[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:18:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดพงศาวดาร... พระเจ้าตาก ฯ กับ ความปรารถนา ใน พุทธภูมิ!!  (อ่าน 1371 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.272 Chrome 50.0.2661.272


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 28 สิงหาคม 2559 05:30:43 »



เปิดพงศาวดาร... พระเจ้าตากฯ กับความปรารถนาในพุทธภูมิ!!

ตามคติธรรมของพระพุทธศาสนา... "พุทธภูมิ" หมายถึงภูมิธรรมของผู้ที่ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล

แต่ความจริงแล้ว มิใช่เพียงบรรพชิตเท่านั้นที่สามารถจะปรารถนาในพุทธภูมิได้ ดังเช่นกรณีของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชอาณาจักรสยาม ตามหลักฐานจากพงศาวดารที่จะได้รับการเปิดเผยดังต่อไปนี้ :

ก่อนศึกรบพม่าที่บางแก้ว พระเจ้าตากฯ ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธปฏิมากรที่วัดกลางดอยเขาแก้ว บ้านระแหง แขวงเมืองตาก แล้วได้ทรงถามพระสงฆ์ในวัดว่า จำพระองค์ได้หรือไม่? ... ความตอนนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) มีว่า

"พระผู้เป็นเจ้าจำได้หรือไม่? เมื่อโยมยังอยู่บ้านระแหง โยมยกระฆังแก้วขึ้นชูไว้กระทำสัตยาธิษฐาน เสี่ยงพระบารมีว่า ถ้า ฯข้าฯ จะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณในอนาคตกาลเป็นแท้แล้ว ฯข้าฯ ตีระฆังแก้วเข้า บัดนี้ให้ระฆังแก้วแตกจำเพาะแต่ที่จุก จะได้ทำเป็นพระเจดีย์ฐานแก้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ"

ในครั้งนั้น เมื่อได้อธิษฐานแล้วตีระฆัง ก็ปรากฏว่าระฆังแตกเฉพาะแต่ที่จุกดังคำอธิษฐาน พระและผู้คนที่อยู่ในเหตุการณ์ต่างเห็นเป็นเรื่องอัศจรรย์

พระสงฆ์ก็ตอบว่า "จำได้... เป็นจริงตามที่พระองค์ทรงเล่า"

ความปรารถนาในพุทธภูมินี้เป็นสิ่งที่อยู่ในพระทัยมาตั้งแต่ก่อนจะ ปราบดาภิเษกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ (ซึ่งเป็นความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ในระดับเดียวกับพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยัง เป็นปุถุชนคนธรรมดาย้อนไปหลายร้อยพันกัลป์) และเป็นสิ่งที่อยู่ในพระทัยมาโดยตลอด

อย่างไรก็ตาม  ความที่ยกมาในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีตอนนี้ก็มิใช่ครั้งแรกและครั้งเดียว ที่กล่าวถึงความปรารถนาแห่งพระโพธิญาณของพระเจ้าตากฯ  ดังเมื่อครั้งเสร็จศึกอะแซหวุ่นกี้ ปี ๒๓๑๙ ก็ได้ทรงโปรดให้มีงานบุญใหญ่พระราชพิธีบังสุกุลพระอัฐิของพระมารดา พระเจ้าตากฯ ก็ทรงอธิษฐานว่า

"เดชะผลทานบูชานี้ ขอจงยังพระลักขณะ พระปีติทั้ง ๕ จงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า แล้วอย่าได้อันตรธาน และพระธรรมซึ่งยังมิได้บังเกิดขึ้น ขอจงบังเกิดภิญโญภาพยิ่งๆ ขึ้น  อนึ่ง ขอจงเป็นปัจจัยแก่พระปรมาภิเษกสมโพธิญาณในอนาคตกาลภายภาคหน้า"  ("พระราชพงศาวดาร" อ้างใน ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์)




ตามพระราชประวัติที่ เราพอรับรู้รับทราบ  พระเจ้าตากฯ ทรงเรียนหนังสือไทย หนังสือขอม และพระไตรปิฎก กับพระอาจารย์ทองดีตั้งแต่อายุ ๕ ขวบ  เมื่ออายุ ๒๑ ครบบวช ก็ทรงผนวชอยู่ในสำนักพระอาจารย์ทองดี ๓ พรรษา จึงลาสิกขาออกมารับราชการ  ทั้งนี้อนุมานว่า น่าจะทรงรู้พระธรรมวินัยและพระไตรปิฎกอยู่ในระดับดี แต่ก็ไม่มีตรงไหนที่โยงใยไปถึงสาเหตุหรือที่มาของความปรารถนาในพุทธภูมิ

แต่ในสมัยของพระองค์นั้น ความปรารถนาในพุทธภูมิอาจมิใช่เรื่องแปลกใหม่  และที่น่าสังเกตก็คือ ไม่จำเป็นว่าเฉพาะพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่จะปรารถนาเช่นนี้ได้ เพราะแม้แต่ชาวบ้านก็ปรารถนาได้เช่นกัน

ภิกษุณีธัมมนันทา (ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์) ได้ตั้งข้อสังเกตไว้อีกมุมมองว่า  ความปรารถนาในพุทธภูมิของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนี้ดูจะแปลกไปจากคติของ พุทธเถรวาทในปัจจุบันที่มุ่งปรารถนา "พระนิพพาน" หรือ "อรหันตภูมิ" มากกว่าที่จะมุ่งบำเพ็ญเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป  แต่คติพุทธในเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมทุกคนใน ฝ่ายมหายานที่ปรารถนาพุทธภูมิด้วยกันทั้งสิ้น

ตรงนี้จะสอดคล้องกับข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ที่ระบุว่า  การตัดสินพระทัยเป็นพระมหากษัตริย์หลังทรงกู้แผ่นดินคืนมาจากพม่าได้นั้น เป็นไปโดยมีเหตุผลทางธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง มิใช่เหตุผลทางการเมืองล้วนๆ นั่นคือทรงคิดว่า การเป็นกษัตริย์ช่วยเหลือเหล่าอาณาประชาราษฎร์นั้นเป็นการบำเพ็ญบารมีตาม วิถีแห่งพระโพธิสัตว์ (จึงทำให้ไม่ทรงเลือกเดินบนวิถีแห่งพระอรหันต์ในตอนนั้น) ซึ่งก็แน่นอนว่า พงศาวดารย่อมต้องมีบันทึกถึงการบำเพ็ญพระบารมีของพระเจ้าตากฯ ตั้งแต่ครั้งที่ยังทรงครองราชย์ใหม่ๆ ...

"ครั้งนั้น หมู่คนอาสัตย์ซึ่งคุมพรรคพวกตั้งอยู่ กระทำโจรกรรม ณ หัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา มิได้เชื่อพระบรมธิคุณและตั้งตัวเป็นใหญ่นั้น ก็บันดาลให้สยบสยองพองเศียรเกล้า ชวนกันนำเครื่องราชบรรณาการต่างๆ เข้ามาถวายเป็นอันมาก  ทรงพระกรุณา...พระราชทานโอวาทานุศาสตร์ สั่งสอนให้เสียพยศอันร้าย ให้ตั้งอยู่ในยุติธรรม  ขณะนั้น ลูกค้าวาณิชได้ทำมาค้าขายเป็นสุข บริบูรณ์ด้วยอาหาร ได้บำเพ็ญทศบุญกิริยาวัตถุกุศลต่างๆ  ฝ่ายสมณะก็รับจัตุปัจจัยทานเป็นสุข บริโภคให้บำเพ็ญสมณธรรมตามสมณกิจ ... จำเดิมแต่นั้นมา พระพุทธศาสนาก็ค่อยๆ วัฒนาการรุ่งเรืองเฟื่องฟูขึ้นเหมือนแต่ก่อน และสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็เจริญพระราชกฤดาธิคุณ ไพบูลย์ภิยโยภาพยิ่งขึ้นไป  ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินก็ค่อยมีความผาสุก สนุกสบายบริบูรณ์ คงคืนขึ้นเหมือนเมื่อครั้งแผ่นดินกรุงเก่ายังปกติดีอยู่นั้น"



อย่างไรก็ตาม  จากข้อความในพงศาวดารดังกล่าวก็พอจะสะท้อนเรื่องนี้ได้บ้างประมาณหนึ่ง  แต่คำถามก็คือ มีอะไรหรือไม่ที่เป็นร่องรอยให้เห็นว่า พระเจ้าตากฯ ทรงมุ่งมั่นในพระโพธิญาณจริงๆ มิใช่การเขียนพงศาวดารในธรรมเนียม "ยอพระเกียรติ"?

กิจการในพระศาสนาของพระเจ้าตากฯ ไม่ว่าจะเป็นการให้รวบรวมจารคัมภีร์บาลี ทั้งพระไตรปิฎก อรรถกถา ฯลฯ ทรงโปรดให้สร้างสมุดภาพไตรภูมิ สร้างกุฏิ สร้างวัด สนับสนุนพระภิกษุสงฆ์ทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติ หรือกระทั่งชำระภิกษุสงฆ์ที่ทำผิดพระธรรมวินัยนั้น ก็เหมือนมีบันทึกว่า ดำเนินไปไม่ต่างจากที่พระมหากษัตริย์พระองค์อื่นๆ ได้ทรงกระทำ

ในประเด็นนี้อาจมองได้ว่าเป็น "คติเทวราชา" ที่รับมาจากศาสนาพราหมณ์ (พระมหากษัตริย์คือองค์อวตารผู้ลงมาทำหน้าที่ปกป้องพิทักษ์ราษฎร) กับคติที่มองว่าพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ (ผู้ถือเอาการสร้างความผาสุกให้แก่อาณาประชาราษฎร์เป็นการบำเพ็ญเพียรสร้าง สมบารมี) โดยผสมผสานสืบเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังจะเห็นได้จากการถวายพระนามของพระมหากษัตริย์ดุจเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งอนุมานได้ว่า ถึงแม้ความปรารถนาในพระโพธิญาณของพระเจ้าตากฯ จะมีมาก่อนที่จะทรงเป็นกษัตริย์ แต่เมื่อได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์แล้ว ความปรารถนาดังกล่าวก็แยกไม่ออกจากคติ "พระพุทธเจ้าอวตาร" ที่มีมาแต่ก่อนเก่า

ที่สำคัญ เรื่องนี้ยังสอดคล้องกับเหตุการณ์เมื่อคราวติดศึกที่บางแก้วจนมิได้กลับมา เฝ้าพระพันปีหลวงตอนสวรรคต เพราะหลักฐานว่าพระเจ้าตากฯ ทรงพระกรรมฐาน ปรากฏขึ้นครั้งแรกเมื่อคราวที่จัดงานพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิของ สมเด็จพระพันปีหลวง ทรงบำเพ็ญฌานบารมีถวายเป็นพระราชกุศลให้กับพระมารดา และหลังจากนั้นก็ทรงปฏิบัติเรื่อยมาอย่างจริงจัง

การบำเพ็ญ "ฌานบารมี" หรือทรง "พระกรรมฐาน" ของพระเจ้าตากฯ จึงเป็นประจักษ์พยานอันสำคัญยิ่ง... ประจักษ์พยานที่ชัดเจนถึงความมุ่งมั่นในพระโพธิญาณ!!

อ้างอิง : หนังสือ "ธรรมะของพระเจ้าตาก" โดย เวทิน ชาติกุล

จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/198336/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.427 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 03 มีนาคม 2567 04:18:36