[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 16:46:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “พระแก้วมรกต” เคยประดิษฐานที่วัดโพธิ์ ก่อนย้ายเข้าวัดพระแก้ว ?  (อ่าน 1584 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 54.0.2840.71 Chrome 54.0.2840.71


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2559 12:37:21 »


“พระแก้วมรกต” เคยประดิษฐานที่วัดโพธิ์ ก่อนย้ายเข้าวัดพระแก้ว ?



พระแก้วมรกตเมื่อมิได้ประดับเครื่องทรง (ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)


เหตุการณ์เกี่ยวกับ “พระแก้วมรกต” หลังถูกอัญเชิญมาจากกรุงเวียงจันท์ มีเอกสารโบราณหลายฉบับกล่าวไว้ตรงกันว่า
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษก และเสร็จสิ้นการสร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว
จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากโรงพระแก้วในวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) มาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

แต่ ดร. ศานติ ภักดีคำ จากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือชิ้นหนึ่งระบุว่า
ก่อนหน้าที่จะมีการย้ายพระแก้วมรกตไปประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระแก้วมรกตได้ถูกย้ายไปประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์
หรือวัดพระเชตุพนฯ ก่อน มิได้ย้ายจากวัดแจ้งเข้าวัดพระแก้วโดยตรงอย่างที่เอกสารหลายชิ้นระบุ

หลักฐานที่ว่านี้ปรากฏอยู่ในเอกสารที่ชื่อว่า “สังคีติยวงศ์” แต่งโดย สมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯในสมัยที่ยังเป็นพระพิมลธรรม
เมื่อปี พ.ศ. 2332 เป็นเอกสารที่เล่าถึงตำนานการสังคายนาพระไตรปิฎก ภาษาบาลี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
และสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท

ในส่วนที่กล่าวถึงการย้ายพระแก้วอยู่ใน สังคีติยวงศ์ ปริจเฉทที่ 8 เขียนเป็นภาษาบาลีว่า
“รตนพุทฺธพิมฺพํ อาราเธตฺวา นาวาสงฺฆาเฏน อติสกฺการปริปุณฺเณน โพธาราเมตํ ปติฏฺจฐาเปตฺวา ชยภูมึวิจาเรตฺวา” (ข้อความต้นฉบับใช้ “ฐ” ไม่มีเชิง)

ข้อความนี้ พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) ได้แปลว่า “…จึงให้อาราธนาพระพุทธพิมพ์แก้วปฏิมา ลงเรือขนานมา พร้อมด้วย
สักการบูชายิ่งครบถ้วนทุกประการมาประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธาราม แล้วจึงให้เที่ยวพิจารณาหาสถานที่ชัยภูมิได้แล้ว…”

และในบทเดียวกันยังกล่าวถึงการอัญเชิญพระแก้วจากวัดโพธาราม หรือวัดโพธิ์ไปยังพระอุโบสถ วัดพระแก้วว่า

“อถโฃ นาคเสนตฺเถเรน สตฺถุธาตุปจฺจตฺถริตํ ปวรสุภนิลาภาสํ มรกฏพุทฺธพิมฺพํ นาชาปูชาสกฺกาเรหิ โพธารามโต อานยิตฺวา สิริรตนสาสฺตาราเม
ปวรสุนฺทรอุโปสถาคาเรตมฺปิ ฐปาเปสุํ…” (ข้อความต้นฉบับใช้ “ฐ” ไม่มีเชิง)

แปลโดยพระยาปริยัติธรรมธาดาได้ความว่า “…ครั้นแล้วโปรดเกล้า ให้เชิญพระพุทธพิมพ์มรกต อันพระนาคเสนเจ้า ได้บรรจุพระสัตถุธาตุไว้
ทรงรัศมีเขียวงามประเสริฐแห่ออกจากวัดโพธารามมาวัดพระศรีรัตนศาสดารามประดิษฐานไว้ในโรงอุโบสถอันงามประเสริฐนั้นแล้ว…”

ปัญหาที่ตามมาก็คือ หลักฐานตามที่ปรากฏใน สังคีติยวงศ์ มีความน่าเชื่อถือเพียงใด เมื่อเทียบกับเอกสารอื่นๆ? ตรงนี้ ดร. ศานติ มองว่า สังคีติยวงศ์
ถูกเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2332 หลังการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เพียง 7 ปี จึงใกล้กับเหตุการณ์การย้ายพระแก้วมากกว่าเอกสารอื่นๆ
ที่เขียนขึ้นภายหลังเป็นเวลานาน “แม้กระทั่งพระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ ฉบับตัวเขียน” ซึ่งเป็นเอกสารที่ชำระขึ้นในปี พ.ศ. 2338
ก็ยังถืิอว่าหลัง สังคีติยวงศ์ อยู่หลายปี

ดร. ศานติ ยังเชื่อว่า สมเด็จพระพนรัตน์ น่าจะเป็น “ประจักษ์พยาน” ที่ได้เห็นการเคลื่อนย้ายด้วยตาตนเองด้วย เพราะสมเด็จพระพนรัตน์
ซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรมได้ครองวัดโพธิ์มาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี แม้จะเคยถูกพระเจ้าตากลงทัณฑกรรม แต่เมื่อรัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชย์
พระองค์ได้ทรงคืนสมณศักดิ์และให้พระพิมลธรรมครองวัดโพธิ์ดังเดิม

และหากพิจารณาถึงความสำคัญของวัดโพธิ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งเคยถูกใช้จัดพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาด้วยแล้ว ความเป็นไปได้ที่
พระแก้วมรกตจะเคยถูกประดิษฐานที่วัดโพธิ์ ตามที่สมเด็จพระพนรัตน์กล่าวใน สังคีติยวงศ์จึงมีค่อนข้างสูง และยังอาจเป็นพระพุทธรูปประธาน
ในพระราชพิธีครั้งนั้นด้วย เหมือนเช่นการใช้พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งประดิษฐานพระแก้วมรกต ในการประกอบพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
ในลักษณะเดียวกัน

อย่างไรก็ดี ดร. ศานติ สรุปปิดท้ายว่า ข้อมูลดังกล่าว เพียงลำพังยังไม่อาจใช้เป็นข้อสรุปได้ว่า พระแก้วมรกตเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์จริง
แม้จะมี “ความเป็นไปได้สูง” แต่ก็ยังต้องวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเอกสารชั้นต้นอื่นๆ ในประเด็นนี้ต่อไป



อ้างอิง: “พระแก้วมรกตเคยประดิษฐานที่วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)? ข้อมูลที่ถูกหลงลืมใน ‘สังคีติยวงศ์'”. ดร. ศานติ ภักดีคำ. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ พฤศจิกายน 2553.



ผู้เขียน:เมฆา วิรุฬหก
เผยแพร่ผ่านหน้าเว็บศิลปวัฒนธรรม:              วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2559
ลิ้งค์ที่มาบทความ:www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_3985

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.278 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 23:18:59