[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:50:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธปัญญาภิรมย์ : ตามรอยพระโพธิสัตว์ (พระอาจารย์ วิศวภัทร มณีปัทมเกตุ)  (อ่าน 3667 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.273 Chrome 50.0.2661.273


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 ตุลาคม 2559 16:02:11 »

<a href="https://www.youtube.com/v/eX4dvdGKcbM" target="_blank">https://www.youtube.com/v/eX4dvdGKcbM</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/xFzOW-O-nm0" target="_blank">https://www.youtube.com/v/xFzOW-O-nm0</a>

จาก https://www.youtube.com/playlist?list=PLr8CA-SlIPTThYfQKnNJqXZtlI-wKsYYH




หลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ

พระวิศวภัทร ฉายา เส็กก่วงโต่ว (จีน: 釋廣度) เป็นชาวไทยที่ออกบวช ณ ภูเขาเก้ายอด หรือภูเขาจิ่วหัวซาน (จีน: 九華山) ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของพระกษิติครรภ์มหาโพธิสัตว์ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 พุทธบรรพตของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (เดิมบรรพชาอุปสมบทในคณะสงฆ์จีนนิกาย ภายหลังได้ลาสิกขาบท)

ท่านเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการแปลพระสูตรมหายานจากพระไตรปิฎกภาษาจีนเป็นภาษาไทย จำนวนมากกว่า 20 พระสูตร และเน้นการนำข้อวัตรปฏิบัติที่ปรากฏในพระสูตรมหายานออกมาปฏิบัติได้จริง ปัจจุบันเป็นรองประธานและคณะทำงานโครงการแปลพระสูตรมหายานจีน-ไทยเฉลิมพระเกียรติ (จีน: 崇聖大乘佛經中泰翻譯組; อังกฤษ: Chinese-Thai Mahāyāna Sūtra Translation Project in Honour of His Majesty the King)

ประวัติ

พระวิศวภัทร นามเดิม วิศวภัทร มณีปัทมเกตุ เกิดเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2522 ที่จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าไตร เพื่อบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์เย็น (普仁寺) ตำบลดอนขมิ้น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ในสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย โดยมีพระอาจารย์จีนวินยานุกร (仁意大師) ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายขวา เป็นพระอุปัชฌาย์ ฉายา เซี่ยเกี๊ยก ภายหลังได้ลาสิกขาบท แล้วบรรพชาอุปสมบทใหม่ เพื่อลาไปศึกษาพระพุทธศาสนามหายาน และปฏิบัติธรรมที่วัดอวตังสกะ ภูเขาจิ่วหัวซาน พุทธบรรพตที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระกษิติครรภ์มหาโพธิสัตว์ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในสายอวตังสกะ (หัวเหยียน: 華嚴宗) และสายฌาน (เซ็น:禪宗) โดยพระธรรมาจารย์ฮุยกวงมหาเถระ กรรมการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งประเทศจีน , รองเจ้าคณะมณฑลอันฮุย, รองเจ้าคณะภูเขาจิ่วหัวซาน เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาทางธรรมว่า "เส็กก่วงโต่ว (จีน: 釋廣度)

ปัจจุบันพำนักอยู่ที่สำนักพระกษิติครรภ์ มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย (佛眼禪林:地藏道場) พุทธมณฑลสาย 6 เลขที่ 88 หมู่ 1 พุทธมณฑลสาย 6 ตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

พระวิศวภัทร สนใจคัมภีร์ฝ่ายมหายานมาตั้งแต่อายุ 17 ปี ได้พยายามถ่ายทอดพระธรรมคัมภีร์ฝ่ายมหายานที่อยู่ในรูปของภาษาจีนสู่ภาคภาษาไทย มีผลงานแปลพระสูตรมหายานกว่า 20 เรื่อง ได้ตีพิมพ์เผยแผ่เป็นรูปเล่มแล้วกว่า 200,000 เล่ม ดีวีดีสื่อธรรมะกว่า 50,000 แผ่น รูปภาพพระพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์อีกกว่า 120,000 ใบซึ่งแจกโดยไม่คิดมูลค่า เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ทั้งยังได้รับพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ พระฉายาลักษณ์และพระรูป อัญเชิญมาตีพิมพ์ในหนังสือผลงาน อันแสดงถึงความสนพระราชหฤทัยและทรงส่งเสริมการพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้นำมาซึ่งความปลาบปลื้มของคณะสาธุชนผู้มีส่วนร่วมอย่างหาที่สุดมิได้

สมัยครองเพศฆราวาสปี 2545 ได้รับพระราชทานรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาคุณธรรมและจริยธรรม จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จัดโดยคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) และในปี 2546 ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2548 ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวาย หนังสือไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธปูรวปณิธานวิเศษสูตร (แปลไทย) เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ เพื่อพระราชทานแก่หน่วยแพทย์อาสา (พอสว.)

เมื่อบรรพชาอุปสมบทได้ 2 พรรษา ในวันที่ 31 มีนาคม 2551 ได้เข้าเฝ้าฯและรับพระราชทานทุนทรัพย์จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นทุนปฐมฤกษ์ในโครงการแปลพระสูตรมหายาน ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยไม่แบ่งแยกลัทธินิกายใดๆ

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานชื่อโครงการนี้ว่า "โครงการแปลพระสูตรมหายานจีน-ไทยเฉลิมพระเกียรติ" ชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Chinese-Thai Mahāyāna Sūtra Translation Project in Honour of His Majesty the King” ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2553

วันที่ 13 พฤษภาคม 2551 ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสัปดาห์พระพุทธศาสนาวิสาขบูชา ถือเป็นพระสงฆ์ในสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายรุ่น "เซี่ย" หรือ "聖" รูปแรกและพรรษาน้อยที่สุด ที่ได้รับพระราชทานรางวัลนี้ จากนั้นยังได้เข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายหนังสือพระสูตรมหายานแปลไทย แด่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ อีกหลายครั้ง และได้รับนิมนต์ไปบรรยายธรรมมหายานที่สมาคมจีนและสถานที่ปฏิบัติธรรมต่างๆ อยู่เสมอ

ปัจจุบัน (ปี 2555) เป็นประธานมูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย ตั้งอยู่ที่พุทธมณฑลสาย 6 และเป็นประธานการก่อสร้างพระกษิติครรภ์มหาโพธิสัตว์ แกะสลักด้วยหินแกรนิต ส่วนสูงรวมฐาน 13.99 เมตร ประดิษฐาน ณ มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย

ผลงานการแปลพระสูตรฝ่ายมหายานนั้น ไม่เพียงได้ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวจีนจำนวนมาก ที่ศรัทธาพระพุทธศาสนาแบบจีนหรือมหายานได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตามคัมภีร์ฝ่ายมหายานยิ่งขึ้นเท่านั้น ชาวพุทธฝ่ายเถรวาทก็ยังได้มีความรู้ความเข้าใจ ได้สัมผัสพระธรรมคัมภีร์ฝ่ายมหายานโดยการอ่าน ซึ่งที่ผ่านมานั้นความรู้หรือตำราฝ่ายนิกายมหายานนั้น ถูกจำกัดอยู่แต่ในภาษาจีน จึงทำให้ชาวจีนยุคใหม่และชาวไทยจำนวนมากขาดความเข้าใจและศรัทธาที่ถูกต้อง งานแปลพระสูตรนี้ยังได้สร้างกระแสความสนใจและความตื่นตัวให้หน่วยงานหลายแห่งที่เกี่ยวข้อง ได้สนใจศึกษาและเผยแผ่พระสูตรทางมหายานอย่างจริงจัง

ท่านได้รับพระราชทานพระฉายาลักษณ์อัญเชิญมาประดิษฐานในเล่มพระสูตรแปล ได้รับพระราชทานเงินในการจัดตั้งโครงการแปลพระสูตรมหายาน ได้รับพระราชทานรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาระดับชาติ และรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ (สมัยฆราวาส) ซึ่งแสดงว่าผลงานของท่านได้ก่อเกิดประโยชน์ต่อการศึกษาและปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนโดยส่วนรวม ทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายาน โดยท่านได้ทำให้หลักธรรมคำสอนทางฝ่ายมหายาน ที่เป็นพระธรรมคัมภีร์ออกเผยแผ่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายผลต่อการศึกษาหลักธรรมของนิกายมหายานให้แผ่กว้างต่อไป

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม 2559 พระวิศวภัทร ได้ทำความร่วมมือด้านการศึกษาแลกเปลี่ยนทางพระพุทธศาสนามหายาน กับพระธรรมาจารย์หมิงเซิงมหาเถระ รองประธานสำนักพุทธศาสนาแห่งประเทศจีน ประธานสำนักพุทธศาสนา มณฑลกวางตุ้ง เจ้าอาวาสวัดกวงเซี้ยว (光孝寺) เมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน โดยพระธรรมาจารย์หมิงเซิง ได้เมตตาตั้งชื่อสำนักและเขียนอักษรพู่กันจีนให้แก่มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัยว่า"大乘禪寺" แปลว่า อารามมหายาน เพื่อแกะสลักเหนือซุ้มประตู พร้อมกันนี้ได้มอบพระไตรปิฎก (ภาษาจีน) ประกอบด้วย 永樂北藏,大正藏,乾隆大藏經,卍續藏經,浄土藏 รวม 5 ชุด 129 กล่อง 1,448 เล่ม เพื่อไว้เป็นที่ศึกษา ค้นคว้า ในหอพระไตรฯ มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย และ ได้เมตตามอบ รูปหล่อพระสังฆนายกฮุ่ยเหนิงมหาเถระ (หรือ ท่านเว่ยหล่าง:六祖惠能) เนื้อทองเหลือง สูง 1.98 เมตร จากวัดกวงเซี้ยว เมืองกว่างโจ่ว ที่จัดสร้างขึ้นเพียง 3 องค์ (วัดแห่งนี้เป็นวัดที่ท่านฮุ่ยเหนิง ได้ปลงผมใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ และได้นำเกศาบรรจุไว้ในสถูป 7 ชั้น ซึ่งปัจจุบันต้นโพธิ์ใหญ่และเจดีย์ยังคงอยู่ และยังเป็นสถานที่พระอาจารย์โพธิธรรม หรือพระตั๊กม้อ ได้เคยพักอาศัยเมื่อ 2 พันกว่าปีก่อน)

โดยรูปปฏิมานี้ ได้ปั้นและหล่อโดยช่างฝีมือ ชื่อ พ่านเคอ เป็น 1 ใน 4 ช่างปั้นที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน โดยได้อัญเชิญกลับสู่ประเทศไทย เพื่อเปิดให้สาธุชนได้เข้ากราบสักการะ ภายในหอบูรพาจารย์ มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย เมื่อวันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2559 ถือเป็นนิมิตหมายมงคล แห่งการเผยแผ่พระพุทธธรรมมหายาน สายฌาน (เซ็น) และบารมีธรรมแห่งพระบูรพาจารย์ จากต้นกำเนิดสู่ประเทศไทย.

ประวัติการทำงาน

ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน แปลพระสูตรฝ่ายมหายานจากภาษาจีนสู่ภาษาไทย
ปี 2550 เป็นอาจารย์พิเศษบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปี 2551 ถึง ปัจจุบัน คณะทำงานโครงการแปลพระสูตรมหายานจีน-ไทยเฉลิมพระเกียรติ
ปี 2551 ถึง ปัจจุบัน เรียบเรียงและเปรียบเทียบพระสูตรฝ่ายเถรวาท (ภาษาไทย) และพระสูตรมหายาน (ภาษาจีน) เพื่อเผยแผ่
ปี 2553 เป็นวิทยากรพิเศษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ ชลบุรี
ผลงานแปลพระสูตรและพระคัมภีร์ฝ่ายมหายาน
งานแปลพระสูตรฝ่ายมหายานภาคภาษาจีนสู่ภาคไทย
มหาสุขาวตีวยูหสูตร หรือ อมิตายุสสูตร (佛說大乘無量壽莊嚴清浄平等覺經)
สรฺวตถาคตาธิษฺฐานหฤทยคุหฺยธาตุครณฺฑมุทฺราธารณีสูตฺร (一切如來心秘密全身舍利寳篋印陀羅尼經)
สรฺว ไวทรฺย สํครฺห สูตร (大乘方廣總持經)
ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร (藥師琉璃光如來本願功德經)
อารยศรี วสุธราธารณีมหายานสูตร (佛說大乘聖吉祥持世陀羅尼經)
มหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร (大方廣圓覺修多羅了義經)
กุมารปาล จิรายุวัฒน นิโรธกรรม ธารณีสูตร (佛說長壽滅罪護諸童子陀羅尼經)
พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร (大方廣佛華嚴經 七品)
สหัสรภุชสหัสรเนตรมหากรุณาจิตรธารณีสูตร (千手千眼觀世音菩薩廣大圓滿無礙大悲心陀羅尼經)
ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธปูรวปณิธานวิเศษสูตร (藥師琉璃光七佛本願功德經)
อมิตายุรฺ ธฺยาน สูตร (佛說觀無量壽佛經)
พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร ทศภูมิวรรค (大方廣佛華嚴經 十地品)
อวตัวสกะสูตร สมันตภัทรจริยาปณิธานวรรค (大方廣佛華嚴經 入不思議解脫境界 《普賢行願品》)
มหารัตนกูฏสูตร สุมติกุมารีวรรค (大寶積經 妙慧童女品)
อมิตาพุทธสูตร (佛說阿彌陀經)
กษิติครรภ์โพธิสัตว์มูลปณิธานสูตร(ฉบับอธิบายความ) (地藏菩薩本願經-淺說)
ทศกุศลกรรมบถสูตร ((佛說十善業道經))
มานุเษนทรรัฐปาล ปรัชญาปารมิตาสูตร (仁王護國般若波羅蜜多經)
มัญชุศรีปรัชญาปารมิตาสูตร (文殊師利所說般若波羅密經)
โพธิจิตรวยูหสูตร (佛說莊嚴菩提心經)
อมิตาสารัตถสูตร (無量義經)
มหายาน มหาสนฺนิปาต กษิติครรภ ทศจกฺร สูตร (大乘大集地藏十輪經)
มัญชุศรีวิหารสูตร (佛說文殊尸利行經)
อุตรเคราะห์นิรันตรายจิรายุวัฒนสูตร (佛說天中北斗古佛消災延壽妙經)
ธรฺม-ธาตุ-ปรกฺฤตย-อวตาร-สูตฺร (入法界體性經)
ปรตีตฺย-สมุตฺปาท สูตร (หรือ ปฏิจจสมุปบาทสูตร 緣起經)
พุทฺธอุษฺณีษวิชยธารณีสูตฺร (大佛頂尊勝陀羅尼經)
งานเขียนทั่วไป
พระพุทธเจ้าและพระธรรมสูตรฝ่ายมหายาน
ประวัติพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ของมหายาน
เกี่ยวกับสุขาวตีพุทธเกษตร
คำแปลบทสวดธรรมสังคีตในคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย
ธารณีมนตร์ของนิกายวัชรยาน
คำแปลบทสวดมนต์ทำวัตรเย็นของมหายาน
พระไภษัชยคุรุตถาคต กับสังคม
ทศมหาปณิธาน ของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ จริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน
๑๐๘ ธรรมวจนะในพระสูตรมหายาน เรื่อง "โพธิจิต"
พระกษิติครรภ์มหาโพธิสัตว์ ยอดแห่งปณิธาน

สื่อธรรมะ

ดีวีดีกาตูนภาพนิ่ง ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร (แปลไทย) (藥師琉璃光如來本願功德經)
ดีวีดีอุปรากรจีนแต้จิ๋ว กษิติครรภ์โพธิสัตว์มูลปณิธานสูตร (แปลไทย) (地藏菩薩本願經)
ดีวีดีกาตูนภาพนิ่ง กษิติครรภ์โพธิสัตว์มูลปณิธานสูตร (ฉบับอธิบายความ-แปลไทย) (地藏菩薩本願經-淺說)
หนังสือสวดมนต์มหายาน เล่ม 1 (ภาษาจีน-ไทย พร้อมคำแปล)
ดีวีดีกาตูนเรื่องย่อ มหาสุขาวตีวยูหสูตร (แปลไทย)

อ้างอิง

มหาปารมิตาดอตคอม เวบงานแปลพระธรรมสูตรพุทธศาสนาฝ่ายมหายานฉบับแปลจากภาษาจีนสู่ภาษาไทย
มหายานสูตรไทยดอตคอม เวบโครงการแปลพระสูตรมหายานจีน-ไทยเฉลิมพระเกียรติ
หนังสือผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจำปีพุทธศักราช 2551

จาก http://www.wikiwand.com/th/ หลวงจีนวิศวภัทร_มณีปัทมเกตุ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระคุณท่าน วิศวภัทร เซี๊ยะเกี๊ยก
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
時々๛कभी कभी๛ 0 2369 กระทู้ล่าสุด 20 กันยายน 2554 20:47:13
โดย 時々๛कभी कभी๛
พุทธปัญญาภิรมย์ : เรื่องของวัดจีนและศาสนามหายาน
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1051 กระทู้ล่าสุด 25 มิถุนายน 2559 03:34:52
โดย มดเอ๊ก
พุทธปัญญาภิรมย์ : กรรมฐานน้ำเย็น
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
มดเอ๊ก 0 1172 กระทู้ล่าสุด 31 สิงหาคม 2559 11:33:39
โดย มดเอ๊ก
พุทธปัญญาภิรมย์ : เจาะเวลาหาสวนโมกข์
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
มดเอ๊ก 0 1110 กระทู้ล่าสุด 31 สิงหาคม 2559 11:35:43
โดย มดเอ๊ก
พุทธปัญญาภิรมย์ : ตามล่าหาจิตตนคร (พระศากยวงศ์วิสุทธิ์)
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
มดเอ๊ก 0 1250 กระทู้ล่าสุด 06 ตุลาคม 2559 15:26:02
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.61 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 1 ชั่วโมงที่แล้ว