[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 19:42:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นำชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร : พิพิธภัณฑสถานแห่งแรกในประเทศไทย  (อ่าน 2767 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 29 ธันวาคม 2559 15:34:38 »




นำชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งแรกในประเทศไทย

------------------
ศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมและสงวนรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
ที่บรรพบุรุษไทยได้สรรสร้างอย่างประณีตด้วยเชิงช่างศิลปะชั้นสูงที่ต้องใช้ทั้งฝีมือ ความรู้ ความชำนาญ
และความละเอียดประณีตทุกขั้นตอน  จึงเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนควรภาคภูมิใจและได้ศึกษาเป็นความรู้
เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ศิลปะเหล่านี้ให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทยตลอดไป

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีรากฐานมาจากพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๒ โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งขึ้นในหมู่พระอภิเนาวนิเวศน์ ในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า “ประพาสพิพิธภัณฑ์” เพื่อจัดแสดงข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี และชาติพันธุ์วิทยา ซึ่งแต่เดิมเป็นวังหน้าของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับวังหลวง

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้นที่ หอคองคอเดีย หรือศาลาสหทัยสมาคม ภายในพระบรมมหาราชวังชั้นนอก เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “มิวเซี่ยม”  เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรกเนื่องในการเฉลิมพระชนมายุครบ ๒๑ พรรษา โดยทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๑๗ จึงถือว่าวันนี้เป็นวันกำเนิดพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนในประเทศไทย ปัจจุบันกำหนดเป็น “วันพิพิธภัณฑ์ไทย

ถึงปี พ.ศ. ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือพระมหาอุปราช หรือวังหน้า แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้าย “มิวเซียม” จากพระบรมมหาราชวัง มาจัดตั้งในพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า ของกรมพระราชวังบวรฯ  เฉพาะพระที่นั่งด้านหน้า ๓ องค์ คือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย  โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็นส่วนๆ ดังนี้

๑.พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เคยใช้เป็นท้องพระโรงและที่บำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทย หลังคาเครื่องไม้ชั้นลด ๓ ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาเคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ด้านหน้าเป็นห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาติไทยในอดีตตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
 
๒.อาคารมหาสุรสิงหนาทและอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกแก่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นที่จัดแสดงศิลปะต่างประเทศและในประเทศไทย ได้แก่ ศิลปะเอเชีย ศิลปะทวารวดี ศิลปะลพบุรี และเทวรูปโบราณ

๓.พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ตำหนักแดง พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย ศาลาลงสรง อาคารโบราณสถาน จัดแสดงอาคารหมู่พระที่นั่งในพระราชวังบวรสถานมงคลมาแต่เดิม รวมทั้งอาคารที่เคลื่อนย้ายมาจากพระราชวังต่างๆ นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุที่สำคัญมากมาย เช่น พระพุทธสิหิงค์, พระชัย, พระพุทธรูปโปรดมหิศรเทพบุตร, พระพุทธรูปประทับรอยพระพุทธบาท และรวมถึงสถานที่สำคัญคือ "หอแก้วศาลพระภูมิพระราชวังบวรสถานมงคล" ที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อเป็นที่สถิตของพระภูมิเจ้าที่ซึ่งเชื่อว่าเป็นเจ้าของผืนแผ่นดินที่สร้างวัง ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งประจำกรมศิลปากร ที่ผู้คนต่างให้ความเคารพ

๔.อาคารหมู่พระวิมานและโรงราชรถ จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ประดิษฐ์อย่างประณีตศิลป์ เช่น เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องถม เครื่องมุก เครื่องดนตรี เครื่องไม้จำหลัก เครื่องแต่งกายและผ้าโบราณ เครื่องถ้วย ราชรถ และเครื่องประกอบการพระราชพิธีพระบรมศพที่สำคัญ คือ พระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตรราชรถ ราชรถน้อย เกริน ส่วนประกอบของพระเมรุมาศ พระโกศ พระยานมาศสามลำคานเป็นต้น



จากการที่พสกนิกรไทยทั้งแผ่นดิน อยู่ในห้วงแห่งความเศร้าโศกอาลัย ในการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และรัฐบาลได้ดำเนินการจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ และบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ดังนั้น ในลำดับแรก จึงนำเรือง "เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศในงานพระบรมศพ" ซึ่งมีโบราณวัตถุเก็บรักษาไว้ที่โรงราชรถ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร มาเสนอเป็นอันดับแรก ก่อนที่นำชมโบราณวัตถุอันมีค่าอื่นนอกจากนี้ในลำดับถัดไป

เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศงานพระบรมศพและพระศพ
เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ เป็นเครื่องแสดงฐานะของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ตามความเชื่อที่ว่าพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเป็นสมมติเทพ เมื่อถึงแก่อายุขัย ใช้ศัพท์ว่า “สวรรคต” หรือ “ทิวงคต” แปลว่า “กลับสู่สวรรค์”  ดังนั้น งานพระบรมศพและพระศพอันเป็นการส่งเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์กลับสู่สรวงสวรรค์ จึงต้องถวายพระเกียรติยศอย่างสูงสุด  เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศในงานพระบรมศพและพระศพตามโบราณราชประเพณีประกอบด้วยสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ คือ เครื่องประกอบในการตั้งพระบรมศพ พระศพ เพื่อการบำเพ็ญพระราชกุศล ได้แก่ พระโกศ หีบศพบรรดาศักดิ์ พระแท่นสุวรรณเบญจดล พระแท่นแว่นฟ้า ฉัตร อภิรุมชุมสาย เครื่องราชูปโภค และเครื่องประโคมต่างๆ เครื่องประกอบในริ้วขบวนพยุหยาตราอัญเชิญพระบรมศพและพระศพสู่พระเมรุ เช่น เรือพระที่นั่ง ราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบในการถวายพระเพลิงพระบรมศพ หรือ พระราชทานเพลิงพระศพ ได้แก่ พระเมรุมาศ พระจิตกาธาน ฉากบังเพลิง สัตว์หิมพานต์ เครื่องประดับพระเมรุต่างๆ พระโกศจันทน์ ฟืน และเครื่องหอม เป็นต้น  ทั้งนี้ เป็นไปตามลำดับแห่งพระเกียรติยศ

สำหรับเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศในงานพระบรมศพและพระศพที่สำคัญและเก็บรักษาไว้ในโรงราชรถนี้ ได้แก่ ราชรถ และราชยาน




พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เดิมชื่อพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ สร้างขึ้นในสมัยกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
ในรัชกาลที่ ๑ ปฏิสังขรณ์สมัยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์
พระพุทธรูปสำคัญของวังหน้า


ซ้ายมือของภาพ คือ ศาลามุขมาตย์ เดิมชื่อ พระที่นั่งราชฤดี
สร้างไว้ที่พระราชวังดุสิต ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ออกแบบโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ใช้เป็นที่สรงน้ำเทพมนต์และน้ำพระพุทธมนต์ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖
พระราชทานนามใหม่ เป็น "ศาลาสำราญมุขมาตย์" ภายหลังรื้อมาปลูกในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร
ในรัชกาลที่ ๗  ลักษณะเป็นพระที่นั่งโถง สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ปัจจุบันใช้เป็นที่ต้อนรับแขกพิเศษของทางราชการ
และเป็นที่ประกอบพิธีต่างๆ


ตำหนักแดง









ราชรถ (The Royal Chariots)

ราชรถ หมายถึงรถของพระราชา ปรากฏประวัติการใช้มาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ใช้ในการไปมาเป็นปกติและใช้การพิธีต่างๆ เช่น เมื่อพุทธศักราช ๒๒๒๙ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ใช้อัญเชิญพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔  ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้ใช้ในพระราชพิธีอินทราภิเษก หรือใช้คราวเสด็จพระราชทานพระกฐินในเดือน ๑๑ ด้วยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค และใช้ในการศพ เป็นต้น

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างราชรถขึ้นมา ๗ รถ ประกอบด้วย พิชัยราชรถ ๑ รถที่นั่งรอง ๑ รถพระ ๑ รถชัก (โยง) ๑ รถโปรยข้าวตอก ๑ และรถท่อนจันทน์ ๒

ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่โรงราชรถ ๕ รถ คือ พระมหาพิชัยราชรถ ๑ เวชยันตราชรถ ๑ และราชรถน้อย ๑ (รถพระ รถโยง รถโปรย)
...ข้อมูลจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร




ราชยาน (The Royal Palanquins)

ราชยาน คือ พาหนะของพระราชาและพระบรมวงศานุวงศ์ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ แบบนั่งห้อยขา เป็นยานสำหรับบุคคลชั้นสูง เป็นยานขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก การหามจะต้องนำลำคานขึ้นพาดบ่าและคนหามต้องมีความสูงไล่เลี่ยกัน เช่น พระยานมาศสามลำคาน พระที่นั่งราเชนทรยาน และคานหามเก้าอี้ เป็นต้น  อีกประเภทจะเป็น แบบนั่งราบ เป็นยานที่มีน้ำหนักไม่มาก การหามจะใช้เชือกผูกลำคานสองข้างเป็นสาแหรกขึ้นไปผูกกับคานน้อยอีกอันหนึ่ง  คนหามจะหามปลายคานน้อยทั้งสองข้าง  สำหรับราชยานที่ยังปรากฏมาจนถึงปัจจุบันและใช้ในงานพระราชพิธีต่างๆ นั้น ส่วนหนึ่งเก็บรักษาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง พระราชวังดุสิต และบางส่วนเก็บรักษาไว้ในพระที่นั่งภิมุขมณเฑียร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้แก่ ยานมาศสามลำคาน ๒ เกรินบันไดนาค ๒ วอสีวิกากาญจน์ ๑ พระที่นั่งราเชนทรยาน ๑ เป็นต้น ...ข้อมูลจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร





ยานมาศสามลำคาน (The Triple Beam Royal Palanquin)

ยานมาศสามลำคาน : ยานขนาดใหญ่ มี ๓ ลำคาน สำหรับทรงพระโกศ ตรงกลางเป็นแท่นฐานสิงห์ย่อมุมไม้สิบสองจำหลักไม้ปิดทองประดับกระจก ตกแต่งภาพ คือ เทพนม ครุฑพนม โดยรอบ  ชั้นบนสุดทำเป็นแผงราชวัติกั้น ด้านหน้าและด้านหลังมีเกยลาสำหรับเจ้าพนักงานภูษามาลาขึ้นประคองโกศ ลำคานทำจากไม้กลึงกลมทาสีแดง ปลายแกะเป็นหัวเม็ดทรงมัณฑ์ปิดทองประดับกระจก ใช้พนักงานหาม ๖๐ คน เวลาหามจริงใช้คน ๒ ผลัด

ยานมาศสามลำคานสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี ในกรุงรัตนโกสินทร์ใช้ในการอัญเชิญพระโกศไปในกระบวนพยุหยาตรา จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถ ณ บริเวณหน้าวัดพระเชตุพนวิมงมังคลาราม และใช้ในการเชิญพระโกศพระบรมศพ เวียนอุตราวัฏรอบพระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง ๓ รอบ ตามราชประเพณี
...ข้อมูลจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


โปรดติดตามตอนต่อไป

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มกราคม 2560 10:43:42 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 13 มกราคม 2560 10:59:53 »


โบราณวัตถุที่มีค่าทางประวัติศาสตร์
เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

อาทิ ครื่องทองพุทธบูชา สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ ๒๔)
พบที่วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า), เครื่องทองจากกรุ
พระปรางค์วัดราชบุรณะ พระนครศรีอยุธยา สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๐,
เครื่องใช้ส่วนพระองค์ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ฯลฯ

















รองพระบาท ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี


พระแท่นบรรทม ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี




คันฉ่อง สมัยรัตนโกสินทร์




ราวผ้าซับพระพักตร์ สมัยรัตนโกสินทร์










พู่หางช้างเผือก สมัยรัตนโกสินทร์ จากเมืองเชียงใหม่และเมืองชนบท (ขอนแก่น)


พัดโบกกูนันกัน ศิลปะอินโดนีเซีย สมัยรัตนโกสินทร์
นายอานันท์  ปันยารชุน  นายกรัฐมนตรี มอบให้เป็นของที่ระลึกจากประธานาธิบดีอินโดนีเซีย, นายซูดาห์โมดน เอส.เอช.
เนื่องในโอกาสเดินทางไปเยือนประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๕ พฤษภาคม ๒๕๓๔





ระแทะ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
ได้มาจากเมืองพระตะบอง ในสมัยรัชกาลที่ ๕


สัปคับงาช้าง (เก้าอี้บนหลังช้าง) ทำจากงาช้าง จำหลักลายกนก และลายเครือไม้
 พระเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗ (พระราชบิดา พระราชชายาเจ้าดารารัศมี)
ส่งมาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๐ พรรษา
สมัย รัตนโกสินทร์ เป็นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมาแต่เดิม


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มกราคม 2560 15:38:48 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.438 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 16:26:58