน้อยๆ นึกอะไรจะเป็นไปตามความคิด เช่น อยากจะทราบว่าในอดีตชาติ ใครเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นบุตร ภรรยา ครูบาอาจารย์ เป็นต้น ก็สามารถที่จะทราบได้ โอภาสกับปีติเกิดพร้อมกันเล่นอภิญญาได้ ฉันข้าวเผื่อคนอื่นก็ได้ เช่น อธิษฐานว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ข้าพเจ้าฉันข้าว ๑ คำ ขอให้โยมคนนั้นอิ่ม ๒ คำ หรือว่าขอให้โยมคนนั้นอิ่มเหมือนข้าพเจ้าด้วยเถิด” เอาผ้ามัดตา อ่านหนังสือก็ใช้ตัวนี้ ไม่ได้เอาพวกจบสมาบัติมาหรอกอธิษฐานให้ผู้อื่นหัวเราะ ร้องไห้ ยืนตากแดด อธิษฐานสะกดจิตเอาเงิน รถ ทรัพย์สินต่างๆ ฯลฯ ตามต้องการ

ปีติมี ๕ อย่าง คือ ขุททกาปีติ ขณิกาปีติ โอกกันติกาปีติ อุพเพงคาปีติ ผรณาปีติ

ถ้าเป็นจำพวกสีต่างๆ
   - ขุททกาปีติ (ปีติเล็กๆ น้อยๆ) จะเห็นเป็นเหมือนสีขาวคล้าย ปุยฝ้าย
   - ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ) จะเห็นเป็นสีแดงหรือแสงอาทิตย์ แรกอุทัย
   - โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นระลอกหรือเป็นพักๆ) จะเห็นเป็นสีไข่มุก
   - อุพเพงคาปีติ (ปีติโลดโผน) จะเห็นเป็นสีเหลืองอ่อนดอกผักตบ
   - ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน) จะเห็นเป็นสีคราม สีเขียวตองอ่อน สีแก้วมรกต สีน้ำเงิน

ถ้าเป็นจำพวกอื่นๆ เช่น
   - ขุททกาปีติ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้ขนลุก น้ำตาไหล ตัวชา ตัวใหญ่ขึ้นเต็มห้องก็มี ตัวเล็กลงๆ มากๆ ก็มี ฟันยาว แขนยาว ขายาว ฯลฯ
   - ขณิกาปีติ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะเป็นเหมือนฟ้าแลบ เหมือนขีดไฟแช็คที่ไม่ติด มีแต่แสงแลบแปลบๆ เหมือนตัวไรมาไต่ตามหน้า จะเข้าหู หรือแมลงค่อมทอง (แมลงเม่า) ไต่ตามตัว
    - โอกกันติกาปีติ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ทำให้ตัวไหว ตัวโยกโคลง เอน นั่งไม่ตรง เวลาปฏิบัติต้องช่วยดันไว้จึงจะได้สมาธิมีอาการไหว เช่น ไหวไปตามตัว เช่น แขนไหวดิ๊กๆ หรือกล้ามเนื้อบางส่วนกระตุกดิ๊กๆ
    - อุพเพงคาปีติ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้กายสูงขึ้นไปถึงครึ่งฟ้า มองเห็นจังหวัดโน้นจังหวัดนี้ มองเห็นหมด ตัวเบาตัวลอย เวลานั่งนี้ ตัวค่อยๆ ลอยขึ้นไปๆ จรดขื่อเรือนแล้วลอยลงมาเป็นอยู่อย่างนี้ ถ้าประคองจิตไม่อยู่จะลอยตัวขึ้นอย่างแรงไปกระแทกเข้ากับขื่อเรือน ตกลงมากระแทกพื้นอย่างแรงก็มี เกิดอาการลงท้องถ่ายเป็นโลหิต ผงะไปด้านหน้าบ้าง ด้านหลังบ้าง ด้านซ้ายบ้าง ด้านขวาบ้าง เหมือนมีคนมาจับคอหมุนมักเคี้ยวปากเปล่า โดยเฉพาะคนแก่ที่กินหมาก สำหรับคนแก่ผู้เฒ่า แม้จะตั้งใจเดินจงกรมให้ตรง ก็ไม่สามารถจะเดินให้ตรงได้ กายกระตุก ยกมือ ยกเท้า สั่นมือ สั่นเท้า จิตอาจเกิดขึ้นหลอกพร้อมก็มี
   - ผรณาปีติ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้เย็นซาบซ่านทั่วสรรพางค์กาย ห่มผ้าก็ไม่อุ่น เหมือนปลาไหลชอนเข้าเท้าเย็น วูบถึงศีรษะ ชอนเข้าศีรษะเย็นวูบลงไปถึงเท้าก็มี บางท่านเกิดมากมายหลายอย่าง บางท่านเกิดน้อย เกิด ๑-๒ อย่างก็ให้ได้

๓.ปัสสัทธิ ความสงบเย็น เมื่อปัสสัทธิเกิดขึ้นแล้วบางท่านมีอาการคล้ายกับเข้าผลสมาบัติ แต่หูยังได้ยินอยู่สงบเงียบเข้าไป สมาธิก็ดี จำอารมณ์ต่างๆ ได้สบาย สมองปลอดโปร่ง คิดอะไรได้หมด แต่งกาพย์แต่งกลอนเก่ง เทศน์ ๓ วันไม่จบ (หลวงพ่อเทศน์ ๗ วันยังไม่จบเลย) คิดว่าจะไปโปรดโยมพ่อโยมแม่ เพียง ๑ วันเท่านั้น ก็สามารถที่จะทำได้ แต่ถ้าเวลาสภาวะตัวนี้สงบแล้ว ทำให้ฆ่าตัวเองตายได้ บุคคลผู้สูบบุหรี่ กินหมาก มาถึงตรงนี้จะหยุดเอง

๔.สุข ความสุขสบายใจ เมื่อสุขเกิดขึ้นแล้ว ทำให้เพลิดเพลินสนุกสนาน เกิดความภาคภูมิใจ ไม่อยากจะออกจากห้องกรรมฐาน นั่งไปจะเห็นอาจารย์ พระอรหันต์ พระอสีติมหาสาวก พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร ตลอดจนพระพุทธเจ้า เกิดความคิดขึ้นมาว่าเราควรจะไปฟังเทศน์ของพระอรหันต์ของ พระพุทธเจ้าดีกว่า นึกอย่างไรก็จะเห็นอย่างนั้น อาการเหล่านี้เกิดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ให้ได้ ไม่ต้องเกิดทั้งหมด

๕.ศรัทธาอธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ ศรัทธาแก่กล้าความปลงใจเชื่อ เมื่อศรัทธาเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้คิดถึงผู้ใกล้ชิดเสียก่อน เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย บุตร ภรรยา เป็นต้น อยากให้มาปฏิบัติ คิดอยากทำบุญ ทำทาน คิดอยากโฆษณาธรรม คิดอยากชักชวนคนอื่นให้มาปฏิบัติธรรม เหล่านี้เป็นต้น (เวลาปฏิบัติธรรมหน้าหนาว หลวงพ่อขอให้ญาติโยมเกิดศรัทธาเป็นสัมมาทิฏฐิก็พอแล้ว)

๖.ปัคคาหะ ความเพียร เมื่อความเพียรเกิดขึ้นแล้วจะเกิดความขยันขันแข็งขึ้นมาเอง ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการปฏิบัติ นั่งตากแดด ยืนขาเดียว ส่วนมากจะคิดมาก มีความเพียรอย่างเดียว สติหย่อน ให้กำหนดว่า “คิดหนอๆๆ” อย่างเดียว ถ้าไม่หายคิด ให้เลิกปฏิบัติชั่วคราวก่อน

๗.สติ (อุปัฏฐานะ) สติแก่กล้า สติเข้าไปปรากฏชัดทำให้มีความคิดขึ้นว่าเราจะไปตั้งห้องกรรมฐาน เราจะเทศน์ให้ดีสอนให้ดี

๘.ญาณ ความหยั่งรู้ คนเรียนปริยัติ โดยเฉพาะพระอภิธรรม จะชอบวิพากษ์วิจารณ์เปรียบเทียบธรรม ถ้าหลวงพ่อเทศน์ผิดไปตัวเดียวก็ติแล้ว

๙.อุเบกขา ความวางเฉย ความมีใจเป็นกลางต่อความโลภ ความโกรธ ความหลง ความโลภ ความโกรธ ความหลง หายไปหมดในขณะนั้น มีความสุขใจ ชุ่มฉ่ำใจ เหมือนกับเอาใจไปแช่ไว้ในน้ำผึ้งฉะนั้น

๑๐.นิกันติ ความพอใจรักใคร่ติดใจในอารมณ์ของอุปกิเลสตั้งแต่ ๑-๙ เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาแล้วชอบใจ อยากให้เกิดขึ้นมาอีก

ทบทวนอุปกิเลส ๑๐ ประการ
   โอภาส เมื่อเกิดขึ้นแล้ว นึกว่าตนได้บรรลุมรรคผล ได้ดวงตาเห็นธรรม อย่างเช่นเมื่อเห็นแสงสว่างเป็นลูกกลมๆ นึกว่าดวงธรรม เป็นต้น
   ปีติ บางอย่างเกิดความท้อแท้ใจก็มี เกิดความภาคภูมิใจก็มี ได้ยินเสียงของพวกเปรต เทวดา อมนุษย์ ได้ยินเสียง พูดข้างหน้า ข้างหลัง หรือทั้งสองข้างเป็นต้น บางครั้งหูข้างหนึ่งฟังเสียงนรก ฟังเสียงอมนุษย์ หูอีกข้างหนึ่งฟังเสียงของเทวดาเป็นต้นก็มี เข้าใจผิดคิดว่าตนได้ทิพยโสตะก็มี
   ปัสสัทธิ เข้าใจผิดไปบ้างก็มี เพราะนั่งเวลาไหนก็ได้แต่สมาธิ ยืนกำหนดก็ได้แต่สมาธิ ทำอย่างก็ได้แต่สมาธิ จิตไม่แล่นไปทางโน้นไม่ไปทางนี้ จิตอยู่กับคำบริกรรม เข้าใจว่าตนเข้าผลสมาบัติได้แล้วเป็นต้นก็มี
   ศรัทธา ส่วนมากเมื่อเกิดศรัทธาแล้ว ชอบทรมานตนยืนขาเดียว อดอาหาร เป็นต้น โทษของการอดอาหารทำให้ระบบมันสมองส่วนกลางเสื่อม ความจำเสื่อม (ตัวอย่างหลวงพ่อ)
   ความเพียร ความเพียรเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ทำให้คิดมากอาจเป็นเหตุให้เกิดโรคประสาท เป็นโรคความดันสูง ในที่สุดอาจถึงเป็นบ้าได้
   สติ สตินี้ถ้ามีมากเกินไป หากมานะ ทิฏฐิเป็นต้นเหล่านี้เกิดร่วม ก็เป็นเหตุให้คิดมากทิ้งอารมณ์ปัจจุบันได้
   ญาณ ญาณนี้อวดดีสู้ครู ความรู้กล้า (โดยเฉพาะบุคคลผู้ปรารถนาพุทธภูมิ จะไม่ยอมฟังใครเลย)

หลวงพ่อพูดประสบการณ์ให้ฟังว่า ทุกวันนี้จะว่าเป็นความฝันก็ไม่ใช่ กำหนดนอนไปแวบเดียว ไปเที่ยวสวรรค์มาแล้ว ๖ ชั้น ในลักษณะเช่นนี้ ถ้าเป็นมโนมยิทธิแท้ เมื่อจะออกจากร่าง จะเห็นรูปนามแยกออกจากกัน เมื่อรูปนามแยกออกจากกันแล้ว เหลียวกลับมาจะเห็นร่างกายของตนนั่งอยู่ ตัวของเราจะเบา

ญาณที่ ๓ นี้ผ่านยาก บางท่าน ๑๕ วัน ๑ เดือน ๑ ปี ไม่ผ่านเอาเสียเลยก็มี

คู่มือสอบอารมณ์เป็นดาบสองคม ถ้าไม่สนใจปฏิบัติจริงเพื่อพ้นทุกข์จริงๆ หลวงพ่อไม่ให้ ครูบาอาจารย์ผู้ที่ได้ไปแล้วไม่รักษา ปล่อยให้ลูกศิษย์เห็น อ่านแล้วทิ้งเกะกะ เหมือนเศษกระดาษ เวลาปฏิบัติจ้องเกินไปจิตใจกระเพื่อม

เรื่องทรัพย์ในดินสินในน้ำเคลื่อนที่ได้ ถ้าไม่เชื่อลองฝังลึกประมาณ ๑ เมตร ทิ้งไว้สักปีหนึ่งสองปีแล้วกลับมาดูใหม่ บางครั้งเคลื่อนไปประมาณ ๑ เมตรบ้าง ๒-๓ เมตรบ้าง ถ้าฝังลึกเกินไป พวกอมนุษย์ก็จะเคลื่อนไปได้ การเสกมะนาวหาทรัพย์ในดินสินในน้ำ

เสกมะนาวแล้วก็กลิ้งไป ถ้าทรัพย์ไม่มี เมื่อหมดกำลังส่งมะนาวก็จะหยุดกลิ้งแต่ถ้าจุดไหนมีทรัพย์ มะนาวจะหมุนไม่ยอมหยุด เมื่อรู้แล้วก็กางฝ้ายพรหมจารีขุด ถ้าเจ้าของเขาไม่ให้ ฟ้าจะผ่าเปรี้ยง (ฟ้าผ่าแล้ง) เมื่อรู้ว่าเจ้าของไม่ให้แล้ว เราก็ทำน้ำมนต์ต้มให้จืดเสียก่อนจึงค่อยเอา ในขณะได้ทรัพย์มาใหม่ๆ มีใครคิดโกงก็ให้เขาไปเลย มาไม่ถึงบ้านหรอก ถูกผีบีบคอตายกลางทาง ไม่งั้นคนที่อยู่ทางบ้านก็ตายแล้ว

อุปกิเลส ๑๐ ประการนี้เป็นของดี แต่เพราะตัณหา มานะทิฏฐิเกิดร่วม จึงจัดเป็นอุปกิเลส

ผู้ปฏิบัติธรรมบางคน บางท่าน บางองค์มีบารมีไปทางสมถะบ้าง มีบารมีไปทางวิปัสสนาบ้าง

เมื่อเกิดอุปกิเลสต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ถ้ากำหนด ๓-๔ ครั้งหาย แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๔ ถ้ากำหนด ๗-๘ ครั้งจึงหาย แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๓

เวลาปฏิบัติ จิตเป็นอิสระเลยคิดสร้างเรื่องที่เป็นมหากุศล
   ๑.โอภาส
   ๒.ปีติ
   ๓.ปัสสัทธิ เมื่อปฏิบัติมาถึงนี้เป็นวิปัสสนา ๑๕% จึงจัดเป็นสมถะ
   ๔.สุข
   ๕.ศรัทธา
   ๖.ความเพียร
   ๗.สติ
   ๘.ญาณ ปฏิบัติมาถึงตรงนี้ ตรงเข้าวิปัสสนาญาณเลย
   ๙.อุเบกขา
   ๑๐.นิกันติ

ปีติ ๕ เหล่านี้เป็นสมถะ

สมาธิหน้าหนาวเป็นสมถะ เว้นผู้ผ่านมรรคผล เมื่อได้สมาธิแล้วฝึกวสีให้ชำนาญ เวลาจะเข้าสมาธิอย่าอธิษฐานสมาธิปล่อยให้เข้าสมาธิไปตามธรรมชาติของมัน เพราะถ้าอธิษฐานแล้ว จิตใจจะโน้มไปในสมาบัติ แต่ขอให้จำให้ได้ว่าเวลาเข้าสมาธินั้น เข้าเวลาไหน เวลาต้นพอง กลางพอง หรือสุดพอง กำหนดจงกรม กำหนดถึงขณะไหน ขณะเท้าย่าง ยกเท้า หรือเหยียบเท้า เหล่านี้เป็นต้น ขอให้จำให้ได้ แต่ถ้าบารมีเคยอบรมวิปัสสนามาแต่ปางก่อน มาถึงญาณ (ในอุปกิเลส ๑๐) ก็จะต่อวิปัสสนาเลย


สัมมสนญาณ จบ

www.watpit.org-
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กุมภาพันธ์ 2559 12:51:32 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1003


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 48.0.2564.103 Chrome 48.0.2564.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2559 16:00:25 »

.

ญาณที่ ๔
อุทยัพพยญาณ

ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของรูปนาม คือพิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปของรูปนามขันธ์ ๕ จนทราบชัดว่า สิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นแล้วก็ล้วนแต่ต้องดับไปเป็นธรรมดา

เมื่อญาณนี้เกิดขึ้นแล้ว จะเห็นความเกิดดับของรูปนามตั้งแต่ญาณที่ ๔ เป็นต้นไป เป็นวิปัสสนาล้วนๆ วิธีถามอาการท้องพอง-ยุบ มี ๒ ระยะบ้าง บางคนก็มี ๓ ระยะบ้าง ถ้าบางคนอาการท้องยุบชัดเจนดี อาการท้องพองก็จะเป็นพักๆไป อาจถึง ๗-๘ พัก อย่างนี้ให้ได้ สภาวะเช่นนี้แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๔ สภาวะนี้จะเป็นอยู่ในญาณที่ ๔ นี้นาน เวลาปฏิบัติไป นานๆ อาการพอง อาการยุบไปปรากฏข้างนอกร่างกายของเราก็มี ปรากฏอยู่ตรงหน้าที่เรานั่งอยู่ก็มี ปรากฏอยู่ด้านนอกทั้งข้าง ซ้าย-ขวาก็มี และให้ถามถึงอาการของต้นพอง กลางพอง สุดพอง ว่าอะไรปรากฏชัดเจนกว่ากัน และเวลาเดินจงกรม เช่น เวลายกเท้า ย่างไป เหยียบลง ขณะไหนชัดกว่ากัน ถ้าขณะยกกับขณะเหยียบชัดเจนดี กลางไม่ชัด ก็ให้ได้ และพึงเตือนผู้ปฏิบัติในขณะเวลากำหนดเวทนา เช่น กำหนดทุกขเวทนามีความปวดเป็นต้นว่า “ปวดหนอๆๆ” นั้น ไม่ใช่กำหนดแต่ปาก ถ้าอย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องเอาจิตเพ่งตรงไปที่อาการปวดนั้นกำหนดว่า “ปวดหนอๆๆ” ถ้ากำหนด ๒-๓ ครั้งหาย ให้ได้บางครั้ง คิดจะกำหนด ยังไม่ทันจะกำหนด หายไปเลยก็มีอาการเช่นนี้แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๔ บางครั้งนั่งไปๆ นิมิตเห็นตัวเลขสีแดง ปรากฏว่าถูกจริงๆ ด้วยก็มี ถามอาการนั่งว่า “นั่งตัวตรงตลอดเวลาไหม” อาการของญาณนี้ เมื่อนั่งไปจะมีการวูบลงไปๆ อยู่เป็นประจำ เหมือนคนเคยนั่งเครื่องบินตกหลุมอากาศ ข้อสำคัญ ถ้าขาดหลักสำคัญ ๓ ประการคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่าพึ่งให้ ถ้าอาการพอง-ยุบเร็วขึ้นๆ แล้วก็ผ่อนหายไปเลย นี้แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๓ แต่ถ้าอาการ พอง-ยุบเร็วขึ้นๆ แล้วสัปหงกวูบลงไป หรือผงะไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวาบ้าง โดยเฉพาะผู้มีสมาธิดีๆ นี้ เวลาสัปหงกก็จะสัปหงกแรงหรือผงะแรง ส่วนผู้มีสมาธิเบาก็วูบลงไปช้าๆ ค่อยวูบลงไปๆ ก็มี อย่างนี้ให้ได้

อาการของทุกขังแน่นหน้าอก คือจะแน่นเข้าๆ แล้วผงะไปข้างหน้า ผงะไปข้างหลังอย่างแรง จนทำให้ตกใจ แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๔ อาการของอนัตตา คือการกำหนดอาการพองอาการยุบนี้จะค่อยแผ่วเบาลงไปๆ เมื่อแผ่วเบาเต็มที่แล้ว ก็จะผงะไปข้างหลังแรงๆ บ้าง สัปหงกวูบลงไปข้างหน้าบ้าง ลักษณะเหล่านี้ ทั้งลักษณะของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นลักษณะของสันตติขาด ไม่มีการสืบต่อ คือขาดไปชั่วขณะจิตหนึ่ง ลักษณะของพระไตรลักษณ์ปรากฏชัดนี้จะไม่เกิดมากครั้งและเป็นอยู่ไม่นาน ชั่วโมงหนึ่งหรือวันหนึ่งอาจจะเกิดครั้งเดียวถ้าอาการของพระไตรลักษณ์ปรากฏ ชัดนั้น ขอให้พยายามจำให้ได้ว่ามันสัปหงกไปขณะไหน

เหตุที่ทำให้ญาณนี้ไม่เกิด
๑.ทำหมัน พวกนี้บวชไม่ขึ้น ต้องให้เขาต่อให้ และมีใบประกาศรับรองว่าใช้การได้ตามปกติก่อน จึงจะบวชให้
๒.ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
๓.ฆ่าบิดามารดา
๔.ฆ่าพระอรหันต์
๕.ทำบุญไม่ครบไตรเหตุแต่ถ้าญาณนี้เกิดขึ้นแล้ว ถ้าไม่ประมาทสามารถบรรลุมรรคผลชั้นใดชั้นหนึ่งได้ในปัจจุบันชาติ

วิถีของญาณ ญาณที่ ๔,๕ เป็นวิถีเดียวกัน ญาณที่ ๖,๗,๘ เป็นวิถีเดียวกัน ญาณที่ ๙,๑๐,๑๑ เป็นวิถีเดียวกัน ญาณที่ ๑๒,๑๓,๑๔,๑๕,๑๖ เป็นวิถีเดียวกัน ญาณแต่ละวิถีนี้ ถ้าตัวแรกชัดจะเกิดหมดทั้งวิถีเลยผู้มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียว แต่เห็นรูปนาม ประเสริฐกว่าผู้มีอายุเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี แต่ไม่เห็นรูปนาม หมายเอาญาณนี้ด้วย ญาณนี้เมื่อเกิดแล้วจะตัดภพตัดชาติได้ คือขณะเดินจงกรม ๑ ก้าว สามารถตัดภพตัดชาติได้ ๖ ชาติ เวลาตายจะไม่ไปสู่อบายภูมิ ๓-๔ ชาติ ถ้าไม่ประมาท ชาติแรกถ้าไปเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ก็จะเป็นพวกสัมมาทิฏฐิมีความเห็นชอบมีเดชานุภาพ ถ้าไปเกิดในกาลที่โลกว่างจากพระพุทธศาสนา ก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องบำเพ็ญบารมีให้ครบ ๒๐ ทัศ

ถ้าอาจารย์ผู้สอนเอาสภาวะเหล่านี้ไปเล่าให้โยมฟัง อุปมาอุปไมยมากๆส่วนมากโยมจะตามมาบวชด้วย


อุทยัพพยญาณ จบ

www.watpit.org-
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1003


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 48.0.2564.109 Chrome 48.0.2564.109


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2559 14:57:50 »

.

ญาณที่ ๕
ภังคญาณ
ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นเฉพาะความดับไป ความสลายไปของรูปนาม คือพิจารณาให้เห็นชัดลงไปในส่วนแห่งความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ว่าสังขารทั้งปวงล้วนดับสลายไปทั้งสิ้นเป็นญาณพิจารณาความดับของรูปนาม อุปปาทะ ความเกิดขึ้นมีอยู่ ฐิติ ความตั้งอยู่มีอยู่ แต่ผู้ปฏิบัติไม่สนใจดู ไปดูเฉพาะความดับไป แต่เมื่อญาณนี้เกิดขึ้นเต็มที่แล้ว มีอาการเหมือนง่วงอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ใช่ง่วง แม้แต่เวลาเดินจงกรมก็ง่วงเหมือนกันลักษณะจะซึมเซาอยู่ตลอดเวลา เราต้องถามดูอาการต้นพอง กลางพอง สุดพองว่ามีอาการอย่างไร อาการต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบ มีอาการอย่างไร ถ้าอาการสุดยุบปรากฏชัด ก็ให้ได้เวลา เดินจงกรม ขณะเท้าก้าวไปหรือขณะเหยียบลง อาการไหนชัดกว่ากัน ในขณะยกเท้าขึ้นเหมือนมีอะไรมาดึงมารั้งเท้าของเราไว้ อาการเช่นนี้แสดงว่าต้นยกชัดเวลาเหยียบลงไปเหมือนมีอะไรมาค้ำเท้า หนุนเท้าของเราไว้ต้องเหวี่ยงอย่างแรง หัวคะมำไปก็มี ขณะเหยียบลงไปมีอาการร้อนผ่าว เหยียบลงไปเหมือนเหยียบเหล็กแหลม อาการเหล่านี้แสดงว่าขณะเหยียบปรากฏชัดดีถ้าขณะนั่งอยู่รู้ว่ามันวูบไปอยู่ในญาณที่ ๔ แต่ถ้าขณะนั่งอยู่ฝันเรื่อยไป อยู่ในญาณที่ ๕ ดังมีภิกษุรูปหนึ่ง อาการดับของท่านปรากฏชัดมาก นั่งไปมีแต่ฝันจนท่านเกิดความคิดขึ้นมาว่า เรามาจับฝันกันเถิด คือให้เราสังเกตดูอาการพองว่า ท้องของเราพองขึ้นมาถึงตรงไหนจึงฝัน อาการยุบของเรายุบลงไปถึงตรงไหนจึงฝันเป็นต้น ถามเขาต่อไปว่า “เวลากำหนด กำหนดได้ตามขั้นตอนดีไหม” บางท่านก็ตอบว่าไม่ได้กำหนดอะไรเลย เหมือนนั่งอยู่เฉยๆ ตลอดเวลา ผู้ปฏิบัติบางท่านอาจคิดว่าจะได้บุญหรือเปล่า เพราะเรานั่งอยู่เฉยๆ ไม่ได้กำหนดอะไร ให้ถามต่อว่า “อาการพอง อาการยุบ สม่ำเสมอกันดีไหม” บางท่านตอบว่าอาการพอง-ยุบมันห่างๆ เลือนๆ ลางๆ บางครั้งต้องเอามือจี้ อาการเช่นนี้เราก็ให้ได้แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๕ อาการพอง-ยุบเหมือนท้องตึง กำหนดไม่ดีเลย เห็นแต่สัณฐานหน้าท้องตลอดเวลา อาการอย่างนี้ก็ให้ได้เวลานั่งไปกำหนดไป เหมือนแขน ขา หัวของเราไม่มีอาการเช่นนี้ก็ให้ได้ เหมือนเรานั่งอยู่กลางอากาศ หรือเหมือนเรานั่งอยู่ใต้ดินคนเดียว ทั้งๆ ที่ยังได้ยินเสียงนก เสียงคนอยู่ลักษณะอย่างนี้ให้ได้ ถามต่อไปว่า “มีอะไรอีกไหม” บางท่านก็มีอาการคล้ายภูตผีปีศาจมุดเข้าไปสู่ร่างกาย ร้อนวูบตรงหัวใจร้อนวูบตรงสันหลัง บางทีตัวชาทั้งคืนจนถึงเช้า ต่อเมื่อมีใครมากระแอม ไอ จาม หรือเสียงระฆังทำวัตรเช้าดังขึ้น จึงทำให้สมาธิลดลงแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ก็มี ที่ว่านั่งทั้งคืนนี้คือคู้เหยียดไม่ได้เลย เมื่อได้ยินเสียงระฆังแล้ว อาการนั้นจึงแตกออกจากหัวของเรา แล้วก็มึนชาออกไปทางด้านเท้า อาการเช่นนี้ก็ให้ได้บางครั้ง เห็นแต่อาการพอง-ยุบ แต่ไม่เห็นตัวของเราเอง เช่นนี้ก็ให้ได้ ถ้าการกำหนดไม่เห็นอาการพอง-ยุบ ให้ตั้งสติกำหนดว่า “รู้หนอๆๆ” ต่อไปจนกว่าจะเห็นอาการพอง-ยุบปรากฏขึ้นมา ถ้าอาการอย่างนี้ปรากฏขึ้นมา ต้องให้เขาเดินจงกรมให้มากๆ เช่น เดิน ๑ ชั่วโมง นั่ง ๓๐ นาที เดิน ๒ ชั่วโมง นั่ง ๑ ชั่วโมง เป็นต้น บางครั้งเห็นอาการพอง-ยุบเกิดขึ้นแล้วหายไปก็ให้ได้ มองอะไรก็ไม่ปรากฏชัด มองดูท้องฟ้าอากาศก็มัวๆ ขยี้ตาอยู่เป็นประจำเหมือนควันไฟ ก็ให้ได้ อาการเหล่านี้ไม่ใช่จะเกิดหมดทุกอย่าง ถ้าเกิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ให้ได้

ภังคญาณ จบ


ญาณที่ ๗
อาทีนวญาณ
ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนามคือเมื่อ พิจารณาเห็นรูปนาม สังขารทั้งปวงแตกสลาย เห็นรูปนามสังขารเป็นของน่ากลัวแล้ว ก็ย่อมจะพิจารณาถึงว่าสังขารรูปนามทั้งปวงเป็นทุกข์เป็นโทษอาการท้องพอง-ยุบของญาณนี้ ต้องการเห็นถึงจะเห็นอาการของท้องพอง-ยุบนี้ ต้องถามทุกญาณ ให้ถามผู้ปฏิบัติว่า “กำหนดได้ดีไหม” ถ้าญาณนี้เกิด บางท่านก็จะว่ากำหนดไม่ได้ดีเลย คล้ายๆ อาการพอง-ยุบหายไปทีละนิดๆ แล้วก็หายไปเลย เลือนๆ ลางๆ บางท่านอาการพอง-ยุบปรากฏเร็วขึ้นๆ แต่ก็กำหนดได้ดีอยู่ ถามอาการนั่งว่า “นั่งได้ดีไหม” ถ้าญาณนี้เกิดจะตอบว่า โอย....นั่งไม่ได้เลย ๕ นาทีก็ลุกแล้ว บางท่านนั่งอยู่ตาเขม่นขึ้นมา นั่งอยู่คันคอขึ้นมา จาม น้ำลายไหล ปวดหัวคล้ายจะเป็นบ้า เวลานั่งไปเกิดความคิดว่ารูปนามนี้เป็นของปฏิกูล แล้วพิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นว่าเป็นของปฏิกูลน่าเกลียด เหม็นตัวเอง บางท่านเหม็นปัสสาวะ แต่ว่าไม่เหม็นปัสสาวะ เหม็นเป็นอย่างอื่นก็มี บางท่านจะมีอาการหิวกระหายตลอดเวลา วิงเวียนคล้ายจะเป็นไข้ตลอดเวลา นั่งอยู่ร่างกายกระตุกขึ้นมา ถามว่า “วันนี้ปฏิบัติดีไหม” บางท่านตอบว่าไม่ดีเลย นั่งก็ไม่ได้นาน พอง-ยุบก็เลือนๆ ลางๆ ถามอาการของจิตว่า “อาหารเป็นอย่างไร พอฉันได้อยู่หรือเปล่าฉันอร่อยไหม” บางท่านก็ตอบว่า โอย...ไม่อยากฉันอาหารเลยมองดูอะไรก็มีแต่ของน่าเกลียด สกปรก มองดูกบ เขียด ปลา เนื้อ เป็นของน่าเกลียด เป็นเหมือนร่างกายแสดงทุกข์โทษขึ้นอืดเน่าเฟะ อาการเหล่านี้แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๗

อาทีนวญาณ จบ

.watpit.org-
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1003


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 48.0.2564.116 Chrome 48.0.2564.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 29 กุมภาพันธ์ 2559 15:53:20 »

.

ญาณที่ ๘
นิพพิทาญาณ

ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูปนามคือเมื่อ เห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนามแล้ว ย่อมเกิดความเบื่อหน่าย ไม่รื่นเริงเพลิดเพลินหลงใหลในรูปนาม

ให้ถามผู้ปฏิบัติว่า “จิตใจกระฉับกระเฉงไหม” บางท่านเมื่อญาณนี้เกิดแล้วจะตอบว่า โอย...เดี๋ยวนี้จิตใจห่อเหี่ยว อยากอยู่ในที่สงบให้จงได้ ถามว่า “กำหนดดีไหม พอใจในการกำหนดไหม หรือข่มใจกำหนด” ถามเวลาเดิน นั่ง ว่า “พอใจทำหรือข่มใจทำ ทานอาหารอร่อยไหม” บางท่านทานอาหารไม่อร่อยเลย เบื่ออาหาร อาเจียน ผู้ปฏิบัติธรรมสูงๆ เห็นอวัยวะสืบพันธุ์เป็นของปฏิกูลน่าเกลียด ไม่ทานข้าว อาเจียน บ้วนน้ำลายทั้งวันก็มี บางท่านบางรูปเหมือนสุกกะไหลขึ้นคอ จะอาเจียนออกมาให้ได้ แสดงว่าสภาวะชัดเต็มที่แล้ว เกิดอาการเบื่อคนเบื่อไม่อยากจะสอบอารมณ์ ไม่อยากเห็นใคร อยากอยู่คนเดียว ถ้าเป็นญาติโยมเบื่อเพศคฤหัสถ์ อยากออกบวชเป็นบรรพชิตบำเพ็ญศีลธรรม ถ้าเป็นพระก็อยากสึก เบื่อพรหมจรรย์ อยากจะไปเป็นคฤหัสถ์ หลวงพ่อเคยคิดเบื่อว่าเมื่อเราอายุ ๗๐ ปี ๘๐ ปีจะทนสู้ญาติโยมไหวหรือเปล่า ถ้าผู้ปฏิบัติปฏิบัติมาถึงญาณนี้แล้ว ไม่อยากได้อะไร จิตใจหงอยเหงา คล้ายๆ พลัดพรากจากของรักของชอบใจมา คิดเห็นเจ้าหญิงคุณนายทั้งหลายก็ตายเหมือนกัน เกิดความเบื่อหน่าย จิตใจก็น้อมเข้าสู่พระนิพพาน กลิ่นธูปเพียงก้านเดียวเหมือนกลิ่นธูปร้อยก้านพันก้าน บางท่านหอมกลิ่นปัสสาวะ สูดดมเหมือนกลิ่นดอกเกตุสำหรับผู้ที่ขากเสลดรบกวนผู้อื่นในเวลาปฏิบัติ ในเมื่อบาปกรรมตามทัน จะมีสิ่งที่จะทำให้เกิดความเหม็น ทำให้เน่าอยู่เสมออาการของการเหม็นจะเริ่มที่ตัวเองก่อน แล้วเหม็นพ่อแม่พี่น้องไปเรื่อย ไปจนถึงเทวดาพรหม ญาณนี้น้อยคนจะเป็นแรงๆ ถ้าอาการหอม หอมจนกลิ่นหอมปรากฏชัดเป็นตัวแล้วบินเข้าจมูกอย่างแรง เหมือนตัวต่อตัวแตน เกิดความกลัวตลอดเวลา อุปกิเลสที่เกิดในญาณนี้จะกำหนดไม่หาย ปีติในญาณนี้เกิดขึ้นจนเบื่อ การกำหนดเวทนาในญาณนี้กำหนดก็ไม่หาย นิมิตก็ไม่หาย จงพยายามให้สังเกตอาการ อารมณ์จะดีก็ตามชั่วก็ตามจะเป็นไปในความเบื่อหน่าย ถ้าเกิดแก่กล้าจะเบื่ออาหาร เบื่อตนเอง เบื่อคน เทวดา พรหม เบื่อการปฏิบัติ แต่สามารถข่มใจให้ปฏิบัติได้อยู่ แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๘ ส่วนญาณที่ ๙ เลิกเลย ญาณที่ ๘ นี้เป็นญาณเกลียดเพื่อน คอยแต่จะจับผิดคนอื่น ให้เราสังเกตง่ายๆ คนที่เคยพูดมากพูดง่ายพูดดี เมื่อมาถึงญาณนี้จะไม่ค่อยพูด ซึมๆ เหงาๆ หงอยๆ ปีติในญาณที่ ๘ นี้เป็นเหมือนจะเหาะได้ (สำหรับญาณที่ ๗ ผู้ปฏิบัติที่เป็นนักดนตรีเก่าจะชอบร้องเพลง)

เวลาปฏิบัติต้องให้ลูกศิษย์เห็นกรรมของตัวเอง แล้วให้ตัดกรรมตัวเอง โดยเฉพาะพวกโจร ให้ตั้งขัน ๕ จัดดอกไม้ ธูปเทียน ขัดสัคเคเทวดา แล้วอาจารย์กล่าวนำว่า “ต่อหน้าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้า พระ,นาย................จะเลิกจากการทำกรรมไม่ดีนั้นเด็ดขาด ถ้าไม่เลิก.................และด้วยบุญกุศลที่ข้าพเจ้าละกรรมไม่ดีนั้นได้ แล้ว ขอให้ข้าพเจ้า........................ตลอดถึงพ่อแม่ ครอบครัว และสรรพสัตว์ จงพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงเถิด” เป็นต้น ให้ลูกศิษย์เห็นกรรม เพื่อคลายทิฏฐิของเขา อย่าปล่อยให้ตามกรรมเวลาสอบอารมณ์ ต้องสอบถามว่าผ่านมาตามลำดับหรือเปล่า


วิธีฝึกอ่านหนังสือ

การฝึกอ่านหนังสือนั้น คำภาวนาให้ว่า “อรหัง” เวลาฝึกในเวลากลางวัน ต้องหาอากาศครื้มๆ ถ้าแสงสว่างมากเกินไป อ่านไม่ได้ ถ้าฝึกกลางคืน กลางวันอ่านไม่ได้ก็มี ควรฝึกในเวลากลางวันตรงที่มีอากาศครื้มๆ ตัดกระดาษสีต่างๆ เป็นสี่เหลี่ยมประมาณ ๗-๘ อัน หรือ ๑๐ สี แล้วพับผ้าปิดตาหรือหลับตา เวลานั่งบริกรรมอย่าให้เข้าสมาธิ ให้อยู่ในอุปจารสมาธิ ไม่ใช่อัปปนาสมาธิ เวลาเพ่งให้บริกรรมว่า “อรหังๆๆ” ไปเรื่อยๆ แล้วถามว่า “นี้สีอะไร” ถ้าเขาตอบไม่ถูกอย่าต่อว่า ให้พูดขึ้นเองว่า “เออ..สีนั้นๆ” แล้วทำท่าจะเปลี่ยนกระดาษสี แต่ไม่เปลี่ยน แล้วถามเขาต่อไปว่า “สีอะไร” ถ้าเขาตอบผิดอีก ให้ทำท่าจะเอาออกแต่ไม่เอาออก จนกว่าเขาจะตอบถูกจริงๆ จึงเอาออก แล้วเอากระดาษสีใหม่ใส่แล้วทำคล้ายกันนี้แหละ จนกว่าจะหมดทุกสี เมื่อเพ่งสีถูกต้องแล้ว ต่อไปให้เพ่งพยัญชนะ ในการเพ่งพยัญชนะนั้น พยัญชนะภาษาไทยมีเท่าไร กี่ตัว เอาใส่ให้เพ่งหมด เพ่งพยัญชนะได้ทุกตัวแล้ว ก็ให้เพ่งสระต่อ ทำเหมือนกัน จนเพ่งได้ทุกสระ ขั้นต่อไปก็เอาสระกับพยัญชนะผสมกันให้อ่าน ให้ผสมสลับกัน เช่น กะ ขา คุ คี เป็นต้น เมื่ออ่านได้ดีแล้ว ให้เขียนเป็นภาษิตสอนใจ เช่น ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย แต่อย่าเขียนประเภทคำล้อเลียนเป็นอันขาด ก่อนจะสาธิตต้องซ้อมเสียก่อน ทำให้สมาธิติดต่อกันดีแล้วจึงจะสาธิตได้ เวลาฝึกต้องให้สมาธิอยู่ในวงจำกัด การเพ่งกสิณจิตใจต้องอยู่ในวงกสิณ ไม่ใช่จิตใจฟุ้งซ่าน กระสับกระส่ายอย่างนี้ใช้ไม่ได้

นิพพิทาญาณ จบ


ญาณที่ ๙
มุญจิตุกัมยตาญาณ

ปัญญากำหนดพิจารณาปรารถนาอยากจะออก อยากจะหนีไปจากรูปนาม บ้านเราเรียกว่าญาณน้อยใจ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าญาณม้วนเสื่อม้วนหมอน อยากออกอยากหนี

ผู้ปฏิบัติถูกเขาพูดให้นิดเดียวกลุ้มใจทั้งวันก็มี อาการน้อยใจ เช่น เราสอบอารมณ์ไปถามไป เขาตอบมา เราแกล้งพูดว่า “จำคำพูดมาจากคนนั้นคนนี้หรือเปล่า” แค่นี้ก็ร้องไห้แล้ว ถ้าญาณนี้เกิดแก่กล้า สภาวะจะรุนแรงมาก กลัวจะด่วนตัดสินใจเร็วเกินไป เช่นเลิกการปฏิบัติไปทันที สึกทันที ถ้าเกิดแรงกล้าถึงกลับฆ่าตัวตายได้ อาจารย์ผู้สอนต้องระมัดระวัง เช่นการพูดการคุย การเทศน์การสอน ต้องเป็นสัปปายะแก่เขา ถ้าผู้ปฏิบัติรู้ว่าวันนี้อยู่ญาณที่ ๘ พรุ่งนี้จะขึ้นญาณที่ ๙ ต้องให้คอยระวัง ถ้าในขณะนั้นเกิดขโมยหนีไปสึกทำผิดต้องอาบัติถึงปาราชิก ไม่ต้องให้กล่าวคำลาสิกขาเพราะขาดไปแล้ว การถาม ถ้าเขาตอบไม่ถูก ต้องถามไปทีละข้อๆ เช่น “มีอาการคันตามตัวไหม” ถ้าญาณนี้เกิด ส่วนมากจะตอบว่า โอย...คันมากเลยครับอาจารย์ เกาจนเลือดออกเลย ถ้าอาการคันนั้นเล็กๆ น้อยๆ แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๓ ถ้าคันมากก็ให้เขากำหนดไปเดี๋ยวก็หาย บางทีขาบวม ตั้งใจกำหนดไป เดี๋ยวมันก็หายเอง บางทีเป็นตัวตะขาบ ตัวบุ้ง ตัวหนอน แมลงป่อง งู เป็นต้น ไต่ เลื้อยตามตัวของเรา บางทีต้องแก้สบงสะบัดหาแมลงต่างๆ ก็มีนี้แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๘ ถามต่อไปว่า “เวลานั่งสมาธินั่งได้ดีอยู่หรือเปล่า” บางท่านตอบว่าผมนั่งไปค่อยได้ มีแต่อยากเดิน แล้วให้ถามว่า “เวลาเดินกำหนดไหม” ถ้าผู้ปฏิบัติตอบว่ากำหนดบ้าง ไม่กำหนดบ้าง เดินนั่งไม่ค่อยกำหนด ตั้งใจว่าจะนั่ง ๓๐ นาที นั่งได้แค่ ๕ นาทีต้องข่มใจไว้ พอได้อีก ๒ นาทีก็ข่มใจไว้อีก บางทีข่มใจไม่ได้ลุกขึ้นไปเลยก็มี ผู้ปฏิบัติอยากจะเหยียดขา ล้มหัว อยากนอน นี้แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๙

ต้องคอยระวังสังวรพวกภิกษุที่เคยติดยามาก่อน เช่น พวกยาบ้านี้ เวลาขึ้นมาจริงๆ จะเอาไม่ค่อยอยู่ ถ้ามีพวกติดยาเสพติดมาขอบวช ต้องให้รักษาให้หายเสียก่อน ยารักษา เช่น ปลาไหลเผือก นางแซงแดงก็ได้ นางแซงขาวก็ได้ และฮังฮ้อนฝนรวมกันเอาใส่น้ำ ให้ฉันหายได้ วิธีรักษาผู้ติดยาเสพติดที่มาหา ให้ตั้งขัน ๕ ดอกไม้ธูปเทียน ขัดสัคเคเทวดา ตั้งนโม ๓ จบ แล้วให้กล่าวว่า “ต่อหน้าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถ้าข้าพเจ้าไม่เลิกจาก............................ขอให้ข้าพเจ้าตายถ้า ข้าพเจ้าปฏิบัติได้ ขอให้ข้าพเจ้าพร้อมทั้งครอบครัวจงเจริญ” เป็นต้น

สรุป ญาณนี้จะนั่งไม่ได้นาน การปฏิบัติของผู้ปฏิบัติตั้งแต่เกิดญาณนี้ จะนั่งไม่ค่อยได้นาน นั่งไม่ดี กำลังนั่งอยู่ หัวใจเทศน์ปุจฉาวิสัชนาถาม-ตอบกันไปมาไม่หยุดเลยก็มี คิดมากก็มีอย่างนี้ให้ได้ ถามว่า “ในขณะที่ปฏิบัติอยู่นี้คิดจะออกจากการปฏิบัติ หรือคิดจะปฏิบัติต่อ” บางท่านขอลดเวลาลง ขอให้มีวันเสาร์วันอาทิตย์ก็มี ถ้าลักษณะของการเจ็บป่วย ญาณที่ ๗ นี้ทนได้อยู่ ญาณที่ ๘ ก็ทนได้อยู่ พอมาถึงญาณที่ ๙ ต้องไปหาหมอทนไม่ได้ บางคนก็นอนตรอมใจ ขอลากลับบ้าน ถ้าไม่ให้กลับจะไปกระโดดน้ำตาย เหล่านี้เป็นต้น บางทีหลวงพ่อก็ปลอบอยู่ บางคนก็ไปเลย ญาณนี้เป็นญาณที่จะต้องคอยระมัดระวัง รู้จักปลอบโยน หาคำพูดดีๆ มาพูด อย่าดุด่า บางท่านครูบาอาจารย์ไม่พูดด้วยเท่านั้นก็ผิดใจ กล่าวว่าแต่ก่อนครูบาอาจารย์ก็ถามดีอยู่ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ถามเราเลย คือจะค้นเรื่องอดีตมาพูดกัน บางคนคิดว่าเราคงหมดบุญวาสนาบารมีแล้วหนอ เอาแค่นี้พอเป็นอุปนิสัยก็พอแล้ว สำหรับพระเณรที่ปฏิญาณตน เมื่อมาถึงญาณนี้ อยากสึก เอาไม่อยู่ สึกไปจริงๆ ก็มี


มุญจิตุกัมยตาญาณ จบ
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1003


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 49.0.2623.112 Chrome 49.0.2623.112


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 27 เมษายน 2559 14:19:49 »



ญาณที่ ๑๐
ปฏิสังขาญาณ

ปัญญากำหนดพิจารณาทบทวนรูปนามโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอีก คือเมื่อปรารถนาจะพ้นไปจากรูปนามเข้าสู่พระนิพพานแล้ว ก็ย่อมจะหาหนทาง หนทางที่จะหลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพานได้ก็มีแต่พระไตรลักษณ์เท่านั้นเหตุนั้น ญาณนี้จึงกลับไปทบทวนพิจารณาพระไตรลักษณ์อีกครั้งหนึ่ง

ถ้าญาณนี้เกิด ตายก็ยอมตาย ยืนขาเดียวตลอดชั่วโมงนั่ง ตากแดด เดินไปตามทุ่งนา ควายวิ่งมาหา ไม่สะทกสะท้าน ยืนเฉย เข้าไปสู่ละแวกบ้าน หมาวิ่งมา ยืนเฉย สำหรับหลวงพ่อ เมื่อจิตอยู่ในญาณนี้ เวลาดื่มน้ำปานะเสร็จแล้ว ขว้างปาแก้วไปตกลงกระทบพื้นก็ไม่แตก พิธีพุทธาภิเษก พระที่นั่งปรกต้องปรับปรุงจิตให้อยู่ในญาณนี้เสียก่อน เมื่อผู้ปฏิบัติถึงญาณนี้แล้วถึงเราจะดุด่าตวาดใช้คำหนักๆ ก็ทนได้ เวลาทำงานสามารถลากไม้ใหญ่ๆ ขนดินขนหินก้อนใหญ่ๆ ได้ ถ้าใจของเราอยู่ในญาณนี้ สามารถทำเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้ แม้การเดินการนั่ง ถามเขา ถ้าเขาตอบถูก ให้ได้แต่ถ้าเขาตอบไม่ถูก ต้องถามอาการต่างๆ ดังนี้เป็นต้น เช่น “เวลานั่งอยู่เหมือนถูกเสี้ยนทิ่มแทงมีไหม เหมือนเอาตะปูมาตอก เหมือนเอาเลื่อยมาตัดตัวเรามีไหม” มันจะเสียวแปลบๆ ขึ้นมา ถ้ามีก็ให้ได้ ถ้าเขาตอบได้อย่างเดียวก็ให้ได้ ถามต่อไปว่า “ถ้าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว กำหนดกี่คำจึงหาย” ถ้าเขาตอบว่ากำหนด ๒-๓ คำหาย ก็ให้ได้ ถามว่า “มีอาการซึมๆ ไหม เดินเชื่องๆ ไม่อยากพูดจาปราศรัย หรือเวลาแข็ง แข็งแต่ขากับมือหรือแข็งหมดทั้งตัว” ลักษณะเช่นนี้แสดงว่าชัด บางท่านมีอาการตึงๆ หนักๆ อยากจะเงยก็เงยไม่ได้ อยากจะลุกก็ลุกไม่ได้ บางครั้งเหมือนเอาก้อนหินก้อนโตๆ มาทับร่างกายไว้ ร้อนไปตามร่างกายก็มี บางครั้งมีทั้งร้อนทั้งเย็น บางรูปร้อนมาก ญาณนี้ถ้าเป็นหนักๆ เป็นเหมือนมีตัวลอยมาๆ จากอากาศพรึบเข้าเย็นหน้าอก แล้วก็มีตัวลอยมาๆ จากอากาศพรึบเข้าหน้าอกอีกเหมือนกันทำลายความเย็นนั้น ตัวที่ลอยมาจากอากาศจะเข้าสู่ส่วนใดของร่างกายก็ได้ บางครั้งหนาวๆ ร้อนๆ หรือเย็นเหมือนใจจะขาดร้อนเหมือนจะตาย มีอาการเจ็บไข้ อาเจียน แน่นๆ อึดอัดคล้ายใจจะขาด บางครั้งเหมือนปอดของเราโตขึ้นมาก็มี (เมื่อมาถึงญาณนี้ จิตใจของเราจะย้อนไปพิจารณาพระไตรลักษณ์อีก


ปฏิสังขาญาณ จบ



ญาณที่ ๑๑
สังขารุเปกขาญาณ

ปัญญาพิจารณาวางเฉยเป็นกลางในรูปนาม คือเมื่อพิจารณาผ่านมาถึงญาณนี้แล้ว ย่อมจะเกิดความรู้ความเห็นตามสภาวะธรรมชาติของรูปนามว่า รูปนามมันก็เป็นไปตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนี้ เมื่อทราบชัดตามความเป็นจริงอย่างนั้นแล้วจึงเป็นผู้มีใจเป็นกลางวางเฉยใน รูปนามทั้งปวงได้

เมื่อผู้ปฏิบัติมาถึงญาณนี้ จิตใจจะวางเฉย มีอาการเฉยๆ ให้เราถามเขาดูว่า “ในเมื่อเฉยๆ อยู่นั้นได้กำหนดไหม” ถ้าเขาตอบว่ากำหนดได้ดีอยู่ แต่มันเฉยๆ อย่างนี้ให้ได้ ถามเขาว่า “เดินจงกรมมีสติกำหนดดีไหม” ถ้าเขาตอบว่ามีสติทุกก้าวก็ให้ได้ ถามเกี่ยวกับอารมณ์ว่า “เมื่อได้ยินเสียงพูดคุยของเพื่อนแล้วจิตใจเป็นอย่างไร” ถ้าเขาตอบว่าเมื่อผมได้ยินเสียงจะเป็นเสียงดีหรือไม่ดี ผมเฉยๆ อยู่ อย่างนี้ก็ให้ได้ ถามว่า “เป็นอย่างไรสติดีไหม เวลาฟังเทศน์ จำคำเทศน์ได้หรือเปล่า” ถ้าตอบว่าฟังเทศน์จำได้ดี เข้าใจดี ให้ได้ ถามว่า “ขณะนี้กับก่อนสอบอารมณ์ สมาธิดีไหม” ถ้าเขาตอบว่าดี ผมนั่งได้นานๆ เลยเวลาไปก็มี สภาวะชัดยิ่งนั่งอารมณ์ยิ่งละเอียดๆ เข้า ถามว่า “มีเสียงกระทบรำคาญไหม” ถ้าเขาตอบว่าไม่รู้สึกรำคาญ เฉยๆ อยู่ให้ได้

ถ้าปฏิบัติมาถึงญาณนี้แล้ว แม้จะมีหมอลำ วิทยุเทปรำวง มาแสดงใกล้ๆ เรา เราก็จะสามารถกำหนดได้สบาย กำหนดเสียงเข้าสมาธิไปเลยก็ได้ ถ้าการปฏิบัติดี เราเปิดเทปไว้แล้วกำหนดไปๆ ถ้าคนเคยปฏิบัติมาจะเข้าสมาธิไปเลยหลวงพ่อเคยบอกว่าเวลาเครียดประสาทแข็ง เปิดฟังเสียงสวดพระปาฏิโมกข์ ดับก่อนคนอื่นเลย (เข้าสมาธิไปจนจบ) ถามว่า “ฟุ้งซ่านไหม” ถ้าตอบว่าไม่รำคาญ ก็ให้ได้ ถามว่า “รู้สึกเจ็บโน้นปวดนี้มีไหม” ถ้าเขาตอบว่าผมนั่งมา ๑ ชั่วโมงไม่ปวดเลย ให้ได้ สำหรับผู้เป็นโรคประสาท โรคลมบ้าหมู โรคความดัน โรคกระเพาะอาหาร เมื่อถึงญาณนี้หายเลย สำหรับโรคกุมภัณฑ์ยักษ์นี้ จิตเป็นผู้สร้างขึ้นต่างหาก ถ้าเป็นอ่อนๆ ให้ใช้คำกำหนดว่า “หยุดหนอๆๆ” ถ้าเป็นแข็งๆ ก็ให้กำหนดแข็งๆ เลยว่า “หยุด...ๆๆ” บอกเขาให้ตั้งสติกำหนด ตะคอกเสียงหนักๆ สำหรับคนแก่ที่เป็นโรคอัมพาต ให้บอกเขาว่ายายทำราวหัดเดินก่อนนะแรกๆ ให้เดิน ๕ นาทีก่อนแล้วค่อยเพิ่มขึ้นๆ ตามลำดับพอสมควรแล้วก็สามารถปล่อยราวได้ โรคหืดเมื่อปฏิบัติมาถึงญาณนี้ บางคนหายเด็ดขาด บางคนหายชั่วครั้งชั่วคราว ญาณนี้จะนั่งได้นาน คิดว่าจะนั่ง ๑ ชั่วโมง นั่งได้ ๒-๓-๖ ชั่วโมงเลยก็มี

การสอนกรรมฐานนี้ต้องปรับปรุงทุกปี ถ้าผู้สอนอดทนต่อคำติคำชมไม่ได้ ก็สอนไม่ได้ เพราะจะเจอปัญหานานาประการ

การเอาเด็กและผู้ใหญ่ออกจากสมาธิ ให้ผู้ปฏิบัตินั้นกำหนดว่า “อยากออกหนอๆๆ” ถ้ารู้สึกตัวแล้วแต่ร่างกายยังมีอาการแข็งอยู่ ให้กำหนดว่า “อยากเหยียดหนอๆๆ” พร้อมกับให้เราค่อยๆ แกะมือแกะขาของผู้ปฏิบัติออกจากกัน การกำหนดอย่าใจร้อน ให้ใจเย็นๆ สำหรับเด็ก ถ้าลืมตาแล้วอย่าให้เขาหลับตาอีก ถ้าหลับอีกก็จะเข้าอีก

สำหรับผู้เคยให้ทานมามากจะผ่านทางอนิจจัง ผู้เคยเจริญสมถะกรรมฐานมามากจะผ่านทางทุกขัง

อาการทางทุกขัง เวลาจะเข้าสมาธิจะเหนื่อย บางคนร้องเหมือนหมูดุนไปก็ดี บางคนเชิดหัวไปมาก่อนเข้าสมาธิ เหล่านี้เป็นอาการผ่านทางทุกขัง ให้เราสังเกตว่าคนนั้นผ่านทางไหนหรือเข้าสมาธิทางไหน ครั้งแรกรู้ว่าผ่านทางไหนก็พอแล้ว

เวลาฝึกสมาธิให้เราเริ่มฝึกอธิษฐานตั้งแต่ ๕-๑๐-๑๕ นาทีก่อน ถ้าถึงเวลาตามที่เราอธิษฐานแล้วยังไม่ออก เราต้องกำหนดออกให้เขา บางครั้งอธิษฐานยังไม่จบเลยเข้าสมาธิแล้ว ระวังอย่าให้เข้าก่อนหรือเลยเวลา ถ้าสมาธิพอตัวแล้วจะเข้าได้ทุกอิริยาบถ สำหรับผู้ที่ได้สมาธิ ถ้าเรามีหน้าที่รับใช้ครูบาอาจารย์อยู่ ต้องการเข้าสมาธิ ให้อธิษฐานว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๕- ๑๐-๑๕.....นาทีนี้ ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไปพร้อมนี้ขออย่าได้เป็นอันตรายแก่ ชีวิต และอย่าให้ใครมาแตะต้องตัวของข้าพเจ้าได้” หรือจะอธิษฐานว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป พร้อมนี้อย่าได้เป็นอันตรายแก่ชีวิต จนกว่าโยมมาถึงประตูวัดให้รู้สึกตัวทันที” หรือจะอธิษฐานว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป พร้อมนี้ขออย่าได้เป็นอันตรายแก่ชีวิต และเมื่อมีใครมาปองร้ายขอให้รู้สึกตัวทันที” เป็นต้น

แม้ขณิกสมาธิที่กำหนดติดต่อกันดีก็ใช้ได้ เรากำหนดติดต่อได้นานๆ ไม่ฟุ้งซ่าน ก็เป็นอุปจารสมาธิ ขณิกสมาธินี้ไม่วอกแวกมีพลัง สำหรับเด็กเล็กๆ เข้าสมาธิได้ไม่เกิน ๖ ชั่วโมง อย่างมากเข้าได้ ๓ ชั่วโมง เวลาจะขยายชั่วโมงในการนั่ง เมื่อนั่ง ๓๐ นาทีแล้ว ถ้าจะอธิษฐานนั่ง ๑ ชั่วโมง พอถึง ๓๐ นาทีนี้ สมาธิจะคลายตัว เวทนาเกิดขึ้น ต้องข่มใจนั่งก่อนเวลาจะขยายขึ้นไปนั่งหลายชั่วโมงสูงขึ้นไปก็เหมือนกัน


สังขารุเปกขาญาณ จบ
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1003


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.102 Chrome 50.0.2661.102


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2559 15:01:10 »

.



อธิษฐาน

บรรพ ๑ ธรรมวิเศษที่เกิดขึ้นแล้ว ขออย่าได้เกิดขึ้นอีก ธรรมวิเศษเบื้องสูงที่ยังไม่เกิด ขอให้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า ภายใน ๒๔ ชั่วโมงนี้เทอญ.
บรรพ ๒ ภายใน ๒๔ ชั่วโมงนี้ ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ เทอญ.
บรรพ ๓ ภายใน ๑ ชั่วโมงนี้ ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ เทอญ.
บรรพ ๔ ภายใน ๓๐ นาทีนี้ ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ ข้าพเจ้ามากๆ เทอญ.
บรรพ ๕ ภายใน ๑๕ นาทีนี้ ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ เทอญ.
บรรพ ๖ ภายใน ๑๐ นาทีนี้ ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ เทอญ.
บรรพ ๗ ภายใน ๕ นาทีนี้ ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ เทอญ.
บรรพ ๘ ภายใน ๑ ชั่วโมงนี้ ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิท แน่นิ่งไป ๕ นาทีเป็นอย่างน้อย
บรรพ ๙ ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป ๑ ชั่วโมง พร้อมนี้ขออย่าได้เป็นอันตรายแก่ชีวิต

การปฏิบัติวิปัสสนา เมื่อมาถึงญาณที่ ๑๑ ถือว่าเป็นจุดสุดยอดของญาณโลกีย์แล้ว ต้องให้ผู้ปฏิบัติรักษาอารมณ์ไว้ไม่ให้เสื่อม ถ้ากำลังของญาณมีเพียงพอเมื่อไร จะเข้าสู่อารมณ์ของพระนิพพานเลย เมื่อมาถึงญาณที่ ๑๑ นี้แล้ว จะทิ้งญาณ ที่ ๑,๒,๓ แต่จะอนุโลมปฏิโลมกลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ บางท่านบางรูปเป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี หรือตลอดชีวิตเลยก็มี ต้องให้พยายามรักษาอินทรีย์ทั้ง ๕ ให้ดี พยายามปรับปรุงอินทรีย์ ๕ ให้สมดุลกัน เช่น ศรัทธา=ปัญญา, สมาธิ=ความเพียร สติเป็นกลาง พยายามกำหนดให้ทันทุกอิริยาบถใหญ่น้อย อินทรีย์ทั้ง ๕ ก็จะแก่กล้าสมบูรณ์ขึ้นมาเอง แล้วก็ให้อธิษฐานทีละใบๆ ไม่ต้องให้พร้อมกัน เมื่ออธิษฐานแล้วอย่าให้เกิดอุปาทานในคำอธิษฐาน อย่าคิด ถ้าคิดแล้วให้รีบกำหนดทันทีและอย่าให้จิตเหม่อไปตามนิมิตเหม่อไปตามอาการ หรือเหม่อไปตามเวทนาเป็นต้น ไม่ดี เมื่ออธิษฐานปฏิบัติตลอด ๒๔ ชั่วโมงแล้ว ต้องอยู่ปฏิบัติตลอด ๒๔ ชั่วโมงเลย อย่าตั้งใจแรงให้ตั้งใจไว้เป็นกลาง เพราะการตั้งใจไว้แรงจะทำให้ประสาทแข็ง พยายามหาที่นั่งในที่โล่งๆ อากาศถ่ายเทสะดวก ถ้าเกิดว่ามันจะดับก็ปล่อยให้มันดับไปเลย แต่จำให้ได้ว่ามันดับไปในขณะไหน ขณะกำหนดอาการพองหรืออาการยุบ กำหนดถึงตรงไหนมันจึงดับไปพอดี ให้รู้ เมื่อดับแล้วเวลารู้สึกตัวได้กำหนดอาการพอง อาการยุบไหม บางท่านรู้สึกตัวแล้วไม่กำหนด เกิดความกลัวอยากเลิกปฏิบัติก็มี บางท่านบางรูปตื่นขึ้นมารู้สึกมึนศีรษะ บางท่านบางรูปรู้สึกงง บางท่านสภาวะชัดดีจำได้ว่าขณะจะนั่งดับ นั่งไปๆ กำหนดพองหนอ ยุบหนอไป ขณะที่ท้องพองขึ้นมามันดับเลย ให้สอบถามดูว่า “ขณะดับมีพระไตรลักษณ์ไหม มีอาการเร็วเข้าๆ บ้างไหม (นี้เป็นอาการของนิจจัง) มีอาการแน่นเข้าๆ บ้างไหม (นี้เป็นอาการของทุกขัง) มีอาการสม่ำเสมอกันหรืออาการแผ่วเบาเข้าๆ บ้างไหม (นี้เป็นอาการของอนัตตา)” สอบถามดู ถ้าไม่มีพระไตรลักษณ์ให้ไม่ได้ เพื่อความแน่ใจให้อธิษฐานดูใหม่ คือให้ตรวจดูผลจิตให้อธิษฐานว่า “ภายใน ๑ ชั่วโมงนี้ ขอความเกิดดับจงเกิดขึ้น แก่ข้าพเจ้ามากๆ” เมื่ออธิษฐานแล้วพยายามสังเกตการยกเท้าการเหยียบ อาการนั่ง อาการถูก มีเวทนาไหม เป็นอย่างไร จิตใจในขณะอธิษฐานนั้นเป็นอย่างไร

สำหรับบุคคลผู้ผ่านทางทุกขัง ผ่านทางอนิจจัง นี้ชัดเจนอยู่แล้ว แต่สำหรับบุคคลผู้ผ่านทางอนัตตา นี้แหละมันยากคือมันจะดับวูบๆ ลงไป บางที ๕ นาที เป็น ๑๒ ครั้งก็มี ขณะนั่งอยู่ บางทีคองักๆ ไปเรื่อย ถ้านักปฏิบัติรู้ตัวเองว่าผ่านแล้วความดีใจ ไม่อยากปฏิบัติต่อไป ถ้าเขาไม่ได้บรรลุคุณธรรมจริง อาจารย์ผู้สอบอารมณ์เท่ากับยุตัวเองลงนรก ถ้าบรรลุจริงๆ ไม่ค่อยพูดหรอก ถ้าเกิดอย่างแรงกล้า นั่งไปๆ ดับวูบไป มีเสียงแว่วมาว่าเธอได้ผ่านโสดาบันแล้วนะ ก็ให้ตรวจสอบดู ให้เดินจงกรม ๑ ชั่วโมงแล้ว ให้อธิษฐานใบที่ ๓ ว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๑ ชั่วโมงนี้ ขอให้ความเกิดดับจงบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ” ถ้าผ่านจริง อย่างน้อยผลจิตเกิด ๕ ครั้งใน การอธิษฐานนั่ง ๓๐ นาที เกิด ๓-๔ ครั้งในการอธิษฐานนั่ง ๑๕ นาที เกิด ๒-๔ ครั้งในการอธิษฐานนั่ง ๑๐ นาที อธิษฐานนั่ง ๕ นาที ผลจิตเกิดขึ้นถึง ๑๒ ครั้งก็มี มากกว่านี้ยังไม่เคยปรากฏเลย ลักษณะการดับคือมันจะดับวูบๆ ดับไปในลักษณะอย่างนี้แล้ว ให้อธิษฐานใบที่ ๘ ต่อว่า “ภายใน ๑ ชั่วโมงนี้ ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป ๕ นาทีเป็นอย่างน้อย” เมื่ออธิษฐานแล้ว ขณะที่ดับไปใจก็ไม่รู้ หูก็ไม่ได้ยินเสียงแสดงว่าพ้นโลกีย์ไปแล้วเป็น โลกุตตระ (ผลสมบัตินี้จะไม่มีขันธ์ ๕ แม้แต่ขันธ์เดียว) ถ้ายังทำไม่ได้ก็ให้ตัดการเดินจงกรมระยะที่ ๑-๕ ออก เหลือแต่ระยะที่ ๖ เพียงระยะเดียว ถ้าแม้ทำอย่างนั้นแล้ว สติยังใสแจ๋วอยู่ไม่เห็นดับเลย ต้องลดการนอนลงไปอีก ถ้าทำให้ดับได้ ๕ นาทีแล้ว ก็ให้อธิษฐานให้ดับ ๑๐ นาที ต่อไปก็อธิษฐานให้ดับ ๑๕-๓๐ นาที ถ้าทำให้ดับได้ถึง ๓๐ นาทีแล้ว เปลี่ยนอธิษฐานใบที่ ๙ ไม่ต้องอธิษฐานอันตรายแก่ชีวิตก็ได้ ถ้าอธิษฐานทำให้ดับได้ ๑ ชั่วโมงแล้ว วันหลังให้ฝึก ๒ ชั่วโมง วันต่อไปให้ฝึก ๓ ชั่วโมง เมื่อฝึก ๓ ชั่วโมงแล้วให้เว้น ๒ วัน จึงอธิษฐานดับ ๖ ชั่วโมง (ในการอธิษฐานทุกระยะทุกชั่วโมง ต้องทำให้ได้ทุกระยะเสียก่อน ถึงจะก้าวเพิ่มชั่วโมงขึ้นได้) ถ้าทำ ๖ ชั่วโมง ได้แล้ว ต้องเว้นอย่างน้อย ๕ วัน อย่างมากไม่เกิน ๗ วัน ถ้าทำได้ดีแล้วก็ให้อธิษฐานดับ ๑๒ ชั่วโมงต่อไป มีสูตรจำการเว้นวันได้ง่ายๆ ดังนี้

เกิน ๒๔ ชั่วโมงไป เว้น ๗ วันตลอด

ช่วงวันที่เว้นการอธิษฐานนั้นให้ปฏิบัติไปตามธรรมดาการ ฝึกสมาธินั้น เมื่อฝึกเข้าได้แล้ว ถึงเวลาออก ถ้าไม่ออกต้องไปช่วยกำหนดออกให้ก่อน และก่อนฝึกเพิ่มชั่วโมงขึ้นไปแต่ละชั่วโมง ต้องทำให้ชำนาญในวสีทั้ง ๕ เสียก่อน คือต้องเข้าได้ตามความต้องการ ไม่ให้ออกก่อนและไม่ให้เลยเวลา ถ้าทำได้ เช่นนี้เรียกว่าชำนาญในวสี ผู้ที่เคยนั่ง ๑ ชั่วโมงจะเพิ่มไปนั่ง ๒ ชั่วโมง ช่วงต่อระหว่าง ๑ ชั่วโมงไปหา ๒ ชั่วโมงนี้ สมาธิจะคลายตัวออกก่อน ครั้งแรกจะมีเวทนากล้า ทุรนทุราย กลุ้มใจ เหงื่อตก เป็นต้น การอธิษฐานเข้าสมาธินานๆ นี้ ถ้าผู้ใดสามารถเข้ารวดเดียวเลยตลอด ๒๔ ชั่วโมง หรือตลอด ๔๘ ชั่วโมงเลย ก็เหมือนเรานั่งแค่ ๑๐ นาทีเท่านั้น แต่ถ้าสมาธิไม่เรียบ เข้าๆ ออกๆ ก็นานพอสมควร ผู้ฝึกสมาธิบางครั้งได้ยินเสียง แสดงว่าอยู่ในฌานที่ ๑-๒-๓ ไม่ถึงฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ นี้คล้ายผลสมาบัติ คือไม่หายใจเหมือนกัน (ถ้ามีคนถามอวดภูมิต้องย้อนศรทันที แต่ต้องรู้เจตนาของผู้ถามด้วย) ฌานสมาบัติมีรูปนามเป็นอารมณ์ ผลสมาบัติมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

การผ่านทางวิถีของจิต แค่วูบลงข้างหน้า ผงะไปข้างหลัง ฟ้าผ่าเปรี้ยงล้มฟุบลงไป ขาดความรู้สึกเลย ถ้าไม่มั่นใจว่าผ่าน ให้ตรวจดูผลจิต

ผลจิตเกิดติดต่อกันไปเรื่อยๆ เป็นผลสมาบัติ

ผลจิตเวลาอธิษฐานจะไม่เกิดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหมือนการบรรลุ

ส่วนมรรคจิตจะเร็วขึ้นแล้วถอยลงๆ จนกว่าจะได้ที่แล้วก็วูบไปเลย

ผู้ที่เคยอบรมวิปัสสนากรรมฐานมาแต่ชาติปางก่อนจะผ่านทาง อนัตตา ผู้เคยเจริญสมถะกรรมฐานมาก่อน จะผ่านทางทุกขัง ผู้เคยให้ทานมาก่อนจะผ่านทางอนิจจัง

ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุได้ทุกอิริยาบถถ้าอินทรีย์ทั้ง ๕ บริบูรณ์แล้ว

ถ้าจำได้แสดงว่ามรรคจิตเกิด ถ้ามรรคจิตไม่เกิด ชาตินี้ชาติหน้าก็จำไม่ได้ ทำไมถึงจำไม่ได้ เพราะโมหะมีกำลังสูงกว่าสติ การจำได้แสดงว่ามรรคจิตเกิดนั่นเอง

ปัญญาหมายเอาความรู้ที่เกิดขึ้นแล้วสามารถทำลาย ความโลภ ความโกรธ ความหลง ให้สิ้นไป หมดไป ดับไป ไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้

การเข้านิโรธก็ทำนองเดียวกันกับการเข้าผลสมาบัติ

การเทศน์ดีไม่ดีขึ้นอยู่กับตนเอง ผู้ฟังมีจิตเลื่อมใส และจิตใจของผู้เทศน์ไม่ฟุ้งซ่าน

การทำวัตรเช้า-เย็นจัดเป็นกรรมฐานหมู่ ไม่จัดเป็นสมาบัติ

ดับในญาณที่ ๕ รู้สึกตัวในญาณที่ ๔ ในเวลาอนุโลม

การเข้าสมาธิต้องข่มปีติอย่างหยาบให้ได้เสียก่อน เช่น แขนเผยอขึ้น ตัวร้อนตัวเย็น ตัวเอน เราต้องช่วยกันผลักไว้ เนื้อกระตุก เป็นต้น

การปฏิบัติ ถ้ามุ่งหวังจริงๆ เอาใจใส่จริงๆ ก็ได้ผลเร็ว

บางทีพระเราต้องให้โยมหรือแม่ชีมากำหนดให้ ต้องทำให้ผู้ปฏิบัติอายเสียก่อนแล้วจึงจะตั้งใจกำหนดก็มี

บางคนนั่งภาวนาอยู่ดีๆ ก่อนจะเข้าสมาธิเกิดอาการดิ้นพรวดๆ ล้มลงนอน เข้าสมาธิไปเลยก็มี เรียกว่าสมาธิงอน ผู้เป็นอาจารย์ต้องปลอบหรือตักเตือนเอา

เคล็ดลับในการสอนสมาธิก็คือ อย่าให้ศิษย์โกรธเราผู้เป็นอาจารย์ ลูกศิษย์จะไม่สามารถเข้าสมาธิได้เลย เพราะจิตเป็นอกุศล




วิถีจิตก่อนเข้าสู่มรรควิถี

วิถีจิตก่อนเข้าสู่มรรควิถี
๑. อดีตภวังค์ (ภวังค์อดีต)
๒. ภวังคจลนะ (ภวังค์สะเทือน)
๓. ภวังคุปัจเฉทะ (ตัดกระแสภวังค์)
๔. มโนทวาราวัชชนะ (ลงทางมโนทวาร)
)

มรรควิถีของมันทบุคคล
อุป. ฐิ ภัง.


ชวนะที่ ๑    บริกรรม (การทำให้เรียบเพื่อรอการเกิดขึ้นของมรรค)
ชวนะที่ ๒    อุปจาระ (ใกล้ชิดมรรค คือจวนๆจะดับแล้ว แต่ยังไม่ดับ
ชวนะที่ ๓    อนุโลมญาณ (เป็นไปตามลำดับอนุโลมญาณต่ำไปหาอนุโลมญาณสูง คือญาณเครื่องตัดสินใจว่าไม่ผิดแน่
ชวนะที่ ๔    โคตรภูญาณ (โอนโคตรปุถุชนเข้าสู่โคตรของพระอริยะ เพื่อจะหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์)
ชวนะที่ ๕    มรรคญาณ (ทำลายกิเลสให้เป็นสมุทเฉทปหาน
ชวนะที่ ๖    ผลญาณ (เสวยผลหลังจากมรรคปหานกิเลสแล้ว มีพระนิพพานเป็นอารมณ์)
ชวนะที่ ๗    ผลญาณ
ภวังค์ (คั่นในระหว่าง)
ปัจจเวกขณญาณ (พิจารณากิเลสที่ละได้แล้วเป็นต้น)

สำหรับชวนจิตทั้ง ๗ ของมันทบุคคล คือบริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู มรรค และผลญาณ ๒ ขณะ แล้วมีภวังค์มาคั่น จากนั้นจึงเป็นปัจจเวกขณญาณ พิจารณามรรคผลที่ตนได้บรรลุแล้ว และพิจารณากิเลสที่ละได้แล้วและยังเหลืออยู่ตลอดถึงการพิจารณาพระนิพพาน สำหรับอนุโลมญาณของมันทบุคคล คือบริกรรม อุปจาระ อนุโลม ทั้ง ๓ นี้รวมกัน

มรรควิถีของติกขบุคคล
อุป. ฐิ ภัง.

ชวนะที่ ๑    อุปจาระ
ชวนะที่ ๒    อนุโลมญาณ
ชวนะที่ ๓    โคตรภูญาณ
ชวนะที่ ๔    มรรคญาณ
ชวนะที่ ๕    ผลญาณ
ชวนะที่ ๖    ผลญาณ
ชวนะที่ ๗    ผลญาณ
ภวังค์
ปัจจเวกขณญาณ

สำหรับชวนจิตทั้ง ๗ ของติกขบุคคล คืออุปจาระ อนุโลม โคตรภู มรรค และผลญาณ ๓ ขณะแล้ว จึงมีภวังค์มาคั่น จากนั้นจึงเป็นปัจจเวกขณญาณ สำหรับอนุโลมญาณของติกขบุคคล คืออุปจาระ อนุโลม ทั้ง ๒ นี้รวมกัน จะไม่มีบริกรรม

การเกิดขึ้นของญาณที่ ๑๒-๑๖ บางท่านใช้เวลาเพียงแค่ ๕ วินาที ในลักษณะของการจะเข้าสู่มรรควิถี ต้องทำให้เกิดมีอาการไหวของจิตเสียก่อน จิตลงภวังค์ไม่ได้หันไปลงทางมโนทวาร (คือทางใจ) อดีตภวังค์ ภวัคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนะ จะเกิดขึ้นคนละ ๑ ขณะ ขึ้นจากมโนทวารแล้วได้บริกรรม เกิดอุปจาระขึ้นมา พอถึงอนุโลมดับวูบลงไปเราก็จำได้ว่าดับลงไปขณะไหน ขณะท้องพองหรือขณะท้องยุบหรือกำหนดถึงขณะไหนจึงดับไป อนุโลมญาณสามารถจำได้จริงๆ ไม่ใช่คาดคะเนหรือเดาเอา สำหรับติกขบุคคล (ผู้มีปัญญา) จะรู้ว่ามันจะดับอีกแล้ว เออ....มันจะดับอีกแล้ว ทั้งๆ ที่สติยังใสแจ๋วอยู่นั่นแหละ มันดับวูบลงไปเลย มันไม่น่าจะดับเพราะสติใสแจ๋วจริงๆ เหมือนไม่มีสนิมในใจแม้แต่นิดเดียว ตั้งแต่เกิดมาสติวันนี้แหละใสแจ๋วที่สุด อนุโลมญาณเกิดขึ้น ๑ ขณะจิต โคตรภูญาณก็จะเกิดขึ้น ๑ ขณะจิตแล้วก็จะดับลงไป มรรคญาณก็จะเกิดขึ้น ๑ ขณะจิตแล้วก็ดับลงไป ผลจิตเกิดขึ้น ๒ ขณะจิตหรือ ๓ ขณะจิตแล้วแต่ชนิดของบุคคล สำหรับมันทบุคคลเกิด ๒ ขณะจิต ติกขบุคคลเกิด ๓ ขณะจิตผลญาณนี้เป็นกำไรที่มรรคประหานกิเลส แล้วก็ตัดภวังค์ต่อมโนทวารขึ้นสายใหม่ คือสายของมรรคแล้วก็บริกรรมต่อ เมื่อลงภวังค์และขึ้นจากภวังค์แล้ว ก็จะขึ้นสู่ปัจจเวกขณะ พิจารณาว่าเราละกิเลสไปได้เท่าไรแล้ว ถ้าคิดว่าเออ...เราเป็นอะไรไป เราง่วงนอนหรืออย่างไร เป็นปริยัติไปแล้ว มันทบุคคลจะบังคับเข้าผลสมาบัติเลยไม่ได้

การจำได้ สามารถจำได้เฉพาะอนุโลมญาณ และปัจจเวกขณญาณเท่านั้น ญาณที่ ๑๓-๑๔-๑๕ จำไม่ได้ และประเภทติกขบุคคลไม่มีบริกรรม ผลจิตก็มี ๓ ขณะ เมื่อลงทางมโนทวาร กำหนดพองหนอ ยังไม่กำหนดเลย มันเฉียดมรรคเข้าไปแล้ว เราจึงมักภาวนาไม่ทัน มันดับวูบลงไป รู้สึกตัวขึ้นมาเป็นปัจจเวกขณญาณแล้ว ในขณะมรรคแรกเกิด เป็นโสดาปัตติมรรค ผลเกิดเป็นโสดาปัตติผล ผู้ใดเคยให้ทานมามากจะผ่านทางอนิจจัง คือขณะที่เรากำหนดพองหนอ ยุบหนอไป อาการพอง-ยุบเร็วขึ้นๆ เรากำหนดว่า “รู้หนอๆๆ” ดับวูบลงไปเลยนิพพานของผู้นั้นชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ ผู้เคยเจริญสมถะมามากจะผ่านทางทุกขังคือขณะกำหนดพองหนอยุบหนอไปๆ อาการพอง-ยุบแน่นเข้าๆ เรากำหนดว่า “แน่นหนอๆๆ” ดับวูบลงไปเลย นิพพานของผู้นั้นชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้เคยเจริญวิปัสสนามามากแต่ชาติปางก่อนจะผ่านทางอนัตตา คือขณะกำหนดพองหนอ ยุบหนอ อาการพอง-ยุบสม่ำเสมอกันดีแล้วแผ่วเบาลงๆ เล็กลงๆ เรากำหนดว่า “รู้หนอๆๆ” ดับวูบลงไปเลยนิพพานของ ผู้นั้นชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ สูญแปลว่างเปล่า คือว่างเปล่าจากโลภะ โทสะ โมหะ ชื่อเหล่านี้เรียกตามพระไตรลักษณ์ ติกขบุคคลสอนง่ายเข้าสมาธิก็นาน

เมื่อจิตออกจากฌานหรือออกจากผลสมาบัติ จิตจะลงภวังค์เสียก่อนแล้วจับเอาอารมณ์อันเป็นบุญกุศลแต่ปางก่อนบุญกุศลนั้น จะเป็นคล้ายเรือทองพาออกจากฌาน หรือพาออกจากผลสมาบัติ ถ้าบุคคลเคยผ่านมรรคครั้งหนึ่งแล้ว เรียกโคตรใหม่ว่าโวทานโคตร (โคตรบริสุทธิ์) ผ่านโวทานโคตรของพระโสดาบันเข้าสู่โคตรของพระสกิทาคามี-พระอนาคามี-พระ อรหันต์ การปฏิบัติในระยะหลังๆ นี้ สภาวะจะชัดขึ้นเรื่อยๆ คือยิ่งปฏิบัติยิ่งละเอียด เช่น ทุกข์เพิ่มขึ้น เวทนาต่างๆ เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ จนสุดท้ายโหมโรงเข้าสู่เราเลย ความแจ่มใสของสติตามลำดับขั้น เช่น พระโสดาบันมีสติแจ่มใส ๒๐% พระสกิทาคามี ๔๐% พระอนาคามี ๘๐% พระอรหันต์มีสติแจ่มใส ๑๐๐% อาการดับไปครั้งที่ ๒ วูบไป ๑-๒ ครั้ง ดับไปครั้งที่ ๓ รู้สึกตัวมีความคิดว่ากิเลสหมดไปหรือยังหนอ แล้วก็วูบลงไปอีกๆ วูบลงไปแต่ละครั้งหายใจไม่ทัน แต่ไม่เกิน ๕ ครั้ง ดับครั้งที่ ๓ นี้ ความเย็นของใจคล้ายๆ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ดับครั้งสุดท้ายลงทางมโนทวารแล้วสติใสแจ๋ว เกิดมายังไม่เคยมีสติใสปานนี้สภาวะจะค่อยๆ วูบลงไปๆ ไม่เกิน ๑๐ ครั้ง กิเลสเหล่าใดที่ยังดับไม่หมด จะตามไปดับหมด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อริยสัจ ๔ มรรคมีองค์ ๘ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มารวมกันอยู่ในญาณที่ ๑๒ นี่เอง


สำนักปฏิบัติธรรม วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มิถุนายน 2559 15:19:04 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1003


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 21 มิถุนายน 2559 15:22:35 »




อาการดับที่คล้ายนิพพาน

     ๑.การดับด้วยอำนาจของปีติในญาณที่ ๓
     ๒.การดับด้วยอำนาจของปัสสัทธิในญาณที่ ๓ และญาณที่ ๔ แต่ยังจำไม่ได้ในขณะเพลินตามอำนาจของปัสสัทธิมันดับสงบทั้งที่ตัวยังตรงอยู่ เกิดมีความสงสัยว่าได้บรรลุมรรคผล
     ๓.การดับด้วยอำนาจของสมาธิขณะที่สมาธิของเราดีๆอยู่นี้แหละ มันจะดับวูบลงไปเลยก็เป็นได้
     ๔.การดับด้วยอำนาจของอุเบกขา คือเรากำหนดเพลินไปๆ มันดับวูบลงไปก็ได้
     ๕.การดับด้วยอำนาจของถีนมิทธะ เวลานั่งภาวนาไปในขณะที่จิตของเราถูกถีนมิทธะครอบงำเกิดความง่วง คือมันจะง่วงวูบลงไปๆ นี้เป็นอาการของจิตลงภวังค์ เมื่อจิตลงภวังค์ไปจนอิ่มตัวแล้วก็หายง่วง

อาการดับนี้ถ้าสติสมบูรณ์จะชัดเจนดี ถ้าสติไม่สมบูรณ์จะเลือนๆ ลางๆ ยังสองจิตสองใจอยู่ สติไม่สมบูรณ์ดับกิเลสยังอุ่นๆ อยู่ แต่มีกำลังพอที่จะฆ่าโมหะได้ แต่ตัวเองก็สะบักสะบอมเหมือนกัน ต้องพักฟื้น อาการดับเกิดในญาณที่ ๓ สติใส ๑๕% อาการดับเกิดในญาณที่ ๔ สติใส ๙๐% แต่ไม่สามารถจำได้ว่าดับลงไปในขณะไหน

การเดินจงกรมระยะที่ ๑ ได้สติ ๒ ครั้ง แต่เมื่อสอบอารมณ์รู้ว่าเข้าสู่ญาณที่ ๒ ก็ให้เดินจงกรมขึ้นระยะที่ ๒ ส่วนเวลานั่งเวลานอน การกำหนดพองหนอ ยุบหนอ ก็กำหนดเหมือนเดิม แต่ให้กำหนดต้นจิตเสียก่อน เพื่อให้ญาณที่ ๒ สมบูรณ์แบบ ให้กำหนดว่า “อยาก” คือจะยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม ทำ พูด คิด จะทำกิจอะไรก็ตาม ให้กำหนดต้นจิตคือกำหนดว่า “อยาก” นั่นเอง ถ้าญาณที่ ๓ เกิดขึ้นแล้ว ให้เดินจงกรมระยะที่ ๓ นั่งระยะที่ ๓ ถ้าญาณที่ ๔-๕ เกิดขึ้นแล้วให้เดินจงกรมระยะที่ ๔ นั่งระยะที่ ๔ ถ้าญาณที่ ๖-๗-๘ เกิดขึ้นแล้ว ให้เดินจงกรมระยะที่ ๕ นั่งระยะที่ ๕ ถ้าญาณที่ ๙ ๑๐-๑๑ เกิดขึ้นแล้ว ให้เดินจงกรมระยะที่ ๖ นั่งระยะที่ ๖

สำหรับการเดินจงกรมปฏิบัติธรรมฤดูหนาว (ปริวาส) ๓ วันเปลี่ยนครั้งหนึ่ง

สำหรับคนแก่ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑-๔ ก็สมบูรณ์แบบดีแล้ว ไม่ต้องให้เดินถึงระยะที่ ๕-๖ ก็ได้

ปฏิบัติธรรมฤดูหนาว ถ้าขึ้นมานัตแล้วให้ฝึกสมาธิ นั่ง ๑ ชั่วโมง ต้องบังคับให้นั่ง ๑ ชั่วโมงให้ได้ เพราะนั่ง ๓๐ นาทีไม่ค่อยได้สมาธิ

การบรรยายธรรมแล้วแต่เห็นสมควรแก่ผู้ปฏิบัติ เช่น วันแรกเรื่องของหายาก ๔ ประการ หรือเรื่องปรับความเข้าใจกัน วันที่ ๒ เรื่องชีวิตเป็นของน้อยรีบทำความเพียรเถิด เป็นต้น สำหรับผู้มีความประสงค์จะแทรกศัพท์เข้าไปบ้างก็ได้ ชาวบ้านไม่รู้ศัพท์ เราก็ควรใช้ธรรมะสำหรับชาวบ้าน บรรยายธรรมะแบบชาวบ้าน

ผู้ไม่รู้ธรรมจริงไปเทศน์ไปสอน เวลาสอนไปๆ เกิดวิปฏิสารกลัวคนอื่นจับผิด เวลาสอบอารมณ์กลัวเขาทักท้วงขึ้นมา

เวลาหลวงพ่อจะเทศน์หลวงพ่อขอให้โยมอยู่ฟังเทศน์มากๆ จะทำให้มีกำลังใจเวลาที่เราเทศน์อยู่บนธรรมาสน์ ไม่มีอะไรต้องต่ำต้อยน้อยใจไม่มีใครมาแย่งเทศน์ได้ในขณะนั้นการเทศน์ควรดู กาลดูเวลาว่ามีมากไหม

การทวนญาณต้องอาศัยสมาธิมาก (ขณิกสมาธิที่ติดต่อ) การอธิษฐานความเกิดดับ ถ้ายังนั่งไม่ถูกที่หรือสมาธิยังไม่พอ ก็ไม่เกิด

เวลาอธิษฐาน ควรให้อธิษฐานหลังผ่านใหม่ๆ จึงจะดีเพราะสมาธิมีกำลังสูง




รูปญาณ ๔

รูปฌาน ๔

รูปฌานที่ ๑ มีอาการเช่น หูยังได้ยินเสียงอยู่ แต่ไม่รำคาญ ไม่ฟุ้ง ไม่ตกใจ คือจะมีใครเอาปืนมายิง เอาประทัดมาจุดใกล้ตัวเรา ก็ไม่มีความสะดุ้งตกใจเลย

รูปฌานที่ ๒ มีอาการเช่น หูยังได้ยินเสียงอยู่ แต่ได้ยินอยู่ไกล ๆ เกิดปีติเสียวแปลบเหมือนฟ้าแลบ ความเสียวซ่านแผ่ตามร่างกาย ขนลุกทั้งตัว ไม่ได้บริกรรม ไม่ได้ตั้งใจให้หยุด มันหยุดเอง

รูปฌานที่ ๓ มีอาการเช่น หูยังได้ยินเสียงอยู่ แต่ไม่รู้ความหมาย ร่างกายแข็ง จะกระดิกนิ้วมือนิ้วเท้าไม่ได้ มีความสุขมาก ถ้านั่งไม่ตรงมาก่อน มาถึงฌานนี้ก็จะนั่งตรง สติยังพอมีอยู่

รูปฌานที่ ๔ มีอาการเช่น ลมหายใจหมดไป ตัวแข็ง ไม่รับรู้อะไร ใครจะเอามดแดง เอาไฟมาจี้ก็เฉย ไม่บริกรรม (จิตในขณะนั้นให้ผลกรรมเป็นปัจจุบัน) ถ้าลมหายใจมี แสดงว่าตกไปในฌานที่ ๓ (คนไม่หายใจ ๔ ประเภท ๑. คนดำน้ำ ๒. คนอยู่ในครรภ์ ๓. คนตาย ๔. คนเข้าจตุตถฌาน)

ภัยของรูปฌานที่ ๑ คือ วิตก - วิจาร
ภัยของรูปฌานที่ ๒ คือ คำบริกรรม
ภัยของรูปฌานที่ ๓ คือ ปีติ
ภัยของรูปฌานที่ ๔ คือ ลมหายใจ


สำนักปฏิบัติธรรม วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1003


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2559 11:47:52 »




รูปฌาน ๔

รูปฌานที่ ๑ มีอาการเช่น หูยังได้ยินเสียงอยู่ แต่ไม่รำคาญ ไม่ฟุ้ง ไม่ตกใจ คือจะมีใครเอาปืนมายิง เอาประทัดมาจุดใกล้ตัวเรา ก็ไม่มีความสะดุ้งตกใจเลย

รูปฌานที่ ๒ มีอาการเช่น หูยังได้ยินเสียงอยู่ แต่ได้ยินอยู่ไกล ๆ เกิดปีติเสียวแปลบเหมือนฟ้าแลบ ความเสียวซ่านแผ่ตามร่างกาย ขนลุกทั้งตัว ไม่ได้บริกรรม ไม่ได้ตั้งใจให้หยุด มันหยุดเอง

รูปฌานที่ ๓ มีอาการเช่น หูยังได้ยินเสียงอยู่ แต่ไม่รู้ความหมาย ร่างกายแข็ง จะกระดิกนิ้วมือนิ้วเท้าไม่ได้ มีความสุขมาก ถ้านั่งไม่ตรงมาก่อน มาถึงฌานนี้ก็จะนั่งตรง สติยังพอมีอยู่

รูปฌานที่ ๔ มีอาการเช่น ลมหายใจหมดไป ตัวแข็ง ไม่รับรู้อะไร ใครจะเอามดแดง เอาไฟมาจี้ก็เฉย ไม่บริกรรม (จิตในขณะนั้นให้ผลกรรมเป็นปัจจุบัน) ถ้าลมหายใจมี แสดงว่าตกไปในฌานที่ ๓ (คนไม่หายใจ ๔ ประเภท ๑. คนดำน้ำ ๒. คนอยู่ในครรภ์ ๓. คนตาย ๔. คนเข้าจตุตถฌาน)

ภัยของรูปฌานที่ ๑ คือ วิตก - วิจาร

ภัยของรูปฌานที่ ๒ คือ คำบริกรรม

ภัยของรูปฌานที่ ๓ คือ ปีติ

ภัยของรูปฌานที่ ๔ คือ ลมหายใจ



วิธีทำให้อายุยืน
๑.แผ่เมตตา ปล่อยสัตว์ที่เขาจะนำไปฆ่า
๒.บำเพ็ญกุศลกรรมบถ ๑๐
๓.ทำบุญต่ออายุ
๔.สวดมนต์สาธยาย เช่น สิริธิติ สักกัตวา นัตถิเม และอุณหัสสวิชัยสูตร เป็นต้น
๕.บำเพ็ญอนิมิตตเจโตสมาธิ

วิธีเจริญอนิมิตตเจโตสมาธิ
๑.ไหว้พระ
๒.ตั้งนะโม ๓ จบ
๓.ไตรสรณคมน์ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ฯลฯ
๔.เจริญพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
๕.สมาทานพระกรรมฐาน  “อุกาสะ อุกาสะ ณ โอกาสบัดนี้ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งพระกรรมฐาน ขอขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ และวิปัสสนาญาณ จงบังเกิดขึ้นในขันธสันดานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะตั้งสติกำหนดไว้ที่ลมหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้ารู้ลมหายใจออกรู้ สามหนและเจ็ดหน ร้อยหนและพันหน ด้วยความไม่ประมาทตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”
๖.คำอธิษฐานจิต “สาธุ สาธุ ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับแน่นิ่งอยู่ในอนิมิตตเจโตสมาธิ เป็นเวลา ๑๕ นาที พร้อมนี้ขอให้โรคภัยไข้เจ็บที่มีอยู่เป็นอยู่ในร่างกายนี้ จงหายไป ดับไป สิ้นไป สูญไป จากขันธสันดานของข้าพเจ้า อย่าได้กลับเกิดขึ้นมาอีก และขอให้ข้าพเจ้ามีอายุยืนยาวนาน ตลอดถึงกัลป์หรือเกินกว่ากัลป์ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเทอญ”
๗.คำบริกรรม นึกบริกรรมภาวนาว่า “จิตตัง อะนิมิตตัง” หรือ “จิตตัง นิพพานัง อะนิมิตตัง” ก็ได้ เอาสติตั้งไว้ที่ท้องพอง ท้องยุบ ภาวนาเรื่อยไปจนกว่าจะขาดความรู้สึก หรือได้เวลาอธิษฐานไว้

หมายเหตุ ถ้านั่ง ๓๐ นาที, ๑ ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น ขอให้อธิษฐานเพิ่มขึ้นตามต้องการ ขอให้เพียรภาวนาทุกวัน ถ้านั่งลำบากให้นอนเอา แล้วบริกรรมภาวนาเรื่อยไปจนกว่าจะหลับรู้สึกตัวขึ้นมาให้ภาวนาต่อไป จนกว่าจะได้เวลาที่เราอธิษฐานจิตไว้


บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1003


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 52.0.2743.116 Chrome 52.0.2743.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2559 17:05:41 »




วิธีฝึกกสิณดิน

ให้เอาดินมาทำดวงกสิณ เอาดินสีอาทิตย์แรกอุทัยโดยไม่มีหินกรวดเจือปนทำดวงกสิณให้เรียบ ตั้งดวงกสิณให้ห่าง ๔ ศอกคืบ ไม่ให้ดูสีของดิน แต่ให้สำเหนียกว่า “นี้ดินๆๆ” นั่งหลับตาระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อยังศรัทธา วิริยะ ความเพียรให้เกิดขึ้น พรรณนาถึงโทษของกามคุณให้สลด ให้ระลึกว่า แม้พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ก็ประพฤติมาอย่างนี้ แล้วค่อยลืมตาไม่กว้างไม่แคบ ลืมพอดีสำเหนียกว่า “ดิน นี้ดิน” แล้วบริกรรมว่า “ดินๆๆ” ประมาณ ๓-๕ นาที แล้วหลับตาประมาณ ๑๐-๒๐ นาที ถ้าไม่เห็นก็ลืมตา เพ่งใหม่ประมาณ ๓-๕ นาทีอีก แล้วก็หลับตาลง บริกรรมไป ๑๐-๒๐ นาทีอีก ทำในลักษณะนี้ร่ำไปจนกว่าอุคคหนิมิตเกิด ถ้าเห็นแล้วก็บริกรรมว่า “ปฐวีๆๆ” หรือจะบริกรรมว่า “ดินๆๆ” ร่ำไป แล้วก็ขยายขึ้นนิดหนึ่งก่อน ย่อลงแล้วค่อยขยายให้ใหญ่ยิ่งขึ้นไป อย่าด่วนไปขยายใหญ่เลยทีเดียว การขยายใหญ่เล็กนั้น ด้วยอำนาจสมาธิ ถ้าสมาธิดี ก็ขยายให้กว้างได้ตามกำลังของสมาธิ ถ้าทำได้แล้วไม่ต้องถือเอาดวงกสิณไปอีก ฝึกให้ชำนาญก่อน จึงค่อยไปฝึกดวงอื่น เมื่อทำได้หมดทุกดวงแล้ว ค่อยฝึกอภิญญา

การฝึกอภิญญาอยู่ที่บารมี การเพ่งอาโลโกกสิณนี้ได้ ประโยชน์กว่า หลังจากฝึกจนได้อุคคหนิมิต คล่องในวสีแล้ว ก็ให้อธิษฐานว่า “สาธุๆๆ ขอให้ปาทกฌาน จงบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า ๑๐ นาที” ปาทกฌานคือฌานอันเป็นบาทให้เกิดอภิญญาจิต ให้บริกรรมว่า “อาโลโกๆๆ” อย่างนี้ร่ำไป จนแสงสว่างมาปรากฏแล้วก็คลายออกมา อธิษฐานใหม่ว่า “ขอให้อภิญญา ทิพยจักษุ จงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า ๒ ชั่วโมง” สมาธิต้องให้อยู่ในปฐมฌาน ขณะนั้นเราต้องเพ่งดูวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ ตัวเราก่อน แล้วจึงขยายออกไป ให้กว้างกว่านั้นขึ้นไปเรื่อยๆ ก่อนจะขยายไปแต่ละครั้ง ต้องทำให้ชำนาญเสียก่อน จนต้องการจะมองเห็นสิ่งใดก็สามารถจะมองเห็นได้ เช่น เปรต อสุรกาย นรก ภูตผีปีศาจ ผีปอบ อมนุษย์ และของตามธรรมดาที่มองไม่เห็น เช่น บึ้งขี่หัว เป็นต้น ก็สามารถที่จะเห็นได้ ถ้าอธิษฐานแล้ว มองไม่เห็น ก็อธิษฐานเข้าปาทกฌานอีก แล้วก็ถอยออกมาอธิษฐานว่า “ขอให้อภิญญา ทิพยจักษุจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าอีก” ถ้ายังทำไม่ได้ก็ให้อธิษฐานเข้าออกในลักษณะเช่นนี้เรื่อยไป แต่ถ้าทำได้แล้ว ก็หมดความสงสัยในเรื่อง ของเทวดา เปรต นรก เป็นต้น เมื่อทำได้แล้ว จะดูได้ใกล้หรือไกลก็ด้วยอำนาจของสมาธิ เหมือนไฟฉายส่องไปได้เท่าไรก็สามารถมองเห็นได้เท่านั้น ถ้าสมาธิดีก็สามารถมองเห็นได้ไกลและชัดเจนขึ้น ปฐมฌาน ทุติยฌานใช้ได้ แต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ การที่ทิพยจักษุจะเกิดหรือไม่นั้น ถ้าเราอธิษฐานแล้ว มันเป็นไปเป็นเอง ถ้าบารมีของเรามี การเพ่งอาโลโกใช้ไฟฉายก็ได้

ถ้าอยากได้ทรัพย์ในดินสินในน้ำ ให้เข้าสมาธิไปเท่าที่จะเข้าได้ แล้วถอยออกมาอยู่ปฐมฌานอีก เมื่อพบเจ้าของทรัพย์แล้ว เราจะพูดอะไรก็ให้นึกเอา เรานึกเขาก็รู้ ถ้าต้องการทรัพย์ก็ให้เทศน์โปรดเอา แต่อย่าเสียสัจจะที่ให้ไว้ต่อเขาเป็นอันขาดถ้าฟังเสียงเขาไม่รู้ ก็เข้าสมาธิไปใหม่ แล้วอธิษฐานว่า “ขอให้ข้าพเจ้า จงเข้าใจความหมายของเสียงนั้นเถิด” จะสามารถได้ยินเสียงขยายออกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดกำลังของมัน (สมาธิ)

พิเศษ ทำธนูไว้ในดวงกสิณ แต่อย่าให้โผล่ออกนอกดวงกสิณ เมื่อเป็นอุคคหนิมิตแล้ว ใช้สู้กับยักษ์ได้ เวลาเดินจงกรมให้ใจของเราอยู่ที่ดวงกสิณ บริกรรมว่า “อาโลโกๆๆ” ก็ได้





ฝึกบุพเพนิวาสานุสสติญาณ

ให้เรานั้น อธิษฐานเข้าปาทกฌาน ๑๐ นาที แล้วถอยออกจากปาทกฌาน อธิษฐานอีกว่า “ขอให้บุพเพนิวาสานุสสติญาณ จงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า ตลอด ๒ ชั่วโมง” เมื่อทำได้แล้วก็ให้นึกย้อนหลังไปตั้งแต่ชั่วโมงแรกไป ย้อนหลังไปเรื่อยๆ จนถึง ๒๔ ชั่วโมง จากนั้นก็ย้อนไปอีกเป็น ๒ วัน ๓ วัน เป็นเดือน เป็นปี เป็นหลายปี จนถึงครรภ์ของแม่ แล้วก็ระลึกถัดจากชาตินี้ไป ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓-๔-๕ ชาติต่อไป จะระลึกได้มากหรือน้อยแล้วแต่อำนาจของสมาธิ

อภิญญาจิต ถ้าเราอธิษฐาน ๒ ชั่วโมง เมื่อครบ ๒ ชั่วโมงแล้ว จะหมดหายไปเอง อธิษฐานเป็น ๑๒-๒๔ ชั่วโมง ครบแล้วจะหมดหายไปเอง ถ้าต้องการให้หายไวกว่าเวลาปกติให้เข้าสมาธิแล้วอธิษฐานให้หายไปตามเวลาที่ ต้องการ ถ้าออกก่อนเวลาที่เราอธิษฐานไว้ ออกแล้วอภิญญานั้นยังเกิดอยู่ตามเดิมก็มี

การรู้จิตใจของผู้อื่นทำได้ยาก เพราะต้องรู้ความโลภ โกรธ หลง ความดีใจ เสียใจ รู้ระดับจิตใจของตัวเองให้ดีเสียก่อนว่าอยู่ในระดับไหนแล้ว จึงจะสามารถรู้จิตของผู้อื่นได้

การแสดงฤทธิ์ได้ แล้วแต่บุญวาสนาบารมี และอำนาจของสมาธิว่าทำได้มากน้อยแค่ไหน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.289 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 เมษายน 2567 08:52:26