[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 00:32:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นำชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ "เรือพระราชพิธี"  (อ่าน 9052 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 19 สิงหาคม 2559 15:18:15 »




นำชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เรือพระราชพิธี
ปากคลองบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกเป็นชนชาติที่เดินเรือค้าขายระหว่างเมืองต่างๆ ในทะเลอิเจียน รอบๆ ประเภทกรีซในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเดินเรือติดต่อกับอาณาจักรโรมันและเมืองอื่นๆ ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาเหนือ  ชาวโรมันก็เป็นอีกชนชาติหนึ่งที่เดินเรือค้าขายติดต่อกับประเทศต่างๆ ในดินแดนดังกล่าวมาแล้ว

คนไทย รู้จักใช้เรือเป็นพาหนะมานานนับพันปี เพราะโดยสภาพภูมิศาสตร์ที่มีแม่น้ำลำคลองอยู่แทบทั่วอาณาจักรสยาม เรือจึงเป็นยานพาหนะอย่างเดียวที่เหมาะและใช้กันมากที่สุด หลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเดินเรือของคนไทยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ.๑๘๒๒-๑๘๔๓) แห่งกรุงสุโขทัย หลักที่ ๔ ด้านที่ ๔ กล่าวว่าการเดินทางด้วยเรือและถนน แสดงว่ามีการสร้างเรือมาแต่สมัยสุโขทัยแล้ว  สันนิษฐานว่าในสมัยนั้นมีการต่อเรือจากไม้ซุงท่อนเดียวทั้งต้น รวมไปถึงเรือที่ใช้ไม้กระดานต่อกันแล้วชันยา เดินทางไปมาหาสู่กันอย่างแพร่หลาย และเชื่อกันว่าการสร้างเรือเป็นพาหนะนี้เป็นพัฒนาการของมนุษย์ซึ่งเริ่มต้นจากการรู้จักผูกต่อซุงให้เป็นแพใช้กันมาก่อน

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีรถยนต์และถนนหนทางเป็นทางคมนาคมบนแผ่นดินดังเช่นในปัจจุบัน ประกอบกับกรุงศรีอยุธยาและกรุงเทพฯ มีทำเลที่ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มไม่ไกลจากทะเล มีแม่น้ำลำคลองล้อมรอบ ผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ตามริมน้ำ   “เรือ” จึงเป็นพาหนะสำคัญชนิดเดียวที่ใช้ในการใช้สัญจร ขนส่งสัตว์เลี้ยง พืชผัก สินค้าต่างๆ ไปค้ามาขายระหว่างแม่น้ำลำคลองและทะเล ซึ่งเป็นปกติในการใช้เรือ นอกจากนี้ยังเป็นพาหนะสำหรับเคลื่อนย้ายกำลังพลเป็นกองทัพไปทำศึกสงคราม ป้องปรามอริราชศัตรูทั้งภายในและภายนอก

วิวัฒนาการการเดินเรือของไทยรุ่งเรืองมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากขณะนั้นไทยมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศในแถบยุโรป ได้แก่ โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส ทำให้เกิดเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ เช่นเรือสำเภาและเรือกำปั่น มีอู่ต่อเรือหลวงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ประชาชนต่างอาศัยเรือเล็กเรือน้อยสัญจรไปมาหนาตา ถึงขนาดที่บาทหลวงชาวฝรั่งเศสบันทึกเอาไว้ว่า “ในแม่น้ำลำคลองเต็มไปด้วยเรือ จะไปไหนต่อไหนไหนก็เจอแต่เรือแน่นขนัดไปหมด จนไม่สามารถแหวกทางผ่านกันได้หากไม่ชำนาญ ทั้งที่เรือแน่นขนัดจอแจเช่นนี้ก็ไม่ปรากฏว่าเกิดอุบัติเหตุแต่อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องอัศจรรย์อย่างยิ่ง”

เรือไทยเมื่อสมัยก่อน มีทั้งเรือขุดและเรือต่อ นิยมทำด้วยไม้ เช่น ไม้ตะเคียน ไม้สัก ไม้เคี่ยมหรือไม้ประดู่ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งลอยน้ำได้ดี ไม่ผุง่ายแม้จะแช่อยู่ในน้ำนานๆ  โดยทั่วไปมักจะเป็นเรือขุด เช่น เรือพระที่นั่ง เรือยาว เรือพาย เรือหมู เป็นต้น




ภาพจาก เว็บไซต์ palungjit.org


เรือกระแชง หรือ เรือ "เอี้ยมจุ๊น"

ยังมีเรืออีกชนิดหนึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยถาวร เรียกว่า "เรือกระแชง" หรือ “เรือเอี้ยมจุ๊น” โดยทำหลังคากันแดดกันฝนคลุมไปตามยาวของลำเรือ  ปูกระดานเต็มท้องเรือคล้ายเพดานเรือน ผนังเรือเจาะเป็นช่องประตูเข้าออก มีหน้าต่างช่วยระบายลม แล้วใช้ชีวิตกินอยู่หลับนอนอยู่ในเรือนั้นตลอด โดยพื้นที่ในลำเรือใช้เป็นทั้งที่นั่งเล่น ที่หลับนอน มีห้องน้ำเล็กๆ พื้นที่ของส่วนท้ายเรือซึ่งโล่งโปร่งมักใช้เป็นพื้นที่ประกอบอาหาร  เรือที่กล่าวนี้มักจอดเรียงรายปักหลักปักฐานอาศัยอยู่เป็นประจำตามลำแม่น้ำในย่านชุมชุนเมือง ดูคล้ายชุมชนในลำน้ำย่อมๆ ชุมชนหนึ่ง ในสมัยก่อนมีให้เห็นได้ในจังหวัดแถบภาคกลาง บริเวณต้นน้ำเจ้าพระยา ซึ่งในอดีตเป็นเส้นทางคมนาคมในการสัญจรของชาวบ้าน และเป็นเส้นทางขนส่งสินค้านานาชนิดที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของภาคกลาง  

เรือประเภทนี้จัดอยู่ในประเภท “บ้าน” ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรฯ คือเป็นโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจำ มีเจ้าบ้านครอบครอง มีการออกเลขที่บ้าน (เลขที่เรือ)  ปัจจุบันไม่มีเรือเอี้ยมจุ๊นให้เห็นในบริเวณต้นน้ำเจ้าพระยาอีกแล้ว...(ด้วยสาเหตุใดขอยกไว้ไม่กล่าวถึง) จึงเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะถ้าอนุญาตให้ราษฎรได้อาศัยเรือแทนบ้านอย่างในอดีตอยู่ต่อไป โดยกำหนดให้มีมาตรการที่เข้มงวดให้ผู้อยู่อาศัยในเรือช่วยกันบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมและสุขอนามัยของการดำรงชีวิตในลำน้ำแล้ว สถานที่นี้จะเป็นแหล่งที่ควรค่าแก่การศึกษาถึงวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำมาตั้งแต่บรรพกาล และเป็นสิ่งที่หาดูชมได้ยากในปัจจุบันสมัย






เรือพระราชพิธี

ประวัติความเป็นมาของเรือพระราชพิธี
เรือพระราชพิธี เป็นคำเรียกเรือที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้โดยเสด็จในการพระราชกรณียกิจต่างๆ มาแต่ครั้งโบราณ เช่น เป็นพาหนะทรงพระกฐิน การจัดกระบวนเรือรับราชทูต และในการเสด็จนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี การจัดกระบวนเรือดังกล่าว เรียกว่า “กระบวนพหยุหยาตราทางชลมารค”  ซึ่งเป็นการจัดรูปกระบวนเรือรบในแม่น้ำตามตำราพิชัยสงคราม  

การจัดกระบวนเรือพระราชพิธีสืบเนื่องมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาและถือเป็นพระราชพิธีโดยเสด็จ กระบวนพยุหยาตราที่สำคัญในปัจจุบัน คือ กระบวนพยุหยาตราชลมารคเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินหลวงวัดอรุณราชวราราม

ในสมัยอยุธยา เรือที่นำมาใช้ในกระบวนเรือพระราชพิธีส่วนมากจะเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่รูปเพรียวยาว ใช้ฝีพาย พายไปได้เร็ว เดิมใช้เป็นเรือรบประเภทขับไล่ทางแม่น้ำซึ่งมี ๔ ชนิดคือ
๑.เรือแซ คือ เรือกรรเชียงยาวแบบโบราณของไทย ใช้ในแม่น้ำ แล่นช้าเรียกว่าเรือแซ สำหรับใช้ในการลำเลียงพล เสบียงอาหาร และเครื่องศัตราวุธสำหรับกองทัพ (กรรเชียง เป็นลักษณะการนั่งหันหลังแจวเรือ ๒ มือ)
๒.เรือไชย คือ เรือยาวเช่นเดียวกับเรือแซ ใช้ฝีพาย แล่นได้เร็วกว่าเรือแซ
๓.เรือรูปสัตว์ คือ เรือที่มีโขนเรือสลักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ทั้งสัตว์จริงและสัตว์ในเทพนิยายเช่น ครุฑ พญานาค เป็นต้น ใต้โขนเรือกว้างเจาะเป็นช่องติดตั้งปืนใหญ่
๔.เรือกราบ คือ เรือโบราณที่ใช้ฝีพาย ลักษณะคล้ายเรือไชย แล่นเร็วกว่าเรือทุกประเภท

กระบวนเรือโบราณ
สมัยโบราณจัดทำเป็น ๒ สำรับ คือ เรือทอง หมายถึงเรือที่สลักลวดลายลงรักปิดทองสำรับหนึ่ง สำหรับใช้เวลาเสด็จในกระบวนที่เป็นพระราชพิธี ส่วนอีกสำรับหนึ่งเป็นเรือไม้ มักใช้ทรงในเวลาปกติ ไม่ปะปนกัน ลักษณะหน้าที่ของเรือพระราชพิธี แบ่งเป็น ๒ เหล่า คือ เรือเหล่าแสนยากร และเรือพระที่นั่ง

ประเภทของเรือในกระบวนเรือ
๑.เรือต้น คือ เรือพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ แต่ในสมัยหลังความหมายของเรือประเภทนี้ได้เปลี่ยนไป คือ เรือที่พระมหากษัตริย์โดยเสด็จลำลองเป็นการประพาสต้นไปทรงตรวจทุกข์สุขของราษฎรโดยมิให้คนอื่นรู้

๒.เรือที่นั่ง คือเรือพระที่นั่งซึ่งเรียกอย่างย่อ เป็นเรือพระที่นั่งของพระบรมวงศานุวงศ์

๓.เรือพระที่นั่งทรง เรือพระที่นั่งรอง คือ เรือลำที่พระมหากษัตริย์ประทับและมีเรือพระที่นั่งรองในกรณีเรือพระที่นั่งทรงชำรุด

๔.เรือพระที่นั่งรอง คือ เรือพระที่นั่งลำที่สำรองไว้ในกรณีเรือพระที่นั่งทรงชำรุด สันนิษฐานว่าพระที่นั่งสำรองคงพายร่วมไปในขบวนเสด็จด้วย

๕.เรือพลับพลา คือ เรือสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงใช้เปลื้องเครื่องทรง (เครื่องราชกกุธภัณฑ์)

๖.เรือเหล่าแสนยากร หรือเรือศีรษะสัตว์ (เรือพิฆาต) คือ เรือรบที่อยู่ในขบวน เรือศีรษะสัตว์นี้มิใช่แต่จะเป็นเรือพิฆาตเท่านั้น อาจใช้เป็นเรือพระที่นั่งก็ได้  ศีรษะสัตว์ที่ใช้ในเรือแสนยากรนั้นต้องเป็นรูปศีรษะสัตว์ชั้นรอง และเขียนรูปด้วยสีธรรมดามิใช่เขียนด้วยสีทอง
   
๗.เรือดั้ง คือ เรือทำหน้าที่ป้องกันหน้าขบวนเรือ เป็นเรือไม้เขียนลายลงรักปิดทอง มีทวนหัวตั้งสูงและงอนขึ้นไป “ดั้ง” แปลว่า หน้า ฉะนั้นเรือดั้งก็คือเรือนำหน้านั่นเอง  “เรือดั้ง” นี้เป็นศัพท์ที่เพิ่งเรียกกันใหม่ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพบศัพท์นี้เฉพาะ “ดั้ง” ของเรือพระที่นั่งทรงและใช้เรือพระที่นั่งกิ่งเป็นเรือดั้ง

๘.เรือโขมดยา  คือ เรือไชยที่เขียนหัวด้วยน้ำยา หัวท้ายงอนคล้ายเรือกัญญา เรือโขมดยาเป็นเรือพาหนะแสดงสมณศักดิ์ของเจ้าอาวาส หรือเป็นเรือประจำยศของพระราชาคณะ

๙.เรือแซง คือ เรือโขมดยา ๔ ลำที่อยู่ขบวนหน้าชั้นใน อยู่หน้าขบวนเรือพระราชยาน เรือแซงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้มักใช้เรือกราบ

๑๐.เรือประตู คือ เรือคั่นระหว่างขบวนย่อย ลักษณะเป็นเรือกราบ กลางลำมีกัญญา ทำหน้าที่เป็นเรือริ้วกระบวน

๑๑.เรือพิฆาต เป็นเรือที่แล่นเร็ว ทำหน้าที่นำกระบวนเป็นลำดับแรก เป็นเรือที่มีหัวเรือเขียนลายหน้าเสือ ไม่ปิดทอง ได้แก่ เรือเสือทะยานชลและเรือเสือคำรณสินธุ์

๑๒.เรือคู่ชัก เป็นเรือชัย ทำหน้าที่ลากจูงเรือพระที่นั่งซึ่งมีขนาดใหญ่และหนักมาก เรือคู่ชักมีชื่อว่า “เรือทองบ้าบิ่น และทองขวานฟ้า” เป็นเรือที่แล่นเร็ว

๑๓.เรือตำรวจ เป็นเรือที่พระตำรวจ หรือข้าราชการในพระราชสำนักลงประจำทำหน้าที่เป็นองครักษ์ มีทั้งตำรวจนอก-ตำรวจใน

๑๔.เรือกลองนอก-กลองใน คือ เรือสัญญาณ เพื่อให้เรืออื่นหยุดพายหรือจ้ำ ต่อมาเมื่อมีแตรฝรั่งเข้ามาในเมืองไทยแล้ว เสียงแตรได้ยินไกลกว่าเสียงกลอง จึงได้เลิกใช้สัญญาณจากเสียงกลอง แต่คงเรียกเรือกลองเช่นเดิม และเพื่อรักษาประเพณีเดิมเอาไว้ ในปัจจุบันเมื่อมีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจึงยังมีทั้งเรือกลองนอกและเรือกลองในอยู่  

๑๕.เรือกัน เป็นเรือป้องกันศัตรู มิให้จู่โจมมาถึงเรือพระที่นั่งอยู่แนวที่ใกล้เรือพระที่นั่งมากกว่าเรือแซง

๑๐.เรือรูปสัตว์ มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ในสมัยโบราณเคยมีเรือรูปสัตว์หลายชนิด เช่น ราชสีห์ คชสีห์ ม้า เลียงผา นกอินทรี สิงโต มังกร นาค ครุฑ ปักษี หงส์ เหรา กระโห้ ฯลฯ เรือรูปสัตว์อาจจัดเป็นเรือพิฆาต หรือเหล่าแสนยากร หรือเรือพระที่นั่งได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความวิจิตรงดงาม ความสำคัญของโขนเรือนั้นๆ และพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ที่จะมีพระราชประสงค์เพื่อใช้ในพระราชพิธี หรือพระราชกรณียกิจต่างๆ

๑๑.เรือริ้ว คือ เรือที่อยู่ในริ้วขบวนที่แล่นตามกันไปในริ้วขบวน



เรือบัลลังก์แบบต่างๆ ภาพใกล้ที่สุดคือเรือพระที่นั่งสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม
ภาพนี้ ชาวฝรั่งเศสที่มากับคณะมัชชันนารีเขียนจากเรือพระที่นั่งต่างๆ
ตามที่บุคคลเหล่านั้นได้เข้ามาพบเห็น ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เรือพระที่นั่ง

เรือที่สำคัญที่สุดในกระบวนพยุหยาตราชลมารค คือ “เรือพระที่นั่ง”

เรือพระที่นั่งเป็นพระราชพาหนะที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ ที่เรียกว่า “ชลมารค” เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไปในอดีตซึ่งต้องใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นหลักมากกว่าทางบก เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีถนนหนทางที่สะดวกสบายดังเช่นในปัจจุบัน  การเดินทางการขนส่งจึงอาศัยเรือ หรือแพ ซึ่งมีขนาดใหญ่ สามารถใช้บรรทุกคน สัตว์ และสัมภาระต่างๆ ได้มากกว่าเกวียน ช้าง ม้า และรวดเร็วกว่าการเดินทางทางบก ฉะนั้น ผู้คนในอดีตตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน แม้จนกระทั่งนักบวช เช่น พระภิกษุสามเณร ล้วนใช้เรือเป็นพาหนะแทบทั้งสิ้น

เรือที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ประทับในการเสด็จพระราชดำเนินทางไปทางน้ำนี้ เรียกว่า เรือพระที่นั่ง หากเป็นเรือของพระบรมวงศานุวงศ์หรือเจ้านายองค์อื่นๆ ประทับก็มีชื่อเรียกต่างกันไปตามตำแหน่งฐานานุศักดิ์หรือชั้นยศ

เรือพระที่นั่งสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงนั้นมีอยู่หลายประเภท หลายแบบ ตามลักษณะของการใช้งาน หรือมีพระราชประสงค์ให้สร้างเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การเสด็จไปในการพระราชสงคราม เรือพระที่นั่งจะเป็นเรือสำคัญที่สุด เพราะเป็นเรือที่พระมหากษัตริย์ทรง หรือประทับเป็นแม่ทัพหลวงหรือจอมทัพ เรือพระที่นั่งจะอยู่ตรงตำแหน่งของแม่ทัพตามรูปผังขบวนทัพตามหลักหรือตำราพิชัยสงคราม ถ้าในขบวนมีการอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญไปด้วย เช่น พระชัย จะต้องมีเรือพระที่นั่งอีกลำหนึ่ง มักเป็นเรือพระที่นั่งรอง แต่ให้นำหน้าเรือพระที่นั่งทรง เพราะเป็นการถวายพระเกียรติสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ขบวนแบบนี้เรียก “ขบวนพยุหยาตรา” คือขบวนทัพที่ใช้ทางน้ำเป็นเส้นทางเดินทัพ จึงเรียกขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เมื่อคราวรบพม่าที่เมืองกาญจนบุรี ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ความว่า “ครั้งถึงวันศุภวารมหาพิชัยมงคลฤกษ์ ในมฤคศิรมาศศุกรปักษ์ดิถี จึงสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก็ถวายบังคมลาสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้า เสด็จทรงเรือพระที่นั่งบัลลังก์แก้วจักรพรรดิ์ ปิดทองทึบเรือพระที่นั่งสวัสชิงไชยประกอบพื้นดำทรงพระไชยนำเสด็จฯ พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาทโดยเสด็จดาษดาดำเนินพยุหโยธาทัพหลวงจากกรุงเทพฯ โดยทางชลมารค” ในขณะที่ทำการรบกับพม่าติดพันอยู่นั้น ทรงมีหนังสือบอกข้อราชการสงครามมากราบถวายบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบและทรงเกรงว่าจะเอาชนะข้าศึกไม่ได้โดยเร็ว จึงยกทัพหนุนขึ้นไปช่วยสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ "เสด็จทรงเรือพระที่นั่งบัลลังก์บุษบกพิศาลประกอบพื้นแดง เรือพระที่นั่งพิมานเมืองอินทร์ประกอบพื้นดำ ทรงพระไชยนำเสด็จพร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาท โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นอันมากและพลโยธาทหารในกระบวนทัพหลวง เป็นคน ๒๐,๐๐๐ เสด็จยาตราพลนาวาพยุหออกจากกรุงเทพมหานคร รอนแรมโดยทางชลมารคถึงเมืองกาญจนบุรี” ตามเหตุการณ์ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารที่ได้ยกมานี้แสดงให้ทราบได้ชัดเจนว่า เรือพระที่นั่งในขบวนเรือพระราชพิธีเดิมใช้ในขบวนพยุหยาตราทัพเป็นภารกิจหลักที่สำคัญ
 


หมู่เรือบัลลังก์และขบวนเรือต่างๆ ในพระนครศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช


เรือบัลลังก์พระที่นั่งของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม มีฝีพายหนึ่งร้อยยี่สิบคน
ทั้งสองภาพนี้ ชาวฝรั่งเศสที่มากับคณะมัชชันนารีเขียนจากเรือพระที่นั่งต่างๆ
ตามที่บุคคลเหล่านั้นได้เข้ามาพบเห็น ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนี้ นอกจากจะจัดเป็นขบวนทัพเพื่อยกหรือเคลื่อนไปรณรงค์สงครามทำการรบแล้ว ในยามบ้านเมืองปกติพระมหากษัตริย์มักจะให้ซ้อมริ้วขบวนเพื่อการพระราชพิธีต่างๆ เช่น การทอดผ้าพระกฐิน พระราชพิธีลงสรงในงานโสกันต์ พระราชพิธีแห่อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ พระราชพิธีอัญเชิญพระศพ พระราชพิธีลอยพระอังคาร หรือพระราชพิธีฟันน้ำในสมัยกรุงศรีอยุธยา  พระราชพิธีเหล่านี้ใช้ขบวนเรือมากบ้างน้อยบ้างตามความสำคัญของพระราชพิธี ขบวนเรือเหล่านี้มักจะเรียกขบวนเรือพระราชพิธี

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  กรุงเก่ามีสภาพเป็นเกาะล้อมรอบด้วยแม่น้ำกว้างใหญ่ ๓ สาย ได้แก่ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำลพบุรี ในยามบ้านเมืองสงบสุข ปรากฏการสร้างเรือมากมายในกรุงศรีอยุธยา ตามบันทึกจดหมายเหตุรายวัน ของ บาทหลวง เดอ ชัวซีย์  ผู้ช่วยทูตมาในคณะของเชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ ซึ่งเป็นราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เชิญพระราชสาสน์มายังสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พรรณนาสภาพความเป็นอยู่ของพระนครศรีอยุธยา ว่า สิ่งที่น่าชมที่สุดที่ได้เห็นก็คือ บรรดาค่ายหรือหมู่บ้านที่ชาวชาติต่างๆ แต่ละชาติ รวมกันอาศัยอยู่สองฟากฝั่งของเกาะนี้ เรือนแพทุกหลังสร้างด้วยไม้ วัวควายกับหมูเลี้ยงไว้ในคอกยกพื้นสูงพ้นน้ำท่วม ทางขึ้นล่องไปมาค้าขายเป็นทางน้ำใสและไหลแรงไปสุดสายตาฯ ...และเหนือยอดไม้นั้นขึ้นไป เราจะเห็นหลังคาพระอุโบสถกับยอดพระเจดีย์ปิดทองอร่ามลงพื้นถึงสามชั้นตั้งอยู่เป็นระยะๆ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าจะบรรยายให้ท่านเห็นจริงตามภาพพจน์นี้ได้บ้างหรือไม่แต่ที่แน่นอนที่สุดก็คือข้าพเจ้าไม่เคยประสบทัศนียภาพที่งดงามเห็นปานฉะนี้มาแต่ก่อนเลยฯ ...ในแม่น้ำมีเรือสินค้าฝรั่งเศส อังกฤษ ฮอลันดา จีน ญี่ปุ่น สยาม กับเรือบัลลังก์นับไม่ถ้วน เรือพายปิดทองและมีฝีพายถึงลำละหกสิบคน  พระเจ้าแผ่นดินทรงให้สร้างเรือสินค้าตามแบบยุโรปฯ

... สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามทรงมีเรือบัลลังก์ที่งดงามที่สุดในโลก และทรงมีเป็นจำนวนมาก เป็นเรือขนาดย่อม ทำขึ้นจากซุงท่อนเดียวซึ่งความยาวมากอย่างน่าพิศวง หัวเรือท้ายเรืองอนสูงมาก และผู้ควบคุมเรือหรือนายท้ายนั้นกระทืบเท้าลงที่เรือ ทำให้เรือสะท้านไปทั้งลำ เรือบัลลังก์นั้นปิดทองเกือบทั่วทั้งลำ และประดิดประดับด้วยงานแกะสลักที่งดงามมาก ตรงกลางลำมีที่นั่งคล้ายบัลลังก์มียอดแหลม  สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคโดยประทับไปในเรือบัลลังก์พระที่นั่ง ขบวนเสด็จพระราชดำเนินนั้นประกอบด้วยเรือบัลลังก์กว่าสองร้อยลำ จัดลำดับกันไปตามฐานานุกรมฯ...เรือบัลลังก์พระที่นั่งของพระเจ้าแผ่นดินนั้นวิจิตรและสง่างามเหลือจะพรรณนา มีฝีพายประจำเรือประมาณหนึ่งร้อยห้าสิบคนกับพายปิดทองทั้งเล่ม พระเจ้าแผ่นดินทรงเครื่องฉลองพระองค์ประดับล้วนด้วยเพชรนิลจินดา   ฝีพายของพระองค์ทุกคนสวมเสื้อเกราะอ่อนมีผ้าพันแขนเป็นเครื่องหมาย และสวมลอมพอกทองคำเนื้อตัน และที่เท้าของเขาแต่ละคนมีหอก, ดาบและปืนคาบศิลาวางอยู่ฯ



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กันยายน 2559 16:32:49 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 26 สิงหาคม 2559 17:56:15 »




เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ (ลำเก่า)
ภาพจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี กรุงเทพมหานคร

เรือพระที่นั่งในอดีต
(Royal Barges in the Past)
โดย นิยม กลิ่นบุบผา
นักวิชาการช่างศิลป์เชี่ยวชาญ (ด้านช่างสิบหมู่) สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

เรือพระที่นั่งในปลายกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เฉพาะที่ใช้ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เท่าที่ปรากฏในเอกสารต่างๆ พอจะจัดเข้าเป็นประเภทได้ดังนี้

๑.เรือพระที่นั่งกิ่ง
เป็นเรือพระที่นั่งที่สวยงามเป็นพิเศษ มีศักดิ์สูงสุดในบรรดาเรือพระที่นั่งและสูงสุดในขบวนเรือพยุหยาตรา  มีเรื่องกล่าวไว้ในพงศาวดารสมัยพระเจ้าทรงธรรม (น่าจะหลังพุทธศักราช ๒๑๕๓ ลงมา) เสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรรอยพระพุทธบาททางชลมารคโดยขบวนเรือ ในเวลาที่เสด็จกลับ มีเรื่องเล่าว่าจะเป็นฝีพายหรือนายท้ายเรือเอาดอกเลาปักตรงปัถวีเรือไชย เมื่อเรือเคลื่อนไปดอกเลาพลิ้วลมไสว มีพระราชดำรัสว่างามดี เมื่อถึงพระนครฯ เรียบร้อยแล้ว ทรงมีรับสั่งให้แปลงปัถวีเรือไชยเป็นเรือกิ่ง เข้าใจว่าในการเสด็จฯ ครั้งนั้นจะไม่ได้เสด็จประทับเรือไชย คงจะประทับเรือพระที่นั่งอีกลำหนึ่งซึ่งตามหลังเรือไชย จึงทอดพระเนตรเห็นท้ายปัถวีเรือไชยได้ถนัดและตรัสว่างามดี จึงโปรดฯ ให้แกะสลักลายประดับท้ายเรือไชยแทนดอกเลาเป็นการถาวร และลายสลักที่ท้ายเรือหรือปัถวีเรือไชยนี้คงจะมีทรงเป็นช่อลายคล้ายพลิ้วลมอย่างดอกเลา แลดูเป็นกิ่งลายหรือกิ่งช่อลาย จึงเรียกเรือพระที่นั่งที่แก้แปลงประดับลายใหม่นี้ว่าเรือกิ่ง และคงจะทรงโปรดเรือพระที่นั่งลำนี้มากด้วย จึงได้ขึ้นระวางเป็นเรือชั้นสูงสุด

ในสมัยต่อมา เรือพระที่นั่งกิ่งมีการสร้างเพิ่มขึ้นอีกหลายลำดับปรากฏชื่อในขบวนเรือพยุหยาตราเพชรพวง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขบวนพยุหยาตราเพชรพวงนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระบรมราชโองการให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งเป็นลิลิตเมื่อพุทธศักราช ๒๓๓๐ ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่งกิ่งหลายลำ เช่น เรือพระที่นั่งศรีสุนทรไชยคู่กับเรือพระที่นั่งกิ่งไกรสรจักร เรือพระที่นั่งกิ่งศรีพิมานไชย เรือพระที่นั่งกิ่งไกรหิรัญญทอดบุษบกบัลลังก์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรพรหมไชยทอดบุษบกพิมาน เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสามรรถไชยทอดพิมานบัลลังก์ (เหมพิมานบรรยงก์) เรือพระที่นั่งกิ่งไกรสรมุขทอดจัตุรมุขพิมาน เหล่านี้เป็นต้น เรือพระที่นั่งกิ่งจะมีทั้งพระที่นั่งกิ่งเอก มักเรียกเรือต้น เช่น เรือพระที่นั่งศรีสามรรถไชยหรือศรีสมรรรถไชย



ภาพเรือต่างๆ ในรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา
วาดโดยศิลปินชาวฝรั่งเศส คริสต์ศตวรรษที่ ๑๗


นายนิยม กลิ่นบุบผา เขียนอย่างลักษณะไทย และรูปลักษณ์ที่ควรจะเป็น


นายนิยม กลิ่นบุบผา เขียนอย่างลักษณะไทย และรูปลักษณ์ที่ควรจะเป็น

๒.เรือพระที่นั่งเอกไชย เป็นเรือพระที่นั่งที่มีศักดิ์เป็นลำดับสองรองจากเรือพระที่นั่งกิ่ง ในตำราเรือโบราณกล่าวไว้ว่า “เรือพระที่นั่งเอกไชยเป็นเรือโบราณกล่าวไว้ว่า “เรือพระที่นั่งเอกไชย เป็นเรือที่มีรูปลักษณ์ ลวดลายงามที่สุดในขบวนเรือพยุหยาตรา จะเป็นรองก็แต่เรือพระที่นั่งกิ่งเท่านั้น” จากข้อความดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเรือพระที่นั่งเอกไชยน่าจะมีรูปร่างลักษณะคล้ายใกล้เคียงกับเรือพระที่นั่งกิ่งมากที่สุด เพียงแต่มีขนาดรองลงมา การผูกลายประดับแสดงฐานานุศักดิ์รองลงมาจากเรือพระที่นั่งกิ่งเท่านั้น และเรือเอกไชยนี้น่าจะมาจากเรือไชยเดิม แต่เมื่อประดับให้งดงามขึ้นจึงเป็นเรือไชยเอกแล้วเรียกเรือเอกไชย แม้เป็นเรือพระที่นั่งก็เรียกเรือพระที่นั่งเอกไชยตามที่ชาวฝรั่งเศสเขียนไว้ในภาพที ๕ ลำบนน่าจะเป็นเรือไชยลำล่างน่าจะเป็นเรือพระที่นั่งเอกไชยหรือเรือพระที่นั่งกิ่งรอง

เรือพระที่นั่งเอกไชยนี้ มี ๒ ประเภท ได้แก่เรือพระที่นั่งเอกไชยใหญ่และเรือพระที่นั่งเอกไชยน้อย เรือพระที่นั่งเอกไชยน้อยนี้ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือพระเจ้าเสือ เคยใช้เป็นเรือพระที่นั่งทรงในการเสด็จประพาสเมืองสาครบุรี เพื่อทรงเบ็ดแล้วเกิดอุบัติเหตุระหว่างทางเสด็จฯ ที่คลองโคกขาม ทำให้พันท้ายนรสิงห์ต้องโทษประหารชีวิต

๓.เรือพระที่นั่งโขนรูปสัตว์ คือ เรือพระที่นั่งที่โขนเรือมีรูปสัตว์หิมพานต์ประดับอยู่ เช่น เรือพระที่นั่งโขนมีรูปครุฑ รูปนาค และรูปหงส์ประดับอยู่ ซึ่งปัจจุบันเรียกเรือพระที่นั่งเหล่านี้ว่าเรือพระที่นั่งกิ่ง เรือพระที่นั่งลักษณะนี้ ในหนังสือตำราเรือของเก่าเรียก หินครุฑ หินหงส์ ในที่เดียวกันนั้นก็กล่าวถึงทินกิ่งด้วย แสดงให้เห็นชัดว่า หินครุฑ หินหงส์ ไม่ใช้หินกิ่ง อีกทั้งเรือโขนรูปสัตว์นี้ พัฒนาขึ้นมาจากเรือแซ (มาจากคำว่า เซ หมายถึงเรือแม่น้ำ) ของเก่าแต่เรือกิ่งและเรือเอกไชยพัฒนาขึ้นมาจากเรือไชยของเดิม เรือพระที่นั่งโขนรูปสัตว์นี้ ในสมัยอยุธยามักมีเป็นคู่ เช่น เรือไชยสุพรรณหงส์คู่กับเรือวรสุพรรณหงส์ เรือนาคจักรคฑาทองคู่เรือนาคถของรัตน์ เหล่านี้เป็นต้น และมักใช้เชิญพระราชสาสน์และใช้เป็นเรือพระที่นั่งรองในขบวน

เรือพระที่นั่งโขนรูปสัตว์เหล่านี้ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มักสร้างอย่างละลำ เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๔ สร้างเรือโขนรูปนาคเจ็ดเศียร ขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้นกว่าของโบราณ โดยมีขนาดความยาวเท่าเรือพระที่นั่งกิ่ง สมัยรัชกาลที่ ๕ สร้างเรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ ซึ่งเรือแบบนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่าเป็นเรือที่ได้รูปแบบมาจากเขมร ขยายให้มีความยาวเท่าเรือพระที่นั่งกิ่ง  สมัยรัชกาลที่ ๖ สร้างเรือโขนรูปหงส์ ให้มีขนาดความยาวเท่าเรือพระที่นั่งกิ่ง สมัยรัชกาลที่ ๙ สร้างเรือโขนรูปนารายณ์ทรงครุฑ ขยายขนาดความยาวให้เท่าเรือพระที่นั่งกิ่ง ทำให้เข้าใจว่าเป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง ความจริงเรือพระที่นั่งกิ่งไม่ได้ใช้ขนาดของเรือเป็นกฎเกณฑ์ แต่ใช้รูปลักษณะและลวดลายเป็นกฎเกณฑ์ รวมถึงมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดด้วย



ภาพเรือพระที่นั่งรองในขบวน ในรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา
วาดโดยศิลปินชาวฝรั่งเศส คริสต์ศตวรรษที่ ๑๗


นายนิยม กลิ่นบุบผา เขียนอย่างลักษณะไทย และรูปลักษณ์ที่ควรจะเป็น

๔.เรือพระที่นั่งศรี คือ เรือที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายแล้ว มีรูปลักษณะอย่างเดียวกับเรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ก็ควรเป็นเรือพระที่นั่งศรีด้วย  เรือพระที่นั่งศรีนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีพระราชดำริว่า “เรือศรีจะหมายความว่าอย่างไร สิริ หรือสีเขียว สีแดง นึกว่าไม่ใช่สิริ เพราะมีเรือศรีสักหลาดเป็นคู่เทียบอยู่ แม้ว่าสีแดงเขียวก็ยังเป็นไปได้อีกสองทาง คือ ลำเรือทาสีอย่างหนึ่ง หลังคาคาดสีอีกอย่างหนึ่ง และที่ชื่อว่าเรือศรีนั้น จะเป็นอย่างเดียวกับเรือศรีสักหลาดหรือมิใช่ คาดดูน่าจะหมายถึงหลังคาดาดสีเสียแหละมาก เพราะเป็นยศอยู่ที่หลังคา เช่นกลอนว่า ทรงพระวอช่อฟ้าหลังคาสี อันชื่อว่าเรือศรีสักหลาดนั้น บอกชัดว่าเป็นผ้าศรีก็มีทางอย่างเดียว แต่หุ้มหลังคาจะเป็นได้หรือไม่ว่าก่อนโน้นคาดสีหลังคาด้วยผ้าทำในเมืองไทย มีผ้าแดงยอ เป็นต้น ซึ่งเป็นสีแดงมัว ครั้นมีสักหลาดเข้ามาสีสดใส จึงเปลี่ยนใช้สักหลาดคาดหลังคาแทนผ้าเมืองไทย ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง จะเป็นได้หรือไม่ว่า ถ้าคาดหลังคาด้วยผ้าเมืองไทยจะเรียกว่าเรือสี แม้คาดหลังคาด้วยผ้าสักหลาด ซึ่งมาแต่นอกจะเรียกว่าเรือศรีสักหลาด ข้อที่จะหมายถึงเรือทาสีนั้นเห็นห่างไกลอยู่มาก

แนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ก็ชวนให้น่าคิดพิจารณาอยู่มาก แต่เรือพระที่นั่งศรีนี้ ในบัญชีของเรือพระที่นั่งศรี ปรากฏว่ามีหลายชนิดด้วยกัน เช่น เรือพระที่นั่งศรีประกอบ เรือพระที่นั่งศรีเขียน เรือพระที่นั่งศรีเขียนทอง เรือพระที่นั่งศรีประดับกระจกลายยา จากในบัญชีของเรือพระที่นั่งศรีของนาวาเอกสวัสดิ์ จันทนี นี้ ปรากฏเรือพระที่นั่งศรีประกอบ หมายถึงแกะสลักลายเข้าประดับปิดทองประดับกระจก เรือพระที่นั่งศรีเขียนทองก็คือเขียนลายรดน้ำ พระที่นั่งศรีประดับกระจกลายยา คือ ปิดทองพื้นผิวด้านนอกของเรือและขุดลายอย่างลายฝังมุก แล้วประดับกระจกลงในหลุมลาย ดูได้จากทวนเรือเอนกชาติภุชงค์ เมื่อลำเรือวิจิตรแพรวพราวดังนี้ หลังคาจะมีแค่เพียงคาดผ้าสีเห็นจะไม่เข้ากัน และไม่เหมาะสมจะเป็นเรือพระที่นั่งด้วย เพราะหลังคากัญญาเรือและคฤห์เรือขุนนาง ยังมีลายที่ทรงอ้างถึง สีผ้าสักหลาดนั้น อาจจะหมายถึง เดิมผ้าพื้นลาย อาจเป็นผ้าไทยอย่างแนวพระดำริจริง ภายหลังใช้สักหลาดก็จริงอีก แต่คงจะไม่ได้หมายความว่าเป็นผ้าสีไทยหรือผ้าสักหลาดเกลี้ยงๆ ตามธรรมดาคนไทยและยิ่งเป็นช่างด้วยแล้ว มักไม่พูดประโยคยาว รู้กันอยู่ว่าหลังคาประทุนกัญญาเรือพระที่นั่งมีลาย แต่ผ้าเดิมเป็นผ้าสีอย่างไทย เมื่อมีสักหลาดเข้ามาและเพิ่งเริ่มใช้ลำแรกในจำนวนเรือพระที่สีหลายลำ ช่างจึงมักเรียกเรือศรีสักหลาดสั้นๆ เป็นที่เข้าใจกันในหมู่ช่าง ต่อมาเลยเรียกกันแพร่หลายขึ้นจนเข้าใจว่าเป็นชื่อเรือพระที่นั่งลำนั้น แท้จริงเรือพระที่นั่งศรีที่ใช้ผ้าสักหลาดลำนั้น น่าจะมีชื่อเฉพาะอยู่ แต่ด้วยเรือศรีมีหลายแบบลวดลาย เช่น ศรีประกอบ ศรีเขียนทอง ศรีกระจกลายยา ถามถนัดปากของช่าง จะเรียกศรีสักหลาดอีกลำหนึ่งจะเป็นไรไป หากความจริงเป็นดังที่ได้วิเคราะห์มานี้ คำว่าศรีก็น่าจะหมายถึงสิริดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เข้าพระทัย และพระองค์เคยเสด็จไปเขมรได้ทอดพระเนตร เห็นเรือชาวบ้านที่ชาวเขมรใช้กันในท้องน้ำเมืองเขมรมีรูปลักษณะอย่างเดียวกับเรือที่ปัจจุบันเรียกเรือดั้ง มีรูปทรงอย่างเดียวกับเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ และเรือพระที่นั่งศรีนี้เดิมทอดพระแท่นกัญญา ซึ่งกัญญานั้น หมายถึงนางงาม นางสาวน้อย ก็น่าจะเป็นเรือที่เจ้านายฝ่ายในทรง หากเรือพระที่นั่งกิ่งที่พระมหากษัตริย์ทรง หมายถึง พระอิศวรทรงเรือพระที่นั่งหงส์ หมายถึงพระพรหมทรงเรือพระที่นั่งครุฑ หมายถึงพระนารายณ์ทรงแล้วละก็ เรือพระนั่งศรี หมายถึงพระศรีหรือพระลักษมีทรงก็จะลงกันได้พอดี ตรงตำแหน่งเจ้านายฝ่ายในอีกด้วย



โขนเรือรูปม้า หัวเรือรูปสัตว์ชนิดหนึ่ง ปรากฎในกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค
สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ พบที่พระนครศรีอยุธยา
(ภาพจากพิพิธภัณฑ์จันทรเกษม จ.พระนครศรีอยุธยา - ๖ สิงหาคม ๒๕๕๙)

๕.เรือพระที่นั่งกราบ เป็นลักษณะเรือไทยไม่มีภาพประดับโขนเรือและมีขนาดเล็กกว่าเรือพระที่นั่งประเภทอื่น ลักษณะเด่นคือ ไม้กระดานทวนหัว ทวนท้ายตัด ไม่สูงอย่างเรือศรี เรือกราบนี้หากเป็นเรือเหล่าแสนยากร คือ เรือขุนนาง ข้าราชการแล้ว จะไม่มีลวดลาย เป็นเรือทาน้ำมันเฉยๆ แต่เรือพระที่นั่งกราบจะมีลวดลายหรือไม่ ไม่เหลือหลักฐานทางวัตถุ เพราะปัจจุบันไม่มีเรือพระที่นั่งกราบ แม้ชิ้นส่วนชำรุดก็ไม่ปรากฏให้เห็น แต่ด้วยเป็นเรือพระที่นั่งอย่างน้อยก็ควรจะทาสี ถ้าอย่างดีควรจะเขียนลายทองบางส่วน เรือพระที่นั่งกราบนี้ ว่ากันว่า ทอดพระที่นั่งกง เป็นลักษณะโถงซึ่งบางครั้งก็เรียกเรือพระที่นั่งโถงด้วย หากเป็นดังว่าก็จะต้องกั้นพระกลดและบังสูรย์ เมื่อเป็นเช่นนี้เรือก็คงจะเรียบเกลี้ยงไม่ได้ เพราะไม่รับกับพระที่นั่งกง พระกลดและบังสูรย์ หากไม่มีพระกลดและบังสูรย์ พระมหากษัตริย์ก็จะต้องตากแดด ยิ่งเป็นไปไม่ได้อย่างยิ่ง

เรือพระที่นั่งกราบนี้ ปัจจุบันพอจะเห็นเค้าโครงรูปร่างลักษณะได้ คือ ภาพเขียนสีผนังพระวิหารวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งพระยาอนุศาสตร์จิตรกร เขียนเรื่องพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวร ตอนทรงเรือพระที่นั่งพายตามจับพระยาจีนจันตุ ในภาพเห็นหัวเรือกราบห้อยพู่ หัวเรือน่าจะเป็นเรือพระที่นั่งทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถ ที่มีรับสั่งให้ฝีพายนำเรือพระที่นั่งของพระองค์เข้าบังเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวร ด้วยเกรงว่าสมเด็จพระนเรศวรจะได้รับอันตรายจากศัตรู ถัดจากเรือที่เข้าใจว่าจะเป็นเรือพระที่นั่งทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถ ห่างออกไปยังมีเรือกราบอีก ๒ ลำ และเรือพระที่นั่งกราบในภาพนี้ ทอดพระแท่นกัญญา ทั้งผ้าม่าน ผ้าดาษหลังคาและผ้าจั่วเป็นลักษณะผ้าลายทองแผ่ลวด

จึงมีหลักสังเกตรูปลักษณะของเรือพระที่นั่งประเภทต่างๆ ดังนี้
๑.เรือพระที่นั่งกิ่ง มีการพัฒนารูปแบบมาจากเรือเอกไชย แต่มีขนาดใหญ่ยาวกว่า และมีความสวยงามยิ่งกว่าเรือเอกไชย และเรือพระที่นั่งเอกไชย
๒.เรือพระที่นั่งเอกไชย มีการพัฒนารูปแบบมาจากเรือไชย แต่มีขนาดใหญ่ยาวและงดงามเป็นเอกกว่าเรือไชยอื่นๆ จึงเรียกเรือไชยเอกหรือเรือเอกไชย
๓.เรือพระที่นั่งโขนรูปสัตว์ เช่น ทินครุฑ ทินหงส์ มีการพัฒนารูปแบบมาจากเรือแซ หรือเรือเซ คือเรือแม่น้ำของเดิมผสมผสานกับรูปแบบศิลปกรรมขอม เกิดเป็นเรือพระที่นั่งโขนรูปสัตว์หิมพานต์
๔.เรือพระที่นั่งศรี มีการพัฒนารูปแบบมาจากเรือเขมรตามที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบาย
๕.เรือพระที่นั่งกราบ เป็นแบบเรือไทย พัฒนาจากเรือมาดที่ชาวบ้านใช้

ก็พอจะเข้าใจรูปร่างลักษณะของเรือพระที่นั่งต่างๆ และอาจสามารถแยกแยะรูปแบบชนิด ประเภทการใช้งาน การวางตำแหน่งในริ้วขบวน ตลอดจนฐานานุศักดิ์ของเรือได้





สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย   งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์   ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม

จาก กาพย์เห่เรือพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี
มรดกเรือพระราชพิธี
(Heritage of the Royal Barges)

“พิพิธภัณฑสถาน” มีรากศัพท์มาจากคำว่า “พิพิธ” แปลว่า ต่างๆ “ภัณฑ์” แปลว่า สิ่งของเครื่องใช้ และ “สถาน” แปลว่า ที่ตั้งหรือแหล่ง  ราชบัณฑิตยสถานของไทยให้ความหมายว่า “สถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่างๆ ที่มีความสำคัญด้านวัฒนธรรมหรือวิทยาศาสตร์ โดยมุ่งหมายเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ” สภาการพิพิธภัณฑสถานระหว่างชาติ (International Council of Museums หรือ ICOM) ให้ความหมายว่า “สถาบันหรือองค์กรให้บริการและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ตั้งขึ้นอย่างถาวรโดยไม่แสวงหากำไร เปิดกว้างสำหรับสาธารณะ มีหน้าที่รวบรวม สงวนรักษา ค้นคว้าวิจัย เผยแพร่ความรู้และจัดแสดงวัตถุที่เป็นหลักฐานเกี่ยวข้องกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม จุดหมายเพื่อการเรียนรู้ ให้การศึกษา และความเพลิดเพลิน”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักในคุณค่าของขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาแต่โบราณ ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีสำคัญๆ ตามโบราณราชประเพณีหลายอย่าง ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานมีสองพระราชพิธีคือ พระราชพิธีพยุหยาตราทางชลมารค และพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี
การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เริ่มจากการเสด็จฯ ทอดพระเนตรโรงเก็บเรือพระราชพิธี บริเวณปากคลองบางกอกน้อย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๕ ทรงมีพระราชดำริให้ ๓ หน่วยงาน คือ กองทัพเรือ กรมศิลปากร และสำนักพระราชวัง ร่วมกันอนุรักษ์เรือที่มีสภาพทรุดโทรม พร้อมฟื้นฟูการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินทางชลมารคในพุทธศักราช ๒๕๐๒

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เดิมเป็นโรงเก็บเรือรบและเรือพระที่นั่ง อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวังและกองทัพเรือ เมื่อคราวเกิดสงครามโลกครั้ง ๒ โรงเก็บเรือและเรือพระราชพิธีถูกระเบิดได้รับความเสียหาย และในปีพุทธศักราช ๒๔๙๐ รัฐบาลได้มอบหมายให้กรมศิลปากรทำการซ่อมแซมดูแลรักษาเรือพระราชพิธีที่มีประวัติความสำคัญมาแต่โบราณ ที่ยังคงความสวยงามจากฝีมือช่างอันล้ำเลิศและทรงคุณค่าในงานศิลปกรรม ประการสำคัญยังสามารถนำมาใช้ในการพระราชพิธีต่างๆ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นเรือพระที่นั่งในพระมหากษัตริย์ไทยที่มีแห่งเดียวในโลก

กรมศิลปากรได้ดำเนินการซ่อมแซมเรือพระราชพิธีเพื่อการอนุรักษ์และเพื่อการศึกษาแล้ว จึงได้ขึ้นทะเบียนเรือพระราชพิธีต่างๆ ไว้เป็นมรดกของชาติ พร้อมกับยกฐานะโรงเก็บเรือขึ้นเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี” ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๑๗ เป็นต้นมา โดยจัดแสดงเรือพระที่นั่ง ๔ ลำ และเรือสำคัญในพระราชพิธี ๔ ลำ พร้อมเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ เรือพระราชพิธี มีพื้นที่จำกัด สามารถจัดแสดงเรือพระราชพิธีที่นั่งได้เพียง ๘ ลำ จากเรือพระราชพิธีในกระบวนพยุหยาตราชลมารค จำนวน ๕๒ ลำ ซึ่งประกอบไปด้วยเรือรูปสัตว์ ๖ ลำ นำไปฝากเก็บไว้ที่ท่าวาสุกรี เรือดั้ง เรือแซง จำนวน ๓๘ ลำ เก็บรักษาไว้ที่แผนกเรือพระราชพิธี กองเรือเล็ก กองทัพเรือ เป็นผู้ดูแลรักษา

เรือพระราชพิธี
เรือพระราชพิธีคือเรือที่สร้างขึ้นสำหรับใช้ในกิจการของราชสำนักหรือสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ใช้เป็นเรือรบยามศึกสงคราม เป็นพระราชพาหนะในการเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีและโอกาสสำคัญต่างๆ ลำเรือจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่และยาวกว่าเรือทั่วไป ใช้พายแล่นกินน้ำตื้น บรรจุคนได้จำนวนมาก โขนเรือ (หัวเรือ) นิยมทำเป็นรูปลักษณ์ในตำนานปรัมปรา บางครั้งเรียกรวมๆ กันว่า “เรือรูปสัตว์” ลักษณะเรือเช่นนี้ปรากฏหลักฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น รูปนูนบนกลองมโหระทึกสำริด พบหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมามีหลักฐานการใช้เป็นเรือสัญจรสำหรับผู้สูงศักดิ์และเรือรบ เช่น ภาพสลักบนทับหลังเหนือกรอบประตูหนึ่งของปราสาทพิมาย นครราชสีมา (พุทธศตวรรษที่ ๑๗) ภาพสลักหินบนผนังระเบียงปราสาทบายน เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา (พุทธศตวรรษที่ ๑๘) สันนิษฐานว่า เรือพระราชพิธีของไทยอาจมีต้นแบบมาจากเรือดังกล่าว

กระบวนเรือพระราชพิธีของไทย ที่มีความยิ่งใหญ่อลังการงดงามตระการตาอย่างหากระบวนเรือใดเทียบเทียมได้ ปรากฏแก่สายตาชาวต่างชาติเป็นครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (พุทธศักราช ๒๑๙๙-๒๒๓๑) กล่าวคือ
๑.เรือแต่ละลำทำจากซุงท่อนเดียว ลำยาวและแคบ บางลำจุฝีพายได้มากกว่า ๑๐๐ คน แล่นได้รวดเร็วแม้กระทั่งทวนกระแสน้ำ
๒.เรือแต่ละลำแกะสลักตกแต่งและปิดทองประดับกระจกงามจับตา ส่วนใหญ่มีโขนเรือบ่งบอกลักษณะที่เรียกว่า “เรือรูปสัตว์”
๓.กระบวนเรือเป็นระเบียบ มีความพร้อมเพรียง สอดประสานกันทั้งการพายและการร้องเห่เรือ

เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ในพุทธศักราช ๒๓๑๐ เรือพระราชพิธีได้รับความเสียหายเกือบหมด แม้ว่ามีการสร้างขึ้นใหม่อีกหลายลำหลังจากการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ แต่เรือส่วนใหญ่ถูกทำลายในคราวสงครามโลกครั้งที่ ๒ (พุทธศักราช ๒๔๘๒-๒๔๘๘)

ต่อมาสำนักพระราชวัง กองทัพเรือและกรมศิลปากรได้อนุรักษ์ฟื้นฟูและสืบสานการสร้างเรือพระราชพิธี รวมทั้งแบบแผนขบวนพยุหยาตราชลมารคสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลปัจจุบัน ไว้เป็นมรดกวัฒนธรรมล้ำค่าของชาติ กล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในโลกที่ธำรงไว้ซึ่งราชประเพณีว่าด้วยการเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำด้วยเรือของสถาบันพระมหากษัตริย์จากอดีตจวบจนปัจจุบัน

เรือพระราชพิธีที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ จำนวน ๘ ลำ ได้แก่
๑.เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
๒.เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
๓.เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
๔.เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙
๕.เรือครุฑเหิรเห็จ
๖.เรือกระบี่ปราบเมืองมาร
๗.เรืออสุรวายุภักตร์
๘.เรือเอกไชยเหินหาว

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤศจิกายน 2559 19:33:37 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2559 13:39:42 »






เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
(The Suphannahongse Royal Barge)

โขนเรือเป็นรูปหงส์  จัดเป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง หมายถึง เรือที่เป็นเครื่องประดับยศ เป็นเรือพระที่นั่งลำดับชั้นสูงสุด สำหรับพระมหากษัตริย์ประทับ เรียกว่า “เรือพระที่นั่งทรง” มีโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นใดประทับเป็นแต่บางครั้ง  โปรดฯ ให้เป็นเรือทรงผ้าไตรหรือผ้าทรงสะพักพระพุทธรูป หรือพานพุ่มดอกไม้

ปรากฏหลักฐานการสร้างมาแต่สมัยอยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์” ลำปัจจุบันสร้างทดแทนเรือลำเดิมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) มาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๔ โดยโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “พระที่นั่งสุพรรณหงส์”

ลักษณะ : โขนเรือเป็นรูปหงส์ จำหลักลายปิดทองประดับกระจก ลำเรือด้านนอกทาสีดำ ภายในทาสีแดง
ขนาด : ความยาว ๔๖.๑๕ เมตร กว้าง ๓.๑๗ เมตร กินน้ำลึก ๐.๙๔ เมตร
กำลัง : ๓.๕๐ เมตร (กำลัง หมายถึง ระดับจังหวะความเร็วของการพายในแต่ละครั้ง)
เจ้าพนักงานเรือ : ฝีพาย ๕๐ นาย นายท้าย ๒ นาย

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ถือว่ามีแห่งเดียวในโลกที่งดงามในด้านศิลปกรรม และยังใช้ประกอบพระราชพิธีมาจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของโลกด้วย  ดังนั้น องค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักรจึงมอบรางวัลเกียรติยศมรดกทางทะเลประจำปี พ.ศ.๒๕๓๕ (ค.ศ.๑๙๙๒) (THE WORLD SHIP TRUST MARITIME HERITAGE AWARD “SUPHANNAHONG ROYAL BARGE”)









เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙
(Narai Song Suban H.M. King Rama IX Royal Barge)

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ เป็นเรือลำแรกที่สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยรัฐบาลมอบหมายให้กองทัพเรือร่วมกับกรมศิลปากรและสำนักพระราชวัง จัดสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี ในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ.๒๕๓๙ พระราชทานนามว่า “เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙”

เรือพระที่นั่งที่มีโขนเรือเป็นรูปครุฑ มีมาแต่สมัยอยุธยา แต่ที่มีหลักฐานเป็นเรือพระที่นั่งสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทานนามว่า “เรือมงคลสุบรรณ” และรัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างองค์พระนารายณ์เสริม ได้รับพระราชทานนามว่า เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ จัดเป็นเรือพระที่นั่งศรี

ลักษณะ : โขนเรือจำหลักรูปพระนารายณ์ ๔ กร ทรงเทพศาสตรา ตรี คทา จักร สังข์ ทรงเครื่องภูษิตาภรณ์และมงกุฎยอดชัย ทรงยืนเหนือหลังพญาครุฑไม้จำหลักลงรักปิดทองล่องชาดประดับกระจกสีน้ำเงิน พื้นลำเรือทาสีแดงชาด ลำเรือแกะสลักประดับกระจก ลานก้านขดกระหนกเทศ
ขนาด : ความยาว ๔๔.๓๐ เมตร กว้าง ๓.๒๐ เมตร กินน้ำลึก ๑.๑๐ เมตร
เจ้าพนักงานประจำเรือ : ฝีพาย ๕๐ นาย นายท้าย ๒ นาย










เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
(Anekkachatphutchong Royal Barge)

โขนเรือจำหลักลายปิดทองรูปพญานาคเล็กๆ จำนวนมาก เป็นเรือพระที่นั่งลำแรกและลำเดียว ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  

จัดเป็นเรือพระที่นั่งศรีในลำดับชั้นรอง ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนิน ต่อมาภายหลังได้จัดเข้ากระบวนพยุหยาตราชลมารค เรียกว่า เรือพระที่นั่งรอง
ลักษณะ : โขนเรือทวนสูงจำหลักลายนาคเกี้ยวกระหวัดนับพันตัว ส่วนบนสลักรูปนาคจำแลง ๗ เศียร ปิดทองประดับกระจก ลำเรือตกแต่งด้วยลายจำหลักนาคเกี้ยวตลอดลำ ภายนอกลำเรือทาสีชมพู ภายในทาสีแดง
ขนาด : ความยาว ๔๕.๖๗ เมตร กว้าง ๒.๙๑ เมตร กินน้ำลึก ๐.๙๑ เมตร
กำลัง : ๓.๕๐ เมตร
เจ้าหน้าที่ประจำเรือ : ฝีพาย ๖๐ นาย นายท้าย ๒ นาย











เรือพระที่นีั่งอนันตนาคราช
(Anantanakkharat  Royal Barge)

ชื่อเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อนนฺตนาคราชะ มาจากคำ ๓ คำ คือ อนนฺตะ (แปลว่า ไม่สิ้นสุด นิรันดร) นาคะ (แปลว่า นาค หรือ งู) ราชะ (แปลว่า เจ้านาย หรือพระราชา) ดังนั้นคำนี้จึงแปลได้ว่า อนันตะ ราชาแห่งนาค หรืองูทั้งหลาย

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำแรกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ (พุทธศักราช ๒๓๖๗-๒๓๙๔) แต่เริ่มใช้ในกระบวนพยุหยาตราชลมารคในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พุทธศักราช ๒๓๙๔-๒๔๑๑) ปรากฏชื่อว่า เรือพระที่นั่งบัลลังก์อนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ลำปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ (พุทธศักราช ๒๔๕๓-๒๔๖๘) และพระราชทานนามว่า “เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช”

จัดเป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง สำหรับพระมหากษัตริย์ประทับ หรืออัญเชิญผ้าพระกฐิน หรือประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ เรียกว่า เรือพระที่นั่งรอง

ลักษณะ : โขนเรือเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียร ไม้จำหลักปิดทองประดับกระจก ท้องเรือภายในทาสีแดง ภายนอกทาสีเขียว กลางลำเรือเป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปหรือผ้าพระกฐิน

ขนาด : ความยาว ๔๔.๘๕ เมตร กว้าง ๓.๑๗ เมตร กินน้ำลึก ๐.๙๔ เมตร
กำลัง : ๓.๐๒ เมตร
พนักงานประจำเรือ : ฝีพาย ๕๔ นาย นายเรือ ๒ นาย








เรือเอกไชยเหินหาว
(Ekkachai Hoen Hao Barge)

เป็นเรือชักลากเรือพระที่นั่ง เช่น ชักลากเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาถูกระเบิดได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ กรมอู่ทหารเรือและกรมศิลปากร จึงสร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ โดยใช้โขนเรือและท้ายเรือเดิม

จัดเป็นเรือประเภทเรือรูปสัตว์ ทำหน้าที่เป็นเรือสำหรับชักลากเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราชลมารค หัวเรือเป็นรูปดั้งเชิดสูงงอนขึ้นไป ลงรักปิดทองเขียนลายรดน้ำรูปเหรา (อ่านเห-รา) ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนาน ลักษณะคล้ายมังกรแต่มีหัวเป็นงูหรือนาค

ลักษณะ : โขนเรือเป็นทวนไม้รูปดั้งเชิงสูง เขียนลายทองรูปเหรา หรือจระเข้
ขนาด : ความยาว ๒๙.๗๖ เมตร กว้าง ๒.๐๖ เมตร กินน้ำลึก ๐.๖๐ เมตร
กำลัง : ๓.๐๐ เมตร
เจ้าพนักงานประจำเรือ : ฝีพาย ๓๘ นาย นายท้าย ๒ นาย











เรือกระบี่ปราบเมืองมาร
(Krabi Prap Muang Man Barge)

ชื่อเรือนี้สะท้อนความรับรู้วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ (พุทธศักราช ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) เป็นวรรณกรรมที่ดำเนินเรื่องตามมหากาพย์รามายณะของอินเดีย

จัดเป็นเรือรูปสัตว์ประเภทเรือกระบวนปิดทอง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ระหว่างสงครามโลกครั้ง ๒ ถูกระเบิดได้รับความเสียหาย กรมศิลปากรสร้างตัวเรือขึ้นใหม่โดยใช้โขนเรือเดิม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐

ลักษณะ : โขนเรือสลักรูปขุนกระบี่สีขาว ปิดทองประดับกระจก ลำเรือทาสีดำ เขียนลายดอกพุดตานสีทอง
ขนาด : ความยาว ๒๘.๘๕ เมตร กว้าง ๒.๑๐ เมตร กินน้ำลึก ๐.๕๖ เมตร
กำลัง : ๒.๖๐ เมตร
เจ้าพนักงานประจำเรือ : ฝีพาย ๓๖ นาย นายท้าย ๒ นาย









เรืออสุรวายุภักษ์
(Asura Wayuphak Barge)

จัดเป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือกระบวนเขียนลายทอง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ มีการซ่อมแซมตกแต่งเรืออสุรวายุภักษ์ใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔

ลักษณะ : โขนเรือสลักเป็นรูปยักษ์ กายเป็นนกสีครามปิดทองประดับกระจก เครื่องแต่งกายสีม่วง ด้านหลังสีเขียว ลำเรือภายนอกทาสีดำ เขียนลายดอกพุดตานสีทอง
ขนาด : ความยาว ๓๑.๐๐ เมตร กว้าง ๒.๐๓ เมตร กินน้ำลึก ๐.๖๒ เมตร
กำลัง : ๒.๖๐ เมตร
เจ้าพนักงานประจำเรือ : ฝีพาย ๓๐ นาย นายท้าย ๒ นาย











เรือครุฑเหินเห็จ
(Khrut Hoen Het Barge)

ชื่อเรือลำนี้สะท้อนถึงอิทธิพลคัมภีร์ปุราณะของอินเดียที่มีต่อคตินิยมและศิลปกรรมไทย ตามคัมภีร์ปุราณะครุฑเป็นเจ้าแห่งนกทั้งหลาย หรือเทพปักษิน ซึ่งผูกพันกับพระวิษณุ เพราะพระวิษณุทรงท่องไปในสวรรค์โดยมีครุฑเป็นพาหนะ

จัดเป็นเรือรูปสัตว์ ในประเภทเรือกระบวนปิดทอง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ต่อมาระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ถูกระเบิดได้รับความเสียหาย กรมศิลปากรและกองทัพเรือจึงสร้างตัวเรือขึ้นใหม่โดยใช้โขนเรือเดิมเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑

ลักษณะ : โขนเรือเป็นรูปพญาครุฑยุดนาคสีแดง ปิดทองประดับกระจก ตัวเรือภายในทาสีแดง ภายนอกทาสีดำ เขียนลายดอกพุดตานสีทอง
ขนาด : ความยาว ๒๘.๕๘ เมตร กว้าง ๒.๑๐ เมตร กินน้ำลึก ๒.๖๐ เมตร
กำลัง : ๒.๖๐ เมตร
เจ้าพนักงานประจำเรือ : ฝีพาย ๓๔ นาย นายท้าย ๒ นาย




          โขนเรือสุพรรณหงส์
          ภาพจาก : เว็บไซต์วิกิพีเดีย
สุพรรณหงส์เหินเห็จฟ้า   ชมสินธุ์
ดุจพ่าห์พรหมมินทร์บิน   ฟ่องฟ้อน
จตุรมุขพิมานอินทร์       อรอาสน์
เป็นที่นั่งรองร้อน           ทุเรศร้างวังเวง

จาก ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ความหมายของโขนเรือพระราชพิธี

โขนเรือ หมายถึง ส่วนที่ต่อเสริมหัวเรือให้งอนเชิดขึ้นไปเป็นลักษณะรูปสัตว์ จะเป็นสัตว์ตามธรรมชาติหรือสัตว์หิมพานต์ก็ได้




พระนารายณ์ทรงครุฑ

พระนารายณ์ หรือพระวิษณุเป็นเทพเจ้าสำคัญองค์หนึ่งในศาสนาฮินดู ซึ่งได้รับการนับถือในฐานะผู้พิทักษ์ปกป้องโลก ตามตำนานกล่าวว่า ตามปกติพระวิษณุประทับอยู่กลางเกษียรสมุทร เมื่อเกิดทุกข์ภัยขึ้นจะทรงอวตารมายังโลกมนุษย์เพื่อปราบทุกข์เข็ญ ลักษณะสำคัญของรูปพระวิษณุคือ เป็นบุรุษมีสี่กร ถือตรี คฑา จักร สังข์ และทรงครุฑ (สุบรรณ) เป็นพาหนะ

สังคมไทยในอดีตมีความเชื่อในคติสมมติเทพที่รับมาจากศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู เชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นอวตารของพระวิษณุ การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ สำหรับพระมหากษัตริย์ จึงสอดคล้องกับความเชื่อนี้ และการสร้างรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณเป็นโขนเรือพระที่นั่งในปัจจุบันเป็นประจักษ์พยานที่ชัดเจน คือ โขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙



หงส์

เป็นสัตว์จำพวกนกที่ปรากฏในตำนานอินเดียว่าเป็นพาหนะของพระพรหม เทพเจ้าผู้ได้รับการนับถือในฐานะผู้สร้างโลก ส่วนในพุทธศาสนา เรื่องของหงส์ได้มีกล่าวไว้ในชาดก ซึ่งบอกเล่าถึงชาติกำเนิดในอดีตของพระพุทธองค์  หงส์ในสังคมไทยเป็นเครื่องหมายแสดงความสง่างาม สิ่งสูงส่ง และบุคคลมีชาติตระกูล

โขนเรือรูปหงส์ของเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ซึ่งหมายถึงหงส์อันเป็นพาหนะของพระพรหมตามคติฮินดู ในขณะเดียวกันก็เป็นเสมือนเครื่องหมายของความสง่างามที่ควรคู่กับพระราชฐานของพระมหากษัตริย์




นาค

ปรากฏในตำนานของอินเดียว่าเป็นสัตว์จำพวกงูอาศัยอยู่ในโลกบาดาล ทำหน้าที่ปกปักรักษาผืนน้ำ พญานาคที่สำคัญคือ เศษนาค หรือ อนันตนาคราชผู้แผ่ร่างเป็นที่ประทับของพระนารายณ์ขณะบรรทมเหนือเกษียรสมุทร ในช่วงเวลาที่โลกถูกสร้างขึ้นใหม่ หลังจากเวลากัลป์หนึ่งได้สิ้นสุดลง และอนันตนาคราชถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นนิรันดร

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ทำโขนเรือเป็นรูปอนันตนาคราช สะท้อนถึงความเชื่อของสังคมไทยที่มีต่อพระมหากษัตริย์ในฐานะทรงเป็นอวตารแห่งพระนารายณ์ เมื่อพระองค์ได้เสด็จประทับในเรือพระที่นั่งเปรียบเสมือนพระนารายณ์ประทับเหนือพญาอนันตนาคราช

ส่วนเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ซึ่งสลักเป็นลวดลายนาคเกี่ยวกระหวัดนับร้อยนับพัน หรือที่เรียกว่านาคเกี้ยว แสดงให้เห็นถึงความเชื่อว่านาคผู้มีถิ่นที่อยู่ในน้ำและเป็นผู้พิทักษ์ผืนน้ำ




ครุฑ

ปรากฏในตำนานของอินเดียว่าเป็นพาหนะของพระนารายณ์ เป็นอมนุษย์ที่มีศีรษะ ปีก กรงเล็บ และจะงอยปากอย่างนกอินทรี มีส่วนร่างกายและแขนขาอย่างมนุษย์ ในงานศิลปะมักปรากฏรูปครุฑคู่กับนาค ซึ่งสร้างตามเรื่องราวที่กล่าวว่าครุฑและนาคเป็นอริกัน เนื่องจากมารดาของครุฑแพ้พนันมารดาของนาค จึงถูกนำไปคุมขังไว้ใต้บาดาล ครุฑจึงตามไปช่วยมารดา และเกิดการต่อสู้กับพวกนาค บางตำนานกล่าวว่ามารดาของครุฑขอพรจากบิดาให้ครุฑจับนาคกินเป็นอาหารได้

รูปครุฑยุดนาคที่ใช้เป็นโขนเรือครุฑเหินเห็จอาจสร้างขึ้นตามตำนานนี้




อสุรวายุภักษ์

เป็นสัตว์หิมพานต์ประเภทหนึ่ง มีร่างกายท่อนบนเป็นอสูร ร่างกายท่อนล่างเป็นนก กำเนิดจากบิดาที่เป็นยักษ์และมารดาที่เป็นนก ปรากฏเรื่องราวในรามเกียรติ์ว่า คราวหนึ่งบินไปเห็นพระราม พระลักษมณ์ ก็จะโฉบเอาไปกิน หนุมานและสุครีพตามไปช่วยไว้ได้ และฆ่าอสุรวายุภักษ์เสีย



กระบี่ หรือ ลิง

เป็นทหารฝ่ายพระรามที่ต่อสู้กับทศกัณฑ์ ตามเรื่องราวในมหากาพย์รามยณะ หรือรามเกียรติ์ของไทย กระบี่กายสีขาว หมายถึง หนุมาน ผู้เป็นบุตรของวายุ เทพเจ้าแห่งลม หนุมานมีชื่อเสียงในความปราดเปรียวว่องไว ความมีพละกำลังมหาศาลและความสามารถในการเหาะเหินเดินอากาศได้

รูปหนุมานที่ใช้เป็นโขนเรือกระบี่ปราบเมืองมาร แสดงถึงหนุมานในฐานะนายทหารผู้จงรักภักดีต่อพระราม (อวตารของพระวิษณุ) ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญในกองทัพที่ยกไปตีเมืองมาร หรือกรุงลงกาของทศกัณฑ์




เหรา

เป็นสัตว์หิมพานต์ประเภทหนึ่ง อาจมีที่มาจากมกรที่ปรากฏในตำนานอินเดียทำเป็นรูปสัตว์ที่มีส่วนหัวคล้ายจระเข้ มีหางเป็นปลา ไทยอาจรับรูปแบบมกรที่พัฒนาไปจากต้นแบบเดิมแล้ว คือ รับรูปแบบมกรที่มีลำตัวยาว มีขา ๔ ขา มาจากศิลปะอินเดียโบราณดังปรากฏในศิลปะทวารวดีและศิลปะลพบุรี เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เหรา

ตัวเรือด้านนอกของเรือเอกชัยเหินหาว เขียนลายเป็นรูปเหรา อาจเทียบเคียงได้กับเรือในภาพสลักที่ปราสาทบายนของเขมรโบราณ ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ หรือกว่า ๘๐๐ ปีมาแล้ว





การประกอบกงเข้ากับกระดูกงูเรือ

ความหมายส่วนต่างๆ ของเรือพระราชพิธีที่สำคัญ ประกอบด้วย
๑.โขนเรือพระราชพิธี หมายถึง ส่วนที่ต่อเสริมหัวเรือให้งอนเชิดขึ้นไปเป็นลักษณะรูปสัตว์ จะเป็นสัตว์ตามธรรมชาติหรือสัตว์หิมพานต์ก็ได้
๒.หางเรือพระราชพิธี หมายถึง ส่วนท้ายของเรือ ลักษณะคล้ายหางหงส์
๓.กงเรือ หมายถึง ไม้ท่อนหนาทำให้เป็นรูปโค้งวางตามขวางลำทำเป็นโครงเรือ
๔.กระดูกงูเรือ หมายถึง แกนโครงสร้างของเรือที่วางตลอดความยาว ตั้งแต่หัวเรือจรดท้ายเรือ
๕.เปลือกเรือ หมายถึง ไม้ที่เป็นแผ่นที่ใช้ต่อประกอบยึดติดกับกงเรือตลอดแนวของลำเรือ
๖.กระทงเรือ หมายถึง ไม้ยึดกาบเรือ ตอนบนปูกระดานใช้เป็นที่รองนั่ง
๗.โกลนเรือ หมายถึง กรรมวิธีการขึ้นรูปงานประติมากรรมแกะสลัก ซึ่งใช้วัสดุที่เป็นหิน ไม้   การโกลนคือ การตัด สกัด ถาก หรือสับ และฟันส่วนที่ไม่ต้องการออก ให้เหลือรูปร่างลักษณะหยาบๆ เพื่อแกะสลักเก็บรายละเอียดขั้นสุดท้าย










« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กันยายน 2559 17:24:52 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 01 กันยายน 2559 17:22:25 »



สมัยอยุธยา กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคของไทย ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับฝรั่งที่เข้ามาติดต่อเจริญสัมพันธไมตรี ที่ท่านทูตนิโคลัส แชแวส์ เขียนถึงกระบวนเรือที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงจัดมารับราชทูตจากฝรั่งเศสใน “ประวัติศาสตร์แห่งราชอาณาจักรสยาม” ว่า  “ไม่สามารถเปรียบเทียบความงามใดๆ กับกระบวนเรือที่มโหฬาร มีเรือกว่าสองร้อยลำ โดยมีเรือพระที่นั่งพายเป็นคู่ๆ เรือพระที่นั่งใช้ฝีพายพวกแขนแดงที่ได้รับการฝึกพายมาจนชำนาญ ทุกคนสวมหมวก เสื้อ ปลอกเข่า ปลอกแขน มีทองคำประกอบ เวลาพายจะพายพร้อมกันเป็นจังหวะ  พายนั้นก็เป็นทองเช่นกัน เสียงพายกระทบทำเป็นเสียงประสานไปกับทำนองเพลงยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน...”

และจาก “จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยาม”  ที่บาทหลวงกีย์ ตาชาร์ด บันทึกไว้ เมื่อ พ.ศ.๒๒๒๘ เล่าถึงการจัดเรือมารับเครื่องบรรณาการว่า “มีเรือบัลลังก์ขนาดใหญ่มาสี่ลำ แต่ละลำมีฝีพายแปดสิบคน ซึ่งเราไม่เคยเห็นอะไรเช่นนี้มาก่อน...ลำแรกหัวเรือเหมือนม้าน้ำ ปิดทองทั้งลำ เห็นมาแต่ไกลในลำน้ำ เหมือนมีชีวิตชีวา...”  และในวันที่บาทหลวงตาชาร์ดเดินทางออกจากกรุงศรีอยุธยา ก็ได้เห็นการส่งที่ใหญ่โตอย่างที่ท่านไม่เคยพบเห็นอีกเช่นกัน  “...ขบวนอันยืดยาวของเรือบัลลังก์หลวงซึ่งเคลื่อนที่ไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อย มีเรือถึงร้อยห้าสิบลำ ผนวกกับเรืออื่นๆ อีกก็แน่นเต็มแม่น้ำ แลไปได้สุดสายตา อันเป็นทัศนียภาพที่งดงามนักหนา เสียงเห่แสดงความยินดีตามธรรมเนียมของสยาม คล้ายการรุกไล่ประชิดข้าศึกก้องไปสองฟากฝั่งแม่น้ำ จึงมีผู้คนล้นหลามมืดฟ้ามาคอยชมขบวนพยุหยาตราอันมโหฬารนี้...”

บันทึกของชาวต่างชาติทั้งสองยืนยันได้ว่า เรือหลวงในสมัยอยุธยามีมากกว่า ๑๐๐ ลำ และยังบันทึกแผนที่แจ้งไว้ด้วยว่า โรงเรือพระที่นั่ง ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเกาะเมือง คือบริเวณระหว่างวัดเชิงท่า และวัดพนมยงค์ ซึ่งเป็นตำแหน่งเยื้องกับพระราชวัง และยังมีอู่เรือเดินทะเลอยู่ใกล้ป้อมเพชรตรงข้ามวัดพนัญเชิงอีกแห่งหนึ่งด้วย

อย่างไรก็ตาม เรือพระที่นั่งและเรือในกระบวนพยุหยาตราของกรุงศรีอยุธยาส่วนใหญ่ได้รับความเสียหายจากสงครามกับพม่าครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๓๑๐ ตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าอลองพญารุกเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๓ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ทรงเล็งเห็นว่า บรรดาเรือหลวงที่อยู่ในอู่ริมพระนครนั้นอาจเป็นอันตราย จึงโปรดให้ถอยเรือพระที่นั่งกิ่ง เรือไชย เรือศรี เรือกราบ เรือดั้ง เรือกัน เรือศีรษะสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งเรือรบต่างๆ ลงไปเก็บไว้ที่ท้ายคู ซึ่งอยู่ทางใต้ลงมา ต่อมาพม่าก็ตามไปตีท้ายคูแตก แล้วเผาทำลายเรือ ส่วนใหญ่เสียหาย  ครั้นเสียกรุงแล้ว แม่ทัพพม่ายังนำเรือพระที่นั่งกิ่งของกรุงศรีอยุธยาลำหนึ่งส่งไปถวายพระเจ้าอังวะ ส่วนปืนที่ติดตั้งบริเวณโขนเรือพระที่นั่งกิ่ง พม่าเห็นว่าใหญ่และเคลื่อนย้ายลำบาก จึงจุดเพลิงระเบิดเสียที่วัดเขมา  

สรุปว่าเรือขนาดใหญ่หรือเรือสำคัญในกรุงศรีอยุธยาไม่เหลือมาถึงกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์  ส่วนหลักฐานของความยิ่งใหญ่ที่ฝรั่งหลายคนบันทึกไว้ ยังคงตกทอดมาจนถึงปัจจุบันและปรากฏในสมุดไทย  ภาพกระบวนเรือที่คัดลอกมาจากจิตรกรรมฝาผนังวัดยม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โขนเรือไม้สลักที่ชาวกรุงศรีอยุธยาเก็บมาบูชาในศาลเทพารักษ์ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา



เรือพระที่นั่งและเรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารคมิได้เป็นเรือที่ใช้ในราชการทั่วไป แต่ใช้ในการพระราชพิธี เช่น การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และอื่นๆ  หลังจากการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคเมื่อคราวฉลองพระนครครบรอบ ๑๕๐ ปี พ.ศ.๒๔๗๕ ในรัชกาลที่ ๗ ก็ไม่เคยจัดอีกเลย จนปี พ.ศ.๒๕๐๐ ในรัชกาลที่ ๙ ซึ่งเป็นปีฉลองพระนครครบรอบ ๒๕ ปีพุทธศตวรรษ ได้จัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรก

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ฟื้นฟูประเพณีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคใหญ่ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๒ เป็นต้นมา  เหตุที่มีพระราชหฤทัยในการฟื้นฟู ก็ด้วยพระองค์ได้เสด็จมายังโรงเก็บเรือพระราชพิธี ที่บางกอกน้อย ทอดพระเนตรเห็นเรืออยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงมีพระราชดำริว่า ถ้าจะโปรดให้มีการฟื้นฟูการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคขึ้น ก็คงไม่เป็นการสิ้นเปลืองอะไรนัก เพราะกำลังคนสามารถใช้ของทหารเรือ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ทำขึ้นครั้งเดียวก็สามารถใช้ได้เป็นแรมปี ส่วนประโยชน์ที่ได้รับนั้นมีมากมายหลายประการ เช่น เรือพระราชพิธีต่างๆ อันสวยงามและทรงคุณค่าในด้านศิลปกรรมเหล่านี้จะได้รับการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เป็นการรักษาสมบัติอันมีค่าของชาติแต่กาลก่อนให้ดำรงคงอยู่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาติ บำรุงขวัญและก่อให้เกิดความภูมิใจของคนไทย ที่สำคัญเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวต่างประเทศทั่วโลกสืบไป

พิพิธภัณสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร เปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าชม ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๗.๐๐ น.ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์  ปิดเฉพาะวันขึ้นปีใหม่และเทศกาลวันสงกรานต์

ค่าธรรมเนียมการเข้าชม : ชาวไทย ๒๐ บาท  ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท และผู้มีความประสงค์ถ่ายภาพเรือพระราชพิธี เสียค่าถ่ายภาพ กล้องละ ๑๐๐ บาท

สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี : ปากคลองบากกอกน้อย แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ  สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ ๐-๒๔๒๔-๐๐๐๔


ต่อไป ความรู้เรื่อง อาภรณ์ภัณฑ์เรือพระราชพิธี
โปรดติดตาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กันยายน 2559 17:26:00 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 02 กันยายน 2559 14:42:26 »



ผ้าหลังคาเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
ผนังอาคารภายในพิพิธภัณฑ์เรือพระที่นั่ง เป็นที่เก็บรักษาอาภรณ์ภัณฑ์เรือพระราชพิธี
พู่ห้อย ที่หัวเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ซึ่งทำด้วยขนจามรีจากประเทศเนปาล
เครื่องดนตรี เครื่องแต่งกายของเหล่าฝีพาย และสิ่งของเครื่องใช้ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค

องค์ความรู้
อาภรณ์ภัณฑ์เรือพระราชพิธี

จากอดีตที่ผ่านมา ผ้ามีบทบาทสำคัญกับวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย เป็นทั้งเครื่องแต่งกาย เครื่องนุ่งห่ม เพื่อปกปิดและประดับร่างกายให้สวยงามในโอกาสต่างๆ  นอกจากนี้ยังสามารถนำผ้ามาทำเป็นของใช้ เช่น ผ้าห่ม ย่ามของชาวเขา ที่นอนของชาวไทครั่งในภาคอีสาน  และผ้ายังถือเป็นตัวแทนของความเชื่อ ความศรัทธา เช่น วัฒนธรรมการใช้ผ้าห่อคัมภีร์ของชาวไทยลื้อ ผ้าห่อคัมภีร์ใบลานของชาวน่าน หรือนำมาใช้ในพิธีกรรม เช่น ตุงของชาวจังหวัดเชียงราย เป็นต้น

การปักผ้า เป็นการสร้างลวดลายบนผ้าพื้น โบราณใช้เข็มปักสอดเส้นด้าย เส้นไหม หรือดิ้นเงิน ดิ้นทอง ลงไปในเนื้อผ้าแล้วสอดขึ้นๆ ลงๆ ตามลวดลายที่ร่างไว้ เช่น ลายดอกไม้ ใบไม้ ลายไทย ส่วนมากใช้เป็นผ้าห่ม ผ้าปูลาดเครื่องราชูปโภคต่างๆ มีทั้งที่เป็นฝีมือช่างไทยและฝีมือชาวต่างประเทศที่ส่งมาขาย เช่น ผ้าสุจหนี่ หักทองขวางที่ปักด้วยดิ้นทอง  ปัจจุบันการปักผ้าไม่เป็นที่นิยม ยังมีปักบ้างในหมู่ชาวไทยภูเขาในภาคเหนือ และผ้าที่ใช้ในราชสำนักหรืองานพระราชพิธีต่างๆ

ผ้าที่ใช้ในราชสำนักนั้น จะเป็นเครื่องกำหนดยศ กำหนดตำแหน่งของผู้สวมใส่  ผ้าบางประเภทใช้ได้เฉพาะพระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูง ทั้งนี้ ผ้าที่ใช้ในราชสำนักมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความนิยมและยุคสมัย บางส่วนยังคงยึดถือตามแบบแผนดั้งเดิม ตามโบราณราชประเพณีจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็คือ ผ้าทอและผ้าปักที่ใช้ในฉลองพระองค์ของพระมหากษัตริย์ นายเรือ นายท้าย และเครื่องอาภรณ์ภัณฑ์ประกอบเรือพระราชพิธี อาทิเช่น ผ้าดาดหลังคากัญญา ผ้าหน้าจั่ว ผ้าม่าน ผ้าหน้าโขนเรือพระราชพิธี เป็นต้น
 
ในเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศประเภทเรือพระที่นั่ง โดยเฉพาะเรือพระที่นั่งประเภทเรือกิ่ง จะปรากฏงานทองแผ่ลวดที่ผ้าดาดหลังคาพระแท่นกัญญาเรือพระที่นั่ง ผ้าม่าน ผ้าหน้าโขนเรือ ฉัตร ธงงอน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีงานทองแผ่ลวดที่ใช้กับเรือพระราชพิธีประเภทเรือรูปสัตว์ เรือดั้ง เรือแซง เรืออีเหลือง เรือทองขวานฟ้าอีกด้วย ซึ่งอาภรณ์ภัณฑ์เรือพระราชพิธีเป็นอีกส่วนที่เสริมความวิจิตร และสง่างามให้กระบวนเรือพระราชพิธี



ผ้าลายทองแผ่ลวด จะใช้ผ้าสักหลาด (ผ้าทอด้วยขนสัตว์ เนื้อหนา ภาษาเปอร์เซีย เรียกว่า Sakalat หมายถึง ผ้าเนื้อดี) ผ้าตาด ผ้าโทเร และผ้ากำมะหยี่ นำมาทำเป็นผ้าพื้นเพื่อวางลวดลาย โดยเริ่มจากเขียนแบบลายหรือคัดลอกลายเดิม ตอกกระดาษ ปิดทองประดับกระจกแล้วจึงวางลายบนผืนผ้าแต่ละผืน สุดท้ายนำไปเย็บประกอบกับเรือพระราชพิธีแต่ละลำ

ทองแผ่ลวด หมายถึง กระดาษที่ใช้ตกแต่งเครื่องสูง การตกแต่งด้วยทองแผ่ลวดจึงเป็นการใช้กระดาษทองตกแต่งบนเครื่องสูง เช่น ฉัตร บังสูรย์ บังแทรก สำหรับพระราชวงศ์ที่ต่ำกว่าชั้นเจ้าฟ้า

งานช่างลายทองแผ่ลวด เป็นงานช่างแขนงหนึ่งในหมู่งานช่างสนะไทย (สะ-หนะ) หรือช่างที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องภูษาอาภรณ์ วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานเนื่องในสถาบันพระมหากษัตริย์และศาสนา ไม่นิยมใช้กับสามัญชน ได้แก่ ชุดฉลองพระองค์พระมหากษัตริย์ ฉัตรเครื่องสูงต่างๆ ตาลปัตรที่ทำด้วยผ้าปักลายในพิธีสำคัญมาแต่โบราณ ผ้าม่าน ผ้าดาดหลังคาเรือพระที่นั่งองค์ต่างๆ เป็นต้น  เทคนิคหนึ่งที่ใช้ในการสร้างงานลายทองแผ่ลวดคือ เทคนิคการสลักกระดาษหรือตอกกระดาษ เพื่อให้ได้ลวดลายตามรูปแบบที่สวยงามและเพียงพอต่อการนำไปใช้งาน

กระดาษทองแผ่ลวด ทำจากกระดาษข่อยหรือกระดาษสา ซ้อนกันหลายๆ ชั้นให้หนาพอสมควร โดยใช้น้ำยาที่ทำจากพืชบางชนิดทาอาบให้กระดาษชื้น ใช้ค้อนเขาควายทุบพอให้เนื้อกระดาษประสานเป็นแผ่นเดียวและเรียบ แล้วผึ่งให้แห้งสนิท จากนั้นจึงทาผิวหน้าด้วยยางรัก ปิดด้วยทองคำเปลวจนเต็มหน้ากระดาษ เมื่อจะนำไปตกแต่งที่เครื่องสูง จะตัดเป็นแถบเล็กๆ เย็บด้วยมือ ติดริมขอบใบฉัตรที่เป็นพื้นขาว หรือสลักฉลุเป็นลวดลายเย็บตรึงประดับบนพื้นผ้าสี เห็นเป็นลวดลายทองบนพื้นสีต่างๆ

การสลักกระดาษหรือการตอกกระดาษ เป็นงานศิลปกรรมที่จัดอยู่ในจำพวกประณีตศิลป์ เป็นงานที่ช่างใช้กระดาษชนิดต่างๆ มาสลักทำให้เป็นรูปภาพหรือลวดลาย แล้วนำไปปิดประดับเป็นงานตกแต่งสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นสิ่งถาวรอยู่ได้นาน เช่น ปิดเป็นลวดลายบนระใบฉัตรทองแผ่ลวด หรือเป็นสิ่งที่ต้องการใช้งานชั่วคราว เช่น ปิดลวดลายตกแต่งพระเมรุ ตกแต่งฐานเบญจา ตกแต่งเครื่องจิตกาธาน เป็นต้น



บุษบกบัลลังก์เรือพระที่นั่ง

งานสลักกระดาษโดยประเพณีนิยมที่ได้สร้างหรือทำขึ้นในโอกาส วาระ และการใช้สอยต่างๆ เช่น
๑) งานสลักกระดาษประดับเครื่องแสดงอิสริยายศ ได้แก่ ฉัตรทองแผ่ลวด ฉัตรปรุ บังสูรย์ บังแทรก จามร
๒) งานสลักกระดาษประดับเครื่องอุปโภค ได้แก่ พานแว่นฟ้า พานพุ่มขี้ผึ้ง ตะลุ่ม กระจาดเครื่องกัณฑ์เทศน์
๓) งานสลักกระดาษประดับเครื่องตกแต่ง ได้แก่ ม่าน ฉาก หน้าบันพลับพลา เพดานปรำ
๔) งานสลักกระดาษประดับเครื่องศพ ได้แก่ ประดับลูกโกศ เมรุราษฎร พระเมรุของหลวง จิตกาธาน เป็นต้น

วิธีการสลักกระดาษ จะนำเอาตั้งกระดาษที่ได้วางแม่แบบและใส่หมุดไว้มาวางลงบนเขียงไม้ ใช้สิ่วหน้าต่างๆ และขนาดต่างๆ ตอกเจาะ หรือสลักเดินไปตามลายเส้นแม่แบบ ตอนใดที่ต้องการให้เป็นรู เป็นดวง จะใช้ตุ๊ดตู่เจาะปรุ หรือหากต้องการทำเป็นเส้น แสดงส่วนละเอียดเป็นเส้นไข่ปลา ก็ต้องใช้เหล็กปรุตอกดุนขึ้นมาข้างใต้ตัวลายหรือรูปภาพ ซึ่งต้องทำภายหลังจากสลักทำเป็นลวดลายหรือรูปภาพครบถ้วนแล้ว

ลวดลายที่ปรากฏจะมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น รูปแบบลวดลายไทย ทั้งประเภทกนกหรือประเภทพันธุ์พฤกษา รวมทั้งรูปแบบลวดลายจากอิทธิพลทางศิลปะภายนอกที่เข้ามาปะปนอยู่ในศิลปะของไทย มีทั้งรูปแบบจีนและรูปแบบตะวันตก ทั้งนี้สามารถสังเกตลวดลายได้ ๒ ลักษณะ ดังนี้

๑.ลักษณะลวดลายแบบลายติด คือ ตัวลวดลายทั้งหมดจะเชื่อมโยงติดต่อเนื่องกันโดยตลอด หากมีกรอบนอก ลวดลายทุกตัวจะมีส่วนที่เกาะอยู่กับกรอบโดยรอบด้วยเสมอ ส่วนที่ทะลุขาดออก จะเป็นส่วนพื้นหลัง
๒.ลักษณะลวดลายแบบขาด จะมีรูปแบบตรงกันข้ามกับแบบแรก คือ ลวดลายทุกตัวจะไม่เชื่อมติดกัน และจะเป็นส่วนที่ทะลุขาดออกจากพื้นหลัง

ในการทำลายทองแผ่ลวดนี้ จะต้องอาศัยความชำนาญจากช่างฝีมือหลายแขนงร่วมกัน เริ่มตั้งแต่ช่างเขียน ดำเนินการออกแบบลวดลาย โดยกำหนดรายละเอียดของลวดลายที่จะใช้ กำหนดขนาดผ้า สีผ้า สีกระจก เพื่อให้เกิดความสวยงามและเหมาะสมกับสภาพการใช้งาน ลวดลายที่เขียนลงบนงานทองแผ่ลวดจะเป็นลวดลายแบบลายติด จึงทำให้ปลายของลายเป็นปลายตัด ไม่แหลมคมเหมือนลายที่เขียนในงานอื่นๆ มีช่องสำหรับใส่กระจก  ดังนั้น การจัดช่องไฟจึงมีความสำคัญ นอกจากจะช่วยให้เกิดความสวยงามแล้ว ยังทำให้เห็นลวดลายได้ชัดเจนขึ้น

ช่างแกะสลัก ดำเนินการฉลุกระดาษหรือตอกกระดาษ เพื่อให้ได้ลายตามแบบที่สวยงามและเพียงพอต่อการใช้งาน

ช่างปิดทอง ดำเนินการปิดทองกระดาษลายให้สวยงาม โดยทาเชลแลค (Shellac) บนกระดาษที่ตอกลายไว้แล้ว ทารักหรือสีทองปิด ผึ่งให้แห้งพอหมาด จึงจะปิดทองคำเปลวทั่วทั้งแผ่น โดยใช้ทองแท้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

ช่างประดับกระจก ดำเนินการตัดกระจกสีต่างๆ ตามขนาดและลักษณะของลวดลายเพื่อใช้เป็นไส้ของลวดลาย โดยจะติดกระจกที่ด้านหลังของแผ่นกระดาษลาย ให้ด้านเงาหันออกด้านหน้าของกระดาษลายที่ปิดทองไว้แล้ว

ช่างสนะ ดำเนินการเย็บลวดลายกระดาษที่ปิดทองและประดับกระจกแล้วลงบนผ้าที่เลือกใช้ โดยขึงผ้าบนสะดึงไม้ วางลวดลายลงบนผ้า จากนั้นจึงเย็บด้วยการเดินเส้นด้ายเส้นใหญ่สีเหลืองทอง (เดิมใช้ดิ้นทอง) ล้อขอบลวดลาย แล้วจึงเย็บตรึงด้วยด้ายเส้นเล็กสีเดียวกัน เมื่อเย็บชิ้นงานเรียบร้อยแล้วจะนำมาประกอบเข้ากับเครื่องประกอบเกียรติยศ

การทำงานของช่างเหล่านี้จะต้องกลมกลืนกัน เพื่อให้ชิ้นงานออกมาประณีตสวยงาม ซึ่งในปัจจุบันงานเย็บผ้าลายทองแผ่ลวดเหลือน้อยลง เนื่องจากต้องอาศัยกระบวนช่างที่ซับซ้อนและละเอียดประณีตอย่างมาก ทังนี้ กรมศิลปากรยังคงดำเนินงานช่างแขนงนี้ไว้อย่างต่อเนื่อง โดยการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมงานทองแผ่ลวดที่ใช้ในงานพระราชพิธีต่างๆ โดยยึดเทคนิคและวัสดุอุปกรณ์อย่างช่างโบราณ


ผ้าปัก อาภรณ์ภัณฑ์สำคัญ
ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี


เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์


๑.ผ้าดาดหลังคาพระแท่นกัญญาเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
       ขนาด กว้าง ๓๗๐ เซนติเมตร ยาว ๔๖๒ เซนติเมตร
       ผ้าสักหลาดพื้นสีแดง ลายทองแผ่ลวด ท้องผ้าปักลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีกรอบ ๔ ชั้น ล้อมโดยรอบท้องผ้า ชั้นที่หนึ่งปักลายกรุยเชิงบนพื้นสีเขียว ชั้นที่สองปักลายดอกซีกดอกซ้อนบนพื้นสีเขียว ชั้นที่สามปักลายประจำยามก้ามปูบนพื้นสีแดง ชั้นที่สี่ปักลายดอกซีกดอกซ้อนบนพื้นสีเขียว




๒.ผ้าหน้าจั่วเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
       ขนาด สูง ๑๑๒ เซนติเมตร ยาว ๑๖๐ เซนติเมตร
       ผ้าสักหลาดพื้นสีแดง ทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ลายทองแผ่ลวด ท้องผ้าปักลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีกรอบ ๔ ชั้น ล้อมโดยรอบท้องผ้า ชั้นที่หนึ่งปักลายกรุยเชิงบนพื้นสีเขียว ชั้นที่สองปักลายดอกซีกดอกซ้อนบนพื้นสีเขียว ชั้นที่สามปักลายประจำยามก้ามปูบนพื้นสีแดง ชั้นที่สี่ปักลายดอกซีกดอกซ้อนบนพื้นสีเขียว



๓.ผ้าม่านเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
       ขนาด กว้าง ๒๐๐ เซนติเมตร ยาว ๒๓๓ เซนติเมตร
       ผ้าสักหลาดพื้นสีแดง ลายทองแผ่ลวด ท้องผ้าปักลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีกรอบ ๓ ชั้น ล้อมโดยรอบท้องผ้า ชั้นที่หนึ่งปักลายกรุงเชิงบนพื้นสีเขียว ชั้นที่สองปักลายดอกซีกดอกซ้อนบนพื้นสีแดง ชั้นที่สามปักลายประจำยามใบเทศ (ยืดลายด้านข้างออก) บนพื้นสีเขียว



๔.ธงสามชายเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
       ขนาด กว้าง ๑๕๐ เซนติเมตร ยาว ๑๖๕ เซนติเมตร สูง ๒๔๑ เซนติเมตร
       ผ้าสักหลาดพื้นสีแดง ปักดิ้นทั้งสองด้าน เป็นลายเครือเถาใบเทศทั้งผืน คั่นด้วยลายกรุยเชิงในกรอบสามเหลี่ยมบนพื้นสีน้ำเงิน มีลายประจำยามก้ามปูล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ชายธงแหลมมีสามชาย



เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙


๑.ผ้าดาดหลังคาพระแท่นกัญญาเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙
       ขนาด กว้าง ๓๙๒ เซนติเมตร ยาว ๕๓๖ เซนติเมตร
       ผ้าสักหลาดพื้นสีแดง ลายทองแผ่ลวด ท้องผ้าปักลายโคมพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีกรอบ ๓ ชั้น ล้อมโดยรอบท้องผ้า ชั้นที่หนึ่งปักลายหน้าอิฐคั่นด้วยลายกระจังบนพื้นสีเขียว ชั้นที่สองปักลายเกลียวออกลายสลับหัวสลับหางบนพื้นสีแดง (โดยมีการตั้งตัวกลางแล้วออกลายไปสองข้าง) ชั้นที่สามปักลายลูกฟักประจำยามก้ามปูใบเทศบนพื้นสีเขียว


 
๒.ผ้าหน้าจั่วเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙
       ขนาด สูง ๘๑ เซนติเมตร ยาว ๑๖๒ เซนติเมตร
       ผ้าสักหลาดพื้นสีแดง ทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ลายทองแผ่ลวด ท้องผ้าปักลายโคมพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีกรอบ ๓ ชั้น ล้อมโดยรอบท้องผ้า ชั้นที่หนึ่งปักลายกรุยเชิงบนพื้นสีเขียว ชั้นที่สองปักลายประจำยามก้ามปูใบเทศบนพื้นสีแดง ชั้นที่สามปักลายลูกฟักประจำยามก้ามปูใบเทศบนพื้นสีเขียว



๓.ผ้าม่านเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙
       ขนาด กว้าง ๑๓๐ เซนติเมตร ยาว ๒๓๒ เซนติเมตร
       ผ้าสักหลาดพื้นสีแดง ลายทองแผ่ลวด ท้องผ้าปักลายโคมพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีกรอบ ๓ ชั้น ล้อมโดยรอบท้องผ้า ชั้นที่หนึ่งปักลายหน้าอิฐคั่นด้วยลายกระจังบนพื้นสีเขียว ชั้นที่สองปักลายเกลียวออกลายสลับหัวสลับหางบนพื้นสีแดง (โดยมีการตั้งตัวกลางแล้วออกลายไปสองข้าง) ชั้นที่สามปักลายลูกฟักประจำยามก้ามปูใบเทศบนพื้นสีเขียว


* ผู้สนใจสามารถหาความรู้ "อาภรณ์ภัณฑ์เรือพระราชพิธี" ลำอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่พิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธี

การแต่งกายของพนักงานประจำเรือพระราชพิธี
(The Royal Barge’s officer Uniforms)


ชุดพนักงานเห่ขานยาวประจำเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช


ชุดนายเรือพระที่นั่ง


ชุดฝีพายเรือพระที่นั่ง (ยกเว้นเรืออนันตนาคราช)


ชุดนายท้ายเรือ


ชุดฝีพายเรือรูปสัตว์

ส่วนหนึ่งของเครื่องดนตรีประกอบการเห่เรือ
ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค












ผู้เรียบเรียง : kimleng
อ้างอิง : - บทความ เรือพระที่นั่งในอดีต โดย นิยม กลิ่นบุบผา นักวิชาการช่างศิลป์เชี่ยวชาญ (ด้านช่างสิบหมู่) สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร, นิตยสารศิลปากร
          - บทความ ๗๐ ปี พิพิธภัณฑสถานไทย ก้าวไปภายใต้ร่มพระบารมี โดย พัชรินทร์ ศุขประมูล ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, นิตยสารศิลปากร
          - หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี, กรมศิลปากร จัดพิมพ์เผยแพร่
          - หนังสือผ้าปักโบราณเรือพระราชพระราชพิธี, กรมศิลปากร จัดพิมพ์เผยแพร่
          - สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง, มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดพิมพ์เผยแพร่
          - จดหมายเหตุรายวัน การเดินทางไปสู่ประเทศสยาม (Journal du Voyage de Siam) โดย บาทหลวง เดอ ชัวซีย์, แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร
          - เว็บไซต์ วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี
          - เว็บไซต์ .finearts.go.th
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กันยายน 2559 14:44:45 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 05 กันยายน 2559 17:33:59 »




เก๋งเรือ กว้าง ๑๖๑ ซม. ยาว ๒๗๘ ซม. สูง ๒๒๒ ซม. ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕  
ทำจากไม้จำหลักลายพันธุ์พฤกษา ลงรักปิดทองและเขียนสี (การลงรัก เรียกอีกอย่างหนึ่่งว่า "สมุก")


ผนังด้านในตอนบนเหนือกรอบประตูหน้าต่าง มีภาพเขียนเป็นลายมงคลศิลปะจีน
เก๋งเรือนี้สันนิษฐานว่า คงจะเป็นเก๋งของเรือแหวต ซึ่งเป็นเรือขุดที่มีขนาดใหญ่ ใช้ฝีพายราว ๗-๘ คน  

เรือแหวตนี้เป็นเรือที่บ่งบอกฐานะของเจ้าของเรือได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นเรือหลวงพระราชทาน
สำหรับเจ้านายที่ทรงกรม ตั้งแต่กรมพระขึ้นไปหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ไม่ต่ำกว่าเจ้าพระยา
และพระสงฆ์ระดับพระราชาคณะชั้นสมเด็จ
ปัจจุบันเก๋งเรือดังกล่าว เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพ : ๔ กันยายน ๒๕๕๙





ครุฑโขนเรือ ประดิษฐ์จากไม้ ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓
ได้จาก แม่น้ำลพบุรีเก่า พระนครศรีอยุธยา
ปัจจุบัน เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา
ภาพ : ๔ กันยายน ๒๕๕๙
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 กันยายน 2559 17:37:18 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.937 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 21 เมษายน 2567 06:18:07