[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 22:07:16 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การปลงศพแบบนกหัสดีลิงค์ สืบสานความเชื่อชาวอีสาน  (อ่าน 2006 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 ธันวาคม 2559 14:59:37 »




การปลงศพแบบนกหัสดีลิงค์ สืบสานความเชื่อชาวอีสาน

ประเพณีและความเชื่อเกี่ยวกับการปลงศพแบบนกหัสดีลิงค์ เป็นความเชื่อของกลุ่มไทย-ลาว ที่อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เข้ามาปักหลักปักฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นับเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว

ประเด็นหลักใหญ่ของการปลงศพแบบนี้ คือ การให้เกียรติครั้งสุดท้ายกับผู้ตายที่พร้อมด้วยความดีความชอบที่สังคมยอมรับ แสดงถึงอิสริยยศและฐานันดรศักดิ์ของผู้ตายให้ปรากฏต่อสาธารณชน เนื่องจากความเชื่อดั้งเดิมที่เคยมีมาอย่างเคร่งครัดผู้ที่จะได้รับการปลงศพแบบนกหัสดีลิงค์หลังเสียชีวิต คือ
     ๑.กลุ่มอาญาสี่/อัญญาสี่ ประกอบด้วย เจ้าเมือง อุปฮาด/อุปราช ราชวงศ์ ราชบุตร และ
     ๒.พระเถระชั้นผู้ใหญ่ของชุมชน

ในการปลงศพแบบนี้มีความเชื่อว่านกหัสดีลิงค์เป็นนกที่ยิ่งใหญ่ มีกำลังและฤทธิ์เดชมากมายมหาศาล สมควรที่จะเป็นพาหนะนำพาดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่สรวงสวรรค์

มีตำนานกล่าวถึงหลายตำนาน อาทิ นกหัสดีลิงค์เป็นนกที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ มีกำลังและฤทธิ์เดชมาก ลักษณะพิเศษคือ มีหัวเป็นช้าง มีร่างกายเป็นนก กินช้างและสัตว์ใหญ่เป็นอาหาร

นอกจากนี้ ยังบินไปจับคนในเมืองต่างๆ เป็นอาหาร เจ้าเมืองจึงหาบุคคลมีฝีมือที่จะสามารถฆ่านกนี้ได้ สุดท้ายเจ้านางสีดารับอาสา ใช้ศรยิงนกหัสดีลิงค์ตาย จึงทำพิธีเผานกนั้น เมื่อเจ้านายสิ้นชีวิตก็จะสร้างหุ่นนกหัสดีลิงค์ โดยวางหีบศพบนหลังนกและทำพิธีเผาไปพร้อมกับศพ กลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมา เป็นต้น

ดังนั้น ก่อนมีพิธีเผาศพแบบนี้ทุกครั้งจะต้องทำพิธีสำคัญ คือ ฆ่านกก่อนเพราะเป็นนกร้าย ผู้ฆ่านกจะต้องทำพิธีเชิญเจ้านางสีดาเข้าประทับร่างทรงก่อนใช้ศรยิง โดยผู้ที่จะฆ่านกก็ต้องเป็นผู้หญิงสืบเชื้อสายมาจากเจ้านางสีดา รับช่วงต่อกันมาเฉพาะคนในตระกูลเท่านั้น

ศาสตราจารย์เกียรติคุณอรรถ นันทจักร ผู้เชี่ยวชาญประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ความเห็นกรณีนี้ว่า การปลงศพแบบนกหัสดีลิงค์ ในภาคอีสานกลุ่มแรก คือ กลุ่มพระวอ-พระตา ถือเป็นต้นเหง้าของสายเมืองอุบลราชธานี ที่เคลื่อนย้ายครัวลาวที่ใหญ่ที่สุดมาอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าภาคอีสานของไทยในปัจจุบัน

แต่ที่มีหลักฐานเด่นชัดเป็นช่วงรัชกาลที่ ๕ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ส่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ปกครองมณฑลอุบลราชธานี ช่วงเวลาดังกล่าวมีกลุ่มอัญญาสี่ ขึ้นนกหัสดีลิงค์ถึง ๕ คน อาทิ หม่อมเจียงคำ พระอุบลการประชานิตย์ เป็นต้น





ส่วนพระเถระชั้นผู้ใหญ่ของสายเมืองอุบลราชธานี ที่ได้ขึ้นนก หัสดีลิงค์มี ๓ รูป อาทิ พระครูวิโรจน์รัตโนบล, พระอริยกวี (อ่อน ธัมมรักขิโต) เจ้าคณะใหญ่เมืองอุบลราชธานี เป็นต้น

การปลงศพแบบนกหัสดีลิงค์ในภาคอีสานตามหลักฐานส่วนใหญ่ที่ทำกันอยู่ไม่กี่แห่ง อาทิ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม เป็นต้น

สำหรับการปลงศพแบบนกหัสดีลิงค์ตัวแรก ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เดิมค้นพบมี ๒ ครั้ง คือ งานพระราชทานเพลิงศพพระครูพิทักษ์โกสุมพิสัย หรือหลวงตาโมง แสนศักดิ์ ณ เมรุวัดโพธิ์ศรี ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม วันเสาร์ที่ ๑ พ.ค.๒๕๑๙

งานพระราชทานเพลิงศพพระอริยานุวัตร (อารีย์ เขมจารี) ปราชญ์แห่งอีสาน วัดมหาชัย วันที่ ๗ เม.ย.๒๕๓๖

แต่หลักฐานใหม่ที่ค้นพบ ปรากฏว่าเคยมีการปลงศพแบบนกหัสดีลิงค์มาก่อนหน้าแล้วครั้งหนึ่ง ในปี ๒๕๐๕ คือ งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูสุนทรสาธุกิจ หรือ หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ วัด ติกขมณีวรรณ บ้านเสือโก้ก อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นอดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของมหาสารคาม

มีหลักฐานสำคัญ คือ ภาพถ่ายเก่าแก่งานพิธีพระราชทานเพลิงศพ อยู่ที่วัดติกขมณีวรรณ

ช่างที่มาสร้างนกหัสดีลิงค์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูสุนทรสาธุกิจ ปี ๒๕๐๕ คือ อาจารย์คำหมา แสงงาม

ส่วนงานพระราชทานเพลิงศพพระอริยานุวัตร ปี ๒๕๓๖ ช่างที่มาทำเป็นฝีมือของพระปลัดสมสิทธิ์ รักตสีโล อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด พร้อมทีมงาน

กลุ่มช่างที่สร้างนกหัสดีลิงค์เดิมนั้นต้องยกให้ช่างสายเมืองอุบลราชธานี ซึ่งเป็นต้นแบบของการสร้างนกหัสดีลิงค์ โดยเฉพาะกลุ่ม ช่างชั้นครู อาทิ พระครูวิโรจน์รัตโนบล ญาท่านกัญญา เป็นต้น อาจารย์คำหมา แสงงาม ก็ไปเรียนจากพระครูวิโรจน์รัตโนบล

การปลงศพแบบนกหัสดีลิงค์ดั้งเดิมในช่วงหลังค่อยๆ คลายความเคร่งครัดลงมา เนื่องจากมีสามัญชนที่จัดงานปลงศพแบบนี้อยู่บ้าง นอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายสูงพอสมควรแล้ว ยังมีพิธีการขั้นตอนต่างๆ ที่ยุ่งยากพอสมควร

ทำให้การปลงศพแบบนี้นิยมอยู่ในบางพื้นที่ของภาคอีสานเท่านั้น


เชิด ขันตี ณ พล
หนังสือพิมพ์ข่าวสด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.281 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 เมษายน 2567 02:10:09