[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 21:35:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามรอย อิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา ที่ วัดทองคินคะคุจิ  (อ่าน 1760 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5063


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.273 Chrome 50.0.2661.273


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 ตุลาคม 2559 20:42:52 »



ตามรอย..อิคคิวซัง ที่วัดคินคะคุจิ

นุ บางบ่อ...เรื่อง / ภาพ

ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะมีความคุ้นเคยกับวัดคินคะคุจิและท่านโชกุน จากภาพยนต์การ์ตูนอมตะเรื่องเณรน้อยเจ้าปัญญา หรือ อิคคิวซัง แต่ท่านรู้หรือไม่ว่าสถานที่ล้ำค่าแห่งนี้มีความเป็นมาอย่างไร



เมืองเคียวโตะ หรือที่ทั่วไปมักจะออกเสียงเรียกกันว่า เมืองเกียวโต นั้นเป็นอดีตเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางความเจริญของเกาะฮนชู  จากสถิติถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลกในปี พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของเมืองเคียวโตะนั้นเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 8 นับเป็นช่วงเวลาที่นักบวชในพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก  ช่วงเวลาดังกล่าวนักบวชได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจการในราชสำนักของสมเด็จพระจักรพรรดิคัมมุ ทำให้จักรพรรดิตัดสินพระทัยที่จะย้ายนครหลวงไปยังภูมิภาคที่ห่างไกลจากอิทธิพลของพุทธศาสนา โดยทรงเลือกชัยภูมิแห่งใหม่ที่หมู่บ้านอุดะ นครหลวงแห่งใหม่นี้ได้รับนามว่า เฮอังเกียว หรือเมืองเคียวโตะในปัจจุบัน ซึ่งมีความหมายว่า นครหลวงแห่งสันติและสงบสุข  โดยได้แนวคิดมาจากนครหลวงฉางอานแห่งราชวงศ์ถัง เพียงแต่ปรับขนาดให้เล็กลง และต่อมาในปี ค.ศ. 794 เฮอังเกียวก็ได้กลายเป็นนครที่ตั้งของราชสำนัก ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเฮอัง นับเป็นยุคทองของประเทศญี่ปุ่น ที่ทั้งศิลปะและวัฒนธรรมรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมต่างๆ ที่หยิบยืมมาจากประเทศจีนและลัทธิขงจื้อ จนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่น

รูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในยุคนี้คือ สถาปัตยกรรมแบบชินเด็ง (Shinden )  อันจะประกอบด้วยเรือนหลัก และเรือนต่อขยายออกไปทางด้านตะวันตกและตะวันออก เชื่อมกับเรือนหลักด้วยทางเดินที่มีหลังคาคลุม เรือนหลักนั้นจะหันหน้าไปทางทิศใต้ซึ่งเป็นทิศมงคลตามคติความเชื่อแบบจีน  ส่วนเรือนทางทิศเหนือนั้นจะจัดให้เป็นที่พำนักของภรรยาหลวง  ด้านหน้าทำเป็นสวนที่ประกอบไปด้วยสระน้ำ เนินเขาจำลอง เกาะ และสะพาน  โดยมีกำแพงดินล้อมรอบหมู่คฤหาสน์ทั้งหมด ส่วนที่เป็นหลังคานิยมมุงด้วยเปลือกสนซ้อนกันเป็นชั้นหนามากกว่าการใช้กระเบื้อง เพราะกระเบื้องแบบจีนนั้นไม่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของญี่ปุ่น  พื้นจะเป็นพื้นไม้กระดาน เรือนด้านตะวันออกส่วนใหญ่จะมีทางเดินยาวเชื่อมสู่เรือนตกปลาที่สร้างไว้เหนือลำธารหรือสระน้ำ

เรือนแบบชินเด็งแต่ละหลัง สามารถแบ่งห้องได้ตั้งแต่ 4 ห้องถึง 9 ห้อง โดยใช้ฉาก หรือ ราวผ้าม่านเป็นเครื่องกั้นห้องตามขนาดความต้องการใช้งาน สถาปัตยกรรมแบบชินเด็งนี้จะเย็นสบายในฤดูร้อน

นักท่องเที่ยวจึงมักพบเห็นสถาปัตยกรรมแบบชินเด็งแบบดั้งเดิมได้จากสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ ในเมืองเคียวโตะ ซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมไว้ได้เป็นอย่างดี อย่างเช่นสถานที่สำคัญที่น่าเดินทางไปท่องเที่ยวกันเมื่อเดินทางมาถึงเมืองแห่งวัฒนธรรมนี้คือ



วัดคินคะคุจิ  โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า วัดโรคุออนจิ แต่นักท่องเที่ยวชาวไทยมักจะเรียกกันว่า วัดทอง ซึ่งมีศาลาทองเป็นจุดเด่นตั้งตระหง่านอยู่ริมสระนำอันเงียบสงบ เริ่มแรกนั้นศาลาทองหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1940 เพื่อเป็นที่พักของโชกุนอาชิคางะ โยชิมิตสึ และผู้ติดตาม มีจุดเด่นอยู่ที่ตัวศาลานั้นเป็นสีทองจากทองคำเปลวและบนยอดสุดนั้นมีรูปหล่อนกฟีนิกซ์ยืนตระหง่านเป็นสง่าอยู่ ตัวเรือนประกอบไปด้วย 3 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นสถาปัตยกรรมสไตล์ชินเด็ง ในรูปลักษณ์แบบพระราชวัง ชั้นที่ 2 สไตล์แบบบ้านซามุไร และชั้นที่ 3 มีสไตล์แบบวัดพุทธนิกายเซน  ต่อมาผู้เป็นบุตรชายของท่านโชกุนได้เปลี่ยนแปลงให้สถานที่แห่งนี้เป็นวัดนิกายเซน  



แต่เป็นที่น่าเสียดายเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนคือในปี พ.ศ. 2493 ศาลาทองล้ำค่าหลังนี้ได้ถูกเผาทำลายโดยพระวิกลจริตไปจนหมดสิ้น ศาลาหลังที่เห็นในปัจจุบันนี้ได้มีการสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยมีการก่อสร้างให้เหมือนกับสภาพเดิมทุกส่วน นับว่าเป็นการแกะรอยสถาปัตยกรรมกันอย่างละเอียดอ่อน จนศาลาทองหลังใหม่นี้เสร็จสมบูรณ์มีความงดงามเสมอเหมือนกับศาลาทองหลังเดิมเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์  ในปี พ.ศ. 2537 วัดโรคุออนจิ รวมทั้งศาลาทอง ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกร่วมกับสถานที่สำคัญอื่นๆ ในเมืองเคียวโตะ



อีกหนึ่งความคุ้นเคยของชาวไทยส่วนใหญ่มักจะรู้จักวัดคินคะคุจิและท่านโชกุน จากภาพยนต์การ์ตูนอมตะเรื่อง เณรน้อยเจ้าปัญญาอิคคิวซัง จนนักท่องเที่ยวบางคนถึงกับเปลี่ยนชื่อวัดนี้ให้เสียใหม่ว่า วัดอิคคิวซัง ซึ่งก็เป็นอันเข้าใจตรงกันว่าเป็นสถานที่เดียวกัน  หากคุณผู้อ่านมีโอกาสเดินทางไปเที่ยวชม ผมอยากให้ลองไปยืนอยู่บริเวณริมสระน้ำหน้าศาลาทองคำหลังนี้ แล้วลองหลับตาพลันจิตนาการถึงความน่ารักเฉลียวฉลาดของเณรน้อยเจ้าปัญญาอิคคิวซัง ที่ได้ผ่านตาพบพานผ่านจอโทรทัศน์ในบ้านเรา คุณอาจจะยืนยิ้มหรือหัวเราะอย่างมีความสุขเหมือนผมในวันนั้นก็เป็นได้



ทุกวันนี้เศรษฐกิจที่สำคัญในเคียวโตะนั้นมาจากอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากเมืองเคียวโตะนั้นเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทชั้นนำมากมาย  แต่ทั้งนี้การท่องเที่ยวยังเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเคียวโตะ จากการที่เป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม ทำให้ในแต่ละวัน มีนักท่องเที่ยว นักเรียนนักศึกษาจากทั่วประเทศ เดินทางมาเยือนกันจำนวนมาก และจากการสำรวจและจัดอันดับระดับภูมิภาคในปี 2007 นครเคียวโตะได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่สองของเมืองที่น่าสนใจที่สุดในประเทศญี่ปุ่นรองจากเมืองซัปโปะโระ

นอกจากนี้งานฝีมือแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นยังคงเป็นงานที่สร้างรายได้สำคัญให้กับเมืองเคียวโตะ ซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยช่างฝีมือในโรงงานขนาดเล็ก  เช่นการผลิตชุดกิโมโนของเคียวโตะนั้นมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก  ถือเป็นศูนย์กลางของการผลิตชุดกิโมโนชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น  แต่อย่างไรก็ดีธุรกิจนี้ก็ได้รับความนิยมน้อยลงในปัจจุบัน เนื่องจากการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลด้านช่างฝีมือที่มีคุณภาพ ซึ่งก็คงประสบปัญหาเช่นเดียวกับงานฝีมือหลายๆ อย่างของประเทศไทย ที่น่าจะหาผู้สืบทอดไว้ก่อนที่สมบัติล้ำค้าจะสูญหายไปในอนาคตอันใกล้นี้

จาก http://travel.sanook.com/1398009/




<a href="https://www.youtube.com/v/98xZysh11KU" target="_blank">https://www.youtube.com/v/98xZysh11KU</a>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 ตุลาคม 2559 20:51:17 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ตามรอย คนระลึกชาติ
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
Compatable 0 1876 กระทู้ล่าสุด 20 กุมภาพันธ์ 2556 16:22:50
โดย Compatable
ตามรอย 'เจ้าพระยาอภัยภูเบศร'
สยาม ในอดีต
Kimleng 0 2584 กระทู้ล่าสุด 07 กุมภาพันธ์ 2558 18:19:51
โดย Kimleng
วู้ดดี้เกิดมาคุย | วู้ดดี้ตามติดชีวิตเณรกร เณรน้อยเจ้าปัญญา 8 พ.ค. 59
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
มดเอ๊ก 0 891 กระทู้ล่าสุด 16 มิถุนายน 2559 04:04:37
โดย มดเอ๊ก
"อิคคิวซัง" ธรรมะในพลังการ์ตูน
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 2684 กระทู้ล่าสุด 08 ตุลาคม 2559 21:08:15
โดย มดเอ๊ก
อิคคิว โซจุน พระเซนชาวญี่ปุ่น ต้นแบบ การ์ตูน อิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 68 กระทู้ล่าสุด 28 ธันวาคม 2566 17:15:08
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.429 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้