[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
02 ธันวาคม 2567 21:05:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติศาสตร์เชิงนิยาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช  (อ่าน 1120 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 27 มกราคม 2566 20:51:25 »


ภาพ : ครูเหม เวชกร

ประวัติศาสตร์เชิงนิยาย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช


ขุนรามคำแหงมหาราช และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นบุคคลสำคัญยิ่งของไทย มีกำหนดให้นักเรียนในชั้นประถมเรียนรู้เรื่องมหาราชทั้งสองพระองค์นี้ การเรียนรู้อย่างเป็นวิชาการนั้นมักทำให้นักเรียนเบื่อ และนึกไม่เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ ข้าพเจ้าเห็นว่า ถ้าได้นำพระราชประวัติมหาราชทั้งสองพระองค์มาผูกเป็นเรื่องให้นักเรียนอ่านเหมือนอ่านนิยาย ก็คงจะเป็นที่ชอบใจของเด็กๆ ทั้งจะชวนให้เกิดนิจินตนาการแลเห็นภาพในอดีต อันเป็นวิธีถูกต้องในการศึกษาประวัติศาสตร์และเพื่อจะนำให้เด็กๆ นึกเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ข้าพเจ้าจึงขอให้ เหม เวชกร เขียนภาพประกอบ ตามแนวบรรยาย

ในการบรรยายเรื่องและเขียนภาพนั้น ทั้งข้าพเจ้าและเหม เวชกร ได้ค้นคว้าเรื่องราวจากหนังสือพงศาวดารและตำนานหลายเล่ม เพื่อให้เรื่องใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุดที่จะเป็นได้

เชื่อว่าหนังสือเล่มนี้คงจะเป็นหนังสือชวนอ่านประกอบการศึกษาอีกเล่มหนึ่ง


เปลื้อง ณ นคร
----------------------------------



                                  ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๑) ต้นวงศ์

ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมนั้น มีนายทหารสำคัญคนหนึ่ง ชื่อ พระยามหาอำมาตย์ เล่าลือกันว่าพระยามหาอำมาตย์นี้เป็นโอรสลับของสมเด็จพระเอกาทศรถ ว่า สมเด็จพระเอกาทศรถไปได้ลูกสาวชาวบ้านบางปะอินเป็นพระสนมอย่างลับๆ ภายหลังพระสนมคนนั้นได้ลูกชายคนหนึ่ง ถึงแม้สมเด็จพระเอกาทศรถจะทรงรู้ว่าเป็นโอรสของพระองค์เอง ก็หาทรงรับรองและยกย่องไม่ เด็กคนนั้นจึงมีชีวิตอย่างคนสามัญ ได้ถวายตัวรับราชการ ได้เลื่อนเป็นพระยามหาอำมาตย์ในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม

ก็ในแผ่นดินนี้เกิดขบถญี่ปุ่น ๕๐๐ คน คุมกันเข้าปล้นวัง พระยามหาอำมาตย์ได้รวมกำลังออกต่อสู้จนพวกขบถแตกพ่ายไปหมด สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจึงประทานบำเหน็จโปรดให้เป็น เจ้าพระยากลาโหม

ครั้นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต โอรสทรงนาม สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชได้ขึ้นครองราชสมบัติ พระไชยเชษฐาธิราชรู้สึกว่า เจ้าพระยากลาโหมมีกำลังและอำนาจมาก ก็คิดอุบายจะทำลายเสีย

ขณะที่เจ้าพระยากลาโหมทำศพมารดาที่วัดกุฏินั้น ขุนมหามนตรีก็เข้าไปหาและแจ้งว่ามีรับสั่งให้เข้าไปเฝ้าโดยด่วน แต่มีคนชอบพอเจ้าพระยากลาโหมคนหนึ่ง ชื่อ จมื่นสรรเพชญภักดี เขียนหนังสือบอกบ้ายไปว่า “พระโองการให้หาเข้ามาดูมวย บัดนี้เตรียมไว้พร้อมอยู่แล้ว เมื่อเจ้าคุณจะเข้ามานั้นให้คาดเชือกเข้ามาทีเดียว” เจ้าพระยากลาโหมก็เข้าใจ แล้วประกาศแก่คนทั้งหลายว่า พระเจ้าแผ่นดินหาว่า ตนเป็นขบถ ทั้งๆ ที่ตนจงรักภักดีต่อแผ่นดิน แล้วก็ยกพรรคพวกเข้าไปในวัง พระไชยเชษฐาฯ ไม่คิดสู้ ลงเรือพระที่นั่งหนีไป แต่เจ้าพระยากลาโหมจับตัวได้ ให้ประหารชีวิตเสีย จากนั้นคนทั้งหลายก็เชิญเจ้าพระยากลาโหมขึ้นเป็นกษัตริย์ ตั้งวงศ์ใหม่เรียกว่า

เมื่อขึ้นครองราชย์ เจ้าพระยากลาโหมได้พระนามว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง คือพระราชบิดาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่มีพระราชประวัติเลื่องลือไปถึงประเทศฝรั่งเศส

เรื่องของเราเริ่มต้นจากตอนนี้

ในพระราชวังกรุงศรีอยุธยา ประมาณ พ.ศ.๒๑๗๕ วันใดเดือนใด เราอย่าเป็นกังวลเลย มีสตรีคนหนึ่งเข้าไปในพระราชวัง มีเด็กตามไปด้วยสามคน คนหนึ่งยังอยู่กับสะเอว อายุเพิ่งได้ ๕ เดือน ชื่อ ปาน อีกคนหนึ่งเดินตาม อายุ ๙ ขวบ มีชื่อว่า เหล็ก อีกคนหนึ่งเป็นหญิง ชื่อ แจ่ม




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๒) พระนารายณ์

พระเจ้าปราสาททองเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ.๒๑๗๓ ต่อมาพระราชเทวีก็ประสูติโอรสองค์หนึ่ง ตามประเพณีก็ต้องแสวงหาพระนมที่ลักษณะดี และถ้าได้หญิงที่มีเชื้อสายราชตระกูลก็ยิ่งเป็นการดี

พระเจ้าปราสาททองทรงระลึกได้ว่า ที่ข้างวัดดุสิตนั้นมีเชื้อพระวงศ์ซึ่งทรงคุ้นเคยมาก่อน ภรรยากำลังมีลูกอ่อน น่าจะโปรดให้เป็นพระนมได้ จึงเรียกท้าวศรีสัจจามาตรัสถาม ก็ได้ความว่าสามีนั้นถึงแก่กรรมเสียตั้งแต่ลูกคนเล็กอายุได้ ๕ เดือน จึงโปรดให้ไปหาภรรยาที่ชื่อ บัว นั้นเข้ามาอยู่ในพระมหาราชวัง
 โปรดให้เป็นพระนมพระโอรสที่เพิ่งประสูติ ดังนั้นนางบัวก็ได้เข้ามาอยู่ในพระราชวัง และได้พาลูกชายสองคนกับลูกหญิงคนหนึ่งเข้ามาด้วย ลูกชายคนสุดท้องนั้น ชื่อ ปาน ซึ่งต่อมาได้เป็นราชทูตวิเศษและขุนพลผู้เฉียบขาด มีนามที่เรียกกันว่า “โกษาปาน” ส่วนพี่นั้นชื่อ เหล็ก เป็นขุนพลที่มีชื่อเสียงและเราเรียกกันว่า “โกษาเหล็ก

เด็กชายปานนั้นยังไม่อดนม จึงได้กินนมมารดาต่อไป ได้ดื่มนมร่วมกับพระโอรส เด็กชายปานต่อมาจึงเป็นที่สนิทสนมรักใคร่ของเจ้าฟ้าชายนั้น

ครั้นพระโอรสมีชนมายุได้สามเดือน ก็มีพิธีสมโภชขึ้นพระอู่ ขณะที่พระโอรสบรรทมอยู่ในพระอู่นั้น ก็บังเกิดสิ่งมหัศจรรย์ พระญาติวงศ์ฝ่ายในให้แลเห็นพระโอรสมีพระกรกวัดแกว่งไปมาถึง ๔ พระกร พระราชบิดาก็ประทานพระนามตามนิมิตว่า สมเด็จพระนารายณ์

ก็ในแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองนั้น เกิดบุคคลคู่บุญบารมีเป็นอันมาก ส่วนที่เป็นเด็กๆ อยู่นั้น ก็เติบโตเป็นคนสำคัญในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลายคน นอกจากนั้น ในแผ่นดินนี้ยังมีปรากฏการณ์ธรรมชาติที่แปลกประหลาด คือฟ้าผ่าบ่อยๆ

วันหนึ่งฝนตกพรำๆ พระนารายณ์ราชกุมารวิ่งเล่นอยู่ที่เกย ได้ไปหยุดยืนอยู่ที่เสาข้างเกย พอดีฟ้าผ่าเปรี้ยงลงมาถูกเสานั้นแตกแยกออกไปจนถึงโคนเสา แต่พระนารายณ์มิได้เป็นอันตรายแต่ประการใด

ในแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง ยังมีพระโหราที่ทำนายเหตุการณ์แม่นยำมากอยู่คนหนึ่ง วันหนึ่งพระเจ้าปราสาททองประทับอยู่ ณ พระที่นั่งจักรวรรดิ หนูตัวหนึ่งตกลงมาก็ทรงเอาขันทองครอบไว้ แล้วโปรดให้หาพระโหรามาทาย พระโหรากราบทูลว่าเป็นสัตว์สี่เท้า ตรัสถามต่อไปว่า กี่ตัว พระโหราก็ทูลว่า สี่ตัว ก็ทรงพระสรวลแล้วตรัสว่า ที่ทายว่าสัตว์สี่เท้านั้นถูกแล้ว แต่สัตว์นั้นมีตัวเดียว ครั้นทรงเปิดขันขึ้น ก็เห็นหนูกับลูกหนู ที่เพิ่งคลอดอีกสามตัวคลานอยู่ พระโหรานี้ต่อมาเรียกกันว่า พระโหราทายหนู





                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๓) พระอาจารย์พรหมมุนี

ที่กุฏิวัดปากน้ำประสบมีเด็กชายเล็กๆ หลายคน ต่างก็ตั้งหน้าท่องนะโมพุทธายะสิททอธม อ อา อิ อี เสียงขรม พระอาจารย์เอกเขนกจ้องมองลูกศิษย์ด้วยความเอาใจใส่ ในใจนั้นดูลักษณะของเด็กเหล่านั้น ว่าอนาคตของเขาจะเป็นประการใด ดูๆ แล้วก็ยิ้ม เพราะตั้งแต่มีสานุศิษย์มา ก็รู้สึกว่าชุดนี้แหละที่ล้วนมีลักษณะดีกันทั้งนั้น ต่อไปคงจะเป็นคนดีของบ้านเมือง

พระอาจารย์นี้ คือพระพรหมมุนี หรือพระมหาพรหม เป็นอาจารย์ที่ทรงคุณทางไสยศาสตร์ รอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม ส่วนเด็กที่ตั้งหน้าท่องบทอยู่นั้น คือ พระนารายณ์ราชกุมาร และพระสหาย มีนายเหล็ก นายปาน นายหวาน นายทองคำ นายน้อย นายสังข์ นายบุนนาค นายเรือง ซึ่งต่อมาล้วนเป็นอำมาตย์คู่พระทัย

เด็กๆ พระสหายนั้นก็มีนิสัยไปคนละอย่าง พระนารายณ์นั้นสนพระทัยในเรื่องอักษรศาสตร์ การบ้านการเมืองแสดงสติปัญญาเฉียบแหลม ส่วนนายเหล็กกับนายน้อยนั้น พอใจในเรื่องคงกระพันชาตรี เวทมนต์คาถา ตลอดจนกระบวนพิชัยสงคราม นายปานนั้นเป็นคนพูดจาคล่องแคล่ว พูดทันคนและมีโวหาร ที่ไม่มีใครอาจสู้ฝีปากได้ ส่วนนายทองคำนั้นไม่ค่อยจะเอาเรื่องกับใคร พอใจแต่วิชาทางเสน่ห์ จดจำคาถามหาเสน่ห์ไว้ได้มาก ทั้งๆ ที่อาจารย์ไม่ได้สั่งสอน

พระพรหมมุนีได้สอนสานุศิษย์ตามฐานะ พระนารายณ์นั้นให้รอบรู้ในการปกครอง ให้ท่องบททศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร อันเป็นคุณธรรมแห่งกษัตริย์ ส่วนราชสหายก็ซาบซึ้งในราชวัสดีอันเป็นข้อประพฤติของราชวัลลภ

จนกระทั่งพระนารายณ์พระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา พระราชบิดาจัดให้ประทับที่วังนอก มีราชสหายอยู่ใกล้ชิดในวังเดียวกัน ทั้งนั้นพอเติบโตเป็นหนุ่มรุ่น รูปร่างหน้าตาดีเพราะอยู่ในรั้วในวัง ทั้งวิชาความรู้ พระนารายณ์ก็ไม่ได้ถือพระองค์ว่าเป็นเจ้านาย ให้ความสนิทกับพระสหายเหมือนกับหนุ่มๆ ที่มีฐานะเสมอกัน แต่ว่าการอบรมสั่งสอนของพระอาจารย์พรหมมุนีมิได้ทำให้พระสหายเหล่านั้นล่วงเกิน คงถือว่าพระนารายณ์คือเจ้าชีวิตของตน

พระราชบิดานั้นโปรดการเสด็จประพาสป่า พระนารายณ์มักได้ตามเสด็จเป็นนิจพร้อมกับพระสหาย และในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองนี้ ก็ได้มีการตกแต่งระยะทางที่ไปพระพุทธบาท มีศาลาเจ้าเณร เพราะเมื่อสร้างศาลาระหว่างทางที่ไปพระพุทธบาทนั้น มีเณรองค์หนึ่งแนะให้ทำห้องมีฝากั้นในศาลา เพราะที่นั่นมีเสือร้ายเคยกินคน แล้วก็มีพระนครหลวง ซึ่งตั้งอยู่ที่ริมน้ำ ที่จะไปท่าเรือ ทั้งสองแห่งนั้นยังมีจนทุกวันนี้





                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๔) ซ้อมอาวุธ

“ไม้หนึ่ง ไม้สอง ตี รับ"
โปก...อุย
“แล้วกัน มัวใจลอย เวลาสู้ก็เสร็จกันเท่านั้น"

วังที่พระนารายณ์ประทับนั้น เรียกกันว่า วังนอก เป็นราชประเพณีที่เมื่อพระราชกุมารเจริญวัยขึ้นแล้ว บิดาก็ประทานวังให้ประทับ พระนารายณ์ได้จัดที่ไว้แห่งหนึ่ง สำหรับพระสหายและคนหนุ่มจะได้มีซักซ้อมเพลงอาวุธ อาจารย์มวย กระบี่ ตะบอง ง้าว ทวน ที่มีชื่อ ก็ทรงเอาเลี้ยงไว้ เพื่อจะให้ถ่ายทอดกระบวนการต่อสู้ต่างๆ พวกหัวไม้ นักเลง ก็ทรงเกลี้ยกล่อมเอามาให้สาบานให้ประพฤติตัวดี แล้วก็ชุบเลี้ยงใกล้ชิด ดังนั้นที่วังนอก ก็เต็มไปด้วยชายฉกรรจ์ที่มีฝีมือในเชิงต่างๆ

เมื่อถึงเวลาผืกหัดก็พากันมาลงสนาม ผู้คนในรั้วในวังตลอดจนพวกสาวๆ ชอบมาดูกันกลุ่มโตๆ เสมอ

นายทองคำนั้นเห็นพวกสาวๆ มักใจลอย เลยลืมท่าและการปัดป้อง จึงมักเจ็บตัวบ่อยๆ ส่วนนายปานนั้นไม่ค่อยจะแยแสกับการใช้อาวุธหรือการต่อสู้ด้วยกำลัง มักเอาหนังสือไปนั่งอ่านในขณะที่เพื่อนสนุกอยู่กับการซ้อมเพลงอาวุธและหมัดมวย

“เออ นี่แกจะเป็นสมภารหรือ” นายน้อยทิ้งทวนเหงื่อโทรมกาย เข้ามาทักนายปานที่กำลังก้มหน้าก้มตาอ่านหนังสือ “อย่างนี้แกจะช่วยตัวเองอย่างไร มีศึกเสือเหนือใต้ แกจะช่วยบ้านเมืองอย่างไร”

นายปานเงยหน้ายิ้มแล้วว่า “วิชาหมัดมวยนั้นเป็นวิชาของบ่าว ดีแต่ใช้กำลังและถูกเขาใช้อยู่ร่ำไป ไม่มีเวลาได้เป็นเจ้านาย คนที่จะเป็นอำมาตย์ช่วยการปกครองก็ต้องรู้วิชาใช้ปัญญา”

“น่าฟัง แกนึกว่าเมื่อศึกมาติดบ้านเมือง แกจะไปพูดให้ข้าศึกยกทัพกลับได้หรือ”  นายน้อยตั้งกระทู้ ขณะนั้น ใค ๆ ก็เร่เข้ามาฟังคนทั้งสองโต้ตอบกัน

“ก็น่าจะได้ มนุษย์เราลิ้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ใครใช้ลิ้นได้ดี ก็จะสำเร็จความปรารถนาทุกอย่าง” นายปานโต้

“เออ เอาละ เวลานี้เราจะเอาทวนเล่มนี้ตีกระบาลเจ้าละ เจ้าลองใช้ลิ้นเจ้าซิ” นายน้อยพูดพลางจับทวนเงื้อ แต่นายปานคงนั่งใจเย็น

“อ้อ ก็ได้ แต่ว่าถ้าแกตีเรา แก็จะชวดได้ลาภ” นายปานว่า

นายน้อยเงื้อทวนค้าง “ลาภอะไร บอกมาเร็ว”

“ก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากว่าแม่นวลเขาสั่งความสำคัญมาบอกแก ถ้าหัวของเราโนไปเพราะทวนของแก แกคงจะชวดได้ยินเรื่องที่แม่นวลสั่งมา”

“เรอะ” นายน้อยทำตาโตทิ้งทวน “พ่อคุณเถอะ บอกมาเร็ว” แม่นวลคนนี้ นายน้อยกำลังติดอกติดใจนักหนา

“บอกให้ก็ได้ ว่านี่แหละวิชาพูดละ”

ทันใดนั้นก็มีเสียงฮาลั่นขึ้น





                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๕) ภิกษุประหลาด

กรุงศรีอยุธยาหน้าน้ำ เวลาเดือนเต็มดวงนั้น ตามท้องคลองท้องแม่น้ำมีปลาชุกชุม ภูมิภาพทั้งสองฝั่งก็น่าชม ยิ่งใกล้พระมหาราชวังแลเห็นยอดมหาปราสาทจับแสงเดือน เป็นภาพที่ชื่นตาชื่นใจยิ่งนัก

คืนวันนั้นดึกแล้ว เรือลำหนึ่งแล่นเอื่อยๆ มาตามลำน้ำ ในเรือมีเบ็ดมีแหและเครื่องจับปลาต่างๆ พอเรือนั้นมาถึงปากคลองท่อ คนที่อยู่หัวเรือก็ลุกขึ้นชะเง้อ ร้องว่า "เอ๊ะ นั่นหลวงพ่อนี่นะ" พลางชี้มือไปที่เรือมาด ซึ่งลอยลำอยู่ "นั่นแกหุงข้าวนี่นะ พี่สังข์ดูที"

คนในเรือมี สมเด็จพระนารายณ์และวัลลภหนุ่มคะนอง มีนายสังข์ นายทองคำ นายน้อย เป็นต้น ต่างชะเง้อมองเรือมาดนั้นให้เห็นชัดๆ ก็เห็นพระภิกษุรูปหนึ่งกำลังหุงข้าวที่กระทงหัวเรือ ทำอาการไม่รู้ไม่ชี้กับเรือที่พวกสมเด็จพระนารายณ์นั่งมา

“เอ นี่ขรัวตาหุงข้าวค่ำอย่างนี้มันวิกาลโภชนา ท่านไม่กลัวอาบัติหรืออย่างไร” นายทองคำเอ่ยขึ้น

สมเด็จพระนารายณ์ทอดพระเนตรเห็น ก็ทรงดำริว่า พระสงฆ์องค์เจ้าทำผิดพุทธวินัยเช่นนี้ หาควรปล่อยปละละเลยไว้ไม่ ต้องจับตัวมาไต่สวนให้รู้ความ จึงโปรดให้วาดหัวเรือเข้าไป พอเข้าไปใกล้ก็รับสั่งให้นายน้อย นายสังข์ นายทองคำ จับตัวภิกษุนั้นไว้ให้ได้ หนุ่มทั้งสามก็โจนลงไปในเรือของพระภิกษุนั้น และตรงเข้าไปจะจับตัว ทันใดนั้นพระภิกษุก็ยืนขึ้น แผดเสียงอันดัง คนทั้งสามเห็นพระภิกษุกลายร่างสูงใหญ่ มีมือสี่มือ ก็หยุดจังงังนิ่งขึงอยู่กับที่

สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นก็หลากพระทัย ยกหัตถ์ขึ้นนมัสการขออภัยแล้วตรัสว่า “เจ้ากูชื่อใด อยู่วัดไหน เหตุใดจึงปฏิบัติผิดพุทธบัญญัติ”

พระภิกษุนั้นก็คลายอาคม ให้หนุ่มทั้งสามนั้นพ้นจากอาการจังงัง แล้วทูลว่า “อาตมาแกล้งทำไปเช่นนั้นเอง ด้วยเล็งเห็นว่าต่อไปมหาบพิตรจะได้เป็นกษัตริย์ ก็ใคร่จะประสาทคาถาอาคมให้ จึงต้องทดลองให้เห็นประจักษ์ อาตมาชื่อพิรอด อยู่สุพรรณ วัดสองพี่น้อง”

“โยมจะขออาราธนาเข้าไปอยู่ในวัง เจ้ากูจะได้ประสิทธิ์ประสาทคาถาอาคมให้แก่ข้าคนสนิทของโยมต่อไป”

พระภิกษุพิรอดก็รับอาราธนา ส่วนนายทองคำ นายน้อย นายสังข์นั้น ต่างปูผ้าชาวม้าลงกราบอย่างเกรงกลัว และขอฝากตัวเป็นศิษย์

สมเด็จพระนารายณ์ ก็อาราธนาพระภิกษุพิรอดไปอยู่ที่ศาลาในสวนหลังตำหนัก



ที่มา...ประวัติศาสตร์เชิงนิยาย สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช พ.ศ.๒๕๑๗
เรื่อง...เปลื้อง ณ นคร
เผยแพร่โดย...มูลนิธิเหม เวชกร - Hem Vejakorn Foundation

650

มีต่อ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มกราคม 2566 20:54:30 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2566 20:44:33 »

.


ประวัติศาสตร์เชิงนิยาย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช



                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๖) อาจารย์ในถ้ำ

คนคู่พระทัยสมเด็จพระนารายณ์ ต่างมาเล่าเรียนคาถาอาคมจากขรัวพิรอด ได้ทดลองจนเห็นประจักษ์ความศักดิ์สิทธิ์ นายปานนั้นเรียนได้เร็วกว่าใครๆ แล้วก็มักออกเที่ยวไปตามแดนนักเลงแต่คนเดียว เมื่อเที่ยวจนทั่วอยุธยาแล้ว จึงออกตระเวนไปตามหัวเมือง เพื่อหาคนดีมีวิชาต่อไป

เมื่อไปถึงนครสวรรค์นั้น ได้ข่าวว่ามีปะขาวชราคนหนึ่ง อาศัยอยู่ในถ้ำ มีชาวเมืองไปหาบูชากันมาก นายปานจึงพาเพื่อนนักเลง ๔ คนไปยังถ้ำนั้น ก็เห็นชายคนหนึ่ง นุ่งขาวห่มขาว นังขัดสมาธิสงบอยู่ ข้างหน้ามีชาวเมืองเอาของมาถวายเนืองแน่น

“เฮ้อ แบบนี้เห็นจะไม่แค่ไหนหรอกน่า”  ไอ้มั่งตาไฟพูดกับนายปาน ไอ้มั่งนั้นนัยน์ตาแดงอยู่เป็นนิจ จึงได้สมญา ว่าไอ้มั่งตาไฟ เป็นนักเลงบริวารของนายปาน

“เอ็งแล้วมันปากเสียเสมอ” นายปานว่า “นี่เรามาหาวิชา ไม่ใช่มาดูถูกคน"

ปะขาวคนนั้นคงจะได้ยิน เหลือบตามาดูแล้วยิ้มอย่างท้าทาย

“คนดีจริงๆ มันต้องลองกัน”  ไอ้มั่งไม่ลดละ “ถึงจะรู้ดีรู้ชั่ว”

นายปานเห็นจะไปกันใหญ่ ก็เข้าไปใกล้ปะขาวคนนั้น นั่งลงแล้วว่า “ขออภัยให้คนของฉันด้วยเถิด ปากมันร้ายอย่างนั้นเอง ที่มานี่ก็อยากจะมาสมัครเป็นศิษย์ ด้วยกิตติศัพท์เล่าลือไปถึงกรุงว่า ท่านมีวิชาอาคมขลังนัก”

“วิชานั้นเราพอมีบ้าง แต่คงไม่ดีไปกว่าคนของท่าน” ชีปะขาวว่า “แต่ก็อยากรู้ว่าคนของท่าน ดีขนาดไหน”

ไอ้มั่งได้ยินก็โมโห ตาแดง บอกว่าจะลองให้ดูอย่างเบาะๆ ก่อน แล้วมันก็ส่งดาบให้คนที่นั่นคนหนึ่ง แล้วยื่นแขน หลับตาบริกรรมคาถาร้องว่า “อ้าว ฟัน” ชาวบ้านคนนั้นออกไม่ชอบหน้าไอ้มั่งอยู่แล้ว ก็เงื้อดาบฟันเต็มเหนี่ยว เสียงดังบึก ไม่ระคายผิวไอ้มั่งเลย เล่นเอานายคนนั้นหน้าซีด

“เป็นยังไง” ไอ้มั่งว่า

“ก็ชะงัดอยู่” ปะชาวนั้นว่า “ท่านอยากจะลองเราบ้างไหมละ”

“อยากซี” ไอ้มั่งว่า

“งั้นเชิญ พวกชาวบ้านหลีกกันไปสักหน่อย นี่ท่านทั้งห้าคนก็มีปืนมาทุกคน เราจะนั่งให้ท่านยิงตามสบาย ไม่ต้องเกรงอะไรหรอก เตรียมเถอะ พอเรายกมือละก็ยิงได้เลย”

ปะขาวคนนั้นก็หลับตาสมาธิ ตั้งจิตให้แน่วแน่ แล้วยกมือให้สัญญาณ ทันทีนั้นปืนทั้ง ๕ กระบอกก็สั่นเปรี้ยงควันกลุ้ม ไม่ปรากฏว่าลูกปืนระคายผิวปะขาวนั้นแม้แต่น้อย เล่นเอาไอ้มั่งหน้าซีด มองตาค้าง




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๗) ลองดี

ปะขาวชราในถ้ำนครสวรรค์นั้นชื่อ ชาตรี เมื่อได้แสดงวิชาให้นายปานเห็นประจักษ์แล้ว นายปานก็เล่าเรื่องของตนให้ฟัง แล้วก็เชิญให้เข้าเป็นพระอาจารย์ ทีแรกปะขาวชาตรีก็อิดเอื้อน แต่ในที่สุดก็ทนฝีปากหว่านล้อมของนายปานไม่ได้ ก็ตกลงเดินทางมาอยุธยา และได้เข้าถวายตัว สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงรับเลี้ยงดูและแสดงความนับถือเป็นอันดี

เป็นอันว่าบรรดาพวกหนุ่มๆ คนใกล้ชิดสมเด็จพระนารายณ์ได้อาจารย์เยี่ยมยอดมาให้คาถาอาคมสำหรับลูกผู้ชาย

ก็ในอยุธยานั้นมีย่านต่างๆ ย่านหนึ่งก็มีของขายอย่างหนึ่ง แต่ย่านที่ไปชุมนุมกันคับคั่งก็ที่หัวรอ เพราะมีร้านสุรากับแกล้มดีอยู่หลายร้าน พวกนักเลงมักไปมั่วสุมอวดเหนียวกันที่นั่น ล้วนพวกหัวไม้ ที่สักเต็มตัวก็มีมาก นายปานกับคณะก็ชอบไปที่นั้น เพื่อจะได้ทดลองวิชา

“เฮ้ย น้องชาย ไอ้เรื่องเหนียวกันแล้ว กินตัวกันเลย ผลัดกันเฉือนกินเหล้ากันยังได้” นักเลงนายหนึ่ง ร่างบึกสักเต็มแขนและหน้าอก โวเสียงดังๆ แล้วเหลียวไปที่โต๊ะมุม ซึ่งมีหนุ่ม ๕ คนนั่งดื่มเงียบๆ ครั้นไม่เห็นมีใครขัดคอ ก็คุยเขื่องเรื่องความเก่งกาจของตัวต่อไป

“เรื่องเหนียวกันแล้ว ในอยุธยานี้จะหาใครสู้พี่ขวานได้เล่า” ลูกน้องคนหนึ่งยอ

ทันใดนั้นก็มีเสียงหัวเราะคิกคัก กันที่โต๊ะหนุ่มสี่ห้าคนคือ โต๊ะนายปาน นายสังข์และคณะ นายขวานหันไปมองตาขวาง แต่ไม่เห็นใครหันมามองตน เว้นแต่ยังหัวเราะคิกคักกันอยู่

นายขวานหันไปตะโกนว่า “หัวเราะอะไรกันวะ”

“ฉันหัวเราะกันทางนี้ มันเรื่องอะไรของพี่ล่ะ” คนหนึ่งหันมาพูด

“ธุระของข้าซิ หรือเอ็งอยากเจ็บตัว” นายขวานว่า

“คนจริงเขาไม่เที่ยวหาเรื่องพาลคนอื่นหรอกแก” คนหนึ่งในจำนวนห้าพูด "คนจริงไม่อวด คนอวดไม่จริง”

คำกล่าวนี้เหมือนน้ำมันราดลงไปบนไฟ นายขวานผุดลุกขึ้นตาวาว “โธ่ ไอ้เด็กน้อย ข้าต้องสั่งสอนเอ็งให้เห็นฝีมือเสียบ้าง” ร่างใหญ่ล่ำสันของนายขวานปรี่เข้าไป เอื้อมมือจะคว้าคอนายสังข์ แต่นายสังข์หลบอย่างว่องไว หมัดหนุมานถวายแหวนลั่นกรอบเข้าที่คางนายขวาน อีกหนึ่งซัดเข้าที่ลิ้นปี่ พอนายขวานทรุด เข่าอันมีฤทธิ์ของนายสังข์ก็ใส่กรวบเข้าที่คาง นายขวานหมดสติไปในพริบตา พวกนายขวานหลายคนลุกขึ้นชักมีดกรูเข้ามา แต่นายสังข์ยกมือร้องว่า “เพื่อนไม่ต้องรีบร้อน ข้าจะให้พวกแกเถือตามสบาย” แล้วเขาก็นั่งลงที่พื้น พวกนั้นก็ซัดกันคนละอักสองอัก ที่ลงมีดลงดาบก็มี แต่ไม่ระคายผิวหนังนายสังข์เลย จนพวกนั้นเห็นฤทธิ์ลงนั่งไหว้ ยอมเป็นลูกน้องทั้งหมด




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๘) ปัญหาราชสมบัติ

ลุพุทธศักราช ๒๑๙๘ พระเจ้าปราสาททองครองราชย์มาได้ ๒๕ ปี ก็ประชวรหนัก แพทย์หลวงถวายพระโอสถเต็มความสามารถ อาการประชวรก็มีแต่ทรุดลงทุกวัน และจะถึงวาระที่สุดในไม่ช้า ก็เกิดบัญหาผู้ที่สืบสันตติวงศ์

พระเจ้าปราสาททองนั้นมีพระโอรสองค์ใหญ่ชื่อ เจ้าฟ้าไชย ซึ่งจะได้ครองราชสมบัติต่อไป แต่ว่าตามเรื่องที่เป็นมานั้น ผู้กุมอำนาจไว้ในมือนั้นย่อมจะหาทางเอาราชบัลลังก์ไว้เป็นของตนเสมอ ก็สมเด็จพระนารายณ์นั้น ล้วนมีคนสนิท เป็นคนมีฝีมือและหนุ่มคะนอง ก็อยากให้เจ้านายของตนได้เป็นใหญ่เป็นโต  ต่างก็หนุนให้สมเด็จพระนารายณ์ใช้กำลังชิงเอาบัลลังก์ ซึ่งทำให้สมเด็จพระนารายณ์ต้องวุ่นวายพระทัยมาก ในที่สุดก็ทรงเห็นว่าพระอาจารย์พรหมมุนีเท่านั้น ที่จะให้คำปรึกษาอันถูกต้องแก่พระองค์ได้

“ราชบัลลังก์นั้น เหมาะกับผู้ที่มีอำนาจและบริวาร พระองค์ก็เหมาะทุกอย่าง เว้นแต่สิทธิ์ในราชสมบัตินั้นเป็นของเจ้าฟ้าไชย การที่จะแย่งเอาก็จะต้องฆ่าคน เป็นบาปเป็นกรรมสืบต่อไป”

สมเด็จพระนารายณ์ทรงนิ่งอั้นพระทัย พระพรหมมุนีจึงกล่าวต่อไปว่า “ดวงพระชะตาของพระองค์นั้นก็ถึงราชบัลลังก์ อย่าวิตกไปเลย ในที่สุดก็จะได้ตามพระประสงค์ อาตมาก็เห็นว่าไม่ต้องรอนานนักดอก”

สมเด็จพระนารายณ์ก็จำต้องนมัสการลากลับมายังตำหนัก ระหว่างนั้นก็ได้ข่าวว่าพระเจ้าปราสาททองประชวรหนัก และมีรับสั่งให้อำมาตย์ผู้ใหญ่เข้าไปประชุม ณ ห้องบรรทม ทรงปรารภถึงผู้ที่จะครองราชย์ต่อไป

ณ ตำหนักสมเด็จพระนารายณ์ บรรดาผู้สนิทชิดชอบก็มารวมฟังข่าวอยู่ และโดยที่สมเด็จพระนารายณ์มิได้รับสั่งให้เข้าเฝ้า ก็รู้แน่ว่าราชสมบัติดงจะไม่ตกถึงพระองค์ จึงส่งคนเข้าไปลอบฟังข่าวในวังหลวง ขณะที่กำลังรอรับฟังข่าวอยู่อย่างร้อนอกร้อนใจนั้น นางแจ่มพระพี่เลี้ยงของเจ้าหญิงราชกัลยาณี พระกนิษฐาของสมเด็จพระนารายณ์ ก็หน้าตื่นเข้ามา แจ้งว่า “เวลานี้ทูลกระหม่อมมอบแผ่นดินให้เจ้าฟ้าไชยแล้ว เจ้าคุณผู้ใหญ่หลายคนไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่กล้าทัดทานพระราชประสงค์ เวลานี้เข้าฟ้าไชยได้ว่าราชการแผ่นดิน และกำลังรวบรวมผู้คน จุกช่องล้อมวง และคิดจะกำจัดพระองค์อีกด้วย”




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๙) การรักษาอำนาจ

ลุวันพฤหัสบดี เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ พ.ศ.๒๑๘๙ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองก็สวรรคต บรรดาเสนาข้าราชการก็อัญเชิญเจ้าฟ้าไชย พระโอรสองค์ใหญ่ขึ้นเสวยราชย์ และทำพิธีให้สัตย์ปฏิญา ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา แต่ว่าในพระราชพิธีสำคัญนี้ พระศรีสุธรรมราชา อนุชาแห่งพระเจ้าปราสาททอง กับสมเด็จพระนารายณ์หาได้เข้าเฝ้าด้วยไม่ ต่างอ้างว่าประชวรทั้งคู่

พฤติการณ์ครั้งนี้ขุนนางผู้ใหญ่ต่างก็แลเห็นชัดว่า บุคคลทั้งสองตั้งใจที่จะขัดขืนพระราชอำนาจ และจะเป็นเสี้ยนหนามต่อแผ่นดิน แต่ว่าทั้งพระศรีสุธรรมราชา และสมเด็จพระนารายณ์ต่างก็มีกำลังหนุนอยู่เบื้องหลัง การที่คิดจับกุมกันซึ่งหน้าเป็นสิ่งที่ทำได้โดยยาก

“เวลานี้เจ้าฟ้าไชยได้ราชสมบัติแล้ว เห็นว่าชีวิตโยมจะเป็นอันตราย อาจารย์มีความคิดอย่างไร” สมเด็จพระนารายณ์ให้ไปนิมนต์พระพรหมมุนีมายังตำหนักอย่างลับๆ"

“คนเราเมื่อเห็นภัยมาถึงตัว ก็จำต้องป้องกันต่อสู้อย่างสุดฤทธิ์ เวลานี้เจ้าฟ้าไชยก็ยังไม่แสดงท่าทีให้เห็นชัด ก็ควรจะอดใจรอไปก่อน แต่อาตมาเห็นว่าดวงพระชันษาของเจ้าฟ้าไชยนั้นหาเข้มแข็งไม่” พระพรหมมุนีกล่าวถวายพระพร

ขณะนั้นหญิงคนสนิท ผู้ได้รับมอบหมายให้ไปสืบการในวังหลวง ก็กระหืดกระหอบเข้ามาหมอบเฝ้า แล้วทูลว่า “เจ้าฟ้าไชยได้คิดอุบาย จะให้ทูลหม่อมฟ้าเข้าไปเฝ้าในวังค่ำวันนี้ และจะแต่งคนไว้คอยประหารฝ่าบาทที่ริมประตูวัง”

“เจ้าฟ้าไชยคิดทำลายโยม บัดนี้ก็เป็นการสมควรแล้ว ที่โยมจะต้องทำลายเจ้าฟ้าไชยบ้าง ใครดีก็อยู่” สมเด็จพระนารายณ์ตรัส

แผนการของเจ้าฟ้าไชยแตกเสียแล้ว ดังนั้นพอทหารฝ่ายเจ้าฟ้าไชยตรูออกจากที่ซ่อน จะประหารสมเด็จพระนารายณ์ตอนเสด็จไปถึงประตูวัง คนของสมเด็จพระนารายณ์ซึ่งตระเตรียมรับเหตุการณ์ไว้อย่างพร้อมเพรียง โดยมีกำลังทหารของพระศรีสุธรรมราชามาสมทบด้วย ทั้งนี้เพราะสมเด็จพระนารายณ์ได้ให้สัญญาว่า หากมีชัยแก่เจ้าฟ้าไชย ก็จะยกราชสมบัติให้พระศรีสุธรรมราชาครองต่อไป

ทหารของสมเด็จพระนารายณ์ และพระศรีสุธรรมราชาโจมตีฝ่ายวังหลวงแตกกระจาย แล้วเลยบุกเข้าวังหลวง โจมจับเจ้าฟ้าไชยได้ สมเด็จพระนารายณ์ก็ให้ประหารชีวิตเสีย และยกพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชย์ ดังที่สัญญาไว้




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๑๐) ความมัวเมา

“ว่าอย่างไรชายใหญ่” พระศรีสุธรรมราชากล่าวขึ้น “ละครของอาล้วนแต่เยี่ยมๆ ทั้งนั้นนะ นั่นแน่ะดูนางนิ่มซิ มันเป็นตัวนางมโนห์ราเด็ดไหมล่ะ เฮ้ย เอาตัวนางนิ่มเข้ามานี่ก่อน”

พิณพาทย์ก็ต้องหยุดลงกลางคัน นางนิ่มตัวเล่นเป็นมโนห์ราก็ต้องหยุดรำ เข้ามาหมอบถวายตัวหน้าที่นั่ง

ภายในวังคืนนั้น มีละครเรื่องพิเศษ นิ่มเป็นตัวนางมโนห์รา กำลังรุ่น รำเก่งไม่มีใครเปรียบ และเป็นความคิดของท้าวสมศักดิ์ ที่ให้นางมโนห์รานิ่มเล่นถวาย และแต่งชุดนางกินรี ที่เปลือยร่างบน มีแต่สร้อยสังวาลประดับ เป็นที่ถูกพระทัยพระศรีสุธรรมราชาเป็นอย่างยิ่ง

“เป็นไงชายใหญ่ ทำหน้าบอกบุญไม่รับ เฮ้ย หลวงศรีหลานข้าไม่ชอบผู้หญิง เอาอะไรมาแสดงให้เขาดูสักหน่อย”

การแสดงพิเศษคืนวันนั้นคือการลองคาถาอาคม พรรคพวกหลวงศรีมหิทธิศักดิ์ซึ่งล้วนเป็นโจรใหญ่ เคยปล้นอย่างทารุณมาแล้ว ออกมาแสดงทางคงกระพันให้ดู ให้ฟันแทงยิงกันเล่นหน้าที่นั่ง

“เป็นอย่างไร คนของอาล้วนแต่เด็ดๆ ทั้งนั้น ลองเอาคนของชายใหญ่มาสู้กับของอาบ้างเป็นไร” พระศรีสุธรรมราชาตรัสเป็นเชิงขู่

พวกสมุนก็ฮาขึ้นพร้อมกัน สมเด็จพระนารายณ์ทรงรู้สึกว่าจะบังคับพระทัยไม่ได้ จึงทำท่าจะทูลลา

“เดี๋ยวก่อนซิ จะรีบไปไหนเล่า ดูละครอีกหน่อยซิ แล้วประเดี๋ยวเจ้าหญิงราชกัลยาณีก็จะเสด็จมา”

สมเด็จพระนารายณ์สะดุ้งทั้งพระองค์ กำลังนึกสนเท่ห์พระทัย ก็ทรงเห็นพระราชกัลยาณีเสด็จเข้ามา มีท้าวสมศักดิ์ตามมาหลัง พักตร์พระนางซีดและแสดงความสงสัย ที่เห็นพระเชษฐาประดับอยู่ ณ ที่นั้น

“เออ ชายใหญ่ มีน้องสาวสวยๆ เอาเก็บไว้เงียบ ยกให้อาเป็นอย่างไร” พระศรีสุธรรมราชาตรัสอย่างเมา เพราะดื่มเข้าไปมากจนแทบไม่มีพระสติ



ที่มา...ประวัติศาสตร์เชิงนิยาย สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช พ.ศ.๒๕๑๗
เรื่อง...เปลื้อง ณ นคร
เผยแพร่โดย...มูลนิธิเหม เวชกร - Hem Vejakorn Foundation

มีต่อ

650

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2566 14:35:59 »

.


ประวัติศาสตร์เชิงนิยาย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช



                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๑๑) ผู้กินเมือง 

พระศรีสุธรรมราชานั้น เป็นอนุชาพระเจ้าปราสาททอง เป็นผู้มีอำนาจอยู่หลังบัลลังก์ เพราะมีสมัครพรรคพวกมาก และได้เป็นกำลังช่วยให้พระเจ้าปราสาททองแย่งราชสมบัติสำเร็จ แต่ผู้คนที่พระศรีสุธรรมราชาได้ไว้เป็นกำลังนั้น ส่วนมากเป็นพวกนักเลง ถืออำนาจเป็นธรรม ดังนั้น เมื่อได้ราชสมบัติก็มัวเมาในอำนาจ และโดยที่ติดเสพสุราไม่สร่างซา ก็ยิ่งมัวเมาแรงขึ้น มิได้คำนึงในธรรมของกษัตริย์ คือทศพิธราชธรรม แต่งตั้งคนที่ไร้ศีลธรรมให้มีอำนาจ

นางลูกจันทร์ซึ่งเป็นทั้งหญิงบำเรอและนางข้าหลวงนั้น เที่ยวแสวงหาหญิงมาถวาย ลูกใครเมียใครที่หน้าตาดีๆ ก็ใช้อำนาจใช้เงินเอามาบำเรอพระศรีสุธรรมราชา ท่านก็เลยตั้งเป็นท้าวสมศักดิ์ เป็นใหญ่ฝ่ายหญิงในพระราชวัง

ส่วนพวกหัวไม้คนสนิทที่ช่วยพระองค์ให้มีอำนาจ ก็ทรงแต่งตั้งให้มีอำนาจ เช่น หลวงศรีมหิทธิศักดิ์ พระราชมนตรี หลวงโยธาทิพย์ เหล่านี้ล้วนเคยเป็นโจรมาก่อน ครั้นมีอำนาจก็พาโจรอันเป็นสมัครพรรคพวกมาทำราชการ พวกนี้ก็ไม่ทิ้งสันดานเดิม เที่ยวกดขี่ข่มเหงราษฎรจนเดือดร้อนไปทั่ว แต่ก็ไม่มีใครกล้าขัดขืนเพราะกลัวอำนาจมืด

ภายในวังก็มีแต่การเลี้ยงเหล้าเมายา มีละครเป็นที่ครึกครื้นกันทุกค่ำคืน ได้ยินแต่เสียงพิณพาทย์ราดตะโพน ละเสียงกรีดกราดของหญิงที่อยากได้ทรัพย์อยากเป็นใหญ่ ยอมตัวให้พวกเหล่าร้ายทำตามพอใจ บางทีก็มีเสียงร้องโอดครวญของหญิงที่ถูกพวกนั้นฉุดคร่ามาโดยอำเภอใจ

ความมัวเมาในกามคุณของพระศรีสุธรรมราชาได้ถึงที่สุด เมื่อได้เห็นพระราชกัลยาณี พระน้องนางผู้ทรงโฉมของสมเด็จพระนารายณ์ ได้พยายามแทะโลมด้วยประการต่างๆ แต่พระนางไม่ทรงเอออวยด้วย เมื่อเห็นว่าจะพูดจากันโดยดีไม่ได้ พระศรีสุธรรมราชากำลังมึนเมาเต็มที่ ก็เสด็จไปยังตำหนักพระราชกัลยาณี และเข้าปลุกปล้ำเอาโดยพลการ แต่พระพี่เลี้ยงได้ใช้อุบายทูลว่าพระราชกัลยาณีกำลังประชวร วันหลังจะช่วยปลอบโยนให้พระนางยินยอมโดยดี พระศรีสุธรรมราชาจึงเสด็จกลับ จากนั้นพระพี่เลี้ยงก็ลอบพาพระราชกัลยาณีหนีออกจากวังหลวง ไปทูลสมเด็จพระนารายณ์ให้ทรงทราบ





                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๑๒) อวสานของคนอาธรรม 

ท่านทั้งหลาย บัดนี้ราษฎรพากันเดือดร้อนไปทั่ว อาของเราเอาแต่สวยน้ำจัณฑ์หามรุ่งหามค่ำ ทรงชุบเลี้ยงไพร่สถุล ปล่อยให้เที่ยวกดขี่ข่มเหงราษฎร ท่านทั้งหลายคงจะรู้ดีอยู่แล้ว และบัดนี้ยังข่มขืนน้ำใจพระราชกัลยาณี แต่เคราะห์ดีที่หลบหลีกออกมาพ้นได้ กษัตริย์ที่ไม่อยู่ในทศพิธราชธรรมเช่นนี้ จะทำให้บ้านเมืองลุกเป็นไฟ เราเห็นว่าจะต้องกำจัดเสียแต่ต้นมือ ท่านทั้งหลายจะเห็นเป็นประการใด

ผู้ที่สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้มาประชุมอย่างลับๆ นั้น มีเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาพลเทพ พระยาบังสัน ขุนนางผู้ใหญ่เหล่านี้ ถูกพวกเหล่าร้ายของพระศรีสุธรรมราชาดูหมิ่นดูแคลนต่างๆ ที่ยังอดทนอยู่เพราะยังไม่แน่ใจว่าสมเด็จพระนารายณ์จะทรงคิดเห็นในเรื่องเจ้าอาอย่างไร ครั้นสมเด็จพระนารายณ์ได้ออกพระวาจาให้รู้ประจักษ์เช่นนั้น ต่างก็รับจะรวมกำลังกำจัดพระศรีสุธรรมราชาออกเสียจากบัลลังก์

การตระเตรียมกำลังได้ทำกันปิดบังที่สุด แต่โดยที่ฝ่ายพระศรีสุธรรมราชากำลังมัวเมา ไม่คิดว่าจะมีผู้ใดหาญมาชิงอำนาจได้ แม้จะมีคนไปเพ็ดทูลเรื่องที่สมเด็จพระนารายณ์เตรียมผู้คนจะชิงอำนาจ พระศรีสุธรรมราชาก็กลับหัวเราะเยาะ ว่าเด็กเมื่อวานซืนจะหาญทำอย่างนั้นเทียวหรือ

เจ้าฟ้าชายยกกำลังมาล้อมวังแล้ว ท้าวสมศักดิ์เขย่าพระกายพระศรีสุธรรมราชา ซึ่งยังมึนงงด้วยฤทธิ์สุรา

“หะ ว่าอย่างไรนะ” รับสั่งถามงัวเงีย

“เจ้าฟ้าชายยกกำลังมาล้อมวัง” ท้าวสมศักดิ์ทูล

“เออ มันจะกำเริบถึงอย่างนั้นเทียวหรือ” ลุกทะลึ่งขึ้น สีพระพักตร์เผือดลง “ไปเรียกหลวงศรีมาเร็ว”

พวกเหล่าร้าย โดยความประมาทและมัวแต่จะสนุกสนานกัน การป้องกันจึงไม่เข้มแข็งนัก ทางฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์เมื่อเห็นทางในวังเตรียมสู้ ก็สั่งให้เอาปืนใหญ่ระดมยิงเข้าไป และให้ทหารบุกเข้าปีนกำแพงอย่างเต็มความสามารถ ประกอบด้วยราษฎรก็เอาใจช่วย ไม่ช้าไม่นานก็ทำลายประตูวังได้ ทหารตรูกันเข้าไป ฝ่ายพวกสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาเห็นเสียทีก็ไม่คิดสู้ ทิ้งให้เจ้านายวิ่งพล่านอยู่แต่องค์เดียว

การชิงบัลลังก์จากกษัตริย์ ผู้เลี้ยงคนพาลก็สำเร็จลงในวันเดียว สมเด็จพระนารายณ์จับพระศรีสุธรรมราชาได้ปรึกษาโทษแล้ว ก็ให้เอาไปสำเร็จโทษเสียด้วยท่อนจันทน์





                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๑๓) ได้กวีคู่บารมี 

สมเด็จพระนารายณ์ ทอดพระเนตรพิจารณาเด็กชายที่หมอบเฝ้าอยู่เฉพาะพระพักตร์ แล้วตรัสว่า

“ให้ฉันเสียเถอะครู เด็กคนนี้”

“พระกรุณาล้นเกล้า แต่ว่านายศรียังเด็กนัก เกรงจะรับราชการฉลองพระมหากรุณาให้เป็นที่พอพระทัยไม่ได้” คนผู้หนึ่งนุ่งขาวห่มขาวเยี่ยงพราหมณ์ทูล

“เอาเถอะ เราจะช่วยสั่งสอน ดูหน้าตามันเป็นเด็กฉลาดไหวพริบดี คงจะได้ราชการ”

“สุดแต่จะโปรดเถิดพะย่ะค่ะ แต่ข้าพุทธเจ้าขอพระราชทานพรไว้อย่างหนึ่งว่า หากนายศรีได้ทำให้ไม่พอพระราชหฤทัย จะโปรดลงโทษทัณฑ์ประการใดก็สุดแต่พระกรุณา แต่ขออย่าให้ถึงประหารเลย”

“อย่าวิตกเลย เราให้ตามคำขอของครู”

โดยประการฉะนี้ นายศรี บุตรของพระโหราธิบดีก็ได้เข้าไปเป็นมหาดเล็กสมเด็จพระนารายณ์

สมเด็จพระนารายณ์ได้ขึ้นครองราชย์ ภายหลังที่ได้มีการฆ่าฟันกันเองถึงสองครั้ง บ้านเมืองจึงอยู่ในสภาพที่ไม่สู้สงบ พระองค์ทรงแลเห็นว่า การปกครองบ้านเมืองนั้นต้องแสวงหาคนดี มีวิชาในศิลปศาสตร์ทั้ง ๑๘ ประการ ใครที่มีความสามารถในทางเหล่านี้ ก็ทรงเรียกเข้ามาอุปถัมภ์บำรุง ทำให้ฐานะของพระองค์มั่นคงขึ้น

นายศรีนั้นนับว่าเป็นคนชำนาญในทางฉันทศาสตร์ เพราะมีพระโหราธิบดีผู้บิดาเป็นครูโดยตรง มีเรื่องเล่าว่า ค่ำวันหนึ่งเมื่อเสร็จพระราชกิจแล้ว สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงบทกลอนเป็นเครื่องสำราญพระราชหฤทัยตามโบราณ


          ๏ อันใดย้ำแก้มแม่            หมองหมาย
          ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย  ลอบกล้ำ

แล้วก็ทรงติดอยู่แค่นั้น โปรดให้พระโหราธิบดีคิดแต่งต่อ พระโหราธิบดีก็ยังแต่งต่อให้ได้ความดีไม่ได้ จึงนำกระดานเขียนโคลงนั้นไปบ้าน ลูกชายคือนายศรีไปพบเข้าก็แต่งต่อว่า

          ผิชนแต่จักกราย              ยังยาก
          ใครจะอาจให้ช้ำ  ชอกเนื้อเรียมสงวนโพธิ

เรื่องนี้เอง ที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ต้องมีโองการให้นำนายศรีเข้าเฝ้า และโปรดให้เป็นมหาดเล็ก แต่พระโหราธิบดีมีความวิตก เพราะการที่นายศรีละลาบละล้วงเขียนโคลงต่อนั้น เป็นเครื่องบอกเหตุว่าลูกชายจะต้องราชภัย จึงได้ทูลขออภัยโทษไว้ก่อน




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๑๔) รัฐประศาสโนบาย 

“ขอถวายพระพร บัดนี้ราษฎรมีความเดือดร้อนมาก แต่เขาไม่กล้าถวายฎีกา จึงขอให้อาตมามาเฝ้า" พระราชาคณะองค์หนึ่งถวายพระพร

“เรื่องอะไรละพระคุณเจ้า ในส่วนโยมนะก็ปรารถนาจะให้ประชาราษฎรเป็นสุขกันทุกคน” สมเด็จพระนารายณ์ตรัส

“เขาร้องว่าเวลานี้ มีพระราชกำหนดมากมายหลายประการ ไม่เคยมีมาแต่ก่อน จะทำอะไรก็ไม่สะดวก”

“อ้อ เรื่องเท่านี้เอง โยมพอจะช่วยได้อยู่ แต่ว่าโยมจะขอร้องอะไรสักอย่าง คือว่าโยมมีลิงอยู่ตัวหนึ่ง ใคร่จะขอให้พระคุณเจ้านำไปเลี้ยงสักสองสามวัน" ลิงตัวนี้โยมรักมาก พระคุณเจ้าอย่าไปผูกล่ามมัน ขอให้ปล่อยให้มันอยู่ตามสบาย ช่วยโยมสักสองสามเวลาเท่านั้น”

พระราชาคณะรูปนั้นดีใจมาก ที่ได้ช่วยแก้ไขสารทุกข์ของราษฎรได้ ถวายพระพรลากลับไปพร้อมกับลิงตัวนั้น แต่แล้วพอถึงวันที่สองเท่านั้นเอง ท่านก็กลับมาเฝ้าพร้อมกับลิง ถวายพระพรว่า

“ไม่ไหว มหาบพิตร มันรื้อกุฏิอาตมาเสียป่นปี้หมด ถ้าจะให้อาตมาเลี้ยงต่อไป ก็ขอประทานล่ามมันไว้ มิฉะนั้นอาตมาเห็นจะอยู่เป็นปรกติไม่ได้”

“ก็นั่นแหละพระคุณเจ้า พระราชกำหนดที่ออกไปนั้น ก็มิใช่ว่าต้องการจะให้ราษฎรเดือดร้อน คนเราอยู่กันมากๆ ก็ต้องมีกำหนดกฎข้อบังคับ มิฉะนั้นก็จะทำอะไรตามอำเภอใจกันหมด  เมื่อเป็นเช่นนี้จะอยู่กันอย่างสงบสุขได้อย่างไร พระคุณเจ้าไปบอกราษฎรเถิด ว่าบทกฎหมายต่างๆ นั้น มีไว้สำหรับให้พวกเขาเหล่านั้นอยู่กันอย่างเป็นสุข”

พระราชาคณะรูปนั้นก็ได้คิด ถวายพระพรลากลับไป

เรื่องนี้เล่าต่อกันมา ไม่ปรากฏในพงศาวดาร คือว่า เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ได้ครองราชย์แล้ว ก็ทรงเห็นว่าบ้านเมืองมีการรบราฆ่าฟันกันเองมาถึงสองคราว ทำให้มีโจรผู้ร้ายชุกชุม และราษฎรก็ละเลยบทกฎหมายเนืองๆ จึงทรงตรากฎหมายต่างๆ ขึ้นหลายอย่าง ราษฎรพวกหนึ่งรู้สึกเดือดร้อน แต่ไม่กล้าถวายฎีกา จึงพากันไปขอให้พระราชาคณะไปช่วยพูดกับสมเด็จพระนารายณ์ สมเด็จพระนารายณ์จะทรงชี้แจงก็ทรงเห็นว่าพระราชาคณะคงจะไม่แลเห็นชัด ขณะที่ทรงหาทางว่าจะทำประการใดดี นายศรี ซึ่งหมอบเฝ้าอยู่ใกล้ๆ ก็กราบทูลให้ทรงเห็นอุบาย สมเด็จพระนารายณ์จึงได้ประทานลิงไปให้พระราซาคณะองค์นั้นเลี้ยงดังกล่าวแล้ว



ที่มา...ประวัติศาสตร์เชิงนิยาย สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช พ.ศ.๒๕๑๗
เรื่อง...เปลื้อง ณ นคร
เผยแพร่โดย...มูลนิธิเหม เวชกร - Hem Vejakorn Foundation

มีต่อ

650

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 20 มีนาคม 2566 19:00:23 »

.


ประวัติศาสตร์เชิงนิยาย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช



                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๑๕) กองทัพกลับ

เสียงโห่ร้องฆ้องกลองดังก้องกึกมาตามลำน้ำเจ้าพระยา ทันใดนั้น ก็มีเสียงตะโกนกันเป็นทอดๆ ว่า “กองทัพกลับมาแล้ว กองทัพกลับมาแล้ว” กรุงศรีอยุธยาก็มีชีวิตพรึบพรับขึ้นทันที ลูกเมียญาติพี่น้องออกจากบ้านมารับกองทัพที่หน้าท่า พอแม่ทัพยกกองขึ้นบก พวกชาวบ้านก็โห่ร้องเสียงสนั่นไปทั้งพระนคร ที่มีเครื่องปี่พาทย์ราดตะโพนก็เอามาตีนำหน้ากองทัพเข้าสู่พระราชวัง

การศึกครั้งนี้ นับเป็นครั้งสำคัญ เพราะทัพไทยยกไปตีพม่าถึงเมืองอังวะ เจ้าพระยาโกษา (เหล็ก) เป็นแม่ทัพใหญ่ แม่ทัพนายกองล้วนเป็นหนุ่มฉกรรจ์ น้ำใจห้าวหาญ ต้องการรบอย่างไว้ฝีมือ ข่าวการรบได้มีมาถึงพระนครตามลำดับ และข่าวชัยชนะที่ตามกันมาไม่ขาดระยะนั้น ทำให้ชาวอยุธยาชื่นชมยินดีเป็นที่สุด แต่ข่าวการรบครั้งสุดท้ายเป็นข่าวร้าย ทำเอากรุงศรีอยุธยาเงียบเหงาเป็นห่วง เพราะไทยต้องถอยทัพ พระยาสีหราชเดโชชัย นายทหารคู่พระทัยและสนิทชิดชอบมาตั้งแต่เด็กๆ ก็มีข่าวมาว่า ถูกพม่าจับไปได้ ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ร้อนพระทัยมาก ถึงกับให้อาราธนาพระพิมลธรรมมาจับยาม พระพิมลธรรมถวายพระพรว่า ไม่เป็นอันตราย พระยาสีหราชเดโชชัยรอดจากเงื้อมมือข้าศึกแล้ว แต่ถึงกระนั้นก็ยังทรงวิตกกังวลเป็นอย่างมาก

เจ้าพระยาโกษา (เหล็ก) แม่ทัพ พระยาสีหราชเดโชชัย รองแม่ทัพ มาถวายบังคมที่เสด็จออกรับกองทัพในพระมหาราชวัง เมื่อทอดพระเนตรเห็นหน้าพระยาสีหราชเดโชชัยก็เสด็จลงมาสวมกอดอย่างดีพระทัย และถวายเสนาสนะปัจจัยแก่พระพิมลธรรมเป็นอันมาก ที่จับยามได้อย่างแม่นยำ

มูลเหตุแห่งการสงครามครั้งนี้ (ครั้ง พ.ศ.๒๒๐๗) ก็คือว่า ทางฝ่ายเหนือนั้นเป็นดินแดนสำคัญ ที่พม่ามักยกลงมาประชิด ทำให้เกิดการปั่นป่วนขึ้นในพระราชอาณาเขต เพราะบางครั้งทางลานนาก็กลับไปเข้ากับพม่า พระองค์จึงโปรดให้ยกทัพขึ้นไปยึดแดนลานนา และเลยยกไปตีพม่าเสียคราวเดียวกัน ทัพไทยยกไปตีได้เมืองเมาะตะมะ หงสาวดี ย่างกุ้ง และตองอู แต่เมื่อยกไปประชิดกรุงอังวะ เสบียงก็ขัดสนลง และทางพม่าก็ต่อต้านเข้มแข็งขึ้น ทัพไทยต้องถอยร่นมาอย่างลำบากที่สุด คราวหนึ่งมีการรบกันอย่างตะลุมบอน และพระยาสีหราชเดโชชัยตกอยู่ท่ามกลางข้าศึก แต่ก็ทำให้พม่าต้องตกใจ เพราะปรากฏว่า พระยาสีหราชซึ่งขับม้าฟาดฟันข้าศึกอยู่นั้น หายวับไปเฉยๆ ประเดี๋ยวก็กลับปรากฏตัวอีก ทำให้ข้าศึกเสียขวัญ จึงตีฝ่าวงล้อมออกมาได้




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๑๖) ความเด็ดขาดของผู้เป็นแม่ทัพ

“เราให้ตั้งค่ายโดยเอาปลายไม้ไผ่ปักลงดิน เหตุใดเจ้าจึงขัดคำสั่งเรา”  เจ้าพระยาโกษา (ปาน) ตั้งกระทู้ถาม

“แต่ไหนแต่ไรมา การตั้งค่ายก็ต้องเอาโคนไม้ลงทั้งนั้น ถ้าเอาปลายลงก็จะมีช่อง ข้าศึกเอาปืนยิงลอดเข้ามาได้”  นายกองคนนั้นตอบ

“เรื่องนี้เจ้าคิดว่าเราไม่รู้หรือ อย่าว่าแต่เราเลย ทหารเลว ๆ มันก็รู้กันทุกคน แต่บัดนี้เราเป็นแม่ทัพ ได้รับพระแสงอาญาสิทธิ์ เมื่อเราออกคำสั่งไปแล้ว ทุกคนจะต้องทำตามคำสั่ง ผู้ขัดขืนคำสั่งแม่ทัพในยามศึก จะต้องถูกประหารชีวิตตามบทพระอัยการศึก”

เจ้าพระยาโกษา (ปาน) กล่าวแล้ว ก็ให้เพชฌฆาตจัดการตัดหัวนายกองผู้อวดรู้เสียตรงนั้นเอง

นี่เป็นเหตุการณ์ก่อนที่ไทยจะยกทัพขึ้นไปตีเชียงใหม่ ตามพระดำหริของสมเด็จพระนารายณ์ ด้วยทรงเล็งเห็นว่า เชียงใหม่เป็นเมืองสำคัญทางฝ่ายเหนือ หากพม่ายกมาตีเอาเชียงใหม่ได้แล้ว ก็จะใช้เชียงใหม่เป็นฐานทัพยกลงมาตีไทยได้โดยสะดวก

ขณะนั้นพระยาโกษา (เหล็ก) ถึงอนิจกรรมเสียแล้ว ก็ทรงเห็นว่า ผู้ที่จะกระทำการให้สำเร็จตามพระราชประสงค์ ก็มีแต่น้องชายเจ้าพระยาโกษาเหล็ก จึงโปรดให้นายปาน ซึ่งขณะนั้นมียศเป็นออกพระวิสูตรสุนทร เป็นเจ้าพระยาโกษาธิบดีแทนพี่ชาย และโปรดให้เป็นแม่ทัพยกไปตีเชียงใหม่

เจ้าพระยาโกษาธิบดี หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า โกษาปาน มีชื่อเสียงว่าเป็นคนพูดเก่ง มีความสามารถในทางการพลเรือน การที่โปรดให้เป็นแม่ทัพครั้งนี้ ก็มีหลายคนเห็นว่า เอาพลเรือนไปรบศึกจะได้ผลหรือ เรื่องนี้โกษาปานคงจะทราบเค้าเงื่อนมา จึงเห็นว่า การเป็นแม่ทัพนั้น ถ้าคนไม่เชื่อถือยำเกรง ก็คงจะไปทำงานไม่สำเร็จ จึงขอพระราชทานอาญาสิทธิ์ทดลองตั้งค่าย และแกล้งออกคำสั่งให้ตั้งค่ายโดยเอาไม้ไผ่ปักปลายล้อมค่าย และก็มีนายกองอวดดีดังที่คาดหมาย โกษาปานจำใจสั่งให้ประหารชีวิต เพื่อให้คำสั่งต่อๆ ไปศักดิ์สิทธิ์

และก็สมจริง ยกทัพไปถึงไหนก็ตีได้ทุกหัวเมือง เมื่อไปตั้งล้อมเชียงใหม่ไว้แล้ว ก็มีหนังสือทูลเชิญเสด็จสมเด็จพระนารายณ์ขึ้นไปเป็นจอมทัพ ระดมตีได้เมืองเชียงใหม่โดยง่าย

นี่ก็เป็นความเฉลียวฉลาดของโกษาปานอีกเรื่องหนึ่ง เพราะการที่ตนจะเข้าตีเอาเมืองเชียงใหม่เสียเอง เกียรติไทยก็จะไม่ปรากฏเท่าทูลเชิญองค์พระมหากษัตริย์ขึ้นไปทรงกำกับกองทัพโดยพระองค์เอง




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๑๗) กำเนิดพระเจ้าเสือ

“...ฝ่ายข้างลาวประลัย ฝ่ายข้างไทยไชเยศ คืนยังประเทศพิศาล สำราญราษฎร์สัมฤทธิ์ พิพิธราชสมบัติ...”   สมเด็จพระนารายณ์เสด็จขึ้นไปเผด็จศึกเชียงใหม่ครั้งนั้น ได้ช้างม้าศาสตราวุธและทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก และนอกไปจากนั้น สาวงามแห่งเมืองเหนือก็ตกเป็นสมบัติแห่งขุนศึก ตามเยี่ยงอย่างแห่งผู้มีชัย

ในพระราชพงศาวดารว่า... เจ้าพระยาโกษาธิบดีก็จัดสรรเอาบุตรีเจ้าเมืองและบุตรีท้าวพระยาเสนาลาวทั้งหลาย ที่มีสิริรูปอันงามนั้นเข้ามาถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็ทรงเลือกบุตรีเจ้าเมืองไว้เป็นพระสนม และซึ่งบุตรีแสนท้าวพระยาเสนาลาวทั้งหลายนั้น ก็ทรงแจกพระราชทานให้แก่ท้าวพระยานายทัพนายกองทั่วกัน... และนี่ก็กลายเป็นพันธะอันมั่นคง ยิ่งกว่านั้นในกาลต่อมาเชื้อสายทางเชียงใหม่ก็กลับได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ไทย คือสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ

บุตรีเจ้าเมืองนั้นไม่ปรากฏชื่อ แต่เลื่องลือว่างามนัก นางได้ยอมตนเป็นบาทบริจาริกาแห่งผู้มีชัยเยี่ยงเชลย สมเด็จพระนารายณ์โปรดนางเป็นพิเศษ ขณะที่เลิกทัพเสด็จรอนแรมมาจากเชียงใหม่ ก็ทรงทะนุถนอมนางไว้อย่างสมศักดิ์

ครั้นมาถึงอยุธยาปรากฏว่านางได้ตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้สมเด็จพระนารายณ์ยุ่งยากพระทัยมาก ด้วยนางเป็นลูกเชลย จะทรงแต่งตั้งไว้ในที่สูงก็ละอายพระทัย จึงโปรดให้พระเพทราชาอำมาตย์ผู้สนิท รับนางไปเลี้ยงไว้

อยู่มาสมเด็จพระนารายณ์เสด็จไปนมัสการพระพุทธชินราช พระเพทราชากับนางก็ตามเสด็จด้วย ขณะนั้นนางกำลังมีครรภ์แก่ ครั้นเดินทางไปตำบลโพธิ์ประทับช้าง แขวงเมืองพิจิตร นางก็คลอดบุตร ณ ที่ประทับแรม

“นี่คือโอรสของพระองค์” พระเพทราชากราบทูล ให้ทอดพระเนตรทารกที่หมอตำแยกำลังอุ้มอยู่

“หน้าตาไม่ผิดเราเลย” รับสั่ง “แล้วแม่ละ เป็นอย่างไรบ้าง”  

“ไม่มีบุญจะได้อยู่ดูหน้าลูกพะย่ะค่ะ” พระเพทราชาทูล สีหน้าสลด “ไม่อาจทนความเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง และคลอดยากด้วย”  

“ตายเสียแล้ว โธ่เอ๋ย” สมเด็จพระนารายณ์ตรัส ทรุดองค์ลงก้มพระพักตร์




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๑๘) สร้างเมืองลพบุรี

การจากไปอย่างแสนเศร้าของชายาลับ ทำให้สมเด็จพระนารายณ์รันทดพระทัยเป็นอันมาก ด้วยความรู้สึกเวทนาและสงสารนาง ยิ่งได้เห็นโอรสของพระองค์ ซึ่งพระองค์ไม่สามารถจะเบีดเผยได้ ก็ยิ่งคิดถึงนางพอดีในระยะนั้น มีพวกชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อกับประเทศไทยมากขึ้น พระองค์ทรงเห็นว่าอาจจะมีเหตุสำคัญขึ้นในพระนครหลวง จึงคิดจะสร้างนครหลวงรองขึ้นอีกสักแห่งหนึ่ง ได้ทรงเลือกเอาเมืองลพบุรี ปรารถนาจะใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนพระทัยด้วย และอาจใช้เป็นที่มั่นอีกแห่งหนึ่ง หากเกิดเหตุฉุกเฉิน มิอาจรักษากรุงศรีอยุธยาไว้ได้

ขณะนั้นมีฝรั่งชาติกรีกคนหนึ่งชื่อ คอนสตันติน ฟอลคอน เป็นผู้มีความรู้ทางช่างและเป็นนักเผชิญโชค ได้เข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยาได้แสดงฝีมือและความรู้ให้ปรากฏ สมเด็จพระนารายณ์จึงรับสั่งให้เข้าเฝ้า ทรงปรึกษาเรื่องการสร้างลพบุรีให้เป็นนครที่เจริญโอ่อ่า แตกต่างไปจากนครแบบไทยๆ คอนสตันติน ฟอลคอน ก็ถวายแผนผังเมืองตามแบบของชาวตะวันตก มีการขุดทะเลสาบใหญ่ แล้วชักน้ำในทะเลสาบเข้ามายังพระราชวัง ทำน้ำพุและน้ำประปาไหลไปตามท่อ พระมหาปราสาทก็สร้างด้วยอิฐปูน ที่ริมทะเลสาบสร้างพระที่นั่งเย็น เป็นที่ประทับพักผ่อนอิริยาบถ

สมเด็จพระนารายณ์ทรงมอบการสร้างเมืองให้คอนสตันติน ฟอลคอน โดยเด็ดขาด จะต้องการคนสักเท่าใด พระราชทรัพย์สักเท่าใดให้สิทธิ์เบิกเอาจากท้องพระคลัง โดยไม่จำกัด ดังนั้นในเวลาไม่ช้านครใหม่อันงดงามประหลาดตาก็เกิดขึ้น ถนนหนทางก็กว้างขวางโรยอิฐปูหิน มีน้ำพุพ่นฟองฝอยตามแยกถนนและในพระราชวัง เป็นที่น่าเพลินตา

พระศรีมโหสถ กวีผู้หนึ่งในสมัยนั้นได้แต่งโคลง พรรณนาความงามแห่งลพบุรีไว้ดังนี้


       สวนศรีพฤกษชาติช้อย       หลายพรรณ    
       งามดอกดวงใบบรรณ   คลี่เคล้า  
       คือจิตรลดาวัลย์       อธิราช
       บานแบ่งคนธรสเร้า            เฟื่องฟุ้งขจรถวาย
       มีสินธุ์สายสีตซึ้ง      ชลใส    
       เติมแต่เศขรใน    ซอกชั้น  
       พุพวยหลั่งหลงใหล           เซงซ่าน        
       ว่างท่อทางด้นดั้น               สู่ท้องวังเวียง



                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๑๙) ความมุทะลุของโอรสลับ

ลพบุรีและกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น มีพวกฝรั่งมาอยู่แน่นยิ่งกว่าสมัยใดๆ หลังจากที่สมเด็จพระนารายณ์ ส่งราชทูตไปยังราชสำนักพระเจ้าหลุยส์แห่งฝรั่งเศสแล้ว ชาวผรั่งเศสก็เข้ามาติดต่อกับไทยมากขึ้น มีทั้งทหารที่มาตั้งป้อมค่าย ทั้งพวกที่มาค้าขาย และพวกที่สอนศาสนา

การที่มีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่อย่างพลุกพล่าน และออกจะมีสิทธิพิเศษ มีความเป็นอยู่อย่างสบายนั้น ทำให้ชาวลพบุรีและกรุงศรีอยุธยาเกิดความหวาดระแวง ว่าบ้านเมืองจะเป็นอันตราย ชาวต่างประเทศที่นับว่ามีอำนาจและอิทธิพลมากก็คือ คอนสตันติน ฟอลคอน ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์โปรดปรานมาก ได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งขึ้นโดยเร็ว จนเป็นถึงเจ้าพระยาวิชาเยนทร์

ผู้ที่มีความอัดอั้นใจในเรื่องเหล่านี้มากที่สุดเห็นจะไม่มีใครเกินโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า นายเดื่อ ซึ่งยิ่งเติบโตก็ยิ่งเค้าหน้าตาเหมือนสมเด็จพระนารายณ์ยิ่งขึ้น และสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงสงสารเมตตา เพราะทรงคิดถึงแม่ที่ตายไป ได้เคยโปรดให้นายเดื่อยืนเคียงกับพระองค์ที่หน้ากระจกเงา แล้วถามนายเดื่อว่า หน้าตาเหมือนกับพระองค์หรือไม่

นายเดื่อนั้นเติบโตเป็นหนุ่มที่ไม่กลัวความตาย มุทะลู ช้างพลายที่กำลังเมามันและกระทืบควานตาย นายเดื่อก็ขึ้นขี่บังคับจนช้างต้องยอมทำตามคำสั่ง สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้เป็นที่ หลวงสรศักดิ์

“อ้ายฟอลคอนหน้าขาวคนนี้มันอวดดีนัก มันนึกว่าจะเอาเมืองไทยไว้ในอำนาจของมัน กูจะเล่นให้มันเข็ดฝีมือคนไทยเสียบ้าง” หลวงสรศักดิ์กล่าวกับพวก

“ท่านจะทำอย่างไร” เพื่อนคนหนึ่งถาม

“คอยดูก็แล้วกัน ข้าจะสอนให้มันรู้ว่าอย่าบังอาจคิดเอาไทยเป็นเมืองของมัน เอ็งเห็นไหมเวลานี้อ้ายพวกหน้าขาวเต็มบ้านเต็มเมือง เราจะกลายเป็นขี้ข้ามัน” หลวงสรศักดิ์ว่า ขบกรามแน่น

และแล้ววันหนึ่ง ขณะที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์นั่งเสลี่ยงเข้ามาทางประตูต้นจันทน์ เพื่อจะเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ หลวงสรศักดิ์ก็เผ่นออกจากที่ซุ่ม โจนเข้าชกเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ตกเสลี่ยง ฟันหักไปสองซี่




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๒๐) ปัญหาที่ทรงแก้ตก

“อ้ายเดื่อมันบ้าตามประสาคนมุทะลุ ใครจะยอมให้คนต่างด้าวเข้ามาครอบครองได้ง่ายๆ” สมเด็จพระนารายณ์ตรัสกับพระเพทราชา “แต่คราวนี้มันอุกอาจมาก ต้องเอาตัวมันมาลงโทษเสียบ้าง ใจมันจะได้เย็นลง”  

แต่หลวงสรศักดิ์หนีไปพึ่งเจ้าแม่วัดดุสิต ที่เคยเป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์เสียแล้ว สมเด็จพระนารายณ์ก็ไม่กล้าไปแตะต้อง เมื่อไม่ได้ตัวผู้ผิดมาลงโทษตามความต้องการของฟอลคอน พระองค์ก็ต้องประทานค่าทำขวัญให้ด้วยพระราชทรัพย์เป็นอันมาก คือสิทธิ์พิเศษแก่พวกบาทหลวง เช่นให้สร้างโบสถ์และที่ดินสำหรับอาศัยตามคำขอของฟอลคอน การที่พระองค์แสดงความโปรดปรานพวกบาทหลวงเป็นอันมากนั้น ทำให้ชาวเมืองเล่าลือกันว่า พระองค์ชักจะมีน้ำพระทัยเอนเอียงไปในศาสนาคริสต์ แม้พวกบาทหลวงก็ชักจะเข้าใจเช่นนั้น วันนั้นบาทหลวงคณะหนึ่งจึงเข้าเฝ้าแสดงอรรถาธิบายถึงความประเสริฐของคริสต์ศาสนา และในที่สุดถึงกล้ากราบทูลชักชวนพระองค์เข้ารีต

“เราเห็นว่าท่านทั้งหลายก็บำเพ็ญกิจ เพื่อศาสนาของท่านอย่างน่าชม คำที่ท่านกล่าวยกย่องศาสนาของท่านเราก็เห็นด้วยทุกประการ การที่จะชักชวนเราให้เข้ารีตนั้น เราก็ขอบคุณท่าน ที่จะชักชวนให้ไปในทางสวรรค์ เราเชื่อว่าเมื่อวันดี  พระผู้เป็นเจ้าของท่านก็จะบันดาลใจเราให้เข้ารีตสมตามความปรารถนาของท่านเป็นแน่”  
เมื่อได้ยินตรัสดังนี้ คณะบาทหลวงก็มิอาจคะยั้นคะยออีกต่อไป  เป็นอันว่าสมเด็จพระนารายณ์ทรงแก้ปัญหาหลุดไปได้อย่างงดงาม

อย่างไรก็ดี เหตุการณ์สำคัญสองเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ทำให้พวกอำมาตย์ข้าราชการเกิดมีความคิดเห็นแยกกัน คือพวกหนึ่งเห็นว่าสมเด็จพระนารายณ์ทรงดำเนินการบ้านเมืองถูกต้องแล้ว ที่ให้พวกฝรั่งและบาทหลวงเข้าอยู่ในกรุงศรีอยุธยา เพราะช่วยให้บ้านเมืองเจริญขึ้น และสมเด็จพระนารายณ์ก็คงรักษาบ้านเมืองไว้ได้ด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุม แต่อีกพวกหนึ่งคือพวกหลวงสรศักดิ์ เห็นว่าจะต้องหาทางกวาดล้างอำนาจของคอนสตันติน ฟอลคอนลง และขับไล่พวกต่างด้าวออกไป




ที่มา...ประวัติศาสตร์เชิงนิยาย สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช พ.ศ.๒๕๑๗
เรื่อง...เปลื้อง ณ นคร
เผยแพร่โดย...มูลนิธิเหม เวชกร - Hem Vejakorn Foundation

มีต่อ

650

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 24 เมษายน 2566 15:29:04 »

.



ประวัติศาสตร์เชิงนิยาย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช



                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๒๑) อันตรายจากภายนอก

ความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยชักนำให้ชาวตะวันตกเข้ามายังกรุงศรีอยุธยามากขึ้นทุกที มีพวกโปรตุเกส พวกฮอลันดา พวกสเปน พวกอังกฤษ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั้น พวกนี้นอกจากมาทำมาค้าขายแล้ว ยังเข้ารับราชการอีกด้วย พอดีกับคอนสตันติน ฟอลคอน ได้เป็นใหญ่เป็นโตขึ้น พวกเหล่านี้อาศัยที่ทั้งมีกำลังปัญญาและกำลังอาวุธ ก็ทำให้คนไทยพากันหวั่นวิตกและสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงหยั่งรู้ว่า  การที่พวกชาวตะวันตกเดินทางมาจากคนละซีกโลกจนถึงเมืองไทยนั้น แสดงให้เห็นว่า พวกนี้ต้องเก่งกล้าสามารถ การที่พวกนี้เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา จึงเท่ากับเลี้ยงเสือไว้นั่นเอง

วิธีการของสมเด็จพระนารายณ์ก็คือ ให้เสือระวังเสือ นับว่าเบ็นนโยบายที่เสี่ยงอันตรายอยู่มาก ชาติที่เข้ามาทีหลัง คือฝรั่งเศส สมเด็จพระนารายณ์ทรงทราบว่า ฝรั่งเศสกำลังเป็นชาติมีอำนาจมากอยู่ในยุโรป ดังนั้น เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส แต่งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงรับรองอย่างดียิ่ง และทรงเห็นว่าจะต้องส่งทูตไปเยี่ยมราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ เป็นการตอบแทน การส่งทูตไปคราวนี้ จำต้องหาทูตที่มีไหวพริบสามารถในการเจรจา หาทางให้พระเจ้าหลุยส์ทรงเป็นมิตรสนิทสนมกับไทยอย่างจริงจัง เพื่อจะให้ถ่วงอำนาจชาติอื่นไว้ สมเด็จพระนารายณ์ได้เลือก โกษาปาน เป็นทูต

การที่โกษาปานเป็นทูตไปครั้งนั้นเลื่องลือไปกว้างขวาง ทำให้ชาติยุโรปเห็นว่าไทยเป็นประเทศที่ใหญ่โตเข้มแข็ง พวกยุโรปจะประมาทมิได้

พระราชไมตรีระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กับสมเด็จพระนารายณ์ ทำให้คนฝรั่งเศสเข้ามาในเมืองไทยมากขึ้น ที่นับว่าเป็นพวกสำคัญ คือพวกมิชชันนารี ได้แต่งหนังสือไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายเรื่อง รวมเรียกว่า จดหมายเหตุของบาทหลวงฝรั่งเศส คนสำคัญที่ควรกล่าวถึงคือ ลาลูแบร์ ซึ่งเป็นทูต ได้เขียนจดหมายเหตุเกี่ยวกับเมืองไทยไว้อย่างละเอียด

กรุงศรีอยุธยาในระยะนี้ นับว่ามีทูตมาเยี่ยมเยียนมากที่สุด และพวกฝรั่งเข้ามาอยู่มากมาย ไม่ต้องสงสัยเลยว่า พวกพ่อค้าก็ต้องการหาประโยชน์ใส่ตัว พวกนักการเมืองก็มองดูลู่ทางที่จะเอาเมืองไทยไว้ในอำนาจ พวกสอนศาสนาก็หมายจะให้คนไทยเข้ารีต และตัวบุคคลสำคัญ ซึ่งพวกเหล่านี้ติดต่ออย่างลับ ๆ คือเจ้าพระยาวิชาเยนทร์




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร


(๒๒) ราชสำนักแห่งกวี

สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่า โคลงฉันท์อันไพเราะเป็นเครื่องชุบย้อมจิตใจให้ใสสะอาด เป็นส่วนหนึ่งที่ชักนำให้ประชาราษฎรนึกเห็นสิ่งดีสิ่งงาม พระองค์ถือเป็นหลักแห่งการปกครองประการหนึ่ง จึงได้ทรงส่งเสริมการกวี ทรงยกย่องโปรดปรานผู้ชำนาญในกาพย์คดี ในราชสำนักก็มีการประชุมกวี แสดงชั้นเชิงฝีปากกันเป็นประจำ

ครั้งหนึ่ง มีการแต่งโคลงพรรณนาความรักความอาลัยประกวดกัน พระยาแสนหลวงเจ้าเมืองเชียงใหม่ กล่าวเป็นโคลงขึ้นว่า


           ครื้นครื้นใช่ฟ้าร้อง           เรียมครวญ
           หึ่งหึ่งใช่ลมหวน                พี่ไห้
           ฝนตกใช่ฝนนวล               พี่ทอด ใจนา
           ร้อนใช่ร้อนไฟไหม้            พี่ร้อนกลกาม

บรรดากวีก็เห็นกันว่า สำนวนหลักแหลมคมคาย ศรีปราชญ์ซึ่งอยู่ในราชสำนักจนรุ่นหนุ่ม จึงได้เอ่ยโคลงพรรณนาความเศร้าขึ้นบ้างว่า

           เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วม           ถึงพรหม
           ปวงเทพเจ้าตกจม      จ่อมม้วย
           พระสุเมรุเปื่อยเป็นตม         ทบเท่า ลงนา

ถึงตรงนี้บรรดากวีก็พากันยิ้ม เพราะศรีปราชญ์ได้พรรณนาโลดโผนพิสดารหลวมตัวไปมาก สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงเข้าพระทัย จึงทรงทักว่า “เขาพระเมรุก็เปื่อยเป็นตมไปแล้ว เอ็งจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไรล่ะ”  ศรีปราชญ์ก็ว่าโคลงบาทสี่ต่อไปทันทีว่า

            “หากอักนิษฐ์พรหมฉ้วย     พี่ไว้จึงคง”   

คืออักนิษฐ์พรหม อยู่สูงสุด แม้โลกจะทำลาย แต่พรหมในชั้นนี้ก็ยังคงอยู่ ได้ช่วยศรีปราชญ์ไว้

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์นี้ การอักษรศาสตร์และการเล่าเรียนได้เจริญขึ้นมาก มีแบบเรียนเล่มแรกตกทอดมาจนทุกวันนี้คือ แบบเรียนชื่อจินดามณี

โดยที่พระองค์ท่านทรงส่งเสริมกาพย์กลอน และการศึกษาในพระนครหลวงจึงมีทั้งนักปราชญ์ นักกลอน ยิ่งกว่านั้น ในสมัยนี้ได้มีคนไทยออกไปเรียนหนังสือในยุโรปเป็นครั้งแรก




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๒๓) ราชการลับ

เมืองนครศรีธรรมราชนั้น เป็นเมืองสุดหล้าฟ้าเขียว ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั้น มีเจ้าผู้ครองนคร เบ็นประเทศราช ส่งราชบรรณาการให้กรุงศรีอยุธยาเป็นประจำ อำนาจของกรุงศรีอยุธยาแผ่ลงไปจนถึงปลายแหลมมลายู ขณะนั้นมีพวกอินเดียและพราหมณ์เข้ามาอยู่มาก จนกระทั่งเมืองนครศรีธรรมราชได้ชื่อว่า เมืองปาฏลีบุตร อีกชื่อหนึ่ง

สมเด็จพระนารายณ์ทรงเป็นห่วงว่า หัวเมืองทางใต้จะแข็งเมืองขึ้น จำต้องส่งคนที่ไว้พระทัยไปคอยสดับตรับฟังเหตุการณ์ แล้วรายงานมาให้พระองค์ทราบ ค่ำวันหนึ่งจึงรับสั่งให้ศรีปราชญ์เข้าไปเฝ้าโดยเฉพาะ ตรัสว่า

“ข้าจะให้เจ้าไปเมืองนคร เจ้าจะว่าอย่างไร” 
 
ศรีปราชญ์ยังไม่ได้ทูลอะไร ก็ตรัสต่อไปว่า “ข้าไม่เห็นใครที่จะเฉลียวฉลาดไปกว่าเจ้า เวลานี้ข้าเกรงว่าเมืองนครและหัวเมืองทางใต้จะเอาใจออกหาก ข้าจึงต้องส่งเจ้าออกไป แต่ต้องไม่ให้ใครรู้ความลับเรื่องนี้” 
 
“พระกรุณาล้นเกล้า” 
 
“เจ้าเมืองนครเป็นคนชอบทางการกวี เมื่อเจ้าออกไป คงพอใจและไม่สงสัย ข้าจะทำเป็นว่าเนรเทศเจ้าออกไป” 
 
“พะยะค่ะ” ศรีปราชญ์งงเต็มที

“พรุ่งนี้เอ็งจะพบนางข้าหลวงคนหนึ่ง ซึ่งจะตีฝีปากโคลงกับเจ้า เจ้าจงว่าให้เจ็บ พูดระรานมาถึงข้าก็ได้ นางข้าหลวงจะได้มาฟ้องข้า ข้าก็จะกริ้ว ถึงจะลงอาญาประหาร แต่โดยที่ข้ารับปากกับพ่อเจ้าไว้ ว่าจะไม่ลงอาญาถึงชีวิต ดังนั้น ข้าจะเนรเทศเจ้าไปสุดหล้าฟ้าเขียว”
 
“พระอาญาไม่พ้นเกล้า”
   
บ่ายวันรุ่งขึ้น ก็มีเสียงลือไปทั่วว่า ศรีปราชญ์ไปว่าโคลงตีฝีปากกับนางข้าหลวง และยังว่าโคลงหมิ่นไปถึงพระเจ้าอยู่หัวด้วย บัดนี้มีรับสั่งให้เนรเทศไปอยู่เสียที่เมืองนครศรีธรรมราช เพราะได้ทรงรับไว้กับพระมหาราชครู บิดาของศรีปราชญ์ว่า ถ้าศรีปราชญ์ทำผิดพลาดประการใด จะไม่ลงอาญาถึงชีวิต จึงให้คุมตัวไปกับสำเภาค้าชื่อกระทิงทอง ที่จะออกไปเมืองนครศรีธรรมราชในวันรุ่ง

เรื่องนี้โจษจันกันทั้งกรุงศรีอยุธยา และในการจากพระนครหลวงครั้งนี้ ศรีปราชญ์ก็ได้แต่งโคลงกำสรวลไว้เป็นที่ระลึก




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๒๔) ยึดอำนาจ

ในหลวงกำลังประชวร พ่อเห็นว่าจะมีพระชนม์ไปไม่นาน” พระเพทราชาพูดกับหลวงสรศักดิ์

“ถ้าสวรรคต บ้านเมืองอาจจะยุ่งยาก เจ้าคิดอย่างไร”

“เราก็ยึดอำนาจเสียก่อน พระปีย์นั้นครองแผ่นดินไม่ได้ อ่อนแอเกินไป แต่เรื่องคนไทยด้วยกันเองไม่สู้
สำคัญ คนที่จะทำให้เดือดร้อนนั้นคือ เจ้าฟอลคอนกรีก”

“เจ้าคิดอย่างไร” พระเพทราชาถาม

“ก็ต้องจับฆ่าเสีย” หลวงสรศักดิ์ตอบเด็ดขาด

“แล้วถ้าพวกฝรั่งเกิดเอะอะกันขึ้นละ” พระเพทราชาว่า

“เจ้าฟอลคอนนั้นเหมือนหัว เราตัดหัวเสียแล้ว ตัวก็ทำอะไรไม่ได้ พวกฝรั่งเหล่านี้มันก็เห็นแต่ประโยชน์ของมันเอง คุมกันไม่ติดหรอก”

“อย่างนั้นก็ตามใจเจ้า จงคิดการเถิด” พระเพทราชากล่าว

อาการประชวรของเจ้าชีวิตมากขึ้นทุกที พระเพทราชา จึงมีคำสั่งให้ข้าราชการผู้ใหญ่ไปประชุมปรึกษาราชการที่ตึกพระเจ้าเหาให้พร้อมเพรียงกัน ขณะที่ปรึกษากันว่า เมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว จะเชิญผู้ใดขึ้นครองราชย์ต่อไป และพวกที่ประชุมยังลังเลใจกันอยู่ หลวงสรศักดิ์แต่งกายรัดกุมอย่างจะออกศึก ก็เข้าไปทำมกลางที่ประชุมพูดขึ้นว่า “บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวประชวรหนักอยู่ ตัวเราเป็นราชโอรสจะเอาราชสมบัติ ท่านทั้งหลายจะเข้าด้วยหรือไม่ ให้บอกมาบัดนี้ ใครไม่เข้าด้วย เราจะฆ่าเสีย”

ทันใดนั้น บรรดาทหารที่หลวงสรศักดิ์ได้ไว้เป็นกำลังก็เอาหอกดาบ พาดเข้ามาทางช่องหน้าต่างตึกนั้นโดยรอบ พวกข้าราชการเห็นเช่นนั้นก็ตกใจ ไม่คิดต่อสู้ บางคนก็ก้มลงกราบ บางคนก็นิ่งอยู่ หลวงสรศักดิ์จึงเงื้อดาบขึ้นแล้วว่า “คนทั้งหลายเหตุใดจึงนิ่งอยู่ จะเข้าด้วยหรือไม่ ใครไม่เข้าด้วยเราจะฟันเสียบัดนี้”

บรรดาพวกท้าวพระยาข้าราชการเห็นดังนั้นก็ยิ่งตกใจ ต่างพากันก้มลงกราบแล้วว่า “พวกข้าพเจ้าขอเข้าด้วยทั้งสิ้น ขอให้สัตย์สาบาน"

หลวงสรศักดิ์จึงให้ทนาย ไปเชิญพระพุทธรูปและนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธี ให้ข้าราชการเหล่านั้นทำสัตย์ปฏิญญา แล้วหลวงสรศักดิ์ก็ประกาศตั้งพระเพทราชาเป็นผู้สำเร็จราชการ




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๒๕) อวสานของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์

“กำลังทหารอยู่ในมือของเราหมดแล้ว มีขัดข้องอยู่อย่างเดียว คือเจ้าพระยาวิชาเยนทร์” พระเพทราชาปรึกษากับหลวงสรศักดิ์

“เราจะต้องล่อเอาตัวมาฆ่าเสีย” หลวงสรศักดิ์ว่า

“จะทำอย่างไร”

“ให้คนไปที่บ้าน อ้างว่าถือกระแสรับสั่งให้มาเฝ้า เราจะเตรียมคนซุ่มไว้ แล้วจับตัวฆ่าเสีย” หลวงสรศักดิ์ว่า

“หากมันไม่มา แล้วหนีไปอาศัยอยู่กับพวกฝรั่งจะทำอย่างไร”

“ต้องมาแน่ จะขัดกระแสรับสั่งได้หรือ ส่วนที่จะไปหาพวกฝรั่งให้คุ้มครอง ก็คงไม่ทำ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์รู้ดีว่าจะอาศัยพวกนั้นไม่ได้ เพราะเป็นพวกค้าขาย และพวกทหารฝรั่งเศสก็คงไม่ต้องการให้มีเรื่อง จะช่วยเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ก็โดยได้รับคำสั่งจากหัวหน้าใหญ่ พวกฝรั่งเองก็กำลังคุมเชิงกันอยู่” หลวงสรศักดิ์อธิบาย

“ก็ถ้าไม่เป็นไปตามที่เราคาด จะทำอย่างไร” พระเพทราชายังไม่สู้แน่ใจ

“ค่อยคิดแก้กันทีหลัง การจะยึดอำนาจมันต้องเสี่ยงอยู่บ้าง เรื่องนี้รออยู่ไม่ได้ ถ้าเราพลาดก็ต้องยอมตาย แต่จะเป็นจะตายก็ต้องสู้กันให้ถึงที่สุด”

หลวงสรศักดิ์ก็ให้ทนายในวังซึ่งเป็นฝ่ายตน ไปยังบ้านเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เข้าไปบอกว่ามีกระแสรับสั่ง ให้เข้าไปเฝ้าด้วยเรื่องสำคัญโดยด่วน และก็ถูกต้องตามที่หลวงสรศักดิ์คาดหมาย เจ้าพระยาวิชาเยนทร์นั่งเสลี่ยงตรงมายังพระราชวัง แต่ก็ได้ให้ผู้คนถืออาวุธแวดล้อม แต่ว่าในหมู่คนถืออาวุธแวดล้อมมานั้น หลวงสรศักดิ์ได้ส่งพวกของตนปลอมเข้าปนอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อถึงที่นัดหมายไว้ คนของหลวงสรศักดิ์ก็ตรูออกจากที่ซ่อน เอาไม้พลองตีเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ตกจากเสลี่ยง แล้วประหารจนสิ้นชีวิต ณ ที่นั้น




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๒๖) ขบถที่มีชัย

ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ สมเด็จพระนารายณ์ทรงประชวรบรรทมอยู่บนพระแท่น แต่มีพระสนมนางในคอยอยู่งาน ส่วนบรรดาทหารและตำรวจวังนั้นหายสูญไปหมด ด้วยพากันกลัวเกรงหลวงสรศักดิ์ ที่ไม่เข้าด้วยก็หลบลี้หนีหน้า ที่เห็นด้วยก็ยอมเป็นสมัครพรรคพวก

พระองค์ทรงรับสั่งถามกิจการต่างๆ ก็ไม่มีผู้ใดกราบทูลให้ทรงทราบได้ถูกต้อง ก็ได้แต่ถอนพระทัย เล็งเห็นพระองค์ว่าหาพระราชอำนาจไม่แล้ว ขณะนั้นหลวงสรศักดิ์เข้าไปยังพระที่บรรทม ถวายบังคมถามถึงพระอาการประชวร แล้วทูลว่า “ขออย่าได้ทรงเป็นห่วงถึงบ้านเมืองเลย ข้าพเจ้าได้บังคับบัญชาราชการให้ดำเนินไปด้วยดี และบ้านเมืองก็เป็นปรกติเรียบร้อย และหากฝ่าพระบาทสวรรคต ข้าพเจ้าก็จะรักษาพระนครไว้มอบให้แก่ผู้ควรแก่บัลลังก์สืบไป”

“นี่ใครมอบหมายอำนาจให้เจ้า” พยายามตรัสออกมาด้วยความลำบาก และสีพระพักตร์เคร่งเครียด

“ข้าพเจ้าเห็นเป็นการสมควร ว่าในขณะที่ประชวรอยู่เช่นนี้ ข้าพเจ้าควรจะเป็นผู้รักษาพระราชอำนาจไว้”

“ไอ้ตัวขบถ” ทรงตรัสตวาด จับพระแสงดาบที่วางอยู่ข้างพระที่ แล้วทรงยืนขึ้นด้วยความพิโรธเป็นกำลัง แต่ด้วยกำลังประชวรหนัก ดำรงพระองค์อยู่มิได้ ก็ล้มลง ณ ที่นั้น

หลวงสรศักดิ์ก็กลับออกมา ปรึกษากับพระเพทราชาว่าสมเด็จพระนารายณ์เห็นจะเสด็จสวรรคตไม่พ้นวันนี้ จึงแต่งคนสนิทให้เอาเรือเร็วลงไปยังกรุงศรีอยุธยา ทูลเชิญเสด็จเจ้าฟ้าอภัยทศ ว่าเวลานี้ประชวรหนัก มีพระราชโองการให้เชิญเสด็จมายังเมืองลพบุรีโดยเร็ว นี่เป็นแผนการของหลวงสรศักดิ์อีกเหมือนกัน ที่จะกำจัดเจ้าฟ้าอภัยทศออกไปเสีย และหลักของหลวงสรศักดิ์นั้นก็คือ เมื่อต้องการอำนาจแล้ว สิ่งใดที่เป็นอุปสรรคจะต้องกำจัดให้หมดสิ้น จะมัวลังเลใจ หรือใจอ่อนอยู่ไม่ได้




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๒๗) อำนาจเปลี่ยนมือ

ผู้แสวงหาอำนาจต้องใจอ่อนไม่เป็น หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งก็ว่า ต้องมีใจเหี้ยมโหด จึงจะรักษาอำนาจไว้ได้ พระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์ต้องเข้าใจหลักอันนี้ดี ดังนั้นใครขวางหน้าก็ถูกทำลาย อำมาตย์ข้าราชการที่เห็นภัยเฉพาะหน้า และยังไม่อยากตาย ก็บ่ายหน้าไปพึ่งผู้กุมอำนาจ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้กำลังประชวรหนัก ก็คงเหลือแต่พระนาม อย่างไรก็ดี ยังมีชาววังและมหาดเล็กอีกสิบห้าคน ซึ่งมีความจงรักภักดี ยอมตายกับเจ้านาย ยังคงเฝ้าปรนนิบัติรักษาเจ้านายของตนอยู่

องค์พระมหาราชทรงเป็นห่วงชีวิตของคนเหล่านี้ จึงตรัสว่า “ไอ้สองคนพ่อลูกมันคิดการกบฏ ข้าก็เจ็บหนัก ข้าคงไม่อยู่ไปเกินสามวัน ไอ้กบฏพ่อลูกมันคงจะฆ่าพวกเจ้าสิ้น อย่าอยู่เป็นคฤหัสถ์เลย จงเอาธงชัยพระอรหัตเป็นที่พึ่งเถิด จะได้พ้นภัย”

ตรัสแล้วก็ให้ไปอาราธนาสงฆ์มา ให้นำคนเหล่านั้นไปอุปสมบท พระสงฆ์ราชาคณะถวายพระพรว่า ทหารรักษาประตูพระราชวังห้ามมิให้ผู้ใดออกไป พระองค์จึงอุทิศพระมหาปราสาทให้เป็นที่วิสุงคามสีมา แล้วให้พระสงฆ์กระทำอุปสมบทกรรมแก่เหล่าชาววัง และข้าหลวงทั้งสิบห้าคนนั้น

การอุปสมบทเสร็จไปแล้ว บรรดาพระราชาคณะและพระบวชใหม่  ก็ถวายพระพรลา สมเด็จพระนารายณ์ทรงโล่งพระทัยที่สามารถโปรดให้ผู้จงรักภักดีพ้นจากความตายได้ บัดนี้ในพระราชวังก็เงียบสงัดวังเวง ความใหญ่โตมโหฬารและอำนาจราชศักดิ์ ก็เป็นประหนึ่งความฝัน เป็นภาพในอดีตที่ไม่อาจเกิดมีขึ้นได้อีก บรรดาข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยก็ไปมั่วสุมอยู่กับพระเพทราชา ผู้กำอำนาจไว้ในมือ

อย่างไรก็ดี ในพระมหาปราสาทยังมีบุคคลอีกผู้หนึ่งที่ไม่ยอมจากไป ผู้นี้คือพระปีย์ คงปฏิบัติรักษาพระองค์ประคองให้ลุกนั่งอยู่ พระปีย์ผู้นี้เป็นคนต่ำเตี้ย ได้ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงมาตั้งแต่พระปีย์ยังเยาว์ บุคคลผู้นี้ถึงจะมีรูปร่างเตี้ย แต่น้ำใจหาได้เตี้ยเหมือนร่างกายไม่ ยังเป็นมนุษย์เพียงคนเดียว ที่เฝ้าปฏิบัติสมเด็จพระนารายณ์อยู่




                                                      ภาพ : ครูเหม เวชกร

(๒๘) อะไรคืออะไร

“ทูลกระหม่อมแก้วช่วยด้วย”

“ใครทำอะไรกับไอ้เตี้ย”

สมเด็จพระนารายณ์สะดุ้งพระองค์ขึ้นจากพระแท่น เมื่อได้ยินเสียงเรียกให้ช่วย และพอทรุดพระองค์ ก็เสด็จสวรรคต เสียงที่พระองค์ทรงได้ยินเป็นครั้งสุดท้าย คือเสียงเรียกให้ช่วยของพระปีย์ พระดำรัสครั้งสุดท้ายก็คือพระดำรัสที่ทรงแสดงความเป็นห่วงต่อผู้จงรักภักดีจนถึงที่สุด กล่าวได้ว่านี่แหละคือพระราชภาระของกษัตริย์ ... การอนุเคราะห์และเป็นห่วงประชาราษฎร

รุ่งขึ้นจากวันที่ สมเด็จพระนารายณ์ทรงอุปสมบทให้แก่พวกข้าหลวงสิบห้าคนแล้ว พระปีย์มนุษย์ผู้เดียวผู้ไม่ยอมจากพระองค์ ได้ลุกออกบ้วนปากล้างหน้า ณ ประตูกำแพงแก้ว หลวงสรศักดิ์ก็สั่งให้ขุนพิพิธรักษาชาวที่ ผลักพระปีย์ตกลงไปจากประตูกำแพงแก้ว พระปีย์ร้องได้คำเดียวว่า “ทูลกระหม่อมแก้วช่วยด้วย” พวกทหารก็กุมเอาตัวพระปีย์ไปประหารชีวิตเสีย เท่ากับเบ็นการเร่งให้สมเด็จพระนารายณ์สวรรคตเร็วขึ้น

ก็เป็นการสิ้นสุดรัชกาลของกษัตริย์ ผู้ที่เราได้ยกย่องเป็น "มหาราช" พระองค์หนึ่ง พระองค์ได้ทรงทิ้งอะไรไว้หลังที่ได้ครองราชสมบัติได้ ๒๖ ปี

แน่ละ การที่เราได้ถวายพระนามว่า มหาราช นั้น สมเด็จพระนารายณ์ต้องทรงเป็นกษัตริย์ที่ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอย่างสำคัญยิ่งไว้ให้แก่ประเทศไทย วรรณคดีได้เจริญยิ่ง จนกล่าวได้ว่าเป็นยุคทองของวรรณคดี การสถาปัตยกรรมนั้นก็กล่าวได้ว่าเป็นยุคใหม่ พระราชวังที่ลพบุรีแสดงความใหญ่โตโอ่อ่าของการก่อสร้าง การศึกษาก็นับว่าเจริญขึ้นอย่างมาก ในทางรัฐประศาสโนบาย พระองค์ก็ได้ทรงกระทำให้ประเทศไทยเป็นที่เลื่องลือไปถึงทวีปยุโรป แต่การที่พระองค์ได้ทรงสนิทกับฝรั่งเศส จนมีพวกมิชชันนารี มีทหารฝรั่งเศส เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาอย่างมากมายนั้น ทรงมีพระดำริอย่างไร และการที่พระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์ร่วมกันขับไล่พวกชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะทำลายอำนาจของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ จนได้ก่อการทำนองเป็นกบฏ เป็นการถูกต้องหรือไม่ ... เป็นเรื่องที่นักประวัติศาสตร์ควรพิจารณา



ที่มา...ประวัติศาสตร์เชิงนิยาย สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช พ.ศ.๒๕๑๗
เรื่อง...เปลื้อง ณ นคร
เผยแพร่โดย...มูลนิธิเหม เวชกร - Hem Vejakorn Foundation

650
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.669 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 26 พฤศจิกายน 2567 02:28:43