[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 05:52:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ยาสมีน ลาริ สถาปนิกหญิงแกร่ง กับสถาปัตยกรรมเพื่อรับมือภัยพิบัติ  (อ่าน 1399 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2322


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 มกราคม 2560 19:43:40 »

ยาสมีน ลาริ สถาปนิกหญิงแกร่ง
กับสถาปัตยกรรมเพื่อรับมือภัยพิบัติ



ยาสมีน ลาริ (Yasmeen Lari) สถาปนิกหญิงคนแรกของปากีสถาน
ขณะอยู่ในชุมชนซึ่งเสียหายจากน้ำท่วมใน ค.ศ.๒๐๑๐ ที่เธอเข้าไปฟื้นฟู


อาคารที่ได้รับการสร้างใหม่ภายในชุมชนที่ประสบอุทกภัย


ยาสมีน ลาริ ขณะดูแลการก่อสร้างอาคาร ซึ่งทั้งหมดสร้างโดยคนในชุมชน

ย้อนกลับไปประมาณครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา บทบาทของผู้หญิงยังถูกจำกัดและไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในสังคม เช่นเดียวกับในวงการสถาปัตยกรรมที่ช่วงเวลาดังกล่าวจะหาสถาปนิกผู้หญิงที่ได้รับการยอมรับได้น้อยมาก แต่เมื่อสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลง ผู้หญิงได้รับการยอมรับมากขึ้น เริ่มมีสถาปนิกหญิงที่มีชื่อเสียงมากขึ้น ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ปากีสถาน ซึ่งตามวัฒนธรรมดั้งเดิมแล้วมีกฎเกณฑ์เข้มงวดเกี่ยวกับผู้หญิงมากมาย แต่ก็มีสถาปนิกหญิงคนหนึ่งที่ได้รับการยอมรับมาก เธอคือ ยาสมีน ลาริ (Yasmeen Lari)

ยาสมีน ลาริ ถือเป็นสถาปนิกหญิงคนแรกของปากีสถาน เกิด ค.ศ.๑๙๔๑ ที่เมืองเดรากาซีข่าน (Dera Ghazi Khan) ทางตอนกลางของประเทศปากีสถาน ก่อนจะย้ายตามครอบครัวไปอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร หลังจบการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมจากโรงเรียนสถาปัตยกรรมออกซฟอร์ด (Oxford School of Architecture) ใน ค.ศ.๑๙๖๔ ยาสมีน ลาริ ในวัย ๒๓ ปี จึงกลับมาที่ปากีสถานอีกครั้งพร้อมกับสามี ซูเฮล ซาเฮียร์ ลาริ (Suhail Zaheer Lari) ทั้งคู่เปิดสำนักงานสถาปัตยกรรมในนาม Lari Associates ขึ้นที่กรุงการาจี (Karachi) เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ และเธอพบว่าเธอเป็นสถาปนิกหญิงคนแรกและคนเดียวในปากีสถานในช่วงนั้น บริษัทของเธอได้รับงานออกแบบชิ้นสำคัญๆ มากมาย จนเธอได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสถาปนิกปากีสถาน ระหว่าง ค.ศ.๑๙๘๐-๑๙๘๓

แม้ว่าสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ที่บริษัทของเธอและสามีออกแบบจะเป็นอาคารสมัยใหม่ในเมือง แต่ยาสมีน ลาริ เองก็ยังสนใจศึกษาสถาปัตยกรรมของผู้มีรายได้น้อย และการอนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นเธอและสามีจึงก่อตั้งองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร Heritage Foundation of Pakistan ขึ้นตั้งแต่ ค.ศ.๑๙๘๐ หลังจากเธอเกษียณตัวเองจากการเป็นสถาปนิกในบริษัทเมื่อ ค.ศ.๒๐๐๐ ยาสมีน ลาริ ก็หันมาทำงานด้านการอนุรักษ์และสถาปัตยกรรมเพื่อผู้มีรายได้น้อยในนามขององค์กรนี้อย่างเต็มตัว

ใน ค.ศ.๒๐๐๕ ภูมิภาคฮาซารา (Hazara) และแคชเมียร์ (Kashmir) ทางตอนเหนือของประเทศปากีสถานเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ทำให้มีผู้ประสบภัยจำนวนมาก และเกือบทั้งหมดล้วนมีรายได้น้อย ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ Heritage Foundation of Pakistan จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการออกแบบสถาปัตยกรรมและฟื้นฟูชุมชนของผู้ประสบภัยในท้องถิ่นห่างไกล โดยเธอนำเทคนิคการก่อสร้างที่ได้เรียนรู้จากสถาปัตยกรรมพื้นเมืองมาประยุกต์สร้างสถาปัตยกรรมในรูปแบบร่วมสมัย ที่แข็งแรง ราคาถูก และก่อสร้างง่าย โดยใช้ทักษะของคนในชุมชน

จนกระทั่ง ค.ศ.๒๐๑๐ ยาสมีน ลาริ มีโอกาสออกแบบสถาปัตยกรรมสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติอีกครั้ง ร่วมกับองค์กรสถาปัตยกรรมระดับโลกอย่าง Architecture for Humanity หลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่ภูมิภาคสินธ์ (Sindh region) ซึ่งอยู่บริเวณปากแม่น้ำ โดยยึดแนวทางที่ได้เรียนรู้มาจากครั้งก่อน คือประยุกต์เทคนิคการก่อสร้างจากอาคารพื้นถิ่น และเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายซึ่งผู้คนคุ้นเคย ทั้งไม้ ดิน และไม้ไผ่ “ดินนั้นสามารถนำมารีไซเคิลได้ และมีอยู่ทุกที่ ไม้ไผ่ก็มีความแข็งแรงมากและปลูกใหม่ขึ้นทดแทนได้ทุกๆ ๒ ปี” สถาปนิกหญิงกล่าวถึงข้อดีของวัสดุธรรมชาติ

เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนั้น ยาสมีน ลาริ และทีมงานได้พัฒนาอาคารโครงสร้างไม้ไผ่รูปแบบพิเศษซึ่งประยุกต์จากอาคารรูปแบบกระโจม โดยมีผังเป็นรูปวงกลม ทำให้เกิดโครงสร้างที่แข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้มาก จึงสร้างอาคารที่สูงสองชั้นได้ โครงสร้างอาคารออกแบบให้สามารถทนต่อแรงปะทะจากน้ำ และยังยกพื้นสูงเพื่อหนีน้ำหากเกิดน้ำท่วมอีกครั้งในอนาคต นอกจากโครงสร้างไม้ไผ่แล้ว อาคารบางส่วนยังก่อผนังด้วยดินซึ่งมีความแข็งแรง กันน้ำท่วมและแผ่นดินไหวได้ดี ยาสมีน ลาริ และทีมงานได้ออกแบบที่พักอาศัยให้ผู้ประสบภัยเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๓,๖๐๐ หลัง ทำให้ชื่อของเธอเป็นที่รู้จักในวงกว้างในฐานะสถาปนิกหญิงผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมสำหรับผู้ประสบภัย

ตลอดระยะเวลากว่า ๑๐ ปีที่ผ่านมา ผลงานของยาสมีน ลาริ ทุกชิ้นถือเป็นสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นจากการหลอมรวมงานออกแบบ วัสดุและเทคโนโลยีก่อสร้างที่เหมาะสม ตลอดจนปัจจัยด้านที่ตั้ง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ รวมทั้งผู้ใช้งานและสภาพสังคมเข้าไว้ด้วยกัน จนเกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่ดีบนพื้นฐานการพึ่งพาตนเองได้ภายในท้องถิ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอให้ความสำคัญที่สุด “คุณไม่อาจออกมาจากความยากจนได้ ถ้าคุณจะต้องกลับมาสร้างใหม่ในทุกๆ ปี ทางเดียวที่จะก้าวไปข้างหน้า คือการสร้างให้คนในชุมชนสามารถดูแลตัวเอง และรับมือกับภัยพิบัติได้หากมันเกิดขึ้นอีกครั้ง” สถาปนิกหญิงคนแรกของปากีสถานกล่าว


sarakadee.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.416 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 13 เมษายน 2567 21:58:25