[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 09:32:06 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไต่ปุยจิ่ว ปริศนาธรรม ความหมาย พระโพธิสัตว์กวนอิม 84 ปาง  (อ่าน 4864 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 55.0.2883.87 Chrome 55.0.2883.87


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 25 ธันวาคม 2559 03:17:40 »

<a href="https://www.youtube.com/v/tx2RQVg8mS0" target="_blank">https://www.youtube.com/v/tx2RQVg8mS0</a>

 <a href="https://www.youtube.com/v/Pb2JXicr7Vw" target="_blank">https://www.youtube.com/v/Pb2JXicr7Vw</a>

จาก https://www.youtube.com/user/Bhodhidham/videos

<a href="https://www.youtube.com/v/oV7t81aKlz4" target="_blank">https://www.youtube.com/v/oV7t81aKlz4</a>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.273 Chrome 50.0.2661.273


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2559 01:21:32 »




84 ภาค อวตารแห่งพระโพธิสัตว์กวนอิม



อวโลกิเตศวรดังดวงจันทร์
แสงนวลได้ดับเพลิงแห่งสังสารวัฏ
ดอกบัวแห่งการุณยธรรมที่บานยามค่ำคืน
แย้มกลีบกว้างท่ามกลางรัศมีวันเพ็ญ


เรื่องราวของอวตารทั้ง 84 ภาค มาจากเนื้อหาของบทสวดมนต์ “มหากรุณาธารณี” ซึ่งเป็นบทสวดสำคัญมากในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เป็นธารณีประจำองค์พระอวโลกิเตศวร ปางพันหัตถ์พันเนตร  มีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานภาษาสันสกฤตของอินเดีย มีเรื่องราวปรากฏในพระสูตรสันสกฤตคือ สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัมปุรณอกิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตรมหากรุณามนตร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า มหากรุณาธารณีสูตร  นำเข้าไปแปลในจีนโดยพระภควธรรมชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง  เนื้อหากล่าวถึงเมื่อครั้งที่พระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โปตาลกะบรรพต ในกาลนั้นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ขอพุทธานุญาตแสดงธารณีมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้เพื่อเป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ ซึ่งธารณีนี้ย้อนไปในครั้งกาลสมัยของพระพุทธเจ้านามว่าพระสหัสประภาศานติสถิตยตถาคต พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสธารณีนี้แก่พระอวโลกิเตศวร และตรัสว่า   “สาธุ บุรุษ เมื่อเธอได้หฤทัยธารณีนี้ จงสร้างประโยชน์สุขสำราญแก่สัตว์ทั้งหลายในกษายกัลป์แห่งอนาคตกาลโดยทั่วถึง”     ตามเนื้อความของพระสูตรได้กล่าวว่า ในขณะนั้น เมื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้สดับมนตร์นี้แล้ว ก็ได้บรรลุถึงภูมิที่ ๘ แห่งพระโพธิสัตว์เจ้า จึงได้ตั้งปณิธานว่า  “ในอนาคตกาล หากข้าพเจ้าสามารถยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ได้ ขอให้ข้าพเจ้ามีพันเนตรพันหัตถ์ในบัดดล”  เมื่อท่านตั้งปณิธานดังนี้แล้ว พลันก็บังเกิดมีพันหัสถ์พันเนตรขึ้นทันที และเพลานั้นพื้นมหาพสุธาดลทั่วทศทิศก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่น พระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศก็เปล่งแสงโอภาสเรืองรองมาต้องวรกายแห่งพระโพธิสัตว์ และฉายรัศมีไปยังโลกธาตุต่าง ๆ อย่างปราศจากขอบเขต  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า เนื่องจากปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ หากเหล่ามนุษย์และทวยเทพ ตั้งจิตสวดมหากรุณาธารณี มนตร์นี้คืนละ ๗ จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้ และหากเหล่ามนุษย์หรือทวยเทพได้สวดคาถามหากรุณาธารณีนี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับ พระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ ทิศจะยื่นพระกรมารับให้ไปอุบัติในพุทธเกษตรทุกแห่ง

จาก https://84awatarn.wordpress.com/



<a href="https://www.youtube.com/v/XOYe5sblIDc" target="_blank">https://www.youtube.com/v/XOYe5sblIDc</a>

มหากรุณาธารณีสูตร

โชยชิ่ว โชยงั่ง บ่อไหง๋ ไต่ปุยซิมทอลอ นีจิ่ว (๓ จบ)
ปึงซือออนีทอ ยูไล้ (๓ จบ)


“นำมอ ฮอลาตัน นอตอลา เหย่ เย
นำมอ ออลีเย ผ่อลูกิดตีซอปอลาเย
ผู่ทีสัตตอพอเย หม่อฮอสัตตอพอเย
หม่อ ฮอเกียลูนี เกียเยงัน สัตพันลาฮัวอี
ซูตัน นอตันเซ
นำมอ สิดกิด ลีตออีหม่งออลีเย
ผ่อลูกิด ตีสิด ฮูลาเลงถ่อพอ
นำมอ นอลา กินซี
ซีลี หม่อฮอพันตอซาเม
สะพอ ออทอ เตาซีพง
ออซีเย็น สะพอ สะตอ นอมอ พอสะตอ
นอมอ พอเค มอฮัว เตอเตา
ตันจิต ทองัน ออพอ ลูซี
ลูเกียตี เกียลอตี อีซีลี
หม่อฮอ ผู่ทีสัตตอ สัตพอ สัตพอ
มอลา มอลา มอซี มอซี ลีทอยิน
กีลูกีลูกิดมง ตูลู ตูลู ฟาเซเยตี
หม่อ ฮอฮัว เซเยตี ทอลา ทอลา
ตีลีนี สิด ฮูลาเย เจลา เจลา มอมอ ฮัวมอลา หมกตีลี
อีซี อีซี สิดนอ สิดนอ ออลาซัน ฮูลาเซลี
ฮัวซอ ฮัวซัน ฮูลา เซเย
ฮูลู ฮูลู มอลา ฮูลู ฮูลู ซีลี ซอลา ซอลา
สิดลี สิดลี ซูลู ซูลู ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย
มีตีลีเย นอลา กินซี ตีลีสิด นีนอ
ผ่อเย มอนอ ซอผ่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
หม่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ สิดทอยีอี
สิดพันลาเย ซอผ่อฮอ นอลากินซี ซอผ่อฮอ
มอลานอลา ซอผ่อฮอ สิดลาเซง ออหมกเคเย
ซอผ่อฮอ ซอผ่อหม่อฮอ ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
เจกิดลา ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ ปอทอมอกิดสิดถ่อเย
ซอผ่อฮอ นอลากินซี พันเคลาเย ซอผ่อฮอ
มอพอลี เซงกิดลาเย ซอผ่อฮอ
นำมอห่อลาตัน นอตอลาเหย่เย
นำมอออลีเย ผ่อลูกิตตี ชอพันลาเย ซอผ่อฮอ
งัน สิดตินตู มันตอลา ปัดถ่อเย ซอผ่อฮอ”



เนื้อหาใจความเป็นภาษาไทย

ขอนอบน้อมนมัสการแด่องค์พระอริยะ ผู้ห่างไกลจากบาปอกุศล
วัตถุประสงค์แห่งบทนี้… พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนชาวโลก
ให้ปฏิบัติทางจิตเป็นมูลฐาน
พระสัทธรรมทั้งหลายล้วนกำเนิดมาแต่จิต

เหตุนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความชัดแจ้งแห่งจิต
และมองเห็นสภาวะแห่งตน จึงจะสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ

เมื่อไม่แจ้งชัดในจิตก็ไม่สามารถเห็นสภาวะแห่งตน
หากแต่จิตมีความมั่นคง ก็สามารถเดินทางสู่พระนฤพานได้

ขอนอบน้อมคารวะแด่องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิม)
ผู้เพ่งเสียงแห่งสรรพสัตว์ผู้ยาก
พระโพธิสัตว์ผู้สงสารชีวิตแห่งสรรพสัตว์ผู้ตกอยู่ในกองทุกข์
เขาเหล่านั้นล้วนมีความทุกข์อันเกิดจากการหลงลืมสภาวะเดิมของตน
จำต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ พระองค์พิจารณาตามนี้
จึงเกิดเมตตาจิตที่จะโปรดสัตว์

ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้ให้ความตรัสรู้แก่ทุกชีวิต
หากตั้งใจในธรรม นอบน้อมต่อความแจ้งในสภาวะเดิม
ก็จะถึงความหลุดพ้น

เมื่อน้อมคารวะผู้กล้าหาญก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้น
มวลสรรพสัตว์ในโลกอันไพศาล ถ้ารู้สึกตัวแล้วลงมือปฏิบัติ
ล้วนถึงความหลุดพ้นได้

ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้มีมหากรุณาจิต

… พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความเมตตากรุณาไม่มีประมาณ
นำสัทธรรมอันเป็นความดับสูญโดยแท้จริง
ปลุกให้มนุษย์ฟื้นคืนสภาวะเดิมที่มีอยู่
เข้าถึงสัทธรรมอันบริสุทธิ์

องค์อริยะผู้อิสระ ผู้มีกายใจอันบริสุทธิ์สะอาด
…กาย ใจ จะบริสุทธิ์ได้ ต้องตั้งอยู่ในสัจธรรม
ปฏิบัติตนอยู่ในศีล

การปฏิบัติธรรมต้องถือความสัจเป็นพื้นฐาน
ใช้ความเพียรเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุสู่อริยสัจ
…หากการปฏิบัติธรรมไม่ประกอบด้วยความสัจ
ก็จะไม่พบหนทางสู่ความสำเร็จ

เนื่องจากความสัจนั้นเป็นธรรมที่ปราศจากการหลอกลวง
จิตจึงรวมเป็นหนึ่งได้
เมื่อมีความสัจ ก็จะมีความเข้าใจ
เมื่อเข้าใจก็จะมองเห็นความปลอดโปร่ง
เมื่อปลอดโปร่งก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลง
และกลับกลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น

…ผู้ที่จะนอบน้อมเข้าถึงองค์อริยะ
จำต้องปฏิบัติธรรมโดยมานะพากเพียร
มีจิตใจมั่นคงเป็นหนึ่ง จะกระทำโดยเร่งรีบไม่ได้

ต้องทำใจให้ว่างเข้าถึงองค์แห่งพระธรรมคัมภีร์
หมั่นในการปฏิบัติตามหลักธรรม
มีความคิดดำริมั่นที่จะก้าวข้ามห้วงแห่งโอฆะ
(โอฆะ = การเวียนว่ายตายเกิดในโลกนี้ )
คิดจะกระทำประโยชน์แก่สรรพชีวิต

…ผู้ปฏิบัติต้องจงใจมุ่งไปข้างหน้า
ฝึกฝนให้กายและจิตรวมเป็นหนึ่ง (เอกัคคตา)
เพื่อให้สำเร็จในมรรคผล

ด้วยความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์
ทรงย้ำเตือนให้ยึดถือพระไตรสรณาคมน์
ต้องปฏิบัติตนอยู่ในมนุษยธรรม
ทำตนเป็นตัวอย่างเพื่อให้สาธุชนรุ่นหลังได้รับรู้เป็นแบบอย่าง
และเจริญรอยตาม

สาธุชนผู้ปฏิบัติตามพระพุทธองค์และพระธรรม
ยิ่งต้องมีความเมตตากรุณาจิตและโพธิจิตเพื่อโปรดสัตว์
รักษาพระธรรมยิ่งกว่าชีวิตและเผื่อแผ่ทั่วไปไม่มีประมาณ

…พระโพธิสัตว์เล็งเห็นว่าชาวโลกถือเอาความรวย,
มีชื่อเสียง, ศักดินา เป็นที่นิยมศรัทธา
อันเป็นการเพิ่มพูนความทุกข์
พระองค์จึงเตือนจิตให้มนุษย์ จงผ่อนใจในทางโลก
โน้มน้าวจิตใจมาในทางมรรคผล เมื่อจิตว่างแล้ว
พระสัทธรรมอันพิสุทธิ์ก็จะเจริญขึ้น

…ทุกคนที่ปฏิบัติสามารถรู้ได้เห็นได้
และบรรลุสู่พระพุทธภูมิได้โดยเสมอกัน

ผู้ที่ทำความดีย่อมได้รับการชมเชย
ผู้ทำบาปจะต้องสำนึกและขอขมาโทษ

…ไม่ว่านักปราชญ์หรือผู้โง่เขลา เบาปัญญา
คนหรือสัตว์ ล้วนสามารถหลุดพ้นได้
ถ้าเขาเหล่านั้นปฏิบัติธรรมด้วยความสัจ

ผู้ปฏิบัติต้องถือพระสัทธรรมเป็นสูญ ไม่ข้องแวะ
ไม่ติดในรูป ไม่ยึดในจิต ถือเอาสัจธรรมเป็นใหญ่
และต้องละความวิตกกังวล กำจัดความโกรธ
ความโลภ ความหลง โดยใช้หลักแห่งปัญญาดับกิเลสให้จิตสงบ
เป็นอยู่ในโลกนี้โดยสันติสุข

ความศรัทธาจริงอันต่อเนื่องกัน จิตต้องตรงกับพระธรรม
ห้ามมิให้มีความคิดทางโลกเกิดขึ้นโดยเด็ดขาด
ทั้งนี้ เนื่องจากว่าหากปล่อยให้ความคิดทางโลก เกิดขึ้นในจิต กาย
ใจ
ก็จะไม่บริสุทธิ์ ทำให้เกิดการขัดแย้งกับพระธรรม
ไม่อาจจะพบความสันติสุขได้

ความสะอาดจิตสะอาดสดใสไร้ราคะ
ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยว
ไม่หวั่นไหวต่อการก่อกวนของเหล่ามาร(กามกิเลส)
หากสามารถตั้งจิตข่มจิตสำรวมกาย วาจา และจิต
ละทิ้งโลกาวิสัยทั้งหมดก็จะเข้าถึงพุทธสภาวะที่มีอยู่เดิม

.. ถ้าทำให้จิตมีความสงบนิ่งอยู่ทุกขณะ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง
นอน
ก็จะมีความสำเร็จในธรรมโดยมิรู้ตัว
..พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ รวมทั้งพระโพธิสัตว์เจ้าได้หลุดพ้น
ในขณะที่อยู่ในโลกอันมากล้นไปด้วยกิเลสนี้

เป็นโลกนาถ มีความเป็นอิสระ
…มีกุศลจิตสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มัวหมอง มีรัศมีสว่างรอบกาย
และสามารถร่วมกับดินฟ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
รักษาความมีกุศลจิต อย่าทำลายตนเอง อย่าหลงผิดเป็นชอบ
สิ่งสำคัญ…ต้องรักษาจิตให้บริสุทธิ์

ผู้มีความกรุณา ผู้ปลดปล่อยทุกข์ เป็นผู้มีจิตในทางธรรม
ดำรงมรรคมั่นคง มีสติปัญญาเฉียบแหลมยิ่งใหญ่
…เมื่อจิตมีความสงบก็สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งชั่วร้ายให้กลับกลายเป็นดี

กระทำตามโอวาท อย่ามีจิตหลงผิด การเน้นปฏิบัติอนัตตธรรม
(อนัตตธรรม = ธรรมชาติที่เป็นความไม่มีตัวตน) มองเห็นสรรพธรรมเป็นสูญ
(สูญ = สูญตา = ความว่าง)
มองความรุ่งเรืองแห่งลาภยศ สรรเสริญเป็นสูญ
มองให้เห็นเป็นเงาลวง ทำจิตใจร่างกายให้หมดจด
พุทธธรรมมีความเสมอภาค อีกทั้งยังอำนวยประโยชน์สุขแก่สัตว์โลก
ผู้ที่มีปัจจัยแห่งบุญย่อมได้รับความสุข

ความคิดคำนึงเกิดมาแต่จิต จิตเป็นใหญ่
จิตเป็นประธานแห่งบุญและบาป
ผู้ปฏิบัติต้องกำจัดความคิดอันเป็นอกุศล ความคิดฟุ้งซ่าน
ระงับความวิตกกังวล เพียรพยายามเสาะหาสัจธรรม
ชำระล้างอายตนะภายในให้สะอาดพิสุทธิ์ ละความห่วงใยใดๆให้สิ้นเชิง

ความมีอิสระทันที
ผู้ปฏิบัติไม่มีเวลาใดที่ไม่เป็นอิสระคือมีอิสระทุกเมื่อ
การปฏิบัติกระทั่งสำเร็จวิชชาธรรมกาย มีอาสน์ดอกบัวรองรับ
โดยปกติแล้วผู้ที่มีจิตว่างก็จะมีความสะอาดทั้งกายและจิต
เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วก็สามารถบรรลุมรรคผลได้
และก็จะตั้งอยู่เช่นนั้น ไม่มีวันเสื่อมถอย

การเกิดความคิดปฎิบัติธรรมสามารถบันดาลให้เทพเจ้ามาปกปักรักษา
ผู้ปฏิบัติจะต้องสร้างสมบุญบารมีเพื่อเป็นพื้นฐานในการบรรลุสู่มหามรรค
(มรรคผล-นิพพาน)

ผู้ปฏิบัติจะต้องยืนให้มั่นตั้งใจปฏิบัติ
ไม่ลุ่มหลงด้วยพวกเดียรถี มีความแน่วแน่ มีสมาธิ มีความสงบ
มีความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่สามารถข้ามพ้นสังสารวัฏได้

พระสัทธรรมอันไพศาล สามารถระงับความเกิดดับแห่งกิเลสได้
ภัยพิบัติต่างๆไม่แผ้วพาน
ทุกคนสามารถสำเร็จเป็นพุทธะได้เหมือนกัน
…กำจัดความหลงผิด ความเห็นแก่ตัว ปล่อยวางปัจจัยทางโลก

เมื่อปฏิบัติจิตให้มีสภาพเหมือนอากาศอันโปร่งใส
ไร้ละอองธุลีแม้แต่น้อย ก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหมได้

เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงความสมบูรณ์แห่งสภาวะเดิมแล้ว
จะมีความสว่างปรากฏในกายของตน

ความโกรธ ดุ สุรเสียงที่เปล่งออกมาดุจเสียงคำรามของฟ้า
กระหึ่มไปทั่วสารทิศ
…ธรรมเหมือนดังฟ้าร้องคำรามไปทุกสารทิศ
เป็นเสียงแห่งพรหมเมื่อเหล่ามารได้ยินศัพท์สำเนียงนี้
ก็จะเกิดความสะดุ้งกลัว

การกระทำดี สามารถทำลายความกังวลแห่งภยันตรายได้
ธรรมะเป็นสิ่งลึกซึ้ง เข้าใจยาก
และมีความศักดิ์สิทธิ์ไม่สามารถประมาณ หรือคาดคิดได้
เป็นประโยชน์ที่ไม่มีสิ่งใดทัดเทียม
…ผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ ย่อมบรรลุสู่ภูมิแห่งพุทธ

การชักชวนตามพระศาสนา ทุกสรรพสิ่งให้ดำเนินไปตามธรรมชาติ
…ทุกสิ่งปล่อยให้ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
อย่าฝืนกระทำตามใจชอบ

เป็นมหาสติ มีจิตใจมั่นคงสามารถเข้าสู่มหาปัญญา
..ผู้ปฏิบัติธรรม มีความสว่างแห่งสติปัญญาอยู่
ถ้าใช้จิตนี้เป็นฐานใช้ธรรมให้เป็นประโยชน์
ก็จะได้รับฐานธาตุที่สดชื่น
แต่หากไม่มีจิตใจมั่นคงกำจัดกิเลสในตนไม่หมด
ก็ไม่มีทางที่จะให้ความว่างแห่งสติปัญญาที่มีอยู่ดั้งเดิมปรากฏออกมาได้เลย.

ความผ่านธรรมไปถึงธรรมราชา มีความอิสระในธรรม
การได้พระธรรมกายอันบริสุทธิ์ ได้ดวงแก้วแห่งพระรัตนะ

ผู้ที่มีธรรม ตั้งอยู่ในขันติธรรม
ผู้บรรลุธรรม มีความสุขอันแท้จริงยากจะบรรยาย
เป็นการอนุโมทนาตามเหตุตามปัจจัย
…ความสุขที่แท้จริง จะต้องได้จากการปฏิบัติที่ยากลำบาก
ถ้าสามารถอดทนต่อความยากลำบากก็จะเข้าถึงความสุขอันยิ่งได้

จะต้องมีความรู้ด้วยตนเอง
ผู้จะบรรลุธรรมหากสามารถละการยึดเกี่ยวเข้าถึงสภาวะดั้งเดิม
ก็จะพบพระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์

การประกอบพิธีตามปรารถนา ประกอบพิธีกรรมไม่ละจากตัวตน

การประกอบธรรม โดยปราศจากความคิดคำนึงมีความเป็นอิสระสูง

ผู้ปฏิบัติเพียงแต่มีความมุ่งมั่น
มีความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง
มีจิตอันเป็นหนึ่งเดียว ก็จะได้เห็นองค์พระโพธิสัตว์

ความเป็นมหามงคลอันสูงสุด สามารถอำนวยประโยชน์
และคุ้มครองสรรพสัตว์โดยไม่ละทิ้ง

น้ำอมฤตทานสามารถอำนวยประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งปวง

การตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้ถึงภูมิจิต
ผู้ที่ปฏิบัติจะต้องมีความวิริยะพากเพียรอย่างแรงกล้า
ปฏิบัติทุกวันทุกคืนเสมอต้นเสมอปลายไม่ท้อถอย

เป็นการรู้ในธรรม รู้ในจิต ผู้ปฏิบัติจะต้องถือ “ตัวเขา-ตัวเรา”
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เพียงแต่ไม่เห็นลักษณะตัวเขาตัวเรา
แม้สรรพสัตว์ในทุคติ ก็ต้องถือว่าเท่าเทียมกับเรา

มหากรุณา ให้ผู้ปฏิบัติต้องเจริญเมตตากรุณาจิต
เพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิมรรค
…รักในตนเองเท่าใด ก็ให้รักผู้อื่นเท่านั้น

นักปราชญ์ผู้รักษาตนเองได้ มีมหากรุณาจิต
…ผู้ปฏิบัติจะต้องเคารพนักปราชญ์
เห็นผู้ทำดีจะต้องช่วยกันรักษา
ผู้ที่เกิดความท้อถอยก็ต้องส่งเสริมให้กำลังใจ

ความคมของวัชระ ให้คนเรามีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม

สุรเสียงก้องไปสิบทิศ เป็นสุรเสียงแห่งความปิติยินดี

ความสำเร็จผล มงคล นิพพาน ระงับภัยเพิ่มพูลประโยชน์
พระสัทธรรมไม่เกิดไม่ดับ เป็นสภาวะอันสงบมาแต่เดิม

ความสำเร็จในธรรมทั้งหลาย
เข้าถึงพระวิสุทธิมรรคปราศจากขอบเขตอันจำกัด
สรรพสัตว์เพียงแต่ละวางจากลาภยศชื่อเสียง
ก็จะเข้าถึงความหลุดพ้นได้
ผู้ปฏิบัติถ้าเห็นแจ้งในพระสัจธรรมและความหลอกลวง(ไม่แท้)
ก็จะสำเร็จได้ง่าย

ความไพศาลของพระพุทธธรรม
ผู้ใดน้อมนำไปปฏิบัติจะสำเร็จในพระพุทธผล

ทวยเทพเจ้าต่างได้รับความสำเร็จอันเป็นความว่างเปล่า
(สุญญตาธรรม)

ความสำเร็จด้วยความรัก ความเมตตากรุณา การปกปักษ์รักษา
แสดงถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์

พระโพธิสัตว์มุ่งเน้นให้คนปฏิบัติธรรม
อีกทั้งยังเปิดเผยหัวใจอันลึกซึ้งของมหามรรคนี้

เป็นการแสดงความรักของพระโพธิสัตว์ต่อหมู่ชน

คนเรานั้นมีโรคทางจิตเป็นภัยคุกคาม
พระธรรมโอสถเท่านั้นที่สามารถรักษาให้หายได้

สัตว์ทุกประเภทมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิได้เหมือนกัน

สรรพสัตว์มีโอกาสร่วมรับความสุขสบายทั่วถึงกัน
บุคคลมีขันติธรรมก็จะเข้าถึงธรรมได้ด้วยดี
สามารถสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ไม่จำกัด

(ต่อเนื่องกับบทก่อน) ความเมตตาอันสูงสุด การใช้วชิรธรรมจักร
ปราบเหล่ามารศัตรูได้รับความสำเร็จ
สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนสำเร็จในความบริสุทธิ์ได้
จึงไม่ควรประกอบอกุศลกรรมทั้งหลาย

พุทธธรรมเป็นธรรมที่ไม่มีขอบเขต
จะต้องปฏิบัติเพื่อได้รับความสุขร่วมกัน
ย้ำเตือนให้ผู้ปฏิบัติจะต้องประกอบด้วยสติปัญญาเพื่อการหลุดพ้น
ละจากกิเลส

ผู้ปฏิบัติไม่ยึดในทางใดทางหนึ่ง
ปฏิบัติโดยการพิจารณา พร้อมทั้งมีหิริโอตตัปปะ
..มรรคผลนั้นสำเร็จได้ด้วยตนเอง สำเร็จได้ด้วยการพิจารณา
ในทุกขณะจะต้องพิจารณาจิตของตน
รักษาไว้ในทุกเหตุปัจจัยไม่ให้วิตกจิตเกิดขึ้นได้

รักษาไว้ด้วยความเป็นภัทร (ภัทร = เจริญ,ประเสริฐ)
เถระเพ่งโดยอิสระ
เป็นที่รักของผู้เจริญ เป็นที่รักของพระอริยะ

การปฏิบัติให้ถือเอาสัมมาจิต และความมีสัจเป็นหลัก

คุณธรรมจะสำเร็จได้ ด้วยสภาวะแห่งเมตตาธรรม
หากจิตตั้งอยู่ในอกุศลก็ย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จพระอนุตตรธรรม

พระคาถาทั้งหมดแห่งมหากรุณาธารณีสูตรมาไว้ในประโยคนี้
มีนัยบ่งบอกถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์
เพื่อโปรดเหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวงให้ได้รับหิตานุหิตประโยขน์
มีพระสัมมาสัมโพธิเป็นหลักชัย

เน้นย้ำให้พยายามควบคุมกายใจไม่ให้ลื่นไหลไปตามอารมณ์ที่มากระทบ
โน้มนำเอาฌานสมาธิเพ่งการเกิดการดับ

เป็นการสาธยายมนต์สรรเสริญพระอริยะ และกล่าวย้ำถึงการปฏิบัติธรรม

ต้องละความเป็นตัวตน, บุคคล, เรา-เขา
จึงสามารถไม่ให้เกิดความคิดนึกอันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ได้
…ความนึกคิดติดยึดไม่เกิด ความเข้าใจถึงธรรมก็จะเป็นที่หวังได้

พระสัทธรรมไม่มีความสิ้นสุด
บรรดาผู้ปฏิบัติธรรมย่อมมีความบริสุทธิ์เป็นเครื่องอยู่
นำทางสู่แดนสุขาวดี
…มีการเกิดย่อมต้องมีการตาย มีความชนะย่อมต้องมีความพ่ายแพ้…

แต่ชาวโลกผู้ตกอยู่ภายใต้อวิชชากลับยินดีต่อการเกิดเกลียดชังความตาย
ท้ายที่สุดก็ต้องตายอยู่นั่นเอง
ฉะนั้นหากต้องการรอดพ้นจากความตาย
จะต้องค้นหาความเป็นในความตายให้ได้เสียก่อน

ผู้ปฏิบัติต้องสำรวมตาเห็นรูป ไม่ปรุงแต่งไปตามรูปที่มองเห็น
สำรวมหูฟังเสียง ไม่ปรุงแต่งไปตามเสียงที่ได้ยิน
สำรวมจมูกดมกลิ่น ไม่ปรุงแต่งไปตามกลิ่นที่จมูกดม
สำรวมลิ้นรับรส ไม่ปรุงแต่งไปตามรสที่ลิ้นรับ
สำรวมกายถูกต้องสัมผัส ไม่ปรุงแต่งไปตามที่ร่างกายถูกต้องสัมผัส

สุดท้ายสำรวมใจรับรู้อารมณ์
ไม่ปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ใดๆที่ใจรับรู้
รวมเรียกว่าสำรวมอินทรีย์ ๖ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
บรรลุเป็นโพธิสัตว์อันบริสุทธิ์
…จงเว้นจากการทำบาป เร่งบำเพ็ญสรรพกุศล
ชำระจิตให้สะอาดหมดจด…
นี่คือพระธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ธรรมเหล่าใดจะสำเร็จได้ด้วยอาศัยใจเป็นประธาน
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เสียงบทสวด ไต่ปุยจิ่ว (大悲咒 - มหากรุณาธารณีสูตร)
เสียงบทสวดมนต์
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 2 6748 กระทู้ล่าสุด 18 พฤศจิกายน 2553 16:52:16
โดย jarutsri
พระโพธิสัตว์กวนอิม
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
ไอย 6 5597 กระทู้ล่าสุด 03 มกราคม 2553 19:06:22
โดย ไอย
หลวงปู่โต๊ะ เจอ พระโพธิสัตว์กวนอิม « 1 2 »
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
phonsak 28 25212 กระทู้ล่าสุด 03 ธันวาคม 2553 23:55:33
โดย armageddon
เครื่องจักสาน : ความหมาย กำเนิด วิวัฒนาการ คุณค่า และพัฒนาการ
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 11 76339 กระทู้ล่าสุด 02 มิถุนายน 2566 18:03:19
โดย Kimleng
ความหมาย และสัญลักษณ์ของดอกกล้วยไม้แต่ละสี
สุขใจ จิบกาแฟ
ฉงน ฉงาย 0 862 กระทู้ล่าสุด 19 กุมภาพันธ์ 2564 17:07:25
โดย ฉงน ฉงาย
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.299 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 เมษายน 2567 16:36:02