[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 18:12:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สายธารธรรม  (อ่าน 1662 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 53.0.2785.116 Chrome 53.0.2785.116


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 23 กันยายน 2559 18:10:23 »



สายธารธรรม
คนมีปัญญาคืออย่างไร?

การปฏิบัติธรรมไม่ใช่ของง่าย ไม่ใช่ของทำเล่น ไม่ใช่ของทำมาอวดกัน กว่าจะฝึกหัดจนเกิดสติปัญญาได้นั้น ต้องถึงขั้นแลกด้วยชีวิต คนเรานั้นใครๆ ก็อยากเป็นคนมีสติปัญญาด้วยกันทุกคน  แม้กระทั่งคนโง่ที่สุด บางครั้งก็ยังรู้สึกว่าตัวเองมีสติปัญญา มีความเฉลิยวฉลาด มีความภาคภูมิใจในความเป็นของตัวเอง แต่จะมีใครรู้บ้างว่าคนมีสติปัญญาจริงๆ นั้น คืออย่างไร?

แท้จริง คนมีสติปัญญาไม่ใช่คนที่รู้ว่ คนนั้นโง่ คนโน้นฉลาด คนนั้นทำดี คนโน้นทำไม่ดี คนนั้นทำผิด คนโน้นทำถูก การรู้อย่างนั้น  นักปราชญ์ท่านไม่สรรเสริญเลยว่า ผู้นั้นเป็นคนมีสติปัญญา เพราะความรู้เช่นนั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแก่ตัวเขาเลย มิหนำซ้ำอาจกลายเป็นโทษก่อความเดือดร้อนวุ่นวายใจได้

เมื่อใดก็ตามที่ใครๆ มารู้ว่า เราทำอย่างนั้นไม่ดี เราพูดอย่างนั้นไม่ดี เราคิดอย่างนั้นไม่ดี นั่นแล ผู้เช่นนั้นได้ชื่อว่าเป็นคนมีสติปัญญาเกิดขึ้นบ้างแล้ว สติปัญญาเป็นธรรมชาติเร้นลับอันหนึ่ง เมื่อใดที่สติปัญญาเกิด เมื่อนั้นเราจะต้องเห็นข้อผิดพลาดของตัวเอง และจะทำการแก้ไขได้ไปโดยลำดับ

และถ้าเมื่อใดใครๆมารู้พร้อมว่าเรากำลังทำดี เรากำลังพูดดี เรากำลังคิดดี รู้อยู่โดยหลักธรรมชาติของใจที่รู้ มิใช่รู้โดยการคิดปรุงแต่งเอาเอง เมื่อนั้นคนผู้นั้นย่อมรู้ว่าสติปัญญาอันแก่กล้าได้บังเกิดขึ้นแล้ว

และถ้าเมื่อใดใครๆมารู้ว่าสังขารปรุงแต่งทั้งมวลได้ดับไปจากใจแล้ว ปรากฏสัจธรรมความจริงในหลักธรรมชาติ เข้าถึงธรรมอันไม่มีปัจจัยใดๆปรุงแต่งได้อีก ท่านเรียกผู้เช่นนั้นว่าเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ไปดีแล้ว เป็นผู้อยู่เหนือบุญและบาป เป็นผู้เข้าถึงพระนิพพาน ความเกิดอีกของผู้เช่นนั้นย่อมไม่มี


พระอาจารย์วิทยา กิจฺจวิชฺโช
วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 55.0.2883.87 Chrome 55.0.2883.87


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2559 11:29:25 »


คนวิจารณ์ก็พูดแต่เปลือก ไม่รู้ถึงแก่น ของศาสนา

ความสำคัญของการบวชมันอยู่ที่สมบัติแห่งการบวช ถูกต้องหรือไม่ดังนี้
๑.วัตถุสมบัติ คือคุณสมบัติของผู้บวชต้องครบถ้วน
๒.ปริสสมบัติ คือ ประชุมสงฆ์ครบองค์กำหนดแห่งการบวช
๓.สีมาสมบัติ คือ เขตสีมาที่ประชุมสงฆ์ได้สมมติสีมา ถูกต้องหรือไม่ ไม่เป็นสีมาวิบัติ ไม่ใช่นึกอยากจะบวชตรงไหนก็บวชได้
๔.กรรมวาจาสมบัติ คือ ญัตติสมบัติและอนุสาวนาสมบัติที่ภิกษุรูปหนึ่งหรือสองรูป จะสวดประกาศในท่ามกลางสงฆ์ จะต้องถูกระเบียบ เรียกว่า ญัตติจตุตถกัมมวาจา

เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนดังนี้ จึงจะถือว่าการบวชนั้นๆ สำเร็จเป็นพระภิกษุที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามพระธรรมวินัย

จากนั้นยังต้องไปประพฤติวัตรปฏิบัติรักษาศีล ทำสมาธิ อบรมปัญญาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ต่อไปอีก จึงจะถือว่าเป็นพระแท้ได้

ไม่ใช่ไปดูแค่การทำพิธีบวช
ไม่ใช่ไปดูที่มีโบสถ์ หรือไม่มีโบสถ์
ไม่ใช่ไปดูที่โบสถ์สวยราคาแพง
ไม่ใช่ไปดูที่โบสถ์ไม่สวยราคาถูก
เดี๋ยวจะวิปลาสไปใหญ่

พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติให้ต้องสร้างโบสถ์ วิหาร หรูๆ หราๆ แต่ก็ไม่ได้บัญญัติห้ามไว้ว่า จะสร้างไม่ได้

ครั้งพุทธกาล นางวิสาขาขอสร้างบุพพาราม พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้สร้างได้ มีรับสั่งให้พระโมคคัลลาน์ไปดูแลเพื่อความเหมาะสม

บุพพารามของนางวิสาขาสวยไหม? หมดเงินไปกี่โกฏ? กระทั่งผ้าเช็ดเท้าในวิหาร ยังทำจากผ้าไหมแคว้นกาสีที่ดีที่สุด

ดังนั้น การจะสร้างโบสถ์ สร้างวิหารให้งดงามแค่ไหนอย่างไร? มันจึงอยู่ที่ความเหมาะสมของแต่ละสถานที่ ตลอดจนศรัทธาของประชาชนในที่นั้นๆ

ไม่ใช่นึกอยากจะสร้างตรงไหนก็สร้างได้ ต้องมีเหตุปัจจัยหลายด้านเป็นองค์ประกอบ ทั้งบุญบารมีของผู้ที่จะสร้างด้วย

บางที่ก็อาจสมควรสร้าง บางที่ก็อาจไม่สมควรสร้าง ก็แล้วแต่ใครจะพิจารณากันอย่างไร?
 
ถ้าไม่มีศรัทธาก็จงอยู่เฉยๆ เสียจะดีกว่านะ ใครจะไปห้ามศรัทธาของคนได้ ขอเพียงให้ทำถูกต้องตามกฎหมาย และอย่าให้ผิดธรรมผิดวินัยก็พอ

ศาสนวัตถุบางอย่างก็จำเป็นต้องสร้างเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของศาสนา ดูวัดพระแก้ว วัดพระพุทธชินราช เป็นตัวอย่าง คนไปกราบไหว้วันละเท่าไร ก็เพื่อเชิดหน้าชูตาของศาสนา และเป็นศิลปประจำชาติอีกด้วย

สำหรับคนที่ยังเข้าไม่ถึงแก่น ก็เอาเปลือก เอากระพี้ไปใช้ก่อน ส่วนผู้เข้าถึงแก่นแล้ว ก็เอาแก่นไป

ศาสนาเปรียบเหมือนต้นไม้ ต้องมีทั้งเปลือก กระพี้ และแก่น จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป ต้นไม้นั้นก็ตั้งอยู่ไม่ได้นาน

เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน ทาน ศีล ภาวนา และสำทับอีกว่า วิหารทานมีอานิสงฆ์มากที่สุดในฝ่ายวัตถุทาน เป็นรองแค่ธรรมทานเท่านั้น

ถ้าไม่ให้สร้างโบสถ์ สร้างวิหาร แล้ววิหารทานพระองค์จะแสดงไว้ทำอะไร? แสดงไว้เพื่อใคร? ถ้าไม่ใช่ไว้เพื่อให้ชาวพุทธ

ดังนั้น การพูดมันจึงต้องมีแยกแยะ มีหนักมีเบา มีเหตุมีผล ไม่ใช่พูดแบบหว่านแห ไม่รู้ดี รู้ชั่ว อย่าพูดเสียดีกว่า


พระอาจารย์วิทยา กิจฺจวิชฺโช
วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 55.0.2883.87 Chrome 55.0.2883.87


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2559 11:36:01 »



พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง ชื่อว่า สังขาร ไม่ว่าจะเป็นสังขารประเภทไหน ทั้งที่มีวิญญาณครอง และไม่มีวิญญาณครอง ย่อมมีอันแตกสลายไปในที่สุด เป็นธรรมดา สมดังบทธรรมที่ว่า

"สัพเพ สังขาร อนิจจา สังขารทั้งหลาย มีความไม่เที่ยงแท้แน่นอน
สัพเพ สังขารา ทุกขา สังขารทั้งหลาย ล้วนถูกบีบคั้นให้ทุกข์ทรมาน
สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งปวง ไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัวเป็นตน ล้วนเป็นธรรมชาติที่ต้องปล่อยวาง"
 
สังขารทั้งหลายเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไป มิอาจทรงตัวอยู่ได้ยาวนาน มีความแปรปรวนในท่ามกลาง และต้องเสื่อมสลายไปในที่สุด ธรรมดาของโลกย่อมเป็นเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นสังขารของท่านผู้ใด จะเป็นของเขา หรือของเรา ก็หนีไม่พ้นความเป็นอย่างนี้

แม้พระพุทธองค์เอง ทรงเป็นผู้ที่เปี่ยมล้นด้วยบุญญาบารมีเป็นอเนกอนันต์ พระสรีระของพระองค์ก็ยังต้องตกอยู่ในกฏแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีข้อยกเว้น แม้พระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากอันยอดเยี่ยม ก็ยังมิอาจทูลทัดทานยับยั้งไม่ให้พระพุทธองค์ทรงเข้าสู่พระมหาปรินิพพานอันเป็นเอกันตบรมสุขได้เลย

พระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าช่างประเสริฐเลอเลิศและงดงามยิ่งนัก งามทั้งในเบื้องต้น งามทั้งในท่ามกลาง งามทั้งในที่สุด เพราะเป็นสัจธรรมความจริงที่ไม่มีลำเอียงและไม่มียกเว้นแม้แต่กับพระองค์เอง

ภาชนะที่มีอันแตกได้ก็ย่อมต้องแตกไปเป็นธรรมดา คงเหลือไว้แต่เกียรติคุณความดีงามให้โลกได้ยึดถือไว้เป็นคติตัวอย่างที่ดีงามสืบต่อไป
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.191 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 07:53:53