[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 22:16:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิสุทธิธรรม  (อ่าน 5672 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 56.0.2924.87 Chrome 56.0.2924.87


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 02 มีนาคม 2560 16:07:27 »




วิสุทธิธรรม
ทางไปนรก

บุคคลจะเดินทางไปนรกนั้น ได้นามว่า “มนุสฺสเนรยิโก” ตัวเป็นมนุษย์ แต่ใจตกอยู่ในสภาวะของนรก เพราะกำลังเปิดประตูนรก กำลังจะเดินทางไปนรก

อะไรเป็นทางไปนรก โทสะ ความโกรธนั่นเองเป็นทางไปนรก นรกมีสภาพเป็นอย่างไรนั้น ผู้ได้อภิญญาจึงสามารถเห็นได้ ส่วนสามัญชนก็อาศัย “ตถาคตโพธิสัทธา” เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าตามนัยที่ท่านกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเท่านั้น

มีเหตุผลพอที่จะพิสูจน์ได้ว่านรกนั้นต้องเป็นสถานที่ร้อนเพราะเหตุคือโทสะอันเป็นทางไปก็เป็นของร้อนมากอยู่แล้ว เช่น ในเวลาที่โทสะเกิดขึ้น ก็จะรู้สึกร้อนใจเป็นกำลัง กลุ้มใจไปหมดทุกหนทุกแห่ง เสียใจไปหมดทุกหนทุกแห่ง ริษยาไป หึงหวงไป รำคาญไป แค้นเคืองใจไป ไม่มีที่สิ้นสุด โทสะความโกรธอันใดที่มีมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดเป็นปัจจัย จนเป็นเหตุให้ทำทุจริตมีการฆ่าหรือว่ากล่าวหยาบช้าต่างๆ เป็นต้นแล้ว นั่นแหละเป็นหนทางไปสู่นรกโดยแน่นอน

ถ้ามีโทสะ แต่ไม่ถึงกับเห็นผิดคิดร้ายเป็นเหตุให้ทำผิดทุจริตต่างๆ แล้วก็ยังไม่ไปนรก เป็นเพียงให้ทุกข์ๆ ยากๆ พาลำบากอยู่ในมนุษย์เท่านั้น นอกจากนั้นก็ยังส่งผลให้ได้รับความทุกข์ยากต่อไปในชาติหน้าอีก

ดังนั้น นรกจึงร้อนแรงด้วยไฟนรกเผาผลาญ และมีอาวุธทิ่มแทงให้เสวยทุกขเวทนาอันแสนสาหัสด้วยแรงกรรมที่ทำไว้ร้อนจนกระทั่งขาดใจตายแล้วเกิดขึ้นอีก ถูกไฟแผดเผาอีก ทนต่อความร้อนแรงไม่ไหวจนตาย ตายแล้วเกิดอีก เป็นอยู่เช่นนี้จนกว่าจะสิ้นกรรมที่ได้กระทำบาปด้วยอำนาจของโทสะ

บุคคลที่ทำทางนรกไว้บ่อยๆ เวลาถึงมรณาสันนกาล เมื่อใกล้จะตายจะปรากฏกรรมเห็นแต่การกระทำบาป หรือปรากฏเห็นแต่กรรมนิมิตเครื่องมือที่ทำบาป และคตินิมิตนรกขุมที่จะตกไป ซึ่งมีไฟและศรัสตราวุธ เป็นต้น เมื่อได้อารมณ์อันใดอันหนึ่งเช่นนี้แล้วตายไปในขณะนั้น ย่อมไปตกอยู่ในนรกสิ้นกาลนาน แม้พ้นจากนรกแล้วเศษบาปที่เหลืออยู่ก็จะตามสนองให้ไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย หรือสัตว์ดิรัจฉาน ถ้าบุญในภพก่อนๆ มีอยู่บ้าง ก็จะส่งผลให้ไปเกิดเป็นมนุษย์ จะเป็นมนุษย์ที่พิกลพิการทุพพลภาพ ไม่สมประกอบ ใบ้ บ้า หนวก บอด วิกลจริตต่างๆ ทั้งนี้ก็ล้วนเป็นเพราะเศษบาปที่เหลืออยู่ประทับตราสัญลักษณ์ของนรกไว้ด้วยอำนาจแห่งโทสะความโกรธเป็นมูลมานั่นเอง.



ทางไปเปรต-อสุรกาย

ทางไปเปรตอสุรกายนี้ มีโลภะเป็นทาง แต่ต้องเป็นโลภะ ที่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิด กระทำทุจริต ด้วยการทำโจรกรรม ปล้นสะดม ประพฤติผิดในกาม (มีชู้) และพูดโกหก หลอกลวง ต้มตุ๋นต่างๆ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นความอยากได้สามัญธรรมดาแล้วกระทำสุจริต พากเพียรพยายาม หาทรัพย์ในทางที่ชอบ ไม่เป็นเหตุให้ไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย ความอยากได้ไม่ถึงกับ เห็นผิดหรือกระทำทุจริตนี้ เป็นเพียงให้ทุกข์ๆ ยากๆ ทะเยอทะยานมักใหญ่ใฝ่สูงอยู่ในโลกนี้เท่านั้น หรือบางทีวิบากแห่งกรรมนั้น ก็ตามสนองให้ไปเกิดเป็นคนยากจนต่อไปในชาติหน้าก็ได้ เรียกคนที่มีโลภะมากนี้ว่า มนุสฺสเปโต ตัวเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นเปรต

ภูมิแห่งเปรตและอสุรกายนั้น เป็นภูมิที่หิวกระหายทรมานอยู่ตลอดเวลา และไม่กล้าปรากฏกาย หลบๆ ซ่อนๆ อยู่ในภูมินั้นตลอดกัป ตลอดกัลป์ จนกว่าจะสิ้นวิบากกรรมที่ตนได้ทำไว้ความจริงคนที่มีความโลภจิตนั้น ย่อมมากไปด้วยความหิวกระหาย จมอยู่ด้วยความคิดว่า ไม่มีๆ

ดังนั้น จึงเป็นคนมากไปด้วยความไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ อันเป็นเหตุให้ทำทุจริต มีประการต่างๆครั้นเมื่อจวนจะสิ้นชีวิต จึงได้ปรากฏทุจริตกรรมที่ตนได้กระทำมา มีอทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร หรือมุสาวาท เป็นต้น

บางทีได้ปรากฏเป็นกรรมนิมิต เครื่องหมายแห่งการขโมย หรือเครื่องหมายที่เป็นชู้สาว หรือโกหก หลอกลวง ปรากฏขึ้นมาเป็นอารมณ์ บางทีก็ได้ปรากฏเป็นคตินิมิต เห็นเป็นโคลนตมริมแม่น้ำลำคลองหรือชายป่า ถ้าขาดใจตายลงไปในขณะนั้น ก็จะไปเกิดในภพภูมิแห่งเปรตและอสุรกาย ตามผลแห่งวิบากกรรมที่ตามสนองนั้น แล้วยังมีเศษแห่งบาปที่เหลืออยู่นั้นให้ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานได้อีก

พ้นจากภูมิแห่งสัตว์ดิรัจฉานแล้ววิบากแห่งบาปนั้นก็ตาม สนองให้เกิดเป็นคนยากจนอนาถา เป็นคนเข็ญใจ สิ่งอัปมงคลเหล่านี้เกิดขึ้นมา เพราะอาศัยอำนาจของโลภะนั่นเอง.


watpitch.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 มีนาคม 2560 16:14:23 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 56.0.2924.87 Chrome 56.0.2924.87


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 มีนาคม 2560 16:13:30 »



ทางไปดิรัจฉาน

ทางไปเป็นสัตว์ดิรัจฉานนั้น มีโมหะเป็นทางไป ผู้ที่เดินทางไปเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เรียกว่า มนุสฺสติรจฺฉาโน ตัวเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นสัตว์ดิรัจฉาน คือมีโมหะ ความหลงไม่รู้ มืดมน อันธการอยู่เสมอ

ความเป็นสัตว์ดิรัจฉานนั้นคือ ความเป็นสัตว์ที่ไปขวางคือ ไม่รู้จักบำเพ็ญบุญกุศล เป็นต้น ตลอดถึงขวางแนวทางปฏิบัติเพื่อความสำเร็จและขวางมรรคผล เมื่อโมหะอกุศลกรรมนำไปเกิดในอบายภูมิ คือดิรัจฉานภูมินี้แล้วก็หมดโอกาสไปตลอดชาติ ไม่สามารถที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ แม้พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น พระธรรมอุบัติขึ้น พระสงฆ์อุบัติขึ้น ก็หารู้ไม่กินแล้วนอน และสืบพันธุ์เท่านั้น นอกจากนั้น ยังได้รับภัยต่างๆ มิได้ขาดสายเช่น ถูกมนุษย์เบียดเบียน ถูกนำไปฆ่า นำไปใช้งาน นำไปกักขังไว้ดูเล่น นอกจากนั้น ยังถูกสัตว์ใหญ่เบียดเบียนนำเอาไปเป็นอาหารบ้าง ถูกความเจ็บป่วยไข้เบียดเบียนบ้าง ให้ได้รับทุกขเวทนาต่างๆ สัตว์เมื่อโมหะครอบงำเสียแล้ว ย่อมไม่รู้หนทางพ้นทุกข์ ไม่รู้จักหนทางที่จะออกจากทุกข์ จึงต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในวัฏฏสงสารยาวนาน อันหาเบื้องต้นและที่สุดไม่ได้อย่างนี้เรื่อยไป

บุคคลที่ทำอกุศลกรรมด้วยอำนาจแห่งโมหะดังกล่าวมาแล้ว เวลาใกล้จะตายจะปรากฏกรรม การกระทำบาปต่างๆ เป็นอารมณ์ หรือเป็นกรรมนิมิต คตินิมิต เมื่อตายแล้วก็ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ๕๐๐ ชาติ ๑,๐๐๐ ชาติ เป็นต้น จนกว่าจะสิ้นวิบากแห่งบาปกรรม บางทีได้สร้างอกุศลกรรมในภูมิที่เป็นสัตว์ดิรัจฉานไว้อีก ก็จะไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานที่ต่ำต้อยลงไปทุกทีๆ จากช้างเป็นม้า เป็นลา กระบือ วัว หมู แมว สุนัข ลิง ค่าง บ่าง ชะนี งู นก หนู ปู ปลา ตะขาบ กิ้งกือ กุ้ง หอย ไส้เดือน ตลอดถึงสัตว์เล็กๆที่เป็นจุลินทรีย์ ซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ยากที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้อีก หากพ้นจากสัตว์ดิรัจฉานมาเกิดเป็นมนุษย์ก็กลายเป็นคนโง่ เซ่อ ขาดสติ หลงๆ ลืมๆ ไม่เต็ม นับสิบไม่ถ้วน ไม่อาจสามารถดำรงสติปัญญา ทำความเจริญให้เกิดขึ้นแก่ตนและครอบครัวโดยลำพังตนเองได้




ทางไปมนุษย์

การที่มนุษย์เราได้อุบัติบังเกิดขึ้นมานี้ มีหนทางมา หากไม่มีหนทางมาแล้วก็จะมาเกิดเป็นมนุษย์ไม่ได้ การมาเกิดเป็นมนุษย์ต้องมีมนุษยธรรมเป็นทางซึ่งได้แก่ เบญจศีล-เบญจธรรมนั้นเอง ถ้าประพฤติมนุษยธรรมบกพร่องการเกิดเป็นมนุษย์ก็ไม่สมบูรณ์ บกพร่องไปตามสัดส่วนแห่งวิบากของบาป

เบญจศีล คือ ศีล ๕ ได้แก่
๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒.อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการลักทรัพย์
๓.กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔.มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ
๕.สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มสุราเมรัยของมึนเมา อันเป็นเหตุให้เกิดความประมาท

เบญจธรรม คือ ธรรม ๕ ได้แก่
๑.เมตตากรุณา รักสงสารสรรพสัตว์
๒.สัมมาอาชีพ เลี้ยงชีพโดยสุจริตชอบธรรม
๓.สทารสันโดษ ยินดีเฉพาะภรรยา-สามีของตนเท่านั้น
๔.สัจจวาจา พูดคำสัตย์จริง
๕.สติสัมปชัญญะ มีความระลึกได้ และมีความรู้รอบ

บางคนเกิดมามีอายุสั้น พลันตายเสียแต่ยังเป็นหนุ่มสาว หรือยังมีชีวิตอยู่ก็เจ็บป่วยอยู่เสมอ เพราะชาติก่อนนั้นบกพร่องด้วยศีลข้อ ๑ หมายความว่า ในชาติปางก่อนนั้น เว้นจากการฆ่าสัตว์ไม่สมบูรณ์ ยังมีการเบียดเบียนสัตว์ ขาดเมตตากรุณาอยู่บ้าง จึงเป็นเหตุทำให้อายุสั้นหรือโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนอยู่เสมอ

บางคนเกิดมาเป็นคนยากจน หาเช้ากินค่ำ ทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำก็ยังยากจนอยู่ บางทีต้องขอทานเขากิน ก็เพราะเหตุว่า ในชาติปางก่อนโน้นได้เป็นผู้บกพร่องในศีลข้อ ๒ ธรรมข้อ ๒ คือ เว้นจากการลักทรัพย์ไม่สมบูรณ์ประพฤติมิจฉาชีพเป็นครั้งคราว จึงเป็นเหตุให้มาเกิดเป็นคนยากจนเข็ญใจไร้ทรัพย์ในชาตินี้

บางคนเกิดมาถูกหลอกลวง เสียทรัพย์สินเงินทอง ตลอดถึงเสียตัว เสียความบริสุทธิ์ ก็เพราะชาติก่อนบกพร่องในศีลข้อ ๓ ไม่ยินดีเฉพาะภรรยาสามีของตน จึงได้รับความชอกช้ำระกำใจ เพราะถูกหลอกลวงในชาตินี้

บางคนเกิดมาถูกใส่ความต่างๆ นานา เรื่องไม่ผิดก็ถูกกล่าวหาว่าผิดเพราะในชาติก่อนประพฤติผิดศีลข้อ ๔ หมายความว่า เป็นผู้ชอบพูดเท็จไม่จริงขาดสัจจวาจาไม่ค่อยพูดความจริง จึงเป็นผลสะท้อนให้ถูกใส่ร้ายป้ายสี อยู่ในชาตินี้มิได้หยุดหย่อน

บางคนเกิดมาพิการวิกลจริต เป็นใบ้ บ้า หนวก บอด ก็เพราะประพฤติผิดศีลข้อ ๕ ทำให้บกพร่องไม่สมบูรณ์ คือเว้นจากการดื่มสุราเมรัยไม่เด็ดขาดปราศจากสติสัมปชัญญะในชาติก่อน จึงพาให้มาเกิดเป็นคนมีสติวิปลาสวิกลจริตในชาตินี้ พลาดจากประโยชน์ที่จะพึงได้พึงถึง เป็นคนที่สังคมรังเกียจชาวโลกไม่ต้องการน่าเสียดายชีวิตที่เกิดมาแล้วไร้ค่า

บางคนเกิดมาแล้วมีอายุยืนยาวนาน ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนทั้งเป็นคนร่ำรวย มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ พร้อมยศและบริวาร ทั้งไม่มีผู้ใดหลอกลวงหรือใส่ร้ายได้ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะดีอยู่เสมอ ก็เพราะอานิสงส์รักษาศีล ๕ และปฏิบัติเบญจธรรม ๕ อย่างมั่งคงสมบูรณ์ นั่นเอง.



watpitch.com
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 56.0.2924.87 Chrome 56.0.2924.87


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 มีนาคม 2560 09:26:44 »




ทางไปสวรรค์

จะไปเกิดในภพภูมิของเทวดา จะต้องมีหิริโอตตัปปะ ตามภาษิตที่ว่า

หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา  สุกฺกธมฺมสมาหิตา
สนฺโต สปฺปุริสา โลเก  เทวธมฺมาติ วุจฺจเร

แปลว่า สัปบุรุษทั้งหลายผู้สงบในโลกผู้ประกอบด้วยธรรมอันขาว ถึงพร้อมแล้วด้วยหิริและโอตตัปปะ เรียกว่า ผู้มีเทวธรรม.

หิริ ความละอายต่อบาป ไม่กล้าทำบาป มีความกระดากใจ เพราะเห็นว่าจะต้องได้รับทุกข์ต่างๆ จึงไม่กล้าฆ่าสัตว์ ไม่กล้าลักทรัพย์ ไม่กล้าประพฤติผิดในกาม ไม่กล้าพูดเท็จ ไม่กล้าดื่มสุราเมรัย รู้สึกละอายแก่ใจอยู่เสมอ

โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาปทุจริต เพราะเห็นว่าจะได้รับทุกข์ต่างๆ ในอบายภูมิ มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป ไม่กล้าทำบาปอยู่เสมอ ตลอดถึงความคิด ก็คิดแต่เรื่องที่เป็นกุศล

เมื่อไม่กล้าทำบาป เพราะมีหิริและโอตตัปปะ แล้วกลับใจได้เช่นนั้นแล้ว ก็คิดแต่จะทำบุญกุศล ถวายทาน รักษาศีล เจริญภาวนาไปตามกำลังและความสามารถ บำเพ็ญบุญกิริยาเนืองๆ สร้างวัดวาอาราม สร้างโบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฎี สร้างโรงเรียน เป็นต้น ในเวลาสิ้นชีวิต อาศัยวิบากแห่งบุญกุศลที่ตนได้กระทำไว้ ด้วยอำนาจแห่งหิริและโอตตัปปะนั้นๆ มาปรากฏเป็นธรรมารมณ์ คืออารมณ์ที่ตนเคยทำบุญไว้ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ

๑. การถวายทาน
๒. การรักษาศีล
๓. การเจริญภาวนา
๔. การอุทิศส่วนบุญ (ประกาศบุญที่ตนกระทำไว้แล้วให้ผู้อื่นทราบ)
๕. การอนุโมทนาในส่วนบุญที่ผู้อื่นได้บำเพ็ญแล้ว
๖. การอ่อนน้อมถ่อมตน คารวะต่อผู้ใหญ่
๗. การช่วยเหลือ ขวนขวายกิจการที่ชอบที่ควร และเหมาะสม
๘. การแสดงธรรม
๙. การฟังธรรม
๑๐. การทำความเห็นของตนให้ตรงตามธรรม

ถึงแม้นึกถึงกุศลกรรมเหล่านี้ไม่ได้ หรือไม่ได้นึกถึง วิบากแห่งกุศลกรรมเหล่านั้นก็จะมาปรากฏเป็นกรรมนิมิต อันเป็นเครื่องหมายหรือบริวารของกรรม เช่น ปรากฏเห็นวัตถุทานต่างๆ เห็นจีวร เห็นภัตตาหาร เห็นเสนาสนะ ที่อยู่ที่อาศัย และยารักษาโรค แล้วจิตก็ยึดเอากรรมนิมิตเหล่านั้นเป็นอารมณ์ หรือมิฉะนั้นจะปรากฏเป็นคตินิมิต อันเป็นเครื่องหมายแห่งการที่จะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เช่น ปรากฏเห็นวิมาน เห็นอาหารทิพย์ เห็นผ้าทิพย์ เห็นเครื่องทรงของเทวดา เป็นต้น แล้วจิตก็ยึดเอาคตินิมิตเหล่านั้น เป็นอารมณ์

ถ้ากรรม กรรมนิมิต หรือคตินิมิตดังกล่าวมาแล้วนั้นมาปรากฏเป็นอารมณ์ เมื่อเวลาตายก็จะถือปฏิสนธิบังเกิดในเทวโลกกามาวจรสวรรค์ กามาวจรสวรรค์นั้นมี ๖ ชั้น คือ

๑. ชั้นจาตุมหาราชิกา อายุยืน ๕๐๐ ปีทิพย์ ก็เท่ากับ ๙ ล้านปีมนุษย์
๒. ชั้นดาวดึงส์ อายุยืน ๑,๐๐๐ ปีทิพย์
๓. ชั้นยามา อายุยืน ๒,๐๐๐ ปีทิพย์
๔. ชั้นดุสิตา อายุยืน ๔,๐๐๐ ปีทิพย์
๕. ชั้นนิมมานรดี อายุยืน ๘,๐๐๐ ปีทิพย์
๖. ชั้นปรนิมมิตวัสสวัตตี อายุยืน ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์

ก็จะไปบังเกิดในชั้นใดชั้นหนึ่งสุดแล้วแต่อำนาจของบุญ กุศลที่ได้ทำไว้มากน้อยต่างกัน เมื่อเกิดเป็นเทวดาแล้ว ย่อมได้เสวยทิพยสมบัติมีอาหารเป็นทิพย์ มีอาภรณ์เครื่องประดับเป็นทิพย์ มีร่างกายอันละเอียดประณีตสุขุมยิ่งนัก เหมาะสำหรับของทิพย์ทุกประการ เสวยแต่ความสุขอันเกิดจากกามารมณ์อยู่เป็นนิตย์ ตลอดกาลนาน ร้อยปีทิพย์ พันปีทิพย์ หรือหมื่นปีทิพย์ จนกว่าจะสิ้นอายุแห่งบุญ เมื่อสิ้นอายุแห่งบุญแล้วก็จุติจากเทวโลกลงมาปฏิสนธิในมนุษย์โลก

ส่วนมากย่อมปฏิสนธิในราชตระกูลหรือในตระกูลเศรษฐี หรือตระกูลสาธุชนผู้เป็นสัมมาทิฏฐิได้รับความสุขสำราญจากการบำรุงบำเรอทุก ประการด้วยอำนาจเศษวิบากของบุญที่เหลือมาจากเทวดานั่นเอง.





ทางไปพรหมโลก

ทางไปเกิดเป็นพรหมนั้น ต้องมีฌานเป็นหนทางไป บุคคลที่จะทำฌานให้บังเกิดขึ้นได้นั้น ได้แก่ พระโยคาวจร หรือเรียกว่า โยคีบุคคล ผู้ละปลิโพธเครื่องกังวลห่วงใยต่างๆ หลีกออกจากกามารมณ์ไปสู่เรือนว่างหรือภูเขาที่สงบสงัด ไม่ลำบากด้วยความเป็นอยู่เรื่องอาหาร เข้าหาครูอาจารย์ ผู้พร่ำสอนสมถกรรมฐาน ซึ่งอาจารย์จะนำเอาอารมณ์กรรมฐาน ๔๐ อย่าง คือ กสิณ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ อรูป ๔ นอกนั้นอีก ๑๐ อย่างเป็นเพียงให้ได้อุปจารฌานเท่านั้น ถ้าผู้มีปัญญาก็สามารถทำให้เป็นบาทของวิปัสสนาได้

คนราคะจริตพึงเจริญ อสุภะ ๑๐ หรือกายคตาสติ จึงจะเหมาะสม

คนโทสะจริต เจริญอัปปมัญญา ๔ หรือ วัณณกสิณจึงเหมาะสม

คนโมหะจริตและวิตกจริต เจริญอานาปานัสสติ กำหนดลมหายใจเข้าออกจึงจะเหมาะสม

คนศรัทธาจริต เจริญอนุสสติ ๖ คือ พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ จึงจะเหมาะสมจะทำให้สงบเร็ว

คนมีปัญญาจริต หรือพุทธิจริต เจริญกรรมฐาน ๔ อย่าง คือ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน จึงเหมาะสมทำให้สงบเร็ว

ส่วนกรรมฐานที่เหลือ ๑๐ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย อาโลโก อากาโส และอรูปกรรมฐาน ๔ เหมาะสมกับคนทุกๆ จริต

เมื่ออาจารย์ได้ให้กรรมฐานนั้นไปปฏิบัติ จนถึงอัปปนาภาวนาแน่วแน่เป็นฌาน ผู้ทำสมถะนั้นย่อมได้รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔

รูปฌาน ๔ ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อรูปฌาน ๔ ได้แก่ อากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

- ผู้ได้ปฐมฌาน ย่อมมีวิตก นึกถึงกรรมฐานอย่างเดียว วิจารณ์พิจารณากรรมฐานอย่างเดียว ปีติ อิ่มใจในกรรมฐานอย่างเดียว สุขด้วยอำนาจของปีติ เอกัคคตา (ถึงความเป็นผู้มีอารมณ์เดียว)

- ผู้ที่ได้ทุติยฌาน ไม่มีวิตก วิจารณ์ มีแต่ปีติ สุข เอกัคคตา

- ผู้ที่ได้ตติยฌาน ไม่มีปีติ มีแต่สุข เอกัคคตา

- ผู้ที่ได้จตุตถฌาน เปลี่ยนสุขเป็นอุเบกขาพร้อมกับมีเอกัคคตาเท่านั้น ทั้งนี้ นับโดยจตุกนัย แต่ถ้านับโดยปัญจกนัยแล้วได้ฌาน ๕ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน เมื่อรวมเข้าเป็นจตุกนัย คือ เอาทุติยฌานกับตติยฌาน เป็นทุติยฌาน ส่วนจตุตถฌานเป็นตติยฌาน และปัญจมฌานเป็นจตุตถฌาน

- ผู้ได้อากาสานัญจายตนฌาน มีแต่อุเบกขา เพ่งอากาศเฉยอยู่กับมีเอกัคคตารู้เฉพาะอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเท่านั้น

- ผู้ได้วิญญานัญจายตนฌาน มีแต่เพ่งวิญญาณเฉยอยู่อย่างเดียวว่าวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด

- ผู้ได้อากิญจัญญายตนฌาน มีแต่เพ่งนัตถิภาวะเฉยอยู่อย่างเดียวว่าไม่มีอะไรน้อยหนึ่งก็ไม่มี นิดหนึ่งก็ไม่มีเท่านั้น

- ผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีแต่เพ่งสัญญาเฉยอยู่อย่างเดียว ว่าสัญญานี้ สงบประณีตอย่างยิ่ง จะว่ามีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่

และเมื่อได้จตุตถฌานหรือปัญจมฌานแล้วอภิญญาย่อมเกิดขึ้นได้ถึง ๕ อย่างคือ

๑. อิทธิวิธิอภิญญา-แสดงฤทธิ์ได้
๒. ทิพพโสตอภิญญา-หูทิพย์ ฟังเสียงมนุษย์และเทวดาที่อยู่ในที่ไกลเหนือสามัญชนได้
๓. ปรจิตตวิชานนอภิญญา-รู้วาระจิตของบุคคลอื่นได้
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญา-ระลึกความเป็นอยู่ในชาติก่อนๆได้
๕. ทิพพจักขุอภิญญา-ตาทิพย์ เห็นสิ่งล้ำลึกต่างๆ อันสามัญชนทั่วไปเห็นไม่ได้

บุคคลได้ฌานเห็นปานนี้แล้ว ถ้าฌานไม่เสื่อมในเวลาสิ้นชีวิต มรณภาพลงฌานจะเป็นปัจจัยให้ไปปฏิสนธิในพรหมโลก ตามลำดับชั้น ดังต่อไปนี้

- ผู้ได้รูปาวจรฌานกุศลอย่างต่ำ มีอำนาจให้เกิดในปฐมฌานวิปากจิต ปฏิสนธิในพรหมปาริสัชชาในปฐมฌานภูมิ มีอายุยืน ส่วน ๑ ใน ๔ ของกัปป์

- ผู้ได้รูปาวจรปฐมฌานกุศลอย่างกลาง มีอำนาจให้เกิดปฐมฌานวิปากจิต ปฏิสนธิเป็นพรหมปุโรหิตา ในปฐมฌานภูมิ มีอายุยืนส่วน ๑ ใน ๒ ของกัป

- ผู้ได้รูปาวจรปฐมฌานกุศลอย่างประณีต มีอำนาจให้เกิดฌานวิปากจิตปฏิสนธิเป็นมหาพรหม ในปฐมฌานภูมิ อายุยืน ๑ มหากัป

- ผู้ได้รูปาวจรทุติยฌานกุศลอย่างต่ำ มีอำนาจให้เกิดทุติยฌานวิปากจิต ปฏิสนธิเป็นพรหมปริตตาภา ในทุติยฌานภูมิ อายุยืน ๒ มหากัป

- ผู้ได้รูปาวจรทุติยฌานกุศลอย่างกลาง มีอำนาจให้เกิดทุติยฌานวิปากจิต ปฏิสนธิเป็นพรหมอัปปมาณาภา ในทุติยฌานภูมิ อายุยืน ๔ มหากัป

- ผู้ได้รูปาวจรทุติยฌานกุศลอย่างประณีต มีอำนาจให้เกิดทุติยฌานวิปากจิต ปฏิสนธิเป็นพรหมอาภัสรา ในทุติยฌานภูมิ อายุยืน ๘ มหากัป

- ผู้ได้รูปาวจรตติยฌานกุศลอย่างต่ำ มีอำนาจให้เกิดตติยฌานวิปากจิต ปฏิสนธิเป็นพรหมปริตตาภา ในตติยฌานภูมิ อายุยืน ๑๖ มหากัป

- ผู้ได้รูปาวจรตติยฌานกุศลอย่างกลาง มีอำนาจให้เกิดตติยฌานวิปากจิต ปฏิสนธิเป็นพรหมอัปปมาณาสุภา ในตติยฌานภูมิ อายุยืน ๓๒ มหากัป

- ผู้ได้รูปาวจรติยฌานกุศลอย่างประณีต มีอำนาจให้เกิดตติยฌานวิปากจิต ปฏิสนธิเป็นพรหมสุภกิณหกา ในตติยฌานภูมิ มีอายุยืน ๖๔ มหากัป

- ผู้ได้จตุตถฌานภูมิ มีอำนาจให้ไปเกิดในจตุตถฌานวิปากจิตปฏิสนธิเป็นพรหม ๓-๗ จำพวก ดังต่อไปนี้

ชั้นพรหมเวหัปผลา และพรหมอสัญญีสัตตาพรหม มีอายุยืนถึง ๕๐๐ มหากัปป์ชั้นสุทธาวาส ๕ (ที่อยู่ของผู้บริสุทธิ์) ซึ่งเป็นที่ปฏิสนธิของพระอนาคามี มีอายุยืนตามลำดับดังนี้

๑. ชั้นอวิหา อายุยืน ๑,๐๐๐ มหากัปป์

๒. ชั้นอตัปปา อายุยืน ๒,๐๐๐ มหากัปป์

๓. ชั้นสุทัสสา อายุยืน ๔,๐๐๐ มหากัปป์

๔. ชั้นสุทัสสี อายุยืน ๘,๐๐๐ มหากัปป์

๕. ชั้นอกนิฏฐา อายุยืน ๑๖,๐๐๐ มหากัปป์

- ผู้ได้อรูปฌานย่อมเกิดในอรูปภูมิ ตามลำดับดังนี้

- ผู้ได้อากาสานัญจายตนกุศล ให้เกิดอากาสานัญจายตนวิปากจิต ปฏิสนธิเป็นอรูปพรหม ในอากาสานัญจายตนภูมิ มีอายุยืน ๒๐,๐๐๐ มหากัปป์

- ผู้ได้วิญญานัญจายตนกุศล ให้เกิดวิญญานัญจายตนวิปากจิตปฏิสนธิเป็นอรูปพรหม ในวิญญานัญจายตนภูมิ มีอายุยืน ๔๐,๐๐๐ มหากัปป์

- ผู้ได้อากิญจัญญายตนกุศล ให้เกิดอากิญจัญญายตนวิปากจิตปฏิสนธิเป็นอรูปพรหม ในอากิญจัญญายตนภูมิ มีอายุยืน ๖๐,๐๐๐ มหากัปป์

- ผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล ให้เกิดเนวสัญญานาสัญญายตนวิปากจิต ปฏิสนธิเป็นอรูปพรหม (ภวัคคพรหม) ในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ มีอายุ ๘๔,๐๐๐ มหากัป

พรหมสิ้นอายุ
พรหมต่างๆ ที่อายุยืนตั้งแต่ส่วน ๑ ใน ๔ มหากัปป์ จนถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัปป์นั้น ย่อมยาวนานเหลือคณานับ ได้แต่เพียงอุปมาว่า นับตั้งแต่โลกเกิดขึ้นแล้ว จนเจริญเต็มที่ จนกระทั่งโลกพินาศ จึงนับเป็นมหากัปป์ ๑ หรืออุปมาเหมือนภูเขาแท่งทึบ กว้างด้านละ ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ เวลาร้อยปีทิพย์ จีงมีเทวดานำเอาผ้าทิพย์อันละเอียดมาปัดไปทีหนึ่ง จนกระทั่งภูเขานั้นเรียบเสมอพื้นดิน จึงเรียกว่า มหากัปป์ หรืออุปมาเหมือนสระใหญ่กว้างด้านละ ๑ โยชน์ ทั้ง ๔ ด้าน ลึก ๑ โยชน์เวลา ๑๐๐ ปี มีเทวดานำเอาเมล็ดผักกาดใส่ลงในสระใหญ่นั้น จนกระทั่งเต็มสระเรียบเสมอพื้นดิน เรียกว่า มหากัปป์

พรหมจะสิ้นอายุ แล้วกลับมาปฏิสนธิเป็นเทวดาหรือมนุษย์ แต่จะไม่ไปตกอบายภูมิ เพราะอำนาจของฌานรักษาไว้ ต่อเมื่อทำความชั่วในเทวดาหรือมนุษย์ จึงจะตกอบายภูมิ เมื่อพรหมจุติลงมาเป็นมนุษย์นั้น ย่อมเป็นมนุษย์ที่มีสติปัญญา ประกอบไปด้วยพรหมวิหาร ชอบอิสระ อยู่เป็นโสด ยินดีในที่สงัดชอบทำกรรมฐาน พอใจในเพศบรรพชิตเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ ก็เพราะอำนาจ บารมีที่ตนได้บำเพ็ญฌานมาเป็นปัจจัยอุปถัมภ์ให้เป็นไป ทำอะไรมักจะได้ดีเป็นพิเศษอยู่เสมอ.


watpitch.com
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 57.0.2987.133 Chrome 57.0.2987.133


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 10 เมษายน 2560 10:36:28 »



ทางไปพระนิพพาน

หนทางสายที่ ๗ นี้ จะมีขึ้นก็ต่อเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติบังเกิดขึ้นในโลก แล้ว ทรงประกาศสัจจธรรมชี้แนะแนวทางแห่งการปฏิบัติเพื่อ วิวัฏฏะ คือพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะทุกข์ จนกระทั่งพุทธบริษัทผู้มีสติปัญญา มีบารมีที่สั่งสมมาดีแล้วได้พากันปฏิบัติตามเป็นเหตุให้ได้บรรลุมรรค ผล พระนิพพาน เข้าถึงความบริสุทธิ์กลายเป็นพระอริยสงฆ์เจ้าเป็นจำนวนมาก ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าทางไปพระนิพพาน มีแต่เฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น

ส่วนทาง ๖ สายที่แสดงมาแล้วนั้น เป็นทางอันเป็นไปในวัฏฏะทุกข์อันมีประจำโลกมานานแล้ว จนคณานับไม่ได้ พระพุทธศาสนาจะมีหรือไม่ก็ตามชาวโลกทั้งมวลย่อมเดินไปสู่อบายภูมิ ด้วยการประกอบการทุจริตต่างๆ ทั้งๆ ที่รู้ว่าทุจริต ถึงแม้บางคราว บางสมัย บางโอกาสก็ทำความดีประพฤติมนุษยธรรมหรือเทวธรรม หรือพรหมธรรม อันเป็นวิบากให้เกิดในสุคติมนุษย์ เทวดา พรหม ตามฐานะแห่งกุศลกรรมของตน เมื่อสิ้นบุญจากพรหมหรือเทวดามาเกิดเป็นมนุษย์อีกแล้ว ประกอบกรรมชั่ว อันเป็นเหตุให้ไปตกอบายภูมิอีก ท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์ไม่มีที่สิ้นสุด

ทางไปสู่พระนิพพานจึงเป็นทางอมตะ เป็นมรดกธรรมอันล้ำค่ายิ่งที่พระบรมศาสดาทรงประทานมอบไว้ให้ จึงควรอย่างยิ่งที่พุทธบริษัทจะพลีชีพอุทิศชีวิตต่อพระพุทธองค์ เพื่อศึกษาและปฏิบัติตามหนทาง อันจะนำไปสู่พระนิพพาน ให้ถูกต้องตามรอยยุคลบาทที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระองค์เสด็จดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานอันเป็นเอกันตบรมสุขชั่วนิรันดร แล้วก็ตาม ทางไปพระนิพพานนั้นคือ วิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง เพราะวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น ที่จะดำเนินไปสู่พระนิพพานได้ จึงควรเข้าใจในเรื่องวิปัสสนากรรมฐานตามหลักของปริยัติเสียก่อน เพื่อจะนำไปปฏิบัติและยังปฏิเวธธรรมให้เกิดขึ้นในภายหลัง

คำว่า วิปัสสนากรรมฐาน หมายความว่า กรรมฐานของวิปัสสนา ได้แก่ วิปัสสนาภูมินั่นเอง ฉะนั้น คำว่า กรรมฐาน ในที่นี้ ถ้าเรียกอย่างเดียว เรียกว่า ปรมัตถธรรม ถ้าเรียก ๒ อย่าง เรียกว่า รูปธรรม นามธรรม ถ้าเรียกหลายอย่าง เรียกว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจจ์ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ล้วนแล้วแต่เป็นตัวกรรมฐานอันเป็นทางดำเนินอันเป็นที่เกิดขึ้น อันเป็นที่ตั้งอยู่ อันเป็นที่ดับไปของวิปัสสนาทั้งสิ้น

คำว่า วิปัสสนา นั้น หมายความว่า เห็นโดยวิเศษ เห็นโดยพิเศษ ซึ่งมีคำวิเคราะห์ว่า “วิเสเสน ปสฺสตีติ วิปสฺสนา” การเห็นโดยวิเศษ ชื่อว่าวิปัสสนา การเห็นโดยวิเศษนั้นไม่ใช่ว่าเห็นด้วยตา หรือเห็นอย่างธรรมดา แต่เห็นด้วยปัญญา ด้วยญาณ หรือวิชชา ได้แก่ ความรู้แจ้งเห็นจริงแทงตลอดซึ่งรูปนามนั่นเอง ถ้ากล่าวโดยตรงแล้ว วิปัสสนาก็คือ ปัญญาเจตสิกที่รู้รูปธรรม นามธรรม ตามสภาวะอันเป็นปรมัตถ์ที่มีจริงเป็นจริงอยู่เท่านั้นถ้ากล่าวโดยปริยาย แล้วอย่างย่อ ได้แก่ ไตรสิกขา ๓ อย่างกลาง ได้แก่ วิสุทธิ ๗ อย่างพิสดาร ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเรียกว่า “โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ” นั่นเอง ซึ่งเป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ตัดตรงไปสู่พระนิพพาน.



วิธีสมาทานวิปัสสนากรรมฐาน (ขึ้นครู)

ในวันที่จะเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น ผู้มีความประสงค์จะสมาทานกรรมฐานพึงปฏิบัติดังต่อไปนี้ คือ

(๑) จัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียนไปทำวัตรพระเถระผู้เป็นประธานในสถานที่นั้นๆ
(๒) ถวายสักการะต่อพระอาจารย์ผู้ให้กรรมฐาน
(๓) จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
(๔) ถ้าเป็นพระให้แสดงอาบัติก่อน ถ้าเป็นสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้สมาทานศีลเสียก่อน (ศีล ๕ ศีล ๘ และศีล ๑๐ ตามสมควรแก่อัชฌาสัยแก่เหตุและปัจจัย)
(๕) มอบกายถวายตัวต่อพระรัตนตรัย ว่า

อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ

ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตแด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรมเจ้า แด่พระสงฆเจ้า เพื่อเจริญพระกรรมฐาน ณ โอกาสต่อไปนี้

(๖) มอบกายถวายตัวต่อพระอาจารย์
อิมาหัง อาจะริยะ อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ
ข้าแต่ท่านพระอาจารย์ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายตัวแก่ท่านเพื่อเจริญพระกรรมฐาน ณ โอกาสต่อไปนี้

(๗) ขอพระกรรมฐาน
นิพพานัสสะ เม ภันเต สัจฉิกะระณัตถายะ กัมมัฏฐานัง เทหิ.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้พระกรรมฐานแก่ข้าพเจ้า เพื่อประโยชน์แก่การทำให้แจ้งซึ่งมรรค ผล พระนิพพาน ณ โอกาสต่อไปนี้

(๘) คำแผ่เมตตา
แผ่เมตตาให้ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ นิททุกโข โหมิ อะเวโร โหมิ อัพยาปัชโฌ โหมิ อะนีโฆ โหมิ สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ.
ขอให้ข้าพเจ้าจงถึงสุข ปราศจากทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความเดือดร้อน ขอให้มีความสุข รักตนอยู่เถิด

แผ่โดยจำพวก
๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่ความเดือดร้อน มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด

๒) สัพเพ ปาณา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอสัตว์ที่มีลมปาณทั้งปวง..........รักษาตนอยู่เถิด

๓) สัพเพ ภูตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอภูตทั้งปวง...............ฯ

๔) สัพเพ ปุคคลา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอบุคคลทั้งปวง.................ฯ

๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอผู้มีอัตภาพทั้งปวง..............ฯ

๖) สัพพา อิตถิโย อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอสตรีทั้งปวง...................ฯ

๗) สัพเพ ปุริสา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอบุรุษทั้งปวง...................ฯ

๘) สัพเพ อะริยา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอพระอริยะทั้งปวง...........ฯ

๙) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอปุถุชนทั้งปวง................ฯ

๑๐) สัพเพ เทวา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอเทวดาทั้งปวง..............ฯ

๑๑) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอมนุษย์ทั้งปวง..............ฯ

๑๒) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอพวกสัตว์วินิปาติกะทั้งปวง.................ฯ

แผ่โดยทิศ ๑๐
๑) ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอสัตว์ทั้งปวง ผู้อยู่ในทิศบูรพา จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความเดือดร้อน มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด

๒) ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอสัตว์ทั้งปวง ผู้อยู่ในทิศปัจฉิม..............ฯ

๓) อุตตรายะ ทิสายะ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอสัตว์ทั้งปวง ผู้อยู่ในทิศอุดร...................ฯ

๔) ทักขิณายะ ทิสายะ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอสัตว์ทั้งปวง ผู้อยู่ในทิศทักษิณ...............ฯ

๕) ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอสัตว์ทั้งปวง ผู้อยู่ในทิศอาคเนย์................ฯ

๖) ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอสัตว์ทั้งปวง ผู้อยู่ในทิศพายัพ.................ฯ

๗) อุตตรายะ อะนุทิสายะ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอสัตว์ทั้งปวง ผู้อยู่ในทิศอีสาน..................ฯ

๘) ทักขิณายะ อะนุทิสายะ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอสัตว์ทั้งปวง ผู้อยู่ในทิศหรดี....................ฯ

๙) เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอสัตว์ทั้งปวง ผู้อยู่ในทิศเบื้องล่าง..................ฯ

๑๐) อุปริมายะ ทิสายะ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอสัตว์ทั้งปวง ผู้อยู่ในทิศเบื้องบน...................ฯ
แผ่ไปในสัตว์ทั้งปวง

๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความเดือดร้อน มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด

๒) สัพเพ สัตตา สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ.
ขอสัตว์ทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเถิด

๓) สัพเพ สัตตา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ.
ขอสัตว์ทั้งปวงจงอย่าได้พลัดพรากจากสมบัติอันตนได้แล้วเลย

๔) สัพเพ สัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ.
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน เป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องให้ผล เป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องให้เกิด เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราจักทำกรรมใดไว้ กรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตาม เราจะเป็นทายาทรับผลของกรรมนั้นสืบไปฯ

(๙) เจริญมรณานุสสติ
อะธุวัง เม ชีวิตัง ชีวิตของเราเป็นของไม่ยั่งยืน
ธุวัง มะระณัง ความตายเป็นของยั่งยืน
อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง อันเราจะพึงตายเป็นแท้
มะระณะปะริโยสานัง เม ชีวิตัง ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุดรอบ
ชีวิตัง เม อะนิยะตัง ชีวิตของเราเป็นของไม่เที่ยง
มะระณัง เม นิยะตัง ความตายของเราเป็นของเที่ยง
เป็นโชคอันดีของเราแล้วหนอที่ได้มีโอกาสมาสมาทานพระกรรมฐาน ณ บัดนี้ ไม่เสียทีที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา

(๑๐) ตั้งสัจจาธิษฐาน
เยเนวะ ยันติ นิพพานัง พุทธา เตสัญจะ สาวกา
เอกายะเนนะ มัคเคนะ สะติปัฏฐานะสัญญินา.

พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอริยสาวก ย่อมดำเนินไปสู่พระนิพพานด้วยหนทางสายนี้ อันเป็นทางสายเอก ซึ่งนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลายรู้ทั่วถึงกันแล้วว่า ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจาธิษฐาน ปฏิญาณตนต่อพระรัตนตรัยต่อครูอาจารย์ว่าจะตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติจริงๆ เท่าที่ตนสามารถเท่าที่ตนมีโอกาสจะประพฤติปฏิบัติได้เพื่อบูชาพระรัตนตรัย

(๑๑) ตั้งความปรารถนา
อิมายะ ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา ระตะนัตตะยัง ปูเชมิ.
ข้าพเจ้าขอบูชาซึ่งพระพุทธเจ้า ซึ่งพระธรรม ซึ่งพระสงฆ์ ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนี้
อัทธา อิมายะ ปะฏิปัตติยา ชาติชะราพะยาธิมะระณาทีหิ ปะฏิมุจจิสสามิ.
ข้าพเจ้าจักพ้นจากชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ และมรณทุกข์ ด้วยการปฏิบัติธรรมนี้แน่นอน
อุกาสะ อุกาสะ ณ โอกาสบัดนี้ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งพระกรรมฐาน ขอขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ และวิปัสสนาญาณ ขอจงบังเกิดขึ้นในขันธสันดานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะตั้งสติกำหนดไว้ที่ลมหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้ารู้ ลมหายใจออกรู้ สามหนและเจ็ดหน ร้อยหนและพันหน ด้วยความไม่ประมาท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป.

(๑๒) สวดพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

(๑๓) ถ้าอยู่ป่า อยู่ถ้ำ อยู่บนภูเขา ให้สวดกรณียเมตตสูตร และสวดขันธปริตตคาถาด้วย (วิรูปักเข)


watpitch.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 เมษายน 2560 15:56:47 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 58.0.3029.81 Chrome 58.0.3029.81


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 28 เมษายน 2560 15:59:50 »





การเดินจงกรม

ให้ยืนตัวตรง เอามือขวาจับข้อมือซ้าย ส้นเท้าทั้ง ๒ ชิดเสมอกัน ส่วนปลายเท้าแยกออกจากกันพอประมาณยืนถนัด (ประมาณ ๒-๓ นิ้ว) ศีรษะตั้งตรงไม่ควรเอียงซ้าย หรือเอียงขวา ให้ทอดสายตาไปประมาณ ๔ ศอกคืบ ศีรษะของผู้ปฏิบัติก็จะไม่ก้มและเงยจนเกินไป พอดีแก่การเดินจงกรม(นาน)เมื่อท่ายืนเรียบร้อยแล้ว ให้หลับตา เอาสติมาจับอยู่ที่ร่างกาย อย่าให้สติออกไปจากร่างกาย ให้ภาวนาว่า “ยืนหนอๆๆ” ๓ หน พร้อมให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการของรูปยืนให้เห็นรูปของตัวเองยืนอยู่ ตั้งแต่พื้นเท้าจนถึงปลายผมจากปลายผมถึงพื้นเท้า เห็นรูปยืนชัดคล้ายกับว่ามีกระจกใบใหญ่ทั้ง ๔ ด้านและทั้งข้างบน –ข้างล่าง เรียกว่าให้มีสติกำหนดพิจารณารู้รูปยืนให้ชัดเจนดีแล้วให้ลืมตาประมาณกึ่ง หนึ่ง(อย่าหลับตาเดิน) จากนั้นให้เคลื่อนสติไปจับอยู่เท้าขวา เดินช้าๆ พร้อมกับภาวนาอยู่ในใจว่า “ขวาย่างหนอ” ขณะที่ภาวนาในใจว่า “ขวา” ให้ยกเท้าขวาขึ้นพร้อมกัน ไม่ให้ก่อนไม่ให้หลังกัน ให้พร้อมกันพอดีๆ และให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการของเท้าขวา ที่ยกขึ้นพร้อมกันไปด้วย เรียกว่าให้ครบองค์ ๓ คือ (๑) การยกเท้า (๒) ใจนึกคำบริกรรมว่า ”ขวา” และ (๓) ให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการของเท้าที่ยกขึ้น ขณะว่า “ย่าง” ต้องเคลื่อนเท้าไปอย่างช้าๆ พร้อมกับลากเสียงยาวๆ และให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการของเท้าที่ย่างพร้อมกันไปด้วยเท้าและการลาก เสียงหยุดนิดหนึ่ง (ประมาณหนึ่งวินาที) ในขณะที่จะว่า “หนอ” และขณะว่า “หนอ” เท้าต้องลงถึงพื้นพอดีกันกับคำบริกรรม ให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการของเท้าที่กระทบพื้นพร้อมกันไปด้วย เท้าที่วางลงไม่ควรให้เอียงซ้าย หรือเอียงขวา ให้วางลงตรงๆ จนกว่าเท้าขวาจะนิ่ง แล้วจึงยกเท้าซ้ายภาวนาในใจว่า “ซ้ายย่างหนอ” ก็มีการกำหนด เช่น เท้าขวา

การเดินให้ยกเท้าขึ้นประมาณครึ่งแข้ง แต่ละก้าวให้ส้นเท้าหน้ากับปลายเท้าหลัง ห่างกันประมาณ ๒-๓ นิ้ว เมื่อเดินสุดเสื่อหรือสุดสถานที่เดินจงกรมแล้ว ให้เอาเท้าเคียงกัน หยุดยืนหลับตา ภาวนาในใจว่า “ยืนหนอๆๆ” ว่าช้าๆ ๓ ครั้ง มีการกำหนดพิจารณาดังที่กล่าวมาข้างต้น แล้วหมุนกลับ จะกลับด้านซ้ายหรือขวาก็ได้ โดยมากนิยมกลับด้านขวา และเวลากลับให้หมุนกลับทีละข้าง ในขณะหมุนกลับ ส้นเท้าขวาติดอยู่กับพื้น ยกเฉพาะปลายเท้าให้พ้นพื้น และหมุนไปช้าๆ โดยภาวนาในใจว่า “กลับ..หนอ” จนเท้าขวาทำมุมกับเท้าซ้ายให้ได้ประมาณ ๙๐-๙๕ องศา

ในขณะเดียวกันให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการกลับของเท้า พร้อมกันไปด้วย ส่วนเท้าซ้ายให้ยกขึ้น พอพ้นพื้น แล้วหมุนไปตามพร้อมกับภาวนาว่า “กลับ..หนอ” ให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการกลับเช่นเดียวกัน ให้หมุนกลับอย่างนี้ ๒ คู่ เท่ากับ ๔ ครั้ง ก็จะพอดีกับความต้องการ และหยุดยืนตรงอยู่กับที่ภาวนาว่า “ยืนหนอๆๆ” ๓ ครั้ง แล้วลืมตาเดินจงกรมต่อไป ภาวนาว่า “ขวาย่างหนอ” “ซ้ายย่างหนอ” ให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการดังที่กล่าวมาข้างต้น

ให้เดินกลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ประมาณ ๓๐ นาที ๑ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง เป็นต้น (แล้วแต่โอกาสและความเหมาะสมอันพอเหมาะพอควรแก่การทรมานกิเลสของตนของตน) ในขณะเดินจงกรมอยู่นั้น ไม่จำเป็นอย่าวอกแวกหันซ้าย หันขวา อย่าก้ม อย่าเงย ตามอำนาจของกิเลส (ให้มีสติ) เมื่อเดินจงกรมครบเวลาที่กำหนดแล้ว อย่าดื่มน้ำ อย่ากลืนน้ำลาย หรืออย่าทำกิจอื่นเล็กๆ น้อยๆ เช่น ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย เป็นต้น คั่นในระหว่างนั้น ควรให้เดินไปนั่ง ณ ที่นั่งติดต่อกันไปเลย การกำหนดจึงจะไม่ขาดระยะ สติก็จะไม่ขาดช่วง สติไม่ห่างไปจากรูปนามพิจารณารูปนามอยู่ตลอดเวลา ศีล สมาธิ วิปัสสนาญาณก็จะแก่กล้าสมบูรณ์ขึ้นตามลำดับในเวลาอันไม่ช้าไม่นาน





การนั่ง

ผู้ที่จะเดินจงกรมให้จัดเตรียมอาสนะสำหรับนั่งไว้ใกล้ที่ เดินจงกรมให้เรียบร้อยก่อนแล้ว เมื่อเดินครบเวลาที่กำหนดไว้ ก็กำหนดเดินไปยืนที่อาสนะสำหรับนั่ง ให้มีสติกำหนดพิจารณารู้รูปยืน (มีวิธีกำหนดยืน เหมือนกล่าวไว้ข้างต้น) แล้วให้นั่งลง โดยเวลานั่งให้ค่อยๆ ย่อตัวลง เอาเข่าขวาลงถือพื้นก่อนตามด้วยเข่าซ้าย แล้วจะอยู่ในท่าคุกเข่า สำหรับภิกษุ สามเณร และอุบาสก ให้เอาส้นเท้าซ้ายทับส้นเท้าขวา แล้วนั่งทับส้นลงไป เอามือขวาจับข้อเท้าขวา ขึ้นมาวางทับเท้าซ้ายเอามือขวาวางทับมือซ้ายหัวแม่มือชนกันหรือหัวแม่มือขวา ทับหัวแม่มือซ้ายก็ได้ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น ทอดสายตาลงต่ำประมาณ ๑ วา หน้าของผู้ปฏิบัติจะไม่ก้ม ไม่เงยจนเกินไป จะพอดี และศีรษะ ลำคอไม่ควรให้เอียงซ้าย หรือเอียงขวา ควรตั้งให้ตรง ถ้าเป็นอุบาสิกาให้นั่งพับเพียบหรือคนชรามาก และผู้มีร่างกายไม่พร้อมก็ให้นั่งเก้าอี้ได้

ข้อสำคัญ ตั้งแต่เริ่มนั่งย่อตัวลงจนกว่าจะนั่งเสร็จนี้ ให้ภาวนาว่า “นั่งหนอๆๆ” ไปเรื่อยๆ พร้อมกับให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการนั่งนั้นทุกขณะๆ ไปจนกว่าจะนั่งเรียบร้อย

เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว ให้หลับตาเอาสติมาจับอยู่ที่ท้องเหนือสะดือประมาณ ๒ นิ้ว เวลาหายใจเข้าท้องพองให้ภาวนาตามอาการของท้องที่พองขึ้นว่า “พองหนอ” ใจที่นึกกับท้องที่พองต้องให้ทันกัน ให้ตรงกันพอดีอย่าให้ก่อนหรือหลังกัน พร้อมกับให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการของท้องพองว่า ต้นพอง กลางพอง สุดพอง นั้นว่ามีอาการอย่างไรพร้อมกันไปในขณะเดียวกันด้วย เวลาหายใจออกท้องยุบลง ให้ภาวนาตามอาการของท้องที่ยุบลงว่า “ยุบหนอ” ใจที่นึกกับท้องที่ยุบนั้น ต้องให้ทันกัน ให้ตรงกันพอดีอย่าให้ก่อนหรือหลังกัน พร้อมกับให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการของท้องยุบว่า ต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบ นั้นมีอาการอย่างไรพร้อมกันไปในขณะเดียวกันด้วย

หมายเหตุ ให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการพอง อาการนูน อาการยุบ อาการแฟบ ของท้องเท่านั้น อย่าแกล้งตะเบ็งท้อง อย่าไปดูลมเข้า-ลมออก อย่าบังคับลมหายใจให้ผิดจากอาการหายใจปกติ (คือ เรายืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ เรามีอาการหายใจเป็นปรกติอย่างไร เราก็หายใจตามปรกติอย่างนั้น แต่ต้องให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการที่เป็นปัจจุบันนั้นๆ) ให้ภาวนาอย่างนี้ตลอดไปจนครบเวลาที่กำหนดไว้ อย่างต่ำประมาณ ๓๐ นาที อย่างกลาง ๑ ชั่วโมง อย่างสูง ๒ ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น แล้วแต่ประเภทความเหมาะสมแก่สติปัญญา บุญวาสนาบารมี แก่การทรมานกิเลสของบุคคลผู้เข้าปฏิบัติ

เวทนา
เวทนา คือ เวทนา ๓ ได้แก่ สุข ทุกข์ อุเบกขา พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ความสบาย ความไม่สบาย และเฉยๆ ในขณะที่เรานั่งอยู่นั้น (หรือในเวลา กิน ดื่ม ทำ พูด คิด เดินจงกรมก็ตาม ฯลฯ) ถ้ามีเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เช่น สุข ทุกข์ เหนื่อย เวียนศีรษะ เจ็บ ปวด แสบร้อน ซาบซ่าน หนาว เย็น คัน ชา หรือเฉยๆ เป็นต้น ถ้าอาการเหล่านี้ อาการใดอาการหนึ่งปรากฏขึ้นมาชัดเจน เช่น ถ้าเกิดความสุข ก็สุขมาก ถ้าเกิดความทุกข์ ก็ทุกข์มาก เป็นต้น คือมากกว่าอาการพอง-ยุบ และมากกว่าอาการเหล่าอื่น ในลักษณะเช่นนี้ให้ปล่อยอาการพองหนอ-ยุบหนอ แล้วให้เอาสติไปกำหนดพิจารณารู้ที่อาการของเวทนานั้นๆ มีความสุข มีความทุกข์ เป็นต้น โดยภาวนาว่า “สุขหนอ ทุกข์หนอ เหนื่อยหนอ เวียนศีรษะหนอ...คันหนอ ชาหนอ เฉยๆหนอ” เป็นต้น ตามอาการของเวทนานั้นๆ สุดแต่เวทนาอย่างไหนจะเกิดขึ้นปรากฏชัดเจนพร้อมกับให้มีสติกำหนดพิจารณารู้ อาการของเวทนานั้นๆ ว่ามีอาการอย่างไรพร้อมกันไปในขณะเดียวกันด้วย การกำหนดพิจารณารู้ เวทนามีทุกขเวทนา เป็นต้นนั้น ไม่ใช่กำหนดให้เวทนามีทุกขเวทนา เป็นต้นดับไป แต่เป็นเพียงให้โยคีผู้ปฏิบัติมีสติกำหนดพิจารณารู้อาการของเวทนาที่เกิด ขึ้นในขณะนั้นให้ทราบชัดตามความเป็นจริงทุกขณะๆ ไปเท่านั้น และอย่าให้ความยินดี ชอบใจ หรือความยินร้ายไม่ชอบใจเกิดขึ้นมา ให้จิตของโยคีนั้นดำรงอยู่ในความเป็นกลาง ตลอดเวลา ในขณะที่พิจารณาอยู่นั้น แต่เมื่อในขณะที่มีสติกำหนดพิจารณารู้เวทนาอยู่นั้น สมาธิของโยคีผู้ปฏิบัติคนใดมีมาก วิปัสสนาญาณแก่กล้ามีกำลังมาก อาการของเวทนาอาจดับไปในขณะที่กำลังกำหนดรู้อยู่นั้นก็ได้ (และโยคีต้องพยายามจำให้ได้ว่า เวทนาดับไปในขณะที่เรากำหนดพิจารณารู้อาการของเวทนาอย่างไรอยู่ เวทนาจึงดับพรึบลงไปพร้อมกัน) แต่ถ้าสมาธิของโยคีมีน้อย และวิปัสสนามีกำลังอ่อน เวทนาจะไม่ดับ เป็นเพียงแต่เบาลงเมื่อเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ปรากฏชัด ก็ให้ไปกำหนดพิจารณารู้อาการ พอง-ยุบ ที่ปรากฏชัดอยู่ในขณะนั้นต่อไปอีก จนกว่าจะครบเวลาที่ตนกำหนดไว้

จิต
ในเวลาที่เดินจงกรมหรือนั่งกำหนดอยู่นั้น ถ้าจิตคิดถึงบ้านเรือนเรือกสวนไร่นา ทรัพย์สินเงินทอง หรือกิจการต่างๆ คิดถึงอารมณ์ที่เป็นอดีตคิดถึงอารมณ์ที่เป็นอนาคต คิดถึงอารมณ์ที่เป็นบุญ เป็นบาป เป็นต้น ในขณะนั้นให้ปล่อยอาการพอง-อาการยุบ แล้วเอาสติไปกำหนดที่หทัยวัตถุ (หัวใจ) ภาวนาว่า “คิดหนอๆๆ” พร้อมกับกำหนดพิจารณา รู้อาการของจิตไปในขณะเดียวกันด้วย เช่น ในขณะเดินจงกรมหรือในขณะนั่งอยู่ แม้เมื่อจิตมีความดีใจ เสียใจ โลภ โกรธ หลง ราคะ มานะ เป็นต้น เกิดขึ้นร่วมก็ให้ปล่อย อาการพอง-อาการยุบ แล้วเอาสติไปกำหนดที่หัวใจเช่นเดียวกัน คือ

ถ้าดีใจ ให้กำหนดว่า “ดีใจหนอๆๆ”

ถ้าเสียใจ ให้กำหนดว่า “เสียใจหนอๆๆ”

ถ้าโลภ ให้กำหนดว่า “โลภหนอๆๆ”

ถ้าโกรธ ให้กำหนดว่า “โกรธหนอๆๆ”

ถ้าหลง ให้กำหนดว่า “หลงหนอๆๆ”

ถ้าราคะ ให้กำหนดว่า “ราคะหนอๆๆ”

ถ้ามานะ ให้กำหนดว่า “มานะหนอๆๆ”

ถ้าเกียจคร้าน ให้กำหนดว่า “เกียจคร้านหนอๆๆ”

ถ้าพอใจ ให้กำหนดว่า “พอใจหนอๆๆ”

ถ้าฟุ้งซ่าน ให้กำหนดว่า “ฟุ้งซ่านหนอๆๆ”

ถ้ารำคาญ ให้กำหนดว่า “รำคาญหนอๆๆ”

ถ้าสงสัย ให้กำหนดว่า “สงสัยหนอๆๆ”

ถ้าใคร่ครวญ ให้กำหนดว่า “ใคร่ครวญหนอๆๆ” เป็นต้น

พร้อมกับให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการของจิตที่มีอาการ ต่างๆ กัน เช่น เกิดความดีใจ เกิดความเสียใจ เป็นต้น พร้อมกันไปด้วย การกำหนดพิจารณา รู้อาการของจิต (สิ่งที่เกิดร่วมกับจิต=จิตเจตสิก) นั้น ไม่ใช่กำหนดให้อาการของจิตมีราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ เป็นต้นดับไป แต่เป็นเพียงให้โยคีผู้ปฏิบัติมีสติ กำหนดพิจารณารู้อาการของจิตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะนั้น ให้เห็นชัดเจนตามความเป็นจริงเท่านั้นและอย่าให้ความยินดี ชอบใจ หรือความยินร้าย ไม่ชอบใจเกิดขึ้นมา ให้จิตของโยคีนั้นดำรงอยู่ในความเป็นกลางตลอดเวลา ในขณะที่พิจารณาอยู่นั้น แต่เมื่อในขณะที่มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการของจิตอยู่นั้นสมาธิของโยคีผู้ ปฏิบัติคนใดมีมาก วิปัสสนาญาณแก่กล้ามีกำลังมาก อาการของจิตอาจจะดับไปในขณะที่กำลังกำหนดรู้อยู่นั้นก็ได้ (และให้โยคีต้องพยายามจำให้ได้ว่า อาการของจิตจึงดับไปในขณะที่เรากำหนด พิจารณารู้อาการของจิตอย่างไรอยู่ อาการของจิตจึงดับพรึบลงไปพร้อมกัน) แต่ถ้าสมาธิของโยคีมีน้อยและวิปัสสนามีกำลังอ่อนอาการของจิตที่กำหนดอยู่ นั้นจะไม่ดับเป็นแต่เพียงเบาลงเมื่ออาการของจิตอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ปรากฏ ชัด ก็ให้ไปกำหนดพิจารณารู้อาการพอง-ยุบ ที่ปรากฏชัดอยู่ในขณะนั้นต่อไปอีก จนกว่าจะครบเวลาตามที่กำหนดไว้

หมายเหตุ : ถ้าเผลอลืมสติ กำหนดไม่ทันความเคลื่อนไหวของจิต(ความคิด)ถ้ามีสติกำหนดรู้ทันเมื่อไร จะเป็นระยะต้นของความคิดก็ตามระยะกลางของความคิดก็ตาม หรือระยะหลัง คือตอนปลายของความคิดก็ตามให้กำหนดว่า “คิดหนอๆๆ” ในขณะนั้นทันที

เสียง
เสียงนั้นจะมีเสียงเดียวหรือมากเสียงก็ตาม ถ้าเสียงนั้นไม่รบกวนจิตใจของโยคีผู้ปฏิบัติ (คือเสียงไม่ปรากฏชัดเจนมาก) จิตใจของโยคีผู้ปฏิบัติมุ่งตรงต่อการกำหนดอาการพองหนอ-ยุบหนอ ทันปัจจุบันธรรมดีอยู่ก็ให้กำหนดอารมณ์นั้นต่อๆไป แต่ถ้าในขณะที่เดินจงกรม หรือนั่งกำหนดอยู่นั้น ถ้ามีเสียงดังปรากฏขึ้นมาชัดเจน หนวกหู ก่อให้เกิดความรำคาญ ทำให้เกิดความไม่สบายในการภาวนา หรือเสียงสรรเสริญ เสียงน่าใคร่ที่เป็นอิฏฐารมณ์ทั้งปวงที่ฟังแล้วทำให้จิตยินดี เป็นเหตุให้ละอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันก็ตามเกิดขึ้นมารบกวนให้ปล่อยอาการพอง หนอ-ยุบหนอให้มีสติไปกำหนดที่หู โดยภาวนาว่า “ได้ยินหนอๆๆ” พร้อมกับกำหนดพิจารณารู้อาการกระทบของเสียงที่มากระทบในขณะนั้นพร้อมกันไป ด้วยการกำหนดพิจารณารู้อาการกระทบของเสียงที่มากระทบประสาทหูในขณะนั้น ไม่ใช่กำหนดให้อาการกระทบของเสียงมันดับไป แต่เป็นเพียงให้โยคีผู้ปฏิบัติมีสติ กำหนดพิจารณารู้อาการกระทบของเสียงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะนั้น ให้เห็นชัดตามความเป็นจริงเท่านั้น และอย่าให้เกิดความยินดีหรือไม่ยินดี ให้จิตของโยคีนั้นดำรงอยู่ในความเป็นกลางตลอดเวลา ในขณะที่พิจารณาอาการกระทบของเสียงอยู่นั้น แต่เมื่อในขณะที่มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการกระทบของเสียงอยู่นั้น สมาธิของโยคีผู้ปฏิบัติคนใดมีมาก วิปัสสนาญาณแก่กล้ามีกำลังมาก อาการกระทบของเสียงจะปรากฏชัดเจนมาก ในขณะที่รู้ชัดเจนอยู่นั้น อาการของเสียงที่กระทบหูของเรานั้นมันดับพรึบลงไปเลย (โยคีต้องพยายามจำให้ได้ว่าอาการกระทบของเสียง มันดับลงไปในขณะที่เรากำหนดพิจารณารู้อาการกระทบของเสียงอย่างไรมันจึงดับ พรึบลงไปพร้อมกัน)แต่ถ้าสมาธิของโยคีมีน้อย และวิปัสสนาญาณมีกำลังอ่อน อาการกระทบของเสียงจะไม่ปรากฏชัด เวลากำหนดพิจารณารู้อาการ กระทบของเสียงก็จะไม่ดับ เป็นแต่เบาลงไม่ปรุงแต่งในเสียงเท่านั้น เมื่ออาการกระทบของเสียงไม่ปรากฏชัดก็ให้ไปกำหนดพิจารณารู้อาการพองหนอ-ยุบ หนอที่ปรากฏชัดเจนอยู่ในขณะนั้นต่อไปอีก จนกว่าจะครบเวลาตามที่ตนกำหนดไว้

ข้อที่ต้องทำความเข้าใจ การกำหนดอารมณ์ทั้งปวง คืออารมณ์ ทางตา..หู..จมูก..ลิ้น..กาย..ใจ นั้น อารมณ์ไหนปรากฏชัดเจน แจ่มแจ้งก็ให้กำหนดอารมณ์นั้นๆ ก่อน เช่น ในขณะที่เรานั่งภาวนาอยู่นั้น อารมณ์เกิดขึ้นมาหลายทาง ทางหูก็มีเสียงมากระทบ ทางจมูกก็ได้กลิ่น ทางกายก็มีการกระทบ เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หรือทุกขเวทนา เป็นต้น ที่เกิดร่วมจิตก็คอยแต่จะคิดถึงอดีต อนาคตอยู่เรื่อย และในขณะนั้นก็กำลังกำหนดอาการพองหนอ-ยุบหนออยู่ เมื่อสิ่งเหล่านี้มาประสบ และเกิดขึ้นพร้อมกัน ก็ให้เราเลือกกำหนดอารมณ์ที่ปรากฏชัดเจนที่สุด ถ้าเสียงก่อความรำคาญก่อความชอบใจติดอกติดใจมากกว่ารูปนิมิต มากกว่ากลิ่น มากกว่าทุกขเวทนา สุขเวทนา อุเบกขาเวทนา มากกว่าความคิด หรือมากกว่าอาการพองหนอ-ยุบหนอ ก็ให้กำหนดเสียงนั้น เสียก่อน รวมความว่า อารมณ์ไหนปรากฏชัดเจน แจ่มแจ้ง ให้กำหนดอารมณ์นั้น นั่นแลก่อน



เวทนา

เวทนา คือ เวทนา ๓ ได้แก่ สุข ทุกข์ อุเบกขา พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ความสบาย ความไม่สบาย และเฉยๆ ในขณะที่เรานั่งอยู่นั้น (หรือในเวลา กิน ดื่ม ทำ พูด คิด เดินจงกรมก็ตาม ฯลฯ) ถ้ามีเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เช่น สุข ทุกข์ เหนื่อย เวียนศีรษะ เจ็บ ปวด แสบร้อน ซาบซ่าน หนาว เย็น คัน ชา หรือเฉยๆ เป็นต้น ถ้าอาการเหล่านี้ อาการใดอาการหนึ่งปรากฏขึ้นมาชัดเจน เช่น ถ้าเกิดความสุข ก็สุขมาก ถ้าเกิดความทุกข์ ก็ทุกข์มาก เป็นต้น คือมากกว่าอาการพอง-ยุบ และมากกว่าอาการเหล่าอื่น ในลักษณะเช่นนี้ให้ปล่อยอาการพองหนอ-ยุบหนอ แล้วให้เอาสติไปกำหนดพิจารณารู้ที่อาการของเวทนานั้นๆ มีความสุข มีความทุกข์ เป็นต้น โดยภาวนาว่า “สุขหนอ ทุกข์หนอ เหนื่อยหนอ เวียนศีรษะหนอ...คันหนอ ชาหนอ เฉยๆหนอ” เป็นต้น ตามอาการของเวทนานั้นๆ สุดแต่เวทนาอย่างไหนจะเกิดขึ้นปรากฏชัดเจนพร้อมกับให้มีสติกำหนดพิจารณารู้ อาการของเวทนานั้นๆ ว่ามีอาการอย่างไรพร้อมกันไปในขณะเดียวกันด้วย การกำหนดพิจารณารู้ เวทนามีทุกขเวทนา เป็นต้นนั้น ไม่ใช่กำหนดให้เวทนามีทุกขเวทนา เป็นต้นดับไป แต่เป็นเพียงให้โยคีผู้ปฏิบัติมีสติกำหนดพิจารณารู้อาการของเวทนาที่เกิด ขึ้นในขณะนั้นให้ทราบชัดตามความเป็นจริงทุกขณะๆ ไปเท่านั้น และอย่าให้ความยินดี ชอบใจ หรือความยินร้ายไม่ชอบใจเกิดขึ้นมา ให้จิตของโยคีนั้นดำรงอยู่ในความเป็นกลาง ตลอดเวลา ในขณะที่พิจารณาอยู่นั้น แต่เมื่อในขณะที่มีสติกำหนดพิจารณารู้เวทนาอยู่นั้น สมาธิของโยคีผู้ปฏิบัติคนใดมีมาก วิปัสสนาญาณแก่กล้ามีกำลังมาก อาการของเวทนาอาจดับไปในขณะที่กำลังกำหนดรู้อยู่นั้นก็ได้ (และโยคีต้องพยายามจำให้ได้ว่า เวทนาดับไปในขณะที่เรากำหนดพิจารณารู้อาการของเวทนาอย่างไรอยู่ เวทนาจึงดับพรึบลงไปพร้อมกัน) แต่ถ้าสมาธิของโยคีมีน้อย และวิปัสสนามีกำลังอ่อน เวทนาจะไม่ดับ เป็นเพียงแต่เบาลงเมื่อเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ปรากฏชัด ก็ให้ไปกำหนดพิจารณารู้อาการ พอง-ยุบ ที่ปรากฏชัดอยู่ในขณะนั้นต่อไปอีก จนกว่าจะครบเวลาที่ตนกำหนดไว้

จิต

ในเวลาที่เดินจงกรมหรือนั่งกำหนดอยู่นั้น ถ้าจิตคิดถึงบ้านเรือนเรือกสวนไร่นา ทรัพย์สินเงินทอง หรือกิจการต่างๆ คิดถึงอารมณ์ที่เป็นอดีตคิดถึงอารมณ์ที่เป็นอนาคต คิดถึงอารมณ์ที่เป็นบุญ เป็นบาป เป็นต้น ในขณะนั้นให้ปล่อยอาการพอง-อาการยุบ แล้วเอาสติไปกำหนดที่หทัยวัตถุ (หัวใจ) ภาวนาว่า “คิดหนอๆๆ” พร้อมกับกำหนดพิจารณา รู้อาการของจิตไปในขณะเดียวกันด้วย เช่น ในขณะเดินจงกรมหรือในขณะนั่งอยู่ แม้เมื่อจิตมีความดีใจ เสียใจ โลภ โกรธ หลง ราคะ มานะ เป็นต้น เกิดขึ้นร่วมก็ให้ปล่อย อาการพอง-อาการยุบ แล้วเอาสติไปกำหนดที่หัวใจเช่นเดียวกัน คือ

ถ้าดีใจ ให้กำหนดว่า “ดีใจหนอๆๆ”

ถ้าเสียใจ ให้กำหนดว่า “เสียใจหนอๆๆ”

ถ้าโลภ ให้กำหนดว่า “โลภหนอๆๆ”

ถ้าโกรธ ให้กำหนดว่า “โกรธหนอๆๆ”

ถ้าหลง ให้กำหนดว่า “หลงหนอๆๆ”

ถ้าราคะ ให้กำหนดว่า “ราคะหนอๆๆ”

ถ้ามานะ ให้กำหนดว่า “มานะหนอๆๆ”

ถ้าเกียจคร้าน ให้กำหนดว่า “เกียจคร้านหนอๆๆ”

ถ้าพอใจ ให้กำหนดว่า “พอใจหนอๆๆ”

ถ้าฟุ้งซ่าน ให้กำหนดว่า “ฟุ้งซ่านหนอๆๆ”

ถ้ารำคาญ ให้กำหนดว่า “รำคาญหนอๆๆ”

ถ้าสงสัย ให้กำหนดว่า “สงสัยหนอๆๆ”

ถ้าใคร่ครวญ ให้กำหนดว่า “ใคร่ครวญหนอๆๆ” เป็นต้น

พร้อมกับให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการของจิตที่มีอาการ ต่างๆ กัน เช่น เกิดความดีใจ เกิดความเสียใจ เป็นต้น พร้อมกันไปด้วย การกำหนดพิจารณา รู้อาการของจิต (สิ่งที่เกิดร่วมกับจิต=จิตเจตสิก) นั้น ไม่ใช่กำหนดให้อาการของจิตมีราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ เป็นต้นดับไป แต่เป็นเพียงให้โยคีผู้ปฏิบัติมีสติ กำหนดพิจารณารู้อาการของจิตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะนั้น ให้เห็นชัดเจนตามความเป็นจริงเท่านั้นและอย่าให้ความยินดี ชอบใจ หรือความยินร้าย ไม่ชอบใจเกิดขึ้นมา ให้จิตของโยคีนั้นดำรงอยู่ในความเป็นกลางตลอดเวลา ในขณะที่พิจารณาอยู่นั้น แต่เมื่อในขณะที่มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการของจิตอยู่นั้นสมาธิของโยคีผู้ ปฏิบัติคนใดมีมาก วิปัสสนาญาณแก่กล้ามีกำลังมาก อาการของจิตอาจจะดับไปในขณะที่กำลังกำหนดรู้อยู่นั้นก็ได้ (และให้โยคีต้องพยายามจำให้ได้ว่า อาการของจิตจึงดับไปในขณะที่เรากำหนด พิจารณารู้อาการของจิตอย่างไรอยู่ อาการของจิตจึงดับพรึบลงไปพร้อมกัน) แต่ถ้าสมาธิของโยคีมีน้อยและวิปัสสนามีกำลังอ่อนอาการของจิตที่กำหนดอยู่ นั้นจะไม่ดับเป็นแต่เพียงเบาลงเมื่ออาการของจิตอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ปรากฏ ชัด ก็ให้ไปกำหนดพิจารณารู้อาการพอง-ยุบ ที่ปรากฏชัดอยู่ในขณะนั้นต่อไปอีก จนกว่าจะครบเวลาตามที่กำหนดไว้

หมายเหตุ : ถ้าเผลอลืมสติ กำหนดไม่ทันความเคลื่อนไหวของจิต(ความคิด)ถ้ามีสติกำหนดรู้ทันเมื่อไร จะเป็นระยะต้นของความคิดก็ตามระยะกลางของความคิดก็ตาม หรือระยะหลัง คือตอนปลายของความคิดก็ตามให้กำหนดว่า “คิดหนอๆๆ” ในขณะนั้นทันที



เสียง

เสียงนั้นจะมีเสียงเดียวหรือมากเสียงก็ตาม ถ้าเสียงนั้นไม่รบกวนจิตใจของโยคีผู้ปฏิบัติ (คือเสียงไม่ปรากฏชัดเจนมาก) จิตใจของโยคีผู้ปฏิบัติมุ่งตรงต่อการกำหนดอาการพองหนอ-ยุบหนอ ทันปัจจุบันธรรมดีอยู่ก็ให้กำหนดอารมณ์นั้นต่อๆไป แต่ถ้าในขณะที่เดินจงกรม หรือนั่งกำหนดอยู่นั้น ถ้ามีเสียงดังปรากฏขึ้นมาชัดเจน หนวกหู ก่อให้เกิดความรำคาญ ทำให้เกิดความไม่สบายในการภาวนา หรือเสียงสรรเสริญ เสียงน่าใคร่ที่เป็นอิฏฐารมณ์ทั้งปวงที่ฟังแล้วทำให้จิตยินดี เป็นเหตุให้ละอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันก็ตามเกิดขึ้นมารบกวนให้ปล่อยอาการพอง หนอ-ยุบหนอให้มีสติไปกำหนดที่หู โดยภาวนาว่า “ได้ยินหนอๆๆ” พร้อมกับกำหนดพิจารณารู้อาการกระทบของเสียงที่มากระทบในขณะนั้นพร้อมกันไป ด้วยการกำหนดพิจารณารู้อาการกระทบของเสียงที่มากระทบประสาทหูในขณะนั้น ไม่ใช่กำหนดให้อาการกระทบของเสียงมันดับไป แต่เป็นเพียงให้โยคีผู้ปฏิบัติมีสติ กำหนดพิจารณารู้อาการกระทบของเสียงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะนั้น ให้เห็นชัดตามความเป็นจริงเท่านั้น และอย่าให้เกิดความยินดีหรือไม่ยินดี ให้จิตของโยคีนั้นดำรงอยู่ในความเป็นกลางตลอดเวลา ในขณะที่พิจารณาอาการกระทบของเสียงอยู่นั้น แต่เมื่อในขณะที่มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการกระทบของเสียงอยู่นั้น สมาธิของโยคีผู้ปฏิบัติคนใดมีมาก วิปัสสนาญาณแก่กล้ามีกำลังมาก อาการกระทบของเสียงจะปรากฏชัดเจนมาก ในขณะที่รู้ชัดเจนอยู่นั้น อาการของเสียงที่กระทบหูของเรานั้นมันดับพรึบลงไปเลย (โยคีต้องพยายามจำให้ได้ว่าอาการกระทบของเสียง มันดับลงไปในขณะที่เรากำหนดพิจารณารู้อาการกระทบของเสียงอย่างไรมันจึงดับ พรึบลงไปพร้อมกัน)แต่ถ้าสมาธิของโยคีมีน้อย และวิปัสสนาญาณมีกำลังอ่อน อาการกระทบของเสียงจะไม่ปรากฏชัด เวลากำหนดพิจารณารู้อาการ กระทบของเสียงก็จะไม่ดับ เป็นแต่เบาลงไม่ปรุงแต่งในเสียงเท่านั้น เมื่ออาการกระทบของเสียงไม่ปรากฏชัดก็ให้ไปกำหนดพิจารณารู้อาการพองหนอ-ยุบ หนอที่ปรากฏชัดเจนอยู่ในขณะนั้นต่อไปอีก จนกว่าจะครบเวลาตามที่ตนกำหนดไว้

ข้อที่ต้องทำความเข้าใจ การกำหนดอารมณ์ทั้งปวง คืออารมณ์ ทางตา..หู..จมูก..ลิ้น..กาย..ใจ นั้น อารมณ์ไหนปรากฏชัดเจน แจ่มแจ้งก็ให้กำหนดอารมณ์นั้นๆ ก่อน เช่น ในขณะที่เรานั่งภาวนาอยู่นั้น อารมณ์เกิดขึ้นมาหลายทาง ทางหูก็มีเสียงมากระทบ ทางจมูกก็ได้กลิ่น ทางกายก็มีการกระทบ เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หรือทุกขเวทนา เป็นต้น ที่เกิดร่วมจิตก็คอยแต่จะคิดถึงอดีต อนาคตอยู่เรื่อย และในขณะนั้นก็กำลังกำหนดอาการพองหนอ-ยุบหนออยู่ เมื่อสิ่งเหล่านี้มาประสบ และเกิดขึ้นพร้อมกัน ก็ให้เราเลือกกำหนดอารมณ์ที่ปรากฏชัดเจนที่สุด ถ้าเสียงก่อความรำคาญก่อความชอบใจติดอกติดใจมากกว่ารูปนิมิต มากกว่ากลิ่น มากกว่าทุกขเวทนา สุขเวทนา อุเบกขาเวทนา มากกว่าความคิด หรือมากกว่าอาการพองหนอ-ยุบหนอ ก็ให้กำหนดเสียงนั้น เสียก่อน รวมความว่า อารมณ์ไหนปรากฏชัดเจน แจ่มแจ้ง ให้กำหนดอารมณ์นั้น นั่นแลก่อน


watpitch.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 กรกฎาคม 2560 15:16:25 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 59.0.3071.115 Chrome 59.0.3071.115


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2560 15:20:19 »




นอน

เวลานอน ให้ค่อยๆ ย่อตัวลงในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ แล้วนั่งคุกเข่าและนั่งพับเพียบลง (จะนอนตะแคงเอาสีข้างด้านขวาลงแบบสีหไสยาสน์ หรือจะนอนหงายก็ได้) จากนั้นให้เหยียดเท้าขวาออกก่อน แล้วตามด้วยเท้าซ้าย โดยภาวนาว่า “เหยียดหนอๆๆ” เสร็จแล้วค่อยๆ เอนตัวลงนอน พร้อมกับภาวนาว่า “นอนหนอๆๆ” ในขณะที่ภาวนานั้น ให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการความเคลื่อนไหวของร่างกายให้ทันปัจจุบันตลอด เวลา จนกว่าจะกำหนดจัดท่านอนให้เรียบร้อย จากนั้นให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้อาการพองหนอ-ยุบหนอต่อไปจนกว่าจะหลับ พยายามคอยสังเกตให้ดีว่า จะนอนหลับไปในขณะไหน ขณะต้นพอง กลางพอง สุดพอง หรือต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบ เวลาตื่น ตื่นขึ้นในขณะต้นพอง กลางพอง สุดพอง หรือต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบ และในขณะที่ตื่นขึ้นนั้นต้องรีบกำหนดจิตในขณะนั้นทันทีว่า “ตื่นหนอๆๆ” แล้วจึงค่อยกำหนดอยากลืมตา และให้มีสติกำหนดรู้อิริยาบถน้อยใหญ่ทั้งปวงมีการลุก การนั่ง การคู้ การเหยียด เป็นต้น ติดต่อสืบเนื่องกันไป ไม่ให้ขาดระยะจนกว่าจะถึงเวลาจำวัตร (นอน) อีก ผู้ปฏิบัติใหม่จะรู้สึกกำหนดยาก แต่เมื่อวิปัสสนาญาณแก่กล้าแล้ว จะเห็นว่าการกำหนดอิริยาบถน้อย-ใหญ่ ทั้งปวงนั้น สามารถกำหนดได้ทันปัจจุบันธรรมดี อิริยาบถบางอิริยาบถ เช่น เวลาทานข้าว อาบน้ำ แปรงฟัง ขณะทำวัตรเช้า-เย็น หรือพูดคุยกัน เป็นต้น ที่ไม่เคยกำหนดได้ทันปัจจุบันธรรม ก็สามารถมีสติกำหนดได้ทันปัจจุบันธรรม คล้ายๆ กับว่าการกำหนดอิริยาบถต่างๆ นั้นเป็นอัตโนมัติในตัวของมันเอง

ข้อควรระวัง
การนอนกำหนดนั้น โยคีผู้ปฏิบัตินั้นไม่ควรใช้ปฏิบัติในเวลากลางวันหรือสลับกับการกำหนดนั่ง ควรใช้กำหนดเฉพาะเวลานอนเท่านั้น เพราะโยคีผู้ปฏิบัติกำหนดอิริยาบถนอนแล้วโดยมากมักเผลอสติหลับไปเสีย

การกำหนดรูปยืน รูปนั่ง รูปนอน เป็นต้น ต้องกำหนดรูปในปัจจุบันขณะนั้น อย่าไปนึกกำหนดรูปที่เป็นอดีต อนาคต ให้กำหนดพิจารณารู้เฉพาะรูปที่เป็นปัจจุบันธรรมในขณะนั้นเท่านั้น.



สรุปวิธีการปฏิบัติ

การเดินจงกรม ให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการที่ยกเท้าขึ้นเหวี่ยงลง ถูกพื้น กำหนดพิจารณารู้อาการของเท้าที่เคลื่อนไหวให้ทันทุกขณะที่ย่างก้าว อย่าเผลอ

การนั่ง ให้มีสติกำหนดพิจารณารู้ความเคลื่อนไหวทุกขณะของท้องว่า ต้นพอง กลางพอง สุดพอง ต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบ อาการของท้องในปัจจุบันนั้นๆว่ามีอาการที่แท้จริงอย่างไร

เวทนา เวทนาทุกอย่างที่เกิดขึ้นทางกายและทางใจ ที่เป็นเหตุให้จิตใจคลาดเคลื่อนจากปัจจุบันธรรม (คือ เวทนาปรากฏชัดมาก) ให้กำหนดพิจารณารู้อาการของเวทนานั้นๆ ให้ทันปัจจุบันธรรมทุกประการ

จิต จิตที่คิดถึงอารมณ์ดี ร้าย ที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ทั้งปวง ที่เป็นเหตุให้จิตใจเขว คลาดเคลื่อนไปจากปัจจุบันธรรมนั้นให้มีสติกำหนด พิจารณารู้ทุกขณะแห่งความคิดที่ผุดขึ้น (คือ พยายามกำหนดให้ทันมากเท่าที่จะมากได้)

อิริยาบถย่อย เล็กๆ น้อยๆ จะต้องถือเป็นสิ่งสำคัญด้วยพยายามให้มีสติตามกำหนดพิจารณารู้อาการของ อิริยาบถนั้นๆ ให้ทันปัจจุบันธรรมตลอดเวลา

เมื่อไม่มีอารมณ์อื่นมารบกวน (คือ ไม่มีอารมณ์อื่นที่ปรากฏชัด) ให้กลับมาภาวนาว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” ต่อไป และเมื่อมีอารมณ์อื่นเกิดขึ้นก็ให้กำหนดรู้อารมณ์ต่างๆ ตามที่กล่าวมา แล้วนั้นไม่ให้ขาดช่วง ไม่ให้ขาดระยะ ไม่ให้มีระหว่าง ให้มีสติกำหนดพิจารณารู้สืบเนื่องติดต่อกันไป ตลอดเวลา เว้นไว้แต่เผลอหรือหลับ

ให้เพิ่มการกำหนดทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นช่องทางเดิน และเป็นบ่อเกิดของบาปธรรมทั้งหลาย มีกิเลสคือราคะ เป็นต้น และเป็นช่องทางเดิน เป็นบ่อเกิดของกุศลธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ตลอดถึงมรรค ผล พระนิพพาน

๑. เวลาตาเห็นรูป ให้ตั้งสติกำหนดพิจารณารู้ไว้ที่ตา ภาวนาว่า “เห็นหนอๆๆ”
๒. เวลาหูได้ยินเสียง ให้ตั้งสติกำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หู ภาวนาว่า “ได้ยินหนอๆๆ”
๓. เวลาจมูกได้กลิ่นให้ตั้งสติกำหนดพิจารณารู้ไว้ที่จมูก ภาวนาว่า “กลิ่นหนอๆๆ”
๔. เวลาลิ้นได้รส ให้ตั้งสติกำหนดพิจารณารู้ไว้ที่ลิ้น ภาวนาว่า “รสหนอๆๆ”
๕. เวลากายถูกต้อง เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ให้ตั้งสติกำหนด พิจารณารู้ไว้ตรงจุดที่กายกระทบ ภาวนาว่า “ถูกหนอๆๆ”
๖. เวลาที่จิตเคลื่อนไหว (คือ มีความคิดเกิดขึ้น) ให้ตั้งสติกำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หทัยวัตถุ (ที่ตรงหัวใจ) ภาวนาว่า “คิดหนอๆๆ”

เวลาเดินจงกรม เดินระยะเดียว คือ

ระยะที่ ๑ ขวา-ย่าง-หนอ ซ้าย-ย่าง-หนอ

ให้เดิน ๓๐ นาที

เวลานั่ง เป็น ๒ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑-๒ พอง-หนอ ยุบ-หนอ

ให้นั่ง ๓๐ นาที

เวลานอน เป็น ๒ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑-๒ พอง-หนอ ยุบ-หนอ

ให้กำหนดพิจารณารู้เช่นนี้จนกว่าจะหลับไป

หมายเหตุ : เมื่อโยคีผู้ปฏิบัติกำหนดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ชัดเจนแล้ว อาการท้องพอง-ยุบ อาจจะไม่ปรากฏชัดเจนก็ได้ แต่ตรงกันข้าม เมื่อโยคีผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดอารมณ์เหล่านี้ชัดเจน แจ่มแจ้งดีแล้ว ก็พึงรู้เถิดว่า สติของโยคีผู้ปฏิบัติสมบูรณ์พอสมควรแก่การจะเป็นไปเพื่อสมาธิ วิปัสสนาญาณ เพื่อบรรลุมรรค ผล พระนิพพาน ในเวลาอันไม่ช้าไม่นานข้างหน้านี้แน่นอน


watpitch.com
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 60.0.3112.90 Chrome 60.0.3112.90


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2560 16:33:35 »




การเดินจงกรม ๒ ระยะ

ให้เพิ่มการเดินจงกรมเป็น ๒ ระยะ ว่า “ยกหนอ-เหยียบหนอ”

ในการปฏิบัติควรเดินจงกรมก่อนทุกครั้ง

เวลาเดิน เป็น ๒ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ
ระยะที่ ๒ ยกหนอ-เหยียบหนอ

ให้เดินระยะละ ๓๐ นาที รวมเป็น ๑ ชั่วโมง

เวลานั่ง เมื่อเดินครบกำหนดเวลาที่ตั้งไว้แล้ว จึงกำหนดเดินไปนั่ง ณ ที่นั่งให้นั่งเป็น ๒ ระยะเหมือนเดิม คือ

ระยะที่ ๑ - ๒ พอง-หนอ ยุบ-หนอ ให้นั่ง ๑ ชั่วโมง

เวลานอน เป็น ๒ ระยะเหมือนเดิม คือ

ระยะที่ ๑ - ๒ พอง-หนอ ยุบ-หนอ

ให้กำหนดพิจารณารู้เช่นนี้จนกว่าจะหลับไป

และให้เพิ่มการกำหนดต้นจิต (หัวใจ) ต้นจิตนั้น ได้แก่ ความอยากนั่นเอง เช่น อยากยืน อยากเดิน อยากนั่ง อยากลุก อยากกิน อยากดื่ม อยากพูด อยากคู้ อยากเหยียด อยากก้ม อยากเงย อยากถ่ายอุจจาระ อยากถ่ายปัสสาวะ อยากอาบน้ำ เป็นต้น

ตัวอย่าง เช่น

เวลาอยากเดิน ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หัวใจ ภาวนาว่า “อยากเดินหนอๆๆ”

เวลาเดิน ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้อาการเดิน ภาวนาว่า “ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอๆๆ”

เวลาอยากนั่ง ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หัวใจ ภาวนาว่า “อยากนั่งหนอๆๆ”

เวลานั่ง ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้อาการนั่ง ภาวนาว่า “นั่งหนอๆๆ”

เวลาอยากลุก ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หัวใจ ภาวนาว่า “อยากลุกหนอๆๆ”

เวลาลุก ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้อาการลุก ภาวนาว่า “ลุกหนอๆๆ”

เวลาอยากทานอาหาร ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หัวใจ ภาวนาว่า “อยากทานหนอๆๆ”

เวลาทานอาหาร ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้อาการทาน ภาวนาว่า “ทานหนอๆๆ” หรือให้มีสติกำหนดพิจารณารู้รสไว้ที่ลิ้น ภาวนาว่า “รสหนอๆๆ”

เวลาอยากดื่ม ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หัวใจ ภาวนาว่า “อยากดื่มหนอๆๆ”

เวลาดื่ม ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้อาการดื่ม ภาวนาว่า “ดื่มหนอๆๆ”

เวลาอยากพูด ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หัวใจ ภาวนาว่า “อยากพูดหนอๆๆ”

เวลาพูด ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้อาการพูด ภาวนาว่า “พูดหนอๆๆ”

เวลาอยากดู ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หัวใจ ภาวนาว่า “อยากดูหนอๆๆ”

เวลาดู ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้อาการดู (ไว้ที่ตา) ภาวนาว่า “ดูหนอๆๆ” หรือภาวนาว่า “เห็นหนอๆๆ” ก็ได้

เวลาอยากคู้ ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หัวใจ ภาวนาว่า “อยากคู้หนอๆๆ”

เวลาคู้ ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้อาการคู้ ภาวนาว่า “คู้หนอๆๆ”

เวลาอยากเหยียด ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หัวใจ ภาวนาว่า “อยากเหยียดหนอๆๆ”

เวลาเหยียด ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้อาการเหยียด ภาวนาว่า “เหยียดหนอๆๆ”

เวลาอยากก้ม ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หัวใจ ภาวนาว่า “อยากก้มหนอๆๆ”

เวลาก้ม ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้อาการก้ม ภาวนาว่า “ก้มหนอๆๆ”

เวลาอยากเงย ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หัวใจ ภาวนาว่า “อยากเงยหนอๆๆ”

เวลาเงย ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้อาการเงย ภาวนาว่า “เงยหนอๆๆ”

เวลาอยากถ่ายอุจจาระ ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หัวใจ ภาวนาว่า “อยากถ่ายหนอๆๆ”

เวลาถ่ายอุจจาระ ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้อาการถ่าย ภาวนาว่า “ถ่ายหนอๆๆ”

เวลาอยากถ่ายปัสสาวะ ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หัวใจ ภาวนาว่า “อยากถ่ายหนอๆๆ”

เวลาถ่ายปัสสาวะ ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้อาการถ่าย ภาวนาว่า “ถ่ายหนอๆๆ”

เวลาอยากอาบน้ำ ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้ไว้ที่หัวใจ ภาวนาว่า “อยากอาบหนอๆๆ” เป็นต้น

เวลาอาบน้ำ ให้เอาสติมากำหนดพิจารณารู้อาการอาบ ภาวนาว่า “อาบหนอๆๆ” เป็นต้น

ข้อสำคัญ

เวลาจะทำอะไรทุกอย่าง ให้กำหนดต้นจิตให้ทันปัจจุบันธรรมอย่าให้ก่อนหรือหลังกัน พยายามที่จะกำหนดให้ทันทุกครั้งไป และขณะนั้นต้องให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการของจิต ที่เป็นปัจจุบันในขณะนั้น พร้อมกับภาวนาตามอาการที่ปรากฏในปัจจุบันนั้นๆ ให้พร้อมกันพอดีๆ อย่างนี้เรื่อยไป

การกำหนด ให้กำหนดทีละอย่าง พยายามกำหนดให้เป็นอิริยาบถเดียว จนจิต คำบริกรรม และอาการแห่งรูปนามนั้นๆ กลมกลืนเป็นอันเดียวกัน ก็จะเป็นเหตุทำให้จิต ดิ่ง นิ่ง มั่นคง แล้วจะพิจารณารู้อาการของรูปนามนั้นๆ จนเป็นเหตุให้เกิดพระไตรลักษณ์ขึ้นมา เมื่อพระไตรลักษณ์เกิดขึ้นมาและแก่สมบูรณ์ดีแล้ว พระไตรลักษณ์ก็จะพาจิตดำเนินเข้าสู่อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ แล้วก็ดับลงไปตรงมรรคญาณ อันเป็นเหตุให้กิเลสดับลงไปด้วย.

อานิสงส์การกำหนดต้นจิต “ความอยาก” โดยย่อ

๑. กำหนดเพื่อละความอยาก คือ ไม่ให้ความอยากเกิดขึ้น

๒. เพื่อตัดกำลังของราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ตัณหา อุปาทาน อวิชชา เป็นต้น ไม่ให้กำเริบ ฟุ้งซ่าน รบกวนจิตใจในขณะปฏิบัติธรรม

๓. เพื่อละตัณหา คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

๔. เพื่อคั่นรูปคั่นนาม แยกรูปนามออกจากกันให้ปรากฏชัด

๕. เพื่อให้จิตเข้าถึงสภาวะที่เป็นธรรมชาติ เป็นกลาง อันเป็นฐาน ที่ถูกต้อง และแท้จริงของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

๖. เพื่อตัดอารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคตให้หมดไป คงปัจจุบันธรรมไว้เท่านั้น

๗. เพื่อละวิปลาสทั้งหลาย มีทิฏฐิวิปลาส เป็นต้น

๘. เพื่อสนับสนุนอุปถัมภ์วิปัสสนาให้สมบูรณ์ได้เร็วยิ่งขึ้น

๙. ทำให้สติสมบูรณ์ เมื่อสติสมบูรณ์ดีแล้ว อินทรีย์ทั้ง ๕ ก็จะสมดุลกันโดยอัตโนมัติ

๑๐. เพื่อทำองค์ของผู้ปฏิบัติให้ครบองค์ ๓ คือ อาตาปี สติมา สัมปชาโน

๑๑. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติรู้ทันกระบวนการของจิต





การเดินจงกรม ๓ ระยะ

ให้เพิ่มการเดินจงกรมเป็น ๓ ระยะ การนั่งเป็น ๓ ระยะ และการนอนเป็น ๓ ระยะ เมื่อต่อเข้ากับบทเดิมก็จะได้วิธีปฏิบัติ ดังนี้

เวลาเดินจงกรม เป็น ๓ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ

ระยะที่ ๒ ยกหนอ-เหยียบหนอ

ระยะที่ ๓ ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ

ให้เดินระยะที่ ๑ และที่ ๒ ระยะละ ๑๕ นาที ระยะที่ ๓๐ นาที รวม ๑ ชั่วโมง

เวลานั่ง เป็น ๓ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ – ๒ พอง-หนอ ยุบ-หนอ

ระยะที่ ๓ พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ

ให้นั่ง ๑ ชั่วโมง

เวลานอน เป็น ๓ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ – ๒ พอง-หนอ ยุบ-หนอ

ระยะที่ ๓ พองหนอ-ยุบหนอ-นอนหนอ

(ให้กำหนดพิจารณารู้อาการอยู่อย่างนี้จนกว่าจะหลับไป)

หมายเหตุ : ในขณะกำหนดว่า “ยุบหนอ” นั้น ท้องของโยคีผู้ปฏิบัติใด ยุบลงไปจนถึงคำว่าหนอ แล้วยังไม่พองขึ้นมาง่ายคล้ายๆ กับว่าท้องพอง-ยุบ นั้นห่างไกลกันนัก (ผู้มีปอดใหญ่ใจยาว) ในกรณีเช่นนี้ ให้เพิ่ม คำว่า “นั่งหนอ” เข้าไปอีกก็ได้ และในขณะที่กำหนดว่า “นั่งหนอ” ให้สำเหนียกดูอิริยาบถอาการของรูปนั่งที่ปรากฏในใจของเรา (มโนภาพ) เหมือนเรา ส่องกระจกประมาณแวบหนึ่ง หรือเท่ากับประมาณของสายฟ้าแลบ จากนั้นท้องจึงพองขึ้นมา คือ ในขณะท้องยุบลงนั้น กำหนด ๒ คำ คือ “ยุบหนอ-นั่งหนอ” เสร็จแล้วท้องจึงพองขึ้นมา

ส่วนขณะกำหนดว่า “นอนหนอ” นั้น ให้สำเหนียกดูอิริยาบถอาการของรูปนอนที่ปรากฏอยู่ในใจของเรา เหมือนอย่างสำเหนียกดูรูปนั่งนั่นแล





การเดินจงกรม ๔ ระยะ

ให้เพิ่มการเดินจงกรม เป็น ๔ ระยะ การนั่ง เป็น ๔ ระยะ การนอน เป็น ๔ ระยะ เมื่อต่อเข้ากับบทเดิม ก็จะได้วิธีปฏิบัติดังนี้ คือ

เวลาเดินจงกรม เป็น ๔ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ

ระยะที่ ๒ ยกหนอ-เหยียบหนอ

ระยะที่ ๓ ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ

ระยะที่ ๔ ยกส้นหนอ-ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ

ให้เดินระยะละ ๑๕ นาที รวมเป็น ๑ ชั่วโมง

เวลานั่ง เป็น ๔ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ – ๒ พอง-หนอ ยุบ-หนอ

ระยะที่ ๓ พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ

ระยะที่ ๔ พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ

(หมายเอาถูกก้นย้อยด้านขวาและซ้าย)

ให้นั่ง ๑ ชั่วโมง

เวลานอน เป็น ๔ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ – ๒ พอง-หนอ ยุบ-หนอ

ระยะที่ ๓ พองหนอ-ยุบหนอ-นอนหนอ

ระยะที่ ๔ พองหนอ-ยุบหนอ-นอนหนอ-ถูกหนอ

(หมายเอาถูกที่ศีรษะด้านขวา)

ให้กำหนดพิจารณารู้เช่นนี้จนกว่าจะหลับไป

หมายเหตุ : ในการกำหนด พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ ในขณะกำหนดว่า “นั่งหนอ” นั้น ท้องของโยคีผู้ปฏิบัติใดยุบลงไปถึงคำว่า “นั่งหนอ” แล้วท้องยังไม่พองขึ้นมาง่าย ยังทิ้งระยะห่างอยู่ ก็ให้เพิ่มคำว่า “ถูกหนอ” เข้าไป อีกก็ได้ แต่ถ้าโยคีผู้ปฏิบัติกำหนดเพียง “พองหนอ-ยุบหนอ” สามารถทันปัจจุบันธรรมดี ไม่เผลอ สติเป็นไปติดต่อดี สมาธิก่อตัวดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องเพิ่มคำว่า “นั่งหนอ-ถูกหนอ” ก็ได้ สำหรับคนมีอายุมาก คนแก่เฒ่า หรือเด็กๆ ก็ไม่ควรเพิ่มการเดินจงกรม จะใช้เพียงระยะที่ ๑ “ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ” เวลานั่งจะใช้เพียง “พองหนอ ยุบหนอ” ก็สมบูรณ์ดีทุกประการ สามารถจะบรรลุ มรรค ผล พระนิพพาน ได้สมตามความปรารถนาตามปัจจัยนั้นๆ อันควรแก่เหตุ บุคคลบางท่านเพิ่มบทกรรมฐานเข้าแล้ว กำหนดไม่ได้ปัจจุบันธรรม ไม่ได้ผลดีก็มี บุคคลบางท่านเพิ่มบทกรรมฐานเข้าแล้วได้ผลดีและได้ผลอย่างรวดเร็วก็มี ผู้ปฏิบัติต้องรู้จักความพอดีของตนๆ

ส่วนคำว่า “หนอ”นี้ หมายความว่า ถูกที่ก้นย้อยด้านขวาและซ้ายรวม ๒ จุด คือ ให้เอาสติกำหนดพิจารณารู้ลงไปตรงส่วนของกันย้อยด้านขวาที่ถูกกับพื้นพร้อม กับภาวนาว่า “ถูกหนอ” ก่อน และก็ตามด้วยด้านซ้าย เช่น

พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ (ก้นย้อยด้านขวา)

พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ (ก้นย้อยด้านซ้าย)

และคำว่า “ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ” ทั้ง ๓ นี้ ต้องอยู่ในขณะที่ท้องยุบลงครั้งเดียวกัน คือ เมื่อกำหนดคำว่า "ยุบหนอ” ท้องยุบลงไป เมื่อถึงสุดยุบแล้วท้องยังไม่พองขึ้นมาในขณะนั้น ให้กำหนดเห็นอาการของรูปนั่งแวบหนึ่งพร้อมกับภาวนาว่า “นั่งหนอ” แล้วก็ภาวนาคำว่า “ถูกหนอ” ต่อ เสร็จแล้วท้องจึงพองขึ้นมา.


watpitch.com

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กันยายน 2560 10:33:54 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 60.0.3112.113 Chrome 60.0.3112.113


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 01 กันยายน 2560 11:39:48 »




การเดินจงกรม ๕ ระยะ

ให้เพิ่มการเดินจงกรมเป็น ๕ ระยะ การนั่งเป็น ๕ ระยะ และการนอนเป็น ๕ ระยะ เมื่อต่อเข้ากับบทเดิมก็จะได้วิธีปฏิบัติ ดังนี้

เวลาเดินจงกรม เป็น ๕ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ

ระยะที่ ๒ ยกหนอ-เหยียบหนอ

ระยะที่ ๓ ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ

ระยะที่ ๔ ยกส้นหนอ-ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ

ระยะที่ ๕ ยกส้นหนอ-ยกหนอ-ย่างหนอ-ลงหนอ-ถูกหนอ

ให้เดินระยะที่ ๑ – ๔ ระยะละ ๑๐ นาที เดินระยะ ๕, ๒๐ นาที รวมเป็น ๑ ชั่วโมง

เวลานั่ง เป็น ๕ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ – ๒ พอง-หนอ ยุบ-หนอ

ระยะที่ ๓ พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ

ระยะที่ ๔ พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ

(หมายเอาถูกก้นย้อยด้านขวาและซ้าย)

ระยะที่ ๕ พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ

(หมายเอาถูกเข่าด้านขวาและซ้าย)

ให้นั่ง ๑ ชั่วโมง

เวลานอน เป็น ๕ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ – ๒ พอง-หนอ ยุบ-หนอ

ระยะที่ ๓ พองหนอ-ยุบหนอ-นอนหนอ

ระยะที่ ๔ พองหนอ-ยุบหนอ-นอนหนอ-ถูกหนอ

(หมายเอาถูกศีรษะด้านขวา)

ระยะที่ ๕ พองหนอ-ยุบหนอ-นอนหนอ-ถูกหนอ

(หมายเอาถูกสะโพกด้านขวา)

ให้กำหนดพิจารณารู้เช่นนี้จนกว่าจะหลับไป






การเดินจงกรม ๖ ระยะ

ให้เพิ่มการเดินจงกรมเป็น ๖ ระยะ การนั่งเป็น ๖ ระยะ และการนอนเป็น ๖ ระยะ เมื่อต่อเข้ากับบทเดิมก็จะได้วิธีปฏิบัติ ดังนี้

เวลาเดินจงกรม เป็น ๖ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ

ระยะที่ ๒ ยกหนอ-เหยียบหนอ

ระยะที่ ๓ ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ

ระยะที่ ๔ ยกส้นหนอ-ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ

ระยะที่ ๕ ยกส้นหนอ-ยกหนอ-ย่างหนอ-ลงหนอ-ถูกหนอ

ระยะที่ ๖ ยกส้นหนอ-ยกหนอ-ย่างหนอ-ลงหนอ-ถูกหนอ-กดหนอ

ให้เดินระยะละ ๑๐ นาที รวมเป็น ๑ ชั่วโมง

เวลานั่ง เป็น ๖ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ – ๒ พอง-หนอ ยุบ-หนอ

ระยะที่ ๓ พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ

ระยะที่ ๔ พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ

(หมายเอาถูกก้นย้อยด้านขวาและซ้าย)

ระยะที่ ๕ พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ

(หมายเอาถูกเข่าด้านขวาและซ้าย)

ระยะที่ ๖ พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ

(หมายเอาถูกตาตุ่มด้านขวาและซ้าย)

ให้นั่ง ๑ ชั่วโมง

เวลานอน เป็น ๖ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ – ๒ พอง-หนอ ยุบ-หนอ

ระยะที่ ๓ พองหนอ-ยุบหนอ-นอนหนอ

ระยะที่ ๔ พองหนอ-ยุบหนอ-นอนหนอ-ถูกหนอ

(หมายเอาถูกศีรษะด้านขวา)

ระยะที่ ๕ พองหนอ-ยุบหนอ-นอนหนอ-ถูกหนอ

(หมายเอาถูกสะโพกด้านขวา)

ระยะที่ ๖ พองหนอ-ยุบหนอ-นอนหนอ-ถูกหนอ

(หมายเอาถูกตาตุ่มด้านขวา)

ให้กำหนดพิจารณารู้เช่นนี้จนกว่าจะหลับไป

หมายเหตุ : การนั่งให้เพิ่มคำว่า “ถูกหนอ” อีก ๖ จุดนั้น ต้องหมุนเวียนกันไปตั้งแต่จุดแรกคือ ถูกก้นย้อยด้านขวาเรื่อยไปจนถึงจุดสุดท้ายคือตาตุ่มด้ายซ้าย แล้วจึงเวียนมาเริ่มจุดแรกอีก เวียนกลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ เรื่อยไป คือ

๑. พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ (ถูกก้นย้อยด้านขวา)

๒. พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ (ถูกก้นย้อยด้านซ้าย)

๓. พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ (ถูกเข่าด้านขวา)

๔. พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ (ถูกเข่าด้านซ้าย)

๕. พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ (ถูกตาตุ่มขวา)

๖. พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ (ถูกตาตุ่มซ้าย)

เมื่อโยคีผู้ปฏิบัติดำเนินตามปฏิปทาดังที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้นให้ครบบริบูรณ์ดีแล้ว สติที่กำหนดพิจารณารู้รูปนามก็จะเป็นไปโดยต่อเนื่อง สมาธิก็จะก่อตัวมีกำลังเต็มที่ วิปัสสนาญาณเป็นฐานะที่ถึงภาวะความแก่รอบเต็มที่ คือ วิปัสสนาญาณมาถึงญาณที่ ๑๑ (สังขารุเปกขาญาณ) แล้ว ก็ถือว่าเป็นจุดสุดยอดของญาณโลกีย์ต้องให้ผู้ปฏิบัติรักษาอารมณ์ไว้ไม่ให้ เสื่อมถ้ากำลังของญาณมีเพียงพอเมื่อไร ก็จะเข้าสู่อารมณ์พระนิพพานเลย ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติพึงเป็นผู้ไม่ประมาท ให้ตั้งใจปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ระมัดระวังอย่าให้เผลอสติให้มากเท่าที่จะมากได้ ผู้ปฏิบัติก็จะเป็นผู้ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ใกล้พระนิพพาน และเป็นผู้ไม่ควรเสื่อมจากพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ โดยประการทั้งปวงอย่างแน่นอน.


watpitch.com
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 60.0.3112.113 Chrome 60.0.3112.113


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 21 กันยายน 2560 11:55:02 »



พิเศษ สำหรับพระวิปัสสนาจารย์

เริ่มปฏิบัติระยะแรกนั้นให้เดินจงกรมระยะที่ ๑ นั่งกำหนดภาวนาว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” ไปก่อน จนกว่าญาณที่ ๑ (นามรูปปริเฉทญาณ) เกิดขึ้น และอบรมจนแก่กล้า เป็นเหตุให้อารมณ์ก้าวขึ้นสู่ญาณที่ ๒ (ปัจจยปริคคหญาณ)

เมื่อพระวิปัสสนาจารย์รู้ว่าญาณที่ ๒ เกิดขึ้นแล้ว ให้เพิ่มการเดินจงกรมเป็นระยะที่ ๒ ส่วนการนั่งและนอน กำหนดภาวนาเพียง “พองหนอ-ยุบหนอ” เหมือนเดิม แต่ให้กำหนดต้นจิต (คือ ความอยาก) เสียก่อน เพื่อจะให้ญาณที่ ๒ แก่กล้าและสมบูรณ์แบบ เช่น เวลาอยากจะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด อยากจะทำกิจอะไร ๆ ก็ตาม ให้กำหนดต้นจิตภาวนาว่า “อยากยืนหนอ, อยากทำหนอ” เป็นต้นเสียก่อน

เมื่อรู้ว่าอารมณ์ขึ้นสู่ญาณที่ ๓ (สัมมสนญาณ) แล้ว ให้เดินจงกรมระยะที่ ๓ นั่งระยะที่ ๓ นอนระยะที่ ๓

เมื่อรู้ว่าอารมณ์ขึ้นสู่ญาณที่ ๔-๕ (อุทยัพยญาณ-ภังคญาณ) แล้ว ให้เดินจงกรมระยะที่ ๔ นั่งระยะที่ ๔ นอนระยะที่ ๔

เมื่อรู้ว่าอารมณ์ขึ้นสู่ญาณที่ ๖-๗-๘ (ภยตูปัฏฐาณญาณ-อาทีนวญาณ-นิพพิทาญาณ) แล้ว ให้เดินจงกรมระยะที่ ๕ นั่งระยะที่ ๕ นอนระยะที่ ๕

เมื่อรู้ว่าอารมณ์ขึ้นสู่ญาณที่ ๙-๑๐-๑๑ (มุญจิตุกัมยตาญาณ-ปฏิสังขาญาณ-สังขารุเปกขาญาณ) แล้ว ให้เดินจงกรมระยะที่ ๖ นั่งระยะที่ ๖ นอนระยะที่ ๖



การอธิษฐานจิต

เมื่อโยคีผู้ปฏิบัติมีสติกำหนดรู้รูปนาม รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทันปัจจุบันธรรมสมบูรณ์ดีแล้ว สภาวธรรมปรากฏชัดเจน แจ่มแจ้งและวิปัสสนาญาณถึงความบริบูรณ์เต็มที่ คือ ญาณที่ ๑๑ แก่รอบแล้ว พึงให้อธิษฐานดังต่อไปนี้

วันที่ ๑
ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑ – ๖ ระยะละ ๑๐ นาที รวม ๑ ชั่วโมงก่อนนั่ง ให้ตั้งนะโม ๓ จบ อธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ธรรมวิเศษที่เกิดขึ้นแล้ว ขออย่าได้เกิดอีก ธรรมวิเศษเบื้องสูงที่ยังไม่เกิด ขอจงให้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าภายใน ๒๔ ชั่วโมงนี้”

หมายเหตุ : เมื่ออธิษฐานแล้วให้นั่งภาวนาว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” หรือจะนั่งกี่ระยะก็ได้ ตามสมควรแก่ความถนัด และพอเหมาะกับอุปนิสัยของตน และอย่าอุปาทานในคำอธิษฐาน อย่าคิด ถ้าคิดให้รีบกำหนดจิตทันทีอย่าให้จิตเหม่อไปตาม นิมิต เหม่อไปตามอาการต่างๆ เช่น เหม่อไปตามเวทนา เป็นต้น อย่าตั้งใจแรงเกินไป เพราะจะทำให้ประสาทแข็ง ให้ตั้งใจไว้เป็นกลางๆ พยายามหาที่นั่งในที่โล่งๆ อากาศถ่ายเทสะดวก เมื่อนั่งครบ ๑ ชั่วโมงแล้ว ก็ให้ลุกเดินจงกรมอีก นั่งสลับกันไปอีกจนครบ ๒๔ ชั่วโมง และในอภิรักขิตสมัยเช่นนี้ พึงตั้งจิตระวังใจสำรวมอิริยาบถน้อยใหญ่ (มียืน เดิน คู้ เหยียด เป็นต้น) พยายามให้มีสติในทุกอิริยาบถ ขยันหมั่นอดทน เข้มแข็งในการกำหนด ตั้งใจจริง ปฏิบัติจริง เอาชีวิตเป็นเดิมพัน มอบชีวิตทั้งชีวิตฝากไว้กับการปฏิบัติ และถวายชีวิตเป็นปฏิบัติบูชาต่อพระบรมศาสดา เพื่อข่มอุปาทานทั้งปวง เป็นผู้ไม่มีอาลัยในชีวิต แล้วทำจิตให้มั่นคง แน่วแน่เด็ดเดี่ยวในการเดินจงกรม ในการนั่ง และในมหาสมัยเช่นนี้ ควรพูดพอดี ฉันพอดีนอนพอดี ปฏิบัติพอดี วันหนึ่งควรนอนไม่เกิน ๔ ชั่วโมง (ถ้าโยคีผู้ปฏิบัติมีสภาวะธรรมปรากฏชัด มีร่างกายสมบูรณ์ดี ไม่ควรนอนตลอด ๒๔ ชั่วโมง) ปฏิบัติไปอย่างนี้จนครบ ๒๔ ชั่วโมง จึงต่อบทอธิษฐานที่ ๒ ได้

วันที่ ๒
ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑-๖ เดินระยะละ ๑๐ นาที รวม ๑ ชั่วโมง อธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๒๔ ชั่วโมงนี้ ขอให้ความเกิดดับ จงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ” และทำจิตให้มั่นคง ตั้งมั่นเช่นวันที่หนึ่ง นั่งและเดินสลับกันไปจนครบ ๒๔ ชั่วโมง จึงต่อบทอธิษฐานที่ ๓ ได้ (ผู้มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดีไม่ควรนอนตลอด ๒๔ ชั่วโมง)

วันที่ ๓
ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑-๖ เดินระยะละ ๑๐ นาที รวม ๑ ชั่วโมง อธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๑ ชั่วโมงนี้ ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ” ทำจิตให้ตั้งมั่น เช่น วันที่หนึ่ง นั่งและเดินสลับกันไปจนครบ ๒๔ ชั่วโมง (คือ ถึงเวลาพักผ่อนให้พักผ่อนตามปกติ ตื่นขึ้นมาแล้วให้ปฏิบัติต่อจนกว่าจะครบ ๒๔ ชั่วโมง) จึงต่อบทอธิษฐานที่ ๔ ได้

วันที่ ๔
ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑-๖ เดินระยะละ ๑๐ นาที รวม ๑ ชั่วโมงอธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๓๐ นาทีนี้ ขอให้ความเกิดดับ จงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ” นั่งและเดินสลับกันไปจนครบ ๒๔ ชั่วโมง (คือ ถึงเวลาพักผ่อนให้พักผ่อนตามปกติ ตื่นขึ้นมาแล้วให้ปฏิบัติต่อจนกว่าจะครบ ๒๔ ชั่วโมง) จึงต่อบทอธิษฐานที่ ๕ ได้

หมายเหตุ : เดิน ๑ ชั่วโมง แล้วนั่งอธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๓๐ นาทีนี้ ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ” เมื่อนั่งไปครบ ๓๐ นาที แล้วให้อธิษฐานจิตต่ออีกว่า “ภายใน ๓๐ นาทีนี้ ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ” โดยไม่ลุกจากที่ รวมเป็นนั่ง ๑ ชั่วโมงพอดี

วันที่ ๕
ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑ – ๖ เดินระยะละ ๕ นาที รวม ๓๐ นาที อธิษฐานจิตว่า

“สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๑๕ นาทีนี้ ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”

“สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๑๐ นาทีนี้ ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”

“สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๕ นาทีนี้ ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”

นั่งและเดินสลับกันไปจนครบ ๒๔ ชั่วโมง (คือ ถึงเวลาพักผ่อนให้พักผ่อนตามปรกติ ตื่นขึ้นมาแล้วให้ปฏิบัติต่อจนกว่าจะครบ ๒๔ ชั่วโมง) จึงต่อบทอธิษฐานที่ ๖ ได้

หมายเหตุ : เดินจงกรม ๓๐ นาที แล้วอธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๑๕ นาทีนี้ ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ” เมื่อนั่งครบ ๑๕ นาที แล้วให้อธิษฐานจิตต่ออีกว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๑๐ นาทีนี้ ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ” เมื่อนั่งครบ ๑๐ นาที แล้วให้อธิษฐานจิตต่อไปอีกว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๕ นาทีนี้ ขอให้ความเกิดดับจงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ” เมื่อนั่งครบ ๕ นาที เป็นอันว่า นั่งครบ ๓๐ นาทีพอดี

วันที่ ๖
ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑-๖ เดินระยะละ ๑๐ นาที รวม ๑ ชั่วโมง อธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๑ ชั่วโมงนี้ ขอให้สมาธิจิตข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป ๕ นาที เป็นอย่างน้อย”

ข้อสำคัญ บทนี้ต้องเดินให้นาน นั่งให้นาน จึงจะได้ผลดี ถ้าเดิน ๑ ชั่วโมง นั่ง ๑ ชั่วโมง ยังทำไม่ได้ ให้เดิน ๒ ชั่วโมง นั่ง ๒ ชั่วโมง ถ้ายังทำไม่ได้อีก ให้เดิน ๓ ชั่วโมง นั่ง ๓ ชั่วโมง เป็นต้น เพราะบทนี้ต้องการสมาธิมากกว่าบทอื่นเป็นพิเศษ

ถ้าสมาธิจิตดับแน่นิ่งไปได้ ๕ นาที แล้วคราวต่อไปให้อธิษฐาน เพิ่มเป็น ๑๐ นาที ๑๕ นาที ๓๐ นาที ๑, ๒, ๓,....๒๔....๔๘....๗๒ ชั่วโมง เป็นต้น แล้วแต่ละประเภทของแต่ละบุคคลว่ามีความขยัน เข้มแข็ง อดทน และความเป็นผู้มีสมาธิดี มีบุญญาธิการที่ได้ทำไว้ยิ่งหย่อนต่างกันอย่างไร

หมายเหตุ : ในการอธิษฐานจิตแล้วไม่ควรกังวล ในจำนวนเวลามากน้อยที่ตนกำหนดไว้ ไม่ควรตั้งหน้าตั้งตารอคอยว่า เมื่อไรจิตของเราจะดับสนิทแน่นิ่งไปสักที แต่พึงให้สำเหนียกตั้งใจจดจ่อในการกำหนดรูปนาม เพื่อจะให้เห็นความเกิดขึ้น และความดับของรูปนามปรากฏชัดเจน แจ่มแจ้ง เมื่อโยคีผู้ปฏิบัติกำหนดได้อย่างนี้ วิปัสสนาก็ถึงความแก่กล้ามีกำลังมาก แล้วก็จะพัฒนาตัวมันเองให้เจริญขึ้นโดยลำดับจนถึงสังขารุเปกขาญาณ และเมื่อสังขารุเปกขาญาณแก่รอบเต็มที่แล้ว จิตที่พิจารณาวิปัสสนาญาณมาโดยลำดับตลอดเวลาอย่างนี้ ก็จะละอารมณ์เดิม (เก่า) มุ่งตรงสู่อารมณ์ใหม่นั้นก็คือความที่จิตดับสนิทแน่นิ่งไป ใจก็ไม่รู้ หูก็ไม่ได้ยิน นิมิตทั้งปวง มีรูปนิมิต เวทนานิมิต สัญญานิมิต สังขารนิมิต และวิญญาณนิมิต ก็ไม่ปรากฏในขณะนั้น คล้ายๆ กับว่าปราศจากสังขารโดยประการทั้งปวงแล

หลักวิธีปฏิบัติที่จะทำให้เข้าสมาธิ หรือเข้าฌานได้นานๆพึงปฏิบัติดังต่อไปนี้

๑) เมื่อโยคีผู้ปฏิบัติธรรมคนใดสามารถเข้าสมาธิ หรือเข้าฌานได้ครบ ๑ ชั่วโมงแล้ว ถ้ามีความประสงค์จะฝึกเข้าฌาน ให้จิตแช่อยู่ในอารมณ์ของเรือนแก้ว คือฌานนั้นให้นานยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อจะให้สำเร็จประโยชน์อันตนพึงประสงค์จากสมาธิหรือฌานเป็นต้นนั้น ให้ฝึกเข้าสมาธิให้ได้ ๑ ชั่วโมงเสียก่อนแล้วฝึกให้ชำนิชำนาญจนสามารถเข้าได้ตามต้องการ ออกได้ตามต้องการไม่ให้ออกก่อน และไม่ให้เลยเวลา และเมื่อสามารถทำได้ครบ ๑ ชั่วโมง สมบูรณ์ดีอย่างนี้แล้ว วันหลัง (วันถัดมา) ให้เดินจงกรมให้ครบ ๑ ชั่วโมง แล้วนั่งอธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป ๒ ชั่วโมง”

๒) เมื่อสามารถทำได้ครบตามกำหนด ๒ ชั่วโมง สมบูรณ์ดีอย่างที่กล่าวมาในข้อ ๑ แล้ว ให้หล่อเลี้ยงสมาธิ (รักษาสมาธิ) ไว้ ๒ วัน ด้วยการรักษาสติ อารมณ์ไว้ โดยการกำหนดสติให้ทันปัจจุบันธรรม ตัดอารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคตทิ้ง เรียกว่า สำรวมอินทรีย์ และทำความเพียรให้เป็นไปโดยติดต่อตามปกติธรรมดาอย่าให้ความเพียรย่อหย่อน หรือขาดระยะแต่ยังไม่ให้อธิษฐาน

๓) เมื่อเลี้ยงสมาธิไว้ครบตามกำหนด ๒ วันแล้ววันหลังให้เดินจงกรม ๑ ชั่วโมง แล้วนั่งอธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป ๓ ชั่วโมง” เมื่อสามารถทำได้ครบตามกำหนด ๓ ชั่วโมงสมบูรณ์ดีแล้ว ให้หล่อเลี้ยงสมาธิไว้ ๔ วัน โดยรักษาสติอารมณ์ ทำความเพียรให้เป็นไปโดยติดต่อปฏิบัติไปตามปกติธรรมดา เหมือนข้อ ๒

๔) เมื่อเลี้ยงสมาธิไว้ครบตามกำหนด ๔ วันสมบูรณ์ดีแล้ว ให้เริ่มปฏิบัติต่อได้ โดยเดินจงกรม ๑ ชั่วโมง แล้วนั่งอธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป ๖ ชั่วโมง” เมื่อสามารถทำได้ครบตามกำหนด ๖ ชั่วโมงสมบูรณ์ดีแล้ว ให้หล่อเลี้ยงสมาธิไว้ ๕ วัน โดยรักษาสติอารมณ์ไว้ ปฏิบัติไปตามปกติธรรมดา เหมือนข้อ ๒

๕) เมื่อเลี้ยงสมาธิไว้ครบตามกำหนด ๕ วันสมบูรณ์ดีแล้ว ให้เริ่มปฏิบัติต่อได้ โดยเดินจงกรม ๑ ชั่วโมง แล้วนั่งอธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป ๑๒ ชั่วโมง” เมื่อสามารถทำได้ครบตามกำหนด ๑๒ ชั่วโมงสมบูรณ์ดีแล้วให้หล่อเลี้ยงสมาธิไว้ ๗ วัน โดยรักษาสติอารมณ์ไว้ ปฏิบัติไปตามปกติธรรมดาเหมือนข้อ ๒

๖) เมื่อเลี้ยงสมาธิไว้ครบตามกำหนด ๗ วันสมบูรณ์ดีแล้วให้เริ่มปฏิบัติต่อได้ โดยเดินจงกรม ๑ ชั่วโมง แล้วนั่งอธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป ๒๔ ชั่วโมง” แล้วนั่งสมาธิไปจนครบ ๒๔ ชั่วโมง

เมื่อสามารถทำได้ครบตามกำหนด ๒๔ ชั่วโมงสมบูรณ์ดีแล้วพยายามฝึกให้ชำนิชำนาญ ให้เข้าได้ตามต้องการ ออกได้ตามต้องการไม่ให้ออกก่อนและไม่ให้เลยเวลา เมื่อทำบ่อยๆ จนชำนิชำนาญได้ที่แล้ว นั่งเข้าสมาธิไป ๒๔ ชั่วโมง ก็เท่ากับเราเข้าสมาธิไปแค่ ๕ นาที เมื่อชำนาญในการเข้าการทรงอยู่ในสมาธิ และการออกจากสมาธิสมบูรณ์ดีแล้ว หากปรารถนาจะฝึกเข้าสมาธิ ๓ วัน, ๔ วัน, ๕ วัน หรือครบ ๗ วัน ก็ให้ปฏิบัติเหมือนดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ให้เลี้ยงสมาธิไว้ให้นานๆ หน่อย คือ ๑๕ วัน หรือ ๑ เดือน พยายามหาเวลาอธิษฐานเข้าสมาธินานๆ ตามเวลาที่ตนต้องการสักครั้งหนึ่ง

สมาธินี้ต้องฝึกเข้าบ่อยๆ ฝึกออกบ่อยๆ เพื่อให้ได้ความละเอียดอ่อนของสมาธิ และความคล่องแคล่วชำนาญในวสีทั้ง ๕ คือ ชำนาญในการนึก ชำนาญในการเข้า ชำนาญในการอธิษฐาน ชำนาญในการออก ชำนาญในการพิจารณา เมื่อสามารถทำได้อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็จะเป็นเหตุให้จิตของผู้นั้นมีพลัง มีอำนาจ มีอานุภาพ มีสมรรถนะสูง พร้อมที่จะยังประโยชน์ให้เกิดขึ้น และใช้ให้สำเร็จประโยชน์ตามความประสงค์ที่ตนอธิษฐานจิตไว้ ตามเหตุตามปัจจัยแห่งกำลังสมาธิของตนๆ





วิธีออกจากการภาวนา (สมาธิ)

เมื่อโยคีผู้ปฏิบัตินั่งภาวนา (สมาธิ) ไปจนครบเวลาที่ตนกำหนดไว้แล้วก่อนที่จะออกจากการภาวนาหรือออกจากสมาธิให้ โยคีผู้ปฏิบัตินั้นกำหนดต้นจิตว่า “อยากออกหนอๆๆ” อย่างน้อย ๓ ครั้ง เสียก่อน เพื่อให้จิตของโยคีนั้นคลายออกจากสมาธิ คลายจากปีติและปัสสัทธิเสียก่อน

เมื่อกำหนดจิตแล้วอย่าเพิ่งลืมตาให้สังเกตดูว่าร่างกาย ของตนยังแข็งอยู่ด้วยอำนาจของปัสสัทธิหรือว่าซาบซ่านอยู่ด้วยอำนาจของปีติ ธรรมอยู่หรือไม่ ถ้าร่างกายยังมีอาการเช่นนั้นอยู่ ให้โยคีนั้นทดลองกระดิกนิ้วมือข้างขวาดูเสียก่อนว่า เราสามารถกระดิกได้หรือไม่ ถ้ากระดิกยังไม่ได้ก็ให้กลับไปกำหนดต้นจิตว่า “อยากออก หนอๆๆ” สัก ๓ ครั้งอีก

ถ้าร่างกายยังมีอาการแข็งเหมือนเช่นนั้นอยู่ ก็ให้กลับไปกำหนดต้นจิตอีกว่า “อยากลืมตาหนอๆๆ” สัก ๓ ครั้ง แล้วตั้งสติไว้ที่ตา กำหนดว่า “ลืมตาหนอๆๆ” แล้วค่อยๆ ลืมตาขึ้นๆ เมื่อลืมตาขึ้นแล้ว อย่าหลับตาลงอีก (ถ้าหลับตาอีก ก็มักจะเข้าสมาธิไปอีก) ให้กลับไปกำหนดต้นจิตอีกว่า “อยากออกหนอๆๆ”

ถ้าร่างกายยังมีอาการแข็งอยู่เป็นต้น ก็ให้กระดิกดูนิ้วมือ อีกเสียก่อน อย่ารีบร้อนมากเกินไป พยายามให้ค่อยเป็นค่อยไปตามเหตุตามปัจจัยอันสมควร เสียก่อน เมื่อกระดิกนิ้วมือได้แล้ว ให้ค่อยๆ ดึงมือขวาออกพร้อมกับบริกรรมว่า “ออกหนอๆๆ” จากนั้นให้สำเหนียกพิจารณารู้ตามอาการของกายที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันขณะนั้นให้ เห็นอาการของแขนขวาที่เราค่อยๆ ยกไปวางคว่ำหน้ามือลงที่เข่าขวาจากนั้นให้ค่อยๆ ดึงมือซ้ายออกไปวางคว่ำหน้ามือลงที่เข่าซ้าย

จากนั้นให้ยกมือขวามาจับเท้าขวา เอาเท้าขวาลงจากขาซ้าย แล้วดันเท้าขวาเข้าไปใต้ขาด้านซ้าย แล้วขาของเราก็จะอยู่ในท่าขัดสมาธิ จากนั้นก็เอามือขวากลับมาวางไว้บนเข่าขวาอีก แล้วใช้มือทั้ง ๒ ข่มเข่าทั้ง ๒ ข้างขึ้นพร้อมกับยกตัวขึ้น (เมื่อยกตัวขึ้นแล้ว ก็เอาขาทั้ง ๒ ข้างที่ไขว้กันอยู่ด้านหลังนั้นออกแล้วนั่งทับส้นลงไป จะอยู่ในท่านั่งคุกเข่า จากนั้นก็กำหนดต้นจิตว่า “อยากยืนหนอๆๆ” สัก ๓ ครั้งแล้ว ค่อยๆ กำหนดยืนขึ้นๆๆ พร้อมกับบริกรรมว่า “ยืนหนอๆๆ” จนกว่าจะยืนเรียบร้อย และเตรียมเดินจงกรมในลำดับต่อไป

หมายเหตุ : ถ้าในขณะที่โยคีออกจากสมาธินั้น สมาธิ ปีติ หรือปัสสัทธิไม่มากร่างกายไม่แข็ง เมื่อกำหนดต้นจิตว่า “อยากออกหนอๆๆ” ๓ ครั้งแล้วก็ให้กำหนดว่า “ออกหนอๆๆ” พร้อมกับการกำหนดดึงเอามือขวาไปวางไว้ที่เข่าขวา และมือซ้ายไปวางไว้ที่เข่าซ้ายให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วค่อยกำหนดต้นจิตว่า “อยากลืมตาหนอๆๆ” จากนั้นให้ตั้งสติไว้ที่ตา กำหนดว่า “ลืมตาหนอๆๆ” แล้วกำหนดพิจารณาอาการของการลืมตาไปตามลำดับๆ

ในขณะที่กำหนดออกอยู่นั้น ให้มีสติกำหนดพิจารณาดูอาการที่เป็นปัจจุบันที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้นๆ ให้เห็นอาการของการเคลื่อนไหวนั้นๆ ให้ชัดเจนแจ่มแจ้งทันปัจจุบันธรรมเป็นขณะๆ ไป ก็ชื่อว่าเรากำหนดออกจากสมาธิโดยถูกต้องสมบูรณ์ดีแล้ว

อานิสงส์แห่งการบำเพ็ญสมาธิ
๑.มีทิฏฐธรรมสุขวิหาร (มีความสุขในปัจจุบัน) เป็นอานิสงส์
๒.มีวิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งแทงตลอด) เป็นอานิสงศ์
๓.มีอภิญญา (ความรู้ยิ่ง) เป็นอานิสงส์
๔.มีภพวิเศษ (ไปเกิดในพรหมโลกได้) เป็นอานิสงส์
๕.มีนิโรธ (สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้ หรือดับทุกข์ได้เพราะอาศัยสมาธิเป็นปทัฏฐาน) เป็นอานิสงส์



การทบทวนญาณ

การทบทวนญาณนั้น หมายถึง การทบทวนดูสภาวะของวิปัสสนาญาณที่ตนปฏิบัติผ่านมาแล้ว (ผู้ที่ยังไม่ปฏิบัติผ่านญาณมาตามลำดับแล้ว ไม่สามารถจะทวนญาณได้ ต้องปฏิบัติให้ญาณเกิดเสียก่อน) การทวนญาณนั้น ทวนได้แต่ญาณที่เป็นโลกิยะ ๘ ญาณเท่านั้น คือ ตั้งแต่ อุทยัพพยญาณ ถึง สังขารุเปกขาญาณ เท่านั้น ส่วนอนุโลมญาณนั้น เป็นวิถีเดียวกันกับโคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ ถ้าอนุโลมญาณเกิดก็จะถึงปัจจเวกขณญาณโดยอัตโนมัติการอธิษฐานทวนญาณนั้น ก็เพื่อจะให้ญาณที่ผ่านมานั้นมาปรากฏชัดเจน แจ่มแจ้งทีละญาณๆ ไป โดยที่วิปัสสนาญาณอันดับอื่นๆ จะไม่เกิดร่วมด้วย ทำให้ผู้ทบทวนนั้นเข้าใจสภาวะของญาณชัดเจน สิ้นความสงสัยในสภาวะของญาณแต่ละญาณๆ อันจะเป็นอุปกรณ์ เป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นคัมภีร์เล่มใหญ่ที่จะใช้วิจัยการสอนวิปัสสนา อันจะเป็นมรรคา เป็นแสงสว่างที่จะทำให้อนุชนรุ่นหลังมองเห็นวิถีทางแห่งสันติสุขอันไพบูลย์ ภายใต้ขอบเขตแห่งพระพุทธศาสนา อันจะเป็นเหตุนำมาซึ่งความสถิตมั่นสถาพรของบวรพระพุทธศาสนาสืบต่อไป

ฉะนั้น โยคีผู้ปฏิบัติเมื่อรู้รสของพระธรรมด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแจ่มแจ้ง สิ้นความสงสัยด้วยใจของตนเองพอสมควรแล้วประสงค์จะเป็นครูสอนเจริญรอยตาม เบื้องยุคลบาทขององค์สมเด็จพระศาสดาแล้วพึงปฏิบัติพิเศษ คือทวนลำญาณ ดังนี้

วันที่ ๑
ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑-๖ ระยะละ ๑๐ นาที รวม ๑ ชั่วโมงแล้ว ตั้งนะโม ๓ จบ อธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๒๔ ชั่วโมงนี้ขออุทยัพพยญาณ (ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความดับไปของรูปนาม) จงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ” การอธิษฐานแต่ละญาณพยายามทำให้ถึง ๒๔ ชั่วโมง คือ เดิน ๑ ชั่วโมง นั่ง ๑ ชั่วโมง สลับกันไป ถึงเวลาพักผ่อนก็ให้พักผ่อนตามปกติ (ไม่เกิน ๔ ชั่วโมง) ตื่นขึ้นมาแล้วให้ปฏิบัติต่อจนครบ ๒๔ ชั่วโมง และพยายามกำหนดให้ทันปัจจุบันธรรมทุกขณะเว้นไว้แต่เผลอและหลับเท่านั้น

วันที่ ๒
ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑-๖ ระยะละ ๑๐ นาที รวม ๑ ชั่วโมง แล้วตั้ง นะโม ๓ จบ อธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๒๔ ชั่วโมงนี้ ขอภังคญาณ (ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นเฉพาะความดับไปของรูปนาม) จงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”

วันที่ ๓
ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑-๖ ระยะละ ๑๐ นาที รวม ๑ ชั่วโมง แล้วตั้ง นะโม ๓ จบ อธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๒๔ ชั่วโมงนี้ ขอภยตูปัฏฐานญาณ (ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามโดยความเป็นของน่ากลัว) จงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”

วันที่ ๔
ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑-๖ ระยะละ ๑๐ นาที รวม ๑ ชั่วโมง แล้วตั้ง นะโม ๓ จบ อธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๒๔ ชั่วโมงนี้ ขออาทีนวญาณ (ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนาม) จงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”

วันที่ ๕
ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑-๖ ระยะละ ๑๐ นาที รวม ๑ ชั่วโมง แล้วตั้ง นะโม ๓ จบ อธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๒๔ ชั่วโมงนี้ ขอนิพพิทาญาณ (ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูปนาม) จงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”

วันที่ ๖
ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑-๖ ระยะละ ๑๐ นาที รวม ๑ ชั่วโมง แล้วตั้ง นะโม ๓ จบ อธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๒๔ ชั่วโมงนี้ ขอมุญจิตุกัมมยตาญาณ (ปัญญากำหนดพิจารณา ปรารถนาอยากจะพ้นไปจากรูปนาม ) จงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”

วันที่ ๗
ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑-๖ ระยะละ ๑๐ นาที รวม ๑ ชั่วโมง แล้วตั้ง นะโม ๓ จบ อธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๒๔ ชั่วโมงนี้ ขอปฏิสังขาญาณ (ปัญญากำหนดพิจารณาเพื่อหาทางหลุดพ้นไปจากรูปนาม) จงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”

วันที่ ๘
ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑-๖ ระยะละ ๑๐ นาที รวม ๑ ชั่วโมง แล้วตั้ง นะโม ๓ จบ อธิษฐานจิตว่า “สาธุ สาธุ สาธุ ภายใน ๒๔ ชั่วโมงนี้ ขอสังขารุเปกขาญาณ (ปัญญากำหนดพิจารณาวางเฉยในรูปนาม) จงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามากๆ”

หมายเหตุ : เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้ว ให้นั่งภาวนาว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” หรือจะนั่งกี่ระยะก็ได้ ตามสมควรแก่ความถนัด และพอเหมาะแก่อุปนิสัยของตน ให้สำเหนียกดูรูปนามให้ทันปัจจุบัน ให้เห็นความเกิดและความดับของรูปนามให้ชัดเจน ให้กำหนดพิจารณาสังเกตรู้อาการที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อารมณ์ ความคิด ความต้องการความปรุงแต่งทางจิต เป็นต้น) อย่างละเอียด และในขณะเดินจงกรม ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด เป็นต้น แม้แต่ความฝันก็ต้องพิจารณา คือให้กำหนดพิจารณารู้ภาวะที่ปรากฏขึ้นในปัจจุบัน และภาวะที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันนั้น ทุกอิริยาบถอย่างละเอียด นั่นเอง

ก่อนจะทวนญาณนั้น ต้องพิจารณาสมาธิ วิปัสสนาญาณของตนเสียก่อนว่า มีสมาธิสมบูรณ์ วิปัสสนาญาณแก่กล้าหรือไม่ เพราะถ้าสมาธิสมบูรณ์วิปัสสนาญาณแก่กล้า มีกำลังมากแล้ว สภาวะของญาณต่างๆ ก็จะปรากฏชัดเจนตามอำนาจกำลังของสมาธิ และวิปัสสนาญาณ ฉะนั้นผู้ประสงค์จะทวนญาณ ควรเจริญภาวนาทำสมาธิและวิปัสสนาญาณให้แก่รอบเสียก่อนจะเป็นการดี การทวนญาณนั้นให้ทวนโดย วิธีอนุโลม วิธีปฏิโลม หรือวิธีกระโดดข้ามสลับวิถีกันตามวิธีของญาณแต่ละวิถีก็ได้ เพราะในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ท่านกล่าวไว้ว่า ญาณที่ ๓-๔-๕ เป็นวิถีเดียวกัน ญาณที่ ๖-๗-๘ เป็นวิถีเดียวกัน ฉะนั้น ญาณที่ ๙-๑๐-๑๑ ก็เป็นวิถีเดียวกันต่างกันแต่เป็นอย่างอ่อน-ปานกลาง-แก่กว่ากันตามลำดับเท่า นั้นวิธีทวนญาณ เช่น

โดยวิธีอนุโลม อธิษฐานเริ่มต้นแต่ญาณที่
๔.อุทยัพพยญาณ
๕.ภังคญาณ
๖.ภยตูปัฏฐานญาณ
๗.อาทีนวญาณ
๘.นิพพทาญาณ
๙.มุญจิตุกัมยตาญาณ
๑๐.ปฏิสังขาญาณ
๑๑.สังขารุเปกขาญาณ (ตามลำดับ)

โดยวิธีปฏิโลม อธิษฐานเริ่มต้นแต่ญาณที่
๑๑.สังขารุเปกขาญาณ
๑๐.ปฏิสังขาญาณ
๙.มุญจิตุกัมยตาญาณ
๘.นิพพิทาญาณ
๗.อาทีนวญาณ
๖.ภยตูปัฏฐานญาณ
๕.ภังคญาณ
๔.อุทยัพพยญาณ (ตามลำดับ)

โดยวิธีสลับตามวีถี
สลับโดยวิธีตามอนุโลม อธิษฐานเริ่มต้นแต่ญาณที่
๔.อุทยัพพยญาณ
๖.ภยตูปัฏฐานญาณ
๙.มุญจิตุกัมยตาญาณ
๕.ภังคญาณ
๗.อาทีนวญาณ
๑๐.ปฏิสังขาญาณ
๘.นิพพิทาญาณ
๑๑.สังขารุเปกขาญาณ

สลับโดยวิธีปฏิโลม อธิษฐานเริ่มต้นแต่ญาณที่
๑๑.สังขารุเปกขาญาณ
๘.นิพพิทาญาณ
๑๐.ปฏิสังขาญาณ
๗.อาทีนวญาณ
๕.ภังคญาณ
๙.มุญจิตุกัมยตาญาณ
๖.ภยตูปัฏฐานญาณ
๔.อุทยัพพยญาณ

ในการอธิษฐานนั่งภาวนาอยู่นั้น โยคีผู้ปฏิบัติอาจเกิดความกังขาสงสัย ลืมไปว่าตนได้อธิษฐานญาณอะไรเอาไว้ แต่จิตดวงเดิมที่เราอธิษฐานไว้แล้วนั้น จะไม่ลืมสภาวะของญาณ ก็คงเกิดตามคำอธิษฐานเดิมและหากทบทวนแล้ว ยังไม่เป็นที่พอใจ ก็ให้ทบทวนซ้ำๆ กลับไปกลับมา ตามความประสงค์เถิด แต่ผู้มีบารมี มีความชำนาญในวสีภาวะแล้ว จะอธิษฐานญาณใดๆ ญาณนั้นๆ ก็ย่อมปรากฏชัด ดุจบุรุษตาดีมองดูสภาพของสรรพสิ่งต่างๆ ในเวลากลางวัน ย่อมจะมองเห็นสภาพความเป็นจริงของสรรพสิ่งต่างๆ นั้นละเอียดลออ สุขุม ลุ่มลึก ฉันนั้น

การปฏิบัติธรรม ไม่ใช่เป็นการเพิ่มความยุ่งยาก แต่เป็นการสางความยุ่งยากให้น้อยลง เบาลงและหมดไป ตามหลักของพุทธวิธี ฉะนั้น การปฏิบัติธรรมจึงเป็นการดำเนินตามหลักของพุทธวิธี อันเป็นวิถีทางที่ถูกต้องและประเสริฐวิเศษสุด อันเป็นหลักยึดแห่งใจ เป็นหลักชัยของสัตว์ทั้งหลายที่จะใช้ก้าวเข้าสู่ทางแห่งสันติ สงบ เย็น อย่างแท้จริง เป็นหลักปฏิบัติเพื่อขนสัตว์ ผู้มีอุปนิสัยออกจากความทุกข์ยาก คับแค้นในวัฏฏะสงสาร เป็นการปฏิบัติสูงสุดที่เรียกว่า “หัวใจพระพุทธศาสนา” เป็นหนทางสายเดียวที่จะทำให้เหล่าชนผู้นับถือพระพุทธศาสนาทั้งหลาย สามารถดูดดื่มเอารสของพระธรรมอันละเอียดอ่อน ประณีต อันมีรสแห่งความสุข เป็นที่พึงพอใจยิ่งกว่ารสทิพย์ของเทวดาทั้งปวงเพราะไม่เจือด้วยกิเลสเป็นหน ทางวิเศษที่จะเห็นความอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนาว่าสามารถถอนกิเลส อันเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงให้หมดสิ้นลงได้ ตามบุญญาธิการของตนๆ ดังเหล่าพระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระอริยสาวกทั้งหลาย ที่ท่านเห็นมาแล้ว


watpitch.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 ตุลาคม 2560 14:07:39 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 61.0.3163.100 Chrome 61.0.3163.100


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2560 14:17:21 »




คำแผ่เมตตา

อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้าจงถึงสุข นิราศทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความลำบาก มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด

สัพเพ สัตตา
อันว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ทุกชาติชั้นวรรณะ ทุกศาสนา ทุกภาษาที่อยู่ทางทิศบูรพาก็ดี ที่อยู่ทางทิศอาคเนย์ก็ดี ที่อยู่ทางทิศทักษิณก็ดี ที่อยู่ทางทิศหรดีก็ดี ที่อยู่ทางทิศปัจฉิมก็ดี ที่อยู่ทางทิศพายัพก็ดี ที่อยู่ทางทิศอุดรก็ดี ที่อยู่ทางทิศอีสานก็ดี ที่อยู่ทางทิศเบื้องล่าง ตั้งแต่โลกันตมหานรกขึ้นมาก็ดี ที่อยู่ทางทิศเบื้องบนตั้งแต่ภวัคคพรหมลงมาก็ดี

อะเวรา โหนตุ
ขอจงอย่าได้สร้างกรรมกระทำเวร และรบราฆ่าฟังซึ่งกันและกันเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ
ขอจงอย่าได้ประพฤติเบียดเบียน ข่มเหงคะเนงร้าย และป้ายสีให้แก่กันและกันเลย

อะนีฆา โหนตุ
ขอจงอย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
ขอจงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งหมดทั้งสิ้นเถิด

อิทัง โน ปุญญะภาคัง ราชาทีนัญเจวะ อิสสะรานัง มาตาปิตุอาทีนัญจะ ปิยะชะนานัง สัพพะสัตตานัญจะ นิยาเทมะ
ข้าพเจ้าขอถวายส่วนบุญส่วนกุศล ให้แก่อิสรชนทั้งหลาย มีองค์พระมหากษัตริย์ ผู้เป็นพระประมุขของชาติ และองค์สมเด็จพระสังฆราชผู้เป็นประมุขของพระศาสนา และคณะรัฐบาล ผู้บริหารประเทศชาติเป็นต้น และขอแผ่ส่วนบุญ ส่วนกุศล ให้แก่ปิยชน คนที่รักทั้งหลาย มีบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ทั้งหลาย เป็นต้น และขอแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทุกชาติชั้นวรรณะ ทุกศาสนา ทุกภาษา ที่มีอยู่ทั่วทุกมุมแห่งโลก

สัพเพ สัตตา ปุญญะภาคิโน โหนตุ
ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย จงเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญกุศล ร่วมกับข้าพเจ้าทั้งหลาย ทุกตนทุกคนเถิด สำหรับเราท่านทั้งหลาย ผู้หมั่นเจริญภาวนา ขอให้พาได้พบประสบศรี ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ของญาณมุนี ในชาตินี้มีผล ทุกท่านเทอญฯ

แบบที่ ๒
อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงมีความสุข นิราศทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความลำบาก ขอให้มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมด ทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้สร้างกรรมกระทำเวร และรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกันเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ประพฤติเบียดเบียน ข่มเหง คะเนงร้ายและป้ายสีให้แก่กันและกันเลย

อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
ขอจงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ทุกตนทุกคนเถิด

ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้บำเพ็ญมาแล้วนี้ ให้แก่บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ ญาติสนิทมิตรสหาย ตลอดท่านผู้มีอุปการคุณทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวร มนุษย์ อมนุษย์ อบายสัตว์ เทวดา มาร พรหม พญายมราช และนายนิรยบาลทั้งหลาย ตลอดสรรพสัตว์ทั้งหลาย ถ้าตกทุกข์ขอให้พ้นจากทุกข์ ถ้ามีความสุข ขอให้มีความสุข ยิ่งๆขึ้นไป

ด้วยบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาแล้วนี้ มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น ขอจงได้เป็นพลวปัจจัย เป็นอุปนิสัยตามส่งให้เกิดสติ ปัญญาญาณ ได้บรรลุฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ นิโรธสมาบัติ วิชชาสาม ปฏิสัมภิทาญาณสี่อภิญญาหก ได้บรรลุมรรค ผล พระนิพพาน ในอนาคตกาล อันไม่ช้าไม่นานนี้ด้วย เทอญฯ

แบบที่ ๓
อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า จงมีความสุข นิราศทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความลำบาก ขอให้มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความลำบาก มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด

ขอเดชะตั้งจิตอุทิศผล บุญกุศลส่วนนี้แผ่ไปให้ไพศาล ถึงบิดา มารดา ครูอาจารย์ ทั้งปู่ ย่า ตา ยาย และลูกหลาน ทั้งญาติ มิตร และคนเคยร่วม เคยรักสมัครใคร่ ทั้งทหาร ตำรวจ ตรวจแดนไทย ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ มีพระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬ ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรุงพาลี พระนางธรณี พระเพลิง พระพาย ตลอดสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอให้ได้ในส่วนกุศลผลของฉัน

สำหรับเราท่านทั้งหลาย ที่หมั่นปฏิบัติวิปัสสนา ขอให้พาได้พบประสบศรี ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ของญาณมุนี ในชาตินี้มีผลทุกคนเทอญฯ

แบบที่ ๔
อะหัง สุขิโต โหมิ

ขอให้ข้าพเจ้า จงมีความสุข นิราศทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความลำบาก ขอให้มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เกิดเป็นชลาพุชะ ที่เกิดเป็นอัณฑชะ ที่เกิดเป็นสังเสทชะ และที่เกิดเป็นโอปาติกะ

อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีความเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
ขอจงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งหมดทั้งสิ้นเถิด

ขอเดชะตั้งจิตอุทิศผล บุญกุศลนี้แผ่ไปให้ไพศาล ถึงบิดา มารดา ครู อาจารย์ ทั้งลูกหลาน ญาติ มิตรสนิทกัน ทั้งคนเคยร่วมกิจการงานทั้งหลาย มีส่วนได้ในกุศลผลของฉัน ทั้งเจ้ากรรมนายเวร และเทวัญ ขอให้ได้ส่วนกุศลผลบุญ อีกปู่ ย่า ตา ยาย ทั้งหลายนั้น ขอให้ท่านได้กุศลผลอุดหนุน ประชาชนคนทั้งหลาย รวมทั้งผู้ถวายปัจจัยสี่ จงได้บุญทั้งค้ำจุนสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทุกชาติชั้นวรรณะ ทุกศาสนา ทุกภาษา ที่มีอยู่ทั่วทุกมุมแห่งโลก จงได้รับส่วนกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาแล้วนี้ จงทุกตนทุกคนเทอญ

แบบที่ ๕
แผ่เมตตาแบบโบราณ

บุญทานที่ทำ กลายเป็นข้าวน้ำ เครื่องทิพย์นานา

เป็นวิมานทอง เรืองรองโสภา อีกทั้งนางฟ้า พันหนึ่งบริวาร

เครื่องทิพย์ครั้งนี้ ส่งถึงชนนี บิดาอย่านาน

ถึงญาติทุกหมู่ ครูบาอาจารย์ พ้นทุกข์อย่านาน ได้วิมานทอง

ฝูงเปรตทั้งหลาย นรกอสุรกาย หมู่สัตว์ทั้งผอง

เต่า ปลา ปู หอย กุ้ง น้อยเนืองนอง จงตั้งใจปอง รับเอาส่วนบุญ

สัตว์น้อยสัตว์ใหญ่ ตัวเรานี้ไซร้ ได้กระทำทารุณ

ด้วยกายน้ำใจ ฝากไว้เป็นทุน รับเอาส่วนบุญ อย่าเป็นเวรกรรม

อินทราเทวา อีกทั้งพรหมา ท้าวเวสสุวรรณ

พระภูมิเจ้าที่ พระอาทิตย์พระจันทร์ พระอังคารพุทธัญ พฤหัสบดี

พระศุกร์ พระเสาร์ เทพเจ้าทั้งหลาย สิบสองราศี

พระยม พระกาฬ ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ครุฑานาคี กินรีกินนรา

เทพเจ้าทั้งหลาย ทั้งหญิงและชาย จงอนุโมทนา

รับเอากุศล ผลบุญนี้หนา อีกทั้งพสุธา คงคาวารี

ชื่อว่าเข็ญใจ ขอจงอย่าได้ ไปบังเกิดมี

ความทุกข์อย่าได้เห็น ขอให้เป็นเศรษฐี คฤหบดี มนตรีพระยา

คนพาลอย่าได้พบ ขอให้ประสพ คนมีปัญญา

เดชะกุศล ให้พ้นอสุรา ขอให้ตัวข้า พบพระนิพพาน

ได้ฟังคำสอน จิตใจโอนอ่อน สำเร็จอย่านาน

ลุถึงเมืองแก้ว กล่าวแล้วนิพพาน ดับชาติสังขาร จากโลกโลกีย์

แบบที่ ๖
คำอธิษฐานจิต และอุทิศส่วนกุศล

ขอผลบุญของข้าพเจ้าทั้งหลายนี้ ขอนำมาซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสเถิด

ขอผลบุญนี้ จงเป็นพลวปัจจัยให้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ให้ได้บรรลุ มรรค ผลนิพพานเถิด

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่สัตว์ทั้งหลายทุกตัวตน

ด้วยบุญกุศลที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้กระทำบำเพ็ญมาแล้วนี้ ขอถวายให้พระอุปัชฌาย์ ผู้มีพระคุณยิ่ง อาจารย์ ผู้มีอุปการะก็ดี มารดาและบิดา ญาติทั้งหลายก็ดี พระอาทิตย์ก็ดี พระจันทร์ก็ดี พระราชาก็ดี บุคคลทุกคน ผู้มีคุณทั้งหลายก็ดี มารพรหม พระอินทร์ทั้งหลายก็ดี ท้าวโลกบาล และเทวดาทั้งหลายก็ดี พระยายมก็ดี มนุษย์ทั้งหลายผู้ผูกเวรกันก็ดี สัตว์ทั้งปวง จงมีความสุขเถิด

ขอบุญทั้งหลายที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้วนี้ จงให้ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความสุข ๓ ประการ คือ สุขในมนุษย์ สุขในสวรรค์ สุขในพระนิพพาน โดยเร็วพลันเถิด

ด้วยผลบุญที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญไว้นี้ก็ดี ด้วยบุญกุศลที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้อุทิศให้ผู้อื่นก็ดี ขอให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย จงได้ตัดขาดจากตัณหา และอุปาทานโดยเร็วพลันเถิด

บาปกรรมทั้งหลายเหล่าใด ที่ต่ำช้าลามกมีอยู่ในขันธสันดานของข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบาปกรรมที่ลามกทั้งหลายเหล่านั้น จงสูญสิ้นไป จากสันดานของข้าพเจ้าทั้งหลายในกาลทุกเมื่อ ตราบเท่าถึงพระนิพพานเถิด

ข้าพเจ้าเกิดแล้วในภพใด ขอให้มีความชื่อตรง มีสติปัญญา มีความมักน้อย มีความเพียรในภพนั้นๆ ขอมารทั้งหลายผู้ลามก จงอย่าได้โอกาส กระทำอันตรายในกุศลผลบุญที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เพียรบำเพ็ญมาแล้วนี้เลย

พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งอันประเสริฐ และสูงสุดของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เหล่านั้น ขอมารทั้งหลายจงอย่าได้โอกาสมาแผ้วพานข้าพเจ้าทั้งหลายเลยข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้กระทำบำเพ็ญ กุศลมาแล้วนี้ ขอจงได้เป็นพลวปัจจัย อำนวยสุขส่งเสริมให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย จงถึงสุข ถึงสุข ทุกเมื่อเทอญ

อันลาภยศหาบไปไม่ได้แน่ เหลือเพียงแต่ต้นทุนบุญกุศล ทิ้งสมบัติทั้งหลายให้ปวงชน ร่างของตนเขายังเอาไปเผาไฟ ขอให้เราทั้งปวงชนจงสนใจ ยามท่านให้ เราต้องเพียร เรียนให้จำทุกเมื่อเทอญ.




สิ่งที่วิปัสสนาควรรู้

๑.ความหมายของคำว่า วิปัสสนากรรมฐาน
วิปัสสนากรรมฐาน แปลว่า กรรมฐานเป็นอุบายทำให้เกิดวิปัสสนาญาณ เพราะว่า วิปัสสนาญาณเท่านั้น ที่จะเป็นเหตุให้รู้แจ้งเห็นจริง ตามความเป็นจริงของธรรมชาติได้ คือความเห็นรูปนามชัดเจน ทันปัจจุบันแล้วเป็นเหตุให้เห็นแจ้งพระไตรลักษณ์ มรรค ผล พระนิพพาน อันเป็นกิจสูงสุดในพระพุทธศาสนา

๒.ความหมายของคำว่า ปัจจุบันธรรม
ปัจจุบันธรรม คือสิ่งที่ปรากฏขึ้นในขณะนั้น หรือสิ่งที่กำลังเป็นไปในขณะนั้น ในที่นี้หมายถึง ความปรากฏขึ้นของรูปนาม หรือความที่รูปนามกำลังเป็นไปอยู่

๓. ความหมายของคำว่า วิปัสสนาภูมิ
วิปัสสนาภูมิ หมายความได้ดังต่อไปนี้

วิ แปลว่า วิเศษ ประเสริฐสุด เว้นอย่างเด็ดขาด คือ เว้นอย่างยอดเยี่ยม เป็นอิสระ เป็นไท เกิด คลอด สว่างทั่ว ปรากฏ แจ้งชัด เป็นต้น

ปัสสนา แปลว่า การรู้ การดู การเห็น การพบ การกำหนด การพิจารณา การหยั่งรู้ การพิสูจน์ให้รู้ การแทงตลอด เป็นต้น

ภูมิ แปลว่า พื้น ชั้น เป็นดุจแผ่นดิน คือร่างกายอันจะเป็นเหตุให้เกิดปัญญา ทั้งโลกียปัญญาและโลกุตตรปัญญา เป็นสถานที่ฝึก คือฝึกกายและใจอันจะให้สำเร็จความประสงค์ทุกอย่าง เป็นต้น

วิปัสสนาภูมิ แปลว่า ภูมิเป็นที่แทงตลอดอย่างวิเศษ ภูมิเป็นที่เห็นอย่างยอดเยี่ยม ภูมิเป็นที่พบอย่างประเสริฐสุด ภูมิเป็นที่หยั่งลงสู่ความวิเศษสุด ภูมิเป็นที่เกิดแห่งวิปัสสนา ภูมิเป็นที่รู้แจ้งแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พร้อมทั้งแทงตลอดซึ่งมรรค ผล พระนิพพาน อันเป็นที่สุดแห่งทุกข์

วิปัสสนาภูมิ ท่านจำแนกไว้ ๖ ประการ คือ

(๑) ขันธ์ ๕ (๒) อายตนะ ๑๒ (๓) ธาตุ ๑๘ (๔) อินทรีย์ ๒๒ (๕) อริยสัจ ๔ (๖) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

(๑) ขันธ์ ๕

ขันธ์ แปลว่า กอง หมวด อัตตภาพร่างกาย ธรรมชาติที่ไม่เป็นแก่นสาร ธรรมชาติที่ปราศจากความสวยงาม ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธรรมชาติที่ทรงไว้ ซึ่งความว่างเปล่าธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสวรรค์ คือเป็นผู้สร้างสวรรค์,ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่ง มรรค ผล พระนิพพาน คือ มรรค ผล พระนิพพาน เกิดขึ้นเพราะอาศัยร่างกายและจิตใจของเรานี้เอง เป็นต้น

ขันธ์ ๕ แปลว่า กองแห่งรูป...เวทนา....สัญญา.....สังขาร กองแห่งวิญญาณ เช่น ปรากฏในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ (วิภังค์) ว่า

“ยงฺกิญฺจิ รูปํ.......อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ”

แปลว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ก็ตาม ย่อมกล่าวรวมกันเรียกว่า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

ย่อขันธ์ ๕

รูป เป็น รูปธรรม

เวทนา สัญญา สังขาร เป็น นามเจตสิก

วิญญาณ เป็น นามจิต

ย่อให้เหลือ ๒

รูปธรรม เป็น รูป

นามเจตสิก และนามจิต เป็น นาม

ย่อให้สั้น คือ รูปและนามเท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ พองหนอ-ยุบหนอ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ เห็นหนอ ได้ยินหนอ กลิ่นหนอ รสหนอ ถูกต้องโผฏฐัพพะหนอ รู้ธรรมารมณ์หนอเป็นต้น

(๒) อายตนะ ๑๒

อายตนะ แปลว่า เป็นที่ต่อ เป็นที่เกิด เป็นแดนเกิดเป็นที่อาศัยอยู่ เป็นที่ประชุม เป็นเหตุเป็นปัจจัย เป็นธรรมชาติที่ขยายธรรมที่เกิดในทวารทั้ง ๖ อารมณ์ทั้ง ๖ และขยายอกุศลธรรม และกุศลธรรมทั้งปวงให้กว้างขวางได้ เป็นต้น

อายตนะ ๑๒ หมายเอาที่ต่อ ๑๒ อย่าง คือ

อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

ย่ออายตนะ ๑๒ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้ง ๑๐ ประการนี้ เป็นรูป ใจเป็นนาม ธรรมารมณ์เป็นได้ทั้งรูปและนาม

ย่อให้สั้น คือ รูปและนามเท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ พองหนอ-ยุบหนอ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ เป็นต้น

(๓) ธาตุ ๑๘

ธาตุ แปลว่า สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน สภาพที่รักษาสภาวะของมันให้อยู่ได้เองตามเหตุ ตามปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้น สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะที่จะให้เกิดมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และพระนิพพานสมบัติ สภาพที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน อันเป็นเครื่องยืนให้วิปัสสนาพิสูจน์ ยืนให้วิปัสสนาเห็นแจ้งชัดว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นเครื่องยืนให้วิปัสสนาแทงตลอดซึ่งมรรค ผล ตลอดถึงพระนิพพาน

ธาตุ ๑๘ คือ

จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ

โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ

ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ

ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ

กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ

มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ

ย่อธาตุ ๑๘

เป็นรูปล้วนๆ มี ๑๐ คือ จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ

เป็นนาม มี ๗ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ มโนธาตุ

เป็นทั้งรูปและนาม คือ ธัมมธาตุ

ย่อให้สั้น คือ รูปและนาม เท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ พองหนอ-ยุบหนอ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ เห็นหนอ ได้ยินหนอ เป็นต้น

(๔) อินทรีย์ ๒๒

อินทรีย์ แปลว่า เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน เช่น ตาเป็นใหญ่ในการดู หูเป็นใหญ่ในการฟัง จมูกเป็นใหญ่ในการดมกลิ่น ลิ้นเป็นใหญ่ในการลิ้มรส กายเป็นใหญ่ในการถูกต้อง ใจเป็นใหญ่ในการรับ จำ คิด รู้ธรรมารมณ์ เป็นต้น

แปลว่า เป็นใหญ่ในการทำกิจแห่งการที่จะรู้แจ้ง แทงตลอดเฉพาะตน เช่น ตา เป็นใหญ่ในทางที่จะรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งวิปัสสนาญาณ มรรค ผล และพระนิพพานทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นใหญ่ในทางที่จะรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งมรรคผล และพระนิพพาน เฉพาะทางของตนๆ

แปลว่า สำเร็จมาแต่อกุศลกรรมและกุศลกรรม เพราะอินทรีย์มีจักขุ เป็นต้นนั้น เกิดพร้อมเพราะอาศัยกรรม ยึดเอากรรมที่เป็นอกุศลและกุศล และสำเร็จมาจากกรรมทั้ง ๒ นั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์

อินทรีย์ ๒๒ คือ
๑.จักขุนทรีย์ เป็น รูป
๒.โสตินทรีย์ เป็น รูป
๓.ฆานินทรีย์ เป็น รูป
๔.ชิวหินทรีย์ เป็น รูป
๕.กายินทรีย์ เป็น รูป
๖.อิตถินทรีย์ เป็น รูป
๗.ปุริสินทรีย์ เป็น รูป
๘.ชีวิตินทรีย์ เป็น ทั้งรูปและนาม
๙.มนินทรีย์ เป็น นามจิต
๑๐.สุขินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๑.ทุกขินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๒.โสมนัสสินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๓.โทมนัสสินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๔.อุเปกขินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๕. สัทธินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๖.วิริยินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๗.สตินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๘.สมาธินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๙.ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปัญญา หมายเอาตั้งแต่ ปุถุชน ถึง โคตรภูญาณ) เป็นนามเจตสิก
๒๐.อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติ ด้วยมุ่งหวังว่าเราจักรู้สัจจธรรมที่ยังไม่รู้ หมายเอา โสดาปัตติมัคคญาณพวกเดียว) เป็นนามเจตสิก
๒๑ อัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปัญญาอันรู้ทั่วถึง หมายเอาญาณทั้ง ๖ นับตั้งแต่โสดาปัตติผลญาณ ถึง อรหัตตมัคคญาณ) เป็นนามเจตสิก
๒๒.อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว หมายเอา ปัญญาของพระอรหันต์ ได้แก่ อรหัตตผลญาณ) เป็น นามเจตสิก

ย่ออินทรีย์ ๒๒

ข้อ ๑-๗ เป็น รูป

ข้อ ๘ เป็น ทั้งรูปและนาม

ข้อ ๘-๒๒ เป็น นามเจตสิก

ข้อ ๙ เป็น นามจิต

ย่อให้สั้น คือ รูปและนาม เท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ พองหนอ-ยุบหนอ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ เห็นหนอ ได้ยินหนอ เป็นต้น

(๕) อริยสัจ ๔

อริยสัจ แปลว่า ของจริงอันประเสริฐ ของจริงที่พระอริยเจ้าค้นพบ ของจริงแห่งพระอริยเจ้า ของจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยเจ้าของจริงอันเป็นเหตุให้ห่างไกล จากกิเลส ของจริงอย่างพระอริยเจ้า คือ ของจริงแท้แน่นอน เป็นเหตุให้ดับทุกข์ได้ ของจริงเป็นเหตุให้ได้บรรลุมรรค ผล พระนิพพาน

อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ คือ ทุกขสัจจ์ สมุทัยสัจจ์ นิโรธสัจจ์ และมัคคสัจจ์

(๑) ทุกขสัจจ์ แปลว่า ความจริง คือ ทุกข์ ทุกข์นั้นมีสภาวะที่ทนได้ยาก มีสภาวะบีบคั้น เบียดเบียน เป็นลักษณะ มีสภาวะขัดแย้ง บกพร่องขาดสาระแก่นสาร และมีสภาพเดือดร้อนนานัปการเป็นรส มีการเวียนว่ายตายเกิดให้ห้วงมหรรณพภพสงสาร เป็นเครื่องปรากฏให้เห็นโดยองค์ธรรม ได้แก่ โลกียจิต ๘๑ ดวง (เว้นโลกุตตรจิต ๘ ดวง) เจตสิก ๕๑ ดวง (เว้นโลภะ) รูป ๒๘ รวมเป็น ๑๖๐

ย่อให้สั้น ได้แก่ ขันธ์ ๕

ย่อลงให้สั้น คือรูปและนาม เท่านั้น

(๒) สมุทัยสัจจ์ แปลว่า ความจริงที่เป็นเหตุทำให้ทุกข์เกิดขึ้น ได้แก่ ตัณหา ๓ ประการ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหา ๓ ประการนี้ ถือว่าเป็นแดน เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเหตุทำให้เราต้องเกิดแล้วเกิดเล่าประสบกับความทุกข์บ่อยๆ นี้เป็นรสของตัณหาและมีการกีดกัน ขวางกั้นปิดบังห้ามไม่ให้เราออกไปจากภพนี้ เป็นเครื่องปรากฏให้เห็นของตัณหาว่าโดยพิสดาร มีถึง ๑๐๘ สมุทัยสัจจ์ จัดเป็น นาม

(๓) นิโรธสัจจ์ แปลว่า ความจริงที่ดับทุกข์ได้ หมายเอาการดับตัณหาทั้ง ๓ ด้วยอำนาจของมรรคญาณ โดยองค์ธรรม ได้แก่ พระนิพพาน อันเป็นที่ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ทั้งปวง ฉะนั้น นิโรธสัจจ์ จึงมีความสงบอันบริสุทธิ์ ไร้การปรุงแต่งเป็นลักษณะ และมีการไม่จุติ ไม่เคลื่อนย้าย เป็นรส ทั้งไม่มีนิมิต คือ รูปนิมิต เวทนานิมิต สัญญานิมิต สังขารนิมิต วิญญาณนิมิต ไม่มีให้เป็นเครื่องปรากฏผูกรัดจิตใจของสรรพสัตว์ ขันธ์ห้าดับหมด นิโรธสัจจ์ จัดเป็น นาม

(๔) มัคคสัจจ์ แปลว่า ความจริง คือ ข้อปฏิบัติอันจะให้ถึงความดับทุกข์ได้ ฉะนั้น มัคคสัจจ์ จึงมีการนำบุคคลออกจากอวิชชา สังขาร วิญญาณ...ภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นลักษณะ มีการประหารกิเลสตายคลายกิเลสหลุด ผุดเป็นองค์อริยสงฆ์ เป็นรสอันเลิศ มีการพ้นไปจากเครื่องผูกรัดทั้งปวง และมีการพ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิดเป็นเครื่องปรากฏให้เห็นโดยองค์ธรรมมี อยู่ ๘ ประการ คือ

๑.สัมมาทิฏฐิ
๒.สัมมาสังกัปโป
๓.สัมมาวาจา
๔.สัมมากัมมันโต
๕.สัมมาอาชีโว
๖.สัมมาวายาโม
๗.สัมมาสติ
๘.สัมมาสมาธิ

สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ จัดเป็นปัญญา

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ จัดเป็นศีล

สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ จัดเป็นสมาธิ

ศีล สมาธิ ปัญญา จัดเป็นนาม

ย่ออริยสัจ ๔

ทุกขสัจจ์ เป็น ทั้งรูปและนาม

สมุทัยสัจจ์ เป็น นาม

นิโรธสัจจ์ เป็น นาม

มัคคสัจจ์ เป็น นาม

ย่อให้สั้น คือ รูปและนาม เท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ พองหนอ-ยุบหนอ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ เห็นหนอ ได้ยินหนอ เป็นต้น

(๖) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

ปฏิจจสมุปบาท แปลว่า ธรรมที่เกิดขึ้น เพราะอิงอาศัยกันและกัน หมายถึง ธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นเหตุ และเป็นผลอยู่ในตัวของมันเองแล้วผูกพันเกาะเกี่ยวต่อเนื่องกันดุจลูกโซ่ คล้องกันไปหาเบื้องต้นและที่สุดยุติลงมิได้ โดยองค์ธรรมมีอยู่ ๑๒ ประการ คือ

๑.อวิชชา เป็น นาม
๒.สังขาร เป็น นาม
๓.วิญญาณ เป็น นาม
๔.นามรูป เป็น ทั้งรูปและนาม
๕.สฬายตนะ เป็น ทั้งรูปและนาม
๖.ผัสสะ เป็น นาม
๗.เวทนา เป็น นาม
๘.ตัณหา เป็น นาม
๙.อุปาทาน เป็น นาม
๑๐.ภพ เป็น นาม
๑๑.ชาติ เป็น นาม
๑๒.ชรา-พยาธิ-มรณะ เป็น นาม

ย่อปฏิจจสมุปบาท ๑๒ คือ

หมายเลข ๑ ถึง ๓ และหมายเลข ๖ ถึง ๑๒ เป็นนาม

หมายเลข ๔ และ ๕ เป็นทั้ง รูปและนาม

ย่อให้สั้น คือ รูปและนาม เท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ พองหนอ-ยุบหนอ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ เห็นหนอ ได้ยินหนอ เป็นต้น

๔.ความหมายของคำว่า ปรมัตถสัจจะ

ปรมัตถสัจจะ หมายความว่า ความจริงอันเป็นประโยชน์อย่างสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของจริง

ย่อให้สั้น คือ รูปและนาม เท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ พองหนอ-ยุบหนอ เป็นต้น

๕.ความหมายของคำว่า จิต

จิต หมายความว่า สภาวธรรมที่ รับ จำ คิด รู้อารมณ์

จิตนั้นมี ๘๙ ดวง ๑๒๑ ดวง

จิตโดยย่อ ๘๙ ดวง โดยพิสดาร ๑๒๑ ดวง

จิต ๘๙ ดวงนั้น คือ

อกุศลจิต ๑๒ ดวง

อเหตุกจิต ๑๘ ดวง

กามาวจรจิต ๒๔ ดวง

รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง

อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง

โลกุตรจิต ๘ ดวง

รวม ๘๙ ดวง

จิต ๑๒๑ ดวงนั้น โดยนับเอาโลกุตตรจิต ๘ ดวง ออกไปกระจายตามฌาน ๕ คือ เอา ๕ คูณ ๘ เป็น ๔๐ ดวง จิต ๘๙ ดวง เมื่อชักออกเสีย ๘ ดวง คงเหลือ ๘๑ ดวง

รูปาวจรจิตกับอรูปาวจรจิต รวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มหัคคตจิต” คือจิตที่มีอำนาจมาก กามาวจรจิต ๒๔ ดวง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มหากุศลจิต ๘ ดวง มหาวิบากจิต ๘ ดวง มหากิริยา ๘ ดวง รวมเป็น ๒๔ ดวง จิต ๘๑ นั้น เรียกโลกียจิต ส่วนอีก ๘ ดวง หรือที่เอาไปกระจายเป็น ๔๐ ดวง ดังกล่าวมาแล้วนั้น เรียกว่า โลกุตตรจิต

ย่อให้สั้น คือ นามจิตและนามเจตสิก เท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ คิดหนอ เป็นต้น

๖.วิสุทธิ ๗

ความหมายของคำว่า วิสุทธิ ๗ ได้แก่ ความหมดจดวิเศษ ๗ ประการ คือ
๑.สีลวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งศีล
๒.จิตตวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งจิต
๓.ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
๔.กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
๕.มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
๖.ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ
๗.ญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ

ย่อให้สั้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ รูปและนาม คือ พองหนอ-ยุบหนอ เป็นต้น

๗.วิปัสสนาญาณ ๑๖
๑.นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารู้จักแยกรูปนามออกจากกัน คือ รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม เพราะรู้แจ้งชัดซึ่งรูปนาม
๒.ปัจจยปริคหญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารู้เหตุ รู้ปัจจัยของรูปนาม คือ รู้ว่ารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจาก เหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อาศัยรวมกันอยู่
๓.สัมมสนญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามเป็นพระไตรลักษณ์กำหนดแจ้งชัด ๑๕ % คือกำหนดยกรูปนามขึ้นพิจารณาให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
๔.อุทยัพพยญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของรูปนาม พระไตรลักษณ์ปรากฏชัดเจนแจ่มแจ้ง ๙๐% สันตติขาดจนเป็นเหตุทราบชัดว่าสิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นแล้ว ก็ล้วนต้องดับไปเป็นธรรมดา
๕. ภังคญาณ ปัญญากำหนดพิจารณเห็นเฉพาะความดับไปของรูปนามคืออุปาทะ ความเกิดขึ้น ฐิติ ความตั้งอยู่มีอยู่ แต่ปรากฏไม่ชัดเจนเพราะวิปัสสนาญาณมีกำลังกล้าขึ้นรูปนามปรากฏเร็ว จึงเป็นเหตุให้พิจารณาเห็นชัดลงไปเฉพาะแห่งความดับอันเป็นจุดจบสิ้นว่า สังขารทั้งปวงล้วนดับสลายไปทั้งสิ้น
๖.ภยตูปัฏฐานญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามโดยความเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่ต้องแตกสลายไปทั้งสิ้น
๗.อาทีนวญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นทุกข์ เห็นโทษของรูปนาม คือ เมื่อเห็นรูปนามล้วนแต่ดับสลายเป็นของน่ากลัวมาตามลำดับแล้วย่อมพิจารณาเห็น ว่ารูปนามทั้งปวงล้วนแต่เป็นทุกข์ เป็นโทษ
๘.นิพพิทาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูปนาม คือ เมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษของรูปนามแล้ว ย่อมเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่รื่นเริง เพลิดเพลิน หลงใหล ในรูปนาม
๙.มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาปรารถนาอยากจะออก อยากจะหนี อยากหลุดพ้นไปจากรูปนาม เพราะพิจารณาเห็นทุกข์เห็นโทษ และเกิดความเบื่อหน่ายในรูปนามที่ผ่านมา
๑๐.ปฏิสังขาญาณ ปัญญากำหนดกลับไปพิจารณาทบทวนพระไตรลักษณ์อีก เพื่อจะหาทางหลุดพ้น ไปจากรูปนาม คือตั้งใจจริงปฏิบัติจริง ไม่ย่อท้อ ใจหนักแน่น มั่นคงเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว สู้ตาย
๑๑.สังขารุเปกขาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาวางเฉย เป็นกลางในรูปนาม คือ ทราบชัดตามความเป็นจริงในรูปนามแล้วจึงเป็นผู้มีใจเป็นกลางวางเฉยได้
๑๒.อนุโลมญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารูปนามที่เป็นไปตามลำดับอนุโลมญาณต่ำ อนุโลมญาณสูง อันเป็นเครื่องตัดสินใจว่าไม่ผิดแน่เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน โดยอาการของพระไตรลักษณ์อาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
๑๓.โคตรภูญาณ ปัญญาที่โอนจากโคตรของปุถุชน เข้าสู่โคตรของพระอริยะเพื่อจะหน่วงยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๔.มรรคญาณ ปัญญาที่ปหานกิเลสให้เป็นสมุทเฉทปหานมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๕.ผลญาณ ปัญญาที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่มรรคญาณปหานกิเลสแล้ว มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๖.ปัจจเวกขณญาณ ปัญญากำหนดพิจารณากิเลสที่ละได้แล้วที่ยังเหลืออยู่ ตลอดถึงมรรค ผล และนิพพาน


watpitch.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 ตุลาคม 2560 14:22:23 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 61.0.3163.100 Chrome 61.0.3163.100


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2560 09:35:03 »



สิ่งที่วิปัสสนาควรรู้

๑.ความหมายของคำว่า วิปัสสนากรรมฐาน

วิปัสสนากรรมฐาน แปลว่า กรรมฐานเป็นอุบายทำให้เกิดวิปัสสนาญาณ เพราะว่า วิปัสสนาญาณเท่านั้น ที่จะเป็นเหตุให้รู้แจ้งเห็นจริง ตามความเป็นจริงของธรรมชาติได้ คือความเห็นรูปนามชัดเจน ทันปัจจุบันแล้วเป็นเหตุให้เห็นแจ้งพระไตรลักษณ์ มรรค ผล พระนิพพาน อันเป็นกิจสูงสุดในพระพุทธศาสนา

๒.ความหมายของคำว่า ปัจจุบันธรรม

ปัจจุบันธรรม คือสิ่งที่ปรากฏขึ้นในขณะนั้น หรือสิ่งที่กำลังเป็นไปในขณะนั้น ในที่นี้หมายถึง ความปรากฏขึ้นของรูปนาม หรือความที่รูปนามกำลังเป็นไปอยู่

๓.ความหมายของคำว่า วิปัสสนาภูมิ

วิปัสสนาภูมิ หมายความได้ดังต่อไปนี้

วิ แปลว่า วิเศษ ประเสริฐสุด เว้นอย่างเด็ดขาด คือ เว้นอย่างยอดเยี่ยม เป็นอิสระ เป็นไท เกิด คลอด สว่างทั่ว ปรากฏ แจ้งชัด เป็นต้น

ปัสสนา แปลว่า การรู้ การดู การเห็น การพบ การกำหนด การพิจารณา การหยั่งรู้ การพิสูจน์ให้รู้ การแทงตลอด เป็นต้น

ภูมิ แปลว่า พื้น ชั้น เป็นดุจแผ่นดิน คือร่างกายอันจะเป็นเหตุให้เกิดปัญญา ทั้งโลกียปัญญาและโลกุตตรปัญญา เป็นสถานที่ฝึก คือฝึกกายและใจอันจะให้สำเร็จความประสงค์ทุกอย่าง เป็นต้น

วิปัสสนาภูมิ แปลว่า ภูมิเป็นที่แทงตลอดอย่างวิเศษ ภูมิเป็นที่เห็นอย่างยอดเยี่ยม ภูมิเป็นที่พบอย่างประเสริฐสุด ภูมิเป็นที่หยั่งลงสู่ความวิเศษสุด ภูมิเป็นที่เกิดแห่งวิปัสสนา ภูมิเป็นที่รู้แจ้งแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พร้อมทั้งแทงตลอดซึ่งมรรค ผล พระนิพพาน อันเป็นที่สุดแห่งทุกข์

วิปัสสนาภูมิ ท่านจำแนกไว้ ๖ ประการ คือ

(๑) ขันธ์ ๕ (๒) อายตนะ ๑๒ (๓) ธาตุ ๑๘ (๔) อินทรีย์ ๒๒ (๕) อริยสัจ ๔ (๖) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

(๑) ขันธ์ ๕

ขันธ์ แปลว่า กอง หมวด อัตตภาพร่างกาย ธรรมชาติที่ไม่เป็นแก่นสาร ธรรมชาติที่ปราศจากความสวยงาม ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธรรมชาติที่ทรงไว้ ซึ่งความว่างเปล่าธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสวรรค์ คือเป็นผู้สร้างสวรรค์,ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่ง มรรค ผล พระนิพพาน คือ มรรค ผล พระนิพพาน เกิดขึ้นเพราะอาศัยร่างกายและจิตใจของเรานี้เอง เป็นต้น

ขันธ์ ๕ แปลว่า กองแห่งรูป...เวทนา....สัญญา.....สังขาร กองแห่งวิญญาณ เช่น ปรากฏในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ (วิภังค์) ว่า

“ยงฺกิญฺจิ รูปํ.......อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ”

แปลว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ก็ตาม ย่อมกล่าวรวมกันเรียกว่า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

ย่อขันธ์ ๕

รูป เป็น รูปธรรม

เวทนา สัญญา สังขาร เป็น นามเจตสิก

วิญญาณ เป็น นามจิต

ย่อให้เหลือ ๒

รูปธรรม เป็น รูป

นามเจตสิก และนามจิต เป็น นาม

ย่อให้สั้น คือ รูปและนามเท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ พองหนอ-ยุบหนอ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ เห็นหนอ ได้ยินหนอ กลิ่นหนอ รสหนอ ถูกต้องโผฏฐัพพะหนอ รู้ธรรมารมณ์หนอเป็นต้น

(๒) อายตนะ ๑๒

อายตนะ แปลว่า เป็นที่ต่อ เป็นที่เกิด เป็นแดนเกิดเป็นที่อาศัยอยู่ เป็นที่ประชุม เป็นเหตุเป็นปัจจัย เป็นธรรมชาติที่ขยายธรรมที่เกิดในทวารทั้ง ๖ อารมณ์ทั้ง ๖ และขยายอกุศลธรรม และกุศลธรรมทั้งปวงให้กว้างขวางได้ เป็นต้น

อายตนะ ๑๒ หมายเอาที่ต่อ ๑๒ อย่าง คือ

อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

ย่ออายตนะ ๑๒ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้ง ๑๐ ประการนี้ เป็นรูป ใจเป็นนาม ธรรมารมณ์เป็นได้ทั้งรูปและนาม

ย่อให้สั้น คือ รูปและนามเท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ พองหนอ-ยุบหนอ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ เป็นต้น

(๓) ธาตุ ๑๘

ธาตุ แปลว่า สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน สภาพที่รักษาสภาวะของมันให้อยู่ได้เองตามเหตุ ตามปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้น สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะที่จะให้เกิดมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และพระนิพพานสมบัติ สภาพที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน อันเป็นเครื่องยืนให้วิปัสสนาพิสูจน์ ยืนให้วิปัสสนาเห็นแจ้งชัดว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นเครื่องยืนให้วิปัสสนาแทงตลอดซึ่งมรรค ผล ตลอดถึงพระนิพพาน

ธาตุ ๑๘ คือ

จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ

โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ

ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ

ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ

กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ

มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ

ย่อธาตุ ๑๘

เป็นรูปล้วนๆ มี ๑๐ คือ จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ

เป็นนาม มี ๗ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ มโนธาตุ

เป็นทั้งรูปและนาม คือ ธัมมธาตุ

ย่อให้สั้น คือ รูปและนาม เท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ พองหนอ-ยุบหนอ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ เห็นหนอ ได้ยินหนอ เป็นต้น

(๔) อินทรีย์ ๒๒

อินทรีย์ แปลว่า เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน เช่น ตาเป็นใหญ่ในการดู หูเป็นใหญ่ในการฟัง จมูกเป็นใหญ่ในการดมกลิ่น ลิ้นเป็นใหญ่ในการลิ้มรส กายเป็นใหญ่ในการถูกต้อง ใจเป็นใหญ่ในการรับ จำ คิด รู้ธรรมารมณ์ เป็นต้น

แปลว่า เป็นใหญ่ในการทำกิจแห่งการที่จะรู้แจ้ง แทงตลอดเฉพาะตน เช่น ตา เป็นใหญ่ในทางที่จะรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งวิปัสสนาญาณ มรรค ผล และพระนิพพานทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นใหญ่ในทางที่จะรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งมรรคผล และพระนิพพาน เฉพาะทางของตนๆ

แปลว่า สำเร็จมาแต่อกุศลกรรมและกุศลกรรม เพราะอินทรีย์มีจักขุ เป็นต้นนั้น เกิดพร้อมเพราะอาศัยกรรม ยึดเอากรรมที่เป็นอกุศลและกุศล และสำเร็จมาจากกรรมทั้ง ๒ นั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์

อินทรีย์ ๒๒ คือ

๑.จักขุนทรีย์ เป็น รูป
๒.โสตินทรีย์ เป็น รูป
๓.ฆานินทรีย์ เป็น รูป
๔.ชิวหินทรีย์ เป็น รูป
๕.กายินทรีย์ เป็น รูป
๖.อิตถินทรีย์ เป็น รูป
๗.ปุริสินทรีย์ เป็น รูป
๘.ชีวิตินทรีย์ เป็น ทั้งรูปและนาม
๙.มนินทรีย์ เป็น นามจิต
๑๐.สุขินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๑.ทุกขินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๒.โสมนัสสินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๓.โทมนัสสินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๔.อุเปกขินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๕.สัทธินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๖.วิริยินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๗.สตินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๘.สมาธินทรีย์ เป็น นามเจตสิก
๑๙.ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปัญญา หมายเอาตั้งแต่ ปุถุชน ถึง โคตรภูญาณ) เป็นนามเจตสิก
๒๐.อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติ ด้วยมุ่งหวังว่าเราจักรู้สัจจธรรมที่ยังไม่รู้ หมายเอา โสดาปัตติมัคคญาณพวกเดียว) เป็นนามเจตสิก
๒๑.อัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปัญญาอันรู้ทั่วถึง หมายเอาญาณทั้ง ๖ นับตั้งแต่โสดาปัตติผลญาณ ถึง อรหัตตมัคคญาณ) เป็นนามเจตสิก
๒๒.อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว หมายเอา ปัญญาของพระอรหันต์ ได้แก่ อรหัตตผลญาณ) เป็น นามเจตสิก

ย่ออินทรีย์ ๒๒

ข้อ ๑-๗ เป็น รูป
ข้อ ๘ เป็น ทั้งรูปและนาม
ข้อ ๘-๒๒ เป็น นามเจตสิก
ข้อ ๙ เป็น นามจิต

ย่อให้สั้น คือ รูปและนาม เท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ พองหนอ-ยุบหนอ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ เห็นหนอ ได้ยินหนอ เป็นต้น

(๕) อริยสัจ ๔

อริยสัจ แปลว่า ของจริงอันประเสริฐ ของจริงที่พระอริยเจ้าค้นพบ ของจริงแห่งพระอริยเจ้า ของจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยเจ้าของจริงอันเป็นเหตุให้ห่างไกล จากกิเลส ของจริงอย่างพระอริยเจ้า คือ ของจริงแท้แน่นอน เป็นเหตุให้ดับทุกข์ได้ ของจริงเป็นเหตุให้ได้บรรลุมรรค ผล พระนิพพาน

อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ คือ ทุกขสัจจ์ สมุทัยสัจจ์ นิโรธสัจจ์ และมัคคสัจจ์

(๑) ทุกขสัจจ์ แปลว่า ความจริง คือ ทุกข์ ทุกข์นั้นมีสภาวะที่ทนได้ยาก มีสภาวะบีบคั้น เบียดเบียน เป็นลักษณะ มีสภาวะขัดแย้ง บกพร่องขาดสาระแก่นสาร และมีสภาพเดือดร้อนนานัปการเป็นรส มีการเวียนว่ายตายเกิดให้ห้วงมหรรณพภพสงสาร เป็นเครื่องปรากฏให้เห็นโดยองค์ธรรม ได้แก่ โลกียจิต ๘๑ ดวง (เว้นโลกุตตรจิต ๘ ดวง) เจตสิก ๕๑ ดวง (เว้นโลภะ) รูป ๒๘ รวมเป็น ๑๖๐

ย่อให้สั้น ได้แก่ ขันธ์ ๕

ย่อลงให้สั้น คือรูปและนาม เท่านั้น

(๒) สมุทัยสัจจ์ แปลว่า ความจริงที่เป็นเหตุทำให้ทุกข์เกิดขึ้น ได้แก่ ตัณหา ๓ ประการ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหา ๓ ประการนี้ ถือว่าเป็นแดน เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเหตุทำให้เราต้องเกิดแล้วเกิดเล่าประสบกับความทุกข์บ่อยๆ นี้เป็นรสของตัณหาและมีการกีดกัน ขวางกั้นปิดบังห้ามไม่ให้เราออกไปจากภพนี้ เป็นเครื่องปรากฏให้เห็นของตัณหาว่าโดยพิสดาร มีถึง ๑๐๘ สมุทัยสัจจ์ จัดเป็น นาม

(๓) นิโรธสัจจ์ แปลว่า ความจริงที่ดับทุกข์ได้ หมายเอาการดับตัณหาทั้ง ๓ ด้วยอำนาจของมรรคญาณ โดยองค์ธรรม ได้แก่ พระนิพพาน อันเป็นที่ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ทั้งปวง ฉะนั้น นิโรธสัจจ์ จึงมีความสงบอันบริสุทธิ์ ไร้การปรุงแต่งเป็นลักษณะ และมีการไม่จุติ ไม่เคลื่อนย้าย เป็นรส ทั้งไม่มีนิมิต คือ รูปนิมิต เวทนานิมิต สัญญานิมิต สังขารนิมิต วิญญาณนิมิต ไม่มีให้เป็นเครื่องปรากฏผูกรัดจิตใจของสรรพสัตว์ ขันธ์ห้าดับหมด นิโรธสัจจ์ จัดเป็น นาม

(๔) มัคคสัจจ์ แปลว่า ความจริง คือ ข้อปฏิบัติอันจะให้ถึงความดับทุกข์ได้ ฉะนั้น มัคคสัจจ์ จึงมีการนำบุคคลออกจากอวิชชา สังขาร วิญญาณ...ภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นลักษณะ มีการประหารกิเลสตายคลายกิเลสหลุด ผุดเป็นองค์อริยสงฆ์ เป็นรสอันเลิศ มีการพ้นไปจากเครื่องผูกรัดทั้งปวง และมีการพ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิดเป็นเครื่องปรากฏให้เห็นโดยองค์ธรรมมี อยู่ ๘ ประการ คือ

๑.สัมมาทิฏฐิ
๒.สัมมาสังกัปโป
๓.สัมมาวาจา
๔.สัมมากัมมันโต
๕.สัมมาอาชีโว
๖.สัมมาวายาโม
๗.สัมมาสติ
๘.สัมมาสมาธิ

สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ จัดเป็นปัญญา

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ จัดเป็นศีล

สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ จัดเป็นสมาธิ

ศีล สมาธิ ปัญญา จัดเป็นนาม

ย่ออริยสัจ ๔

ทุกขสัจจ์ เป็น ทั้งรูปและนาม

สมุทัยสัจจ์ เป็น นาม

นิโรธสัจจ์ เป็น นาม

มัคคสัจจ์ เป็น นาม

ย่อให้สั้น คือ รูปและนาม เท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ พองหนอ-ยุบหนอ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ เห็นหนอ ได้ยินหนอ เป็นต้น

(๖) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

ปฏิจจสมุปบาท แปลว่า ธรรมที่เกิดขึ้น เพราะอิงอาศัยกันและกัน หมายถึง ธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นเหตุ และเป็นผลอยู่ในตัวของมันเองแล้วผูกพันเกาะเกี่ยวต่อเนื่องกันดุจลูกโซ่ คล้องกันไปหาเบื้องต้นและที่สุดยุติลงมิได้ โดยองค์ธรรมมีอยู่ ๑๒ ประการ คือ

๑.อวิชชา เป็น นาม
๒.สังขาร เป็น นาม
๓.วิญญาณ เป็น นาม
๔.นามรูป เป็น ทั้งรูปและนาม
๕.สฬายตนะ เป็น ทั้งรูปและนาม
๖.ผัสสะ เป็น นาม
๗.เวทนา เป็น นาม
๘.ตัณหา เป็น นาม
๙.อุปาทาน เป็น นาม
๑๐.ภพ เป็น นาม
๑๑.ชาติ เป็น นาม
๑๒ ชรา-พยาธิ-มรณะ เป็น นาม

ย่อปฏิจจสมุปบาท ๑๒ คือ

หมายเลข ๑ ถึง ๓ และหมายเลข ๖ ถึง ๑๒ เป็นนาม

หมายเลข ๔ และ ๕ เป็นทั้ง รูปและนาม

ย่อให้สั้น คือ รูปและนาม เท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ พองหนอ-ยุบหนอ ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ เห็นหนอ ได้ยินหนอ เป็นต้น

๔.ความหมายของคำว่า ปรมัตถสัจจะ

ปรมัตถสัจจะ หมายความว่า ความจริงอันเป็นประโยชน์อย่างสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของจริง

ย่อให้สั้น คือ รูปและนาม เท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ พองหนอ-ยุบหนอ เป็นต้น

๕.ความหมายของคำว่า จิต

จิต หมายความว่า สภาวธรรมที่ รับ จำ คิด รู้อารมณ์

จิตนั้นมี ๘๙ ดวง ๑๒๑ ดวง

จิตโดยย่อ ๘๙ ดวง โดยพิสดาร ๑๒๑ ดวง

จิต ๘๙ ดวงนั้น คือ

อกุศลจิต ๑๒ ดวง

อเหตุกจิต ๑๘ ดวง

กามาวจรจิต ๒๔ ดวง

รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง

อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง

โลกุตรจิต ๘ ดวง

รวม ๘๙ ดวง

จิต ๑๒๑ ดวงนั้น โดยนับเอาโลกุตตรจิต ๘ ดวง ออกไปกระจายตามฌาน ๕ คือ เอา ๕ คูณ ๘ เป็น ๔๐ ดวง จิต ๘๙ ดวง เมื่อชักออกเสีย ๘ ดวง คงเหลือ ๘๑ ดวง

รูปาวจรจิตกับอรูปาวจรจิต รวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มหัคคตจิต” คือจิตที่มีอำนาจมาก กามาวจรจิต ๒๔ ดวง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มหากุศลจิต ๘ ดวง มหาวิบากจิต ๘ ดวง มหากิริยา ๘ ดวง รวมเป็น ๒๔ ดวง จิต ๘๑ นั้น เรียกโลกียจิต ส่วนอีก ๘ ดวง หรือที่เอาไปกระจายเป็น ๔๐ ดวง ดังกล่าวมาแล้วนั้น เรียกว่า โลกุตตรจิต

ย่อให้สั้น คือ นามจิตและนามเจตสิก เท่านั้น

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ คิดหนอ เป็นต้น

๖.วิสุทธิ ๗

ความหมายของคำว่า วิสุทธิ ๗ ได้แก่ ความหมดจดวิเศษ ๗ ประการ คือ

๑.สีลวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งศีล
๒.จิตตวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งจิต
๓.ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
๔.กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
๕.มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
๖.ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ
๗.ญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ

ย่อให้สั้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ย่อให้สั้นในแนวปฏิบัติ ได้แก่ รูปและนาม คือ พองหนอ-ยุบหนอ เป็นต้น

๗.วิปัสสนาญาณ ๑๖

๑.นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารู้จักแยกรูปนามออกจากกัน คือ รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม เพราะรู้แจ้งชัดซึ่งรูปนาม
๒.ปัจจยปริคหญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารู้เหตุ รู้ปัจจัยของรูปนาม คือ รู้ว่ารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจาก เหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อาศัยรวมกันอยู่
๓.สัมมสนญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามเป็นพระไตรลักษณ์กำหนดแจ้งชัด ๑๕ % คือกำหนดยกรูปนามขึ้นพิจารณาให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
๔.อุทยัพพยญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของรูปนาม พระไตรลักษณ์ปรากฏชัดเจนแจ่มแจ้ง ๙๐% สันตติขาดจนเป็นเหตุทราบชัดว่าสิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นแล้ว ก็ล้วนต้องดับไปเป็นธรรมดา
๕.ภังคญาณ ปัญญากำหนดพิจารณเห็นเฉพาะความดับไปของรูปนามคืออุปาทะ ความเกิดขึ้น ฐิติ ความตั้งอยู่มีอยู่ แต่ปรากฏไม่ชัดเจนเพราะวิปัสสนาญาณมีกำลังกล้าขึ้นรูปนามปรากฏเร็ว จึงเป็นเหตุให้พิจารณาเห็นชัดลงไปเฉพาะแห่งความดับอันเป็นจุดจบสิ้นว่า สังขารทั้งปวงล้วนดับสลายไปทั้งสิ้น
๖.ภยตูปัฏฐานญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามโดยความเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่ต้องแตกสลายไปทั้งสิ้น
๗.อาทีนวญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นทุกข์ เห็นโทษของรูปนาม คือ เมื่อเห็นรูปนามล้วนแต่ดับสลายเป็นของน่ากลัวมาตามลำดับแล้วย่อมพิจารณาเห็น ว่ารูปนามทั้งปวงล้วนแต่เป็นทุกข์ เป็นโทษ
๘.นิพพิทาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูปนาม คือ เมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษของรูปนามแล้ว ย่อมเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่รื่นเริง เพลิดเพลิน หลงใหล ในรูปนาม
๙.มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาปรารถนาอยากจะออก อยากจะหนี อยากหลุดพ้นไปจากรูปนาม เพราะพิจารณาเห็นทุกข์เห็นโทษ และเกิดความเบื่อหน่ายในรูปนามที่ผ่านมา
๑๐.ปฏิสังขาญาณ ปัญญากำหนดกลับไปพิจารณาทบทวนพระไตรลักษณ์อีก เพื่อจะหาทางหลุดพ้น ไปจากรูปนาม คือตั้งใจจริงปฏิบัติจริง ไม่ย่อท้อ ใจหนักแน่น มั่นคงเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว สู้ตาย
๑๑.สังขารุเปกขาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาวางเฉย เป็นกลางในรูปนาม คือ ทราบชัดตามความเป็นจริงในรูปนามแล้วจึงเป็นผู้มีใจเป็นกลางวางเฉยได้
๑๒.อนุโลมญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารูปนามที่เป็นไปตามลำดับอนุโลมญาณต่ำ อนุโลมญาณสูง อันเป็นเครื่องตัดสินใจว่าไม่ผิดแน่เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน โดยอาการของพระไตรลักษณ์อาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
๑๓.โคตรภูญาณ ปัญญาที่โอนจากโคตรของปุถุชน เข้าสู่โคตรของพระอริยะเพื่อจะหน่วงยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๔.มรรคญาณ ปัญญาที่ปหานกิเลสให้เป็นสมุทเฉทปหานมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๕. ผลญาณ ปัญญาที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่มรรคญาณปหานกิเลสแล้ว มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
๑๖.ปัจจเวกขณญาณ ปัญญากำหนดพิจารณากิเลสที่ละได้แล้วที่ยังเหลืออยู่ ตลอดถึงมรรค ผล และนิพพาน


watpitch.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ตุลาคม 2560 09:40:25 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 61.0.3163.100 Chrome 61.0.3163.100


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2560 09:48:21 »



สิ่งที่วิปัสสนาควรทำ

๑.สติ กำหนดให้ทันปัจจุบันธรรม
๒.สติปัฏฐาน ๔
๓.สัมมัปปธาน ๔
๔.อิทธิบาท ๔
๕.อินทรีย์ ๕
๖.พละ ๕
๗.โพชฌงค์ ๗
๘.มรรคมีองค์ ๘

สติปัฏฐาน ๔
(ที่ตั้งแห่งสติ ๔ ประการ)

๑.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ให้มีสติกำหนดพิจารณารู้กายเป็นอารมณ์ว่า กายนี้สักว่ากาย จนรู้แจ้งชัดด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า กายนี้สักแต่ว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขาเรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ฐานเป็นที่ตั้งแห่งสติอันเป็นเครื่องตามพิจารณาให้เห็นกายในกาย)

๒.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ให้มีสติกำหนดพิจารณารู้เวทนาทั้งสุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นอารมณ์ว่า เวทนานี้สักว่าเวทนา จนรู้แจ้งชัดด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า เวทนานี้สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ฐานเป็นที่ตั้งแห่งสติอันเป็นเครื่องตามพิจารณาให้เห็นเวทนาในเวทนา)

๓.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ให้มีสติกำหนดพิจารณารู้อาการของจิตที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ จิตปราศจากราคะ จิตปราศจากโทสะ จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิตถึงความเป็นใหญ่ เป็นต้น จนรู้แจ้งชัดด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า จิตสักแต่ว่าจิต ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ฐานเป็นที่ตั้งแห่งสติ อันเป็นเครื่องตามพิจารณาให้เห็นจิตในจิต)

๔.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือให้มีสติกำหนดพิจารณารู้ธรรมที่เป็นกุศล หรืออกุศล อันบังเกิดขึ้นกับจิตเป็นอารมณ์ จนรู้แจ้งชัดด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า ธรรมนี้สักว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ฐานเป็นที่ตั้งแห่งสติ อันเป็นเครื่องตามพิจารณาให้เห็นธรรมในธรรม)

สัมมัปปธาน ๔
(ความเพียรที่เป็นประธาน ๔ ประการ)

๑.สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน คือ ให้มีสติระวังทวารทั้ง ๖
๒.ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป คือให้เพียรระวังไม่ให้วิตกทั้ง ๓ เกิดขึ้น
๓.ภาวนาปธาน เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดมีขึ้น คือมีสติไม่ประมาท เช่น บำเพ็ญสติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น
๔.อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมไป คือให้ตามรักษากรรมฐานไว้ไม่ให้เสื่อม เช่น ตามรักษาอัฏฐิกสัญญากรรมฐาน ตามรักษาขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ วิปัสสนาญาณ เป็นต้น ไม่ให้เสื่อมไป

อิทธิบาท ๔
(คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ ประการ)
๑.ฉันทะ ความพอใจในการปฏิบัติในสิ่งนั้นๆ
๒.วิริยะ ความเพียรในการปฏิบัติ
๓.จิตตะ เอาใจใส่จดจ่อในการปฏิบัติ
๔.วิมังสา ฉลาดในการปฏิบัติ

อินทรีย์ ๕
(ความเป็นใหญ่ ๕ ประการ)
๑.สัทธินทรีย์ อินทรีย์ (ความเป็นใหญ่) คือ ศรัทธา
๒.วิริยินทรีย์ อินทรีย์ คือ ความเพียร เช่น ความเพียรรู้ รูป นาม
๓.สตินทรีย์ อินทรีย์ คือ สติ ความระลึกได้ทัน รูป นาม
๔.สมาธินทรีย์ อินทรีย์ คือ สมาธิ ความตั้งใจมั่นในการที่จะรู้แจ้งรูป นาม
๕.ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ คือ ปัญญา ความรอบรู้ในรูป นาม

พละ ๕
(กำลัง ๕ ประการ)
๑.สัทธาพละ กำลัง คือ ศรัทธา
๒.วิริยพละ กำลัง คือ ความเพียร
๓.สติพละ กำลัง คือ สติ
๔.สมาธิพละ กำลัง คือ สมาธิ
๕.ปัญญาพละ กำลัง คือ ปัญญา

โพชฌงค์ ๗
(องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๗ ประการ)
๑.สติสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ สติ) คือในขณะนั้นจิตมีสติระลึกอยู่ได้ว่า ตนกำลังปฏิบัติอย่างไร เช่น ตนกำลังเพ่งกสิณ ตนกำลังบริกรรม ตนกำลังกำหนดลมหายใจ ระลึกถึงวัตรของตนได้อยู่ ไม่เผลอ ไม่ประมาท ไม่หลับ เป็นต้น

๒.ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ ธัมมวิจัย) คือ ในขณะนั้นปัญญาหรือวิจรณญาณก็ทำงานอยู่ หมายความว่าได้ใช้ปัญญาธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ใจ ให้เห็นตามพระไตรลักษณ์อยู่ มิใช่มัวคิดเพลิดเพลินไป ทางอื่น หรือหลับไป หรือไม่ได้ทำอะไรเลย

๓.วิริยสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือวิริยะ) คือ ความเพียรพยายามในการใช้ปัญญาพิจารณา ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนานั้นจิตไม่ซบเซาไม่เกียจคร้านท้อแท้

๔.ปีติสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ ปีติ) คือ ความเอิบอิ่มใจในการเจริญวิปัสสนา เป็นความเอิบอิ่มใจที่ไม่อิงอามิสไม่ข้องเกี่ยวกับกามารมณ์ คือไม่มีความติดพันในลาภยศ หรือ อิฏฐารมณ์ใดๆ แต่เป็นความเอิบอิ่มแห่งจิตอันบริสุทธิ์แท้

๕.ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ ปัสสัทธิ) ได้แก่ความสงบระงับ คือในขณะนั้นได้เกิดความสงบระงับทั้งกายและจิต ไม่มีอาการกระวนกระวายด้วยอำนาจแห่งกิเลสตัณหาใดๆ เลย

๖.สมาธิสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ สมาธิ) ได้แก่ความตั้งมั่นแห่งจิต คือในขณะนั้นจิตหยุดนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวไม่วอกแวก ไม่หลุกหลิก หากมั่นอยู่ในอารมณ์ของวิปัสสนาญาณแท้

๗.อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คืออุเบกขา) ได้แก่ความวางเฉยของจิต คือ จิตในขณะนั้นตั้งอยู่ในอารมณ์แห่งอุเบกขา ไม่เอนเอียงไปข้างอิฏฐารมณ์ (อารมณ์อันน่าปรารถนา) ไม่เอนเอียงไปข้างอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์อันไม่น่าปรารถนา) แต่มีความวางเฉย ดุจยานพาหนะที่แล่นไปบนทางราบเรียบได้ที่ดีแล้ว สารถีก็วางเฉยในการควบคุมได้

จากโพชฌงค์ ๗ นี้ เราจะเห็นได้ว่า จิตจะเข้าสู่จุดตรัสรู้มีอาการอย่างไร และการตรัสรู้ที่แท้จริงนั้น ไม่ใช่ความฝัน ไม่ใช่ผีเข้าเจ้าทรง ไม่ใช่คาดคะเนนึกเดาเอาเอง และไม่มีความทะเยอทะยานใดๆ ทั้งสิ้นฯ

มรรคมีองค์ ๘
(หนทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ)
๑.สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่ เห็นอริยสัจ ๔

๒.สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ ได้แก่ ดำริจะออกจากกาม ดำริในการไม่พยาบาท ดำริในการไม่เบียดเบียน

๓.สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ ได้แก่ เว้นจากวจีทุจริต ๔

๔.สัมมากัมมันตะ คือ การทำงานชอบ ได้แก่ เว้นจากกายทุจริต ๓

๕.สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นจากการเลี้ยงชีพที่ผิด

๖.สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ ได้แก่เพียรในที่ ๔ สถาน (สัมมัปปธาน ๔)

๗.สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ ได้แก่ ระลึกในสติปัฏฐานทั้ง ๔

๘.สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ เจริญฌาน ๔ ให้เกิดขึ้น

ในองค์ทั้ง ๘ นั้น ความเห็นชอบ ความดำริชอบ จัดเข้าในปัญญาสิกขา วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ จัดเข้าในสีลสิกขา ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ จัดเข้าในจิตตสิกขา


watpitch.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 ตุลาคม 2560 09:49:55 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 61.0.3163.100 Chrome 61.0.3163.100


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2560 11:19:48 »



สิ่งที่วิปัสสนาควรละ

สิ่งที่วิปัสสนาควรละ
๑. อวิชชา-โมหะ
๒. อาสวะ ๔
๓. โอฆะ ๔
๔. โยคะ ๔
๕. คันถะ ๔
๖. อุปาทาน ๔
๗. อันตราย ๔
๘. นิวรณ์ ๕
๙. มาร ๕
๑๐. อันตราย ๗
๑๑. อนุสัย ๗
๑๒. ปลิโพธ ๑๐
๑๓. กิเลส ๑๐
๑๔. สังโยชน์ ๑๐
๑๕. ทุจริต ๑๐
๑. อวิชชา-โมหะ

(ความไม่รู้ ๘ ประการ)
๑. ไม่รู้ทุกข์
๒. ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์
๓. ไม่รู้ความดับทุกข์
๔. ไม่รู้หนทางดับทุกข์
๕. ไม่รู้เบื้องต้น
๖. ไม่รู้เบื้องปลาย
๗. ไม่รู้ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
๘. ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท

๒. อาสวะ ๔
(เครื่องหมักดอง ๔ ประการ)
๑. กามาสวะ อาสวะ คือ กาม
๒. ภวาสวะ อาสวะ คือ ภพ
๓. ทิฏฐาสวะ อาสวะ คือ ทิฐิ
๔. อวิชชาสวะ อาสวะ คือ อวิชชา

๓. โอฆะ ๔
(ห้วงน้ำ ๔ ประการ)

๑. กาโมฆะ โอฆะ คือ กาม
๒. ภโวฆะ โอฆะ คือ ภพ
๓. ทิฎโฐฆะ โอฆะ คือ ทิฐิ
๔. อวิชโชฆะ โอฆะ คือ อวิชชา

๔. โยคะ ๔
(สิ่งที่ประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏะ)

๑. กามโยคะ โยคะ คือ กาม
๒. ภวโยคะ โยคะ คือ ภพ
๓. ทิฏฐิโยคะ โยคะ คือ ทิฐิ
๔. อวิชชาโยคะ โยคะ คือ อวิชชา
๕. คันถะ ๔

(ความเกี่ยวข้องผูกพัน ๔ ประการ)
๑. อภิชฌากายคันถะ ความเพ่งเล็งอยากได้
๒. พยาบาทกายคันถะ ความปองร้าย
๓. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ความเห็นผิดเป็นเหตุถือตัว
๔. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ ความยึดถือสิ่งอื่นๆ

๖. อุปาทาน ๔
(ความยึดมั่น ๔ ประการ)

๑. กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม
๒. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในทิฐิ
๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลพรต
๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะของตน

๗. อันตราย ๔
(สิ่งขัดขวาง ๔ ประการ)

๑. กิเลสมิจฉาทิฏฐิ กิเลสเป็นเหตุให้เห็นผิด
๒. กรรม อนันตริยกรรม
๓. วิบาก เกิดเป็นเปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
๔. อริยูปวาท กล่าวร้ายพระอริยเจ้าหรือผู้ปฏิบัติเหมือนพระอริยเจ้า

๘. นิวรณ์ ๕
(สิ่งขวางกั้น ๕ ประการ)

๑. กามฉันทะ ความพอใจในกาม
๒. พยาบาท ความปองร้าย
๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ท้อถอย
๔. อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
๕. วิจิกิจฉา ความสงสัย

๙. มาร ๕
(สิ่งที่ยังกุศลธรรมให้ตาย ๕ ประการ)

๑. กิเลสมาร โลภะ โทสะ โมหะ เป็นมาร
๒. ขันธะมาร ขันธ์ ๕ เป็นมาร
๓. มัจจุมาร ความตายเป็นมาร
๔. อภิสังขารมาร การปรุงแต่งเป็นกรรมเป็นมาร
๕. เทวปุตตมาร เทวดาเป็นมาร

๑๐. อันตราย ๗
(สิ่งขัดขวาง ๗ ประการ)

๑. กัมมารามตา มัวทำงานไม่มีสติ
๒. นิททารามตา มัวนอน
๓. ภาสารามตา มัวคุย
๔. สังคณิการามตา มัวคลุกคลีกับหมู่คณะ
๕. อคุตตทวารามตา ไม่สำรวมทวาร ๖
๖. อโภชเนมัตตัญญุตา ไม่รู้จักประมาณอาหาร
๗. จิตตัง วิมุตตัง นะ ปัจจเวกขติ ไม่พิจารณาจิตที่หลุดพ้นแล้ว

๑๑. อนุสัย ๗
(สิ่งที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน ๗ ประการ)

๑. กามราคะ ความอยากได้ในกาม อนาคามิมรรคถอนได้
๒. ภวราคะ ความอยากได้ในภพ อรหัตตมรรคถอนได้
๓. ทิฎฐิ ความเห็นผิด โสดาปัตติมรรคถอนได้
๔. มานะ ความถือตัว อรหัตตมรรคถอนได้
๕. ปฏิฆะ ความโกรธ อนาคามิมรรคถอนได้
๖. วิจิกิจฉา ความสงสัย โสดาปัตติมรรคถอนได้
๗. อวิชชา ความไม่รู้ อรหัตตมรรคถอนได้

๑๒. ปลิโพธ ๑๐
(เครื่องกังวล ๑๐ ประการ)

๑. อาวาสปลิโพธ ห่วงอาวาส
๒. ลาภปลิโพธ ห่วงลาภสักการะ
๓. โภคปลิโพธ ห่วงทรัพย์
๔. กัมมปลิโพธ ห่วงการงาน
๕. โรคปลิโพธ ห่วงโรค
๖. อัทธานปลิโพธ ห่วงการเดินทางไกล
๗. คณปลิโพธ ห่วงหมู่คณะ
๘. ญาติปลิโพธ ห่วงญาติ
๙. คันถปลิโพธ ห่วงการเล่าเรียน
๑๐. อิทธิปลิโพธ ห่วงการแสดงฤทธิ์

๑๓. กิเลส ๑๐
(เครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง ๑๐ ประการ)

๑. โลภะ ความอยากได้อารมณ์ทั้ง ๖
๒. โทสะ ความโกรธทำให้ใจเศร้าหมอง
๓. โมหะ ความหลงไม่รู้สิ่งต่างๆ
๔. อหิริกะ ความไม่ละอายบาป ไม่ละอายการกระทำบาป
๕. อโนตัปปะ ความไม่เกรงกลัวบาป ไม่กลัวผลของการทำบาป
๖. ทิฎฐิ ความเห็นผิดในสิ่งต่างๆ
๗. มานะ ความถือตัว ด้วยมานะทั้ง ๙
๘. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่างๆ
๙. ถีนะ ความหดหู่ท้อถอยต่ออารมณ์ต่างๆ
๑๐. วิจิกิจฉา ความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

๑๔. สังโยชน์ ๑๐
(เครื่องผูกมัดให้ติดอยู่ในภพ ๑๐ ประการ)

๑. สักกายทิฐิ ความเห็นผิดเป็นเหตุให้ถือตัวตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
๓. สีลัพพตปรามาส ความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วยศีลพรตอย่างนั้นอย่างนี้
๔. กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลส เรียกแต่เพียงราคะก็มี
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ความหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ เรียกโทสะตรงทีเดียว ก็มี
    (๕ ข้อนี้เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ คือ อย่างหยาบ เรียกว่า “โอรัมภาคิยสังโยชน์” พระอนาคามีตัดได้ขาด)
๖. รูปราคะ ความติดในรูปธรรม เช่น ชอบใจในบุคคลบางคนหรือพัสดุบางสิ่งหรือแม้ในวัตถุ อันเป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน
๗. อรูปราคะ ความติดอยู่ในอรูปธรรม เช่น พอใจในสุขเวทนาอันเป็นอารมณ์แห่งอรูปฌาน
๘. มานะ ความสำคัญว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่
๙. อุทธัจจะ ความคิดพล่าน เช่น นึกอะไรก็เกินไปกว่าเหตุ
๑๐. อวิชชา ความหลง เป็นเหตุไม่รู้จริงอีก
    (๕ ข้อนี้ เรียกว่า “อุทธัมภาคิยะสังโยชน์” นี้ พระอรหัตตมรรคตัดขาดได้สิ้นเชิง)

๑๕. ทุจริต ๑๐
(ความประพฤติชั่ว ๑๐ ประการ)

๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์
๓. กาเมสุมิจฉาจารา ประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท พูดเท็จ
๕. ปิสุณวาสจา พูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจา พูดหยาบ
๗. สัมผัปปลาปา พูดเพ้อเจ้อ
๘. อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้
๙. พยาบาท ความปองร้าย
๑๐. วิหิงสา ความเบียดเบียน


watpitch.com
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.633 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 18:07:47