[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 07:45:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามรอยพระถังซัมจั๋ง (Xuan Zang or Hieun Tsang) และ ไซอิ๋ว ( Journey to the West)  (อ่าน 1857 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.273 Chrome 50.0.2661.273


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 ตุลาคม 2559 09:31:39 »



หากเอ่ยชื่อของพระถังซัมจั๋ง หลายต่อหลายคนคงยากที่จะปฏิเสธว่าไม่เคยได้ยินชื่อเสียงของพระรูปนี้มาก่อน เพราะเรื่องราวการเดินทางสู่ชมพูทวีปของท่านพร้อมกับลูกศิษย์ทั้งสามหรือที่เราคุ้นเคยจากเรื่อง “ไซอิ๋ว” ถูกถ่ายทอดมาให้เราได้รับรู้หลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของหนังสือ ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งการ์ตูน เรื่องราวเหล่านี้ส่วนใหญ่เราจะรับรู้ในเรื่องของปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ที่เกินจริงจนบางคนคิดว่าพระถังซัมจั๋งนั้นเป็นเพียงตัวละครในเรื่องไซอิ๋วไม่ได้มีตัวตนในโลกนี้แต่อย่างใด

จริงๆ แล้วพระถังซัมจั๋งเป็นผู้ทรงเสียสละตนเองเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง การเดินทางรวมระยะเวลาเดินทาง 17 ปี ระยะทางการเดินทางทั้งหมดรวมทั้งสิ้น 5 หมื่นลี้ หรือประมาณ 25,000 กิโลเมตร ผ่านหลาย ประเทศ ด้วยม้าและการเดินเท้า นับว่าไม่ง่ายเลย ท่านได้มอบผลงานอันนับว่ามีบุญคุณยิ่งใหญ่ต่อชาวพุทธ สิ่งนั้นคือบันทึกประวัติศาสตร์และธรรม

ท่านอุทิศตนในการแปลพระคัมภีร์อย่างตั้งใจ ในระยะเวลา 19 ปีท่านได้แปลคัมภีร์ทั้งหมด 75 เรื่อง 1335 ม้วน ครอบคลุมถึงผลงานทั่วไปที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาของอินเดียในสมัยศตวรรษที่ 5 นอกจากนี้ ในปั้นปลายชีวิต ท่านอาจารย์ยังได้แปล “พระมหาปรัชญาสูตร” รวม 600 ม้วนซึ่งเป็นพระสูตรเล่มใหญ่ที่สุด

นำสาระธรรมมาฝากด้านล่างครับ



ประวัติ

พระถัมซัมจั๋งไม่ได้เป็นเพียงตัวละครที่ถูกจินตนาการขึ้นในเรื่องไซอิ๋ว แต่พระถัมซัมจั๋ง เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ ที่ปรากฏอยู่ในพงศาวดารจีน ( นอกจากชื่อพระถังซัมจั๋งแล้ว ยังมีชื่อเรียกในเอกสารต่าง ๆ คือ พระซานจั๋ง หลวงจีนเสวียนจั้ง ฯ สะกดหลายแบบ Xuan Zang is variously spelled Hsüan Tsang, Hiuen Tsang, Xuanzang, Hiouen Thsang, Hsuan Chwang, Hsien-tsang, etc. ซึ่งทั้งหมดก็คือชื่อของพระถังซัมจั๋งที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง )

พระถังซัมจั๋ง มีชื่อจริงว่า “ภิกษุเสวียนจั้ง” เมื่อเกิดมานั้นชื่อว่าเฉินหุยหรือเฉินยี่ เป็นคนมณฑลเหอหนาน มีชีวิตอยู่ในช่วงประมาณ ปี ค.ศ. 602 – ค.ศ. 664 ช่วงชีวิตของเสวียนจั้งคาบเกี่ยวกับสมัยราชวงศ์สุยกับสมัยราชวงศ์ถัง

เสวียนจั้งเกิดมาในตระกูลขุนนางเดิม และเป็นตระกูลที่ทรงความรู้และให้ความสำคัญกับการเล่าเรียนอ่านเขียน เสวียนจั้งเป็นน้องเล็กสุดในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 4 คน ทวดของเสวียนจั้งรับราชการเป็นนายอำเภอ ส่วนปู่ของเสวียนจั้งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปราชญ์ ส่วนบิดาของเสวียนจั้งเป็นนักคิดนักปราชญ์ขงจื้อตามแบบดั้งเดิมที่ลาออกจากตำแหน่งหน้าที่และมาปลีกตัวอยู่อย่างเงียบๆ เพราะเกิดความวุ่นวายทางการเมือง

ในวัยเยาว์ เสวียนจั้งเป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาดมากและฉายแววทางภูมิปัญญามาตั้งแต่เด็กๆ ขยันขันแข็งและกระตือรือร้นในอ่านตำรับตำราทางศาสนา ส่วนใหญ่เป็นตำราเก่าแก่ของจีนและงานเขียนของนักปราชญ์ยุคโบราณของจีน ถึงแม้ว่าจะในวัยต้นๆ จะได้รับการศึกษาตามแบบขงจื้อก็ตาม ผู้ที่ให้การศึกษาตามแบบขงจื้อให้แก่เสวียนจั้งและพี่น้องชายหญิงก็คือบิดาของพวกเขานั่นเอง แต่เสวียนจั้งนั้นมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เพราะพี่ชายของเสวียนจั้งผู้หนึ่งก็อุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา



เมื่อบิดาของเสวียนจั้งเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 611 เสวียนจั้งไปอาศัยอยู่กับพี่ชายที่บวชเป็นพระภิกษุที่วัดชิงตู (Jingtu Monastery - 淨土寺) ตั้งอยู่ในเมืองลั่วหยัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของมลฑลเหอหนาน อันเป็นเมืองในอาณัติของราชวงศ์สุย โดยเสวียนจั้งอาศัยอยู่ที่วัดแห่งนั้นศัยอยู่กับพี่ชายที่บวชเป็นพระภิกษุที่วัดชิงตู (Jingtu Monastery - 淨土寺) ตั้งอยู่ในเมืองลั่วหยัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของมลฑลเหอหนาน อันเป็นเมืองในอาณัติของราชวงศ์สุย โดยเสวียนจั้งอาศัยอยู่ที่วัดแห่งนั้นนาน 5 ปี โดยระหว่างนั้นก็ศึกษาหาความรู้ทางศาสนาพุทธแบบมหายาน เมื่อมีอายุได้เพียง 11 ปีเสวียนจั้งสามารถสวดพระคัมภีร์ได้ พอมีอายุได้เพียง 13 ปีจึงทำการบรรพชาเป็นสามเณร

เมื่อมีอายุได้ 18 พรรษาท่านจึงกลายเป็นสามเณรที่มีชื่อเสียงมาก ได้รับการยกย่องว่าเป็น “อาจารย์แห่งพระไตรปิฎก” เพราะท่านเป็นผู้มีความแตกฉานในสุคคันตปิฎก วินัยปิฎก และอภิธรรมปิฎก และยึดมั่นในปรัชญาของพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังสามารถแสดงธรรมเทศนาที่เข้าใจง่าย

ในปี ค.ศ. 618 เมื่อเกิดความวุ่นวายและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของจีน เพราะเวลานั้นเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากรัชสมัยจากราชวงศ์สุยไปเป็นราชวงศ์ถัง ซึ่งราชวงศ์สุยล่มสลายลง สามเณรเสวียนจั้งกับพระภิกษุพี่ชายจึงหนีไปอยู่ที่เมืองเฉิงตูที่ตั้งอยู่ในมณฑลเสฉวนและในขณะที่บรรพชาเป็นสามเณร สามเณรเสวียนจั้งก็ออกเดินทางเพื่อไปกราบไหว้พระภิกษุสงฆ์ที่มีชื่อเสียงตามที่ต่างๆ ทั่วอาณาจักรจีน และเพื่อไปศึกษาหาความรู้จากตำราทางศาสนาพุทธที่กระจัดกระจายกันอยู่ตามที่ต่างๆ โดยได้หมั่นศึกษาพระธรรมคัมภีร์จนท่านกลายเป็นสามเณรที่มีความสามารถในการแสดงธรรมเป็นอย่างมาก

ในปี ค.ศ. 622 เมื่อมีอายุได้ 20 ปี ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่เมืองเฉิงตู ท่านเที่ยวเดินทางศึกษาพระธรรมไปทั่วจนเดินทางไปถึงเมืองฉางอัน พระเจ้าถังไท่จงฮ่องเต้องค์ที่ 2 ของราชวงศ์ถัง พอเรียนรู้พระคัมภีร์มากเข้า พระภิกษุเสวียนจั้งก็รู้สึกว่าพระคัมภีร์ที่มีอยู่ในจีนเวลานั้นไม่ค่อยเพียงพอ เนื้อความแปลได้ไม่ครบถ้วนและตีความไม่ถูกต้อง



ท่านสังเกตเห็นว่าแม้คัมภีร์เพียงหนึ่งเล่ม กลับมีคนแปลไปในความหมายที่แตกต่างส่วนใหญ่ เนื้อหามักจะขัดแย้งซึ่งกันและกัน ไม่มีตำราเล่มไหนจะเป็นมาตรฐานในการศึกษาได้เลย ท่านจึงปรารถนาที่จะศึกษาพระพุทธศาสนาให้ถ่องแท้ลึกซึ้งและถูกต้องมากกว่านี้ ท่านจึงเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเดินทางไปศึกษาพระธรรมที่อินเดียอันเป็นแหล่งต้นกำเนิดดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา

ที่เมืองฉางอัน ภิกษุเสวียนจั้งพยายามเล่าเรียนภาษาสันสกฤตและศึกษาพระธรรมมากขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเดินทางไปศึกษาพระธรรมที่อินเดีย พอปี ค.ศ. 626 ก็เรียนรู้จนเกิดความเชี่ยวชาญชำนาญในภาษาสันสกฤต

ในปี ค.ศ. 627 พระภิกษุเสวียนจั้งตัดสินใจออกเดินทางไปแสวงธรรมและศึกษาพระธรรมที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ที่อินเดีย จุดที่ท่านเริ่มออกเดินทางคือเมืองฉางอัน ขณะนั้นวิทยาลัยนาลันทาถือว่าเป็นแหล่งศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงและกิตติศัพท์อันเลื่องลือมาก เหมือนชะตากรรมได้ชักนำไว้แล้ว พระศีลภัทร ซึ่งเป็นพระอธิการบดีของมหาวิทยาลัยนาลันทา เสด็จมาเยือนฉางอัน และได้พบกับพระถังซัมจั๋ง เมื่อทราบถึงความตั้งใจของพระถังซัมจั๋งแล้ว ท่านจึงกล่าวเอาไว้ว่า “การที่ท่านจะได้เรียนรู้ความหมายของพระธรรมอันศักสิทธิ์อย่างแท้จริง ท่านควรจะมาเรียนที่มหาวิทยาลัยนาลันทาแห่งนี้ โดยเราจะเป็นพระอาจารย์ผู้ฝึกสอนท่านด้วยตัวเราเอง”

พระภิกษุเสวียนจั้งมีผู้คุ้มกันพระภิกษุเดินทางไปด้วย ณ เวลานั้นพระเจ้าถังไท่จงห้ามมิให้ผู้คนในอาณาจักรเดินทางไปดินแดนภายนอก เพราะเวลานั้นราชวงศ์ถังกำลังทำสงครามกับพวกเติร์กตะวันออกอยู่ และทรงมีราชโองการให้ปิดเส้นทางการเดินทางสู่ตะวันตกเอาไว้ โดยอนุญาตให้ชาวต่างชาติและขบวนสินค้าผ่านได้เท่านั้น [โดยบัญญัติไว้ว่า หากผู้ใดฝ่าฝืนกฏนี้ จะต้องโทษถึงขั้นประหารชีวิต]

กฎนี้ทำให้พระสงฆ์มากมายที่ต้องการจะเดินทางสู่ตะวันตกต้องหยุดความตั้งใจเอาไว้ แต่พระถังซัมจั๋งท่านเห็นว่า อุปสรรคเพียงเท่านี้ไม่สามารถจะเปลี่ยนความตั้งใจท่านได้

พระภิกษุเสวียนจั้งและคณะลอบเดินทางออกจากอาณาจักรผ่านทางเมืองเหลียงโจวของ มณฑลกานซู่และผ่านไปทางมณฑลชิงไห่ ต่อจากนั้นก็เดินทางผ่านทะเลทรายโกบีไปที่เมืองคูมุลหรือเมืองฮามิที่ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซินเจียง ทะเลทรายโกบีขึ้นชื่อในเรื่องที่เป็นแหล่งที่ฝังร่างของนักเดินทางจำนวนมากมาย เนื่องจากในเวลากลางวันทะเลทรายแห่งนี้จะมีอุณหภูมิสูงมาก แต่พอในเวลากลางคืนกลับหนาวมาก และนอกจากอากาศที่เลวร้ายอยู่แล้วยังเป็นแหล่งที่ขาดแหล่งน้ำและแหล่งอาหาร

[เล่ากันว่า ระหว่างทางท่านก็เกือบจะถูกทางการจับไปลงโทษแต่ก็มีญาติธรรมคอยช่วยเหลือท่านอยู่เสมอ อย่างเช่นที่เมืองหนึ่งที่ท่านเดินทางผ่าน หมายจับจากทางการก็มาถึงพร้อม ๆ กัน แต่เจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในเมืองนั้นเป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก จึงแกล้งทำเป็นไม่เห็นท่าน ปล่อยให้ท่านสามารถเดินทางต่อไปโดยไม่ถุกจับกุมเสียก่อน]



แม้ท่านจะสามารถรอดพ้นอันตรายจากทางการมาได้ แต่อันตรายอีกมากก็ยังคงรอท่านอยู่เบื้องหน้า ซึ่งถึงแม้จะไม่ใช่ปีศาจที่จ้องจะกินเนื้อท่านเพื่อความเป็นอมตะตามนิยาย “ไซอิ๋ว” ก็ตาม แต่อันตรายเหล่านั้นก็อันตรายถึงชีวิตท่านโดยไม่แตกต่างกัน อุปสรรคแรกที่รอท่านอยู่คือทะเลทรายโกบีที่มีอุณหภูมิสูงมากในเวลากลางวัน และหนาวจับขั้วหัวใจในยามค่ำคืน อากาศที่เลวร้ายอยู่แล้ว รวมกับการขาดแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ทำให้ทะเลทรายแห่งนี้เป็นที่ฝังร่างของนักเดินทางจำนวนมากมาย กลิ่นอายแห่งความตายอบอวลตลอดทางเดินสู่ตะวันตก ระหว่างทาง ท่านพบเห็นโครงกระดูก ซากพระพุทธรูปมากมาย ซึ่งท่านก็ทราบดีแก่ใจว่า เขาเหล่านี้คือผู้ที่ต้องการจะแสวงบุญไปยังดินแดนตะวันตกเช่นเดียวกับท่านนั่นเอง

ระหว่างทะเลทรายก็มีป้อมตรวจการของทางการอยู่อีก ซึ่งพวกทหารได้รับคำสั่งมาว่า ใครก็ตามที่ผ่านมาโดยไม่มีใบผ่าน อนุญาตจากทางการแล้ว ให้ทำการปลิดชีวิตเสีย ซึ่งพระถังซัมจั๋งก็เกือบจะต้องเสียชีวิตลงจากลูกธนูของป้อมเหล่านี้ ท่านทำได้เพียงแต่หนีอย่างสุดชีวิต จนท่านหลงทางกลางทะเลทรายโดยไม่มีอาหารและน้ำดื่ม ในขณะที่ท่านใกล้จะสิ้นลมในวันที่ 5 นั้น ม้าของท่านก็พาท่านไปพบกับโอเอซิสกลางทะเลทรายซึ่งทำให้ท่านมีชีวิตรอดต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ในเหตุการณ์นี้ พระลูกศิษย์ของท่านในภายหลังได้ทำการจดบันทึกไว้ว่า ในวันที่ 5 นั้น พระถังซัมจั๋ง นอนจมอยู่กับทรายรอความตายมาเยือนจากการขาดน้ำ ได้มีชายคนหนึ่งซึ่งมีขนาดเท่ากับยักษ์ มาเรียกท่าน แล้วบอกให้ท่านฝืนใจเดินต่อไปตามทางที่ชายผู้นี้บอก ซึ่งต่อมาก็ได้นำไปพบกับโอเอซิสนี่เอง ซึ่งชายคนนี้ถูกเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งทราย

เมื่อผ่านทะเลทรายโกบีแล้วไปถึงเมืองฮามิ ต่อจากนั้นท่านก็เดินทางผ่านเทือกเขาเทียนซานที่อยู่ทางด้านตะวันตก และพระภิกษุเสวียนจั้งและคณะเดินทางไปถึงเมืองทูร์ฟาน (Turfan) (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซินเจียงในเขตปกครองตนเองของอุยกูร์) เมืองทูร์ฟาน พระภิกษุเสวียนจั้งได้พบกับผู้ปกครองของเมืองนี้ที่นับถือศาสนาพุทธ จึงได้สั่งให้สามเณรจำนวน 4 รูปพร้อมทั้งพุทธบริษัทอีก 25 คนร่วมทางเพื่อคอยอำนวยความสะดวกให้ท่านด้วย ซึ่งได้จัดหาเสบียงให้ท่านสามารถเดินทางต่อไปได้ รวมทั้งยังทรงมอบสาส์นรับรอง ทรงมีรับสั่งไว้ว่า ไม่ว่าท่านเดินทางผ่านเมืองใด ให้แสดงสาส์นนี้ แล้วชาวเมืองกับข้าราชการในเมืองนั้นจะรับรองดูแลท่านเป็นอย่างดีอีกด้วย และของมีค่าเพื่อใช้เป็นทุนรอนในการเดินทางให้ติดตัวไปด้วย



ท่านเดินทางต่อไปโดยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ระหว่างเส้นทางนั้นย่อมมีโจรผู้ร้ายคอยปล้นสะดมผู้เดินทางผ่านไปผ่านมา ท่านและคณะต้องใช้เส้นทางเลี่ยงโจรผู้ร้าย โดยในระหว่างนั้นท่านได้เดินทางท่องไปตามวัดที่อาณาจักรคูชา (Kucha) ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณที่นับถือศาสนาพุทธและอยู่ในเส้นทางสาขาของเส้นทางสายไหม ท่านและคณะเดินทางผ่านเมืองอักสู (Aksu อยู่ในซินเจียงปัจจุบัน) และวกขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเพื่อข้ามช่องเขาเทียนซานที่ปกคลุมไปด้วยหิมะและน้ำแข็ง เพื่อเดินทางเข้าเขตที่เป็นประเทศคีร์กีซสถานในปัจจุบัน

ในระหว่างการเดินทางนั้น มีอยู่ระยะหนึ่งที่ท่านต้องนำคณะเดินทางผ่านเขาที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ซึ่งที่นี่นั้น คณะเดินทางของท่านส่วนหนึ่งได้เสียชีวิตลงจากเหตุการณ์หิมะถล่ม บ้างถูกแท่งหิมะแทงจนเสียชีวิต บ้างก็โดนหิมะกลบฝังทั้งเป็น บ้างก็พลัดตกเหว บ้างก็หนาวตาย แต่ท่านมุ่งมั่นว่าไม่ว่าอุปสรรคจะยากเย็น ยิ่งใหญ่เพียงใด ความตั้งใจของท่านก็ไม่อาจจะสั่นคลอนได้

ปราการด่านต่อไปคือทะเลสาบอิสซิก กูล (Issyk Kul) ที่อยู่ทางตอนเหนือของเทือกเขาเทียนซาน ท่านและคณะเดินทางเลียบทะเลสาบนี้ไปจนไปถึงเมืองต็อกมัก (Tokmak ปัจจุบันอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน) ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลสาบ และได้พบกับข่านแห่งเติร์กตะวันตกที่มีความสัมพันธ์อันดีกับฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ถัง ข่านได้จัดงานเลี้ยงรับรองให้กับท่านและคณะหลังจากนั้นก็เดินทางต่อไปทางทิศตะวันตกและจากนั้นก็วกลงไปที่ทิศตะวันตกเฉียงใต้มุ่งหน้าไปที่เมืองทาสเคนท์ (Tashkent ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของประเทศอุซเบกิสถาน) จากจุดนี้ไปนั้น ท่านต้องเดินทางข้ามทะเลทรายเพื่อเดินทางไปต่อที่สมาร์คานด์ (Samarkand ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของอุซเบกิซถาน) ที่ตอนนั้นตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรเปอร์เซีย และได้พบกับวัดร้างมากมาย และท่านได้เทศน์ผู้ปกครองของดินแดนนั้นจนผู้ปกครองอาณาจักรนั้นเกิดความรู้สึกประทับใจมากต่อไปคือการมุ่งหน้าลงใต้ คณะของท่านต้องเดินทางข้ามแหลมของเทือกเขาพามีร์ (Pamirs) แล้วเดินทางไปที่แม่น้ำอาร์มู ดาร์ยา (Amu Darya) และเมืองเตเมซ (Termez ปัจจุบันเป็นเองทางตอนใต้ของอุซเบกิสถานติดกับชายแดนอัฟกานิสถาน) ท่านได้พบชุมชนที่มีพระสงฆ์มากกว่าพันคนอยู่ในชุชนแห่งนั้น และต่อไปก็คือการเดินทางไปทางทิศตะวันออกเพื่อผ่านเมืองคุนดุซ (Kunduz ปัจจุบันเป็นเมืองที่อยู่ทางตอนเหนือของอัฟกานิสถาน) และได้รับคำแนะนำให้เดินทางไปต่อยังเมืองบาคห์ (Balkh ในอดีตเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากแต่ถูกทำลสยลง และกลายเป็นเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในอัฟกานิสถาน) เพื่อไปเยี่ยมชมพุทธสถานและพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่อยู่ในเมืองนั้น และท่านก็ได้พบกับพระสงฆ์จำนวนมาก และท่านก็ได้ทำการศึกษาพระคัมภีร์ที่มีอยู่ที่นี่และได้รบรวมคัมภีร์สำคัญไว้มากมายที่เวลาต่อมาท่านได้แปลไปเป็นภาษาจีน

ท่านเดินทางผ่านเมืองบามยาน (Bamyan ปัจจุบันอยู่ในอัฟกานิสถาน) ตลอดทางท่านได้พบปะกับเหล่าภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ได้แลกเปลี่ยนความรู้ โต้วาที และได้เยี่ยมชมวัดวาอารามของดินแดนแห่งนั้น แสดงให้เห็นว่าศาสนาพุทธมีความรุ่งเรือง และได้ขยายตัวมีผู้นับมือเป็นจำนวนมากในดินแดนที่เป็นประเทศอัฟกานิสถานในอดีต

คณะของพระภิกษุเสวียนจั้งเดินทางไปถึงเมืองจาลาลาบัด (Jalalabad) และลาห์มาน (Laghman) ซึ่งทั้งสองเมืองอยู่ในเขตของประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน และการเดินทางมาถึงเมืองลาห์มานนั้นพระภิกษุเสวียนจั้งถือว่าท่านได้เดินทางมาถึงอินเดียแล้ว



เหตุการณ์หนึ่งซึ่งเป็นที่น่าประหลาด

ในบันทึกบางฉบับได้มีการกล่าวถึงการเผชิญหน้ากับโจรใจโฉดหลายครั้ง ซึ่งพระถังซัมจั๋งและคณะก็แคล้วคลาดมาได้ราวกับปาฏิหาริย์ทุกครั้งเช่น

ในวันหนึ่งขณะที่ท่านและคณะได้เดินทางข้ามแม่น้ำอยู่นั้น ก็มีกลุ่มโจรสลัดกลุ่มใหญ่ปรากฏตัวขึ้นพร้อมทั้งเข้าปล้นทรัพย์สิน เงินทอง อาหาร แต่เนื่องด้วยโจรกลุ่มนี้นั้นนับถือภูติผีเป็นพระเจ้า จึงต้องการนำคนไปบูชายัญให้กับเทพเจ้าที่ตนเองนับถือด้วย ซึ่งก็บังเอิญว่า พระถังซัมจั๋งมีลักษณะตรงตามที่ต้องการพอดี พวกมันจึงพากันจัดแท่นบูชายัญบนเรือของพวกมันกันอย่างขยันขันแข็งด้วยความอิ่มเอิบใจที่จะได้เซ่นบวงสรวงแก่ภูตผีที่พวกมันนับถือ เมื่อการก่อสร้างแท่นบูชายัญแล้วเสร็จ จึงได้นำท่านขึ้นไปบนแท่นเพื่อบูชายัญ

ในขณะนั้น พระถังซัมจั๋งหาได้แสดงทีท่าหวาดกลัวแต่อย่างใดไม่ ยังคงความสงบเยือกเย็น ราวกับว่าท่านปลงใจได้ว่าอะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิดไปตามกรรม ท่านจึงกล่าวกับเหล่าโจรว่า “ในเมื่อท่านต้องการบูชายัญเราให้กับพระเจ้าของท่านแล้ว เราก็จะไม่ขัดขืนแต่ประการใด” จากนั้นท่านก็นั่งลงในท่าขัดสมาธิ พร้อมทั้งเริ่มออกเสียงสวดมนค์พระนามของพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้า ทุก ๆ พระองค์ ซึ่งก็เหมือนกันปาฏิหาริย์ เพราะจู่ ๆ ก็เริ่มมีลมวูบใหญ่พัดแรงจนกิ่งไม้ขนาดใหญ่ที่อยู่บนฝั่งนั้นหักโค่นลงมา ฟ้าเริ่มผ่าเหมือนกับมีพายุใหญ่ จนเรือของโจรสลัดบางลำถึงกับล่มลง เหล่าโจรสลัดพากันกลัวอกสั่นขวัญหายกับสิ่งที่กำลังเกิดอยู่ เสียงร้องขอความช่วยเหลือดังระงมไปทั่ว ซึ่งขณะนั้น ผู้ร่วมทางคนหนึ่งในคณะของท่านเกิดความคิดขึ้นมาจึงร้องตะโกนบอกพวกโจรว่า “พวกท่านไม่รู้หรือว่า บุคคลที่ท่านกำลังจะบูชายัญนั้น คือ พระถังซัมจั๋งผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงค์ถัง การที่พวกเจ้าหมิ่นท่านเช่นนี้ มิเห็นหรือว่าแม้แต่พระเจ้าของพวกเจ้าก็ยังทรงพิโรธ จนถึงกับจมเรือพวกเจ้าลงแล้ว”

พวกโจรที่กำลังขวัญหนีดีฝ่อได้ยินเช่นนั้นจึงพากันก้มตัวลงกราบกรานพระถังซัมจั๋งพร้อมกับอ้อนวอนขอความเมตตาให้ท่านทรงอภัยให้กับสิ่งที่พวกตนได้กระทำลงไปในครั้งนี้ แต่ในครานั้น พระถังซัมจั๋งท่านอยู่ในอารมณ์สมาธิแล้ว ท่านจึงมิได้สนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด ยังคงนั่งหลับตาอย่างสงบ โดยปราศจากทีท่าตื่นตระหนกกับสิ่งรอบข้างแต่อย่างใด จนเมื่อหัวหน้าของโจรสลัดคลานขึ้นไปยังแท่นบูชายัญพร้อมกับสะกิดเรียกท่านอย่างแผ่วเบา ท่านจึงลืมตาขึ้น พร้อมกับถามอย่างสงบนิ่งว่า “นี่ถึงเวลาสำหรับการบูชายัญแล้วหรือ” ความใจเย็นของท่านกับการเผชิญหน้ากับความเป็นตายในครั้งนี้ทำให้เหล่าโจรเชื่อมั่นว่าท่านเป็นผู้วิเศษมีอิทธิฤทธิ์ จึงกล่าวขอขมาท่านพร้อมทั้งแล่นเรือมาส่งให้ถึงฝั่งอีกด้วย



หลังจากพระถังซัมจั๋งจาริกมาถึงประเทศอินเดียแล้วนั้น ท่านก็ได้เดินทางไปยังเมืองแคสเมียร์ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น ซึ่งในแคสเมียร์นี้มีพระสงฆ์บรรพชาอยู่กว่า 5,000 รูป ท่านจึงได้พำนักอยู่ที่นี่ พร้อมกับเรียนรู้ธรรมะจากพระเกจิชื่อดังในสมัยนั้นเป็นเวลาถึง 2 ปี ท่านยังได้ผ่านเมืองมากมายจนกระทั่งได้ผ่านมาพบกับ โรงเรียนแห่งหนึ่งซึ่งยึดหลักคำสอนว่า จิตเท่านั้นที่คงอยู่ในโลกนี้ ที่เป็นของจริง ส่วนทุกสิ่งที่เหลือนั้นเป็นเพียงแต่ภาพลวงตาสำหรับเราเท่านั้นยึดเป็นแก่นสารไม่ได้ ซึ่งท่านก็มีความศรัทธาในความคิดเช่นนี้เหมือนกัน

จากนั้นมาท่านก็แสวงบุญไปยังสถานที่ที่พระพุทธเจ้าได้ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา จนกระทั่งนิพพาน หลังจากได้ไปสักการะสังเวชนียสถานทุกแห่งแล้ว ท่านก็ได้ตั้งเป้าหมายการเดินทางไปที่มหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็นที่หมายในการศีกษาของท่านตั้งแต่แรก นาลันทาเป็นสังฆาราม สถานศึกษาในทางพุทธศาสนา ฯพณฯ เยาวหราล เนห์รู เขียนไว้ใน Glimpses of World History ว่า สถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพในอินเดียยุคนั้น มี ๔ เมือง คือ ตักกสิลา มถุรา อุชเชนี และนาลันทา แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับออกสู่สายตาของต่างประเทศ ก็คือมหาวิทยาลัยนาลันทานี่เอง

ในยุคนั้น มีนักศึกษาประมาณ ๑๐,๐๐๐ มีครูรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยประมาณ ๑,๐๐๐ คน มีการสอนวิชาทุกอย่างที่อินเดียมีอยู่ในสมัยนั้น สอนทั้งพุทธ พราหมณ์ สอนทั้งหินยาน มหายาน สอนทั้งพระเวท มีภาควิชาอยู่ ๕ แขนงให้เลือกเรียน คือ พุทธปรัชญา วรรณคดี ตรรกวิทยา แพทย์ศาสตร์ และคัมภีร์พราหมณ์ แต่มีวิชาหลักบังคับให้เรียน คือ พระไตรปิฎกพระถังซัมจั๋ง เดินทางมาถึงนาลันทา พ.ศ. ๑๓๐๐ (ค.ศ. ๗๕๗) ได้บันทึกไว้ว่า พระเจ้าหรรษวรรธนะ แห่งราชวงศ์คุปตะ พ.ศ. ๑๑๔๙–๑๑๙๑ (ค.ศ. ๖๐๖–๖๔๘) ทรงให้ความอุปถัมภ์อย่างแข็งแรง โดยทรงสร้างกุฏิเป็นโลหะทั้งหลัง ถวายราชทรัพย์ที่ได้จากภาษีหมู่บ้าน ๑๐๐ หมู่ ให้แก่มหาวิทยาลัยทั้งหมด และทรงกำหนดให้ชาวบ้าน ๒๐๐ ครัวเรือน ในหมู่บ้าน คอยดูแลจัดหาข้าวสาร นมเนย ถวายพระภิกษุในมหาวิทยาลัยไม่ให้บกพร่อง

นาลันทามหาวิหารในยุคนั้นจะเรียกว่าอยู่ในราชูปถัมภ์ก็ได้ เพราะกษัตริย์ทุก ๆ พระองค์ ทรงถือเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้อุปถัมภ์สังฆารามแห่งนี้ เช่น พระเจ้าพลาทิตย์ทรงสร้างวิหาร ๑ หลัง เป็นวิหารรวมศาสนาอื่น ๆ เข้าไปทำพิธีก็ได้ พระเจ้าเทวปาละ ทรงอุทิศที่ดินให้แก่ มหาราชา พุลบุตร และสร้างวิหารอีกหนึ่งหลัง ทั้งกับทรงยกหมู่บ้านราชคฤห์สี่แห่ง หมู่บ้านคยาหนึ่งแห่ง ให้มหาวิทยาลัยเก็บผลประโยชน์

การเรียนการสอนเป็นไปอย่างเข้มงวด คือ อาจารย์คนหนึ่งสอนลูกศิษย์เพียง ๔ คน ใช้เวลาสอนตั้งแต่เช้า จนตะวันตกดิน เปิดโอกาสให้มีการปุจฉาวิสัชนากันได้อย่างเต็มที่ ใครสงสัยอะไรก็ซักฟอกกันได้อย่างถี่ถ้วน ให้รู้แจ่มแจ้งในทุกแขนงวิชา นาลันทาจึงเป็นแดนแห่งเสรีภาพ ในความเชื่อ ความคิด แก่นักศึกษาอย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนี้วิทยาการทั้งหลาย จึงเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ

มหาวิทยาลัยเหล่านี้ นอกจากได้รับความอุปถัมภ์จากรัฐและราษฎร์แล้ว ยังประกอบการเกษตรกรรมในที่ดิน ซึ่งมีผู้ยกให้แก่มหาวิทยาลัยอีกด้วย เจ้าหน้าที่การเกษตรของมหาวิทยาลัย เรียกว่า อารามิกะ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการปรุงแต่งอาหาร การจัดการหน้าที่รับผิดชอบแบ่งออกเป็นฝ่ายสถานที่ เรียกว่า วิหารบาล ซึ่งทำหน้าที่ผู้รักษาประตู และจัดการทั้งปวง



ในบรรดาศิษย์ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ไม่กี่หมื่นที่แตกฉานพระธรรมได้ 20 เล่ม และมีเพียง 10 เท่านั้นที่สามารถแตกฉานพระคัมภีร์ได้ถึง 50 เล่ม จริง ๆ แล้ว นามว่า “ซัมจั๋ง” นั้น มิใช่จักรพรรดิถังไท่จงประทานให้ตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจไม่ แต่จริง ๆ แล้ว คำว่า “ซัมจั๋ง” นั้นเป็นตำแหน่งซึ่งมหาวิทยาลัยนาลันทาใช้เรียกศิษย์ที่สามารถแตกฉานพระคัมภีร์ได้เกินกว่า 50 เล่มขึ้นไปเท่านั้น จากการศึกษาทางประวัติศาสตร์มีหลักฐานบ่งชี้ว่าเป็นดังนี้ เพราะคำว่า “ซัมจั๋ง” นั้น มีความหมายว่าผู้ที่แตกฉานในพระไตรปิฎกเป็นอย่างดีแล้ว

หลวงจีนถังซัมจั๋งเดินทางจากแผ่นดินจีนเข้ามาเป็นศิษย์ศึกษาสรรพวิชา และทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนของสำนักนาลันทาแห่งนี้ ท่านเคยเล่าถึงบรรยากาศในครั้งนั้นว่า “การถามตอบเป็นไปอย่างลึกซึ้ง ใช้เวลาตลอดวันยังไม่พอ ต่างอภิปรายถกเถียงกันด้วยหลักวิชาตั้งแต่เช้าจนถึงกลางคืน ทั้งคนอาวุโสและคนหนุ่มต่างช่วยซึ่งกันและกัน ผู้ไม่สามารถอภิปรายปัญหาธรรมจากพระไตรปิฎกได้ ย่อมไม่ได้รับการยกย่องนับถือ และมักจะหลบซ่อนตัวเองด้วยละอายแก่ใจ”

พระถังซัมจั๋งยังเล่าในบันทึกที่เป็นประโยชน์ว่า “พระเจ้าชัยวรมัน แห่งราชวงศ์โมรยะ เป็นผู้สร้างพระพุทธรูปทองแดง สูง ๘๐ ฟุต ประดิษฐานในวิหาร ๖ แห่ง และยังเห็นหอสมุดมหึมาตั้งอยู่เป็นตึกใหญ่ ๓ หลัง คือ รัตนสาคร รัตโนทธิ และรัตนรัชชกะ รัตนสาคร เป็นตึกใหญ่สูงตั้ง ๙ ชั้น เป็นที่เก็บรักษาบรรดาคัมภีร์และสิ่งมีค่า เพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาของนักเรียนสารพัดอย่าง”



ด้วยความสามารถในการเทศนาธรรมะ และการมีความรู้สติปัญญาอันชาญฉลาดอย่างยิ่งยวดในทางพระพุทธศาสนา ทำให้พระภิกษุเสวียนจั้งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าหรรษะวรรธนะแห่งนครธเนศวร ที่ทรงประสบความสำเร็จในการสถาปนาจักรวรรดิขึ้นมาใหม่ ทรงเป็นองค์อุปถัมภกนิกายมหายานที่เมืองนาลันทา เมื่อพระภิกษุเสวียนจั้งปรารภว่าจะเดินทางกลับเมืองจีน พระองค์ก็ทรงพยายามเหนี่ยวรั้งทัดทานมิให้พระภิกษุเสวียนจั้งเดินทางกลับสู่ประเทศจีนหลายต่อหลายครั้ง จนในที่สุดก็จำต้องอนุญาต พร้อมกับพระราชทานรถเทียมม้า 20 คัน เพื่อบรรทุกพระไตรปิฎกฉบับที่บันทึกเป็นภาษาสันสกฤต และวัตถุบูชาทางศาสนากลับมาด้วย

พระถังซัมจั๋งเดินทางกลับมาถึงซีอานในปีพ.ศ. ๑๑๘๘ รวมระยะเวลาเดินทาง ๑๗ ปี ระยะทางทั้งสิ้นกว่า ๑๕,๐๐๐ ไมล์ สิ่งที่นำกลับมานั้นมีพระคัมภีร์และพระพุทธรูปที่ท่านสะสมมาเป็นเวลานานปี หลังจากเดินทางถึงเขตชายแดนแล้ว ท่านจึงได้ส่งจดหมายไปยังพระจักรพรรดิเพื่อขอพระราชทานพระอภัยโทษ พร้อมทั้งบอกเล่าเรื่องราวที่ท่านได้ประสบพบเจอมาระหว่างการเดินทางอันแสนลำบากนั้น เมื่อพระจักรพรรดิได้รับจดหมายแล้วก็ทรงมีความสนพระทัยในข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงประเทศทางตะวันตกด้วย จึงได้มีรับสั่งอภัยโทษให้กับท่าน แล้วเรียนเชิญท่านมายังเมืองหลวง หลังจากการศึกษาแล้ว พบว่า พระถังซัมจั๋งนั้นได้นำพระคัมภีร์กลับมาด้วยกว่า 600 เล่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำสอนของลัทธิมหายาน เมื่อท่านจากไปครั้งนั้นต้องไปแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ เสี่ยงชีวิต แต่เมื่อท่านได้กลับมาอีกครั้ง ถนนเต็มไปด้วยผู้คนที่มาแสดงความชื่นชมต้อนรับท่านกันทั่วไป แม้กระทั่งองจักรพรรดิก็ยังทรงเชิญท่านเสด็จเข้าไปในพระราชวังเพื่อสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลการเดินทางและประเทศต่างๆ ที่ท่านได้จาริกผ่าน ท่านปฏิเสธพระราชกระแสที่จะให้ท่านสึกเป็นขุนนาง แล้วก็เข้าพักอยู่ที่วัดหงฝู (Hong Fu) ในกรุงฉังอัน ด้วยพระราชูปถัมภ์ของจักรพรรดิถังไท่จง ท่านอาจารย์ได้จัดทำโครงการแปลพระคัมภีร์อันยิ่งใหญ่ โดยเปิดรับสมัครพระภิกษุชั้นผู้ใหญ่และนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงจากท้องถิ่นต่างๆ มาแปลพระคัมภีร์เป็นเวลานานถึง 19 ปีองค์จักรพรรดิได้ทรงขอให้ท่านเขียนข้อมูลเหล่านั้นขึ้นเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นประโยชน์ในอนาคตรวมทั้งยังทรงขอให้ท่านทำงานในพระราชวังโดยมีศักดิ์เป็นขุนนางในพระราชวังด้วย แต่ท่านก็ทรงปฏิเสธเพราะท่านอยากมุ่งมั่นกับการแปลพระคัมภีร์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษามากกว่า ต่อมาพระจักรพรรดิจึงทรงสนับสนุนการแปลพระคัมภีร์มากขึ้น โดยทรงถึงกับตั้งศูนย์กลางการแปลพระคัมภีร์ขึ้นมาให้กับพระถังซัมจั๋งโดยตรง รวมถึงทรงสนับสนุนเบี้ยปัจจัย บุคคลากร พร้อมอุปกรณ์การเขียนทั้งหลายเพื่อความสะดวกต่อการกำเนินการแปลพระคัมภีร์จากภาษาต่าง ๆ มาเป็นภาษาจีน ซึ่งต่อมามีส่วนอย่างมากต่อการเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในประเทศจีน พระถังซัมจั๋งยังได้แต่งหนังสือคำสอนขึ้นมาเองอีกหลายเล่มเพื่อมุ่งเน้นหลักธรรมที่ท่านได้ศึกษาโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับจิดวิญญาณ ท่านได้แปลคำสอนต่าง ๆ จากภาษาสันสกฤตมาเป็นภาษาจีน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ตุลาคม 2559 09:34:19 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.273 Chrome 50.0.2661.273


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2559 09:33:44 »

ท่านอุทิศตนในการแปลพระคัมภีร์อย่างตั้งใจ ในระยะเวลา 19 ปีท่านได้แปลคัมภีร์ทั้งหมด 75 เรื่อง 1335 ม้วน ครอบคลุมถึงผลงานทั่วไปที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาของอินเดียในสมัยศตวรรษที่ 5 นอกจากนี้ ในปั้นปลายชีวิต ท่านอาจารย์ยังได้แปล “พระมหาปรัชญาสูตร” รวม 600 ม้วนซึ่งเป็นพระสูตรเล่มใหญ่ที่สุด



จวบจนกระทั่ง อายุ 63 ปี เนื่องจากสุขภาพที่อ่อนแอลง รวมถึงการตรากตรำทำงานหนัก ท่านได้มรณภาพลงในวัดยู่หัว เมืองฉางอัน พระภิกษุเสวียนจั้งมรณภาพเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 664 ก่อนมรณภาพท่านให้จัดพิธีศพเป็นเรียบง่าย แต่องค์ฮ่องเต้ก็จัดงานให้ท่านอย่างยิ่งใหญ่และมีผู้มาเข้าร่วมพิธีมากมาย คนเรียกท่านว่า “ซานฉางฝ่าซือ” ที่แปลว่า “พระธรรมาจารย์ไตรปิฎก” ส่วนคำเรียกชื่อท่านว่า “พระถังซัมจั๋ง” นั้น มีความหมายว่า “พระไตรปิฎกธราจารย์แห่งราชวงศ์ถัง” ยามที่ท่านได้มรณภาพลงนั้น แม้แต่องค์จักรพรรดิก็ต้องทรงกรรแสง เอ่ยพระโอษฐ์ออกมาว่า “ดวงแก้วมณีอันลำค่าของชาติ ได้สาบสูญไปเสียแล้ว” ปัจจุบันนี้ หลักฐานเกี่ยวกับพระองค์ท่านยังสามารถหาชมได้ในวัดเก่าแก่บางแห่งในประเทศจีนรวมถึงประเทศญี่ปุ่นด้วย

นอกจากผลงานทางพุทธศาสนาแล้ว พระถังซัมจั๋งยังนำสิ่งที่ได้เห็นได้ยินมาด้วยตนเองไปเล่าให้เปี้ยนจีลูกศิษย์ฟังและให้บันทึกเป็นหนังสือโดยให้ชื่อเรื่องว่า “บันทึกการเดินทางสู่แดนตะวันตกสมัยราชวงศ์ถัง” (Datang’s Western Regions) [“ต้าถังซีโหยวจี้” (大唐西游记) ] โดยเขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 646 ใช้เวลาเขียนนาน 1 ปี บันทึกการเดินทางของพระภิกษุเสวียนจั้งนั้นมีคุณาประการมหาศาลต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ เพราะอุดมไปด้วยข้อมูลสำคัญของดินแดนในเอเชียกลางและเอเชียใต้ ทำให้คนในสมัยหลังทราบถึงสภาพของดินแดนเหล่านี้เมื่อ 1,300 ปีที่แล้ว นอกจากนี้ยังทราบถึงสภาพการเดินทาง สภาพภูมิประเทศของดินแดนที่พระภิกษุเสวียนจั้งเดินทางผ่านระหว่างการจาริกแสวงบุญ ประวัติความเป็นมาของดินแดนนั้นๆ สภาพผู้คน ดินฟ้าอากาศ วัฒนธรรมอันหลายหลาย ฯลฯ บันทึกการเดินทางนี้พระภิกษุเสวียนจั้งได้เล่าถึงดินแดนต่างๆ กว่า 138 แห่ง ดินแดนที่พระภิกษุเสวียนจั้งเดินทางผ่านไปด้วยตัวเองนั้นมีทั้งหมด 110 แห่ง และที่เหลือเขียนบันทึกจากคำบอกเล่าของผู้อื่น พระถังซัมจั๋งจึงมีฐานะสำคัญในประวัติวัฒนธรรมของจีนตลอดจนของตะวันออกครับ

ชีวิตของพระภิกษุเสวียนจั้ง ได้เป็นแรงบันดาลในให้นักประพันธ์ในรุ่นหลังสร้างสรรค์เรื่องราวอันทรงคุณค่ามาช่วยจรรโลงโลกให้รื่นรมย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะและงานเขียน มีภาพวาดพระถังซัมจั๋ง มีงานเขียนอันสำคัญๆ เกิดขึ้นมากมาย อย่างเช่น “กาพย์กลอนว่าด้วยพระถังซัมจั๋งไปอัญเชิญพระคัมภีร์” ที่แต่งขึ้นมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง และสุดยอดวรรณกรรมอมตะอย่าง “ไซอิ๋ว” ที่แต่งขึ้นมาในสมัยราชวงศ์หมิง



ปริศนาธรรม

ไซอิ๋วเป็นเรื่องของการเดินทางไปยังชมพูทวีป (อินเดีย) เพื่ออัญเชิญคัมภีร์พระพุทธศาสนาของหลวงจีนชื่อ พระถังซำจั๋ง โดยมีสัตว์ 3 ตัวเป็นเพื่อนร่วมทาง ไซอิ๋ว ได้แปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย รวมทั้งภาษาไทยและมีหลายมิติหลายภาค ที่ซ่อนลึกอยู่

มิติที่ 1 เป็นการเดินทางธุดงภ์ของพระถังซัมจั๋ง โดยมีศิษย์เอกคือ เห้งเจีย โป้ยก่าย และซัวเจ๋ง เป็นองครักษ์ซึ่งคนทั่วไปรู้เรื่องราวจากสื่อทีวีและภาพยนตร์
มิติที่ 2 เป็นตำนานวัฒนธรรมประเพณีจีนที่กำเนิดมาจากสมัยราชวงศ์ถัง เช่น การใช้สตางค์ โปรยทาน กำเนิดทวารบาล การเผากระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ
มิติที่ 3 การเดินทางธุดงค์ของพระถังซัมจั๋ง ซึ่งท่านบัณฑิตอู๋ เฉิง เอิน เขียนไว้แท้จริง มิใช่การเดินทางในความหมายที่คนทั่วไปเข้าใจ แต่ ... เป็นการเดินทางของจิตวิญญาณ โดยการ บำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีลสิกขา สมาธิสิกขา และปัญญาสิกขา และศิษย์เอกทั้ง 3 ของ พระถังซัมจั๋ง เปรียบเหมือนเป็นตัวแทนของไตรสิกขาไม่มีตัวตนจริงเป็นเพียงบุคลาทิษฐาน และการเดินทางต้องเผชิญกับยักษ์มารภูตผีปีศาจต่างๆ ซึ่งเปรียบเหมือนกิเลสหรืออกุศลธรรม ส่วนคนดีที่พบเจอในระหว่างเดินทางเป็นตัวแทนของกุศลธรรม

ท่าน ล.เสถียรสุตเขียนว่า

เห้งเจียมีลักษณะขี้โมโห และมีความเฉลียวฉลาด
หมูตือโป๊ยก่ายมีความโลภ และมักมากในการกิน
ซัวเจ๋งมีความโง่ซื่อเป็นเจ้าเรือน

แม้ชื่อก็ตั้งได้ตรงกับบุคลิกของตัวละคร
อย่างเช่นเห้งเจียนี้ แปลว่า นักปฏิบัติ คือถ้าโกรธมากก็ต้องปฏิบัติให้มาก เพื่อควบคุมความโกรธ
โป๊ยก่ายมีความโลภต้องเอาศีลแปดมาควบคุม ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัสไว้
ส่วนซัวเจ๋งนี้โง่ก็ต้องเอาปัญญาเข้ามานำทาง

รวมศีล สมาธิ ปัญญา ของทั้งสามนี้เข้าก็เป็นทางไปสู่ความหลุดพ้นได้
ส่วนพวกปิศาจก็เป็นบุคลิกลักษณะจิตใจชนิดต่างๆ ของคนเช่นกัน

การตีความปริศนาธรรมใน ไซอิ๋ว เป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะมีเค้าให้ทำได้อยู่เหมือนกัน แต่การตีความให้ได้ความหมายทุกจุด ตลอดทั้งเรื่องอาจจะเป็นสิ่งสุดวิสัย เชื่อว่าท่านผู้เขียนคงมีหลักในการแต่ง คือเป็นเรื่องของการจัดการกับความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อได้ศึกษาพระธรรมมากเข้า กิเลสเหล่านี้ก็จะจางคลายหายไป กลายเป็นเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา



ที่มา http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2010/07/Y9489341/Y9489341.html

ไซอิ๋ว (ฉบับเดินทางสู่พุทธภาวะ) http://www.tairomdham.net/index.php/board,59.0.html
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
Journey to the west : ไซอิ๋ว ภาคล่าสุด CG สุดยอดดดด
หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
มดเอ๊ก 3 9185 กระทู้ล่าสุด 20 ธันวาคม 2553 17:03:35
โดย หมีงงในพงหญ้า
ไซอิ๋ว Journey To The West 2011 ล่าซู๊ดดดด ซีจีเพียบ ๆๆๆๆๆ
หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
มดเอ๊ก 4 16100 กระทู้ล่าสุด 07 สิงหาคม 2554 17:10:16
โดย ▄︻┻┳═一
สารคดี (Eng) National Geographic : Journey To The Edge Of The Universe
วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
Compatable 1 3143 กระทู้ล่าสุด 09 มีนาคม 2555 20:06:55
โดย Compatable
ห้องสมุดหลังไมค์ เทพนิยาย ไซอิ๋ว (Journey to the West )
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 346 กระทู้ล่าสุด 06 ธันวาคม 2565 18:11:02
โดย มดเอ๊ก
Journey to the West ย้อนรอยเส้นทางสู่ชมพูทวีปของ “พระถังซัมจั๋ง” (Xuanzang)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 86 กระทู้ล่าสุด 07 กุมภาพันธ์ 2567 05:09:49
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.851 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 23 มกราคม 2567 09:08:16