[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 22:17:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระพิฆเนศวร  (อ่าน 2238 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 28 มีนาคม 2560 16:47:44 »



พระพิฆเนศวร

ถ้าจะกล่าวถึงเทพทางศาสนาพราหมณ์ฮินดูแล้ว พระองค์แรกจะต้องกล่าวถึงคือ “พระพิฆเนศวร” ด้วยนับเป็นเทพองค์สำคัญยิ่ง และมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตมากที่สุด แม้กระทั่งในประเทศอินเดีย ก็ยังมีความเชื่อสืบทอดกันมาแต่โบราณ ไม่ว่าจะเป็นลัทธิที่ใด นับถือเทพเจ้าองค์ใดเป็นใหญ่ก็ตาม ต่างต้องให้ความสำคัญต่อองค์ “พระพิฆเนศวร” ทั้งสิ้น

เรื่องราวขององค์พระพิฆเนศวร จะปรากฏในวรรณกรรมโบราณของอินเดีย ชื่อ "คัมภีร์ปุราณะ” ที่มีอายุตั้งแต่ปลายยุคพระเวทและยุคมหากาพย์เรื่อยมา เป็นคัมภีร์ที่จะรจนาเรื่องราวของทวยเทพในคติความเชื่อของฮินดู มีศูนย์กลางอยู่ที่ “ตรีมูรติ” คือ

หาเทพผู้ยิ่งใหญ่ 3 พระองค์ อันได้แก่ พระศิวะ พระนารายณ์ และ พระพรหม โดย แบ่งออกเป็น “มหาปุราณะ” 18 เล่ม และแบ่งย่อยออกเป็น “อุปปุราณะ” อีก 18 เล่ม

เช่น วิษณุปุราณะ กล่าวถึงเรื่องราวของพระวิษณุ, อัคนิปุราณะ กล่าวถึงเรื่องราวของพระอัคนี, สกันทปุราณะ กล่าวถึงเรื่องราวของพระสกันทะ, ครุฑปุราณะ กล่าวถึงเรื่องราวของพญาครุฑ และคเณศปุราณะ กล่าวถึงเรื่องราวขององค์พระพิฆเนศวร เป็นต้น แต่ก็มักปรากฏเรื่องราวของ “พระพิฆเนศวร” แทรกอยู่ในทุกเล่ม อาทิ “ศิวปุราณะ” กล่าวถึงกำเนิดพระพิฆเนศวรจากคราบไคลของพระนางปารวตี เพื่อเฝ้าหน้าห้องสรง และได้สู้รบกับพระศิวะ, “วิษณุปุราณะและมัตสยปุราณะ” คือ การอวตารเป็นปลาของพระวิษณุ กล่าวถึงการจุติของพระพิฆเนศวร จากเครื่องหอมและเหงื่อไคลของพระนางปารวตี ซึ่งพรมด้วยน้ำจากคงคานที เพื่อคอยป้องกันไม่ให้ผู้คนไปบูชาศิวลึงค์ของพระศิวะ, “สกันทปุราณะ” กล่าวถึง กำเนิดของพระพิฆเนศวรในกลียุคและทวาปรยุค เพื่อกำจัดผู้ชั่วร้ายที่ไปเกิดเป็นเทพด้วยการประกอบพิธีพลีกรรมต่างๆ หรือ “พรหมไววรรตปุราณะ” กล่าวถึงการที่พระนางปารวตี พระชายาของพระศิวะ ต้องการพระโอรส จึงทำ “พิธีปันยากะพรต” เพื่อบูชาพระวิษณุ จนพระวิษณุแบ่งภาคลงมาจุติเป็นกุมารน้อย นาม “พระพิฆเนศวร” เป็นต้น

ส่วน “คเณศปุราณะ” ที่กล่าวถึงพระพิฆเนศวรโดยตรงนั้น รจนาขึ้นราวปี พ.ศ.1643-1943 ทรงเป็นมหาเทพที่เป็นพระโอรสของพระศิวะ และพระนางปารวตี หรือพระแม่อุมา มีรูปกายเป็นมนุษย์ เศียรเป็นช้าง

นอกจากในปุราณะต่างๆ แล้ว เรื่องราวของพระพิฆเนศวรยังปรากฏใน “คีตะคัมภีร์” (Gita) ซึ่งเป็นบทสรรเสริญเป็นท่วงทำนองดนตรี คีตะคัมภีร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของอินเดียปรากฏในยุคมหากาพย์มหาภารตยุทธ เรียกว่า “ภควัตคีตา” แปลว่า บทเพลงสรรเสริญองค์พระภควัติ หรือองค์พระผู้ควรบูชา

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์ “พระพิฆเนศวร” โดยสถาปนาให้เป็นเทพพระองค์แรกที่ต้องบูชาก่อนเริ่มพิธีใดๆ เป็นการคารวะในฐานะ “บรมครู” ผู้ประสาทปัญญาและความสำเร็จ สามารถขจัดอุปสรรคทั้งปวงให้หมดสิ้นไป

สำหรับประเทศไทย “พระพิฆเนศวร” อยู่คู่กับคนไทยมาช้านานและถือเป็นเทพฮินดูองค์สำคัญของไทยเช่นกัน เห็นได้ จากการพบ “รูปสลักพระพิฆเนศวร” ในเทวสถานตามเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ คติความเชื่อในองค์พระพิฆเนศวร ยังคงสืบสานต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในฐานะเทพแห่งศิลปะและวิทยาการทั้งมวล และเป็นเทพองค์สำคัญองค์แรกที่ ต้องสักการะในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี หน่วยงานราชการต่างๆ

จึงได้ถือเอา “พระพิฆเนศวร” เป็นสัญลักษณ์ และเป็นตราประจำกรมกองมากมาย อาทิ กรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า “วัตถุมงคลพระพิฆเนศวร” ยังคงเป็นที่นิยมจัดสร้างและนิยมสะสมกันอยู่ไม่เสื่อมคลาย

ด้วยความเชื่อที่ว่า พระองค์เป็นเทพแห่งปราชญ์และความรอบรู้ต่างๆ เป็นเทพแห่งอุปสรรค ความขัดข้อง และศิลปะ หากผู้ใดสักการบูชาก็จะประสบความสำเร็จทั้งมวลครับผม


คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง : พระพิฆเนศวร

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 06 เมษายน 2560 19:07:24 »



ประติมากรรมพระพิฆเนศวร

สําหรับประติมากรรมขององค์ “พระพิฆเนศวร” นั้น ด้วยความเป็นเทพเจ้าองค์สำคัญและเป็นที่เคารพยิ่งของหลายเชื้อชาติหลายศาสนา โดยเฉพาะดินแดนในแถบเอเชีย ทำให้เกิดงานประติมากรรมในหลายหลายรูปแบบ ตามคติความเชื่อท้องถิ่นเดิม และมีการพัฒนาเรื่อยมาจนปัจจุบัน

รูปองค์พระพิฆเนศวร คงจะเกี่ยวเนื่องกับคติบูชาสัตว์หรือเจ้าแห่งสัตว์ของชนพื้นเมืองในเอเชียใต้ ซึ่งแพร่หลายในอินเดียทางตอนใต้ในระยะเริ่มแรก ก่อนจะมาปรากฏเป็นงานประติมากรรมเป็นรูปเป็นร่างขึ้นปลายสมัยพระเวทต่อยุคมหากาพย์ ยุคพุทธกาล และศาสนาเชน เรื่อยมาจนแพร่หลายไปทั่วโลก โดยการผสมผสานระหว่างความเชื่อพื้นเมืองกับคติเทพเจ้าของพราหมณ์-ฮินดู คติพุทธศาสนา และเชนขึ้น “รูปองค์พระพิฆเนศวร” ระยะเริ่มแรกจะเป็นงานประติมากรรมที่จำหลักจากศิลาทรายเป็นรอยขูดขีด ก่อนจะพัฒนาเป็นศิลปะนูนต่ำ ศิลปะนูนสูง และศิลปะลอย ตัวในเวลาต่อมา

งานประติมากรรม “พระพิฆเนศวร” ระยะเริ่มแรก ปรากฏเศียรเป็นช้างแต่เริ่มต้น อันนับเป็นสิ่งที่แสดงถึงความยืนยาวก่อนการเข้ามาของพวกอารยัน (Aryan) อย่างชัดเจน เนื่องจากมิได้มีเทพอื่นที่ปรากฏเทวลักษณะดังกล่าวเป็นเฉพาะ นอกจากการอวตารของเทพชั้นสูงบางองค์ เช่น นรสิงหาวตาร คือ การที่พระวิษณุหรือพระนารายณ์ อวตารเป็นครึ่งคนครึ่งสิงห์ ส่วนใหญ่จะอวตารเป็นสัตว์ประเภทนั้นๆ ไปเลย เช่น กูรมาวตาร คือการอวตารเป็นเต่า หรือ การแบ่งภาคของพระอิศวรเป็นช้างหรือสัตว์อื่นๆ อาจกล่าวได้ว่า “พระพิฆเนศวร” นับเป็นเทพเบื้องต้นองค์แรกแห่งการผสมผสานระหว่างสัตว์กับมนุษย์ของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวมาปรากฏมากขึ้นในการจินตนาการ “สัตว์หิมพานต์” ในเวลาต่อมา

งานประติมากรรมองค์พระพิฆเนศวร เริ่มจากการปรากฏเศียรเป็นช้าง งาหักข้างใดข้างหนึ่ง ปลายงวงมักตวัดไปทางซ้ายขององค์ ระยะแรกมีเพียงสองกร ประทับนั่งขัดสมาธิแบบราบบนบัลลังก์ ก่อนจะปรากฏเทวพาหนะเป็น “มุสิกะ” หรือ หนู, นกยูง, สิงห์ และช้าง ตลอดจนแสดง “ปางมหาราชลีลา” ในภายหลัง

ต่อมา เมื่อลัทธิบูชาพระพิฆเนศวรได้แพร่หลายกว้างขวางขึ้น จึงปรากฏการสร้าง “เทวสถานพระพิฆเนศวร” ตลอดจนเทวประติมากรรมในแถบอินเดียใต้ก่อนสมัยคุปตะ และเผยแพร่ไปทั่วโลกได้อย่างน่ามหัศจรรย์

ในพุทธศาสนาคติมหายาน “พระพิฆเนศวร” ได้รับการยอมรับในฐานะผู้เป็นใหญ่แห่งอุปสรรคและการกำจัดอุปสรรค เป็นตัวแทนแห่งความสำเร็จ มีบทบูชาในลักษณะของลัทธิมนตระยาน ชื่อ “คณปติ-หฤทยา” หมายถึง หัวใจพระพิฆเนศวร ในฐานะผู้ทำลายและผู้สร้าง โดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิคุปตะ (ค.ศ.320-535) ซึ่งถือเป็นยุค Classical Age ของอินเดีย ในตอนปลายจะปรากฏรูปองค์พระพิฆเนศวรปะปนอยู่กับเทพอื่นๆ ทางพุทธศาสนา ในภาพพุทธประวัติ ที่สารนาถ ตอนพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน



ใน “ศาสนาเชน” ของ “พระมหาวีระ” ที่มีอายุร่วมกับพุทธศาสนา ซึ่งเน้นการปฏิบัติ โดยแบ่งเป็นนิกายเศวตัมพร (ผู้นุ่งขาวห่มขาว-ชีปะขาว) และนิกายฑิฆัมพร (ผู้นุ่งฟ้า-ชีเปลือย) ยังปรากฏเรื่องราวและประติมากรรมพระพิฆเนศวร โดยเฉพาะในนิกายเศวตัมพร พระองค์ทรงปรากฏบทบาทในฐานะยักษ์มีพระนามว่า ปาวรศวยักษะ หรือ ธรรมเมนทรา งานประติมากรรมที่พบเป็นเทวรูป ประทับนั่งบนหลังเต่า มีนาคปรก จัดเป็นเทพสำคัญองค์หนึ่งของนิกายเศวตัมพร มักสร้างโดยมี 2 พระกร จนถึง 108 พระกร

พระพิฆเนศวร จึงนับเป็นเทพที่ได้รับการนับถือแพร่หลาย มีการสร้างเทวประติมากรรมในหลายลักษณะ ชาวทมิฬในอินเดียใต้และลังกาเอ่ยนามพระองค์ว่า “Pil laiyar” จีนที่เป็นพุทธแบบมหายานปรากฏงานประติมากรรมและจิตรกรรมเกี่ยวกับองค์พระพิฆเนศวร และเรียกพระองค์ว่า “Knangi-Ten” ธิเบตเรียกว่า “Tsoge- Bdag” พม่าและมอญซึ่งเป็นพุทธแบบหินยาน เอ่ยนามพระองค์ว่า “Mahapienne” ส่วนขอมที่ได้รับอิทธิพลของฮินดูจากอินเดียโบราณมากที่สุด เอ่ยนามพระองค์ว่า “Prah-Kenes” ในญี่ปุ่นเรียกว่า “Daikon” ทำหน้าที่คุ้มครองป้องกันคล้ายท้าวจตุโลกบาลของไทย บางครั้งในญี่ปุ่นปรากฏเป็นรูปองค์พระพิฆเนศวร 2 องค์ ในท่ากอดปล้ำ เรียกว่า “Deva Bliss” หมายถึง เทพแห่งความสุขและความยินดี และประติมากรรมของพระองค์ยังแพร่หลายไปยังที่ต่างๆ อาทิ อินโดนีเซีย ชวา และ มลายู อีกด้วย



ในอินเดีย มี “เทวสถานพระพิฆเนศวร” มากมายตามลัทธินิกายต่างๆ แม้ในนิกายที่มิได้นับถือพระพิฆ เนศวรเป็นเทพสูงสุด ก็ยังปรากฏรูปสมมติ “พระพิฆเนศวร” เพื่อสักการบูชา

ที่น่าสนใจก็คือ ปรากฏประติมากรรมองค์พระพิฆ เนศวรในลักษณะเทวสตรี ทรงพระนามว่า “พระคเณ ศานี” หรือ “พระไวนายกี” เป็นรูปสลักบนระเบียงใน “เทวสถานหิระปุระ (Hirapura)” เมืองภูวเนศวร รัฐโอริสสา เทวลักษณะมีเศียรเป็นช้าง มี 2 กร ประทับยืนในท่า “ตริภังค์” (คือ การหย่อนสามส่วน ได้แก่ หย่อนไหล่ หย่อนสะโพก และหย่อนหัวเข่า) บนหลัง “มุสิกะ” หรือ หนู ปรากฏพระถัน (เต้านม) เหมือนเทวสตรี

เทวประติมากรรมองค์พระพิฆเนศวรในลักษณาการเช่นนี้ เข้าใจว่าเกิดขึ้นจากอิทธิพลของ “ศักตินิกาย” อันเป็นนิกายที่เกิดขึ้นหลัง “ไศวนิกาย” และ “ไวษณพนิกาย” โดยหลักคิดที่ว่า …ทุกสรรพสิ่งในจักรวาลมิได้กำเนิดจากเทวบุรุษหรือลึงค์แต่อย่างเดียว หากต้องประกอบด้วยเทวสตรีหรือโยนีด้วย …ลัทธินี้จึงให้ความสำคัญแก่เทวสตรี และเข้าผสมกลมกลืนกับลัทธินิกายอื่นๆ เช่น ปรากฏการสร้าง “ฐานโยนี” อยู่ใต้แท่นศิวลึงค์ หรือการบูชา “พระนางปวารวตี หรือพระแม่อุมา” ในภาคต่างๆ เช่น พระแม่ทุรคา พระแม่กาลี และบูชาพระมหาเทวีอื่นๆ เช่น พระแม่ลักษมี เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย “งานประติมากรรมพระพิฆ เนศวร” ที่เก่าแก่ โดยส่วนใหญ่จะพบในแถบภาคใต้ เช่น ที่บ้านทุ่งตึก อ.คุระบุรี จ.พังงา, ประติมากรรมพระพิฆเนศวรศิลาทราย สูงประมาณ 36.5 ซ.ม. ที่ต.พังหนุน อ.สทิงพระ จ.สงขลา และประติมากรรมพระพิฆเนศวร ดีบุก สูง 6.5 ซ.ม. ฐานกว้าง 5 ซ.ม. บริเวณถ้ำเกาะหลัก ทางออกสู่ทะเลอันดามัน เป็นประติมากรรมพระพิฆ เนศวรปางประทับนั่ง มี 4 กร อายุในราวสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏใน “งานศิลปะขอมโบราณ” ตามปราสาทหินต่างๆ ที่อยู่ในประเทศไทยอีกด้วย

พระพิฆเนศวรยังได้รับการยกย่องในฐานะ “บรมครูช้าง” และเรียกในอีกพระนามหนึ่งว่า “พระเทวกรรม” และได้มีการจัดสร้างงานประติมากรรม “พระเทวกรรม” อันเป็นบรมครูที่สำคัญของผู้ที่ศึกษาวิชาคชศาสตร์ หรือที่เรียกว่า “ตำราช้าง” ซึ่งรับมาจากอินเดีย ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาสันสกฤต ประกอบด้วย “ตำราคชลักษณ์” กล่าวถึงลักษณะของช้าง และ “ตำราคชกรรม” ว่าด้วยการหัดช้างเถื่อนและวิธีหัดขี่ช้าง มนต์สำหรับบังคับช้าง และระเบียบพิธีต่างๆ ที่จะทำให้เกิดสิริมงคลและบำบัดเสนียดจัญไรในการที่เกี่ยวเนื่องกับช้าง และยังพบรูป “พระเทวกรรม” บนด้ามขอสับช้างและด้ามมีดของควาญช้างด้วย

ในสมัยอยุธยา การคชกรรมเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก เนื่องจาก “ช้าง” นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของสยาม และสื่อถึง “ช้างแก้ว” ในรัตนมณี 9 ประการ ในคติจักรพรรดิราชแล้ว ยังส่งช้างเป็นสินค้าออกสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231) พระองค์โปรดให้สร้างเพนียดคล้องช้างขึ้นที่เมืองละโว้ (จ.ลพบุรี) และเสด็จฯ ประทับ ณ นารายณ์ราชนิเวศฯ เป็นเวลายาวนานในช่วงหนึ่งปี การให้ความสำคัญกับ “บรมครูช้าง” ปรากฏในพระราชพงศาวดาร กล่าวถึงการที่พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อ “รูปพระพิฆเนศวร” และ “พระเทวกรรม” ในหลายครั้งด้วยกัน

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอัญเชิญพระนาม “พระพิฆเนศวร” มาสถาปนาพระราชทานเป็นพระนามทรงกรม ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เมื่อพระองค์ทรงพระชนมายุได้ 9 พรรษา โดยจารึกในพระสุพรรณบัฏขึ้นทรงพระอิสริยยศเป็น “กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ” ถือศักดินา 800 จึงนับได้ว่า พระองค์ทรงสนพระทัยถึงขนาดอัญเชิญพระนาม “องค์พระพิฆเนศวร” มาเป็นอิสริยยศของพระเจ้าลูกยาเธอฯ ภายหลังจึงได้พระราชทานพระนามอีกครั้ง เปลี่ยนเป็น “กรมขุนพินิตประชานารถ” ซึ่งต่อมาเสวยราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เรื่องราวของ “องค์พระพิฆเนศวร” ได้ปรากฏและถ่ายทอดแพร่หลายในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา

ปัจจุบัน ยังคงนิยมสร้างรูปเคารพพระพิฆเนศวรในลักษณาการ “พระเครื่อง” เพื่อใช้พกติดตัวบูชากันอย่างกว้างขวางครับผม


คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.259 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 15 กุมภาพันธ์ 2567 10:42:32