[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 01:48:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เทวสถานโบสถ์พราหมณ์  (อ่าน 1343 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 มีนาคม 2560 08:56:36 »





เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ (ปรางค์แขก) อ.เมือง จ.ลพบุรี

เทวสถานโบสถ์พราหมณ์

จากอธิบายของ ผศ.ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่า ศาสนาพราหมณ์และคณะพราหมณ์เข้ามามีบทบาทในดินแดนประเทศไทยก่อนที่คนไทยจะสร้างอาณาจักรเป็นปึกแผ่น นักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ไทยรับเอาศาสนาพราหมณ์มาหลายทาง ทางแรก ได้แก่ ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลผ่านทางเขมรซึ่งขณะนั้นคืออาณาจักรฟูนัน ราวพุทธศตวรรษที่ ๖ โดยเขมรมีอิทธิพลและบทบาททั้งทางการเมืองและศิลปะอยู่ในดินแดนแถบนี้มาก่อน ดังปรากฏหลักฐานจากโบราณสถาน เช่น ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย

ทางที่ ๒ ได้แก่ ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันตก ได้รับอิทธิพลผ่านอาณาจักรทวารวดีที่มีเมืองนครปฐมเป็นศูนย์กลาง โดยรับเอาศาสนาพราหมณ์มาจากอินเดียโดยตรง คือใน พ.ศ.๓๐๓ ครั้งพระโสณเถระกับพระอุตรเถระเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรทวารวดี ในฐานะศาสนทูตของพระเจ้าอโศกมหาราช ครั้งนั้นมีคณะพราหมณ์ติดตามมาด้วย นักวิชาการ อาทิ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล และกาญจนา สุวรรณวงศ์ จึงสันนิษฐานว่า ศาสนาพราหมณ์น่าจะได้ประดิษฐานตั้งมั่นในผืนแผ่นดินไทยนับจากสมัยนั้น ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีสมัยทวารวดี อาทิ เทวสถาน เทวรูป พระเป็นเจ้าต่างๆ ในจังหวัดภาคตะวันตก เช่น ที่นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี

และทางที่ ๓ ภาคใต้ รับผ่านพราหมณ์ที่มากับพ่อค้าอินเดีย ซึ่งเดินทางมาค้าขายที่เมืองท่าในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย โดยพบ หลักฐานอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์เป็นจำนวนมากที่สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี พังงา พัทลุง

หลักฐานทางโบราณคดีที่รับอิทธิพลผ่าน ๓ อาณาจักรข้างต้นแสดงว่า ในระยะแรก ผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ส่วนใหญ่เป็นพวกชนชั้นสูง เนื่องจากสถาบันกษัตริย์ยอมรับพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ ในขณะที่ประชาชนยังคงนับถือพระพุทธศาสนา และมีความเชื่อดั้งเดิม และบางส่วนมีความเชื่อผสมผสานระหว่างพระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ และผี

เมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี พระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์พระร่วงทรงเอาพระทัยใส่การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แต่ขณะเดียวกันก็ทรงเอาพระธุระในกิจการของศาสนาพราหมณ์ด้วย ในฐานะทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก ดังปรากฏจากโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์หลายแห่ง เช่น วัดศรีสวาย วัดพระพายหลวง ศาลตาผาแดง วัดเจ้าจันทร์ เทวสถานในอาณาจักรสุโขทัย รวมถึงหลักฐานในศิลาจารึกหลักต่างๆ เช่น ศิลาจารึกวัดศรีชุม ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง โดยในจารึกวัดป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัย (หลักที่ ๔) สมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) เป็นอักษรขอม ภาษาเขมร กล่าวถึงการสร้างเทวรูปไว้สำหรับบูชา และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงแปลได้ความดังนี้

"...แล้วทรงหล่อรูปพระศรีอาริย์พระองค์หนึ่ง ประดิษฐานไว้ในพระวิหารคด ทิศใต้ในอาราม ครั้งหนึ่งตรัสสั่งนายศิลปินนายช่างให้หล่อรูปพระนเรศ พระมเหศวร พระวิษณุกรรม รูปพระสุเมธ วรดาบส พระศรีอาริย์ ทั้งห้ารูปนี้ประดิษฐานไว้ในหอเทวาลัยมหาเกษตรพิมาน ไว้เป็นที่นิพัทธบูชา ณ ตำบลป่ามะม่วง..."

ถึงสมัยอยุธยาปรากฏหลักฐานร่องรอยอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์อย่างเด่นชัด และแพร่หลายมากในกลุ่มชนชั้นสูง คติความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ เข้ามาผสมผสานกับพิธีกรรมดั้งเดิมของคนไทยนับแต่นั้นมา สำคัญคือการรับเอาคติเทวราชา ซึ่งเป็นหลักการที่ยอมรับสถานะของพระเจ้าแผ่นดินว่าทรงเป็นเทวราช หรือผู้สืบเชื้อสายมาจากพระเป็นเจ้า (พระนารายณ์ หรือพระอิศวร) คตินี้ได้นำมาใช้เป็นหลักการปกครองประเทศนับแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองเป็นต้นมา ตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นคติเทวราชาชัดเจน คือการเฉลิมพระนามของพระเจ้าแผ่นดินให้พ้องกับพระนามของพระ เป็นเจ้า อาทิ สมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระยาราม สมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระนารายณ์

นอกจากนี้การออกพระนามพระเจ้าแผ่นดินในพระราชพงศาวดารก็มักเติมสร้อยพระนามให้มีพระนามของพระเป็นเจ้ารวมอยู่ด้วย ดังในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ที่ออกพระนามสมเด็จพระเอกาทศรถว่า พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวร และด้วยเหตุที่พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเทวราชนี้เอง พราหมณ์จึงนำเอาพิธีต่างๆ เข้ามาใช้ในราชสำนักเพื่อเสริมสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่พระเจ้าแผ่นดิน พราหมณ์ในสมัยนั้นจึงได้รับการยกย่องอย่างมาก






ปราสาทหินพิมาย  อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ต้นแบบของปราสาทนครวัด สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่อยู่ในประเทศกัมพูชา

ถึงยุครัตนโกสินทร์ ครั้งสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระราชดำริว่า เหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ส่งผลให้ตำราต่างๆ ถูกทำลายและสูญหายไปจำนวนมาก ทั้งพราหมณ์ราชสำนักก็พลัดหายไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปสืบหาตำราต่างๆ ที่หัวเมืองปักษ์ใต้มายังกรุงเทพฯ และให้นำพราหมณ์ภาคใต้ขึ้นมารับราชการเป็นพราหมณ์ประจำราชสำนัก เพื่อรื้อฟื้นและวางหลักของพิธีการต่างๆ สำหรับพระนครให้เหมือนกับสมัยอยุธยา และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวสถานโบสถ์พราหมณ์สำหรับพระนครขึ้น ตั้งอยู่เยื้องกับวัดสุทัศนเทพวราราม คณะพราหมณ์จึงตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเทวสถาน เกิดเป็นชุมชนโบสถ์พราหมณ์มาจนถึงปัจจุบัน

เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ในประเทศไทยมีเป็นจำนวนมาก อาจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มแรก คือ เทวสถานที่สร้างขึ้นก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งมักเป็นเทวสถานในสมัยโบราณจำพวกปราสาทหินต่างๆ เป็นเทวสถานร้าง ปัจจุบันเป็นโบราณสถานที่ค่อนข้างทรุดโทรมและอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ ส่วนกลุ่มที่ ๒ คือ เทวสถานในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นเทวสถานที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ และยังคงใช้การมาจนถึงปัจจุบัน

กลุ่มแรก เทวสถานที่สร้างขึ้นก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ในดินแดนประเทศไทย สร้างกันมาหลายยุคสมัย ทั้งในอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรขอม อาณาจักรทวารวดี และอาณาจักรศรีวิชัย เป็นยุคสมัยที่ศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรืองในดินแดนประเทศไทยพร้อมๆ กับความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา จึงมีการสร้างเทวสถานประจำเมืองสำคัญๆ อาทิ กรุงศรีอยุธยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองลพบุรี เมืองเพชรบุรี เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในกิจการของพราหมณ์และพระราชพิธีของพระเจ้าแผ่นดิน สร้างความชอบธรรมและอำนาจในฐานะที่ทรงมีสถานะเป็นสมมติเทพ ทั้งนี้ คติการสร้างเทวสถานในสมัยโบราณเป็นการสร้างเพื่อเป็นพระราชอุทิศถวายแด่พระเป็นเจ้าของพราหมณ์ ประหนึ่งเป็นที่ประทับของเทพเจ้า หากเป็นพราหมณ์ในลัทธิไศวนิกาย ก็อุทิศถวายพระอิศวร หากเป็นพราหมณ์ในลัทธิไวษณพนิกาย ก็อุทิศถวายพระวิษณุ

กลุ่มที่ ๒ เทวสถานในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่รู้จักกันดีคือเทวสถานโบสถ์พราหมณ์สำหรับพระนคร อยู่ใกล้กับวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร สร้างเมื่อต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใน พ.ศ.๒๓๒๗ มีหลักฐานปรากฏในหนังสือ "จดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวีและพระราชวิจารณ์ในรัชกาลที่ ๕" ใจความว่า "วัดสุทัศนเทพวรารามนี้กำหนดว่าเป็นกึ่งกลางพระนคร จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเทวสถานและ เสาชิงช้าลง ณ ที่นั้นตามโบราณราชประเพณีของการสร้างพระนคร" เทวสถานแห่งนี้ถือเป็นเทวสถานสำคัญ และเป็นสถานที่สำหรับการประกอบพิธีกรรมของพราหมณ์ราชสำนัก

นอกจากนี้ในกรุงเทพฯ ยังมีเทวสถานอื่นๆ ส่วนมากสร้างโดยชาวอินเดีย และพราหมณ์ที่ดูแลเทวสถานก็มักเป็นพราหมณ์อินเดีย เทวสถานเหล่านี้ได้แก่ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขกสีลม) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๒ รัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเมื่อศาสนิกชนพราหมณ์เพิ่มจำนวนมากขึ้นจึงได้ไปสร้างวัดวิษณุ อีกแห่งหนึ่ง อยู่ที่เขตยานนาวา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณวัดวิษณุมีโบสถ์ย่อย คือ โบสถ์พระแม่ทุรคา โบสถ์ศิวลึงค์ และโบสถ์พระศิวนาฏราช

ยังมีศาสนิกชนชาวปัญจาบ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๒ กลุ่ม คือผู้นับถือศาสนาซิกข์ และผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดู ได้ใช้บ้านหลังหนึ่งบริเวณหลังวังบูรพาเป็นสถานที่ร่วมกันเมื่อประกอบศาสนกิจ เมื่อคนมีจำนวนมากขึ้นจึงแยกกัน โดยศาสนิกชนพราหมณ์ฮินดูได้สร้าง สมาคมฮินดูสภา ที่บริเวณใกล้เสาชิงช้า มีเทวสถานชื่อว่า โบสถ์เทพมณเฑียร



เทวสถานปรางค์แขก-PRANG KHEAK อ.เมือง จ.ลพบุรี
(ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์– ฮินดู)
อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ (พ.ศ.๑๔๒๕ - ๑๔๓๖)
ตั้งอยู่ระหว่างพระนารายณ์ราชนิเวศน์กับบ้านวิชาเยนทร์
ก่อนการบูรณะ ก่อสร้างด้วยอิฐ  ระหว่างอิฐแต่ละก้อนจะสอเชื่อมด้วยยางไม้

ที่มาข้อมูล : ข่าวสดออนไลน์
        

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.333 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 24 เมษายน 2567 16:39:18