[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 22:02:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กราบอัฐธาตุหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร  (อ่าน 2470 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2560 19:57:54 »



กราบอัฐธาตุหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

วัดป่าอุดมสมพร ตั้งอยู่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บนเส้นทางสกลนคร-อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๒ จากสกลนครถึงอำเภอพรรณานิคม ประมาณ ๓๗ กิโลเมตร จะมีทางแยกเลี้ยวขวาผ่านตัวอำเภอพรรณานิคมไปประมาณ ๒ กิโลเมตร

วัดป่าอุดมสมพรเป็นวัดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในภาคอีสาน เป็นสถานที่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระวิปัสสนากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จำพรรษาและพัฒนาวัดให้ดีขึ้นตามลำดับจนมรณภาพ  ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น ซึ่งอาคารพิพิธภัณฑ์ทำเป็นรูปพระเจดีย์ฐานกลีบบัวสามชั้น ปลายยอดแหลมตั้งอยู่บนเนินดิน ที่ขุดจากบริเวณใกล้เคียง มายกให้สูงขึ้น รอบๆ บริเวณตกแต่งเป็นสวนหย่อมและสระน้ำขนาดใหญ่ บริเวณกึ่งกลางพิพิธภัณฑ์ประดิษฐานรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้น มีขนาดเท่ารูปจริง ในท่านั่งห้อยเท้า มือถือไม้เท้า ด้านหน้าตกแต่งด้วยเครื่องบูชา มีตู้กระจกบรรจุอัฐิ ฝาผนังโดยรอบเป็นตู้กระจกแสดงเครื่องอัฐบริขารที่ท่านใช้เมื่อยามมีชีวิต รวมถึงประวัติความเป็นมาตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร กำเนิดในสกุลสุวรรณรงค์ เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ที่ตำบลบ้านม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม และได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๙ ปี ณ วัดโพนทอง จนอายุครบ ๒๐ ปี จึงอุปสมบทในพุทธศาสนาฝ่ายมหานิกาย ต่อมาได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ติดตามพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต











โปรดติดตามตอนต่อไป
ดูแล้วเหมือนลิเก...ออกแขกเสร็จ ยังไม่ทันได้แสดง ปิดฉากลาโรงซะแล้ว
(ง่วงนอนค่ะ)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กุมภาพันธ์ 2560 09:05:20 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2560 15:15:02 »





หลวงปู่ฝั้น  อาจาโร
ในช่วงชีวิตบรรพชิตของหลวงปู่ ท่านได้ธุดงค์ยังสถานที่ต่างๆ จนกระทั่งเป็นที่นับถือศรัทธา
ของญาติโยมจำนวนมาก และได้รับการได้รับการยกย่องเป็น "อริยสงฆ์" องค์หนึ่ง

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร  เป็นกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่น  ภฺริทตฺโต ที่ยึดมั่นในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ถือธุดงควัตร ฉันมื้อเดียวในบาตร เน้นที่การฝึกจิตใจในด้านสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญา จนถึงระดับหนึ่งคือ จตุตถญาณ หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นรุ่นแรกที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ออกธุดงค์ไปยังหมู่บ้านสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแผ่พระธรรมและฟื้นฟูพระพุทธศาสนา จนสร้างกระแสความตื่นตระหนกให้กับพระภิกษุเจ้าถิ่นที่มีความคุ้นเคยกับความเป็นอยู่ในรูปแบบเดิม ย่อหย่อนในพระธรรมวินัย ติดงานรื่นเริง ไสยศาสตร์ การไหว้ทรงเจ้า นับถือผีแบบไม่มีเหตุผล

หลวงปู่ฝั้นเกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ในตระกูล “สุวรรณรงค์” เป็นบุตรคนที่ ๕ ของเจ้าไชยกุมาร (เม้า) เจ้าเมืองพรรณานิคม มารดาของท่านชื่อ นางนุ้ย

ด้วยความที่ท่านเกิดในตระกูลนักปกครอง จึงได้รับการอบรมกิริยามารยาท จนเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย โอบอ้อมอารี ขยันหมั่นเพียร ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก ท่านเข้าศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนวัดโพธิ์ชัย บ้านม่วงไข่ และเข้าไปศึกษาต่อกับพี่เขยที่เป็นปลัดขวา ที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

สมัยก่อน การรับราชการ เป็นอาชีพที่มีเกียรตินำชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระกูล ทำให้หลวงปู่ฝั้นมีความใฝ่ฝันที่จะเข้ารับราชการตามบ้าง จึงได้ติดต่อไปอยู่กับพี่เขยที่เป็นปลัดอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  แต่ต่อมาได้พบเห็นชีวิตที่พลิกผันของพระยาณรงค์ฯ เจ้าเมืองขอนแก่น ที่ต้องติดคุกเพราะต้องโทษฆ่าคนตาย ในคุกก็มีนักโทษที่เคยเป็นข้าราชการมาก่อน ได้พิจารณาความเป็นอนิจจังอันหาความแน่นอนในชีวิตไม่ได้ นำความสลดสังเวชมาสู่ใจของหลวงปู่ฝั้นเป็นอย่างมาก จึงเลิกล้มความตั้งใจที่จะรับราชการ เดินทางกลับบ้าน

เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ในระหว่างที่เป็นสามเณร ได้ตั้งใจศึกษาและเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอันมาก ผิดกับเณรที่อายุเท่าๆ กัน จนคุณย่าของท่านได้พยากรณ์เอาไว้ว่า “ในภายภาคหน้า ท่านจะเข้าไปอาศัยอยู่ในป่าขมิ้นจนตลอดชีวิต ระหว่างนั้นจะสร้างแต่คุณงามความดีอันประเสริฐ จะเป็นผู้บริสุทธิ์ผ่องใส ประชาชนทุกชั้นตั้งแต่สูงสุดจนถึงต่ำสุดทุกเชื้อชาติศาสนาที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาของท่าน จะบังเกิดความเลื่อมใสในตัวท่านและรสพระธรรมที่ท่านเทศนาเป็นอันมาก”

ครั้นถึงอายุ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดสิทธิบังคม ที่บ้านไฮ่ ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยพระครูป้อง (นนทะเสน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สัง กับพระอาจารย์นวล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่วัดสิทธิบังคม ท่านได้ท่องบ่นเจ็ดตำนานจนจบบริบูรณ์ ขณะเดียวกันพระอุปัชฌาย์ของท่านก็ได้สอนให้รู้จักวิธีเจริญกัมมัฏฐานตลอดพรรษาด้วย ออกพรรษาในปีนั้น อาญาครูธรรม เป็นเจ้าอาวาสวัดโพนทอง ได้ชักชวนหลวงปู่พร้อมกับพระลูกวัดรูปอื่น ออกธุดงค์ฝึกหัดภาวนาเจริญกัมมัฏฐานตามป่าเขา ถ้ำ ป่าช้าต่างๆ อันเป็นที่วิเวก การภาวนาช่วงแรกๆ นั้น หลวงปู่ฝั้นเล่าให้ฟังว่า “การฝึกหัดภาวนาในสมัยนั้น มีวิธีฝึกใจให้สงบโดยอาศัยการนับลูกประคำ กล่าวคือ เอาลูกมะแทน ๑๐๘ ลูก ร้อยเป็นพวงคล้องคอ หรือพันข้อมือไว้ เวลาเจริญพุทธนานุสติกัมมัฏฐานจะด้วยการนั่ง การนอน หรือจะยืน จะเดินก็ดี เมื่อบริกรรมว่าพุทโธๆ จะต้องนับลูกมะแทนไปด้วยทีละลูก คือนับ พุทโธ ๑๐๘ เท่าลูกมะแทน เมื่อถึงบทธัมโมและสังโฆ ก็ต้องนับเช่นเดียวกัน หากนับพลั้งเผลอ แสดงว่าจิตใจไม่สงบ ต้องย้อนกลับไปตั้งต้นใหม่ที่พุทโธ ๑ อีก เป็นการฝึกทีดูเผินๆ น่าจะง่าย แต่เมื่อปฏิบัติอย่างจริงจัง จะเห็นว่าไม่ง่ายดั่งใจนึก เพราะต้องบริกรรมอยู่ตลอดเวลาด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เว้นไว้แต่เวลาที่นอนหลับ และเวลาที่ฉันจังหันเท่านั้น

หลังจากนั้นไม่นาน เป็นระยะเวลาที่พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโตพร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรเดินทางผ่าน บรรดาญาติโยมที่ทราบข่าวจึงเข้าขอฟังธรรม ซึ่งหลวงปู่มั่นได้เมตตาแสดงธรรมให้ฟัง โดยมีหลวงปู่ฝั้นเข้าร่วมฟังด้วย หลวงปู่มั่น ได้แสดงพระธรรมเทศนาตามขั้นภูมิของผู้ฟัง เบื้องต้นดังนี้ “การให้ทานและการรักษาศีลภาวนานั้น ถ้าจะให้เกิดผลานิสงส์มากจะต้องละจากความคิดเห็นที่ผิดให้เป็นถูกเสียก่อน” ท่านยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวชาวบ้านมากที่สุดขึ้นอ้างว่า ชาวบ้านม่วงไข่นั้นส่วนใหญ่นับถือภูตผีปีศาจ ตลอดจนเทวดาและนางไม้เป็นสรณะ ซึ่งเป็นเรื่องที่เหลวไหลไร้เหตุผล พระธรรมเทศนาอันลึกซึ้งทำให้ชาวบ้านเห็นจริง ละจากมิจฉาทิฏฐิ เลิกนับถือภูตผีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

หลังจากฟังธรรมแล้ว หลวงปู่ฝั้นได้กราบปวารนาถวายตัวเป็นลูกศิย์พระอาจารย์มั่น ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


หลังจากนั้น พระอาจารย์ฝั้นก็ได้มีโอกาสรับการอบรมธรรมจากพระอาจารย์มั่นเป็นประจำ ได้ฝึกกัมมัฏฐานจนพลังจิตแก่กล้าขึ้นเรื่อยๆ และมั่นคงแน่วแน่ไม่มีอะไรเป็นอุปสรรค ในที่สุดท่านจึงได้ตัดสินใจทำการญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๘ ณ วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์รถ เป็นพระกรรมวาจารย์พระอาจารย์มุก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลักจากทำการญัตติกรรมแล้ว พระอาจารย์ฝั้นก็ได้เดินทางไปจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์มั่นที่วัดอรัญวาสี อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ร่วมกับพระอาจารย์อื่นๆ อีกหลายท่าน

ในปี พ.ศ.๒๔๖๙ พระอาจารย์ฝั้นพร้อมกับพระภิกษุอื่นๆ ทำการญัตติกรรมในโบสถ์น้ำอีกครั้งหนึ่ง ตามพระธรรมวินัย โดย ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฝั้นได้ไปจำพรรษาที่บ้านดอนแดงคอกช้าง อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ตามหน้าที่ที่พระอาจารย์มั่นได้มอบหมายให้ หลังจากออกพรรษาแล้วก็ได้ร่วมกันออกเผยแพร่ธรรม โดยมุ่งหน้าไปทางจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับเอาโยมมารดาของพระอาจารย์มั่น (นางจันทร์) ไปอุบลราชธานีด้วย

หลวงปู่ฝั้นได้เพียรปฏิบัติศาสนกิจด้วยความมุ่งมั่นและจริงจัง อบรมศิษย์ด้วยความเอาใจใส่ เมตตาธรรมของท่านนั้นกว้างใหญ่ไพศาล ได้ตรากตรำงานหนักมาตลอดชีวิตของท่าน จึงเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสแก่ผู้เคยพบเห็นท่านเสมอ

พระอาจารย์ฝั้น ได้สร้างสรรค์ถาวรวัตถุไว้มาก ไม่ใช่เพียงแต่ในด้านศาสนสถานอย่างเดียวเท่านั้น ในด้านสังคมก็ได้ช่วยสร้างไว้มาก อย่างเช่นตึกสงฆ์อาพาธของโรงพยาบาลสกลนครหรือ โรงพยาบาลพรรณานิคม ที่ได้ใช้ชื่อของท่านเป็นชื่อโรงพยาบาลด้วย ก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี ก็ด้วยบารมีของท่าน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพร้อมทั้งทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าทุกพระองค์ ก็ได้เคยเสด็จฯ ไปนมัสการพระอาจารย์ฝั้นอยู่เสมอได้ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับพระอาจารย์ฝั้นอย่างใกล้ชิด ทรงสนทนาธรรมตรัสถามข้อสงสัยด้วยความสนพระทัยอย่างยิ่ง เมื่อโอกาสใดที่พระอาจารย์ฝั้นเดินทางมากรุงเทพฯ ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ก็เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมพระอาจารย์ฟั่นถึงวัดที่พระอาจารย์ฟั่นมาพักทุกครั้ง

เดือนกันยายน ๒๕๑๙ พระอาจารย์ฝั้น ได้เกิดอาพาธ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัดสกลนคร แต่อาการไม่ดีขึ้นจึงได้นิมนต์ท่านเข้าการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ โดยอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รักษาอยู่ระยะหนึ่งท่านก็ขอกลับวัดป่าอุดมสมพร สกลนครอาการบางอย่างก็หายเป็นปกติ แต่ก็ได้มีโรคอื่นแทรกซ้อนมา จนกระทั่งเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๑๙ อาการของโรคหัวใจของท่านก็กำเริบ วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๑๙ พระอาจารย์ฝั้นเกิดอาการช็อค ทางคณะแพทย์ได้นิมนต์ให้ท่านเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสกลนคร แต่ท่านไม่ยอมไป คณะแพทย์หลวงได้ทราบข่าวจึงได้ขอนิมนต์ท่านให้เข้ารับการรักษาที่กรุงเทพฯ ท่านก็ไม่ยอมเช่นกัน ยังคงพักรักษาอยู่แต่ที่วัดป่าอุดมสมพรตลอดมา โดยมีคณะแพทย์หมุนเวียนกันไปเผ้าอาการตลอดเวลา จนกระทั่งถึง วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๐ เวลา ๑๙.๕๐ น. พระอาจารย์ฝั้นก็ได้ละขันธ์ธาตุไปด้วยอาการสงบ

ข่าวมรณภาพของพระอาจารย์ฝั้นได้แพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว สาธุชนผู้มีความเคารพในตัวท่านได้หลั่งไหลไปคารวะศพท่านที่วัดอย่างเนืองแน่น ต่างอาลัยอาวรณ์ในพระอาจารย์ฝั้นเป็นอย่างมาก เพราะท่านเป็นที่รวมแห่งจิตใจของศิษย์ทุกหมู่เหล่าอย่างแท้จริง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงทราบข่าวก็ได้เสด็จฯ ไปยังวัดป่าอุดมสมพร เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๒๐ ทรงสรงน้ำศพและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน พระราชทานศพ พระราชทานหีบทองทึบประกอบศพด้วย


อัฐบริขาร และอัฐิหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
















อัฐิหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
มรณภาพ วันอังคารที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๐
ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่








ขอขอบคุณภาพจาก : oknation.net


๒๑ มกราคม ๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
เสด็จฯ พระราชทานเพลิงศพ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
เป็นกรณีพิเศษโดยส่วนพระองค์
ขอขอบคุณภาพจาก : luangpumun.org
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กุมภาพันธ์ 2560 15:58:31 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
มหัศจรรย์แห่งพลังจิต 'หยุดเครื่องยนต์ได้' 'พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร' วัดป่าอุดมสมพร
เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
หมีงงในพงหญ้า 0 2316 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2553 23:20:42
โดย หมีงงในพงหญ้า
พระอภิธรรมสังคิณีมาติกาบรรยาย : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร « 1 2 3 4 »
เอกสารธรรม
เงาฝัน 65 39796 กระทู้ล่าสุด 19 พฤศจิกายน 2555 15:28:12
โดย เงาฝัน
ทางพ้นทุกข์ :หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 1841 กระทู้ล่าสุด 30 เมษายน 2555 15:21:03
โดย เงาฝัน
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 653 กระทู้ล่าสุด 15 ตุลาคม 2563 16:19:03
โดย ใบบุญ
'ทิพยอำนาจ' แห่งพระอริยเถระ 'หลวงปู่ฝั้น อาจาโร' บันทึกโดย 'หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ'
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
ใบบุญ 0 665 กระทู้ล่าสุด 16 มิถุนายน 2565 11:23:29
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.272 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 30 มีนาคม 2567 11:49:01