[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 16:14:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เคล็ดวิธีฝึก "เจริญสมาธิและปัญญา" สร้างบุญบารมีสูงสุด และ ยิ่งใหญ่  (อ่าน 1110 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.272 Chrome 50.0.2661.272


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 สิงหาคม 2559 00:39:30 »



เคล็ดวิธีฝึก "เจริญสมาธิและปัญญา" สร้างบุญบารมีสูงสุดและยิ่งใหญ่

การทำสมาธิเป็นการฝึกปฏิบัติตนให้มั่นคงอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้บุคคลที่ทำสมาธินั้นการเจริญภาวนานั้นเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา วิธีการฝึกเจริญภาวนานั้นเรียกได้ว่าต้องทำไปเป็นลำดับขั้น คือเริ่มด้วยสมาธิก่อนจนชำนาญแล้วจึงก้าวไปถึงการเจริญปัญญา สมาธิ คือการที่มีใจตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างแน่วแน่ กล่าวในภาษาชาวบ้านก็คือการมีใจจดจ่ออยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านนั่นเอง

การทำสมาธิแบบนี้ไม่ได้เน้นการเข้าถึงนิพพาน แต่ก็เป็นพื้นฐานที่ดีหากต้องการปฏิบัติต่อไปในขั้นสูง หากแต่มีประโยชน์ที่เห็นได้ทันทีก็ได้จากในชีวิตประจำวัน ทำให้เรามีจิตใจผ่องใสจิตไม่เศร้าหมองต้องคอยกังวลอยู่กับอาการของโรคร้ายที่ต้องเผชิญหน้าเพราะว่าระดับจิตใจได้ถูกฝึกมาให้มีความนิ่งดีแล้ว เมื่อจิตมีความนิ่งเป็นสมาธิดีแล้ว ย่อมมีพลังแรงกว่าใจที่ไม่มีสมาธิ ดังนี้เมื่อจะคิดทำอะไรก็จะทำได้ดี และประสบผลได้เร็วกว่าคนปกติที่ไม่ได้ผ่านการฝึกสมาธิมาก่อน วิธีการทำสมาธิที่ได้ผลและเป็นที่นิยมได้ถูกนำมากล่าวแนะนำไว้ในที่นี้แล้ว เริ่มตั้งแต่ขั้นพื้นฐานและขั้นตอนต่างๆ โดยท่านสามารถอ่านทีละหัวข้อตามลำดับดังต่อไปนี้


1. การทำสมาธิสามารถทำได้ทุกขณะอิริยาบถ ท่านพ่อลี (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) พระสายธุดงค์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งแห่งภาคอีสาน ได้เคยให้คำอธิบายวิธีการทำสมาธิในชีวิตประจำวัน เวลาที่จะทำสมาธินั้นท่านได้อธิบายอย่างง่ายๆไว้ว่า ทำได้ทั้งยืน เดิน นั่ง และนอนในอิริยาบถทั้ง 4 นี้ เมื่อใดที่ใจเป็นสมาธิก็ถือว่าเป็นภาวนามัยกุศล ซึ่งถือเป็นกุศลกรรมสิทธิ์เฉพาะตัว ถือว่าได้บุญด้วยอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงพอสรุปจากคำแนะนำของท่านไว้ได้ดังนี้คือ
    - การยืน ทำโดยยืนให้ตรง วางมือขวาทับมือซ้าย คว่ำมือทั้งสอง หลับตาหรือลืมตาสุดแท้แต่จะสะดวกในการทำ แล้วเพ่งไปที่คำว่า พุทโธ จนจิตตั้งมั่นได้
    - การเดิน เรียกว่าเดินจงกรม ให้กำหนดความสั้น ความยาว ของเส้นทางที่จะเดินสุดแท้แต่เราเอง ควรจะหาสถานที่และเวลาที่เหมาะสม ไม่อึกทึกครึกโครมและไม่มีสิ่งรบกวนจากรอบข้าง นอกจากนั้นที่ที่จะเดินไม่ควรสูงๆ ต่ำๆ แต่ควรเรียบเสมอกัน เมื่อหาสถานที่และเวลาที่เหมาะสมได้แล้วก็ตั้งสติ อย่าเงยหน้าหรือก้มหน้านัก ให้สำรวมสายตาให้ทอดลงพอดี วางมือทั้งสองลงข้างหน้าทับกันเหมือนกับยืน การเดินแต่ละก้าวก็ให้จิตตั้งมั่นอยู่กับคำบริกรรมว่า พุทโธ โดยเดินอย่างสำรวมช้าๆ ไม่เร่งรีบ กำหนดรู้ในใจการนั่ง คือนั่งให้สบาย แล้วเพ่งเอาจิตไปที่การบริกรรมคำว่า พุทโธ ท่องภาวนาไว้เป็นอารมณ์ให้กำหนดรู้อยู่ในใจ
    - การนอน คือให้นอนตะแคงข้างขวา เอามือขวาวางรองศีรษะ ยืดมือซ้ายไปตามตัว ไม่นอนขด นอนคว่ำ หรือนอนหงาย แล้วก็สำรวมสติตั้งมั่นด้วยการภาวนาคำว่า พุทโธ ให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เช่นเดียวกัน

2. ข้อแนะนำและการเตรียมตัวก่อนการทำสมาธิ
        2.1 การหาเวลาที่เหมาะสม เช่นไม่ใช่เวลาใกล้เที่ยงเป็นต้นจะทำให้หิวข้าว หรือทำใกล้เวลาอาหาร และไม่ทานอิ่มเกินไปเพราะจะทำให้ง่วงนอน หรือเวลาที่คนในบ้านยังมีกิจกรรมอยู่ ยังไม่หลับเป็นต้น
        2.2 การหาสถานที่ที่เหมาะสม ไม่ใช่ต้องทำในที่อึกทึก เพราะสมาธิจะเกิดขึ้นได้ยาก
        2.3 ควรทำสมาธิหลังจากเสร็จจากธุระภารกิจต่างๆ ในชีวิตประจำวันแล้ว เช่นหลังจากอาบน้ำแล้ว ขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้มีนัดหมายกับใครแล้ว เป็นต้น
        2.4 อยู่ในอาการที่สบาย คือการเลือกท่านั่งที่สบาย ท่าที่จะทำให้อยู่นิ่งๆ ได้นานโดยไม่ปวดเมื่อยและเกิดเหน็บชา อาจจะไม่ใช่การนั่งขัดสมาธิก็ได้ แต่การนั่งขัดสมาธิถ้าทำได้ถูกท่าและชินแล้ว จะเป็นท่าที่ทำให้นั่งได้นานที่สุด อย่างไรก็ตามไม่ควรอยู่ในท่าเอนหลังหรือนอน เพราะความง่วงจะเป็นอุปสรรค เมื่อร่างกายได้ขนานกับพื้นโลกจะทำให้ระบบของร่างกายพักการทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้ต้องใช้กำลังใจในการทำสมาธิมากกว่าการนั่ง
        2.5 ไม่ควรนึกถึงผล หรือปรารถนาในลำดับชั้นของการนั่งในแต่ละครั้ง เช่นว่าจะต้องเห็นโน่นเห็นนี่ให้ได้ในคืนนี้เป็นต้น เพราะจะเป็นการสร้างความกดดันทางใจโดยไม่รู้ตัว และเกิดความกระวนกระวายทำให้ใจไม่เกิดสมาธิ ใจไม่นิ่ง ต้องทำใจให้ว่างมากที่สุด
        2.6 ตั้งเป้าหมายในการนั่งแต่ละครั้ง เช่นตั้งใจว่าจะต้องนั่งให้ครบ 15 นาทีก็ต้องทำให้ได้ตามนั้น และพยายามขยายเวลาให้นานออกไป เมื่อเริ่มฝึกไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อให้สมาธิได้สงบนิ่งได้นานยิ่งขึ้น
        2.7 เมื่อได้เริ่มแล้วก็ให้ทำทุกวันจนเกิดความเคยชินเป็นนิสัยติดตัว เพราะว่าการทำสมาธิต้องอาศัยความเพียรในการฝึกฝน เพื่อให้เกิดความเคยชินและชำนาญ การที่นานๆ จะมานั่งทำสักครั้ง ก็เหมือนกับการมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่


3.การทำสมาธิโดยการนับเพื่อฝึกการควบคุมจิต  การทำสมาธิโดยวิธีนี้นั้นมีหลักการนับอยู่หลายวิธี และแต่ละวิธีก็ล้วนแต่มีจุดหมายเดียวกันคือ เป็นอุบายหลอกล่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ ทำให้เราเรียนรู้ที่จะเป็นนายของจิต ควบคุมมันได้ วิธีนับแบบต่างๆพอกล่าวโดยย่อได้ดังต่อไปนี้คือ
     3.1 การนับโดยการบวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ทีละหนึ่ง
          ยกตัวอย่างเช่น พอหายใจเข้าก็นับหนึ่ง พอหายใจออกก็นับสอง หายใจเข้าต่อไปก็นับสาม และหายใจออกต่อไปก็นับสี่ บวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆทีละหนึ่ง ตัวเลขที่นับมันก็จะไม่รู้จบ แต่ท่านอาจจะกำหนดตัวเลขจำนวนสูงสุดก็ได้ อาทิเช่นพอถึงหนึ่งร้อย ก็เริ่มนับหนึ่งใหม่เป็นต้น คงไม่ต้องยกตัวอย่าง วิธีนี้เป็นวิธีเริ่มต้นที่ง่าย และใช้สมาธิไม่มากนัก เพราะเหตุที่เราคุ้นเคยกับการนับในชีวิตประจำวันอยู่แล้วโดยอัตโนมัติ เพียงแต่เอาการนับมาควบเข้ากับจังหวะการหายใจเข้า-ออก เพื่อให้มีจิตรู้ตัวอยู่เสมอนั่นเอง
     3.2 การนับลมแบบอรรถกถา
          เป็นวิธีของท่านพระอรรถกถาจารย์ ที่ได้นำเอาตัวเลข มาเป็นเครื่องกำหนดร่วมกับการกำหนดลมหายใจ ตามหลักคำสอนของท่านพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากหนังสือพุทธธรรมของพระราชวรมุนี หน้าที่ 865

หลักการนับแบบนี้ช่วยฝึกให้ใจมีสมาธิจดจ่อมากกว่าวิธีแรก วิธีนับมีสองแบบ แบบแรกให้นับเป็นคู่ คือเมื่อหายใจเข้า ก็ให้นับว่า 1 เมื่อหายใจออกให้นับว่า 1 พอเที่ยวต่อไปหายใจเข้าให้นับว่า 2 หายใจออกก็ให้นับว่า 2 สรุปก็คือลมหายใจเข้าและออกถือเป็นหนึ่งครั้ง จนถึงคู่ที่ 5 ก็ให้ตั้งต้นมานับ 1 ไปใหม่จนถึงเลข 6 ก็ให้มาตั้งต้นนับ 1 ไปจนถึง 7 ถึง 8 ถึง 9 และ 10แล้วตั้งต้นนับ 1ไปจนถึง 5 และนับต่อไปถึง 10 อีก อีกแบบหนึ่งคือการนับเดี่ยว นับแต่ตัวเลขอย่างเดียว ไม่ต้องคำนึงว่าเป็นลมหายใจเข้าหรือออก แต่ท่านควรจะทำแบบแรกให้คล่องเสียก่อน แล้วจึงมาลองแบบที่สองนี้ เที่ยวที่นับ 1 1 2 3 4 5 เที่ยวที่ 2 1 2 3 4 5 6 เที่ยวที่ 3 1 2 3 4 5 6 7.....ไปเรื่อยๆ

ทั้งสองแบบนี้ใช้วิธีการนับทวนไปทวนมา จนกระทั่งเราเกิดสมาธิ อย่างไรก็ตามขอให้ถือหลักความเพียรเข้าไว้ วันนี้แม้จิตใจจะยังว้าวุ่นอยู่ก็ไม่เป็นไร ลองพรุ่งนี้อีกที ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสงบใจให้เชื่องอยู่ใต้บังคับบัญชาของเรา และเมื่อนั้นแหละคุณภาพทางจิตและร่างกายของท่านได้ถูกพัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่งแล้ว




การเจริญปัญญา

การเจริญปัญญานั้นต่างไปจากความเป็นสมาธิ ตรงที่สมาธิเป็นเพียงการทำใจให้สงบนิ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่เพียงอารมณ์เดียวแน่นิ่งอยู่อย่างนั้นโดยไม่ได้นึกคิดอะไร แต่การเจริญปัญญา ไม่ใช่การทำให้แค่จิตใจตั้งมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้นแต่เป็นการคิด “ใคร่ครวญ” เพื่อหาเหตุผลในสภาวะที่เป็นธรรมและความจริงในแต่ละสรรพสิ่งว่า

สิ่งทั้งหลายในโลกนี้เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป (อนิจจัง) ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นทุกข์ (ทุกขัง) คือทุกอย่างเป็นสภาพที่ไม่อาจทนอยู่ในสภาพเดิมได้ เกิดขึ้นแล้วไม่อาจทรงตัวต้องเปลี่ยนแปลงไป ทำให้อารมณ์เกิดความเปลี่ยนแปลงไปตามวัตถุซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ตามมา และ สุดท้ายคือ ทุกสิ่งไม่มีตัวตนและไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนหรือเป็นของ ๆ ใครใด ๆ ทั้งสิ้น (อนัตตา)

ซึ่งแน่นอนว่าวิบากกรรมของเราที่ต้องเผชิญหน้ากับโรคร้ายต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วมันก็อยู่กับตัวเราและมันก็จะดับไปพร้อมกับตัวเราเช่นเดียวกัน เมื่อใดก็ตามที่เราพิจารณาสิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้เป็นไปตามที่กล่าวมานี้ได้ก็ถือได้ว่าได้ทำการชำระจิตให้หมดจดจนบริสุทธิ์ที่แท้ เพราะจิตใจสามารถยอมรับสภาพความจริงทั้งหลายและความเป็นไปทั้งหลายของโลกได้อย่างแท้จริง


ข้อสำคัญ คือ การปฏิบัติสร้างบุญบารมีที่ได้กล่าวมานี้ต้องมีความมากพอ , นานพอ , และสม่ำเสมออยู่ตลอด อย่าลืมว่าวิบากกรรมใด ๆ ที่เราเคยทำมานั้นมันมีผลมหาศาล หากทำบุญเบาๆ ค่อยๆ ไม่สม่ำเสมอก็เหมือนเรากำลังเตรียมน้ำที่จะนำไปดับเพลิงกองใหญ่ ๆ แบบค่อยตักค่อยราดแบบนี้ก็ใช้เวลานานกว่าเพลิงจะดับได้ ต้องหมั่นทำให้มากเสมือนกำลังสูบน้ำด้วยเครื่องแรงดันสูงและมีปริมาณน้ำมากๆ จะได้มีแรงฉีดเยอะๆในการดับไฟได้เป็นผลสำเร็จและมีความรวดเร็ว

การฝึกปฏิบัติตนให้มั่นคงอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้บุคคลที่ทำสมาธินั้น พ้นจากกิเลสเป็นช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งยังเป็นการฝึกจิตใจให้นิ่งไม่อ่อนไหวง่าย และมั่นคงมากขึ้นเมื่อต้องเผชิญปัญหา ที่เกิดขึ้นการการดำเนินชีวิตปรกติในขั้นตอนการทำสมาธิ จะแนะนำวิธีการหายใจแบบสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกาย แข็งแรง และผ่อนคลายความเครียด


จาก http://horoscope.sanook.com/103381/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.357 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 ตุลาคม 2566 18:58:54