[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 00:21:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมนูญชีวิต ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)  (อ่าน 1783 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.272 Chrome 50.0.2661.272


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 28 กันยายน 2559 09:58:44 »



ธรรมนูญชีวิต ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

เรื่อง ภัทรภี  พุทธวัณณ  
ภาพ หนังสือ “วิถีแห่งปราชญ์ (ฉบับสมบูรณ์)”  
ภาพประกอบ รุจิกร ธงชัยขาวสอาด


เมื่อเอ่ยนาม “พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์  ปยุตฺโต)”  หรือที่รู้จักกันในนามปากกา “ป.อ. ปยุตฺโต” คำจำกัดความที่ถูกหยิบยกมาอธิบายนั้นคงหลากหลายกันไป  ไม่ว่าจะเป็น…

- พระสงฆ์ผู้สามารถสอบได้นักธรรมเอกและเปรียญธรรม 9 ประโยคตั้งแต่ยังเป็นสามเณร

- พระนักวิชาการ นักคิด  นักเขียนงานทางวิชาการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก  รวมถึงงานชิ้นโบแดงที่ได้รับการยอมรับว่าทรงคุณค่ายิ่งอย่าง“พุทธธรรม” และ “ธรรมนูญชีวิต” จากผลงานจำนวนกว่า 100 เล่ม

- เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน  อำเภอสามพราน  จังหวัดนครปฐม

- ศาสตราจารย์พิเศษ  ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

- คนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพจากองค์การยูเนสโก(UNESCO Prize for Peace Education) ฯลฯ

ด้วยข้อมูลเพียงส่วนหนึ่งจากทั้งหมดก็คงเพียงพอและไม่ถือเป็นการเกินเลยเมื่อสื่อหลายแขนงได้ให้คำจำกัดความที่สามารถสรุปความเป็นตัวท่านได้อย่างตรงจุดและครอบคลุมว่า “ปราชญ์แห่งพระพุทธศาสนา” ผู้ซึ่งมีวิถีแห่งปราชญ์ที่น่าทึ่งและควรค่าแก่การเคารพยกย่อง…นับตั้งแต่จุดกำเนิดเมื่อกว่า 7 ทศวรรษก่อนหน้านี้



ชาติภูมิ

ย้อนกลับไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม  พ.ศ. 2481  ณ บ้านใกล้ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันออก (แม่น้ำสุพรรณบุรีในปัจจุบัน)  บริเวณตลาดศรีประจันต์อำเภอศรีประจันต์  จังหวัดสุพรรณบุรี

ลูกคนที่หกของครอบครัวอารยางกูรได้ถือกำเนิดขึ้น  หลังจากที่มีลูกผู้ชายมาแล้ว5 คน  และลูกสาวอีก 1 คนซึ่งเสียชีวิตไปเมื่ออายุเพียง 1 ขวบเท่านั้น  โดย นายสำราญและ นางชุนกี  ผู้เป็นคุณพ่อคุณแม่ได้ตั้งชื่อให้สมาชิกใหม่ผู้นี้ว่า “ประยุทธ์”

ถึงแม้ว่าเด็กชายประยุทธ์จะเกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะมั่นคงจากกิจการมากมายไม่ว่าจะเป็นธุรกิจค้าขายผ้าแพร  ผ้าไหมขายของชำ  และโรงสีไฟขนาดกลางซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 10 ไร่  แต่เส้นทางชีวิตของเขาก็ต้องพบกับบททดสอบอันหนักหนาสาหัสมาตั้งแต่เล็ก

ด้วยวัยเพียงไม่ถึงขวบ  เด็กชายประยุทธ์ก็ล้มป่วยด้วยโรคทางเดินอาหารมีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงจนแทบจะเสียชีวิต  และแม้ว่าจะได้รับการรักษาจนกระทั่งหายดี  โรคร้ายนั้นก็ยังทิ้งร่องรอยเอาไว้ในร่างกายของเด็กน้อย  จนกลายเป็นคนที่มีสภาพร่างกายไม่แข็งแรง  ป่วยกระเสาะกระแสะจนเกือบตลอดชีวิต

ไม่เพียงเท่านั้น  ในช่วงเวลาหลังจากที่หายป่วยจากอาการท้องร่วงไม่นานนักนางชุนกีก็พลันล้มป่วยด้วยโรคเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์  ส่งผลให้ต้องถูกส่งไปผ่าตัดที่โรงพยาบาลศิริราช  ซึ่งอยู่ไกลจากบ้านเกิดนับร้อยกิโลเมตร  ทั้งยังต้องพักรักษาตัวอีกเป็นเวลาหลายเดือน  ส่งผลให้ลูกน้อยจำหน้าแม่ไม่ได้  จนต้องสร้างความคุ้นเคยกันใหม่อีกครั้ง

เด็กชายประยุทธ์เติบโตมาโดยได้รับการอบรมจากคุณพ่ออย่างใกล้ชิด  และได้รับอุปนิสัยที่ดีงามมาจากแม่  ขณะเดียวกันเขาก็มีความเป็นผู้นำ  มีเหตุมีผล  รักความยุติธรรม  เคร่งครัดในระเบียบวินัย  และใฝ่ศึกษาเป็นอย่างมาก  ซึ่งทั้งหมดถือเป็นจุดเด่นของเขาตั้งแต่ยังเด็ก  ทั้งยังยิ่งเด่นชัดขึ้นเมื่อเริ่มเจริญวัย

นอกจากนั้นด้วยความที่คุณพ่อเป็นคนมีความคิดก้าวหน้า  เนื่องจากเคยบรรพชาเป็นสามเณรและอุปสมบทเป็นพระสงฆ์  ทั้งยังสอบได้เปรียญธรรม5 ประโยค  ท่านจึงให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาและสนับสนุนลูก ๆ ทุกคนในด้านนี้อย่างเต็มที่  และลูกชายคนนี้ก็ไม่ได้ทำให้ผู้เป็นพ่อต้องผิดหวังหรือกังวลใจใด ๆเพราะเด็กชายประยุทธ์เป็นเด็กที่เรียนเก่งหาตัวจับยาก  หลังจากที่เรียนจบระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนประชาบาลชัยศรี-ประชาราษฎร์  คุณพ่อสำราญก็ได้พาลูกตัวน้อยไปเรียนต่อระดับมัธยมในพระนคร(กรุงเทพฯในปัจจุบัน) ที่โรงเรียนวัดปทุมคงคา  โดยคุณพ่อได้ฝากให้ลูกชายพักอยู่กับพี่ ๆ ที่วัดพระพิเรนทร์  ซึ่งขณะนั้นพระศรีขันธโสภิต เป็นเจ้าอาวาส (ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระเทพคุณาธาร)

หลังจากต้องจากบ้านมาเรียนในเมืองหลวงได้ไม่นาน  เด็กชายประยุทธ์ก็ได้รับทุนเรียนดีจากกระทรวงศึกษาธิการจนถึงชั้นมัธยมศึกษาต้น  นอกจากใฝ่เรียนแล้ว  เขายังชอบนำความรู้มาถ่ายทอดต่อให้น้อง ๆ  โดยทุกครั้งที่กลับบ้านเกิดในช่วงปิดเทอม  เขาก็จะชวนน้อง ๆ มาเล่นสอนหนังสือกัน  โดยใช้พื้นที่และอุปกรณ์ของโรงเรียนบำรุงวุฒิราษฎร์ที่ในเวลานั้นไม่มีผู้ใช้งานแล้ว (โรงเรียนบำรุงวุฒิราษฎร์เป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกของอำเภอศรีประจันต์  ซึ่งคุณพ่อสำราญได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้เด็ก ๆ ที่พ่อแม่ไม่มีกำลังส่งไปเรียนต่อพระนคร  ได้มีโอกาสเรียนในระดับมัธยมก่อนจะปิดตัวลงเมื่อมีโรงเรียนมัธยมแห่งใหม่ขึ้นมา)

อย่างไรก็ดี  การ “เล่น” สอนหนังสือของเด็กชายประยุทธ์ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นการเรียนการสอนแบบจริงจัง  โดยเขาจะนำความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาถ่ายทอดให้กับน้อง ๆ  รวมถึงเด็ก ๆ ในละแวกบ้าน  ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์  จริยธรรมประวัติศาสตร์  วรรณคดี  ไปจนถึงการเล่นละคร  ซึ่งคุณครูประยุทธ์ของบรรดาลูกศิษย์ตัวน้อยเป็นผู้เขียนบท  ผู้กำกับ  พร้อมทั้งร่วมแสดงด้วยเสร็จสรรพ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสามก๊ก  ตอน โจโฉแตกทัพเรือ  ซึ่งเขารับบทขงเบ้ง  หรือเรื่อง รามเกียรติ์  ในบทท้าวมาลีวราช  เป็นต้น

ขณะเดียวกันเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นเด็กชายประยุทธ์ก็เริ่มให้ความสนใจในศาสตร์อีกแขนงหนึ่งซึ่งยังคงติดตัวมาโดยตลอดนั่นคือเรื่องของเครื่องใช้ไฟฟ้า  หลังจากที่มีความรู้เรื่องไฟฟ้าบ้างเล็กน้อย  เขาก็เริ่มนำไฟฉายที่เสียมารื้อซ่อมใหม่  และได้ลองดัดแปลงตะเกียงลานให้ใช้งานได้นานขึ้น  จนภายหลังเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่  เขาเคยกล่าวว่า  เขาคงจะเป็นนักประดิษฐ์ไปแล้ว  หากชีวิตไม่ได้ก้าวไปสู่อีกเส้นทางหนึ่งเสียก่อน…นั่นคือเส้นทางธรรม

(ขอขอบคุณ : คุณบุปผา  คณิตกุลสำหรับข้อมูลด้าน “ชาติภูมิ”)



บนเส้นทางธรรม

ชีวิตของเด็กชายประยุทธ์ที่กำลังโลดแล่นไปบนเส้นทางการศึกษาต้องมีอันหยุดชะงักลง  เมื่ออาการท้องร่วงได้กลับมากำเริบอย่างหนัก  ประกอบกับร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง  มีอาการเจ็บป่วยเรื่อยมา

ด้วยสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์  คุณพ่อกับพี่ชายจึงได้เสนอแนะและสนับสนุนให้ลูกชายคนเล็กก้าวไปอยู่ในเพศบรรพชิต  เพราะเห็นว่าน่าจะเอื้ออำนวยต่อการศึกษาได้มากกว่า  ด้วยเหตุนี้เด็กชายวัยเพียง 13 ปีคนนี้จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร  และก้าวเข้าสู่ทางธรรมอย่างเต็มตัว  ตั้งแต่วันที่ 10พฤษภาคม  พ.ศ. 2494  ณ วัดบางกร่าง  ที่บ้านเกิด  และย้ายไปอยู่ที่วัดปราสาททองอำเภอเมืองฯ  จังหวัดสุพรรณบุรี  เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม  รวมทั้งได้ฝึกวิปัสสนากรรมฐานในอีกหนึ่งปีต่อมา  ก่อนจะจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์  กรุงเทพมหานคร  จนสอบได้นักธรรมเอก  นับเป็นสามเณรรูปที่ 4 ในสมัยรัตนโกสินทร์  และเป็นรูปที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบันที่สามารถสอบเปรียญธรรม 9 ประโยคได้

นอกเหนือจากการสนับสนุนของคุณพ่อและครอบครัว  แรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้สามเณรน้อยสามารถดำเนินชีวิตใต้ร่มกาสาวพัสตร์ได้ยาวนานทั้งที่ยังอยู่ในวัยแรกรุ่นนั้น  ก็เนื่องจากการได้อ่านนวนิยายอิงธรรมะของ อาจารย์สุชีพ  ปุญญานุภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ใต้ร่มกาสาวพัสตร์, กองทัพธรรม  หรือ อาทิตย์ขึ้นทางตะวันตก  จึงทำให้รู้สึกอยากเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

หลังจากนั้นท่านจึงได้อุปสมบทสมความตั้งใจ  โดยเป็นนาคหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์  เมื่อวันที่ 24กรกฎาคม พ.ศ. 2505  ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  มี สมเด็จ-พระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จ-พระสังฆราช (ปลด  กิตฺติโสภโณ)เป็นพระอุปัชฌาย์  และได้รับฉายาว่า “ปยุตฺโต”  แปลว่า  “ผู้เพียรประกอบแล้ว”

หลังจากนั้นพระปยุตฺโตก็เพียรศึกษาอย่างจริงจัง  จนกระทั่งได้รับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต  เกียรตินิยมอันดับ 1  จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ก่อนหน้าที่ชีวิตบนเส้นทางธรรมของท่านจะเจริญก้าวหน้าเรื่อยมานับจากนั้น



ธรรมนิพนธ์

นับจากที่พระพรหมคุณาภรณ์(สมณศักดิ์ในปัจจุบัน) เริ่มเข้าสู่ร่มกา-สาวพัสตร์  ท่านก็ได้เรียนจนจบปริญญา

จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  จากนั้นท่านก็ได้เริ่มต้นงานสอนในแผนกบาลีเตรียมอุดมศึกษา  และยังได้เป็นอาจารย์สอนในชั้นปริญญาตรี  สาขาพุทธศาสตรบัณฑิต  ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอีกด้วย

ในขณะเดียวกันท่านยังมีงานบรรยายในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ  และได้เข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการกับนักวิชาการและปัญญาชนร่วมสมัยอย่างสม่ำเสมอ  ทั้งยังได้รับอาราธนาไปบรรยายทางวิชาการด้านพุทธศาสนาในต่างประเทศอีกด้วย  รวมถึงได้เดินทางร่วมคณะไปกับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยวอุปเสโณ)  และ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง  วรปุญฺโญ)  นับเป็นย่างก้าวแรก ๆ ของการเผยแผ่พุทธศาสนาไทยในต่างแดน  ที่ต่อมาได้พัฒนาเป็นโครงการพระธรรมทูตในปัจจุบัน

นอกจากนั้นพระพรหมคุณาภรณ์ก็ยังมีงานเผยแผ่พุทธศาสนาผ่านการแสดงธรรมและการเขียนหนังสือนับร้อยเล่ม ซึ่งล้วนเป็นที่ยกย่องทั้งในประเทศและทั่วโลกว่าเป็นผลงานชั้นเยี่ยมที่ทรงคุณค่าอย่างอเนกอนันต์

ในที่นี้ Secret จะขอนำแนวคิดและแนวทางคำสอนของท่านเกี่ยวกับเรื่องราวร่วมสมัยที่น่าสนใจมาสรุปสั้น ๆ และเรียบเรียงเพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น ดังนี้
 

ชีวิตและการทำงาน

งานนั้นไม่ใช่เป็นตัวเรา  และก็ไม่ใช่เป็นของเราจริง  แต่งานถือเป็นกิจกรรมของชีวิต  เป็นกิจกรรมของสังคม  เป็นสิ่งที่ชีวิตของเราเข้าไปสัมพันธ์เกี่ยวข้อง  แล้วก็ต้องผ่านกันไปในที่สุด  งานนั้นเราไม่สามารถทำให้สมบูรณ์ได้แท้จริง  เพราะล้วนขึ้นกับสิ่งอื่น  เช่น  ปัจจัยแวดล้อม กาลเทศะความเปลี่ยนแปลงของสังคม  และเป็นสิ่งที่คนอื่นจะต้องมารับช่วงทำกันต่อไป  ต่างกับชีวิตของเราแต่ละคน  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้สมบูรณ์ได้ด้วยการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องเมื่อเราปฏิบัติต่องานหรือทำงานอย่างถูกต้องมีทีท่าของจิตใจต่องานถูกต้องแล้ว  ชีวิตจะเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ในตัวในแต่ละขณะภาวะที่ชีวิต งาน  และธรรม ประสานกลมกลืนเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว แยกได้เป็น 2 ระดับ  คือ

ระดับที่หนึ่ง  การทำงานที่ชีวิตจิตใจกลมกลืนเข้าไปในงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  พร้อมทั้งมีความสุขพร้อมอยู่ในตัว  แต่กระนั้นลึกลงไปในจิตใจก็ยังมีความยึดติดถือมั่นในงานที่ทำ  ถือเป็นการแฝงเอาเชื้อแห่งความทุกข์ซ่อนไว้ลึกภายใน

ส่วนในอีกระดับหนึ่ง  ความประสานกลมกลืนของชีวิตจิตใจกับงานที่ทำ พร้อมไปด้วยความรู้เท่าทันตามความเป็นจริงในธรรมชาติของชีวิตและการงานที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยโดยไม่ต้องอยาก ไม่ต้องยึดถือสำคัญมั่นหมายให้นอกเหนือหรือเกินไปจากการกระทำตามเหตุผลด้วยความตั้งใจและเพียรพยายามอย่างจริงจัง  เรียกได้ว่าชีวิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับงาน  แต่เป็นอิสระอยู่เหนืองานนั่นเอง

เรียบเรียงจาก

งานเพื่อความสุขและแก่นสารของชีวิต, บริษัทสหธรรมิก จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 2 2537, หน้า 66 - 67 และ 68 - 69




การศึกษา

การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นความหมายที่แท้ของการศาสนา…การศึกษานั้นเป็นทั้งตัวการพัฒนาและเป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนา  คือเป็นการพัฒนาตัวบุคคลขึ้นไป  โดยพัฒนาตัวคนทั้งคนหรือชีวิตทั้งชีวิต  เมื่อผู้เรียนมีการศึกษาแล้วก็จะเอาคุณสมบัติที่ตัวมีซึ่งเกิดจากการศึกษาไปเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ

จุดมุ่งหมายของการศึกษาก็เพื่อพัฒนาครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ

1. พัฒนากาย  โดยนอกจากจะพัฒนาร่างกายให้มีสุขภาพดีแล้ว  ในทางพุทธศาสนายังหมายรวมถึงการพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ดีงาม  ด้วยการพัฒนากายที่เรียกว่า  กายภาวนา

2. พัฒนาศีล  หรือพัฒนาการทางสังคม  ซึ่งเรียกเป็นศัพท์ทางพระว่า  ศีลภาวนา

3. พัฒนาจิต  หรือจิตตภาวนาเพื่อให้พร้อมสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ 3 ด้านคือ  คุณภาพจิต  สมรรถภาพจิต  และสุขภาพจิต

4. พัฒนาปัญญา  เรียกว่า  ปัญญาภาวนา  แบ่งได้เป็น

- ปัญญาขั้นแรก  คือ  ปัญญาที่เป็นความรู้ความเข้าใจในศิลปวิทยาการ

- ปัญญาขั้นสอง  คือ  การรับรู้เรียนรู้อย่างถูกต้อง

- ปัญญาขั้นสาม  คือ  การคิด การวินิจฉัยด้วยการใช้ปัญญาโดยบริสุทธิ์ใจ

- ปัญญาขั้นสี่  คือ  ปัญญาที่รู้เข้าใจถึงสาระแห่งความเป็นไปของโลกและชีวิต

- ปัญญาขั้นห้า  คือ  ปัญญาที่รู้เท่าทันธรรมดาของสังขาร  คือโลกและชีวิต

เรียบเรียงจาก

- การศึกษาที่สากลบนฐานแห่งภูมิปัญญาไทยโครงการตำราและเอกสารทางวิชาการคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2532, หน้า 70 - 71

- การศึกษา : เครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, พิมพ์ครั้งที่ 4 2536, หน้า 95 - 105


 

ความรัก

ความรักในความหมายที่แท้คือ  การอยากเห็นเขาเป็นสุข  เหมือนอย่างพ่อแม่รักลูก  ก็คืออยากเห็นลูกเป็นสุข  แต่ยังมีความรักอีกแบบหนึ่งคือ  ความรักที่อยากได้เขามาทำให้ตัวเป็นสุข  อย่างนี้ไม่ใช่รักจริงแต่เป็นความรักเทียม  ซึ่งก็คือราคะ  ดังนั้นจึงสามารถแบ่งความรักได้ 2 ประเภท  คือ

1. ความรักที่อยากได้เขามาทำให้ตัวเราเป็นสุข  ความรักแบบนี้อาจจะทำให้คนอื่นเป็นทุกข์  หรือต้องมีการแย่งชิงกัน

2. ความรักที่อยากเห็นเขามีความสุขพออยากเห็นคนที่เรารักเป็นสุขก็อยากทำให้เขาเป็นสุข  พอทำให้เขาเป็นสุขได้เราก็เป็นสุขด้วย  เหมือนพ่อแม่อยากเห็นลูกมีความสุขพอทำให้ลูกเป็นสุขได้  ตัวเองก็เป็นสุขด้วยจึงเป็นความรักที่พร้อมจะให้และสุขด้วยกัน

ด้วยเหตุนี้ความรักที่แท้จริงและควรน้อมนำเข้าสู่ชีวิตจึงเป็นความรักประเภทที่สอง  ซึ่งมุ่งเน้นการให้  เป็นความรักที่พร้อมพรั่งด้วยหลักธรรมทั้ง 4 ประการ คือสัจจะ  ทมะ  ขันติ  และจาคะ

เรียบเรียงจาก

- ความจริงเกี่ยวกับความรัก  ความโกรธและความเมตตา  เล่ม 2, สำนักพิมพ์สบายะ, พิมพ์ครั้งที่ 1 2549

- คู่มือชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ 14 พฤษภาคม 2550, หน้า 91


 

ประชาธิปไตย

หลักธรรมทุกอย่างในพระพุทธศาสนานั้นถือเป็นหลักประชาธิปไตย  เนื่องจากเป็นเรื่องของการพัฒนาคนให้มีคุณภาพและให้รู้จักปกครองตนเองได้  แต่จะต้องมองให้ถูกแง่และปฏิบัติตามให้ถูก  หลักธรรมนั้นมีไว้ให้ทุกคนปฏิบัติ  และจะต้องมองหลักธรรมโดยมีความรับผิดชอบของตนเอง ไม่ใช่เรียกร้องจากผู้อื่น  ด้วยเหตุนี้หลักธรรมจึงทำให้เกิดประชาธิปไตยเช่น  คาระ  แปลว่า  ความเคารพ  หมายถึงการมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของผู้อื่น  รวมถึงความคิดของเขา  อันเป็นหลักสำคัญของประชาธิปไตยนั่นเอง

การปกครองที่ดีจะเกิดขึ้นได้เมื่อเจ้าของอำนาจสูงสุดมีธรรมาธิปไตยฉะนั้นระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดอยู่ในมือประชาชน  ประชาชนจึงต้องมีความรับผิดชอบที่จะทำตนให้เป็นธรรมาธิปไตย  คือถือธรรมเป็นใหญ่  โดยแบ่งได้เป็น 2 ระดับ  คือ  ขั้นต้น  ได้แก่หลักการ กฎเกณฑ์  กติกาต่าง ๆอันชอบธรรมที่ได้ตกลงกันไว้  และขั้นสูงขึ้นไป  รวมถึงความจริงความถูกต้องดีงาม  และประโยชน์สุขที่เหนือกว่าขั้นต้นขึ้นไปจนสุดขีดแห่งปัญญาจะมองเห็นได้

เมื่อประชาชนถือธรรมเป็นใหญ่ ใช้ปัญญา  ไม่เอาแต่ใจหรือตามใจกิเลส ไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ก็จะส่งผลให้สามารถปกครองตนเองได้  และเมื่อบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากประชาชนหรือใช้อำนาจในนามประชาชน คือผู้แทนและนักการเมืองทั้งหลายเป็นธรรมาธิปไตยด้วยแล้วประชาธิปไตยก็จะสามารถไปได้ดี  สังคมก็จะเป็นปกติสุข ไม่มีการเบียดเบียนข่มเหง เอารัดเอาเปรียบกัน

เรียบเรียงจาก

- พุทธศาสนากับสังคมไทย, มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2526, หน้า 10 - 11

- การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย, ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา, พิมพ์ครั้งที่ 7 2537, หน้า 67 - 69 และ 114 - 115


 

ความสุข

ความสุขในทางพุทธศาสนาสามารถแบ่งออกเป็น 5 ขั้น  คือ

ขั้นที่ 1  ความสุขจากการเสพวัตถุหรือสิ่งบำรุงบำเรอภายนอกที่นำมาปรนเปรอตา  หู  จมูก  ลิ้น  กายของเรา

ขั้นที่ 2  ความสุขขั้นนี้เกิดขึ้นได้เมื่อเจริญคุณธรรม  เช่น  มีเมตตากรุณามีศรัทธา

ขั้นที่ 3  ความสุขจากการดำเนินชีวิตได้ถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ  ไม่หลงอยู่ในโลกของสมมุติ

ขั้นที่ 4  ความสุขจากความสามารถปรุงแต่ง  เช่น  ปรุงแต่งความคิด  ทำให้สร้างสิ่งประดิษฐ์  เกิดเป็นเทคโนโลยีต่าง ๆ

ขั้นที่ 5  ความสุขเหนือการปรุงแต่งคืออยู่ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต  การเข้าถึงความจริงด้วยปัญญาที่เห็นแจ้ง  ทำให้วางจิตวางใจ  ลงตัวสนิทสบายกับทุกสิ่งทุกอย่างอย่างผู้เจนจบชีวิต

พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า  คนเราสามารถหาความสุขที่ประณีตกว่าการบำเรอตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ท่านเรียกความสุขแบบนั้นว่าเป็นความสุขที่ประณีตขึ้น  มีลักษณะสำคัญคือ เป็นอิสระ  มนุษย์จะมีความสุขได้โดยลำพังในใจและไม่ต้องขึ้นกับวัตถุภายนอก  หมายความว่า  แม้วัตถุภายนอกไม่มีอยู่  เราก็มีความสุขได้ข้อสำคัญคือ  มันเป็นความสุขพื้นฐานที่จะทำให้การแสวงหาหรือการเสพความสุขภายนอกเป็นไปอย่างพอดี  อยู่ในขอบเขตที่สมดุล  ทำให้มีความสุขแท้จริง  และไม่เบียดเบียนกันทางสังคม

คนที่ทำให้จิตใจตัวเองมีความสุขได้ทั้งทางจิตและทางปัญญา จะมีความสงบในใจตนเองและมีความสุขได้อย่างที่เรียกว่ามีสมาธิ  หรือมีความสุขจากการรู้เท่าทันและเข้าใจความจริงของสิ่งทั้งหลายเป็นความสุขทางปัญญาเนื่องจากเห็นแจ้งความจริง  ถือเป็นความสุขภายในของบุคคล  ถ้าคนเรามีความสุขแบบนี้เป็นรากฐานแล้ว  การหาความสุขทางวัตถุมาบำเรอตา  หู  จมูก  ลิ้น กาย  ก็จะมีความรู้จักประมาณหรือมีขอบเขต

คนที่อยู่ในโลกด้วยความรู้ความเข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริง วางจิตลงตัวพอดี  เรียกได้ว่าเป็นจิตอุเบกขาส่งผลให้มีความสุขอยู่ประจำตัวตลอดเวลาเป็นสุขที่เต็มอิ่มอยู่ข้างใน ไม่ต้องหาจากข้างนอก และเป็นผู้มีชีวิตที่พร้อมจะทำเพื่อผู้อื่นได้อย่างเต็มที่  เพราะไม่ต้องห่วงกังวลถึงความสุขของตนและไม่มีอะไรที่จะต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป

เรียบเรียงจาก

- คู่มือชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ 14 พฤษภาคม 2550, หน้า 140 – 150

- ข้อคิดชีวิตทวนกระแส, ทุนส่งเสริมพุทธธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 4 2536, หน้า 8 – 10


Secret Box

คนเราเรียนรู้ได้มากจากปัญหา ได้ศึกษาจากความทุกข์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



จาก http://www.secret-thai.com/article/inspiration-story/13233/9082559/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความจริงแห่งชีวิต โดย พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ ปยุตฺโต
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
時々๛कभी कभी๛ 0 2308 กระทู้ล่าสุด 02 พฤษภาคม 2554 09:17:49
โดย 時々๛कभी कभी๛
กาลานุกรมโดย พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ ปยุตฺโต
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
時々๛कभी कभी๛ 0 2131 กระทู้ล่าสุด 17 กรกฎาคม 2554 11:38:54
โดย 時々๛कभी कभी๛
ความรักในทางพุทธศาสนา โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
▄︻┻┳═一 2 3146 กระทู้ล่าสุด 29 ตุลาคม 2563 18:52:33
โดย ฉงน ฉงาย
ทำไมเทวดาอยากเกิดเป็นมนุษย์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ธรรมะจากพระอาจารย์
หมีงงในพงหญ้า 0 2301 กระทู้ล่าสุด 12 มิถุนายน 2555 14:11:33
โดย หมีงงในพงหญ้า
พุทธพจน์เกี่ยวกับไตรลักษณ์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
Kimleng 2 4135 กระทู้ล่าสุด 04 พฤษภาคม 2558 12:26:39
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.842 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 06 มีนาคม 2567 05:28:03