[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 02:34:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บวบเหลี่ยม สรรพคุณและประโยชน์ของบวบเหลี่ยม ๔๘ ข้อ  (อ่าน 2269 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5461


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2560 19:25:31 »



บวบเหลี่ยม
สรรพคุณและประโยชน์ของบวบเหลี่ยม ๔๘ ข้อ !

บวบเหลี่ยม
บวบเหลี่ยม ชื่อสามัญ Angled loofah
บวบเหลี่ยม ชื่อวิทยาศาสตร์ Luffa acutangula L.) Roxb. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)[๑],[๒]

สมุนไพรบวบเหลี่ยม มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มะนอย หมักนอย เชียงใหม่), บวบหวาน แม่ฮ่องสอน), มะนอยงู มะนอยข้อง มะนอยเหลี่ยม (ภาคเหนือ, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), บวบเหลี่ยม ไทย), เดเรเนอมู เดเรส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กะตอรอ (มลายู-ปัตตานี), อ๊อซีกวย จีน) เป็นต้น [๑],[๒]
ลักษณะของบวบเหลี่ยม

• ต้นบวบเหลี่ยม เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เนื่องจากพบต้นที่มีลักษณะเป็นพืชป่าในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย [๖],[๗] และมีเขตการกระจายพันธุ์และนิยมบริโภคกันมากในประเทศเขตร้อน เช่น ไทย จีน ฮ่องกง และอินเดีย [๔],[๔] โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุเพียงปีเดียว ชอบเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่นหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยอดอ่อนนุ่ม เถาหรือลำต้นเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีมือสำหรับใช้ยึดเกาะเป็นเส้นยาว บางทีแยกเป็นหลายแขนง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทนแล้ง ทนฝนได้ดี โรคและเมล็ดไม่มารบกวน พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามที่รกร้าง ตามริมห้วย หนอง คลอง และตามบึงทั่วไป [๑],[๒],[๓],[๑๐]

• ใบบวบเหลี่ยม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบทั่วไปคล้ายกับใบบวบกลมหรือบวบหอม แต่ใบนั้นจะมีรอยเว้าเข้าตื้นกว่ามาก ลักษณะของใบเป็นรูป ๕-๗ เหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบหยักเว้าตื้น ๆ หลังใบและท้องใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ก้านใบเป็นเหลี่ยม ยาวประมาณ ๔-๗ เซนติเมตร [๑],[๒],[๑๐]

• ดอกบวบเหลี่ยม ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกจะบานในช่วงเย็น โดยดอกจะเพศผู้จะออกเป็นช่อๆ โดยจะออกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีเหลือง มีกลีบดอก ๕ กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กลีบ กลีบดอกบางและย่น โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน มีกลีบเลี้ยงหรือกลีบรองดอกเป็นสีเขียวมี ๕ กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกเป็น ๕ กลีบ ด้านนอกมีขนสั้นและอ่อนนุ่มปกคลุมอยู่ มีขน ดอกเพศผู้จะมีเกสรเพศผู้ประมาณ ๒-๓ อัน มีอับเรณูแบบ ๑ ช่อง ๑ อัน และแบบ ๒ ช่อง ๒ อัน ส่วนดอกเพศเมียมักจะออกดอกเดี่ยว ดอกเป็นสีเหลือง มีลักษณะคล้ายกับดอกเพศผู้ รังไข่เป็นรูปขอบขนาน ท่อรังไข่เป็นรูปทรงกระบอก ปลายแยกเป็นแฉก ๓ แฉก ภายในรังไข่มีช่อง ๓ ช่อง และมีไข่อ่อนเป็นจำนวนมาก [๑],[๒],[๑๐]

• ผลบวบเหลี่ยม ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดสั้นกว่าบวบกลม แต่ผลจะมีเหลี่ยมเป็นสันขอบคมประมาณ ๑๐ สัน ตามความยาวของผล โดยผลจะมีความยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ปลายผลโต โคนผลเรียวเล็ก เปลือกของผลหนา พอแก่จะเป็นเส้นใบเหนียว เนื้อในผลมีรสขม ภายในผลมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะแบน [๑],[๒],[๑๐]

สรรพคุณของบวบเหลี่ยม
๑.ผลเป็นยาเย็น มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ผล) [๒],[๙]
๒.ดอกมีรสชุ่ม ขมเล็กน้อย และเย็นจัด มีสรรพคุณช่วยดับร้อน คลายร้อนในร่างกายได้ดี ดอก) [๑]
๓.ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดี เถา)[๑]
๔.ผล เถา และทั้งต้นของบวบเหลี่ยม สามารถใช้เข้าในตำรับยาแก้ลม บำรุงหัวใจได้อีกด้วย ทั้งต้น)[๙]
๕.หากเหงื่อออกมาก ให้ใช้ใบสดผสมกับเมนทอล นำมาตำแล้วทาหรือใช้พอก ใบ)[๑]
๖.ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทรายใช้กินพอประมาณ น้ำจากเถา)[๑] หรือหากมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว ให้ใช้รากต้มใส่ไข่เป็ด ๒ ฟอง แล้วนำมากิน ราก)[๑]
๗.น้ำคั้นที่ได้จากใบสด ใช้เป็นยาหยอดตาเด็ก เพื่อรักษาเยื่อตาอักเสบ ใบ)[๑]
๘.ใช้รักษาเยื่อจมูกอักเสบและเสื่อมสมรรถภาพ รักษาจมูกอักเสบจนกลายเป็นโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง ด้วยการใช้รากนำมาต้มกับน้ำกิน หรือจะใช้ดอกสดร่วมกับฮั่วเถ่าเช่าสด นำไปตำใช้เป็นยาพอกรักษาโพรงจมูกอักเสบก็ได้ ส่วนเถาก็มีสรรพคุณช่วยรักษาโพรงจมูกอักเสบได้เช่นกัน เถา,ราก,ดอก)[๑]
๙.ใช้รักษาจมูกมีหนองและมีกลิ่นเหม็น หรืออาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย ให้ใช้เถาบริเวณใกล้กับรากนำไปเผาให้เป็นถ่าน แล้วบดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากิน เถา)[๑]
๑๐.หากเป็นคางทูม ให้ใช้ใยผล รังบวบ) ที่เผาเป็นถ่านแล้ว ผสมกับน้ำใช้ทาบริเวณที่ปวด หรือจะใช้ผลนำไปเผาให้เป็นถ่าน แล้วบดให้เป็นผงผสมกับน้ำใช้ทาบริเวณที่ปวด ผล,ใยผล)[๑]
๑๑. เมล็ดมีรสหวานมัน ใช้รักษาอาการปวดเสียวฟัน โดยให้ใช้ผลที่แก่แล้วนำไปเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดเป็นผง ใช้ทาบริเวณที่ปวด ส่วนเถาก็มีสรรพคุณแก้อาการปวดเสียวฟันเช่นกัน เถา,เมล็ด)[๑]
๑๒.ผลเป็นยาเย็น สรรพคุณเป็นยาลดไข้ ผล)[๒]
๑๓.ผลและเมล็ดมีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนใน ส่วนน้ำจากเถาใช้ผสมกับน้ำตาลทรายกินพอประมาณก็เป็นยาบรรเทาอาการร้อนในได้เช่นกัน (น้ำจากเถา,ผล,เมล็ด)[๑],[๒],[๙]
๑๔.น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทรายใช้กินพอประมาณเป็นยาแก้หวัดได้ น้ำจากเถา)[๑]
๑๕.ดอกมีรสชุ่ม เย็ดจัด และขมเล็กน้อย ใช้รักษาอาการไอ อาการเจ็บคอ และหอบ ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ ๖-๑๐ กรัม ผสมกับน้ำผึ้ง แล้วต้มจิบกินเป็นยา หรือจะใช้น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทรายกินพอประมาณก็เป็นยาแก้ไอ แก้อาการเจ็บคอได้เช่นกัน (น้ำจากเถา,ดอก)[๑] หรือหากมีอาการเจ็บคอ จะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะนำรากมาแช่กับน้ำในภาชนะกระเบื้องแล้วเทเอาแต่น้ำกินก็ได้ ราก)[๑],[๙] หรือหากมีการไอ จะใช้เถาเอาไปต้มกับน้ำหรือจะใช้น้ำคั้นจากเถาสดนำมากินเป็นยาแก้ไอก็ได้ (แต่เป็นการทดลองกับหนู) เถา)[๑]
๑๖. ขั้วผลนำไปเผาไฟให้เป็นเถ้า บดให้เป็นผงละเอียดใช้เป่าคอเป็นยารักษาอาการเจ็บคอ และช่วยรักษาเด็กที่ออกหัด ช่วยทำให้ออกหัดได้เร็วขึ้น ขั้วผล)[๑]
๑๗.ผลมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ทำให้ชุipecacuanha ได้ดี แต่เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เมล็ด)[๑]
๒๓.ผลมีรสชุ่มและเย็น ใช้รักษาโรคบิดถ่ายเป็นเลือด แก้อาการปวดท้องเนื่องจากกินเหล้ามาก โดยให้ใช้ผลแห้งประมาณ ๑ ผล นำไปเผาให้เป็นถ่าน บดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากินครั้งละประมาณ ๖ กรัม ผล)[๑]
๒๔.รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระบาย ส่วนผลก็มีสรรพคุณเป็นยาระบายเช่นกัน ราก,ผล)[๒],[๙] รากและเมล็ดบวบเหลี่ยมที่มีรสขม มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย ราก,เมล็ด)[๑],[๙]
๒๕.เถาใช้เป็นยาขับพยาธิ เถา)[๑] ส่วนเมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม โดยนำเมล็ดแก่มาเคี้ยวกินตอนท้องว่าง โดยเมล็ดจะมีรสหวานมัน ถ้าเป็นเด็กให้กินครั้งละประมาณ ๓๐ม็ด หากเป็นผู้ใหญ่ให้ใช้ ๔๐-๕๐ติดต่อกัน ๒วัน หรือจะนำมาเมล็ดบดให้ละเอียดใส่แคปซูลกินวันละครั้ง เมล็ด)[๑],[๒],[๑๐]
๒๖.ผลและเมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ผลอ่อนนำไปต้มกับน้ำ โดยใส่น้ำพอท่วม แล้วต้มจนเดือด ใช้น้ำที่ได้นำมาดื่มครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๒ ครั้ง เช้าและเย็น) หรือจะใช้ดอกสดเป็นยาขับปัสสาวะก็ได้ เข้าใจว่าใช้ดอกแห้งประมาณ ๖-๑๐ กรัม นำไปต้มกับน้ำกิน ส่วนใบให้ใช้ใบสด ๑ กำมือ นำมาต้มกับน้ำ ใส่น้ำพอท่วมแล้วต้มจนเดือด ใช้น้ำที่ได้ดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๒ ครั้ง เช้าและเย็น ถ้าเป็นใบแห้งให้ใช้ ๕ กรัม นำมาชงกับน้ำร้อน ๑ แก้ว ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น (ใบ,ดอก,ผล,เมล็ด)[๑],[๒],[๙]
๒๗.เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาขับนิ่ว เมล็ด)[๒]
๒๘.ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ใบนำมาตำพอกหรือจะบดให้เป็นผงใช้ผสมเป็นยาทาก็ได้ หรือจะใช้ดอกสดผสมกับฮั่วเถ่าเช่าสดนำไปตำพอก หรือจะใช้ใยผลหรือรังบวบนำไปเผาไฟให้เป็นเถ้า แล้วนำไปผสมกับปูนขาวที่เก็บไว้นาน ๆ และผสมกับหย่งอึ้งบดเป็นผง แล้วนำไปต้มกับดีหมู ใส่ไข่ขาวผสมน้ำมันหอม นำมาใช้ทาบริเวณที่เป็น แต่หากเป็นโรคริดสีดวงทวารที่เกิดจากการดื่มเหล้ามาก ๆ ก็ให้ใช้ใยผล รังบวบ) ที่เผาเป็นถ่านแล้ว นำไปบดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากินครั้งละ ๖ กรัม ใบ,ดอก,ใยผล)[๑]
๒๙.หากเลือดน้อย ประจำเดือนของสตรีมาผิดปกติ ให้ใช้ผลนำไปเผาให้เป็นถ่าน ผสมกับเหล้ากินหลังอาหารตอนที่สบายใจ ส่วนใบและเถาก็มีสรรพคุณช่วยแก้ประจำเดือนที่ผิดปกติของสตรีเช่นกัน เถา,ใบ,ผล)[๑],[๒]
๓๐.ใบใช้เป็นยารักษาสตรีที่ตกเลือด ด้วยการนำใบไปคั่วให้เป็นถ่าน แล้วบดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากินครั้งละประมาณ ๖-๑๕ กรัม ใบ)[๑]
๓๑.ช่วยบำรุงม้าม เถา)[๑]
๓๒.ใบนำมาตำใช้เป็นยาพอกทาถอนพิษในคนไข้ม้ามโต ใบ)[๒]
๓๓.ช่วยแก้อาการบวมน้ำ ด้วยการใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทรายกินพอประมาณก็ได้ (ราก,น้ำจากเถา)[๑],[๒],[๙]
๓๔.ใบสดนำมาตำพอกแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย แก้พิษคัน ใบ)[๙]
๓๕.ช่วยรักษาบาดแผลเรื้อรัง แผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้ใบนำมาต้มเอาแต่น้ำใช้ชะล้าง หรือจะตำพอก หรือบดให้เป็นผงละเอียดผสมเป็นยาทาก็ได้ ใบ)[๑]
๓๖.หากเป็นแผลมีหนองและมีเนื้อนูน ก็ให้ใช้ผลสด นำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับผงเบญกานี Gall จากต้น Rhus chinensis Mill. แล้วนำมาใช้ทา ผล)[๑]
๓๗.น้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดบวบเหลี่ยมสามารถนำมาใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้ บ้างว่าใช้แก้โรคผิวหนังได้บางชนิด และถ้าบริสุทธิ์พอก็ใช้กินได้ (น้ำมันจากเมล็ด)[๑],[๒],[๑๐]
๓๘.หากผิวหนังเป็นผดผื่นคันให้ใช้ใบสดผสมกับเมนทอล นำมาตำแล้วพอกหรือใช้ทาบริเวณที่เป็น ใบ)[๑]
๓๙.ใช้รักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้ใบนำมาต้มเอาน้ำใช้ชะล้าง หรือจะตำพอก หรือจะบดให้เป็นผงละเอียดผสมเป็นยาทาก็ได้ ใบ)[๑]
๔๐.หากเป็นฝีบวมแดงและมีหนอง รักษาฝีไม่มีหัว ให้ใช้ดอกสดผสมกับฮั่วเถ่าเช่าสด นำไปตำใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น ดอก)[๑]
๔๑.ช่วยรักษาแขนขาเป็นเหน็บชา เถา)[๑]
๔๒.หากมีอาการปวดเอวเรื้อรัง ให้นำเมล็ดมาคั่วจนเหลือง แล้วบดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากิน และให้นำกากมาพอกบริเวณที่มีอาการปวด เมล็ด)[๑]
๔๓.ผลมีสรรพคุณช่วยขับน้ำนมของสตรีที่มีน้ำนมน้อยหลังการคลอดบุตร หรือจะใช้ใยผล รังบวบ) ที่เผาเป็นถ่านแล้ว นำมาบดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากินก็ได้ แล้วห่มผ้าห่มให้เหงื่อออกด้วย ผล,ใยผล)[๑]

หมายเหตุ : จากหนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ของ ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ได้ระบุไว้ว่า บวบเหลี่ยมมีสรรพคุณเหมือนกับบวบกลม บวบหอม) ผู้เขียนจึงได้นำสรรพคุณของบวบกลมในหนังสือดังกล่าวมาเขียนไว้ตาม [๑] แต่อย่างไรก็ตามบวบที่นิยมนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้น จะนิยมใช้บวบกลมมากกว่า [๑]

ข้อมูลทางเภสัชวิทาของบวบเหลี่ยม
• ในเมล็ดมีสารไขมันอยู่ประมาณ ๓๗.๕% มีโปรตีนประมาณ ๓๓.๔% และประกอบไปด้วยกรดอะมิโน และเมล็ดบวบที่มีรสขมจะมีสาร Cucurbitacin B ๐.๑๒%, น้ำมันประมาณ ๑๘.๔%, กรดไขมันไม่อิ่มตัวประมาณ ๘๐.๓%, กรดไขมันอิ่มตัวประมาณ ๑๙.๓๔% unsaponified matters ๑.๕% กรดไขมันได้แก่ Oleic acid, Palmitic acid, Stearic acid, Linoleic acid, และมี Lignoceric acid อีกเล็กน้อย [๑]
• เมล็ดบวบเหลี่ยมที่มีรสขมจะมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรงเนื่องจากมีสาร Elaterin ที่ทำให้ถ่าย ส่วนรากก็มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายเช่นกัSaponins) มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจกบ คล้ายกับดิยิลลิส Digitalis) ซึ่งสามารถย่อยเม็ดเลือดแดงสุนัขและเป็นพิษต่อปลาเป็นอย่างมาก และสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากเมล็ดบวบ




ที่มา (ภาพ-ข้อมูล) : facebook คุณ Sornchai Thaimongkolrat
ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 กุมภาพันธ์ 2560 19:42:30 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.378 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 18 เมษายน 2567 23:18:27