[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 18:33:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “สลักดุน” ภูมิปัญญาเชิงช่าง จากอดีต สู่ปัจจุบัน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป  (อ่าน 6798 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 กันยายน 2559 17:11:47 »




ชมนิทรรศการ “สลักดุน
ภูมิปัญญาเชิงช่าง จากอดีต สู่ปัจจุบัน
ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ
๒๖ กรกฎาคม - ๔ กันยายน ๒๕๕๙

เงิน เป็นโลหะธาตุชนิดหนึ่ง เนื้อสีขาวทึบ เงินบริสุทธิ์เนื้อค่อนข้างอ่อน มีความแข็งมากกว่าทองคำเล็กน้อย ถ้านําเงินไปขัดเงาจะมีประกายเป็นเงาวับ  

เงินจัดเป็นธาตุลำดับที่ ๔๗ มีชื่อเป็นภาษาลาตินว่า อาเยนตูม (Argentum) สัญลักษณ์หรือเขียนเป็นตัวย่อในสูตรทางเคมี คือ Ag คำสามัญเรียกว่า ซิลเวอร์ (Silver) มีคุณสมบัติเป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดีมาก

ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (หมายถึง ระยะเวลาในอดีตที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร)  “เงิน” จัดว่าเป็นโลหะธาตุที่มีค่าเป็นอันดับสองรองจากทองคํา  มนุษย์รู้จักนำเงินมาทำเป็นเครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา เครื่องประดับ และภาชนะเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  ในยุคปัจจุบันยังใช้แร่เงินทำเหรียญตรา เสื้อผ้า เครื่องดนตรี ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ งานอุตสาหกรรม การแพทย์ ฯลฯ   ในสมัยก่อนใช้โลหะเงินเป็นยาอีกด้วย ฮิปโปเครติสเขียนไว้ว่าโลหะเงินสามารถป้องกันและรักษาโรคภัยได้หลายอย่าง ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อของคนสมัยนี้ที่สวมใส่แหวนเงิน-แหวนทอง เพื่อเป็น “โลหะบำบัด” ไว้ที่นิ้วต่างๆ ว่าจะสามารถรักษาความผิดปกติหรือความเจ็บป่วยของร่างกายได้ เช่น ใส่แหวนเงินที่นิ้วโป้ง ช่วยดูดสารพิษที่อยู่ในปอด เป็นการบำรุงปอดให้แข็งแรง  ใส่แหวนเงินที่นิ้วชี้ ช่วยขจัดสารพิษบริเวณม้าม แก้โรคเกาต์ เบาหวาน น้ำเหลืองเสีย และช่วยลดความอ้วน เป็นต้น  นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า “เงิน” เป็นวัตถุอาถรรพ์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว ในยุโรปตะวันออกมีความเชื่อลึกลับเกี่ยวแร่เงิน ว่ามีอํานาจป้องกันภูตผีปีศาจ โดยเฉพาะผีดูดเลือดและมนุษย์หมาป่า โดยการใช้เงินทําเป็นกระจกเงาเพื่อพิสูจน์ว่าใครเป็นผีดูดเลือดหรือมนุษย์หมาป่า หรือใช้เงินมาทําเป็นอาวุธ เช่น กระสุนเงินฆ่าพวกมนุษย์หมาป่าซึ่งเป็นที่มาของคําว่า Silver bullet  ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่า เงินมีสีขาว เงางาม ซึ่งในวัฒนธรรมอินเดียถือว่าเป็นสีของความบริสุทธิ์ สงบ และศักดิ์สิทธิ์

เมื่อวัฒนธรรมอินเดียแพร่เข้ามาในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นอาณาจักรทวารวดี และแว่นแคว้นต่างๆ ก่อนสมัยสุโขทัย เริ่มมีการผลิตเงินเหรียญเป็นสื่อกลางค้าขายและชำระหนี้เรื่อยมาจนถึงสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์  ทั้งนี้ สังเกตได้จากอัตราเงินตราสมัยก่อน ว่า เบี้ย* ๘,๐๐๐ เบี้ย เท่ากับเงิน ๑ เฟื้อง  เบี้ย ๖,๔๐๐ เบี้ย เท่ากับ ๑ บาท (หรือ ๘ เฟื้อง)  จะพึงเห็นได้ว่า เงิน ๑ บาท ตีค่าเป็นเบี้ยถึง ๖,๔๐๐ เบี้ย จึงเป็นราคาสูงสำหรับค่าในสมัยโบราณและเป็นทรัพย์ที่มีความสำคัญอยู่แล้วตั้งแต่สมัยนั้น  (*“เบี้ย" เป็นเปลือกหอยน้ำเค็มชนิดหนึ่ง ที่ชาวต่างชาตินำเข้ามาจากหมู่เกาะมัลดีฟ และได้ใช้เป็นเงินตราในสมัยโบราณ) นอกจากนี้ยังพบเครื่องประดับ เช่น ต่างหู และกำไล ทำด้วยเงิน ซึ่งทำขึ้นในสมัยทวารวดีอีกจำนวนมาก จึงแสดงอย่างชัดเจนว่าการผลิตเครื่องเงินของไทยมีมาแล้วตั้งแต่สมัยทวารวดี

สมัยกรุงสุโขทัย อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึกวัดบางสนุก ว่า “พระงาสอง ทั้งขันหมากเงิน ขันหมากทอง จ้อง ธง” ทำให้ทราบได้ว่า นอกจาก เงิน เป็นสื่อกลางการใช้จ่ายหรือซื้อขายแล้ว ยังใช้เงินทำสิ่งของใช้สอยอีกด้วย  

สมัยอยุธยาตอนต้น เครื่องเงินคงเป็นสิ่งที่ใช้กันอยู่เฉพาะในหมู่เจ้านายหรือขุนนาง มีการนำ “เงิน” มาทำเครื่องยศ สำหรับพระราชทานแก่ข้าราชสำนัก ที่ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐  จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทย มีปรากฏค่อนข้างชัดเจนในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งทรงครองราชย์ที่กรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑ โดยในรัชกาลของพระองค์ได้ตรากฎหมายทำเนียบศักดินาข้าราชการ จัดเป็นลำดับชั้นกันเป็น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน ทนาย และมีข้อความในกฎหมายตอนหนึ่งว่า  “ขุนนางศักดินา นา ๑๐,๐๐๐  กินเมือง กินเจียดเงินถมยาดำรองตะลุ่ม”   คำว่า เจียด นั้น ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ อธิบายว่า “เป็นภาชนะชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายตะลุ่ม มีฝาคล้ายรูปฝาชี เป็นเครื่องยศขุนนางโบราณ สำหรับใส่ของ เช่น ผ้า มักทำด้วยเงิน”

เมื่อถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย สภาพการณ์เปลี่ยนแปลงไป บ้านเมืองเริ่มมีความเจริญในด้านเศรษฐกิจมากขึ้น ประชาชนพลเมืองมีฐานะมั่งคั่ง สามารถจะซื้อหาหรือจ้างช่างที่มีฝีมือทำเครื่องเงิน หรือสิ่งของต่างๆ ไว้ใช้สอยขยายเป็นวงกว้างออกไป ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในราชสำนัก วังเจ้านายหรือขุนนาง  พึงทราบได้จากเอกสารจากหอหลวง เรื่อง คำให้การขุนหลวงหาวัดประดู่ทรงธรรม ตอนที่ว่าด้วยตลาดในพระนครศรีอยุธยา ดังต่อไปนี้  “ถนนย่านป่าขันเงิน มีร้านขายขัน ขายผอบ ตลับ ซองเครื่องเงินแลถมยาดำ กำไลมือแลท้าว ปิ่นซ่นปิ่นเข็ม กระจับปิง พริกเทศ ขุนเพ็ด สายสอิ้ง สังวาลทองคำขี้รักแล สายลวด ชื่อตลาดขันเงิน

ต่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ช่างเครื่องเงินยังคงไว้ซึ่งฝีมือประณีตวิจิตร ได้มีการพัฒนารูปแบบเครื่องเงิน ได้แก่ ขันเงิน พาน กระเป๋าถือ และเครื่องประดับอื่นๆ เช่น แหวน กำไล ปิ่นปักผม สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ตุ้มหู เข็มขัด โดยการนำเอาศิลปะของไทยมาประดิษฐ์ตกแต่งลวดลายให้ดูสวยงาม มีความหลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น เนื่องจาก ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องเงินยังไม่เสื่อมความนิยมในคนหมู่ใหญ่ และมีผู้ประสงค์จะใช้เครื่องใช้ดังกล่าวเพิ่มจำนวนขึ้นแม้จะมีราคาค่อนข้างสูง  




กำไลเงินประดับเทอร์คอยส์  ฝีมือช่างชาวบ้านเชียงใหม่
ของใช้ส่วนตัว

ประวัติเครื่องเงินในภาคเหนือ
เมื่อพระยามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.๑๘๓๙ พระองค์ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองในด้านศิลปกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรมมาสู่แคว้นล้านนาเป็นอเนกประการ โดยเมื่อครั้งที่ยกทัพไปตีเมืองพุกาม พระองค์ได้นำช่างฝีมือต่างๆ เช่น ช่างฆ้อง ช่างทอง ช่างเงิน ช่างเขิน และช่างเหล็ก ชาวพุกาม มาไว้ยังเมืองเชียงใหม่ เพื่อช่างเหล่านั้นจะได้ฝึกฝน สอนสรรพวิชาแก่ชาวล้านนาไทย  จึงเข้าใจว่าศิลปต่าง ๆ ของพุกามที่มีเหลืออยู่ในปัจจุบันน่าจะเริ่มมาแต่นั้น  

ต่อมา ตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๐๑ อาณาจักรล้านนาสมัยราชวงศ์มังรายต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าเรื่อยมา ในยุคนั้นพม่ากำลังเรืองอำนาจเพราะสามารถรบชนะกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ ความเสียหายของกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้นมากมายเสียจนไม่สามารถบูรณะบ้านเมืองให้ดีเหมือนเดิมได้  เมื่อพระเจ้าตากสินกู้อิสรภาพคืนได้แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระนครหลวงมาสร้างขึ้นใหม่ที่กรุงธนบุรี  และทรงมีพระราชประสงค์จะกำจัดอำนาจของพม่าให้หมดไปจากแผ่นดินไทย  ในช่วงปี พ.ศ.๒๓๒๐ กองทัพของพระเจ้าธนบุรีโดยความร่วมมือของกองทัพของเจ้ากาวิละสามารถขับไล่กำลังพม่าออกจากเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ การศึกครั้งนั้นทำให้เชียงใหม่ต้องตกเป็นเมืองร้างอยู่ร่วม ๒๐ ปี เนื่องจากผู้คนหนีภัยสงครามไปอยู่ตามป่าตามเขากันหมด  พระเจ้ากาวิละจึงดำเนินนโยบาย "เก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง"  คือรวบรวมกำลังคนเผ่าต่างๆ ประกอบด้วย หมอโหรา และสล่า (ช่างฝีมือ) ทุกประเภท ให้มาตั้งรกรากอยู่ในเมืองเชียงใหม่ดังเดิม โดยช่างฝีมือจะได้รับการจัดที่อยู่ให้อยู่ในบริเวณกำแพงเมืองชั้นนอกกับกำแพงเมืองชั้นใน  ปัจจุบันยังมีชื่อหมู่บ้านช่างหล่อ ช่างเงิน และช่างคำ อยู่รายรอบตั้งแต่บริเวณแจ่งศรีภูมิ ถึงแจ่งกู่เรือง โดยเฉพาะการทำเครื่องเงินบ้านวัวลาย มีช่างตีขันเงินที่อดีตเคยเป็นช่างในคุ้มหลวงในอดีตอาศัยอยู่และถ่ายทอดศิลปหัตถกรรมเครื่องเงินของไทยทั้งที่เป็นศิลปะชั้นสูงและฝีมือประดิษฐ์ของชาวบ้านให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทยตลอดไป

 
ผู้เรียบเรียง : Kimlehg




ผลงาน "สลักดุน"
จากนิทรรศการ “สลักดุน”
ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร


งานสลักดุนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Lao People's Democratic Republic


พาน

ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน-สกุลช่างเมืองหลวงพระบาง หรือเมืองเวียงจันทน์
แหล่งที่มา : เมืองหลวงพระบาง หรือเมืองเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๖๐-๒๔๘๐
วัสดุ : โลหะเงิน
ประโยชน์ : ใช้เป็นภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียนในพุทธศาสนาหรือใช้ใส่สิ่งของที่สำคัญ
พาน หรือที่ชาวลาวเรียกว่า “ขันแอว” ตกแต่งลวดลายด้วยการสลักดุนลายกลีบบัว
และตรงกลางของกลีบบัวสลักดุนเป็นลายช่อดอกไม้ ตามรูปแบบของสกุลช่างล้านช้าง
เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบาง รูปแบบน่าจะได้รับอิทธิพลของล้านนาผสมผสาน
แต่ช่างสลักดุนได้ปรับรูปทรงให้สูงยาวยิ่งขึ้นกว่า ลวดลายเป็นของท้องถิ่นมากกว่า







แอ่บใส่นวด (ขี้ผึ้ง) หรือ เขนงยา (ยาเส้น) หรือ เขนงดิน(ดินปืน)

ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน-สกุลช่างเมืองหลวงพระบาง
แหล่งที่มา : เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๐๐-๒๔๘๐
วัสดุ : โลหะเงิน และเขาสัตว์
ประโยชน์ : ใช้สำหรับใส่นวด (ภาษาลาว) คือใส่สีผึ้งหรือขี้ผึ้ง สำหรับสีปาก
หรือใช้สำหรับใส่ยาเส้น หรือใส่ดินปืน
แอบใส่นวด มีการตกแต่งด้วยการสลักดุนเป็นลายเกสรบัว ลายกลีบบัว
ลายลูกประคำ ลายฟันปลา เป็นต้น และที่สำคัญที่สุด คือ ส่วนด้านล่างหรือก้นของภาชนะ
จะไม่ดัดตรงตามแบบรูปทรงตลับโดยทั่วไป หากแต่จะนำของมีค่าหรือของป่าหายาก
รวมทั้งวัตถุมงคลที่ตนเองเลื่อมใส่ศรัทธามาฝังไว้เป็นเครื่องประดับ เช่น นอแรด
เขาของตัวเยืองหรือเลียงผา เขาของตังฟาง หรือตัวฟานคือเขาเก้ง หรือหินกัด
ที่ใช้สำหรับตรวจสอบแร่โลหะทองคำ รวมทั้งก้อนหินที่มีรูปทรงแปลกๆ
จากแม่น้ำโขง เป็นต้น เพื่อแสดงฐานะทางสังคม


ซองพลู

ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน-สกุลช่างเมืองซำเหนือ และช่างสลักดุนสกุลช่างเมืองไชยบุลี
แหล่งที่มา : เมืองซำเหนือ และเมืองไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๑๐-๒๔๕๐
วัสดุ : โลหะเงิน
ประโยชน์ : ใช้เป็นภาชนะสำหรับใส่พลูที่จีบเป็นคำแล้ว
ซองพลู รูปแบบเฉพาะของชาติพันธุ์ บางท้องที่ก็เรียก “ซองพลูลั๊วะ”
บางที่ก็เรียก “ซองพลูเงี้ยว” หากพบในรูปแบบในสกุลช่างพื้นเมืองในสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว บริเวณเมืองซำเหนือ เมืองไชยบุรี ลักษณะคล้าย
เขาควายงอนที่ปาก บานออกคล้ายปากแตร นิยมสลักดุนเป็นลายเถาเครือไม้


ชุดขันหมาก หรือ สำรับหมาก

ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน-สกุลช่างเมืองหลวงพระบาง
แหล่งที่มา : เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๔๐-๒๔๖๐
วัสดุ : โลหะเงิน
ประโยชน์ : ใช้เป็นภาชนะใส่ชุดเชี่ยนหมาก
ขันหมากสำหรับ (ถาดรอง) ชาวลาวเรียก กระบุงหมาก เป็นรูปแบบสกุลช่างหลวงพระบาง
ที่ใช้ทั่วไปในหลวงพระบาง สลักดุนบริเวณส่วนกลางเป็นลายช่องกระจกรูปราชสีห์ (สีโห)
อยู่ในกรอบลาย ขนาบด้วยลายกันหอหรือลายขดปลิง และ ใบสน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ตุลาคม 2559 16:51:38 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 กันยายน 2559 13:37:00 »



งานสลักดุน สาธารณรัฐประชาชนจีน



งานสลักดุน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ชื่อชิ้นงาน : ชิ้นส่วนเครื่องประดับ
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน สกุลช่างจีนสิบสองปันนา มณฑลยูนาน ประเทศจีน
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๐๐-๒๕๐๐
ประโยชน์ : ใช้ปักประดับลงไปบนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หรือเป็นเครื่องประดับ

ช่างสลักดุนชาวสิบสองปันนา นิยมสลักดุนแผ่นเงินให้เป็นลวดลายเพื่อใช้ปักประดับ
ลงไปบนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และลวดลายสลักดุน ตรงกลางจะทำเป็นรูปลาย
สัตว์มงคลและโดยรอบของลายวงกลมก็มักจะเป็นลายดอกไม้สี่ฤดู หรือลายวัตถุมงคล
แปดประการของจีน ส่วนเครื่องประดับประเภทเครื่องห้อยหรือเครื่องแขวน ตามรูปแบบ
ของพัดด้ามจิ๋วที่คว่ำลง มีห่วงห้วย ลวดลายส่วนใหญ่เป็นลายมงคล เช่น ลายนก ผีเสื้อ
ดอกไม้ ค้างคาว ลายนกกระสา และลายส้มมือ เป็นต้น  นอกจากการสลักดุนแล้ว
ยังมีการฉลุลายโปร่งอีกด้วย


งานสลักดุน สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล



งานสลักดุน สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล
ชื่อชิ้นงาน : สิงห์
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน สกุลช่างเนปาล
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๖๐-๒๕๐๐
วัสดุ : โลหะทองเหลือง แก้ว และหินมีค่า
ประโยชน์ : ใช้สำหรับประดับตกแต่งบ้าน

ช่างสลักดุนสกุลช่างเนปาล มีความสามารถในการสร้างชิ้นงานสลักดุนให้มีรูปทรงแปลกๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือการทำรูปสัตว์ต่างๆ หนึ่งในสัตว์ยอดนิยมของชาวเนปาล คือ รูปลิง
เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ของการปกปักรักษาและอำนาจ ช่างสลักดุนชาวเนปาล นิยมแสดง
ฝีมือในการขึ้นรูปภาชนะและสิ่งของ แต่ไม่นิยมในการสลักดุนลวดลายต่างๆ บนผิวภาชนะ
หากแต่จะใช้เม็ดแก้วหรือหินมีค่า ติดลงไปบนพื้นผิวของภาชนะเหล่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว
จะนิยมเม็ดแก้วสีแดง สลับกับหินเทอร์ควอยซ์สีฟ้า



งานสลักดุน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม



งานสลักดุน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ชื่อชิ้นงาน : ตลับ
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน สกุลช่างเวียดนาม
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๕๐-๒๕๐๐
ประโยชน์ : ใช้ใส่ยาเส้น หรือใส่ของกระจุกระจิก หรือบางครั้งอาจเป็นลูกเชี่ยน
คือเป็นส่วนหนึ่งของชุดเชี่ยนหมากหรือสำรับหมาก

ตลับใบนี้สร้างขึ้นเป็นทรงลูกท้อ อันเป็นผลไม้ของชาวจีนและชาวเวียดนาม
ฝาสลักเป็นเทพเจ้าจีน ซึ่งน่าจะหมายถึงเทพเจ้าชิ่ว ที่มีความหมายถึงอายุมั่น ขวัญยืน
มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง เนื่องจากสลักดุนเป็นรูปชายชรา มีหนวดเครายาว
มือขวาถือไม้เท้า มือซ้ายถือลูกท้อ อันเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายถึงอายุยืนยาว
ลวดลายที่ขอบโดยรอบก็เป็นการสลักดุนแบบเถา ลายตื้น ไม่ลึกมาก แต่ต่างจาก
ของจีนที่มักเก็บรายละเอียดทั้งส่วนฝาและส่วนด้านข้าง



งานสลักดุน ทวีปยุโรป



งานสลักดุน ทวีปยุโรป
ชื่อชิ้นงาน : ชุดน้ำชา
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน สกุลช่างยุโรป
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๒๐-๒๔๘๐
ประโยชน์ : ใช้เป็นชุดน้ำชาตามแบบวัฒนธรรมตะวันตก

งานสลักของยุโรปที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่ มีทั้งการขึ้นรูปด้วยมือ และการขึ้นรูป
ด้วยเครื่องจักรกล จากนั้นจึงมีการสลักลายเบาหรือเพลาลายเบาให้เป็นลวดลายเส้น
ตกแต่งประดับชิ้นงาน โดยลวดลายส่วนใหญ่จะเป็นลายเครือเถาแบบยุโรป โดยภาชนะ
สลักดุนส่วนใหญ่ของยุโรป จะไม่นิยมสลักดุนเต็มพื้นที่ และมุ่งเน้นให้เห็นความงดงาม
ของรูปทรงมากกว่าลวดลาย



งานสลักดุน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
















"ทั่วแคว้นแดนไทย จะหาไหนมาเปรียบปาน"
ลวดลายสลักดุนนูนสูง อันวิจิตรงดงาม เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของเครื่องเงินพม่า
ซึ่งในอดีตมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ศิลปหัตถกรรมเครื่องเงินให้แก่ชาวล้านนา

งานศิลปะงานช่างสลักดุน หรือเป็นที่รู้จักกันในนามว่า “ช่างบุ” ตามรูปแบบของสกุลช่างพม่า (เมียนมา) ส่วนใหญ่ล้วนมีหลักฐานมาตั้งแต่ ๒,๔๐๐ ปีล่วงมาแล้ว  ส่วนใหญ่จะพบในรูปแบบศิลปะงานช่าง ในสถาบันพระมหากษัตริย์ ประเภทเครื่องทรงของกษัตริย์ หรือศาสตราวุธ ตลอดจนเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของชนชั้นปกครอง ส่วนใหญ่จะทำด้วยโลหะมีค่าประเภททองคำ เงินฝังพลอยหรือรัตนชาติอันมีค่าต่างๆ ปัจจุบันจะเห็นตัวอย่างได้จากเครื่องยศของอดีตกษัตริย์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ และนับตั้งแต่พม่าในขณะที่อยู่ในการปกครองของอังกฤษ ได้ทำให้งานวิจิตรศิลป์ประเภทสลักดุนเหล่านี้ได้สูญหายไปอย่างมากมาย คงหลงเหลืออยู่แต่ในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น

รูปแบบงานบุ (สลักดุน) โลหะ ที่พบในเมียนมา อีกอย่างก็คือการแผ่แผ่นโลหะประเภททองคำ หรือทองจังโกหุ้มเจดีย์ หรือพุทธสถานในศาสนาพุทธ งานเหล่านี้มีความเก่าแก่ที่ย้อนกลับไปตั้งแต่ราวสมัยเมืองพุกามรุ่งโรจน์ สืบเนื่องลงมาจนถึงสมัยพระเจ้ามินดง กษัตริย์องค์สุดท้ายของเมียนมา นอกจากนี้ ยังพบข้าวของเครื่องใช้ของชนชั้นสูงหรือคหบดีประเภทอูบ หรือแอบ หรือสลุง ที่ทำด้วยเงินสลักดุนลาย แต่ละรัฐแต่ละเมืองก็มีความแตกต่างในรูปแบบ ลวดลาย ต่างสมัยที่ต่างกัน หากแต่ก็ยังคงเอกลักษณ์งานสลักดุนตามแบบลวดลายศิลปะงานช่างแบบดั้งเดิมของพม่าไว้ เช่น ลายพันธุ์พฤกษา และลายภาพเล่าเรื่องตัวละครในวรรณคดีเป็นเรื่องราว อาทิ มหาชาติ ทศชาติชาดก หรือรามเกียรติ์ สิบสองนักษัตร หรือวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองสังคมยุคนั้น เป็นต้น  ผลงานที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่ยอมรับนับถือกันในฝีมือเชิงช่างก็ก็ สกุลช่างแห่งรัฐชาน เพราะผลงานการสลักดุนเป็นเรื่องราวภาพเล่าเรื่องนูนเด่น ละเอียดลออ ราวกับมีชีวิต บางคนจะเรียกว่า “ภาพสลักดุนสามมิติ” นั่นเอง




งานสลักดุน ราชอาณาจักรกัมพูชา


งานสลักดุน ราชอาณาจักรกัมพูชา
ชื่อชิ้นงาน : พานกลีบบัว
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน สกุลช่างพนมเปญ
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๘๐-๒๕๒๐
ประโยชน์ : ใช้เป็นภาชนะใส่สิ่งของที่มีความสำคัญ เช่น ข้าวตอก ดอกไม้
ธูปเทียนแพ กระทงดอกไม้ เพื่อสักการะในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

พานกลีบบัว สลักดุนลายกลีบบัว โดยมีไส้ลายในกลีบบัวเป็นลวดลาย
พันธุ์พฤกษา หรือในภาษาของช่างชาวกัมพูชาเรียกว่า ลาย “ผกากระวาน”
แปลว่า “ดอกนมแมว” ซึ่งลวดลายในลักษณะเช่นนี้บ่งบอกถึงสกุลช่างสลักดุน
ของเมืองพนมเปญ ที่นิยมทำกันในหมู่ช่างเงิน ช่างทอง ที่อาศัยอยู่บริเวณ
ด้านข้างของพระราชวังกรุงพนมเปญ



ชื่อชิ้นงาน : ชุดอุปกรณ์สำหรับเสิร์ฟอาหารแบบวัฒนธรรมตะวันตก
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน สกุลช่างพนมเปญ
แหล่งที่มา : เมืองพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๘๐-๒๕๒๐
ประโยชน์ : ใช้สำหรับรับประทานอาหารแบบวัฒนธรรมตะวันตก

ด้ามจับของอุปกรณ์สำหรับเสิร์ฟอาหารเหล่านี้ มีการสลักดุนลายเบา
เป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา โดยฝีมือช่างสลักดุนชาวกัมพูชา แสดงให้เห็น
อิทธิพลของวัฒนธรรมแบบตะวันตกที่เข้ามาสู่ราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างชัดเจน
ในช่วงระยะเวลานี้ จึงทำให้ช่างสลักดุนผลิตชิ้นงานสลักดุนโลหะประเภทชุดอุปกณ์
สำหรับการเสิร์ฟอาหารแบบตะวันตกขึ้น เพื่อจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดเสียมเรียบ ที่เข้าชมเพื่อปราสาทนครวัด



ชื่อชิ้นงาน : กล่องใส่บุหรี่
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน สกุลช่างพนมเปญ
แหล่งที่มา : เมืองพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๑๐-๒๔๖๐
ประโยชน์ : ใช้สำหรับใส่บุหรี่ หรือใส่ของกระจุกกระจิก
กล่องเงิน รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบนขนาดย่อมประมาณฝ่ามือ
เป็นที่นิยมกันในช่วงระยะเวลาที่ฝรั่งเศสเข้ามามีอำนาจและ
นำความนิยมในการสูบบุหรี่แบบชาติตะวันตกเข้ามาเผยแพร่
และเนื่องจากรูปทรงของบุหรี่ในราชอาณาจักรกัมพูชา นิยมมวน
ด้วยยอดตองอ่อน กลีบบัวหลวงอ่อน หรือใบยาสูบ ที่มีขนาดยาว
และอ้วนกว่าซองบุหรี่ของตะวันตกมาก จึงผลิตภาชนะบรรจุบุหรี่
สำหรับพกพาติดตัวไปได้โดยสะดวก ลวดลายที่นิยมสลักดุนตาม
รสนิยมของชาวกัมพูชา คือลายใบฝ้ายหรือลายใบเทศ



ชื่อชิ้นงาน : กาน้ำ
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน สกุลช่างอุดมมีชัย
แหล่งที่มา : เมืองอุดมมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๙๐-๒๕๑๐
ประโยชน์ : ใช้ใส่น้ำร้อนหรือน้ำชา
กาน้ำทองแดงขึ้นรูป และสลักดุนลายเป็นลวดลายดอกไม้
และลายพันธุ์พฤกษา ฝีมือช่างสลักดุนจากเมืองอุดมมีชัย
ราชอาณาจักรกัมพูชา สืบเนื่องจากในช่วงระยะเวลานั้นโลหะเงินมีราคา
สูงมาก และผู้บริโภคก็ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีราคาไม่แพงมาก  ดังนั้น
ช่างสลักดุนชาวกัมพูชาจึงปรับเปลี่ยนมาใช้โลหะที่มีราคาย่อมเยากว่า
เช่น ทองแดง หรือทองเหลือง เพื่อเป็นวัตถุดิบในการสร้างชิ้นงานสลักดุน

งานช่างบุ หรืองานสลักดุนโลหะ ของมหาอาณาจักรอันเกรียงไกรในอดีต ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ในพื้นที่เหนือทะเลสาบเขมร เป็นที่รู้จักกันในนามประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน มีประวัติศิลปะงานช่างอันยาวนานตั้งแต่พบหลักฐานสมัยก่อนเมืองพระนคร ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่๑๑-๑๒ ส่วนใหญ่จะเป็นงานสลักดุนโลหะวัตถุมีค่าประเภททองคำเป็นเครื่องทรงเทวรูป ที่เคารพนับถือในศาสนสถาน หรือในเทวาลัย  ประวัติศิลปะงานช่างอันยาวนานที่แสดงถึงอายุสมัยของศิลปะกัมพูชา สามารถแบ่งแยกสมัยต่างๆ ตามรูปแบบโบราณคดีถึง ๑๕ สมัย ได้แก่ ศิลปะสมัยพนมดา  ศิลปะสมัยถาลาบริวัติ ศิลปะสมัยสมโบไพรกุก ศิลปะสมัยไพรกเมง ศิลปะสมัยกุเลน ศิลปะสมัยพะโค ศิลปะสมัยบาเค็ง ศิลปะสมัยเกาะแกร์ ศิลปะสมัยแปรรูป ศิลปะสมัยบันทายศรี ศิลปะสมัยคลัง (เกรียง) ศิลปะสมัยบาปวน ศิลปะสมัยนครวัด และศิลปะสมัยบายน

หลังจากสมัยบายน อันเป็นช่วงสุดท้ายของศิลปกรรมแบบกัมพูชาแล้ว ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมของอาณาจักนี้ จนถึงในช่วงที่กัมพูชาที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ต้องตกเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศในเวลาต่อมา และอยุธยาก็ปกครองกัมพูชาอย่างต่อเนื่องมาและเป็นเวลาเกือบ ๔๐๐ ปี ตลอดช่วงระยะเวลานี้ ช่างฝีมือการสลักดุนและบุโลหะของทั้งไทยและกัมพูชาได้มีโอกาสศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้และรูปแบบศิลปะซึ่งกันและกันเป็นอย่างมาก ชิ้นงานสลักดุนหลายต่อหลายชิ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นจึงล้วนแล้วแต่แสดงอิทธิพลของศิลปะกัมพูชาได้อย่างชัดเจน

กระทั่งเมื่อกัมพูชาได้รับเอกราชจากการปกครองของฝรั่งเศส และเป็นช่วงที่มีชาวต่างประเทศรู้จักกัมพูชาและพากันเดินทางมาชมปราสาทนครวัดในกัมพูชาเพิ่มมากขึ้น ทำให้งานช่างฝีมือสลักดุนและบุโลหะของช่างกัมพูชา เริ่มฟื้นขึ้นอีกครั้งด้วยการผลิตสิ่งของเครื่องใช้ขึ้นในลักษณะของที่ระลึก ก่อให้เกิดความหลากหลายของรูปแบบ เพื่อตอบสนองประโยชน์การใช้งานของชาวยุโรปและอเมริกาที่มาเยือน เช่น กล่องใส่ซองบุหรี่ เครื่องเขียนบนโต๊ะทำงาน ช้อนส้อมขนาดใหญ่ สำหรับใช้เสิร์ฟอาหาร เป็นต้น

ในปัจจุบัน จะพบสกุลช่างสลักดุนหรือบุโลหะได้ในเมืองพนมเปญเป็นส่วนใหญ่ ชิ้นงานสลักดุนพบเห็นอยู่ตามร้านขายเครื่องเงินโดยทั่วไปในกรุงพนมเปญ แม้ฝีมือจะเทียบไม่ได้เลยกับฝีมือของบรรพบุรุษในอดีต แต่ผู้คนและนักท่องเที่ยวก็ให้ความสนใจกันอย่างมาก รูปแบบของผลิตภัณฑ์ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยผลิตเป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ขัน เชี่ยนหมาก กลัก ตลับ หรือกล่องรูปสัตว์ต่างๆ ก็มีการปรับเปลี่ยนเป็นสินค้าประเภทเครื่องประดับ ของแต่งบ้านมากขึ้น และใช้เนื้อเงินค่อนข้างต่ำ และนิยมผสมโลหะอื่นๆ มากขึ้น เช่น ทองเหลือง อัลลอย (alloy)  เป็นต้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ตุลาคม 2559 16:54:01 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 19 กันยายน 2559 16:41:20 »


งานสลักดุน ราชอาณาจักรไทย

ภาคเหนือ
Northern Thailand

งานช่างสลักดุนภาคเหนือ ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในจังหวัดแถบภาคเหนือของไทย จะเป็นที่รู้จักในนามของ “ช่างเชียงใหม่” เนื่องจากเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา มีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายเชื้อชาติ อาทิ ยวน ลื้อ ลาว เขิน และชาวเขาอาศัยอยู่ รูปแบบของงานสลักดุน จะสะท้อนออกมาในศิลปะของเชิงช่างตามสายสกุล สิ่งที่เห็นได้ชัด คือ ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ งานสลักดุนของสกุลช่างเชียงใหม่ จะมีลักษณะโดดเด่นกว่างานสลักดุนของกลุ่มสกุลช่างอื่น ทั้งในส่วนของรูปทรงและลวดลาย โดยการแกะลายของช่างจะใช้กรรมวิธีการแกะลายสองด้านและจะตอกลายจากด้านในหรือด้านหลังของชิ้นงานให้เป็นรอยนูนสูงตามโครงร่างภายนอกของลายก่อน ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า การโกลนลาย หรือการขึ้นลาย จากนั้นจึงตีกลับจากด้านนอกเพียงด้านเดียว เพื่อเป็นการทำรายละเอียดอีกครั้ง ซึ่งในกรณีของสกุลช่างอื่นๆ มักนิยมการแกะลายหรือตอกลายจากด้านนอกเป็นหลัก งานสลักดุนของสกุลช่างเชียงใหม่ จึงแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลผสมผสานของงานสลักดุนจากกลุ่มวัฒนธรรมที่อยู่ใกล้เคียงรายรอบ เช่น อิทธิพลงานสลักดุนของกลุ่มวัฒนธรรมพม่า จีน ลาว เนื่องจากเชียงใหม่มีอาณาเขตติดต่อกับพม่า จีน และลาว

ลักษณะงานสลักดุนภาคเหนือ มีแบบเฉพาะของตนเอง ซึ่งสามารถแบ่งแยกออกตามสายสกุลช่างต่างๆ เช่น สกุลช่างวัวลาย สกุลช่างสันป่าตอง สกุลช่างลำปางหลวง สกุลช่างแพร่ สกุลช่างน่าน และงานสลักดุนชาวเขา ซึ่งงานชาวเขาที่ขึ้นชื่อมากที่สุดคือ งานสลักดุนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ที่พบที่จังหวัดน่าน พะเยา และเชียงราย แต่เชียงใหม่ก็ยังเป็นแหล่งผลิตงานสลักดุนที่หลากหลาย ที่มีการผลิตงานสลักดุนขึ้นใช้กันจนแทบจะเป็นวิถีชีวิตของคนล้านนาไปแล้ว สิ่งที่นิยมใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ขันหรือสลุง ตลับหมากหรือเชี่ยนหมาก พานทรงแบนขาสูง หรือขันดอก พานทรงสูงขาต่ำ และเครื่องรูปพรรณต่างๆ เช่น ปิ่น หวีสับ ลานหูหรือต่างหู กรองคอ หัวเข็มขัด เป็นต้น

เอกลักษณ์ ลวดลายที่ปรากฏบนงานสลักดุนภาคเหนือ จะนิยมลวดลาย เช่น ลายสับสองนักษัตร ลายชาดก ลายดอกกระถิน ลายดอกทานตะวัน ลายสับปะรด ลายนกยูง ลายดอกหมาก เป็นต้น


งานสลักดุนราขอาณาจักรไทย (ภาคเหนือ)







ภาคใต้
Southern Thailand

งานช่างสลักดุนของสกุลช่างภาคใต้ มีปรากฏพบส่วนใหญ่ที่นครศรีธรรมราช บางครั้งจึงมีผู้นิยมเรียกงานช่างสลักดุนนี้ว่า งานช่างสลักดุนสกุลช่างนครศรีธรรมราช สืบเนื่องจากทำเลที่ตั้งของเมืองนครศรีธรรมราชนั้นอยู่ในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ หรือที่ต่างประเทศเรียกว่า Southern Peninsula หรือ Malay Peninsula เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่บนเส้นทางผ่านของการเดินเรือ หรือการค้าทางทะเลมานับพันๆ ปี ดังนั้นศิลปะวิทยาการแขนงต่างๆ จากหลากหลายประเทศทั้งในซีกโลกตะวันตก เช่น ประเทศสเปน ประเทศโปรตุเกส เอเชียกลาง เช่น ประเทศอิหร่าน เอเชียตะวันตก เช่น ประเทศอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย และเอเชียตะวันออก เช่น ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี ทำให้รูปแบบของงานสลักดุนที่ค้นพบในสกุลช่างภาคใต้นี้มีรูปทรงและลวดลายที่มีลักษณะผิดแปลกไปอย่างมาก ชิ้นงานสลักดุนในสกุลช่างภาคใต้ที่ค้นพบส่วนใหญ่จะมีอายุเก่าแก่ร่วมสมัยกับกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ปรากฏว่ามีหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนน้อยชิ้นมาก ที่ยังปรากฏพบเหลืออยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่มีอายุร่วมสมัยกับกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีรูปทรง และลวดลายที่แสดงจากสกุลช่างมาเลค่อนข้างชัดเจน และที่สำคัญที่สุดคือ งานช่างสลักดุนสกุลช่างภาคใต้ หรือสกุลช่างนครศรีธรรมราชในปัจจุบันมีปรากฏพบเป็นจำนวนน้อยและมีชื่อเสียงไม่เทียบเท่ากับเครื่องถมตามที่ทำกันในปัจจุบัน


งานสลักดุนราขอาณาจักรไทย (ภาคใต้)



หัวเข็มขัด และสายเข็มขัด
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน-สกุลช่างภาคใต้
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๔๐-๒๕๐๐
ประโยชน์ : ใช้คาดทับผ้านุ่งหรือผ้าโจงกระเบนให้กระชับแน่นติดกับลำตัว
หัวเข็มขัดนี้มีลักษณะคล้ายช่องลูกฟักตามแบบศิลปะอิสลาม และมีขนาดใหญ่มาก
ลวดลายที่นิยมประดับบนหัวเข็มขัด จะเป็นลายพันธุ์พฤกษา ลายใบไม้ก้านขด
ลายลูกประคำเสมอๆ เนื่องจากศาสนาอิสลามไม่อนุญาตให้ใช้ลวดลายรูปคนหรือสัตว์
ส่วนสายเข็มขัดนั้น ก็เป็นการนำเอาเส้นเงินมาถักเส้น



กลัก
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน-สกุลช่างภาคใต้
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๐๐-๒๕๐๐
ประโยชน์ : ใช้สำหรับใส่ยาเส้น หรือใส่ของกระจุกกระจิกที่มีขนาดเล็กมาก
กลักที่พบในภาคใต้ นิยมทำเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลิ้นปิดเปิดตรงกลาง
ซึ่งจะขอดเว้าเป็นเอวเข้ามาทั้งสองด้าน ลักษณะคล้ายหมอน และมักจะมี
สายทิ้ง หรือสร้อยถักเส้นเล็กๆ เกี่ยวโยงที่ปลายทั้งสองด้าน ลวดลายสลักดุน
บนกลักเหล่านี้ เป็นลายตาข่ายดอกไม้สี่กลีบ หรือลายดอกไม้สี่กลีบ แบบลายแก้วชิงดวง



จับปิ้ง
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน-สกุลช่างภาคใต้
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๒๐-๒๕๐๐
ประโยชน์ : ใช้เป็นเครื่องผูกบั้นเอวเพื่อปิดของลับของเด็กหญิงและชาย
จับปิ้งที่พบในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ ล้วนเป็นจับปิ้งที่สร้างขึ้น
โดยฝีมือสลักดุนที่เป็นชาวมุสลิมทั้งสิ้น ดังนั้น ลวดลายที่พบจึงเป็น
ลายก้านขด ลายพันธุ์พฤกษา ลายเถาดอกไม้ใบไม้ ลายเกลียวเชือก
ลายลูกประคำ เป็นต้น


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)
Northeastern Thailand
ในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานของประเทศไทย จะพบชุมชนช่างเงินอยู่ตามท้องถิ่นที่เป็นเมืองเก่าหรือจังหวัดที่มีพื้นที่ดินแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศลาว และรู้จักกันในนาม “ช่างเงิน-ช่างคำ” เช่น จังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนม เป็นต้น

ช่างสลักดุนส่วนใหญ่ มีเชื้อสายลาวเวียงจันทน์ มีฝีไม้ลายมือในการสร้างสรรค์รูปแบบงานสลักดุน ในสกุลช่างไทย-ลาว ส่วนใหญ่จะมีผลิตงานสลักดุนขึ้นใช้ในชุมชน และจำหน่ายในพื้นที่เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเภทงานสลักดุนที่พบได้แก่ เครื่องประดับชนิดต่างๆ เช่น สร้อยคอ กำไล เข็มขัด เครื่องภาชนะ เช่น พาน ชัน และเชี่ยนหมาก เป็นต้น

อีกสกุลช่างหนึ่งของภาคอีสาน คือ สกุลช่างอีสานใต้ ที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชา รูปแบบของช่างในชุมชนที่สืบทอดเชื้อสายมาจากช่างเขมร ลวดลายที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมนี้ จะพบที่ชุมชนบ้านเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ชุมชนส่วย อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดศรีสะเกษ ส่วนใหญ่จะสร้างสรรค์ผลงานออกมาในรูปเครื่องประดับ เช่น ลูกปะเกือม ตะเภา (ต่างหู) เป็นต้น



งานสลักดุนราขอาณาจักรไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)  
Northeastern Thailand



แผ่นทองคำสลักดุนรูปพระพุทธรูป
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๑๓๐๐-๑๕๐๐
ประโยชน์ : สร้างขึ้นเพื่อสืบพระพุทธศาสนา หรือเพื่อเป็นพุทธบูชา
แผ่นทองคำสลักดุนรูปพระพุทธรูปนี้ เป็นชิ้นงานพุทธศิลป์ของวัฒนธรรมมอญ
หรือทวาราวดีในภาคอีสานของประเทศไทย ที่นิยมสลักดุนเป็นรูปพระพุทธรูป
หรือพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนา หรือเทพเจ้าสำคัญสูงสุดของศาสนาฮินดู
ลงบนแผ่นโลหะมีค่า เช่น ทองคำ



ซองพลู
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน สกุลช่างนครพนม
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๖๐-๒๕๐๐
ประโยชน์ : ใช้สำหรับใส่ใบพลูที่จีบเป็นคำแล้ว
รูปทรงของซองพลูดังกล่าวจะเป็นรูปเหลี่ยมมีรอยพับเป็นสันด้านหน้าและด้านข้าง ทำให้เกิดเป็นเหลี่ยม
ตามแบบล้านนา ส่วนขอบของซองพลูจะนำเส้นเงินมาเลี่ยมทับ และที่ขอบด้านหน้ามีลักษณะเป็นขอบหยัก
รูปทรงปีกกา ตามแบบอิทธิพลจีนและเวียดนาม ลวดลายที่นิยมสลักดุนมักเป็นลายแถบแคบๆ รอบตัวซองพลู
ภายในบรรจุลายกลีบบัวหรือลายซิกแซกฟันปลา



สร้อยปะเกือม หรือสร้อยประคำ
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน สกุลช่างหมู่บ้านโชค อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๕๐๐-ปัจจุบัน
ประโยชน์ : ใช้เป็นเครื่องประดับ
ประคำ หรือ ปะเกือม ทำจากโลหะเงินหรือทองคำบริสุทธิ์แผ่เป็นแผ่นบางๆ หุ้มทับไว้บนชัน
หรือครั่งที่อัดไว้ด้านใน เพื่อให้แผ่นเงินหรือทองคำนั้นทรงตัวตามต้องการได้ จากนั้นจึงสลักดุนเพื่อให้เกิดลวดลายซี่
ที่นิยมส่วนใหญ่จะทำมาจากที่พบเห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น ลายเส้นตรงคู่ ลายตาตาราง ลายกลีบบัว
ลายดอกพิกุล ลายดอกจัน ลายพระอาทิตย์ ลายดอกไม้บาน

งานสลักดุนราขอาณาจักรไทย  
ภาคกลาง
Central Thailand


ชื่อชิ้นงาน : ขันพานรอง



ชื่อชิ้นงาน : ถ้วยรางวัล
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน สกุลช่างภาคกลาง กรุงเทพมหานคร
แหล่งที่มา : สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฝีมือช่างของร้านไทยนคร เชิงสะพานวันชาติ กรุงเทพมหานคร
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๖๐-๒๕๐๐
วัสดุ : โลหะเงิน
ประโยชน์ :  ใช้เป็นถ้วยรางวัลในการประกวดหรือการแข่งขันต่างๆ ซึ่งเป็นที่นิยมมากในช่วงระยะเวลานั้น ผู้ที่ได้รับ
มักนำมาจัดแสดงในบ้านของตนเพื่อเป็นเกียรติยศ หรือ นำมาเป็นภาชนะสำหรับใส่ข้าวสวยเพื่อตักบาตร และต่อมา
ในช่วงพุทธศักราช ๒๕๐๐ นิยมนำมาใช้เป็นภาชนะสำหรับจัดดอกไม้ ถ้วยรางวัลนี้ เป็นศิลปะประยุกต์ในช่วงพุทธศักราช
๒๔๖๐-๒๕๐๐ โดยช่างจากร้านไทยนคร เชิงสะพานวันชาติ กรุงเทพมหานคร โดยการรวมเอารูปแบบของขันและพาน
ซึ่งในอดีตจะสร้างเป็นชิ้นงานสลักดุนแยกขาดจากกัน นำมารวมเป็นชิ้นเดียวกัน มีหูจับสองข้างทำเป็นรูปศีรษะช้าง
มีงา ห้อยงวงลง ด้านข้างของตัวขันหรือถ้วยรางวัลใบนี้ ทำเป็นตราอามรูปวงกลมเกลี้ยง สำหรับสลักข้อความ
ถัดออกไปด้านซ้ายขวาเป็นลายครุฑ สลับกับลายเทพนม



ชื่อชิ้นงาน : ซองพลู
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน สกุลช่างจีนฮกเกี้ยน ภาคกลาง ประเทศไทย
แหล่งที่มา : ภาคกลาง ประเทศไทย
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๐๐-๒๔๗๕
วัสดุ : โลหะเงิน
ประโยชน์ :  ใช้สำหรับใส่พลูที่จีบเป็นคำแล้ว ในชุดเชี่ยนหมาก หรือสำรับหมาก
ซองพลู มีลักษณะรูปทรงกรวยสามเหลี่ยมแบน ปาดมุม เป็นที่นิยมในช่วงระยะเวลานี้ เนื่องจากช่างสลักดุน
ชาวฮกเกี้ยนจำนวนมาก ที่เดินทางมาจากมณฑลฝูเจี้ยน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน เพื่อหลบหลีกความ
อดอยากยากแค้นซึ่งเกิดจากทุพภิกขภัย อุทกภัย และวาตภัย ช่างเหล่านี้มีความสามารถในการสลักดุนโลหะเงิน
ให้มีความนูนสูง และลวดลายคมชัดเจน ลวดลายที่นิยมสลักดุนมักเป็นลายดอกท้อ ลายสี่ฤดู ลายกอบัว ลายสัตว์น้ำ
สัตว์บก และสัตว์ปีก รวมทั้งมีความสามารถในการฉลุเครื่องโลหะที่ตนเองทำการสลักดุนด้วย เพื่อให้เกิดมิติบนลวดลาย
รวมทั้งเกิดความคมชัดและยังเป็นการประหยัดน้ำหนักของโลหะมีค่าที่นำมาทำเครื่องสลักดุนด้วย





ชื่อชิ้นงาน : กลัก หรือกล่อง รูปสิงโต
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน สกุลช่างจีนเซี่ยงไฮ้ ภาคกลาง ประเทศไทย
แหล่งที่มา : ภาคกลาง ประเทศไทย
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๐๐-๒๔๗๕
วัสดุ : โลหะเงิน
ประโยชน์ :  ใช้ใส่ยาเส้น หรือใส่หมากที่เจียนแล้ว หรือใส่ของกระจุกกระจิก
กลัก หรือกล่องเงินใบนี้ มีการสลักดุนเป็นรูปสิงโตหมอบอยู่บนหลังตลับ โดยเอี้ยวศีรษะมาทางด้านข้าง
และใช้เท้าขวาประคองอยู่บนลูกแก้วกลมที่หมุนได้ ความพิเศษของสิงโตนี้อยู่ที่ลูกตาและเขี้ยวที่สามารถ
กรอกไปมาขยับได้ และส่วนหางของสิงโตที่เป็นเส้นยาวและส่วนปลายม้วนเป็นก้นหอย ส่วนตัวตลับรูปทรง
สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ปาดมุมให้กลายเป็นแปดเหลี่ยม สลักดุนลายเป็นเรื่องราวจากวรรณคดีของจีนโดยรอบตัวตลับ
กลักหรือกล่องเงินใบนี้ ถือเป็นงานประณีตศิลป์ สลักดุนชั้นสูงของช่างฝีมือชาวจีน ที่อพยพเข้ามาตั้งหลักปักฐาน
รับจ้างทำงานสลักดุนโลหะในประเทศไทย คนไทยก็จะนิยมเรียกช่างจีนเหล่านี้ว่า “ช่างจีนเซี่ยงไฮ้”
เนื่องจากในช่วงระยะเวลานั้น เมืองเซี่ยงไฮ้ในประเทศจีน มีชื่อเสียงโด่งดังมากกว่าเมืองปักกิ่ง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจีน
และเมืองเซี่ยงไฮ้ก็เป็นเมืองท่าที่สำคัญของจีนในขณะนั้น รวมทั้งเป็นเมืองที่ตกเป็นอาณานิคมของประเทศต่างๆ
ในชาติตะวันตกและสหรัฐอเมริกามากมายหลายประเทศ





ชื่อชิ้นงาน : ถาดล้างหน้า
ฝีมือช่าง : ช่างสลักดุน สกุลช่างจีน ภาคกลาง ประเทศไทย
แหล่งที่มา : กรุงเทพมหานคร
อายุ : ประมาณพุทธศักราช ๒๔๐๐-๒๔๖๕
วัสดุ : โลหะเงิน
ประโยชน์ :  ใช้เป็นภาชนะรองรับน้ำล้างหน้าในสมัยโบราณ โดยน้ำล้างหน้าจะบรรจุอยู่ในคณโฑ หรือขันน้ำพานรองที่มีฝาปิด
ถาดล้างหน้า มีลักษณะเป็นภาชนะทรงชามอ่าง ขนาดย่อม มีขา ทรงขาสิงห์สี่ขาและมีฐานแบนรองรับ ส
ลักลายราชสีห์ และลายใบเทศ มีลิ้นเป็นแผ่นโลหะเงินรูปกลมแบน มีรูปกลมตรงกลางเพื่อให้สอดนิ้วเกี่ยวขึ้นมาได้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ตุลาคม 2559 16:56:09 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พาพี่ แป๋มไปไหว้พระสวดมนตต์ตามประสาคนเหงา{หอศิลป}
สุขใจ ไปเที่ยว
時々๛कभी कभी๛ 13 5602 กระทู้ล่าสุด 13 พฤษภาคม 2554 16:36:24
โดย เงาฝัน
พาพี่ แป๋มไปไหว้พระสวดมนตต์ตามประสาคนเหงา{หอศิลป}
สุขใจ ไปเที่ยว
時々๛कभी कभी๛ 11 4825 กระทู้ล่าสุด 13 พฤษภาคม 2554 16:16:46
โดย เงาฝัน
ชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ จังหวัดนครราชสีมา
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 9103 กระทู้ล่าสุด 10 ตุลาคม 2556 18:02:18
โดย Kimleng
นำชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ "เรือพระราชพิธี"
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 5 9016 กระทู้ล่าสุด 05 กันยายน 2559 17:33:59
โดย Kimleng
นำชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร : พิพิธภัณฑสถานแห่งแรกในประเทศไทย
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 2766 กระทู้ล่าสุด 13 มกราคม 2560 10:59:53
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.62 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 17 มีนาคม 2567 09:43:58