[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 18:26:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "ศาลหลักเมือง" พิธีฝังเสาหลักเมือง  (อ่าน 4640 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 กันยายน 2559 11:39:00 »



เทวรูป "เจ้าพ่อพระกาฬ" ทำจากศิลาทราย ศิลปะลพบุรี
ยังมีร่องรอยพระกร ๔ ข้างปรากฏอยู่คล้ายเป็นเทวรูปพระวิษณุ หรือพระโพธิสัตว์
ในคติมหายานที่เผยแพร่เข้ามายังละโว้ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
ภาพ : ศาลพระกาฬ อ.เมือง จ.ลพบุรี

ไปเฝ้า พระนารายณ์ ‘แปลง’ ที่ลพบุรี-สุพรรณบุรี

ผมเพิ่งได้มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดลพบุรีและสุพรรณบุรีกับอาจารย์ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ คอลัมนนิสต์ที่อยู่ข้างๆ กันในมติชนสุดสัปดาห์สี่แหละครับ เป็นทริปประวัติศาสตร์โบราณคดีที่สนุกสนานมากสำหรับผม

อาจารย์พจน์พาเราไปดูสิ่งที่สำคัญมากๆ คือ “ความเชื่อมโยง” ของอะไรหลายอย่าง ทวารวดี-อยุธยา, ขอม-ละโว้, เขมร-อยุธยา, ละโว้-อยุธยา, เมืองพระนคร-อยุธยา, จีน-อยุธยา, ลพบุรี-สุพรรณ-อยุธยา, อยุธยา-กรุงเทพฯ ฯลฯ

ภาพอาณาจักรอยุธยาอันเมลืองมลังที่ติดต่อค้าขายกับโลกอื่นๆ และมีความ “สืบเนื่อง” หมุนเวียนมันช่างน่าตื่นตาตื่นใจกว่าที่เคยเรียนๆ มา

ผมไม่ได้เป็นนักโบราณคดีหรือนักประวัติศาสตร์ แต่การได้ฟังนักโบราณคดีสมัยใหม่ที่ “มีของ” และมีความรู้ที่แน่นมากๆ นี้ ทำให้ได้ประโยชน์แก่ตนเยอะ เพราะเชื่อมโยงมายังความรู้ที่พอมีของตัวเองได้หลายอย่าง

เรื่องนึงที่ถึงบางอ้อ คือเรื่อง “ทองแดง” ครับ

คืออาจารย์พจน์เล่าว่า ละโว้เป็นแหล่งส่งออกทองแดงที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ก่อนหน้านั้นในโลกทั้งตะวันตกและอินเดียยังไม่สามารถหล่อประติมากรรม “สำริด” งามๆ ได้ เพราะไม่มีทองแดงซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญ ต้องมาค้าขายกับสุวรรณภูมิเสียก่อน

ในอินเดียภาคใต้ เทวรูปสำคัญๆ ล้วนหล่อด้วยสำริด เพราะคงทนและสวยงาม แต่เทวรูปสำริดเหล่านั้นก็ไม่ใช่ “พระประธาน” ของเทวสถาน ซึ่งตามคัมภีร์ต้องสร้างด้วย “หิน” เท่านั้น เพราะหินเป็นวัสดุคงทนที่สุด (ไม่กลัวน้ำกลัวไฟ) และเก่าแก่มาพร้อมโลก ส่วนจะหินอะไรก็ขึ้นกับที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น

ส่วนเทวรูปสำริด มีไว้สำหรับออกแห่และทำการฉลองต่างๆ เพราะขนย้ายได้ง่ายกว่า ทุกวันนี้แม้ไม่ค่อยนำออกแห่แต่มักหล่อให้มีรูไว้สอดไม้คานหามที่ฐานหรือไว้ยึดกับเสลี่ยงแห่

เทวรูปแบบนี้ เรียกว่า “อุสวมูรติ” อุสวะ แปลว่าเทศกาลหรือการเฉลิมฉลอง หรือบางครั้งเรียกว่า “โภคมูรติ” เพราะเป็นเทวรูปที่นำไปทำพิธีบูชาคือได้เสพเสวยโภคะความสุขนานาชนิดจากศาสนิกชน

พระประธานที่เป็นหินนั้นจะต้องอยู่ “จำสถาน” ห้ามเคลื่อนย้าย คือฝังฐานเข้ากับพื้นในเทวาลัย (ศัพท์ในโศลกเรียก “ปราสาท”)  

ในปัจจุบันกฎข้อนี้ยังคงปฏิบัติกันอยู่ในหนังสือนิตยกรรมปธติบอกว่า ในปราสาทเทวรูปต้อง “ตรึงอยู่กับที่” แต่บ้านคฤหัสถ์ฆราวาสจะทำเช่นนั้นไม่ได้ ต้องเป็น “จลมูรติ” คือเทวรูปที่เคลื่อนย้ายได้เท่านั้น มิฉะนั้นจะเดือดร้อนรำคาญ

ด้วยเพราะทองแดงเป็นสินค้ามีค่าหายาก จากละโว้-สุวรรณภูมินี่เอง ผมจึงถึงบางอ้อว่า ในคัมภีร์ฝ่ายฮินดู ถึงได้บอกว่า “หม้อกลัศ” หรือหม้อทำพิธี หากใช้วัสดุเป็นทองแดง (สันสกฤตเรียก ตามระ) จะดีที่สุด และพวกภาชนะใส่น้ำต่างๆ ในพิธีกรรมที่เรียกว่า ชลปราตร (บาตร) ก็ถือว่าทองแดงเป็นวัสดุที่ดีเช่นกัน ดีกว่าทองคำหรือเงินเสียอีก

ทุกวันนี้ชาวฮินดูก็ยังนิยมใช้ภาชนะทองแดงในการทำพิธีกรรมอยู่ครับ

อีกเรื่องที่ผมสนใจในทริปนี้ คืออาจารย์ศิริพจน์แกเล่าว่า โบราณสถานมักสร้างทับๆ กันหลายยุคสมัย เช่น ศาสนสถานสมัยอยุธยาสร้างทับของทวารวดี ซึ่งสร้างทับที่ศักดิ์สิทธิ์ก่อนประวัติศาสตร์ไว้อีกชั้นหนึ่ง

น่าทึ่งว่า ความทรงจำต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นสืบทอดมาโดยวิธีใดจึงสามารถส่งผ่านมาได้อย่างยาวนาน  ผมคิดว่า เรื่องเล่าของชาวบ้านอาจเป็นส่วนผสมหลักที่ทำให้ความทรงจำต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ส่งต่อมาได้จนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะดัดแปลงแก้ไขจนบางครั้งไม่เหลือเค้าเดิมก็ตาม

ในการเดินทางครานี้ผมไปพบสักการะสถานของพระนารายณ์ “แปลง” ที่ผมชอบใจมากๆ อยู่สองที่ คือ ที่ศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี และที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี (ตรงนี้มีสององค์)

ที่ศาลพระกาฬนั้น ข้อพิเคราะห์ทางโบราณคดีเป็นเทวรูปพระนารายณ์แน่ๆ แต่ชาวบ้านนับถือกันว่าเป็น “เจ้าพ่อพระกาฬ” แม้แต่ในบทบูชาภาษาบาลีในศาลก็ยังเรียกว่า ยมเทวตา (พยายามลากเข้าไปบาลี)

คือเป็นเทพ (ผี) แห่งความตายตามคติชาวบ้านและเกี่ยวกับเรื่องโชคลาง เช่น เรื่องอุบาทว์ต่างๆ ไม่เหมือนกับพระยมของแขกที่เกี่ยวกับความตายโดยเฉพาะ  

วันที่ผมไป ชาวบ้านมาแก้บนกันเยอะ ทั้งเป็ดไก่หัวหมูเหล้ายา

พราหมณ์อินเดียมาเห็นคงลมจับ เพราะในคติแบบอินเดียนั้น ในบรรดาเทพทั้งหลาย พระวิษณุหรือพระนารายณ์นั้นเคร่งครัดเรื่อง “ความสะอาด” เป็นที่สุด

ของบูชาพระนารายณ์ตามประเพณีนั้น ไม่เคยมีของสดคาว แม้เทพฮินดูส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเป็นมังสวิรัติ แต่หลายต่อหลายองค์เคยโปรดเนื้อสัตว์และการบูชายัญมาก่อน แต่พระนารายณ์กลับไม่ค่อยมี

การบูชาพระนารายณ์นั้น ทางฮินดูเรียกว่า เป็นชนิด “สัตวิกปูชา” คือ บูชาด้วยของที่มีคุณสมบัติ “สัตวิก” ได้แก่ความบริสุทธิ์สะอาด สว่างต่างๆ เช่น ดอกไม้ ผลไม้ นมโค ฯลฯ

ส่วนที่สุพรรณบุรี นั้น อลังการพันลึกไปอีก เพราะพระนารายณ์ที่นั่นถูกยกให้เป็นเจ้าพ่อหลักเมือง แต่ได้รับความเคารพมากจากชาวจีน

ศาลและเครื่องบูชาของท่านจึงเป็นแบบจีนทั้งหมด และแม้แต่งานบูชายังกำหนดตามเทศกาลของคนจีนเป็นสำคัญ  

ภายในศาลยังมีแท่นบูชาของเจ้าที่แบบจีนตั้งอยู่ด้วย คือถูตี้กงหรือปุนเถ่ากง และอีกแท่นน่าสนใจมาก เป็นแท่น “รวมเจ้าพ่อทั้งหมดของเมืองสุพรรณ”

แม้จะสร้างรูปเคารพแบบจีนเป็นชายชราจีนถือคฑายู่อี่ขึ้นมาใหม่ (ไม่มีในสารบบเทพจีน) เพื่อเป็นตัวแทนของ “เจ้าพ่อทั้งสุพรรณบุรี” ก็ตาม แต่ด้านในเขายังรักษา “เจว็ด” ของพระภูมิเจ้าที่ของเดิมไว้หลายอันและรูปเคารพ “ผี” ต่างๆ

ในศาลเจ้าพ่อหลักเมือง แท่นบูชาทั้งสามจึงล้วนแต่เป็นเทพเจ้าระดับ “เจ้าที่” สามแบบ คือ เทพปุนเถ่ากง ผีเจ้าที่แบบไทยๆ และพระนารายณ์อินเดียที่ชาวบ้านนับถือว่าเป็นพระหลักเมืองแบบไทย คือถูกทำให้กลายเป็นรูปเคารพของเจ้าที่ ซึ่งท้ายสุดชาวจีนได้สร้างวัฒนธรรมจีนมาครอบไว้อีกชั้น

พระนารายณ์สองที่นี้จึงเป็นตัวอย่างอิทธิพลของ “ศาสนาผี” อันเข้มแข็งจริงๆ ในเมืองไทย ที่สามารถทำให้วัตถุเคารพของศาสนาอื่นๆ ไม่ว่าจะพุทธหรือพราหมณ์กลับกลายมาเป็นรูปเคารพของศาสนาผีได้

อีกที่หนึ่งที่ผมนึกถึง คือ ศาลหลักเมืองพระประแดง ซึ่งเป็นเทวรูปพระพิฆเนศวร์

เรื่องสนุกที่อาเจ๊กผู้ดูแลท่านเล่าให้ฟัง คือ ใต้คอเทวรูปพระพิฆเนศวร์จะดำเพราะมีการเอาฝิ่นมาป้ายไว้ ซึ่งพวกคนจีนที่สูบฝิ่นจากโรงฝิ่นสมัยนั้นเอามาแก้บน  ดำแบบปากเซี่ยวกางที่ประตูวัดบวรนิเวศวิหาร เพราะโดนป้ายฝิ่นเหมือนกัน

ท่านเล่าว่า ในปัจจุบันรอยดำนั้นหายไปเยอะเพราะพวกวัยรุ่นขี้ยา แอบมาขูดออกไปเวลาไม่มีเงินซื้อยา

พุทธและพราหมณ์จึงไม่ได้มีอิทธิพลเหนือผีหรือมีชัยชนะต่อผี หนำซ้ำกลับถูกผีครอบไว้แบบเนียนๆ โดยไม่รู้ตัว

กระนั้นผมก็ไม่คิดว่า ใครที่ไหนควรจะไปบอกชาวบ้านที่ลพบุรีกับสุพรรณฯ ว่า เฮ้ย นั่นเทวรูปพระนารายณ์ คุณควรจะเรียกให้ถูกต้อง แล้วสักการบูชาให้ถูกแบบแผนของพราหมณ์

สังเวยท่านด้วยนมเนยบุปผาลาชะ แล้วโยนหัวหมูเป็ดไก่ลงถังขยะ

แต่แน่นอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือท้องถิ่นควรให้ความรู้ว่า ในทางโบราณคดีนั้น เทวรูปนี้คืออะไร เป็นศิลปะแบบไหน สมัยใด แต่ชาวบ้านจะมีเรื่องเล่าตำนานอย่างไรก็บอกไว้ด้วย

เมื่อทราบแล้ว จะทำอย่างไรต่อก็ขึ้นอยู่กับผู้ศรัทธาเอง  ใครยังคงอยากสักการบูชาด้วยหมูเห็ดเป็ดไก่ตามวิถีที่ปู่ย่าตายายทำมาก็ไม่ว่ากัน  เพราะรู้แล้วจะเชื่ออย่างไรนั้นย่อมเป็นสิทธิตราบใดที่ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น

ส่วนใครจะสวดพระเวท ขับโศลกและบูชาในแบบพราหมณ์ก็ตามสบาย

พระนารายณ์เป็นเจ้าท่านใจใหญ่ ท่านคงไม่รังเกียจใครๆ ทั้งนั้น ในคัมภีร์ภควัทคีตากล่าวว่า

แม้นมีเพียงน้ำหยด ใบไม้ใบ หากมาด้วยใจศรัทธา เราก็รับ




ศาลเทพารักษ์หลักเมืองสุพรรณบุรี ชาวบ้านเรียกกันว่า "ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง"
ตัวอาคารแต่เดิมเป็นทรงไทย ภายหลังต่อมาได้สร้างเป็นอาคารเก๋งจีนคร่อมอาคารทรงไทยไว้


ภายในศาล เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรและพระนารายณ์ สลักนูน ลักษณะประทับยืน
บนแท่งหินเขียวแท่งเดียวกัน โดยเทวรูปสวมหมวกเต๊อก (หมวกทรงกระบอก) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
คู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี ที่ประชาชนเคารพบูชาเป็นอย่างมาก



ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ (จีน) ของทุกๆ ปี ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี
มีงานพิธีแห่อัญเชิญเจ้าพ่อ และงานทิ้งกระจาด หรือพิธีทิ้งทานให้แก่คนยากจน
ซึ่งเป็นพิธีกรรมตามคติพุทธศาสนามหายาน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แด่ดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว






เครื่องบูชาเทวรูปพระอิศวรและพระนารายณ์ เทพารักษ์หลักเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี
ได้แก่ แท่นบูชา กระถางธูป แจกัน ฯลฯ เป็นแบบธรรมเนียมจีนทั้งหมด


เรื่อง : คอลัมน์ ผี พราหมณ์ พุทธ ไปเฝ้า พระนารายณ์ 'แปลง' ที่ลพบุรี-สุพรรณบุรี โดย คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ หน้า ๘๑ ฉบับที่ ๑๘๘๒ ประจำวันที่ ๙-๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
ภาพ-ข้อมูลประกอบภาพ : Kimleg - www.sookjai.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มิถุนายน 2562 10:08:25 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 29 กันยายน 2559 16:36:59 »


หลักเมือง เมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

หลักเมือง
โดย Kimleng

การสร้างบ้านสร้างเมือง มีขนบธรรมเนียมซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาแต่บรรพบุรุษปฏิบัติสืบเนื่องต่อๆ กันมา กล่าวคือ จะต้องทำพิธียก “ “เสาหลักเมือง” เพื่อให้เกิดสิริมงคล ความมั่นคงเป็นปึกแผ่นแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น และเป็นศูนย์รวมจิตใจแก่ประชาชนให้บังเกิดความเชื่อมั่นในเสาหลักบ้านหลักเมือง จักได้อยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรืองสถาพร  

เสาหลักเมือง หมายถึง หลักเมือง เสาเอกของเมือง เสาเขื่อน หรือ อินทขีล ในภาษาล้านนา และ “อินฺทขีลํ” ในภาษาบาลีและสันสกฤษ

ลักษณะของหลักเมืองในประเทศไทย ส่วนมากมักทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ราชพฤกซึ่งเชื่อกันว่าเป็นไม้มงคล หมายถึง การมีโชค ชัยชนะ ชนะศัตรู ชนะอุปสรรคต่างๆ ตัวเสาลงรักปิดทอง ปลายเสาทำเป็นดอกบัวตูม หรือหัวเม็ดทรงมัณฑ์ หรือหน้าเทวดา ภายในกลวงเป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชาตาเมือง แต่บางแห่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างไป ได้แก่ เสาหลักเมืองข้างกระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร ทำด้วยศิลา, เสาหลักเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นศิลาจารึกเก่าแก่ แกะสลักจากหินทราย  ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ประทานอธิบายเรื่องหลักเมือง ว่า ตัวอย่างหลักเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในสยามประเทศคือ หลักเมืองศรีเทพ ในแถบจังหวัดเพชรบูรณ์ ทำด้วยศิลาจารึก ขณะนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดเพชรบูรณ์ หลักเมืองศรีเทพทำเป็นรูปตาปูหัวเห็ด

จากคติความเชื่อในเทพเจ้า เทพผู้มารักษาเมือง เชื่อถือโชคลาง เชื่ออำนาจหรือพลังเหนือธรรมชาติว่าสามารถดลบันดาลความร่มเย็นเป็นสุข ความเจริญรุ่งเรืองของชาวเมือง และป้องกันการรุกรานจากข้าศึกศัตรูที่จะมารุกรานได้  ก่อนจะตั้งเมืองและสร้างเสาหลักเมืองในสถานที่แห่งใด จึงต้องปรึกษานักปราชญ์อาจารย์ผู้มีความรู้ในชัยภูมิ เพื่อเลือกแสวงหาสถานที่อันควรและเหมาะสม กอปรด้วยชัยภูมิสำคัญอันเป็น “มงคลสถาน” ควรแก่การที่จะสร้างเมืองและยกหลักเมืองให้ถูกต้องในคชนาม สิงหนาม มหาสิทธิโชค โภคสมบัติ บริวาร เดช ศรี มนตรี เศรษฐี มหาเศรษฐี เป็นต้น   แม้กระทั่งธรรมเนียมของอินเดียโบราณตาม “คัมภีร์ปัญจปสูทนี” อรรถกถามัชฌิมนิกายมูลปัณณาส กล่าวถึง วิชาว่าด้วยการเลือกทำเลที่ตั้งเมืองว่า “วัตถุวิชาจารย์” วิชาว่าด้วยการเลือกพื้นที่ที่จะสร้างเมือง โดยอาศัยผู้ชำนาญในการดูทำเลที่ตั้งของเมืองเพื่อให้เกิดสิริมงคลและความเป็นสุขของชุมชน โดยพิจารณาลักษณะทางกายภาพอาณาบริเวณ ทิศทาง สภาพพื้นถิ่น แล้วก็ชี้ตำแหน่งที่จะสร้างเมืองแก่พวกราชตระกูล  

วิชา “วัตถุวิชาจารย์” ของอินเดียโบราณนี้ มีความคล้ายคลึงกับตำนานการสร้างเมืองเชียงใหม่ ที่กล่าวว่า พระเจ้าเม็งรายจะย้ายเมืองจากเมืองเวียงกุมกาม มาสร้างนครแห่งใหม่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง พระองค์และพระสหายทั้ง ๒ คือ พระร่วงและพระยางำเมือง ได้ปรึกษาผู้ชำนาญการเลือกภูมิสถานการตั้งเมือง เมื่อตัดสินใจสร้างนครเชียงใหม่ให้เป็นราชธานีแห่งอาณาจักรล้านนา ทรงให้ประกอบพิธีตั้งกลปบาท ฝังนิมิตหลักเมืองในเวลาพิชัยฤกษ์ พร้อมกับขุดคูเมืองและสร้างนิเวศน์ ตลอดจนตั้งกาดหรือตลาด  เสาหลักเมืองคงอยู่ตรงบริเวณเดียวกันกับต้นไม้ศรีเมือง และคงจะใช้ไม้ศรีเมืองนั้นเองเป็นหลักของเมือง โดยมิได้ปักเสาหลักเมือง  ต่อมาไม้ศรีเมืองนี้ได้ถูกตัดโค่นทำลายลง เพื่อทำลายกำลังเมืองในสมัยพระเจ้าติโลกราช โดยพระภิกษุชาวเมืองพุกาม  ประเทศพม่า เพราะถือเป็น “นิโครธนามเมือง”  นอกจากนี้ กล่าวกันว่าในหมู่คนไทยหลายเผ่า เช่น ไทยขาว ไทยดำ ที่อาศัยอยู่ในเวียดนามในปัจจุบัน และพวกไทยลื้อและลาวในยูนนาน ยังถือเป็นข้อปฏิบัติในการเลือกทำเลที่จะตั้งหมู่บ้านและสร้างหลักเมือง ด้วยเชื่อกันว่ามี “หลักเสื้อ” หรือผี หรือเทพยดาอารักษ์สิงสถิตอยู่ที่เสาหลักเมือง คอยทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองชาวเมือง และป้องกันภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นให้มลายหายไป

ส่วนพิธีกรรมฝังหลักเมือง เป็นพิธีที่เกี่ยวเนื่องในทาง “ไสยศาสตร์” ซึ่งเป็นประเพณีพราหมณ์มีมาแต่อินเดีย ไทยตั้งหลักเมืองขึ้นตามธรรมเนียมพราหมณ์ และมักฝังหลักเมืองในชัยภูมิอันเป็นบริวาร เดช ศรี เพื่อคุ้มครองชาวเมืองให้เจริญรุ่งเรืองเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี  

ประเพณีหลักเมืองมีเรื่องเล่าเป็นนิยายปรัมปรามาแต่โบราณ ว่า การสร้างบ้านสร้างเมืองหรือการสร้างปราสาทราชมณเฑียรจะต้องทำพิธีฝังอาถรรพ์ประตูเมืองทั้ง ๔ ฝังเสาหลักเมือง ตลอดจนเสาปราสาทราชมณเฑียร เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ และถือเป็นเคล็ดว่าต้องเอาคนที่ยังมีชีวิตฝังลงในหลุมเพื่อให้ดวงวิญญาณของผู้นั้นทำหน้าที่เฝ้าเมือง เผ้าหลักเมือง เฝ้าปราสาท จะได้ป้องกันอริราชศัตรูและโรคภัยไข้เจ็บมิให้เกิดขึ้นแก่ผู้ครองเมืองและอาณาประชาราษฎร์ ส่วนคนที่จะเอาฝังลงในหลุมนั้น จำเป็นต้องเอาเฉพาะคนที่มีชื่อว่า อิน จัน มั่น คง มาฝังในหลุม และเล่าว่า นายนครวัฒกี (ช่างไม้) จะเที่ยวเดินร้องเรียกชื่อ อิน จัน มั่น คง ไปตามหมู่บ้านต่างๆ ใครเคราะห์ร้ายเกิดขานรับขึ้นมาก็จะถูกจับเอาตัวไปฝังในหลุม กลายเป็นผีเฝ้าประตูเมือง เฝ้าหลักเมือง หรือเฝ้าปราสาทไป  

ในประเทศไทยพบว่ามีการสร้างหรือยกเสาหลักเมืองมานานแล้วแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์

คราวที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ขณะยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับ “หลักเมือง” ไว้ในหนังสือเรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง ว่า “...ถ้าจะเปรียบรูปเมืองกำแพงเพชร น่าจะเปรียบกับรูปเรือเป็ด...สังเกตว่าเป็นเมืองที่แข็งแรงมั่นคง น่าจะรักษาไว้ให้มั่นคงได้นานๆ ในกำแพงเมืองนี้ ที่ซึ่งจำเป็นต้องไปก่อนก็คือหลักเมือง ซึ่งได้ไปบวงสรวงตามธรรมเนียม แต่ผู้ที่ไปดูอย่าได้หาหลักเลย เพราะไม่มีหลักศิลา และรูปยักษ์ที่ตั้งไว้เป็นเครื่องหมายเดี๋ยวนี้ เชื่อว่าไม่ใช่ของตั้งอยู่แต่เดิมฯ”  

เมื่อเสด็จประพาสต่อไปยังวัดมหาธาตุ เมืองเก่าสุโขทัย ทรงพบเสาศิลาหลักหนึ่งที่เชื่อกันตามตำนานอย่างจริงจังว่านั่นคือ “ขอมดำดิน” มาตามหาพระร่วง แล้วถูกสาบให้เป็นหินอยู่ในวัดนั่นเอง ทรงมีพระราชวินิจฉัยไว้ในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วงไว้ดังต่อไปนี้

“วัดมหาธาตุนี้ ราษฎรถือกันว่าเป็นที่สำคัญนัก เพราะกล่าวว่าเป็นที่พระร่วง (นายส่วยน้ำ) ได้มาทรงผนวชอยู่ ยังมีสิ่งที่ชี้เป็นพยานกันอยู่ คือขอมดำดิน ซึ่งตามนิทานว่าดำดินมาแต่นครธม มาโผล่ขึ้นในลานวัดกลางเมืองสุโขทัยเพียงแค่อก เห็นพระร่วงซึ่งผนวชเป็นภิกษุกวาดลานวัดอยู่ ขอมไม่รู้จักจึงถามหาพระร่วง พระร่วงก็บอกว่าให้ขอมคอยอยู่ก่อน จะไปตามพระร่วงมาให้ กายขุนขอมก็เลยกลายเป็นศิลาติดอยู่ที่ลานวัดนั้นเอง ก้อนศิลาซึ่งสมมติเรียกกันว่าขอมดำดินนี้ อยู่ในลานพระมหาธาตุข้างด้านใต้ ที่ยังแลเห็นได้นั้นเป็นรูปมนๆ คล้ายหัวไหล่คน ถ้าแม้ต่อศีรษะเข้า ก็พอจะดูคล้ายรูปคนโผล่ขึ้นมาจากดินเพียงหน้าอกได้ ศิลานั้นเบียดอยู่กับฐานพระเจดีย์องค์หนึ่ง แต่บัดนี้พระเจดีย์นั้นพังเสียมากแล้ว จึงเห็นศิลานั้นได้ถนัด แรกเห็นอยากจะใคร่เดาว่าเป็นศิลาจารึกอะไรสักอย่างหนึ่ง แม้เมื่อได้พิจารณาแล้ว จึงเห็นว่าเป็นศิลาเกลี้ยงๆ อยู่ ยิ่งเป็นที่น่าพิศวงยิ่งขึ้นว่า เหตุไฉนจึงเอาก้อนศิลาเช่นนี้มาฝังไว้ที่นี้ อย่างไรๆ ก็เชื่อว่าไม่ใช่ศิลาที่เกิดอยู่ในพื้นที่นั้นเอง เพราะที่อื่นๆ ก็ไม่เห็นมีก้อนศิลาเช่นนั้น จึงต้องเข้าใจว่ามีผู้นำมาปักไว้ จึงเกิดเป็นปัญหาขึ้นว่า เอามาปักไว้ทำไม นึกอยากจะเดาว่ามาปักไว้ทำ “หลักเมือง” เพราะที่ตรงนั้นก็ดูเกือบจะเป็นกลางเมือง การที่เข้าไปอยู่ในเขตวัดเช่นนั้นก็มีหนทางที่อาจจะเป็นไปได้ทางหนึ่ง คือพระเจ้ากรุงสุโขทัยองค์ใดองค์หนึ่งจะใคร่สร้างวัดที่ไว้พระมหาธาตุ เลือกได้ที่เหมาะกลางเมือง จึงสร้างลงไปริมหลักเมืองซึ่งไม่เป็นข้อขัดข้องประการใด เช่นที่เมืองเชียงใหม่ หลักอินธขิลบัดนี้ก็อยู่ในเขตวัดเจดีย์หลวง แปลความว่าหลักตั้งอยู่ก่อน วัดตามไปภายหลัง ที่นี้ก็อาจจะเป็นได้เช่นเดียวกัน แต่ทางทิศเหนือวัดมหาธาตุริมวัดที่เรียกกันว่าวัดชนะสงครามนั้น มีสถานที่อันหนึ่งซึ่งราษฎรเรียกว่าศาลกลางเมือง ได้แต่งให้พระวิเชียรปราการไปตรวจดูก่อน บอกว่าเข้าใจว่าจะเป็นหลักเมือง ครั้นไปดูเองภายหลังก็ลงเนื้อเห็นด้วย คือมีเป็นเนินอยู่เฉยๆ ก่อน แต่ครั้นให้ถางและขุดลงไป จึงได้เห็นท่าทางพอเดาได้ ว่ามีเสาแลงตั้งขึ้นไปทั้ง ๔ มุข มีมุมละ ๒ เสาซ้อนกันเป็น ๒ ชั้น ที่ตรงกลางเนินมีหลุมซึ่งเข้าใจว่าคงจะเป็นหลุมที่ฝังนิมิต ในหลุมนั้นมีศิลาแผ่นแบนทิ้งอยู่แผ่นหนึ่ง แต่แตกแยกเป็นสองชิ้น ตรวจดูศิลานั้นก็แลเห็นเป็นลายอะไรเลือนๆ จึงเหลือที่จะรู้ได้ว่าเป็นอะไร บางทีจะเป็นแผ่นศิลาที่ลงดวงของเมืองก็ได้ แต่ถูกขุดและชำรุดและถูกฝนชะจนลายหรืออักษรลบเลือนไปเสียสิ้นแล้ว รูปร่างสถานที่นี้เดิมคงมีหลังคาเป็นสี่เหลี่ยมและมีเพิงรอบ ดังสันนิษฐานได้ตามเสาที่เหลืออยู่ ท่าทางก็ทีจะเป็นหลักเมืองได้...ฯ”

เรื่อง “หินขอมดำดิน” ก้อนนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นตอนท้ายว่า “เป็นแต่ความเห็นส่วนตัว แล้วแต่ท่านผู้ชำนาญในโบราณคดีจะวินิจฉัย”  จึงควรน้อมใส่เกล้าฯ ตระหนักให้ดีว่า มิทรงปรารถนาจะให้เชื่อถือในพระราชวินิจฉัยของพระองค์ หากแต่ทรงเปิดทางให้คิดแตกต่างได้ในทุกประเด็น.



ขอมดำดิน ในลานวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย



หลักเมือง เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์
มี พระหลักเมือง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง สถิตด้านหลังเสาหลักเมือง

หลักเมือง (ต่อ)
โดย Kimleng

ตามนัยแห่งพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) นั้น บ่งบอกว่าในประเทศไทยมีการทำพิธียกเสาหลักเมืองมานานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นธรรมเนียมที่มีความสำคัญต่อบ้านเมืองจะต้องกระทำในทุกแห่งที่มีการสร้างเมืองใหม่  

และจากเรื่องราวบนแผ่นศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ว่า “...กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีตระพังโพยสีใสกินดี ดังกินน้ำโขงเมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา...” เป็นหลักฐานที่ช่วยยืนยันนัยแห่งพระบรมราชาธิบายของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ดังกล่าวข้างต้น  

คำว่า ตรีบูร ได้แก่การสร้างกำแพงเมือง ๓ ชั้น มีความยาว ๓,๔๐๐ วา พ่อขุนรามคำแหงได้สร้างไว้อย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรู แต่ละชั้นก่ออิฐถือปูนไว้มีความหนามากและสูง

กำแพงทั้ง ๓ ชั้น นั้นได้สร้างประตูเมืองไว้ ๔ ประตู ครบ ๔ ทิศ แต่ละประตูมีชื่อเรียกดังนี้
       ๑.ประตูด้านทิศตะวันออก เรียกว่า ประตูหัก เป็นทางไปสู่ตระพังหลวง มีทะเลหลวง ป่าพร้าว ป่าขาม ปลูกกันมากมาย ปัจจุบันที่ลุ่มกว้างใหญ่อยู่ในตำบลทุ่งหลวง
       ๒.ประตูด้านทิศตะวันตก เรียกว่า ประตูอ้อ เป็นทางไปสู่วัดอรัญญิก (ปัจจุบันเรียกว่าวัดสะพานหิน) สมัยนั้นเป็นวัดที่จำพรรษาของพระสังฆราชสวามีที่พ่อขุนรามคำแหงทรงนิมนต์มาจากเมืองนครศรีธรรมราช วัดนี้พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงไปทำบุญฟังธรรมทุกวันธรรมสวนะ
       ๓.ประตูด้านทิศเหนือเรียกว่า ประตูศาลหลวง เป็นทางออกไปสู่ย่านชุมชน ที่นี่มีตลาดปสาน เป็นย่านการซื้อขายที่ใหญ่โตของสุโขทัย ทิศนี้มีวัดพระพายหลวง และมีพระอัจนะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสร้างด้วยศิลาแลงประทับนั่งปางมารวิชัย
       ๔.ประตูด้านทิศใต้ เรียกว่า “ประตูนะโม” เป็นทางออกไปสู่วัดพระเชตุพน วัดนี้ใหญ่โตมาก มีวิหารสร้างเป็น ๔ มุข แต่ละมุขมีพระพุทธรูปอยู่ทั้ง ๔ แห่ง แต่ทว่าชำรุดผุพังไปหมดแล้ว บริเวณใกล้เคียงกันเป็นวัดเจดีย์สี่ห้อง มีพระอุโบสถก่อด้วยศิลาแลง  ทิศนี้ยังมีศาลเทพารักษ์ที่เรียกว่า "พระขะพุงผี" ชาวเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนับถือบูชามาก เพราะถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เคยบวงสรวงเซ่นไหว้กันมาแต่สมัยขอม ต่อมาชาวเมืองก็ยังเชื่อถืออยู่




พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใฝ่ใจและเคร่งครัดในทางพุทธศาสนามาก แม้พระองค์จะทรงเป็นพุทธมามกะ แต่ก็ทรงเชื่อมันอยู่กับเรื่องสิ่งศักดิ์ที่ชาวเมืองและบรรพบุรุษเคยให้ความเคารพบวงสรวงสังเวยกราบไหว้บูชามาแล้ว คือ “พระขะพุงผี”  เมื่อถึงฤดูกาลไหว้บวงสรวงก็ไปไหว้ไปบวงสรวง เพราะมีความเชื่อว่าจะช่วยป้องกันภัยพิบัติต่างๆ ไม่ให้เกิดขึ้น และนำมาซึ่งความสงบสันติสุขแก่ส่วนรวม ถ้าประพฤติฝ่าฝืน หรือ ผิดผี (ชาวไทยบางถิ่นเรียกกันว่า “ฮีต)   ผีบ้านเมือง อาจโกรธและลงโทษได้ ไม่เฉพาะแต่ผู้กระทำผิดเท่านั้น ยังอาจลงโทษกินแถวไปถึงคนในหมู่บ้านชุมชนนั้นด้วย เห็นได้จากข้อความที่ว่า “...มีพระขะพุงผีเทวดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันบ่คุ้มเกรง เมืองนี้หาย...”

ในคำโคลงอีกตอนหนึ่งของตำนานพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ ได้พรรณนาสภาพทั่วไปของกรุงสุโขทัยไว้ว่า

เทวสถานเทิ่งวิ้ง     ศรีศวาย ภิไธย์พ่อ
สามยอดเยี่ยมพโยมโสม     ส่องใต้
ธาดารูปนารายณ์นริศสถิต ถมึงเอย
เสาเล่นชิงช้าโล้ฤกษ์สการฯ
ศาลเทพรักษ์เสื้อ     เมืองทรง เมืองเอย
สิ่ง ณ ปรางค์ปาสาน     เสริฐซุ้ม
อาถรรพ์มั่นเมืองลง     เสละสลัก เมืองแฮ
ไสยศักดิ์ปักป้องคุ้ม     เขตครอง ฯ

คำโคลงนี้กล่าวถึงภายในตัวเมืองสุโขทัยว่า มีเทวสถานเป็นที่ประดิษฐานพระนารายณ์  มีเสาชิงช้า ตลอดจนศาลเทพารักษ์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ ผู้เขียนเข้าใจว่านอกจากนี้ยังมีพิธีฝัง “เสละสลัก” (น่าจะเป็นเสาแกะสลักลวดลาย) ให้คุุ้มครองบ้านเมือง คือฝังเสาหลักเมืองลงอาถรรพ์ โดยทำพิธีตามตำราไสยศาสตร์เพื่อให้เกิดสิริมงคล และป้องกันภยันตรายแก่บ้านเมือง
 
แสดงให้เห็นว่าในสมัยสุโขทัยศาสนานาพราหมณ์มีอิทธิพลควบคู่อยู่กับพระพุทธศาสนามาก แม้สมัยต่อมาและปัจจุบันนี้คนไทยที่นับว่าเคร่งครัดในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ากว่าทุกๆ ประเทศที่มีพุทธศาสนาก็ยังคงเคารพกราบไหว้หรือบวงสรวงสังเวยเทพาอารักษ์และปูชนียสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คนไทยเรานับถือกราบไหว้ทั้งพุทธทั้งพราหมณ์ปะปนกัน จนจะแยกกันไม่ออก ทั้งนี้เพราะเหตุว่า ลัทธิพราหมณ์ได้เข้ามาฝังจิตใจของคนไทยมาช้านานแล้วนั่นเอง

สมัยกรุงศรีอยุธยาในพ.ศ.๑๘๙๓ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ตำบลหนองโสน ซึ่งเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม เพราะมีน้ำล้อมรอบ จึงทรงกะเขตปักราชวัตรฉัตรธง ตั้งศาลเพียงตา พ่อพราหมณ์ได้ฤกษ์กระทำพิธีกลบบาตสุมเพลิง (ชื่อพิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ ทำขึ้นเพื่อแก้เสนียด) แล้วให้พนักงานขุดดินทั่วบริเวณเพื่อสร้างพระราชวัง พระราชพิธีกลบบาตที่โปรดฯ ให้ทำขึ้นในครั้งนั้น มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึงพิธียก “หลักเมือง” ก็อาจเป็นได้




ศาลหลักเมืองนครสวรรค์ ตั้งอยู่เนินเขากบ อ.เมือง จ.นครสวรรค์

[
โรงเรียนนครสวรรค์ ถ.มาตุลี อ.เมือง จ.นครสวรรค์ (อยู่ฝั่งตรงข้ามศาลหลักเมืองนครสวรรค์)

(โปรดติดตามตอนต่อไป)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มิถุนายน 2562 10:09:01 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 13 พฤศจิกายน 2559 13:09:59 »

.

หลักเมือง (ต่อ)

• หลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่ออาณาจักรอยุธยาล่มสลาย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้กอบกู้เอกราชคืนจากพม่าได้แล้ว ทรงเห็นว่ากรุงเก่าถูกพม่าเผาทำลายจนไม่สามารถบูรณะให้คืนดีได้ จึงได้เสด็จมาสร้างกรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าทรงทำพิธีกลบบาตรฝังหลักเมืองหรือไม่ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ ได้เกิดเหตุการณ์จลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ทำการปราบปรามจลาจลในกรุงธนบุรีจนบ้านเมืองสงบ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ปกครองกรุงธนบุรี เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว มีพระราชดำริว่า กรุงธนบุรีไม่เหมาะที่จะใช้เป็นเมืองหลวง เพราะกรุงธนบุรีนั้น “เป็นเกาะ” มีน้ำล้อมรอบถึง ๔ ด้าน ด้านหน้ามีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ขวามือมีคลองบางกอกน้อย ซ้ายมือมีคลองบางกอกใหญ่ ด้านหลังเป็นคลองชักพระ  ลักษณะเหมือนกับกรุงศรีอยุธยา ทรงเกรงว่าหากพม่ายกทัพเข้ามาล้อม ชาวธนบุรีจะไม่มีทางออก เหมือนที่พม่าเคยมาล้อมกรุงศรีอยุธยาแล้วตัดเสบียง ข้าวปลาอาหารส่งเข้ามาในเกาะไม่ได้ คนในเกาะหนีออกไปไม่ได้ กรุงศรีอยุธยาจึงถูกพม่าตีแตกในปีพุทธศักราช ๒๓๑๐  

ดังนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานขึ้นใหม่ ให้ย้ายเมืองหลวงข้ามฟากไปยัง “เมืองบางกอก” ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกรุงธนบุรีทางทิศตะวันออก  “บางกอก” มิได้มีสภาพเป็นเกาะเหมือนกรุงธนบุรี แต่มีภูมิสถานเป็นแหลมโค้ง บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะ ไม่มีน้ำล้อมรอบแต่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน เมื่อหากพม่ายกกองทัพเข้ามาตีจะไม่สามารถเข้าล้อมเมืองหลวงไว้ได้  

เมื่อมีพระราชดำริจะสร้างพระนครแห่งใหม่ที่บางกอก ซึ่งคือ กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบันนั้น  จำเป็นต้องยกเสาหลักเมือง นัยเดียวกับการจะสร้างบ้านหลังใหม่ต้องยกเสาเอก จะสร้างอาคารที่ทำการต้องทำพิธีวางศิลาฤกษ์  จึงมีรับสั่งให้โหรฯ ไปเสาะหาชัยภูมิอันเหมาะสมที่จะสร้างเสาหลักเมือง เมื่อได้แล้วจึงโปรดฯ ให้ขุดหลุมลึก แล้วให้คำนวณหาพระฤกษ์ว่าจะเสด็จฯ มายกเสาหลักเมือง (ซึ่งหมายถึงเป็นฤกษ์สร้างกรุงเทพฯ)

และพระฤกษ์ฝังเสาหลักเมืองที่โหรฯ ได้ผูกถวาย คือวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ เวลา ๖.๕๔ นาฬิกา  แล้วเสด็จฯ มาที่หลุมหลักเมืองเมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือน ๖ ปี เสาหลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์เป็นไม้ชัยพฤกษ์ ฝังลงไปในดิน ลึก ๗๙ นิ้ว โผล่ขึ้นมาจากผิวดิน ๑๐๘ นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๙.๕ นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลาง ๖๙.๕ นิ้ว ปลายเสาเป็นหัวเม็ด ทรงมัณฑ์ บรรจุดวงชะตากรุงรัตนโกสินทร์ แล้วทรงตั้งชื่อเมืองว่า กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์* มหินทรา อยุธยามหาดิลก ภพนพรัตนราชธานี บุรีรมย์อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ ซึ่งเป็นชื่อเมืองหลวงที่ยาวที่สุดในโลก มีความหมายว่า พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร

*รัชกาลที่ ๔ ทรงเปลี่ยนเป็น “อมรรัตนโกสินทร์"


หลักเมืองกรุงเทพมหานคร






รัชกาลที่ ๔ ทรงเป็นโหร ทรงถือว่าดวงฤกษ์เวลา ๖ นาฬิกา ๕๔ นาที ที่รัชกาลที่ ๑
ให้ลงเสาหลักเมืองนั้น เป็นดวงที่ไม่ดี จึงโปรดให้ผูกดวงใหม่ กับให้ถอนเสาหลักเมือง
ของรัชกาลที่ ๑ ขึ้น แล้วให้ลงหลักเมืองใหม่เป็นเสาที่ ๒ และเปลี่ยนชื่อกรุงรัตนโกสินทร์
จาก “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์” เพื่อแก้เคล็ดบางอย่าง
(อ้างอิง ประวัติศาสตร์การเมืองไทย – ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม)



โปรดติดตามตอนต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มิถุนายน 2562 10:09:21 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2559 19:29:28 »


               หลักเมืองกรุงเทพมหานคร

หลักเมือง (ต่อ)

• พิธีฝังเสาหลักเมือง
คัดจาก หนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง
(มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์)

พิธีฝังเสาหลักเมือง มีปรากฏในหนังสือจดหมายเหตุการปรับปรุงศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร พุทธศักราช ๒๓๒๕-๒๕๒๙ สรุปความได้ดังนี้...เมื่อจะประกอบพิธีฝังเสาหลักเมืองนั้น ให้ปลูกโรงพิธีสงฆ์กลางเมือง ๕ ห้องโรงหนึ่ง ขื่อกว้าง ๘ ศอก มีเฉลียงรอบ และที่ ๔ ทิศเมือง ๓ ห้อง ๔ โรง ขื่อกว้าง ๖ ศอก มีเฉลียงรอบ พื้นสูง ๒ ศอก เสมอกันทั้งในประธานทั้งเฉลียง ความสูงพอสมควรกับขื่อ ให้ตั้งราชวัติ ปักฉัตรธง ผูกต้นกล้วยต้นอ้อยรอบโรงพิธีเหมือนกันทั้ง ๕ โรง ส่วนโรงพิธีกลางเมืองนั้นให้ทำศาลเทวดา ๔ ศาล สำหรับบูชาพระอาทิตย์ พระพรหม พระอิศวร และพระนารายณ์ ส่วนที่โรงพิธี ๔ ทิศเมือง ให้ตั้งศาลเทวดาโรงละหนึ่งศาล สำหรับบูชาท้าวจตุโลกบาล นอกจากนั้นให้ปลูกโรงพิธีพราหมณ์กลางเมืองตรงที่จะฝังหลักเมือง ๒ โรง โรงละ ๓ ห้อง ขื่อกว้าง ๕ ศอก พื้นในประธานสูงศอกคืบ พื้นเฉลียงสูงศอกหนึ่ง ให้ตั้งราชวัติ ปักฉัตรธง ผูกต้นกล้วยต้นอ้อยรอบโรงพิธีเหมือนกันทั้ง ๒ โรง ให้ขุดหลุมที่จะฝังหลักเมือง ขุดเป็นหลุมปาก ๑๒ เหลี่ยม กว้างเหลี่ยมละ ๑๐ นิ้ว ความลึกพอกับแผ่นศิลาที่รองต้นเสาหลักเมือง ลึกแต่หลังแผ่นศิลาถึงปากหลุม ๗๙ นิ้ว ให้ตั้งราชวัติ ปักฉัตรธงล้อมทั้ง ๔ ด้าน ให้มีศาลเทวดาที่หลักเมือง ๒ ศาล ให้มีเตียงสำหรับรองพระพุทธรูป อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในโรงพิธีทั้ง ๕ โรง และที่โรงพิธีกลางเมืองให้ตั้งกระโจมเทียนไชย สูง ๔ ศอก กว้าง ๖ นิ้ว ให้เอาผ้าขาววง ให้อัญเชิญหลักเมืองกับแผ่นศิลารองต้นหลักเมือง พร้อมด้วยดวงชาตาเมืองเข้าไว้ในมณฑลพิธีกลางเมือง ให้ขุดเอาดินมาแต่ทิศทั้ง ๔ ปั้นให้เป็นก้อนโตขนาดเท่าผลมะตูมทาด้วยดินสอพองทั้ง ๔ ก้อน ให้เอาเข้าไว้ในมณฑลโรงพิธีด้วย ให้ตั้งบาตรน้ำบาตรทรายทุกโรงพิธี ให้วงด้ายสายสิญจน์รอบเมือง รอบโรงพิธีสงฆ์ และรอบโรงพิธีพราหมณ์ รอบหลุมที่จะฝังหลักเมืองและสำหรับพระสงฆ์ถือสวดด้วย และรอบเมืองนั้นให้วงสายสิญจน์คาด้วยอีกชั้นหนึ่ง ให้นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์  โรงพิธีกลางเมือง ๒๐ รูป โรงพิธี ๔ ทิศเมือง โรงละ ๑๐ รูป รวมเป็นพระสงฆ์ ๖๐ รูป

พิธีวันแรก เวลาบ่าย เมื่อพระสงฆ์มาพร้อมกันแล้วให้สมาทานศีล แล้วให้เจ้าเมืองเอาเทียนชนวนถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่เป็นมหาเถระจุดเทียนไชย เมื่อพระสงฆ์รับเทียนชนวนไปจุดเทียนไชย เมื่อจุดให้ว่าคาถาดังนี้


”พุทฺโธ สพฺพญฺญุตญาโณ       ธมฺโม โลกุตฺตโร นว
สงฺโฆ จ มคฺคผลโถ       อิจฺเจตํ รตฺนตฺยํ
เอเตสํ อานุภาเวน       อนฺตรายาปิ วินสฺสนฺตุ
อเสสโต”    ว่า ๓ ครั้ง      

เมื่อพระสงฆ์จุดเทียนไชยแล้ว พระสงฆ์ทั้งหมดจึงพร้อมกันเจริญพระปริตร วันแรกเจริญพระสัตตปริตร วันที่สองเจริญพระทวาทสปริตร วันที่ ๓ เจริญพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร และมหาสมัยสูตร  เมื่อเจริญพระปริตรจบแล้ว ให้พระสงฆ์ผลัดเปลี่ยนกันอยู่โรงพิธีกลางเมือง เพื่อเจริญนครฐานสูตร และที่โรงพิธี ๔ ทิศเมืองเจริญพระจตุภาณวาร ทั้งกลางวันและกลางคืนทั้ง ๕ โรงพิธี

ครั้นเวลาเช้า พระสงฆ์พร้อมกันถวายพรพระจบแล้วจึงฉัน เวลาเพลฉันที่โรงพิธี โรงละ ๕ รูป เหมือนกันทั้ง ๓ วัน

อนึ่ง ในเวลาบ่ายเมื่อจะเจริญพระปริตรนั้น ให้ตั้งบายศรีตอง ๓ ชั้น พร้อมด้วยกระยาบวชบนศาลที่หลักเมืองทั้ง ๒ ศาล  ครั้นได้ฤกษ์เจ้าพนักงานประโคมดุริยางค์ดนตรี พระสงฆ์ทั้งหมดพร้อมกันเจริญชัยมงคลปริตรทั้ง ๕ โรง ให้โหรผู้หนึ่งพร้อมกับคนผู้ใหญ่อีก ๔ คน นุ่งขาวห่มขาวทั้ง ๕ คน ให้คนผู้ใหญ่ทั้ง ๔ ไปเอาก้อนดิน ๔ ก้อน ที่เข้ามณฑลพิธีไว้นั้นนำมาถือยืนอยู่ที่หลุมทั้ง ๔ ทิศ ให้โหรถามเป็นอุทิศเทวสังหรณ์แก่ผู้ถือก้อนดินในทิศลำดับที่ ๑ ว่า

ท่านถือสิ่งอันใด ผู้ถือบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดิน ก้อนดินนี้คือ ปถวีธาตุ เป็นสารวัฒนะ ให้ถามต่อไปว่า สารวัฒนะนี้มีคุณประการใด ผู้ถือบอกว่า ปถวีธาตุสารวัฒนะนี้ มีพระคุณที่จะทรงไว้ซึ่งอายุเมืองให้สมบูรณ์ด้วยคามนิคม เป็นที่ประชุมประชาชนพลพาหนะตั้งแต่ประถมตราบเท่าถึงอวสาน

ให้ถามผู้ถือก้อนดินในทิศที่ ๒ ว่า ท่านถือสิ่งอันใด ผู้ถือบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดิน ก้อนดินนี้ถือ อาโปธาตุ เป็นมหาวัฒนะ ให้ถามต่อไปว่า มหาวัฒนะนี้มีพระคุณเป็นประการใด ผู้ถือบอกว่า อาโปธาตุ มหาวัฒนะนี้มีคุณอาจให้ผู้ครองเมือง กรมการเมือง และราษฎรทั้งปวง เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ และสิริสวัสดิมงคลต่างๆ ตั้งแต่ประถมตราบเท่าถึงอวสาน

ให้ถามผู้ถือก้อนดินในทิศที่ ๓ ว่า ท่านถือสิ่งอันใด ผู้ถือบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดิน ก้อนดินนี้ คือวาโยธาตุ เป็นอลังการวัฒนะ ให้ถามต่อไปว่า อลังการวัฒนะนี้มีคุณเป็นประการใด ผู้ถือบอกว่า อลังการวัฒนะนี้มีพระคุณอาจให้เจริญด้วยโภคสมบัติ ธนธัญญาหาร กสิกรรม วานิชกรรมต่างๆ ในเมืองนี้

เมื่อบอกจบทั้ง ๔ คนแล้ว ให้ทิ้งก้อนดินทั้ง ๔ ทิศลงในหลุมตามลำดับกัน แล้วอัญเชิญแผ่นศิลารองต้นเสาหลักเมืองลงในหลุม แล้วอัญเชิญเสาหลักเมืองลงประดิษฐานเหนือหลังแผ่นศิลา ให้ลึกอยู่ในดิน ๗๙ นิ้ว สูงพ้นดินขึ้นมา ๑๐๘ นิ้ว ยัดดินให้แน่นอย่าให้เสาหลักเมืองเอนเอียงไปได้ทั้ง ๘ ทิศ  จากนั้นให้เอาแผ่นยันต์ชาตาเมืองเข้าบรรจุบนยอดหลักเมืองแล้วอัญเชิญเทวดาเข้าประจำรักษาหลักเมือง เสร็จแล้วให้พระสงฆ์มหาเถระผู้จุดเทียนไชยมาดับเทียนไชย เมื่อจะดับให้เอาใบพลูที่งามดี ๗ ใบ ชุบน้ำพระพุทธมนต์ แล้วว่าคาถา


”สพฺพโรควินิมุตฺโต       สพฺพสนฺตาปวชฺชิโต
สพฺพเวรมติกฺกนฺโต       จ ตุวํ ภว”  ว่า ๓ ครั้ง

แล้วเอาใบพลูดับเพลิงเทียนไชยให้สิ้นทั้งเปลวทั้งถ่าน แล้วให้นิมนต์พระสงฆ์ออกมาประน้ำพระพุทธมนต์ โปรยทรายให้รอบเมืองและที่หลักเมืองด้วย

ครั้นเวลาบ่าย ให้เจ้าพนักงานตั้งบายศรีสมโภชเวียนเทียนหลักเมือง นับเป็นเสร็จพิธีว่าด้วยการฝังหลักเมืองตามตำราฝังหลักเมือง

นอกจากตำราฝังหลักเมืองตามที่กล่าวสรุปมานั้น ยังมีตำราการฝังหลักเมืองอยู่อีก ๓ ฉบับ คือ ตำราพระราชพิธีนครฐาน ฉบับที่ ๑ พระราชพิธีนครฐาน จบบริบูรณ์ ฉบับที่ ๒ และพระราชพิธีฝังหลักพระนคร ฉบับที่ ๓ มีสาระที่พอสรุปเป็นความสังเขปตามลำดับดังนี้

ตำราพระราชพิธีนครฐาน เป็นตำราแบบแผนสำหรับที่จะฝังอาถรรพ์สร้างพระมหานครขึ้นใหม่ ให้ตั้งโรงพระราชพิธี ณ ท่ามกลางพระนครที่ใกล้กับจะฝังหลักเมือง โรง ๑ ให้ตั้งราชวัติ ปักฉัตรธงโดยรอบ และหลุมที่จะฝังหลักเมืองให้ขุดลึก ๗๙ นิ้ว ขุดเป็นหลุมมีปากหลุมเป็น ๑๒ เหลี่ยม กว้างเหลี่ยมละ ๖ นิ้ว เสาหลักเมืองให้ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ขนาดความยาวของเสา ๑๘๗ นิ้ว ฝังลึกลงดิน ๗๙ นิ้ว พ้นดินขึ้นมาสูง ๑๐๘ นิ้ว ให้ตั้งศาลเทวดา ๘ ทิศ สำหรับบูชาเทวดา ๘ พระองค์ และบูชาพระอิศวร พระนารายณ์ พระอินทร์ พระพรหม ให้ขุดเอาดินมาจากทิศทั้ง ๔ ทิศละ ๑ ก้อน เท่าผลมะตูม ให้ปั้นเป็นรูปท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ สมมติให้เป็นดิน ๑ น้ำ ๑ ไฟ ๑ ลม ๑ ให้เอาแผ่นทอง แผ่นเงิน และแผ่นทองแดงเป็นรูปจัตุรัสกว้างยาว ๑๒ นิ้ว สำหรับลงดวง “พระชันษาพระนคร” บรรจุในยอดเสาหลักเมืองให้จัดหาแผ่นศิลา ๑ แผ่น ลง “ยันต์โสฬสมหามงคล” สำหรับรองเสาหลักเมืองในหลุม สิ่งของทั้งหมดให้นำเข้าไว้ในมณฑลโรงพระพิธี ให้เจ้าพนักงานนิมนต์พระสวดพระปริตรและสวด “นครฐานสูตร”

เมื่อถึงวันกำหนดฤกษ์ ให้โหร ๔ คน ถือก้อนดินคนละ ๑ ก้อน ยืนที่ปากหลุมฝังหลักเมืองทั้ง ๔ ทิศ ให้โหรผู้ใหญ่ ๑ คน ถามเป็นอุเทศทิศเทวสังหรณ์ว่า ท่านถือสิ่งอันใด ผู้ถือบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดินนี้ คือ ปถวีธาตุ เป็นสาระวัฒนะ ถามต่อไปว่า สาระวัฒนะนั้นมีคุณเป็นประการใด ผู้ถือบอกว่า ปถวีธาตุสาระวัฒนะนี้มีคุณจะทรงไว้ซึ่งอายุพระนคร ให้บริบูรณ์ด้วยคามนิคม เป็นที่ประชุมประชาชนพลพาหนะ ตั้งแต่ประถมตราบเท่าถึงอวสาน

ให้ผินหน้าไปถามผู้ที่ถือก้อนดินในทิศคำรบ ๒ ว่า ท่านถือสิ่งอันใด ผู้ถือบอกว่าข้าพเจ้าถือก้อนดินนี้ คือ อาโปธาตุ เป็นมหาวัฒนะ ถามต่อไปว่า มหาวัฒนะนั้นมีคุณเป็นประการใด ผู้ถือบอกว่า อาโปธาตุมหาวัฒนะนี้ มีพระคุณให้สมเด็จพระบรมมหากษัตริย์ และเสนาอำมาตย์ราษฎรทั้งหลายเจริญอายุ วรรณะ สุขะ พละ สิริสวัสดิมงคลทั้งปวงต่างๆ

ให้ผินหน้าไปถามผู้ถือก้อนดินในทิศคำรบ ๓ ว่า ท่านถือสิ่งอันใด ผู้ถือบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดินนี้ คือ เตโชธาตุ เป็นเตชะวัฒนะ ถามต่อไปว่า เตชะวัฒนะนั้นมีคุณเป็นประการใด ผู้ถือบอกว่า เตโชธาตุ เตชะวัฒนะนี้ มีพระคุณอาจให้โยธาทหารทั้งปวงแกล้วกล้า มีตบะเดชะแก่หมู่ข้าศึกในทิศต่างๆ

ให้ผินหน้าไปถามผู้ที่ถือก้อนดินในทิศคำรบ ๔ ว่า ท่านถือสิ่งอันใด ผู้ถือบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดินนี้ คือ วาโยธาตุเป็นอลังการวัฒนะ ถามต่อไปว่า อลังการวัฒนะนี้มีคุณเป็นประการใด ผู้ถือบอกว่า วาโยธาตุอลังการวัฒนะนี้ มีพระคุณจะให้เจริญสมบัติธนธัญญาหาร กสิกรรม วานิชกรรมต่างๆ

เมื่อผู้ถือดินกล่าวจบแล้ว ให้ทิ้งก้อนดินอันสมมติเป็นธาตุทั้ง ๔ ลงในหลุมฝังหลักเมืองโดยลำดับกัน แล้วเชิญแผ่นศิลายันต์โสฬสมงคลลงในหลุม แล้วเชิญเสาหลักเมืองลงในหลุมตั้งบนแผ่นศิลา แล้วอัญเชิญเทวดาเข้าประจำรักษาหลักเมือง แล้วจึงกระทำการสักการบูชาด้วยเทียนธูป ดอกไม้ต่างๆ นับเป็นการเสร็จพิธีการฝังหลักเมือง

นอกจากข้อความที่กล่าวสรุปนั้นแล้ว ตำราพระราชพิธีนครฐานยังได้กล่าอธิบายถึงรายละเอียดว่า
ให้ปลูกโรงพิธีอาถรรพ์ ๖ โรง ที่ป้อมทั้ง ๖ ป้อม และป้อมใหญ่ให้ขุดหลุมอาถรรพ์ใหญ่มุมหนึ่งกว้างยาวศอกจัตุรัส ลึก ๖ ศอก และให้ขุดหลุมบริวาร ๘ ทิศ ล้อมหลุมอาถรรพ์ใหญ่จำนวน ๘ หลุม กว้างยาวจัตุรัส ลึก ๔ ศอก ให้ตั้งราชวัติ ปักฉัตรธง วงสายสิญจน์เช่นเดียวกัน ให้ตั้งศาลอีก ๒ ศาล ให้มีเครื่องสักการบูชาเหมือนกัน สำหรับบูชาเจ้ากรุงพาลีศาลหนึ่ง บูชาพระภูมิศาลหนึ่ง ให้เชิญหลักเมืองและดิน ๔ ก้อน แผ่นศิลารองต้นหลักเมืองนำเข้าไว้ในมณฑลโรงพระราชพิธี ให้ตั้งเตียงพระไชยและเทียนไชย เครื่องนมัสการสำรับหนึ่ง ให้ตั้งหม้อน้ำ ๕ หม้อ บาตรทราย ๕ บาตร ให้นิมนต์พระสงฆ์ ๒๐ รูป นั่งปรก ๔ คู่สวด ๑๖ ที่โรงพิธีอาถรรพ์ใหญ่นั้นให้เชิญแผ่นอาถรรพ์ทองแดง แผ่นอาถรรพ์ศิลา และบริวาร รูปราชสีห์ รูปช้าง รูปเต่า เอาเข้าไว้ในมณฑลพิธี ให้มีเตียงรองพระพุทธรูปและเครื่องนมัสการ หม้อน้ำ ๓ หม้อ บาตรทราย ๓ บาตร นิมนต์พระสงฆ์ ๑๐ รูป นั่งปรก ๒ คู่สวด ๘ และให้ปลูกโรงพิธีน้อย ๕ โรง ทั้ง ๕ ป้อม ให้ขุดหลุมอาถรรพ์โรงละ ๑ หลุม กว้างศอก ๑ ลึก ๔ ศอก ให้เชิญแผ่นศิลาอาถรรพ์เข้ามณฑลโรงพิธี โรงละ ๑ แผ่น ให้มีเตียงรองพระพุทธรูปและเครื่องนมัสการ หม้อน้ำ ๓ หม้อ บาตรทราย ๑ บาตร ให้นิมนต์พระสงฆ์สวดทั้ง ๗ โรงพิธี จำนวน ๘๐ รูป วันต้นสวดเจ็ดตำนาน วันกลางสวดสิบสองตำนาน วันสุดท้ายสวดพระธรรมจักรและพระมหาสมัย ที่โรงพิธีใหญ่นั้นสวดท้องภาณ แบ่งเป็น ๒ ร้าน ข้างละ ๒ รูป สวดภาณวารร้าน ๑ สวดนครฐานสูตรร้าน ๑ ที่โรงพิธีป้อม ๒ โรงนั้น สวดนครฐานสูตรร้านเดียว สวดครบ ๓ วัน ๓ คืน

อนึ่ง เวลาเย็นเมื่อจะสวดมนต์ทั้ง ๓ วันนั้น ให้โหรบูชาเทวดาด้วยเครื่องกระยาบวชทุกๆ ศาล ให้เจ้าพนักงานประโคมปี่พาทย์ฆ้องไชยแตรสังข์ ครั้นรุ่งขึ้นเป็นวันคำรบ ๔ เป็นฤกษ์ ให้ตั้งบายศรี และเครื่องพลีกรรมมัจฉะมังสาหารบูชาเทวดาทุกๆ ศาล ให้นิมนต์พระสงฆ์ประน้ำพระพุทธมนต์และโปรายทรายไปรอบที่ขุดรากจะก่อกำแพงเมือง ครั้นถึงเวลาฤกษ์จึงให้ทิ้งก้อนดินทั้ง ๔ ก้อนลงในหลุม แล้วเชิญแผ่นศิลารองต้นหลักและหลักเมืองลงหลุมป้อมทั้ง ๖ ป้อม ให้เชิญอาถรรพ์ลงหลุมพร้อมกัน ให้เจ้าพนักงานประโคมปี่พาทย์ฆ้องชัยแตรสังข์ โห่ร้อง ยิงปืนเอาฤกษ์ พระสงฆ์ทั้งหมดสวดมหาชัยมงคลปริตร แล้วผูกตรึงหลักเมืองและอาถรรพ์ นับเป็นสำเร็จการพระราชพิธีนครฐานบริบูรณ์

สำหรับพระตำราพระราชพิธีนครฐาน นับเป็นอีกตำราหนึ่ง ที่ว่าด้วยการฝังหลักเมือง มีสาระที่พอสรุปเป็นความสังเขปดังนี้

สิทธิการิยะ ซึ่งการที่จะฝังหลักพระนครนั้น ให้เอาไม้ชัยพฤกษ์มาทำเป็นเสาหลักเมือง เอาไม้แก่นประกอบนอกให้เสาหลักเมืองสูงพ้นดินขึ้นมา ๑๐๘ นิ้ว ลึกลงดิน ๗๙ นิ้ว คิดเป็นความยาวของเสาหลักเมือง ๗ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว มีเม็ดยอดสวมบนปลายหลัก ลงรักปิดทองให้ทำเป็นช่องสำหรับเป็นที่บรรจุดวงชาตาเมือง ครั้นถึงวันฤกษ์ ให้เอาแผ่นทอง แผ่นเงิน หนักแผ่นละ ๑ ตำลึง กว้างยาว ๑๒ นิ้วจัตุรัส สำหรับลงดวงชาตาเมืองในพระอุโบสถ มียันต์ล้อม เมื่อจะลงยันต์ให้มีบายศรี เทียนทอง ๕ ธูป เงิน ๕ และเครื่องบูชาพร้อม ให้เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์ แล้วบรรจุในยอดหลักเมือง และลงยันต์แผ่นศิลา ๑ แผ่น สำหรับรองหลักเมืองในหลุม ให้เอาแผ่นเงินหนัก ๑ บาท ๒ แผ่น ลงยันต์ปิดต้นหลักเมือง ให้ขุดหลุมลึก ๖ ศอก ทำปากหลุมเป็น ๑๒ เหลี่ยม กว้างเหลี่ยมละ ๒ ศอก ให้ไปพลีเอามูลดินมาจากทิศทั้ง ๔ ทิศพระนคร ทิศละ ๑ ก้อน ก้อนเท่าลูกนิมิต ทาด้วยดินสอพองและโคมัยแป้งหอมน้ำมันหอม ให้ปลูกโรงพระราชพิธีในที่ใกล้หลุมซึ่งจะฝังหลักเมือง ให้ตั้งศาลท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ทิศ ศาลพระอินทร์อยู่ท่ามกลาง ให้ตั้งราชวัติ ปักฉัตรธง ผูกต้นกล้วยต้นอ้อยให้รอบโรงพระราชพิธี และที่หลุมฝังหลักเมืองนั้น ให้มีโรงพิธีพราหมณ์บูชาเทวรูปพระไสยศาสตร์โรงหนึ่ง

ให้เจ้าพนักงานฟั่นเทียนไชย ขี้ผึ้งหนัก ๔ ชั่ง ให้มีเครื่องนมัสการสำรับหนึ่ง ครั้งถึงวันจะสวดพระราชพิธี จึงให้อัญเชิญพระไชย พระธรรม มาตั้งในโรงพระราชพิธี พร้อมทั้งหลักเมือง แผ่นศิลาสำหรับรองเสาหลักเมืองและแผ่นยันต์สำหรับปิดต้นปิดปลายหลักเมืองก้อนดิน ๔ ก้อน บาตรน้ำ ๓ บาตร บาตรทราย ๑ บาตร ให้นำเอามาเข้าไว้ในมณฑลโรงพระราชพิธี ให้วงสายสิญจน์รอบสองชั้น ให้นิมนต์พระสงฆ์สวดพระปริตร ๓ วัน คู่สวด ๔ สำรับ สำรับละ ๕ รูป สวดพระจตุภาณวาร ๒ สวดนครฐานสูตร ๒ รวมเป็นพระสงฆ์ ๒๐ รูป และพระสงฆ์ราชาคณะ ๑๕ รูป รวมเป็นพระสงฆ์ ๓๕ รูป ให้มีบายศรีตองวันละ ๒ สำรับ เทียนเงิน เทียนทอง วันละ ๒ คู่ มีเครื่องกระยาบวชธูปเทียนตั้งบนศาลทั้ง ๕ ศาล ให้โหรบูชาเทวดาเวลาเย็นทั้ง ๓ วัน ให้เจ้าพนักงานประโคมปี่พาทย์ ฆ้องชัย แตร สังข์

ครั้นรุ่งขึ้นเป็นวันคำรบ ๔ เป็นวันพระฤกษ์ ให้ตั้งบายศรีแก้ว บายศรีทอง บายศรีเงิน ๓ สำรับ และเทียนเงิน เทียนทอง สิ่งละ ๓ เล่ม สำหรับบูชาพระฤกษ์ ให้ตั้งเครื่องมัจฉะมังสาหารและบายศรีศีรษะสุกร ธูปเทียนทั้ง ๕ ศาล สำหรับโหรบูชาเทวดา แล้วเชิญหลักเมืองและแผ่นศิลาพร้อมกับก้อนดินทั้ง ๔ ก้อน บาตรน้ำ บาตรทราย ไปสู่ที่ใกล้หลุมให้โหรทั้ง ๔ คนถือก้อนดินคนละก้อนยืนอยู่ที่ปากหลุมทั้ง ๔ ทิศ ครั้นถึงเวลาฤกษ์ให้โหรผู้ใหญ่คนหนึ่งบ่ายหน้าไปสู่บูรพาทิศ แล้วกล่าวประกาศเป็นอุทิศเทพสังหรณ์ว่า

ท่านถือสิ่งอันใด โหรผู้ถือก้อนดินอยู่ฝ่ายบูรพาทิศบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดินก้อนนี้ คือ ปถวีธาตุ สารวัฒนะ อาจยังสรรพธัญญาหารและพืชผลพฤกษาลดาชาติทั้งปวงต่างๆ ให้ผลิตผลงามบริบูรณ์ทั่วพื้นภูมิภาคในบริเวณจังหวัดพระราชอาณาเขตทั้งสิ้น

โหรผู้ใหญ่จึงบ่ายหน้าไปสู่ทักษิณทิศแล้วถามว่า ท่านถือสิ่งอันใด โหรผู้ถือก้อนดินยืนอยู่ฝ่ายทักษิณทิศบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดินก้อนนี้ คือ อาโปธาตุมหาวัฒนะ อาจยังห่าฝนให้ตกต้องควรแก่ฤดูกาล เป็นอุปการะแก่สรรพสิ่งธัญญาหารและพืชผลพฤกษาลดาวัลย์สรรพมัจฉาชาติให้บริบูรณ์ทั่วบริเวณจังหวัดพระราชอาณาเขตทั้งสิ้น

โหรผู้ใหญ่จึงบ่ายหน้าไปสู่ปัจฉิมทิศแล้วถามว่า ท่านถือสิ่งอันใด โหรผู้ถือก้อนดินยืนอยู่ฝ่ายปัจฉิมทิศบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดินก้อนนี้ คือ เตโชธาตุชะวัฒนะ อาจยังเสนาอำมาตย์ราชจตุรงคโยธาหารทั้งปวง ให้มีเดชานุภาพปราบอริราชไพรีให้ปราชัยมิได้มาย่ำยีบีฑาในบริเวณจังหวัดพระราชอาณาเขตทั้งสิ้น

โหรผู้ใหญ่บ่ายหน้าไปสู่อุดรทิศ แล้วถามว่า ท่านถือสิ่งอันใด โหรผู้ถือก้อนดินฝ่ายอุดรทิศบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดินนี้ คือ วาโยธาตุอลังการวัฒนะ อาจยังพ่อค้าวานิชในนานาประเทศให้นำมาซึ่งสำเภานาวาบรรทุกสรรพวัตถุสั่งของเครื่องอุปโคบริโภคต่างๆ อันเป็นของประดับพระนครให้บริบูรณ์ในบริเวณจังหวัดพระราชอาณาเขตทั้งสิ้น

เมื่อโหรผู้ถือก้อนดินฝ่ายอุดรทิศบอกจบแล้ว ให้โหรทั้ง ๔ ที่ถือก้อนดินยืนอยู่ทิศทั้ง ๔ ทิ้งก้อนดินลงในหลุมฝังเสาหลักเมืองโดยลำดับ แล้วจึงเชิญแผ่นศิลาวางบนก้อนดินในหลุม แล้วเชิญเสาหลักเมืองลงในหลุมตั้งบนแผ่นศิลา กลบดินให้แน่น ห้ามอย่าให้กลบด้วยเท้า เจ้าพนักงานประโคมดุริยางค์ดนตรี ฆ้องไชย แตรสังข์ และยิงปืนใหญ่ทั้ง ๔ ทิศ แล้วประน้ำโปรยทราย เอาผ้าสีชมพูห้อยทำขวัญเสาหลักเมือง ให้ปิดยันต์ที่ปลายเสาหลักเมืองและต้นเสาหลักเมืองบนดิน แล้วเจิมด้วยแป้งหอมน้ำมันหอม ห้อยพวงดอกไม้ มีเงินกำนัล ๓ ตำลึง เงินนี้ให้ได้แก่โหร แล้วอัญเชิญเทวดาเข้าสิงสถิตในเสาหลักเมือง นับเป็นเสร็จการพระราชพิธีนครฐานฝังเสาหลักเมือง

ตำราต่างๆ ตามที่ได้นำมากล่าวแสดงไว้ข้างต้นนั้น ผู้ที่ใส่ใจด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีคงจะทราบแล้วว่า เสาหลักเมืองหรือหลักพระนครนั้นมีความสำคัญมากน้อยเพียงไร และคงจะไม่ทำขึ้นโดยปราศจากเหตุผล ทั้งนี้ก็เพื่อหวังความเจริญสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลแก่บ้านแก่เมืองเท่านั้น



ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร


ภาพจากศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

คำขอขมากรรม – องค์พระหลักเมือง
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ (๓ จบ)
อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ
พระเสื้อบ้าน ทรงบ้าน พระเสื้อเมือง ทรงเมือง องค์พระหลักเมือง
นายอิน นายจัน นายมั่น นายคง ดวงวิญญาณบรรพบุรุษขมามิหัง
ลูกกราบขมาลาโทษ ที่เคยสบประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ตั้งแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบัน ในวันนี้  ด้วยกาย วาจา ใจ ก็ดี  รู้หรือไม่ ก็ดี
ตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ ก็ดี ระลึกได้ หรือระลึกไม่ได้ ก็ดี โปรดอภัยโทษ อโหสิกรรม
ให้แก่ลูกหลานด้วย ขอให้ลูกปราศจากทุกข์ โศก โรคภัยและอันตรายทั้งปวง
คิดทำกิจการงานใดขออย่าได้ขัด ได้คล่อง ขอให้สัมฤทธิ์ผลดังใจปรารถนา
ลูกขอน้อมถวายแด่ องค์พระหลักเมือง  ๒๓ ต.ค.๒๕๕๕


ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสร้างเสาหลักเมืองสำหรับพระนคร มีอยู่ด้วยกัน ๒ คราว คือ

ครั้งแรก ในคราวสร้างพระนครรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีฝังหลักเมืองตามพระฤกษ์ที่กำหนด เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล จัตวาศก จ.ศ.๑๑๔๔ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ เวลา ๐๖.๕๔ นาฬิกา

ครั้งที่ ๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหลักเมืองขึ้นใหม่ ด้วยทรงพระราชดำริว่า เสาหลักเมืองที่ได้สร้างขึ้นไว้แต่ครั้งรัชกาลสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชเจ้า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้น ได้ชำรุดไปตามสภาพกาลเวลาสมควรที่จะได้สถาปนาขึ้นใหม่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาหลักเมืองด้วยไม้สักเป็นแกนอยู่ภายใน ส่วนนอกนั้นประกอบด้วยไม้ไชยพฤกษ์ ๖ แผ่น ขนาดกว้างแผ่นละ ๘ นิ้ว ยอดเสาทำเป็นเม็ดทรงมัณฑ์ ลงรักปิดทอง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีจารึกดวงชาตาพระนครบนแผ่นทองคำ หนัก ๑ บาท แผ่นกว้าง ๕ นิ้ว เมื่อวันอาทิตย์แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ.๑๒๑๔ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๙๕ มีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าวาสุกรี) ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธุ์ พร้อมกับพระสงฆ์ราชาคณะอีก ๓ รูป รวมเป็น ๕ รูป เจริญพระปริตร

ตามหมายรับสั่งรัชกาลที่ ๔ (เอกสารหมู่พระราชพิธี เลขที่ ๑๔๗๖) ปีฉลู เบญจศก จ.ศ.๑๒๑๕ พระฤกษ์บรรจุเสาหลักเมือง ณ วันอาทิตย์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๙๖ เวลาย่ำรุ่งแล้ว ๒ โมง กับ ๘ บาท

ครั้นเวลาพระฤกษ์ โหรบูชาฤกษ์ พระยาโหราธิบดีอัญเชิญดวงชาตาพระนครรัตนโกสินทร์ เข้าบรรจุในยอดหลักเมืองแล้วติดรูปเทวดาพระหลักเมืองที่ใต้เม็ดยอดหลักเมือง ขณะนั้นชาวพนักงานประโคมปี่พาทย์ กลองแขก ฆ้องชัย แตร สังข์ ทหารยิงปืนใหญ่พระมหาฤกษ์ พระมหาชัย มหาจักร มหาปราบ ทั้ง ๔ ทิศ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา พระยาโหราธิบดีประน้ำโปรยทราย ผูกผ้าชมพูที่หลักเมือง แล้วเวียนเทียนเจิมด้วยแป้งหอม น้ำมันหอม ห้อยพวงดอกไม้

ครั้นเวลา ๗ ทุ่ม ๓ บาท พระยาโหราธิบดี อ่านประกาศอัญเชิญเทวดาเข้าประดิษฐานในเทวรูปบนยอดหลักเมือง อ่านจบแล้วพระยาโหราธิบดีสวมเม็ดทรงมัณฑ์ที่ยอดหลักเมืองแล้วตรึงเหล็ก เป็นเสร็จพิธี

ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันจันทร์ที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๙๖ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ.๑๒๑๕ รัตนโกสินทรศก ๗๒ ที่ศาลหลักเมืองเวลาเช้ามีพิธีเวียนเทียนสมโภชหลักเมือง และได้ป่าวประกาศให้ราษฎรมาร่วมพิธีสมโภชหลักเมืองในครั้งนั้นด้วย และคอยรับแว่นเวียนเทียน มีปี่พาทย์เชลยศักดิ์ ๔ วง พันจันทนุมาศเป็นผู้เกณฑ์มา และหมื่นเทวาจัดฆ้องชัยมาคอยประโคมขณะเวียนเทียนสมโภชหลักเมือง กรมวังจัดเพลงมา และกรมเมืองจัดละครแสดงสมโภชหลักเมืองด้วย

ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๒๕ ตรงกับปีมะเส็ง จัตวาศก การประดิษฐานพระนครรัตนโกสินทร์ มาครบ ๑๐๐ ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นครั้งใหญ่ รวม ๓ วัน คือ วันอังคารที่ ๑๘ ถึงวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๒๕ เวลาเช้า

วันรุ่งขึ้นถวายภัตตาหารทั้ง ๓ วัน เฉพาะที่ศาลหลักเมือง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์วันละ ๓๐ รูป

ครั้นถึงปีวอก จัตวาศก จ.ศ.๑๒๙๔ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระนครรัตนโกสินทร์ประดิษฐานมาครบ ๑๕๐ ปี ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๗๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์และมีงานสมโภชหลักเมืองเป็นการเนื่องในพระราชพิธีคราวนั้นด้วย


โปรดติดตามตอนต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มิถุนายน 2562 10:09:40 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 02 มีนาคม 2560 13:30:35 »



หลักเมืองกรุงเทพมหานคร

ศาลหลักเมือง หลักชัยคู่บ้านคู่เมือง

“การสร้างเมือง” ตามประเพณีไทยแต่โบราณนั้น เมื่อจะมีการสร้างเมืองใหม่ ต้องหาฤกษ์หายามอันเป็นมงคลยิ่ง ทำพิธีฝัง “เสาหลักเมือง” เพื่อเป็นมิ่งขวัญและเป็นนิมิตมงคลแก่บ้านแก่เมือง หลังจากนั้นจึงจะดำเนินการสร้างบ้านสร้างเมืองกันต่อไป

ใน “พงศาวดาร” ยังได้กล่าวถึงประเพณีการสร้างเสาหลักเมืองของชนชาติไทยว่า มีปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี มาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายเรื่อง “เสาหลักเมือง” ไว้ในหนังสือวงวรรณคดี ฉบับเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๙๑ ตอนหนึ่งว่า …

“หลักเมือง” เป็นประเพณีพราหมณ์ มีมาแต่อินเดีย ไทยตั้งเสาหลักเมืองขึ้นตามธรรมเนียมพราหมณ์ ที่จะเกิดหลักเมืองนั้น คงจะเป็นด้วย “ประชุมชน” ประชุมชนนั้นต่างกัน ที่อยู่เป็นหมู่บ้านก็มี หมู่บ้านหลายๆ หมู่ รวมกันเป็นตำบล ตำบลตั้งขึ้นเป็นอำเภอ อำเภอนั้นเดิมเรียกว่า “เมือง” เมืองหลายๆ เมืองรวมเป็นเมืองใหญ่ๆ เมืองใหญ่ๆ หลายๆ เมือง รวมเป็น มหานคร คือ “เมืองมหานคร”

ตัวอย่างหลักเมืองเก่าแก่ที่สุดในสยามประเทศนี้ ก็คือ หลักเมืองศรีเทพ ในแถบเพชรบูรณ์ ทำด้วยศิลาจารึก อยู่ในพิพิธภัณฑสถานบัดนี้

เรียกเป็นภาษาอินเดียในสันสกฤตว่า “ขีล” (แปลว่า เสาหรือตะปู) เป็นมคธว่า “อินทขีล” แปลว่า “เสาหรือตะปูของพระอินทร์ (หรือผู้เป็นใหญ่)”หลักเมืองศรีเทพทำเป็นรูปตะปูหัวเห็ด หลักเมืองชั้นหลังคงทำด้วยหินบ้างไม้บ้าง

เสาหลักเมืองที่กรุงเทพฯ ทำด้วยไม้ ได้ตั้งพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ฤกษ์ เวลาย่ำรุ่งแล้ว ๕๔ นาที ตรงกับปีขาลจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ พ.ศ.๒๓๒๕ หลักเมืองนี้ เดิมทีมีหลังคาเป็นรูปศาลา มาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงก่อสร้างและปรับปรุงถาวรวัตถุต่างๆ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกยอดปรางค์ต่างๆ ตามแบบอย่างศาลที่กรุงเก่า และที่ศาลเสื้อเมือง ทรงเมือง ศาลพระกาฬ และศาลเจตคุปต์ เดิมหลังคาเป็นศาลา ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อปรางค์เหมือนศาลเจ้าหลักเมือง…”

จากพระราชนิพนธ์นี้ ทำให้ทราบว่า ประเพณีการตั้ง “เสาหลักเมือง” มาจากประเพณีพราหมณ์ ซึ่งศาสนาพราหมณ์นั้นรุ่งเรืองอยู่ในชมพูทวีปมาก่อนพุทธศาสนา ครั้นสมัยต่อมาเมื่อพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในชมพูทวีป พิธีการทางศาสนาก็ปะปนกันระหว่างพราหมณ์และพุทธ แล้วเผยแผ่เข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัยสุโขทัย เจริญรุ่งเรืองคู่กันสืบต่อมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงยุคปัจจุบัน ประเพณีพราหมณ์ก็ยังคงเป็นพิธีที่นับเนื่องอยู่ในการพระราชพิธีต่างๆ

อาทิ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันพืชมงคล เป็นต้น แม้แต่ในสังคมสามัญชนที่เห็นได้ชัดเจน ก็คือ การตั้งศาลพระภูมิ ในอาณาเขตบ้านนั่นเอง

การตั้งเสาหลักเมือง เมื่อจะมีการสร้างเมืองขึ้นใหม่ นับเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อมากันมา ดังจะเห็นว่า เมื่อแรกสร้างกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.๑๘๙๓ นั้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือ พระเจ้าอู่ทอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มี “พิธีกลบบัตรสุมเพลิง” เพื่อตั้งเสาหลักเมือง และในการขุดดินปฐมฤกษ์ตรงใต้ต้นหมันนั้น พราหมณ์ผู้ประกอบพิธีขุดพบ “หอยสังข์สีขาว” อันถือเป็นมงคลยิ่ง จึงถือเอา “หอยสังข์ ปราสาท และต้นหมัน” เป็นสัญลักษณ์ของกรุงศรีอยุธยามาจนทุกวันนี้ เป็นต้น

เมื่อสร้างเสาหลักเมือง ก็จะต้องมีการสร้างศาสนสถานเพื่อประดิษฐาน เรียกว่า “ศาลหลักเมือง” ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นศาลาจัตุรมุขทรงไทย มีประตูทั้งสี่ด้าน ยอดอาจเป็นแบบปรางค์ แบบปราสาท แบบมณฑป หรือ เป็นศาลเจ้าแบบจีน ตามศรัทธาของผู้คนในพื้นที่นั้นๆ บางพื้นที่อาจพบร่วมกันทั้งเสาหลัก เมือง และศาลเจ้าแบบจีน ซึ่งมักมีองค์ประธานศาลเจ้าเป็นเทวรูปไม้ หรือศิลา เรียกว่า “เจ้าพ่อหลักเมือง” หรือ “เจ้าแม่หลักเมือง” สถานที่ตั้งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชุมชนเมืองเก่า อาจเป็นตัวจังหวัด หน้าศาลากลางจังหวัด บางอำเภอก็มี เนื่องจากบางอำเภอก็เป็นเมืองเก่ามาก่อน และในชุมชนเล็กๆ ก็อาจมีได้เช่นกัน

ไม่ว่าจะเรียก ศาลหลักเมือง เสาหลักเมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เจ้าแม่หลักเมือง หรืออื่นใดก็ตาม ด้วยเจตนาการจัดสร้างเพื่อเป็นหลักชัย เป็นมิ่งขวัญ และเป็นนิมิตมงคล จึงเป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวเมือง มีความศักดิ์สิทธิ์และความอัศจรรย์เป็นที่ปรากฏ โดยจะเห็นได้จากสิ่งของแก้บน ทั้ง หัวหมู บายศรี ผลไม้ ละครรำ ช้าง ม้า ฯลฯ ที่ตั้งเรียงรายอยู่เต็มบริเวณหน้าศาล…



หลักเมืองกรุงเทพมหานคร

หลักเมืองกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร มี “เสาหลักเมือง” คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่ครั้ง “สร้างกรุงรัตนโกสินทร์” ประดิษฐาน ณ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เยื้องกับพระบรมมหาราชวัง จึงถือเป็น “หลักชัยคู่บารมีกรุงรัตนโกสินทร์”

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร สร้างพร้อมกับ “การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี” ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตามประเพณีปฏิบัติที่สืบทอดกันมา เป็นหนึ่งในพิธีพราหมณ์ที่ว่าไว้ว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคล โดยโหรหลวงจะต้องผูกชะตาเมืองถวาย พร้อมกับทำนายเหตุการณ์บ้านเมืองล่วงหน้า แล้วบรรจุ “ดวงชะตาเมือง” ไว้ในเสาหลักเมืองด้วย

มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า…เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้โหรผูกชะตาเมืองกรุงเทพฯ ที่จะสร้างขึ้นใหม่นั้น โหรหลวงได้ทูลเกล้าฯ ถวายดวงเมือง ๒ แบบ คือ ดวงเมืองแบบหนึ่ง บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรือง ไม่มีเหตุวุ่นวาย แต่ทว่าจะต้องมีอยู่ระยะหนึ่งที่ประเทศไทยต้องตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ ส่วนอีกดวงเมืองหนึ่งนั้น ประเทศไทยจะมีแต่เรื่องยุ่งวุ่นวายไม่มีที่สิ้นสุด แต่ทว่าจะสามารถรักษาเอกราชได้ตลอดไป ปรากฏว่า พระองค์ทรงเลือกดวงเมืองตามแบบหลัง อาจเป็นเพราะทรงมีพระราชดำริว่า การที่จะต้องตกไปเป็นเมืองขึ้นของชาติอื่นนั้น แม้บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรืองแค่ไหน ก็ไม่มีความหมายอันใด ถ้าสิ้นความเป็นไท…

ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๑ โปรดฯ ให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ เวลา ๐๖.๕๔ นาฬิกา ตามฤกษ์มงคล การฝังเสาหลักเมืองประกอบพระราชพิธีตามพระตำราที่เรียกว่า “พระราชพิธีนครฐาน” โดยใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา ๒๙ เซนติเมตร สูง ๑๘๗ นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน ๑๐๘ นิ้ว ฝังลงในดินลึก ๗๙ นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุ “ดวงชะตาเมือง”

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๙๕ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขุดเสาหลักเมืองเดิมที่ชำรุด และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทน เป็นแกนไม้สัก ประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ๖ แผ่น สูง ๑๐๘ นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง ๗๐ นิ้ว บรรจุ “ดวงชะตาเมือง” ในยอดเสาทรงมัณฑ์ ที่มีความสูงกว่า ๕ เมตร แล้วทรงอัญเชิญหลักเมืองเดิมและหลักเมืองใหม่ ประดิษฐานใน “ศาลหลักเมือง” ที่สร้างใหม่ มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว ได้แบบอย่างจาก “ศาลหลักเมืองกรุงศรีอยุธยา” ตามอุดมมงคลฤกษ์ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๙๕ เวลา ๐๔.๔๘ น.

เสาหลักเมืองของกรุงเทพมหานคร จึงมีด้วยกัน ๒ หลัก ซึ่งถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์หลักประจำศาลฯ นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐาน “เทพารักษ์องค์สำคัญ ๕ องค์” ประกอบด้วย พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าพ่อเจตคุปต์ และเจ้าพ่อหอกลอง เพื่อปกป้องคุ้มครองและสร้างความร่มเย็นแก่ประเทศชาติและประชาชนที่พึ่งพระบรมโพธิสมภารทั่วประเทศ

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร จึงนับเป็นหลักชัยที่เคารพศรัทธาและที่พึ่งทางใจของผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ เมื่อใดที่มีโอกาสเข้ามาในอาณาบริเวณ ก็จะต้องมากราบสักการะขอพร โดยเชื่อว่า หากได้มาขอพร “เสาหลักเมือง” และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ณ ศาลหลักเมืองนี้แล้ว จะตัดเคราะห์ เสริมโชคชะตา เสริมความมั่นคงรุ่งเรืองในชีวิต และประสบความสำเร็จในสัมมาอาชีพ แต่ละวันจึงมีผู้คนมากราบไหว้กันเป็นจำนวนมาก โดยทางศาลฯ ได้จัดสร้าง “เสาหลักเมืองจำลอง” ให้ได้สรงน้ำ ปิดทอง และผูกผ้าแพร ก่อนเข้าไป สักการะองค์จริงที่อยู่ด้านในครับผม

คาถาบูชาองค์พระหลักเมือง  ท่องนะโม ๓ จบ ต่อด้วยพระคาถา … ศรีโรเม เทพเทวานัง พระหลักเมืองเทวานัง พระภูมิเทวานัง ทีปธูปจะบุปผัง สักการะวันทนัง สูปพยัญชนะ สัมปันนัง สารีนัง อุททะกัง วะรัง เตปิตุมเห อานุรักษ์ขันตุ อาโรขเยนะ สุเขนะจะ



ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร








โปรดติดตามตอนต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พฤษภาคม 2566 10:20:07 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2564 21:07:44 »



ศาลหลักเมืองจังหวัดชัยนาท (Chainat City Pillar Shrine)
ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดชัยนาท

ในการสร้างบ้านสร้างเรือนของคนไทยแต่เก่าก่อน นิยมสร้างบ้านเรือนยกใต้ถุนให้สูงขึ้นจากพื้นดิน อาจจะเพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก หรืออาจยกสูงเพื่อป้องกันภัยจากสัตว์มีพิษที่อยู่ตามพื้นดิน คนไทยแต่เก่าก่อนจึงต้องมีการขุดหลุมเพื่อลงเสาของบ้านก่อนที่จะก่อร่างสร้างตัวบ้านตัวเรือนต่อไป ซึ่งเสาหลักแรกของบ้านที่ปักลงไปนั้น มักจะมีพิธีกรรมในการบูชาเสาหลักแรกของบ้านควบคู่กันไปด้วย ด้วยความเชื่อว่าจะเป็นมงคลกับบ้านนั้น และเป็นมงคลกับผู้อาศัยต่อไปในภายภาคหน้า

การก่อร่างสร้างเมือง ก็มีความเชื่อที่ไปในแนวทางเดียวกัน กล่าวคือ ต้องมีการลงหลักปักฐาน ให้เป็นสัญลักษณ์ว่าจะมีการก่อร่างบ้านเมือง ณ ถิ่นที่นี้ ซึ่งถือว่าได้ว่าการลงหลักเมือง นั้น เปรียบดังเป็นหลักชัยของบ้านเมืองและหลักใจของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมือง และขวัญของประชาชน

สำหรับประเพณีการตั้งหลักเมืองของไทยนั้นประกอบไปด้วย ๒ แนวคิด คือ ๑.แนวคิดที่ว่า เสาหลักเมืองเป็นวัฒนธรรมที่จากอินเดียและเป็นคติของพราหมณ์ ซึ่งจะเห็นได้จากการประกอบพิธีการตั้งเสาหลักเมือง มักเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์เป็นส่วนใหญ่ ๒.แนวคิดที่ว่าความเชื่อเรื่องเสาหลักเมือง เป็นคติของไทยที่พัฒนามาจากลัทธิผีสางเทวดาของไทย ได้แก่ คติผีบรรพบุรุษ หอผีประจำหมู่บ้าน ผีเรือนบนหิ้งเสาเอก ตลอดจนผีบ้าน ไปจนถึงศาลผีมเหศักดิ์หลักเมืองในที่สุด

ศาลหลักเมืองจังหวัดชัยนาท (Chainat City Pillar Shrine) ตั้งอยู่บริเวณเขื่อนเรียงหินริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดชัยนาท โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบการสร้าง เป็นอาคารมณฑปจตุรมุข ในผังสี่เหลี่ยมจตุรัส ก่ออิฐฉาบปูนขาว ที่หน้าบันของมุขทั้ง ๔ เป็นลวดลายกลีบบัว หลังคามุงกระเบื้องเกล็ด มีความสูงจากพื้นดินถึงยอด ๒๑.๓๘ เมตร
 
เสาหลักเมืองจังหวัดชัยนาท กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบในการสร้าง เสาหลักเมือง สร้างจากไม้ชัยพฤกษ์ มีลักษณะเป็นเสากลมเรียวปลาย ยอดเสาหลักเมืองกลึงเป็นรูปหัวเม็ดทรงมัณฑ์ เสาหลักเมืองมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒๕.๕ เซนติเมตร สูง ๓.๑๙ เมตร ความสูงจากพื้นศาลถึงยอด ๓.๔๔ เมตร สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๐ และในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ในปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงประกอบพิธีเปิดศาลหลักเมือง ณ ศาลหลักเมืองจังหวัดชัยนาท นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่มีต่อพสกนิกร ชาวชัยนาท ตราบจนปัจจุบัน





คาถาบูชาสักการะองค์หลักเมือง
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)
ศรีโรเม เทพเทวานัง พระหลัเมือง เทวานัง พระภูมิ เทวานัง ทีปะธูปะจะบุปผัง
สักการะ วันทะนัง สูปพยัญชนะ สัมปันนัง โภชะนานัง สารีนัง อุททะกังวัง
เตปิตุมเห อานุรักษ์ขันตุ อาโรขะเยนะ สุเขนะจะฯ


คำขอขมาองค์หลักเมือง
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)
อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ
พระเสื้อบ้าน ทรงเมือง  พระเสื้อเมือง ทรงเมือง
องค์พระหลักเมือง นายอิน นายจัน นายมั่น นายคง ดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ขมามิหัง
ลูกกราบขอขมาลาโทษ ที่เคยสบประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน
ในวันนี้ด้วยกาย วาจา ใจ ก็ดี  รู้หรือไม่รู้ ก็ดี  ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็ดี  ระลึกได้หรือระลึกไม่ได้ ก็ดี
โปรดอภัยโทษ อโหสิกรรมให้ลูกด้วย ขอให้ปราศจากทุกข์ โศก โรคภัย
คิดทำกิจการงานใด ขออย่าได้ขัด ได้คล่อง ขอให้สัมฤทธิ์ผลดังใจปรารถนาเทอญ


ขอขอบคุณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี (ที่มาข้อมูล)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พฤษภาคม 2566 10:20:40 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2564 21:16:54 »



บนเสาอินทขีลหรือเสาหลักเมืองเชียงใหม่ เป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง




เสาอินทขีล หรือเสาหลักเมืองเชียงใหม่
ประดิษฐาน ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ถ.พระปกเกล้า ต.พระสิงห์ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่  

ในพงศาวดาร กล่าวถึงการสร้างเสาหลักเมืองของไทย มีมาตั้งแต่ครั้ง กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์  ว่ากันว่าเสาหลักเมืองเป็นเสาแห่งความมั่นคงตามดวงชะตาที่จะกำหนดความเจริญและความเสื่อมของเมือง ตามโบราณราชประเพณีหลักบ้านหลักเมืองถือเป็นฤกษ์นิมิตมงคลในบ้านเมือง เพราะก่อนลงเสาหลักเมืองจะมีพิธีทำนายดวงเมือง แล้วผูกเป็นปูมตำนาน รอการพิสูจน์ในรุ่นต่อๆ มา ดั่งเรื่องเล่าการผูกชะตาเมืองกรุงเทพฯ ครั้ง ร.๑ โดย โหรหลวงได้ทูลเกล้าฯ ถวายดวงเมือง ๒ แบบให้เลือก และสุดอัศจรรย์ยิ่งว่า หลังจาก ๑๕๐ ปีผ่านพ้น ล้วนเป็นไปดั่งฟ้าลิขิต


เสาอินทขีล หรือเสาหลักเมืองเชียงใหม่

เกือบทุกจังหวัดในไทย จะมีเสาหลักเมืองอย่างน้อย ๑ หลัก ที่จังหวัดเชียงใหม่มีเสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง ๑ แห่ง ที่เป็นหลักเมือง

"อินทขีล" น. (คำนาม) แปลว่า เสา หรือ หลักหน้าประตูเมือง , หลักเมือง และธรณีประตู ซึ่งในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกว่าเสาสะดือเมือง หรือเสาอินทขีล

เสาอินทขีลเป็นปูชนียสถานที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ เป็นที่เคารพสักการะมาแต่ครั้งอดีต เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่รวมวิญญาณของชาวเมืองและบรรพบุรุษ  ถูกสร้างขึ้นด้วยพื้นฐานความเชื่อว่า การสร้างเมืองจะต้องมีเสาหลักเมืองเป็นศูนย์รวมแห่งความเชื่อความศรัทธา และจะต้องตั้งอยู่ศูนย์กลางของเมือง ที่เรียกว่า สะดือเมือง สร้างขึ้นเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชจะสถาปนาเมืองเชียงใหม่ ในช่วงประมาณปี พ.ศ.๑๘๓๙ หล่อด้วยโลหะติดกระจกสี ประดิษฐานอยู่ ณ วัดสะดือเมือง หรือวัดอินทขิล  ราวปี พ.ศ.๒๓๔๓ ในสมัยพระเจ้ากาวิละ ได้บูรณะใหม่เป็นเสาปูน บนเสาเป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง เสาอินทขิลนี้สูง ๑.๓๐ เมตร วัดรอบได้ ๖๘ เมตร แท่นพระสูง ๐.๙๗ เมตร วัดโดยรอบได้ ๓.๔๐ เมตร และได้ย้ายเสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง จากวัดอินทขีลสะดือเมือง หรือวัดสะดือเมือง มาประดิษฐานอยู่ ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร หรือวัดโชติการาม  ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงกาลปัจจุบัน

ทุกๆปีในเดือนพฤษภาคมต่อเดือนมิถุนายน จะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมือง มีพิธีสักการะบูชาเสาอินทขิล เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ให้แก่ชาวบ้านชาวเมือง และมีประเพณีสวดคาถาอินทขิลร่วมกับพิธีทางพระพุทธศาสนาควบคู่ไปด้วย โดยงานดังกล่าวได้อัญเชิญพระเจ้าฝนแสนห่าหรือพระพุทธรูปคันธารราษฎร์ อันเป็นพระพุทธรูปที่บันดาลให้ฝนตกมาเป็นประธานในขบวนแห่รอบตัวเมือง เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำ และใส่ขันดอก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต   การ"ใส่ขันดอก" นั้น ประชาชนจะนำดอกไม้ที่ตนเตรียมมาไปวางในพาน (ขัน) เหมือนกับการใส่บาตรดอกไม้ ส่วนภายในวิหารอินทขีลมีการสวดคาถาอินทขิลของพระสงฆ์ ๙ รูป ชาวเชียงใหม่จะทำพิธีบูชาอินทขิลซึ่งฝังอยู่ใต้ดินภายใต้บุษบกที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูป โดยมีมหรสพสมโภชตลอดงาน





ภาพจิตรกรรมภายในหออินทขีล เมืองเชียงใหม่




ทวารบาล วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ถ.พระปกเกล้า ต.พระสิงห์ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่  



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พฤษภาคม 2566 10:21:08 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2566 10:49:55 »



ศาลหลักเมืองจังหวัดกระบี่


ศาลหลักเมืองจังหวัดกระบี่                            สืบเนื่องจากปีพุทธศักราช ๒๔๑๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะแขวงเมืองปกาสัยขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า “เมืองกระบี่” โดยเป็นเมืองออกของเมืองนครศรีธรรมราชตั้งที่ทำการอยู่ ณ บ้านตลาดเก่า ต่อในปีพุทธศักราช ๒๔๑๘ จึงได้แยกเมืองกระบี่ออกเป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานคร

ครั้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๓ พระยารักษฏานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาลประสงค์จะให้เมืองอยู่ใกล้ท่าเรือเพื่อสะดวกในการค้าขาย จึงได้ย้ายที่ทำการจากบ้านตลาดเก่ามาตั้งอยู่ ณ บ้านปากน้ำ อันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน ต่อมาได้มีการปรับปรุงการปกครองมาเป็นลำดับจนถึงปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ จึงได้จัดระเบียบการปกครองเป็นส่วนภูมิภาคเมืองกระบี่จึงเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย

ตามโบราณราชประเพณีเกี่ยวกับการสร้างเมืองมักจะมีการยกเสาหลักเมืองขึ้น ในพื้นที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง เป็นหลักชัยให้ประชาชนได้อยู่ร่วมกันด้วยความวัฒนาสถาพรตลอดไป ซึ่งสำหรับเมืองกระบี่ยังไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการยกเสาหลักเมืองไว้แต่อย่างใด
...ข้อมูลจาก เว็บไซท์ เทศบาลเมืองกระบี่



















บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
"Lemon Soup" อาสาส่ง"ทุกวัน"เพลงกระตุ้น"รัก"ที่เมื่อรู้สึกแล้วต้อง"บอก"
หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
มดเอ๊ก 0 5132 กระทู้ล่าสุด 03 มิถุนายน 2554 10:29:07
โดย มดเอ๊ก
"สามัญชน" ผู้กลายเป็น "ราชินี" และ "เจ้าหญิง" โชคชะตาที่ฟ้าได้ "ลิขิต" ไว้
สุขใจ จิบกาแฟ
Kimleng 0 8151 กระทู้ล่าสุด 17 ธันวาคม 2557 14:13:59
โดย Kimleng
[ไทยรัฐ] - "ลาสต์ ไอดอล" ส่ง "EGAO" ปล่อยMV "หน้ากากน้ำตา" ได้ "คลัง-คูณคลัง" ก
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 962 กระทู้ล่าสุด 09 กุมภาพันธ์ 2565 11:34:09
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ไทยรัฐ] - "ดิโอโก" เหมา 2 "บีจี" ดับ "สุพรรณบุรี" แซง "แบงค็อก" ขึ้นรองฝูง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 762 กระทู้ล่าสุด 28 กุมภาพันธ์ 2565 04:39:18
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ไทยรัฐ] - "วิลลา" เปิดรังเชือด "เซาแธมป์ตัน"-"ฟูแลม" บุกตบ "ฟอเรสต์" คาบ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 404 กระทู้ล่าสุด 17 กันยายน 2565 09:14:41
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.537 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 08:52:41