[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 13:37:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม : แหล่งสรรพวิทยาการ มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในเมืองไทย  (อ่าน 5153 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5437


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2559 14:39:35 »






วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ผู้เรียบเรียง : Kimleng
อ้างอิง : ๑.พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่๓ ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี, กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่
          ๒.แผ่นดินพระนั่งเกล้าฯ, วอลเตอร์ เอฟ.เวลลา แต่ง, พันเอก นิจ ทองโสภิต แปล, กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร จัดพิมพ์เผยแพร่
          ๓.ภูมิศาสตร์วัดโพธิ์, กาญจนาคพันธุ์, สำนักพิมพ์สาส์นสวรรค์
          ๔.สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช,  ณัฐวุฒิ  สุทธิสงคราม เรียบเรียง, จัดพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘
          ๕.สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง, หน้า ๕๗๓๔-๕๗๓๗, มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดพิมพ์เผยแพร่
          ๖.เว็บไซท์ watpho.com
          ๗.เว็บไซท์ dooasia.com
          ๘.เว็บไซท์ th.wikipedia.org
----------------------------------------

วัดพระเชตุพน หรือ วัดโพธิ์ หรือนามทางราชการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร  เป็นวัดที่มีความสำคัญมากที่สุดในเมืองไทย

หากจะย้อนถามว่า อะไร “สำคัญ”.....สำคัญอย่างไร?

คำตอบ : ไม่มีวัดไหนในเมืองไทย จะให้สิ่งที่เป็นความรู้ในเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางเท่าเทียมกับวัดโพธิ์

วัดโพธิ์ เป็นวัดที่ให้ความรู้ ทั้งทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี วรรณคดี ศาสนคดี  แพทยศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งปรากฏให้เห็นตามภาพเขียน รูปหล่อ รูปปั้น ประกอบคำจารึกอยู่ตามบานประตู หน้าต่างของพระอุโบสถ วิหาร และศาลาต่างๆ มากมาย  เป็นเครื่องเชิดชูให้เห็นถึงความสำคัญของวิทยาการอันล้ำค่าต่างๆ ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงสร้างขึ้นไว้ โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้เป็นวิทยาทานแก่ไพร่ฟ้าประชากรของพระองค์ ดังนั้น จึงถือกันว่า วัดโพธิ์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่มีมาเก่าแก่แห่งหนึ่งในเมืองไทย เป็นแหล่งที่รวมเอารวมสรรพศิลป์ สรรพศาสตร์ ภูมิปัญญาไทยไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานไทยได้เรียนรู้กันอย่างไม่รู้จบสิ้น

วัดโพธิ์ หรือวัดพระเชตุพนวิมลมัลคลาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี แต่เดิมเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ประมาณกันว่าคงสร้างในระหว่าง พ.ศ.๒๒๓๑-๒๒๔๖ ในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นคนสร้าง  เข้าใจว่าในชั้นเดิมเป็นเพียงวัดราษฎร์ธรรมดาสามัญเท่านั้น ไม่ได้สร้างใหญ่โตอะไร เพราะอยู่ไกลเมืองหลวงกรุงศรีอยุธยามาก  และในครั้งนั้นเห็นจะปลูกต้นโพธิ์ขึ้นในวัดด้วย จึงมีชื่อเรียกกันว่า “วัดโพธาราม” แต่คนธรรมดาสามัญ เรียกกันติดปากว่า “วัดโพธิ์” มาจนทุกวันนี้

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ วัดโพธิ์ซึ่งคงจะเป็นวัดราษฎร์มาได้ประมาณ ๖๐-๗๐ ปี ก็คงจะกลายเป็นวัดร้างไปด้วย  ต่อเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ทรงกอบกู้อิสรภาพปราบพม่าข้าศึกหมดแล้ว ได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  และสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง  ทรงเห็นว่า วัดโพธิ์เป็นวัดที่อยู่ใกล้พระราชวัง  จึงให้ปฏิสังขรณ์และยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง มีพระราชาคณะปกครองสืบมา

วัดโพธารามในยุคตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เห็นจะไม่ได้สร้างถาวรวัตถุอะไรมากนัก  ส่วนเจ้าอาวาสนั้น ปรากฏว่าเป็นตำแหน่งพระพิมลธรรม  พระพิมลธรรมองค์แรกที่ออกชื่อปรากฏว่าชื่อ อิน

ในพงศาวดารกล่าวว่า เมื่อวันอังคาร เดือนห้า ขึ้นสิบสี่ค่ำ ศักราช ๑๑๔๒ ปีชวด โทศก (เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๓๒๓) ได้มีผู้เป็นโจทก์มาฟ้องหลายคน ต่างยกข้ออธิกรณ์พระพิมลธรรมวัดโพธาราม ด้วยข้ออทินนาทานปาราชิก  พระยาเสด็จฯ กราบทูล พระกรุณาดำรัสสั่งให้ชำระคดี ได้ความเป็นสัตย์จริง จึงให้สึกเสีย และนายอินพิมลธรรมนั้น โปรดฯ ตั้งให้เป็นหลวงธรรมรักษา เจ้ากรมสังฆการีขวา

เมื่อเจ้าอาวาสวัดโพธารามว่างลงเช่นนี้ จึงโปรดฯ ให้พระธรรมเจดีย์ (ฉิม) วัดนาค เลื่อนขึ้นเป็นพระพิมลธรรม มาครองวัดโพธารามสืบไป  

ครั้นในปีรุ่งขึ้นนั้นเองก็เกิดเหตุใหญ่ ในพงศาวดารกล่าวว่า  
     "สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ โรงพระแก้ว ให้ประชุมพระราชาคณะพร้อมกัน และพระองค์มีพระสติฟั่นเฟือน ถึงสัญญาวิปลาส สำคัญพระองค์ว่าได้โสดาปัตติผล จึงดำรัสถามพระราชาคณะว่า พระสงฆ์ปุถุชน จะไหว้นบเคารพคฤหัสถ์ ซึ่งเป็นพระโสดาบันบุคคลนั้น จะได้หรือมิได้ประการใด และพระราชาคณะที่มีสันดานโลเล มิได้ถือมั่นในพระบาลีบรมพุทโธวาท  เกรงพระราชอาญา เป็นคนประสมประสาน จะเจรจาให้ชอบพระอัธยาศัยนั้น มีเป็นอันมาก มีพระพุทธโฆษาจารย์ วัดบางหว้าใหญ่ พระโพธิวงศ์ พระรัตนมุนี วัดหงส์ เป็นต้นนั้น  ถวายพระพรว่า พระสงฆ์ปุถุชน ควรจะไหว้นบคฤหัสถ์ซึ่งเป็นโสดาบันนั้นได้ แต่สมเด็จพระสังฆราช วัดบางว้าใหญ่ พระพุฒาจารย์ วัดบางว้าน้อย พระพิมลธรรม วัดโพธาราม สามพระองค์นี่ มีสันดานมั่นคง ถือพระพุทธวจนะโดยแท้ มิได้เป็นคนสอพลอประสมประสาน จึงถวายพระพรว่า ถึงมาตรว่าคฤหัสถ์จะเป็นโสดาบันก็ดี แต่เป็นหีนเพศต่ำ อันพระสงฆ์ถึงเป็นปุถุชน ก็ตั้งอยู่ในอุดมเพศอันสูง เหตุทรงผ้ากาสาวพัสตร และพระจตุปาริสุทธศีลอันประเสริฐ ซึ่งจะไหว้นบคฤหัสถ์อันเป็นพระโสดาบันนั้น ก็มิบังควร   สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงพระพิโรธว่า ถวายพระพรผิดจากพระบาลี ด้วยพวกที่ว่าควรนั้นเป็นอันมาก ว่าไม่ควรแต่สามองค์เท่านี้ จึ่งดำรัสให้พระโพธิวงศ์ พระพุทธโฆษาจารย์ เอาตัวสมเด็จพระสังฆราช พระพุฒาจารย์ พระพิมลธรรม กับทั้งฐานาเปรียญอันดับ ซึ่งเป็นอันเตวาสิกสัทธิงวิหาริก แห่งพระราชาคณะทั้งสามนั้น ไปลงทัณฑกรรม ณ วัดหงส์ทั้งสิ้น”

สรุปแล้ว พระพิมลธรรมที่มาจากวัดนาค ได้ครองวัดโพธารามอยู่เพียงปีเดียว ก็ถูกถอดจากสมณฐานันดรศักดิ์ลงเป็นพระอนุจร และถูกควบคุมตัวอยู่ที่วัดหงส์ ส่วนวัดโพธารามนั้นไม่มีเจ้าอาวาส จึงโปรดฯ ให้พระญาณไตรโลก วัดเลียบ มาครองแทน และเห็นจะครองอยู่ได้ไม่ถึงปี ก็เปลี่ยนแผ่นดินใหม่.




พระพุทธเทวปฏิมากร
พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม







โปริดติตามตอนต่อไป

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มีนาคม 2560 13:30:14 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5437


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2559 15:31:23 »



พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้เกิดจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี คือ พระยาสรรค์ได้ตั้งตัวเป็นกบฏ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้เสด็จกลับจากกัมพูชาเข้ามาปราบจลาจลที่กรุงธนบุรี ก็ได้เสด็จประทับ ณ พลับพลาหน้าวัดโพธารามก่อน แล้วจึงเสด็จลงเรือพระที่นั่งข้ามไปยังพระราชวังธนบุรี แล้วปราบปรามกบฏจนบ้านเมืองสงบ ทรงเห็นว่าเหตุเพราะสมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระสติวิปลาส จึงให้นำไปสำเร็จโทษ แล้วทรงปราบดาภิเษกขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระชนมายุ ๔๗ พรรษา กับทั้งให้ย้ายพระมหานครมาตั้งทางฝั่งตะวันออก สมัยกรุงธนบุรีจึงสิ้นสุดลงในที่สุด

บริเวณที่ทรงให้สร้างพระบรมมหาราชวังนั้น อยู่ในระหว่างวัดสองวัด คือด้านเหนือเป็นวัดมหาธาตุ (วัดสลัก) ด้านใต้เป็นวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธาราม)  การที่มีวัดอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังเช่นนี้ จะปล่อยให้วัดเสื่อมโทรมอยู่มากไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบมา พระราชกรณียกิจประการสำคัญประการหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ก็คือ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรยิ่งขึ้น ในปีพุทธศักราช ๒๓๓๑ จึงโปรดฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธารามให้บริบูรณ์งดงามขึ้น ดังปรากฏอยู่ใน “จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนฯ ครั้งรัชกาลที่ ๑” ซึ่งจารึกไว้ที่พระวิหารทิศพระโลกนาถมุขหลัง ดังต่อไปนี้

“ศุภมัสดุ พระพุทธศักราชล่วงแล้ว สองพันสามร้อยสามสิบเบ็ดพระวษา ณ วันจันทร์เดือนสิบเบ็ด แรมแปดค่ำ ปีระกานักษัตรเอกศก สมเด็จพระบรมธรรมมฤกมหาราชาธิราช พระเจ้ารามาธิบดีบรมนาถบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว ผู้ผ่านพิภพไอศวรรยาธิปัติถวัลยราชกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานี บุรีรมย์อุดมพระราชมหาสถาน เสด็จทอดพระเนตร์เห็นวัดโพธารามเก่าชำรุดปรักหักพังเป็นอันมาก ทรงพระราชศรัทธาจะปฏิสังขรณ์สร้างให้บริบูรณ์งามขึ้นกว่าเก่า ซึ่งที่เป็นลุ่มดอนห้วยคลองสระบ่อร่องคูอยู่นั้น ทรงพระกรุณาให้เอาคนสองหมื่นเศษขนดินมาถมเต็มแล้ว รุ่งขึ้นปีหนึ่งสองปีกลับยุบลุ่มไป จึงให้ซื้อมูลดินถมสิ้นพระราชทรัพย์สองร้อยห้าชั่ง สิบห้าตำลึง  จึงให้ปราบที่พูนดินเสมอดีแล้ว  ครั้น ณ วันพฤหัศบดี เดือนสิบสอง แรมสิบเบ็ดค่ำ ปีฉลูนักษัตรเบญจศก ให้จับการปฏิสังขรณ์สร้างพระอุโบสถ มีกำแพงแก้วกระเบื้องปรุล้อมรอบ พื้นในกำแพงแก้วแลหว่างพระระเบียงชั้นในชั้นนอก ก่ออิฐห้าชั้นแล้วดาดปูน กระทำพระระเบียงล้อมสองชั้น ผนังพระระเบียงข้างในประดับกระเบื้องปรุ ผนังหลังพระระเบียงเขียนเป็นลายแย่ง มุมพระระเบียงนั้นเป็นจัตุรมุขทุกชั้น มีพระวิหารสี่ทิศ บรรดาหลังคาพระอุโบสถพระวิหารพระระเบียงนั้น มุงกระเบื้องเคลือบสีเขียวเหลืองสิ้น ตรงพระวิหารทิศตวันตกออกไป ให้ขุดรากพระเจดีย์ใหญ่กว้างสิบวา ลึกห้าศอก ตอกเข็มเอาอิฐหักใส่กะทุ้งให้แน่น แล้วเอาไม้ตะเคียนยาวเก้าวาน่าศอกจัตุรัส เรียงประดับประกับกันเป็นตะรางสองชั้น แล้วจึงเอาเหล็กดอกเห็ดใหญ่ยาวสองศอกตรึงตลอดไม้แกงแนงทั้งสองชั้น หว่างช่องแกงแนงนั้น เอาอิฐหักทรายถมกะทุ้งให้แน่นดีแล้ว รุ่งขึ้น ณ วันศุกร์ เดือนสาม ขึ้นสิบค่ำ ปีขาลฉศก เพลาเช้า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิรพร้อมด้วยพระราชวงษานุวงษ์ เสนาพฤฒามาตย์ราชปโรหิตโหราจารย์ มายังที่ลานพระมหาเจดีย์ จึงให้ชักชะลอพระพุทธปฏิมากรศรีสรรเพชญ์อันชำรุดรับมาแต่กรุงเก่าเข้าวางบนราก ได้ศุภฤกษประโคมฆ้องกลองแตรสังข์ดุริยางดนตรีปี่พาทย์ เสด็จทรงวางอิฐทองอิฐนากอิฐเงินก่อราก ข้าทูลละอองทุลีพระบาททั้งปวงระดมกันก่อฐานกว้างแปดวาถึงที่บรรจุ จึงเชิญพระบรมธาตุแลฉลองพระเขี้ยวแก้วองค์หนึ่ง พระเขี้ยวทององค์หนึ่ง พระเขี้ยวนากองค์หนึ่ง บรรจุในท้องพระมหาเจดีย์ แล้วก่อสืบต่อไปจนสำเร็จ ยกยอดสูงแปดสิบสองศอก กระทำพระระเบียงล้อมสามด้าน ผนังนั้นเขียนนิยายรามเกียรติ  จึงถวายนามพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ แลในวงพระระเบียงชั้นในมีพระมหาธาตุสี่ทิศ นอกพระระเบียงชั้นนอกหว่างพระวิหารคดนั้น มีพระเจดีย์ฐานเดียวห้าพระองค์ สี่ทิศยี่สิบพระองค์ เข้ากันทั้งพระมหาเจดีย์ใหญ่ พระมหาธาตุ เป็นยี่สิบห้าพระองค์ บรรจุพระบรมธาตุสิ้น แลมีพระวิหารคดสี่ทิศ กำแพงแก้วคั่น ประตูซุ้มประดับกระเบื้องเคลือบสองประตู มีรูปสัตว์ประตูละคู่ ทำหอไตรย์มุงกระเบื้องหุ้มดีบุก ฝาแลเสาปิดทองลายรดน้ำ แลตู้รูปปราสาทใส่คัมภีร์พระปริยัติไตรปิฎก ทำการบุเรียนหอระฆัง พระวิหารน้อยซ้ายขวา สำหรับทายกไว้พระพุทธรูป ขุดสระน้ำ ปลูกพรรณไม้ ทำศาลารายห้าห้อง เจ็ดห้อง เก้าห้อง เป็นสิบเจ็ดศาลา เขียนเรื่องพระชาดกห้าร้อยห้าสิบพระชาติ ตั้งตำรายาและฤๅษีดัดตนไว้เป็นทาน ทำกำแพงแก้วล้อมรอบนอก มีประตูซุ้มประดับกระเบื้องถ้วยสี่ประตู มีรูปอสูรประจำประตูละคู่ มีประตูซุ้มประดับกระเบื้องเคลือบเก้าประตู ทั้งประตูกำแพงคั่นสองเป็นสิบเบ็ดประตู มีรูปสัตว์ประตูละคู่ เป็นรูปสัตว์ยี่สิบสองตัว แล้วทำตึกแลกุฎีสงฆ์หลังละสองห้อง สามห้อง สี่ห้อง ห้าห้อง หกห้อง เจ็ดห้อง ฝากระดาน พื้นกระดานมุงกระเบื้อง เป็นกุฎีร้อยยี่สิบเก้า ทำหอฉัน หอสวดมนต์ ศาลาต้มกรักตากผ้า สระน้ำ ทำกำแพงล้อมกุฎีอีกวงหนึ่ง แลริมฝั่งน้ำนั้น มีศาลาสามหน้าต้นสะพานพระสงฆ์สรงน้ำ ทำเว็จกูฎีสี่หลัง แลในพระอุโบสถ พระวิหาร พระระเบียงนั้น เชิญพระพุทธปฏิมากรอันหล่อด้วยทองเหลืองทองสำฤท ชำรุดปรักหักพังอยู่ ณ เมืองพระพิศณุโลก เมืองสวรรคโลก เมืองศุกโขไท เมืองลพบุรี เมืองกรุงเก่า วัดศาลาสี่หน้า ใหญ่น้อย พันสองร้อยสี่สิบแปดพระองค์ ลงมาให้ช่างหล่อต่อพระศอ พระเศียร พระหัตถ พระบาท แปลงพระภักตร์พระองค์ให้งามแล้ว พระพุทธรูป พระประธานวัดศาลาสี่หน้า น่าตักห้าศอกคืบสี่นิ้ว เชิญมาบุณะปฏิสังขรณ์ เสร็จแล้วประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ บรรจุพระบรมธาตุ ถวายพระนามว่า พระพุทธเทวะปฏิมากร แลผนังอุโบสถ เขียนเรื่องทศชาติทรมานท้าวมหาชมภูแลเทพชุมนุม พระพุทธรูปยืนสูงยี่สิบศอก ทรงพระนามว่า พระโลกนาถศาสดาจารย์ ปรักหักพัง เชิญมาแต่วัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงเก่า ปฏิสังขรณ์เสร็จแล้วเชิญประดิษฐานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลัง บรรจุพระบรมธาตุด้วย ผนังเขียนพระโยคาวจรพิจารณาอาศภสิปและอุปรมาญาณสิบ พระพุทธรูปวัดเขาอินเมืองสวรรคโลก หล่อด้วยนาก น่าตักสามศอกคืบ หาพระกรมิได้ เชิญลงมาบุณะปฏิสังขรณ์ด้วยนาก เสร็จแล้วประดิษฐานไว้เป็นพระประธานในพระวิหารทิศตวันออก บรรจุพระบรมธาตุถวายพระนามว่าพระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหาโพธิ์ มีต้นพระมหาโพธิ์ด้วย แลผนังนั้นเขียนเรื่องมารผะจญ  พระพุทธรูปน่าตักสี่ศอกห้านิ้วเชิญมาแต่กรุงเก่า ปฏิสังขรณ์เสร็จแล้วประดิษฐานไว้ในพระวิหารทิศใต้ ถวายพระนามว่าพระพุทธเจ้าเทศนาพระธรรมจักร มีพระปัญจวัคคียทั้งห้านั่งฟังพระธรรมเทศนาด้วย แลผนังนั้นเขียนเรื่องเทศนาพระธรรมจักรแลเทศนาดาวดึงษ์ พระพุทธรูปน่าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว เชิญมาแต่ลพบุรี ปฏิสังขรณ์เสร็จแล้วประดิษฐานไว้ในพระวิหารทิศตะวันตก บรรจุพระบรมธาตุถวายพระนามว่าพระนาคปรก มีพญานาคแผลงฤทธิเลิกพังพาน มีต้นจิกด้วย แลผนังนั้นเขียนเรื่องพระเกษธาตุ พระพุทธรูปหล่อใหม่สูงแปดศอกคืบห้านิ้ว ประดิษฐานไว้ในพระวิหารทิศเหนือ บรรจุพระบรมธาตุ ถวายพระนามว่าพระป่าเลไลย มีช้างถวายคนทีน้ำ มีวานรถวายรวงผึ้ง แลผนังนั้นเขียนไตรภูม มีเขาพระสุเมรุราชแลเขาสัตตะพันท์ ทวีปใหญ่ทั้งสี่ แลเขาพระหิมพานต์ อะโนดาตสระแลปัญจมหานที พระพุทธรูปในพระอุโบสถอารามเก่าน่าตักสี่ศอก เชิญเข้าประดิษฐานไว้เป็นพระประธานในการบุเรียน แล้วจัดพระพุทธรูปใส่ในพระระเบียงชั้นในชั้นนอกแลพระวิหารคด เป็นพระพุทธรูปมาแต่หัวเมืองชำรุดปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ หกร้อยแปดสิบเก้าพระองค์ พระพุทธรูปทำด้วยอิฐปูนสำหรับอาราม ชำรุดอยู่ร้อยแปดสิบสามพระองค์ เข้ากันเป็นพระพุทธรูปและพระอรหันต์แปดร้อยเจ็ดสิบสองพระองค์ ลงรักปิดทองสำเร็จ เหลือนั้นข้าทูลละอองทุลีพระบาทสัปรุษทายก รับไปบุณะไว้ในพระอารามอื่น แลการถาปนาพระอาราม เจ็ดปี ห้าเดือน ยี่สิบแปดวันจึงสำเร็จ สิ้นพระราชทรัพย์แต่ที่จำได้ คิดค่าดินถมอิฐปูนไม้ทรุงสัก ขอนสัก ไม้แก่น เหล็ก กระเบื้อง ฟืน ไม้จากทำโรงงานร่างร้าน เรือนข้าพระ เสากะดานกุฎี น้ำอ้อย น้ำมันยาง ชัน ดีบุก ทองเหลือง ทองแดง สีผึ้งหล่อ ถ่าน กระจก น้ำรัก ทองคำ กระดาด ขาด เสน เครื่องเขียน รง ดินแดง พระราชทานช่างแลเลี้ยงพระสงฆ์ เลี้ยงช่าง แล้วช่วยคนชายสกันหกสิบหกคน สมโนครัวสองร้อยยี่สิบสี่คน เป็นเงินเก้าสิบห้าชั่ง สิบเบ็ดตำลึง สักแขนขวาถวายเป็นข้าพระขาดไว้ในพระอาราม ตั้งหลวงพิทักษชินศรี เจ้ากรม ขุนภักดีรศธรรม ปลัดกรม ควบคุมข้าพระรักษาพระอาราม เข้ากันสิ้นพระราชทรัพย์สร้างและช่วยคนเป็นเงินสามพันเจ็ดร้อยแปดสิบห้าชั่งหกตำลึง แล้วทรงพระกรุณาให้เอาแพรลายย้อมครั่ง ทรงพระพุทธรูปในพระวิหารทิศ พระระเบียงวิหารคด การบุเรียน พระมหาธาตุเจดีย์ใหญ่น้อย สิ้นแพรร้อยพับ แต่พระพุทธรูปเทวะปฏิมากรในพระอุโบสถ ทรงผ้าศรีทับทิมชั้นใน ตาดชั้นนอก ครั้น ณ วันศุกร์ เดือนห้า แรมสิบสองค่ำ ปีระกาตรีนิศก ให้ตั้งการฉลอง  อาราธนาพระราชาคณะ ถานานุกรม อธิการอันดับฝ่ายคันธะธุระวิปัศนาธุระพันรูปพร้อมกัน ณ พระอุโบสถ เพลาบ่ายแล้วสี่โมงห้าบาต  สมเด็จพระบรมนาถบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิรพร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราชพระราชวงษานุวงษ์ เสนาพฤฒามาตย์ราชปโรหิตาจารย์ มายังพระอุโบสถ  ทรงสมาทานพระอุโบสถศีล แล้วหลั่งน้ำอุทิโสทกลงเหนือพระหัตถพระพุทธปฏิมากร  ถวายพระอารามตามพระบาฬีแก่พระสงฆ์  มีองค์พระพุทธปฏิมากรเป็นประธานมีนามปรากฏชื่อวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ  มอบถวายพระวันรัตนพิพัฒฌานอดุลสุนทรวรนายกปิฎกธรา มหาคณิศรบวรทักขิณาคณะสังฆารามคามวาสีสถิตในวัดพระเชตุพน แล้วถวายแก่พระพุทธปฏิมากร แพรยกไตรย์หนึ่ง บาตร์เหล็กเครื่องอัฐะบริขารพร้อม ย่ามกำมะหยี่ เครื่องย่าม พร้อมพัชแพร ร่มแพร เสื่ออ่อน โอเถา โอคณะ กาน้ำ ช้อนมุก ขวดแก้วใส่น้ำผึ้ง น้ำมันพร้าว น้ำมันยา กลักใส่เทียนธูปสิ่งละร้อย ไม้เท้า รองเท้า สายระเดียง  พระสงฆ์พันหนึ่งก็ได้เหมือนกันทุกองค์  ครั้นจบพระบาฬีที่ทรงถวาย พระสงฆ์รับสาธุพร้อมกัน  ประโคมดุริยางค์ดนตรี แตรสังข์ฆ้องกลองสนั่นไปด้วยสัรทสำเนียงกึกก้องโกลาหล พระสงฆ์รับพระราชทานแล้วไปสรงน้ำครองไตรย์ มาสวดพระพุทธมนต์เพลาเย็นวันละพันรูป ปรนนิบัติพระสงฆ์ฉันเช้าเพนสามวันๆ ละพันรูป  ถวายกระจาดทุกองค์ให้มีพระธรรมเทศนาบอกอานิสงส์ทุกวัน แล้วปรนิบัติพระสงฆ์ซึ่งศรัทธาทำดอกไม้เพลิงบูชาพระรัตนไตร์ฉันเช้าทั้งเจ็ดวัน เป็นพระสงฆ์หกร้อยยี่สิบสี่รูป ถวายผ้าสบงทุกองค์ ถวายบาตร์เหล็ก ซึ่งพระสงฆ์ไม่มีครอง แล้วถวายกระจาด เสื่อ ร่ม รองเท้า ธูป เทียน ไม้เท้าด้วย


ภาพวาดการละเล่นและความรื่นเริงต่างๆ ในวันปีใหม่ของไทย
ในแผ่นดินของพระเจ้ากรุงธนบุรี เพื่อสร้างบรรยากาศให้ครึกครื้นบันเทิงเสมือนกรุงเก่า (กรุงศรีอยุธยา)
ตามบันทึกของคณะนักบวช บาทหลวงชาวฝรั่งเศส


การละเล่นต่างๆ ลอดบ่วง ระทาดอกไม้ไฟ โรงหนังจีน (หุ่น)


ระทาดอกไม้ไฟ โรงหนังไทยญวนหก โปรดสังเกตร้านน่ังที่อยู่โรงมหรสพทุกแห่ง
มีบันไดพาด และมีหม้อน้ำตั้งไว้สำหรับดับไฟ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในการจุดดอกไม้ไฟ


การแสดงของโรงงิ้ว


การต่อยมวย และการละเล่นต่างๆ

แล้วให้ตั้งโรงฉ้อทานเลี้ยงสมณะชีพราหมณะอนาประชาราษฎรทั้งปวง แลมีโขนอุโมงค์โรงใหญ่ หุ่น ละคอน มอญรำ ระบำ มงครุ่ม คุลาตีไม้ ปรบไก่ งิ้วจีน ญวน หกขะเมนไต่ลวด ลวดบ่วง รำแพน นอนหอกดาบ โตฬ่อแก้วแลมวย เพลากลางคืนประดับไปด้วยประทีบ แก้วระย้า แก้วโคม พวงโคมรายแลดอกไม้รุ่งสว่างไปทั้งพระอาราม แล้วให้มีหนังคืนละเก้าโรง มีดอกไม้เพลิงคืนละสองร้อยพุ่ม ระทาใหญ่แปดระทา พลุ ประทัด พะเนียง ดอกไม้ม้า ดอกไม้กะถาง ดอกไม้กลต่างต่าง แลมังกรฬ่อแก้ว ญวนรำโคม  เป็นที่โสมนัศบูชาโอฬาริกวิเศษ เป็นพระราชทรัพย์ทิ้งทานต้นกามพฤกษ์  ฉลากพิกัดค่าพระราชบุตร์ บุตรี พระภาคีไนยราช แลนางพระสนม ราชกุญชรอัศดรนาวา ฉลากละห้าชั่ง สี่ชั่ง สองชั่ง  เป็นเงินสามร้อยสามสิบแปดชั่ง เงินใส่ผลมะนาวร้อยหกสิบแปดชั่ง เข้ากันทิ้งทานห้าร้อยหกชั่ง คิดทั้งเงินค่าผ้าทรงพระ ดอกไม้สดบูชา เลี้ยงพระสงฆ์ กระจาดและโรงฉ้อทาน เครื่องไทยทาน ทำเครื่องโขน โรงโขน เครื่องเล่นเบ็ดเสร็จ พระราชทานการมะโหระสพ แลถวายระย้าแก้ว โคมแก้ว บูชาไว้ในพระอาราม เป็นเงินในการฉลอง พันเก้าร้อยสามสิบชั่งสี่ตำลึง เข้ากันทั้งสร้างเป็นพระราชทรัพย์ ห้าพันแปดร้อยสิบเบ็ดชั่ง  ครั้นเสร็จการฉลองพระอารามแล้ว ภายหลังทรงพระกรุณาให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรทั้งสอง ซึ่งสถิตในพระวิหารฝ่ายทักขิณทิศแลทิศประจิมนั้น ขึ้นไปประดิษฐานไว้ ณ พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรทั้งสองพระองค์ ซึ่งเชิญมาแต่เมืองศุกโขไท น่าตักห้าศอกคืบกับนิ้วหนึ่งเท่ากัน พระองค์หนึ่งทรงพระนามพระพุทธชินราช เข้าประดิษฐานไว้แทนที่ในพระวิหารฝ่ายทักขิณทิศ  พระองค์หนึ่งทรงพระนามพระพุทธชินศรี เข้าประดิษฐานไว้แทนที่ในพระวิหารฝ่ายปัจจิมทิศคงดังเก่า  ซึ่งทรงพระราชศรัทธาบำเพ็ญพระราชกุศลทั้งนี้ ใช่พระทัยจะปรารถนาสมบัติบรมจักรจุลจักรท้าวพญาสามลราช แลสมบัติอินทร์พรหมหามิได้  ตั้งพระทัยหมายมั่นพระบรมโพธิญาณในอนาคตกาล จะรื้อสัตว์ให้พ้นจากสงสารทุกข์ แลการพระราชกุศลทั้งนี้ ขออุทิศให้แก่เทพเจ้าในอนันตจักรวาล แลเทพยเจ้าในฉกามาพจร แลโสฬศมหาพรหม อากาศเทวดา พฤกษเทวดา ภูมเทวดา อารักษเทวดาแลกษัตราธิราช พระราชวงษานุวงษ์ เสนาพฤฒามาตย์ ราชปโรหิต สมณชีพราหมณ์ อนาประชาราษฎร์ ทั่วสกลราชอาณาจักรในมงคลทวีป จงอนุโมทนาเอาส่วนพระราชกุศลนี้ ให้เป็นลาภศิริสวัสดิ์ทีฆายุศม์ ฯ “

กว่าจะมาเป็นวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า วัดโพธารามซึ่งมีมาแต่กรุงศรีอยุธยา และก่อนการบูรณะคงมีความเสื่อมโทรมอยู่มาก ยิ่งตอนกรุงแตก อาณาจักรทั้งปวงก็แปรปรวนวิปริต มิได้ปกติเหมือนแต่ก่อน ประชาราษฎรก็ได้ความเดือดร้อนทุกขภัย ทิ้งเหย้าเรือนอพยพครอบครัวหนีเข้าป่าดงไปก็มีเป็นอันมาก บ้านเรือนถูกทิ้งร้างว่างเปล่าอยู่ทุกแห่งทุกตำบล

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ  เสด็จทอดพระเนตรเห็นวัดโพธาราม ชำรุดปรักหักพังเป็นอันมาก ทรงพระราชศรัทธาจะปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์งามขึ้นกว่าเก่า จึงมีพระราชโองการดำรัสสั่งให้บูรณะวัดโพธารามขึ้นใหม่ กลายเป็นวัดที่มีระเบียบสวยงาม การก่อสร้างก็ล้วนวิจิตรบรรจง จนเป็นต้นแบบสถาปัตยกรรมที่เชิดหน้าชูตา และเป็นสง่าแก่ชนผู้ได้ทัศนาการมากที่สุด  

พระราชภารกิจสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทรงโปรดฯ ให้รวบรวม อัญเชิญพระพุทธปฏิมากร หล่อด้วยทองเหลือง ทองสัมฤทธิ์ มาจากหัวเมืองต่างๆ  ได้แก่ กรุงศรีอยุธยา กรุงสุโขทัย เมืองพิษณุโลก เมืองลพบุรี วัดศาลาสี่หน้า จำนวน ๑,๒๔๘ พระองค์ ซึ่งส่วนใหญ่ชำรุดเสียหาย หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะเสียหายมากยิ่งขึ้น มาบูรณปฏิสังขรณ์ ให้ช่างหล่อต่อพระเศียร พระศอ พระหัตถ์ พระบาท เสร็จแล้วอัญเชิญประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ประจำพระวิหาร พระระเบียง พระวิหารทิศ พระวิหารคด และพระระเบียงล้อมพระมหาเจดีย์ กับทั้งให้ไปประดิษฐานตามวัดวาอื่นๆ บ้าง

จาก “จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนฯ ครั้งรัชกาลที่ ๑”  มีเรื่องราวที่ต้องขยายให้ละเอียด ดังนี้
๑.การลงทุนลงแรง ใช้กำลังคนมากถึงสองหมื่นคนเศษ ขนดินมาถมที่ปราบที่ให้เสมอกัน  
๒.ใช้เวลาก่อสร้าง ทำนุบำรุงถึง ๑๒ ปี คือตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๓๒ ถึง พ.ศ.๒๓๔๔  
๓.สิ้นพระราชทรัพย์ปฏิสังขรณ์วัด เฉลิมฉลองพระอาราม ทิ้งทาน และบูชาพระ (เท่าที่จำได้) ๕,๘๑๑ ชั่ง (หรือ ๔๖๔,๘๘๐ บาท – ราคาในสมัยรัชกาลที่ ๑)
๔.ให้วัดโพธาราม มีนามปรากฏชื่อ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ
๕.นับรวมพระเจดีย์ทั้งหมดแล้ว  มีเจดีย์มากถึง ๙๙ องค์ (รวมพระมหาธาตุรูปปรางค์รอบพระอุโบสถ)
๖.ให้ตั้งการฉลอง มีการสวดพระพุทธมนต์เพลาเย็นสามวันวันละ ๑,๐๐๐ รูป ปรนนิบัติพระสงฆ์ฉันเช้าเพลสามวัน วันละ ๑,๐๐๐ รูป
๗.ปรนนิบัติพระสงฆ์ ๖๒๔ รูป ซึ่งศรัทธาทำดอกไม้เพลิงบูชาพระรัตนตรัย ฉันเช้าทั้ง ๗ วัน  

พึงสังเกตว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงเป็นนักรบที่สามารถ ก่อนขึ้นเสวยราชย์ พระองค์ไม่มีเวลาว่างจากการทำศึกสงคราม ทรงได้ต่อสู้ข้าศึกจากภายนอกหลายต่อหลายครั้ง เพื่อความร่มเย็นของราษฎรมาโดยตลอด  เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ก็มิได้ทรงลืมความสำคัญของการพระศาสนา โปรดฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกต (ที่เมื่อครั้งยังเป็นที่เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกในรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ได้ยกทัพไปตีเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๔ ได้ชัยชนะกวาดต้อนผู้คนข้ามมาไว้ ณ เมืองพรนพร้าวฟากตะวันตก และอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตปฏิมากรแก้วมรกต มาพร้อมกันด้วยในครั้้งนั้น  พระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ โรงริมพระอุโบสถวัดแจ้งภายในพระราชวัง ต่อมาเมื่อได้ครองราชย์ จึงได้นำไปประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงทุกวันนี้), โปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม),  โปรดฯ ให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ฯลฯ  เพื่อให้พระพุทธศาสนาวัฒนาการรุ่งเรืองมั่นคงถาวรยิ่งขึ้น  

หลักฐานแม้เพียงบางเรื่องที่นำมาลงไว้ในที่นี้ ย่อมเห็นว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงเอาพระทัยใส่ฟื้นฟู ทำนุบำรุงเกี่ยวกับการพระศาสนาไว้เป็นอันมาก





พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ

พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ เป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่ประดับกระเบื้องสีเขียว นับเป็นพระมหาเจดีย์ที่สำคัญของวัดพระเชตุพนฯ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เพื่อครอบพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่สูง ๑๖ เมตร ได้ชะลอมาจากพระราชวังที่กรุงศรีอยุธยา ภายในบรรจุพระบรมธาตุ นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑

ตำนานของพระมหาเจดีย์องค์นี้ มีเรื่องราวเกี่ยวข้องไปถึงพระพุทธรูปครั้งกรุงศรีอยุธยาองค์หนึ่ง คือ พระพุทธปฏิมากรศรีสรรเพ็ชญ์  ซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงโปรดให้สร้างขึ้น ปรากฏความว่า ศักราช  ๘๖๒  วอกศก  (พ.ศ.๒๐๔๓)  สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้า แรกให้หล่อพระพุทธเจ้าพรีศรีสรรเพชญ์  และแรกหล่อในวันพระ อาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ ครั้นเถิงศักราช ๘๖๕ กุนศก (พ.ศ.๒๐๔๖) วันศุกร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ฉลองพระพุทธเจ้าศรีสรรเพชญ์คณนา พระพุทธเจ้านั้น แต่พระบาทเถิงยอดรัศมีนั้น สูง ๘ วา (๑๖ วา) พระพักตร์นั้นยาวได้ ๔ ศอก (๒ เมตร) กว้างพระพักตร์นั้น ๓ ศอก (๑.๕ เมตร) และพระอุระนั้นกว้าง ๑๑ ศอก (๕.๕ เมตร) และทองหล่อพระพุทธเจ้านั้นหนัก ๕ หมื่น ๓ พันชั่ง ใช้ทองสำริดหล่อเป็นแกนในน้ำหนัก ๕,๘๐๐ ชั่ง (๓,๔๘๐ กิโลกรัม) ทองคำหุ้มนั้นหนัก ๒๘๖ ชั่ง (๓๔๗.๗๗๖ กิโลกรัม)  ข้างหน้านั้นทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา ข้างหลังนั้นทองเนื้อหกน้ำสองขา  (สมัยนั้นถือว่าทองนพคุณเก้าน้ำหรือทองเนื้อเก้าเป็นทองคำบริสุทธิ์กว่าทองเนื้ออื่นน้ำอื่น) แล้วถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญดาญาณ

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ พม่าได้เอาไฟสุมลอกทองไป

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดให้ชะลอมากรุงเทพฯ หวังจะหลอมหล่อขึ้นใหม่ เพราะเห็นว่าพระพุทธรูปที่ชำรุดมีมากมายนัก โดยเฉพาะพระศรีสรรเพ็ชญ์ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ชำรุดเหลือกำลังซ่อมนั้นเป็นเรื่องสำคัญ  แต่เมื่อทรงปรึกษาสมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะแล้ว ต่างก็เห็นว่าไม่สมควร ดังมีสำเนาพระราชปุจฉาในรัชกาลที่ ๑ ดังต่อไปนี้

“ทรงพระกรุณาพระราชปุจฉาสืบต่อไปว่า ผู้มีศรัทธาแต่ก่อน ถวายส่วยสัดพัฒนากรค่าที่เรือกสวนไร่นา อุทิศเป็นกัลปนาบูชาไว้เป็นของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สำหรับอารามใดๆ ก็ดี บัดนี้พระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ วัดวาอารามทั้งปวง ก็ยับเยินสาปสูญไปเป็นอันมาก แลพระธรรม พระสงฆ์ผู้รักษาพยาบาลก็หามิได้ ยังแต่ค่าเรือกสวนไร่นา ส่วนสัดพัฒนากรนั้น ชอบจะเอาของนั้นไปกระทำประการใดจึงจะสมควร หาโทษมิได้ ถ้าจะเอาทรัพย์สิ่งของนั้นมาสร้างพระไตรปิฎก และจะทำการบูชาพระพุทธบาทมหาเจดียฐานนั้นจะควรฤๅมิควรประการใด ให้สมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะทั้งปวง วิสัชนามาให้แจ้ง”

“อาตมภาพ สมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะทั้งปวง ๑๒ รูป ขอถวายพระพรว่า อารามมีผลไม้ดอกไม้ ถ้าหาผลไม้ดอกไม้มิได้ มีแต่ที่เปล่าก็ดี แลพระมหากษัตริย์ เศรษฐี ท่านอุทิศเป็นกัลปนาไว้ สำหรับขึ้นเป็นของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในอารามต่างๆ สืบๆ กันมาแต่ก่อน ท่านอุทิศไว้แต่เดิมนั้นเป็นค่าจตุปัจจัย ถึงปีแล้วให้ถวายเป็นบิณฑบาท เสนาศนคิลานเภสัช ครั้นเรียวมา ราชบุรุษ อารามิกโยมวัด คิดอ่านกันเรียกเอาเป็นกัปปิยวัตถุ เอาเป็นเงินเป็นทอง สืบกันมาตราบเท่าทุกวันนี้  บัดนี้ วัดวาอารามสาปสูญไปเป็นอันมากแล้ว มีแต่ที่เรือกสวนไร่นา ซึ่งเคยขึ้นมาแต่ก่อน แลจะเอาส่วยสัดพัฒนากรอารามนี้ ไปอุทิศบูชาแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อารามอื่นนั้นมิควร  ครั้นจะเอาส่วยสัดพัฒนากรไปส่งไว้ตามตำแหน่งอารามเดิมนั้น หาผู้จะรักษาแลปฏิสังขรณ์มิได้ ของนั้นก็จะสาปสูญเสียเปล่า ถ้าอารามใดยังมีพระพุทธรูปอยู่ ควรจะนิมนต์ลงมาปฏิสังขรณ์ได้ ให้อาราธนาลงมาปฏิสังขรณ์โดยควร ถ้าพระพุทธรูปใหญ่โตนัก มิควรจะอาราธนาลงมาได้ ให้เอาทรัพย์นั้นไปจำหน่ายเป็นสัมภาระ ซื้อไม้ ซื้อจาก ซึ่งจะเป็นร่มพระพุทธรูป พอสมควรที่จะทำได้ ถ้าทรัพย์ทั้งปวงนั้นเหลืออยู่ จะสร้างพระไตรปิฎกนั้นเสร็จแล้ว ให้เขียนจาฤกอุทิศเฉภาะไว้สำรับอารามนั้น แล้วจะช่วยพิทักษ์รักษาบูชาเรียนไปพลางกว่าอารามจะมีผู้พิทักษ์รักษา แล้วจึงส่งไปก็ควร ถ้าเป็นของสงฆ์ ให้สร้างเป็นกุฎีแลเตียงตั่งเป็นอาทิ ถวายอุทิศไว้ให้สงฆ์อื่นบริโภคพลาง แม้นสงฆ์ในอาวาศเก่านั้นมีขึ้นเมื่อใด พึงให้ไปเป็นของสงฆ์ในอาวาศนั้น ถ้าปลงเจตนาไว้ดั่งนี้แล้ว จะเอาทรัพย์นั้นมาจำแนกแจกจ่ายปฏิสังขรณ์ดังว่ามานี้ก็หาโทษมิได้ อนึ่งของเขาอุทิศพระเจดีย์องค์นี้แล้ว ผู้ใดจะเอาของพระเจดีย์องค์นี้ไปบูชาองค์อื่น มิควร ถ้าบูชาพระเจดีย์องค์เดิมนั้นแล้ว แลเหลือไปบูชาองค์อื่นนั้นได้ แลซึ่งห้ามไว้โดยเลอียดว่า จะน้อมของที่นี่ ไปที่โน่น มิได้นั้น พบบทแต่ห้ามสิกขาบทข้างพระภิกษุฝ่ายเดียว มิได้พบในฆราวาศ ถ้าฆราวาศผู้ใดบูชาพระเจดีย์เดิมแล้วแลเหลือ จะเอาของที่เหลือสร้างพระไตรปิฎกจาฤกไว้สำหรับอารามก็ควร จะทำบูชาสักการพระพุทธบาทมหาเจดียฐานก็ควร หาโทษมิได้ ขอถวายพระพร”

เมื่อจะซ่อมก็ไม่ได้ ครั้นจะยุบก็เกรงจะผิด เมื่อสมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะ เห็นว่าไม่สมควรจะยุบ จึงได้โปรดฯ ให้บรรจุพระศรีสรรเพ็ชญ์ไว้ในพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ ตามนามพระพุทธรูปพระศรีสรรเพ็ชญ์




มหาเจดีย์ก่อเบื้อง    โบราณ แลฤๅ
นามพระศรีสรรเพ็ชญ์    พากย์พร้อง
ชำรุดธริการย์   กอบประกิจ ใหม่แฮ
ประกาศโลกให้ซร้องสร้อง    สาธุ์แถลง

ประดับลวดลายติดกระเบื้อง     บางเคลือบ สีนา
พิมพ์ภาคพื้นเขียวแสง    สดแพร้ว
ดอกดวงพิลาศเหลือบ     เล็งเลิศ แลพ่อ
อย่างแย่งยลล้ำแล้ว     เลิศหลาย

ฐาปนาใหม่ผเจิดสร้าง     สององค์ อีกเอย
สูงใหญ่หมายเดิมเทียม     เท่าแท้
ลายลวดประกวดผจง     ผจองดุจ เดียวนา
ต่างแต่เหลืองแล้พื้น      แผกพรรณ
พระนิพนธ์ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโรรส








โปรดติดตามตอนต่อไป

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 สิงหาคม 2559 14:10:13 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5437


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 สิงหาคม 2559 14:23:04 »




พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
ทรงสร้าง พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมนิทาน
และ พระมหาเจดีย์มุนีปัตตบริขาร

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาแรงกล้าในพระบวรพุทธศาสนามากยิ่งนัก จนมีคำกล่าวกันว่า “ใครสร้างวัดก็โปรด” ที่โปรดก็เพราะต้องด้วยพระราชอัชฌาสัยและพระราชศรัทธาของพระองค์ นั่นเอง  

ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงประกอบการพระราชกุศลต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมากตั้งแต่ยังไม่ได้ขึ้นครองราชสมบัติ เช่น ทรงบาตรในพระราชวังทุกๆ เช้า  นิมนต์พระสงฆ์เข้ามาถวายพระธรรมเทศนาในพระบรมมหาราชวังเป็นนิจสิน ถึงวันพระก็ทรงให้ปล่อยสัตว์ที่ถูกกักขังหรือจะถูกนำไปฆ่าให้รอดจากความตาย และทรงให้ทำเก๋งโรงทานหลวงสำหรับทรงแจกทานแก่ยาจกวณิพกที่ริมกำแพงพระราชวังด้านข้างแม่น้ำ จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงทราบ ก็ทรงอนุโมทนาและมีพระราชดำรัสว่า เป็นแต่เพียงพระเจ้าลูกเธอยังทำทานอยู่เนืองนิตย์ ควรที่พระองค์จะทรงบำเพ็ญทานให้ยิ่งกว่า

นอกจากพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาและปฏิบัติพระองค์ตามคำสอนในหลักพุทธศาสนาแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงสนพระทัยและสนับสนุนให้มีการสร้าง-บูรณะซ่อมแซม พระพุทธรูป อาราม เจดีย์ โบสถ์ วิหาร ขยายเขตวัด และประดับประดาอารามอย่างสวยงามไว้มากมาย หากมีการซ่อมแซม หรือต่อเติม พระองค์จะทรงกำชับให้แบบการก่อสร้างคงอนุโลมตามศิลปะที่ได้กระทำไว้แล้ว และให้ระมัดระวังรักษาแบบดั้งเดิมเอาไว้ให้ดี  ดังนั้นจึงมีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งว่า งานทางศิลปะในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะประณีตงดงาม “สูงเด่นเป็นเยี่ยมในวงของศิลปะไทย” เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยเริ่มสร้างกรุงเทพฯ หรือในสมัยหลังๆ ต่อมา  เนื่องจาก นับแต่รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา อิทธิพลของยุโรปได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศสยาม ได้มีผู้พยายามดัดแปลงให้ศิลปะไทยมีลักษณะผสมผสานกับศิลปะของชาวยุโรป  ฉะนั้น งานช่างในยุครัชกาลที่ ๓ จึงเป็นยุครุ่งโรจน์สุดท้ายที่รักษาแบบดั้งเดิมของไทยเอาไว้  

ในวาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ ขณะทรงพระประชวรอยู่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแสดงความเป็นห่วงเป็นใยในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ได้มีพระราชดำรัสกับข้าราชบริพารที่ไว้วางพระราชหฤทัยว่า ถ้าผู้ใดเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ให้ช่วยบอกแก่เขา ขอเงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดินมีอยู่ ๔ หมื่นชั่ง ขอสัก ๑ หมื่นเถิด เอาไปทำบุญบำรุงวัดวาอารามที่ทรงสร้างไว้ใหญ่โตหลายวัดที่ยังค้างอยู่ก็มี ให้สำเร็จเสร็จสิ้นไป


 

การพระศาสนาในวัดพระเชตุพน
ในส่วนการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เฉพาะที่จะกล่าวถึง “วัดพระเชตุพนฯ” นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ในวัดพระเชตุพนขึ้นเคียงข้างพระเจดีย์ศรีสรรเพ็ชดาญาณ ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ข้างละองค์ องค์ทางทิศเหนือประดับกระเบื้องสีขาว พระราชทานนามว่า “พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมนิทาน” (หรือ “ดิลกธรรมกรกนิธาน”) เพื่อพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒)  องค์ด้านใต้ประดับกระเบื้องสีเหลือง พระราชทานนามว่า “พระมหาเจดีย์มุนีปัตตบริขาร” เป็นเจดีย์ส่วนพระองค์เอง  หลักฐานเรื่องราวตอนนี้ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) (กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช ๒๕๓๘) ดังนี้ “...จึ่งทรงพระราชดำริว่า แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาพระเจดีย์ในวัดพระเชตุพนองค์ ๑ สูง ๒๐ วา ๒ ศอก บรรจุพระศรีสรรเพ็ชญ์ซึ่งได้มาแต่กรุงเก่า ที่พม่าเอาเพลิงสุมเอาทองคำหุ้มนั้น ยังเหลืออยู่แต่ทองเหลืองชำรุด ปรุไปทั้งพระองค์จะแก้ไขก็ไม่ได้ จึ่งเชิญเข้าบรรจุไว้ พระราชทานชื่อว่า มหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ หุ้มด้วยดีบุก จะก่อสร้างขึ้นถวายในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิราชเจ้าองค์ ๑ และเป็นส่วนในแผ่นดินปัตยุบันนี้องค์ ๑ เรียงกันเป็นแถวไป  จึ่งโปรดให้ช่างทำต่อองค์กลางข้างเหนือขึ้นองค์ ๑ ประดับกระเบื้องขาวอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิราช พระราชทานชื่อว่า พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน (ในทำเนียบภาค ๑ ชื่อ พระมหาเจดียดิลกธรรมนิทาน) องค์กลางของพระบาทสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ให้ประดับด้วยกระเบื้องเขียว องค์ข้างใต้ให้ประดับด้วยกระเบื้องเหลือง อุทิศเป็นส่วนในพระองค์ พระราชทานชื่อ พระมหาเจดีย์มุนีปัตะปริกขาร (ในทำเนียบนามภาค ๑ ชื่อ พระมหาเจดียมุนีปัตตบริกขา ปัจจุบันเรียก พระมหาเจดีย์มุนีบัตรบริขาร)

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) โปรดฯ ให้สร้างเพิ่มตรงพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพ็ชญ์อีกองค์หนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันตก ประดับกระเบื้องสีม่วงแก่ โดยถ่ายแบบจาก พระเจดีย์วัดสวนหลวงสบสวรรค์  หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย จ.พระนครศรีอยุธยา

พระมหาเจดีย์ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างปฏิสังขรณ์ใหม่นั้น ต่อมาในเดือน ๘ ปีกุน พ.ศ.๒๓๘๒ ยอดพระเจดีย์ทั้ง ๓ องค์ ก็เอนเอียงไปองค์ละหนึ่งศอกบ้าง ศอกเศษบ้าง เป็นเหตุให้ทรงไม่สบายพระทัย เสด็จขึ้นบนพระแท่นที่ใหญ่ หลับพระเนตรนิ่งอยู่ หาตรัสกับผู้ใดไม่ ทรงระงับการให้ขุนนางเข้าเฝ้าถวายข้อราชการ   ความเสียพระราชหฤทัยในเหตุการณ์นี้ทำให้ทรงพระประชวรอยู่หลายวัน  ซึ่งเรื่องราวตอนนี้ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ ที่เล่าเรื่องภายในกรุงออกไปให้พระยาศรีพิพิฒน์ (ต่อมาได้เป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ) ในครั้งนั้นมีหน้าที่เข้าเฝ้าถวายแบบพระอารามต่างๆ  ซึ่งได้ยกกองทัพไปปราบกบฏทางหัวเมืองปักษ์ใต้ ดังนี้ “ครั้น ณ วันเดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๘๒) เพลากลางวัน พระองค์เจ้าชุมสาย (กรมขุนราชสีหวิกรม) กราบทูลว่า ยอดพระเจดีย์ใหญ่วัดพระเชตุพนนั้นเอียงไปตั้งแต่คอระฆังขึ้นไปทั้ง ๓ องค์ องค์เหนือเอียงมาข้างเหนือ องค์กลางเอียงมาข้างตวันตก องค์ใต้เอียงไปข้างใต้ เอียงไปองค์ละศอก ๑  ศอกเศษ บ้าง  ทรงตรัสถามว่า ทำอย่างไรจึงเอียงไปหมดทั้ง ๓ องค์ พระองค์เจ้าชุมสายกราบทูลว่า เอียงด้วยหนักบัวกลุ่ม ทรงตรัสว่า พระยาศรีพิพัฒน์ยังอยู่ก็ได้อาศัยให้ไปดูแลทำอยู่ ก็หาเป็นเหตุการสิ่งใดไม่  ครั้นออกมาเสียแล้วก็แล้วกันเท่านั้น ถ้ายังอยู่แล้ว ที่ไหนจะเป็นไปถึงอย่างนี้ จะหาใครช่วยดูแลเข้าบ้างก็ไม่มี พระยาเพ็ชร์พิไชยก็เปล่าๆ ทั้งนั้น ไม่เอาใจใส่ดูแลเลย ทำการใหญ่การโตทีเดียวยังเป็นไปได้ ไม่พอที่จะให้อายเขาเปล่าๆ แล้วทรงนิ่งไปจนเสด็จขึ้น......

......ครั้น ณ วันเดือน ๘ แรม ๕ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๘๒) เพลาเช้า จึงเสด็จออกเจ้าต่างกรม หากรมมิได้ ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย เข้าเฝ้าพร้อมกัน แต่ยังไม่ขึ้นพระแท่น ทรงตรัสถึงยอดพระเจดีย์ว่า ช่างกระไรเลยเอียงไปหมดทั้ง ๓ องค์ทีเดียว จะเหลือให้สักองค์ ๑ ก็ไม่ได้ พระยาศรีพิพัฒน์ออกมาเสียแล้ว จะอาศัยพระยาเพ็ชร์พิไชยช่วยดูแลให้ดีหน่อยหนึ่งก็ไม่ได้ ของทำไปจนแล้วๆ ทีเดียวยังเป็นไปได้ ถึงจะเป็นเมื่อกำลังทำอยู่ก็ไม่น้อยพระไทยเลย นี่มาเป็นเอาเมื่อแล้วอย่างนี้น่าอายเขานักหนา  ทรงคิดขึ้นมาแล้วเสียพระไทยไปทีเดียว พระวาโยก็กำเริบเอาวิงเวียนไป ไม่สบายพระไทยเอาเลย แล้วรับสั่งๆ เจ้าคุณหาบนว่า จะคิดจัดแจงแก้ไขอย่างไรก็จัดแจงทำเสียให้ดี อย่าให้เป็นเหตุเป็นการต่อไปได้ฯ”

นอกจาก การสร้างพระมหาเจดีย์ที่งามเด่นสององค์ไว้ที่วัดโพธิ์หรือวัดพระเชตุพนแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้โปรดฯ ให้สร้างพระอุโบสถ  วิหารพระพุทธไสยาสน์ หล่อพระพุทธรูปประธานในโบสถ์วัดพระเชตุพน ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์และขยายบริเวณวัดให้กว้างขวางออกไป ทั้งมีรับสั่งให้ช่างสลักหินเป็นตำรับตำราและวาดภาพไว้ตามฝาผนัง จนวัดพระเชตุพนได้ชื่อว่าเป็น “มหาวิทยาลัยหินสลัก” ที่ศิลปินได้ผลิตผลงานทางศิลปะที่สำคัญทางศาสนาขึ้นไว้มากหลายด้วยกัน



ในระหว่างรัชกาลที่ ๓ ได้มีการสร้างเจดีย์ขึ้นมาก เจดีย์สององค์ซึ่งสร้างไว้ที่วัดโพธิ์หรือวัดพระเชตุพน
เป็นเจดีย์ที่งดงามมาก ได้สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมแทนรูปมนกลม ทำให้เป็นแบบที่นิยมสร้างกันในสมัยนั้น






โปรดติดตามตอนต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 สิงหาคม 2559 15:21:53 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5437


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 10 สิงหาคม 2559 18:00:52 »




โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระอุโบสถวัดพระเชตุพน

ดังได้กล่าวไว้แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ทั้งทรงมีพระราชปณิธานยึดมั่นอยู่ว่า การสร้างถาวรวัตถุและเสนาสนะเป็นการบุญการกุศลอย่างยิ่ง  ตามจดหมายเหตุที่มีผู้บันทึกไว้ในรัชสมัยของพระองค์ว่า พระองค์ไม่เพียงแต่ทรงสร้างวัดวาอารามด้วยพระองค์เองแต่อย่างเดียว ยังได้ทรงบอกบุญไปยังบรรดาเชื้อพระวงศ์ ขุนนางและเศรษฐีให้ทำบุญทำกุศลโดยการสร้างโบสถ์วิหารด้วย ครั้งนั้นจึงได้มีการสร้างวัดขึ้นใหม่ ๙ วัด วัดสำคัญๆ ที่ได้สร้างในรัชสมัยของพระองค์มีวัดราชนัดดา วัดเทพธิดา วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดบวรนิเวศ วัดประยุรวงศ์ วัดบวรสถาน และวัดกัลยาณมิตร  

ส่วนที่ทรงปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมก็มี วัดพระโพธิ์หรือวัดพระเชตุพน วัดสุทัศน์ วัดราชบุรณะหรือวัดเลียบ วัดสระเกศ วัดอรุณราชวราราม และวัดยานนาวา

ในส่วนของวัดโพธิ์หรือวัดพระเชตุพน ทรงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้พระยาศรีพิพัฒน์กับพระยาเพ็ชร์พิไชย เป็นแม่กองจัดการปฏิสังขรณ์รื้อพระอุโบสถเก่า หลังจากทรงเสด็จไปพระราชทานพระกฐินที่วัดพระเชตุพน โดยกระบวนพยุหะยาตรา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๗๔  เสร็จแล้วเสด็จทอดพระเนตรทั่วพระอาราม เห็นบูชนียสถานในเขตพุทธาวาสซึ่งสมเด็จพระไอยกาธิราชเจ้า ทรงสถาปนาไว้ล่วงมาแล้ว ๓๑ ปี ชำรุดทรุดโทรมปรักหักพังเป็นอันมาก เพื่อเชิดชูพระเกียรติยศและเป็นการแสดงกตัญญูต่อสมเด็จพระบุรพการี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทำนุบำรุงให้คงอยู่สิ้นกาลนาน

การซ่อมพระอุโบสถวัดพระเชตุพน ให้จัดการรื้อพระอุโบสถเก่า ครั้นเมื่อยกเครื่องบนพระอุโบสถครั้งแรก ผนังพังทลายลงทับคนตาย ต้องจัดการยกกันใหม่  เหตุการณ์นี้บันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ว่า “การพระอุโบสถวัดพระเชตุพนนั้นทำใหม่ มาถึง ณ วันจันทร์เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ (เป็นวันอังคาร ตรงกับวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๓๗๗) ยกเครื่องบนขึ้น ผนังทลายพังทับคนตาย ๕๐ คน ลำบากเป็นหลายคน เป็นเหตุด้วยพระอุโบสถใหญ่เสารายในเล็ก ไม่มีเสาแกน หนักตัวเข้าจึ่งได้ท้อลงมา โปรดให้ทำใหม่ ใส่แกนเสาก็มั่นคงดี”

พระอุโบสถวัดพระเชตุพนที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้นมีขนาดใหญ่และสวยงาม ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังก่ออิฐถือปูน มีหลังคาลาดเป็นชั้น มุงกระเบื้องสี และมีเสาใหญ่รายรอบรับชายคา บนฝาผนังโบสถ์ระหว่างช่องหน้าต่างได้มีรับสั่งให้ช่างเขียนภาพไว้มากมาย เรื่องราวที่เขียนเป็นเรื่องชาดกทางพระพุทธศาสนา เทพนิยายทางศาสนาพราหมณ์ วิถีความเป็นอยู่ของผู้คนพลเมือง ตึกรามบ้านช่อง ตลอดจนภาพวาดกระหนก ภาพลวดลายเป็นรูปดอกไม้ใบไม้ต่างๆ นานา



ภาพเขียนสีสด บรรจุเรื่องราวต่างๆ บนผนังที่กว้างใหญ่หลังพระพุทธเทวปฏิมากร
พระประธานประจำพระอุโบสถวัดพระเชตุพน


ผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดพระเชตุพน
พระอุโบสถวัดโพธิ์ปัจจุบันนี้ไม่ใช่ของเดิม เป็นพระอุโบสถที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นใหม่ โดยรื้อของเก่าขยายให้ใหญ่กว่าเดิม  โดยได้เสด็จวางรากฐานพระอุโบสถ ณ วันพฤหัสบดีขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเมีย พ.ศ.๒๓๗๘  เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จทรงพระราชดำริว่า พระอุโบสถวัดพระเชตุพนทำขึ้นใหม่มีขนาดใหญ่กว่าของเดิม ต้องผูกพัทสีมาใหม่  ได้ฤกษ์ ณ เดือน ๒ ขึ้น ๑๓ ค่ำ (ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๓๘๒) โปรดฯ ให้ตั้งการสวดพระพุทธมนต์ตั้งแต่ ณ วันเดือน ๒ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ๑๒ ค่ำ โดยนิมนต์พระสงฆ์ ๑๐๐ รูป ทั้งสวดทั้งฉัน  และ ณ วันเดือน ๒ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ได้เพิ่มเติมพระเข้าไปอีก ๒๐๐ รูป รวมพระสงฆ์ ๓๐๐ รูป  เวลาบ่ายหลังสวดพระพุทธมนต์จบแล้ว ให้ผูกพัทธสีมาในค่ำวันนั้น  

ฉลองวัดพระเชตุพน
ครั้นมาถึงวันเดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ในปีวอก สัมฤทธิศกนั้น (ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๙๑ ) โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ฉลองวัดพระเชตุพน เป็นการมหรสพอย่างใหญ่  มี ผ้าไตรจีวรถวายพระสงฆ์ แพรเม็ดพริกไทย ไตรแพรทั้งไตร ๕,๐๐๐ ไตร บาตร ย่าม พัด เครื่องบริขารเป็นอันมาก สิ่งละ ๕,๐๐๐  ของไทยทานครั้งนั้นมีจำนวนมาก ทรงตระเตรียมมาหลายปีแล้ว ขอแรงข้าราชการรับเงินไทยทานทำข้าวกระทงๆ* ละ ๒ สลึง ถวายพระสงฆ์ฉันทั้ง ๓ วัน แล้วก็ฉลองอีก ๓ วัน การฉลองมีโขนโรงใหญ่ติดรอกที่หน้าวังกรมหมื่นสวัสดิ์วิไชย มีเครื่องเล่นทุกสิ่ง มีพระสงฆ์ทำดอกไม้พุ่มประกวดประชันกันสิ้นฝีมือ  เสร็จการฉลองแล้ว ก็ทิ้งทานต้นกัลปพฤกษ์และโปรยทานที่หน้าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ มีฉลากต่างๆ เหมือนอย่างฉลองวัดราชโอรส
 (* ข้าวกระทง คือ ภัตตาหารถวายพระที่บรรจุในกระทงใบตองซ้อนกัน โดยใส่ข้าวสุกไว้ในกระทงล่าง ปิดใบตองคั่น ซ้อนด้วยกระทงของคาวและของหวาน ปิดด้วยใบตอง แล้วปักธง – กวป.)



พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว
สูงตลอดพระรัศมี ๗ ศอกคืบ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ในชั้นเดิมเป็นพระประธานอยู่ที่วัดศาลาสี่หน้า หรือ วัดคูหาสวรรค์ ภาษีเจริญ กรุงธนบุรี  
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้อัญเชิญมาเป็นพระประธานแทนองค์เดิม
และถวายพระนามว่า “พระพุทธเทวปฏิมากร”





โปรดติดตามตอนต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 สิงหาคม 2559 18:08:01 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5437


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2559 14:18:07 »



รื้อฟื้นการสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่
ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓

ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ตลอดมาจนสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ หากมีการสร้างวัดวาอารามขึ้นมาใหม่ พระประธานประจำโบสถ์หรือประจำพระวิหารก็มิได้หล่อขึ้นมาใหม่  แต่ได้ไปอัญเชิญพระพุทธปฏิมากร หล่อด้วยทองเหลือง ทองสัมฤทธิ์ มาจากกรุงศรีอยุธยา กรุงสุโขทัย เมืองพิษณุโลก เมืองลพบุรี และหัวเมืองประเทศราช ได้แก่ อาณาจักรล้านนา และอาณาจักรล้านช้าง มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ประจำพระวิหาร เช่น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๗ ครั้งนั้นโปรดให้อัญเชิญพระบางอันเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองหลวงพระบางลงมาพร้อมกับพระแก้วมรกต เข้ามาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สถิตอยู่เป็นเวลา ๓ ปีเศษ ก็โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านันทเสนอัญเชิญพระบางไปประดิษฐานไว้ ณ เมืองเวียงจันทน์

การที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเชื่อว่าการสร้างพระพุทธรูปเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ ฉะนั้น ในระหว่างรัชสมัยจึงได้มีการรื้อฟื้นการสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่อีกครั้ง โปรดฯ ให้สร้างพระพุทธรูปสำคัญหลายพระองค์ด้วยกัน เช่น พระประธานในพระอุโบสถวัดราชโอรส วัดราชนัดดา วัดสุทัศนเทพวราราม วัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดปรินายก กับในพระวิหารวัดกัลยาณมิตร และวัดพระเชตุพน



พระนอนวัดพระเชตุพนมีขนาดยาวเป็นอันดับสามของประเทศไทย
รองลงมาจากพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี และพระนอนวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง

พระพุทธรูปที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีแบบและลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย ไม่อ่อนช้อยเหมือนกับที่สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยและเมืองพิษณุโลก  แต่จะเป็นแบบเรียบๆ ดูเข้มแข็ง และมักนิยมสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ

โดยเหตุที่การหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยมีจำนวนมากแล้ว รัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปปางสำคัญได้สร้างขึ้นในวัดนี้หลายปางแล้ว ขาดแต่ปางปรินิพพาน หรือเรียกโดยทั่วไปว่า "ปางไสยาสน์"  จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระนอน หรือพระพุทธไสยาสน์ ไว้ที่วัดพระเชตุพนองค์ ๑  เป็นพระก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทองทั้งองค์ พุทธลักษณะบรรทม (นอน) ตะแคงเบื้องขวา พระเศียรหนุนพระเขนย (หมอน) พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาวางหงายอยู่ข้างพระเขนย พระบาทซ้ายทับซ้อนพระบาทขวา ฝีมือช่างสิบหมู่ของหลวง พระองค์เจ้าลดาวัลย์ (กรมหมื่นภูมินทรภักดี) เป็นผู้ควบคุมการสร้าง มีความยาว ๑ เส้น ๓ วา สูง ๑๕ เมตร เฉพาะพระพักตร์วัดจากไรพระศกถึงพระหนุยาว ๑๐ ศอก กว้าง ๕ ศอก พระบาทยาว ๕ เมตร สูง ๓ เมตร จำหลักด้วยมุกเป็นภาพอัฎฐตดรสตมงคล หรือมงคล ๑๐๘ ล้อมรอบด้วยกงจักร ประดับที่พื้นฝ่าพระบาท ฝีมืองดงามมาก

อัฎฐตดรสตมงคลหรือมงคล ๑๐๘ ประการ เป็นคติความเชื่อที่ปรากฏในคัมภีร์ชินาลังการฎีกาของลังกา โดยระบุว่าเป็นมงคลที่พราหมณ์ได้เห็นจากฝ่าพระบาทของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อประสูติได้ ๕ วัน แต่ปรากฏว่าไม่มีการสร้างพระพุทธบาทรูปลักษณ์นี้ในลังกา หากแต่พบที่พุกาม ประเทศพม่า กล่าวกันว่า มงคล ๑๐๘ ประการนี้ เป็นการพัฒนาแนวความคิด และสืบทอดมาจากรูปมงคล ๘

มงคล ๑๐๘ ประการ ประกอบด้วยมงคลต่างๆ แบ่งประเภทได้ดังนี้
   ๑.เป็นลักษณะแห่งโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ เช่นหม้อน้ำ ปลาคู่ สวัสดิกะ พวงมณี ดอกบัว เป็นต้น
   ๒.เป็นเครื่องประกอบพระบารมีของกษัตริย์และพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น สัตตรัตนะ ๗ ประการ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ บัลลังก์ เครื่องสูง เครื่องยศ เครื่องตันต่างๆ และราชพาหนะ เป็นต้น
   ๓.เป็นส่วนประกอบของพระภูมิในจักรวาลตามความเชื่อของพระพุทธศาสนา เช่น เขาจักรวาล มหาสมุทร ทวีปทั้ง ๔ เขาพระสุเมรุ เขาสัตตบริภัณฑ์ ป่าหิมพานต์ เป็นต้น
 



พระพุทธโลกนาถ พระประธานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลัง
พุทธลักษณะประทับยืน หล่อด้วยโลหะ สูง ๒๐ ศอก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ถวายพระนามพระพุทธรูปประธาน
ในพระวิหารทิศใหม่ และจารึกพระนามไว้ที่ผนังด้านหลังพระพุทธรูปว่า
" พระพุทธโลกนารถ ราชมหาสมมุติวงษ์ องคอนันตญาณสัพพัญญู
สยัมภูพุทธบพิตร" ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้

พระพุทธโลกนาถ หรือพระโลกนาถ พระนามเดิมว่า "พระโลกนาถศาสดาจารย์" พระประธานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลัง เป็นพระพุทธรูปยืน หล่อด้วยโลหะ สูง ๒๐ ศอก  เดิมเคยประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดพระเชตุพน ตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช น่าจะพร้อมกับการอัญเชิญพระพุทธรูปพระศรีสรรเพชญ เมื่อราวปี พ.ศ.๒๓๓๒ ในศิลาจารึกกล่าวว่า “พระพุทธรูปยืนสูงยี่สิบศอก ทรงพระนามว่าพระโลกนาถศาสดาจารย์ ปรักหักพัง เชิญมาแต่วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์กรุงเก่า ปฏิสังขรณ์เสร็จแล้วเชิญประดิษฐานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลัง บรรจุพระบรมธาตุด้วย”  

พระพุทธโลกนาถเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญในวัดพระเชตุวิมลมังคลารามที่มีหลักฐานเกี่ยวกับที่มาดั้งเดิมว่าอัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ กรุงเก่า ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๔๓ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปพระศรีสรรเพชญ เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.๒๓๑๐

พระพุทธโลกนาถ นับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในทางขอลูก มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏเรื่องเล่ากันว่า เจ้าจอมแว่น (พระนามเดิมว่า เจ้านางคำแว่น เป็นพระบรมวงศานุวงศ์จากนครเวียงจันทน์) หรือที่เรียกกันว่า “คุณเสือ” พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๑ ได้เคยมาบูชากราบทูลอธิษฐานความปรารถนาใคร่จะขอบุตรและได้ถวายตุ๊กตาศิลาไว้ ๑ คู่ ปัจจุบันนี้ก็ยังติดอยู่ที่ผนังพระวิหาร

เรื่องนี้มีโคลงจารึกในรัชกาลที่ ๓ ว่า
รจนาสุดารัตนแก้ว       กุมารี หนึ่งฤา
เสนอธิบายบุตรี           ลาภไซร้
บูชิตเชตชินศรี           เฉลาฉลัก หินเฮย
บุญส่งจงลุได้              เสร็จด้วยดังถวิล

กุมารหนึ่งพึงฉลักตั้ง     ติดผนัง
สถิตย์อยู่ทิศเบื้องหลัง    พระไว้
คุณเสือสวาดิหวัง        แสวงบุตร ชายเฮย
เฉลยเหตุธิเบศร์ให้      สฤษดิ์แสร้งแต่งผลฯ
 
แต่ตามประวัติของคุณเสือนั้น ปรากฏว่ามิได้ประสูติพระราชบุตร คือไม่สมหวังในเรื่องขอบุตรนี้



พระพุทธรูปองค์สำคัญในวัดพระเชตุพนฯ


พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานประจำพระอุโบสถ


พระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์


พระพุทธรูปปางปรินิพพาน หรือปางไสยาสน์ หรือเรียกกันทั่วไปว่า "พระนอนวัดโพธิ์"


กล่าวกันว่าพระบาทมุก เป็นผลงานอันยอดเยี่ยมหาที่ติมิได้
พระพุทธไสยาสวัดพระนอน จึงเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้น
ด้วยฝีมือช่างในยุคแห่งศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ที่รุ่งโรจน์ที่สุด


ลวดลายอันประณีต วิจิตรงดงาม ที่ข่างศิลป์สมัยรัชกาลที่ ๓
ฝากฝีมือไว้ที่พระเขนย หรือหมอนหนุนพระเศียรพระนอนวัดพระเชตุพน




พระโปรดปัญจวัคคีย์ ปางมารวิชัยสมัยสุโขทัย
พระประธานประจำพระวิหารทิศใต้ มีหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๑ นิ้ว
ได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย  ส่วนพระปัญจวัคคีย์นั้น โปรดฯ ให้หล่อขึ้นใหม่
ที่ฐานพระพุทธรูปมีจารึกซึ่งเข้าใจว่าจารึกในสมัยรัชกาลที่ ๔
ได้พระราชทานสร้อยพระนามเพิ่มว่า
“พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร”


"พระปาเลไลย์" ภาพจาก : เว็บไซต์วัดพระเชตุพนฯ
พระปาเลไลยก์ หรือ พระปาลิไลยก์  มีพระนามว่า
พระพุทธปาลิไลยก์ ภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจารวิมุตติญาณบพิตร
พระประธานประจำวิหารทิศเหนือ พุทธลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท
มีความสูง ๘ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้วมีลิงและช้างอยู่เบื้องหน้า
สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เมื่อทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ


พระพุทธชินศรี

พระพุทธชินศรี หรือ พระนาคปรก พระประธานพระวิหารทิศตะวันตก เดิมเป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว อัญเชิญมาจากเมืองลพบุรี ครั้นบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว จึงประดิษฐานไว้เป็นพระประธานพระวิหารทิศตะวันตก และได้สร้างพญานาคแผลงฤทธิ์และต้นจิกไว้ด้านหลังพระประธานด้วย จึงเรียกว่า "พระนาคปรก" ดังปรากฏความใน "จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ ๑ ว่า

"...พระพุทธรูปน่าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว เชิญมาแต่ลพบุรีปติสังขรณ์เสรจ์แล้ว ประดิษถานไว้ในพระวิหารทิศตะวันตกบันจุพระบรมธาตุ์ถวายพระนามว่าพระนาคปรก มีพญานาคแผลงฤทธิ์เลิกพังพานมีต้นจิกด้วยแลผนังนั้นเขียนเรื่องระเกษธาตุ์..."


โปรดติดตามตอนต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 สิงหาคม 2559 14:31:58 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5437


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2559 17:29:14 »




พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดฯ ให้จารึกวิชาว่าด้วยการบริหารร่างการแก้โรคลมต่างๆ

การบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ จนกลายเป็นวัดขนาดใหญ่ มีพระพุทธรูป เจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหาร ตลอดจนภาพเขียนบนฝาผนัง ซึ่งช่างศิลป์ได้สร้างสรรค์ผลงานอันสูงเยี่ยมและงดงามจับตาจนเป็นสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมทางศาสนาในเขตพระนครหลวงจนถึงปัจจุบันนี้แล้ว  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีรับสั่งให้ช่างสลักหิน สลักภาพไว้บนแผ่นหินอ่อน เป็นตำรับตำรา ไว้ตามพระระเบียงโบสถ์ภายในวัดพระเชตุพนฯ เป็นอันมาก ฝีมือสลักภาพหินเหล่านั้นประกอบด้วยภาพพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาพเขียนที่แสดงถึงขนบประเพณีต่างๆ ของไทย ตำรับพิชัยสงคราม ตำรายา ตำราโหราศาสตร์ ตำราโคลงฉันท์กาพย์กลอน สุภาษิต ตำราพฤกษศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และมานุษยวิทยา  เพื่อให้ไพร่ฟ้าประชากรได้เข้าไปศึกษาหาความรู้ในสรรพวิทยาการแขนงต่างๆ และเป็นสิ่งแสดงถึงวัฒนธรรมอันสูงส่งของชาติไทยเราสืบไป

พระฤๅษีดัดตน
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีเรื่องราวเกี่ยวกับฤๅษีเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดฯ ให้จารึกวิชาว่าด้วยการบริหารร่างกายแก้โรคลมต่างๆ ตลอดจนแก้อาการปวดเมื่อยในร่างกายโดยให้เอาดีบุกและสังกะสีมาหลอมหล่อเป็นรูปฤๅษีดัดตนในลักษณะต่างๆ รวม ๘๐ รูป แต่ละรูปมีโคลงสี่สุภาพจารึกไว้ว่า ฤๅษีตนนั้นๆ ชื่ออะไร ดัดตนท่าอะไร แก้เมื่อยแก้ลมอย่างไร ฯลฯ  พระราชดำริในการนี้ปรากฏอยู่ในจารึกเรื่องการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ดังความว่า

“ลุจุลศักราชพ้น        พันปี เศษเฮย
น้อยกับเก้าสิบแปดปี    วอกตั้ง
นักษัตรอัฐศกรวี        วารกติก มาศแฮ
สุกรปักษ์ห้าค่ำครั้ง      เมื่อไท้บรรหารฯ”

“ให้พระประยุรราชผู้     เป็นกรม หมื่นแฮ
ณรงค์หริรักษ์รดม        ช่างใช้
สังกสีดีบุกผสม           หล่อรูป
นักสิทธิ์แปดสิบให้        เทิดถ้าดัดตนฯ”

“เสร็จเขียนเคลือบภาคพื้น   ผิวกาย
ตั้งทุกศาลาราย           รอบล้อม
อาวาสเชตวันถวาย       นามทั่ว องค์เอย
จารึกแผ่นผาพร้อม       โรคแก้หลายกลฯ”

“เป็นประโยชน์นรชาติสิ้น    สบสถาน
เฉกเช่นโอสถทาน         ท่านให้
พูนเพิ่มพุทธสมภาร       สมโพธิ์ พระนา
ประกาศพระเกียติยศไว้    ตราบฟ้าดินศูนย์ฯ”

พระฤๅษีดัดตน แต่เดิมมีจำนวนมากถึง ๘๐ รูป เป็นรูปซึ่งปั้นแล้วหล่อด้วยโลหะเจือประกอบด้วยสังกะสี เมื่อทำขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้มีการตกแต่งด้วยการเขียนระบายสีให้มีสภาพสมจริงเพื่อชวนให้คนทั่วไปสนใจชม  ปัจจุบันสีที่ระบายแต่งแต้มโลหะลบเลือนไม่เหลือติดให้เห็น

รูปหล่อโลหะพระฤๅษี ๘๐ รูปนี้ กรมหมื่นณรงคหริรักษ์ พระประยุรราชวงศ์ผู้ใหญ่ในรัชกาลที่ ๓ เป็นผู้ดำเนินงานสองพระราชดำริ

กรมหมื่นณรงคหริรักษ์ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ลำดับที่ ๓๕ พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายดวงจักร ประสูติเมื่อวันจันทร์เดือน ๘ แรม ๖ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๙ กรกฎาคม ปีชวด พุทธศักราช ๒๓๓๕ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นณรงคหริรักษ์ โปรดให้ทรงกำกับกรมช่างหล่อ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ แรม ๘ ค่ำ ปีมะเมีย พุทธศักราช ๒๓๘๙ พระชนม์ ๕๕ พรรษา เป็นต้นราชสกุลดวงจักร

รูปพระฤๅษีดัดตน ทำขึ้นโดยอาศัยลักษณะนามและรูปของพระฤๅษีที่มีอยู่ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เรื่อง รามเกียรติ์ อาทิ พระฤๅษีอัจนะคาวี พระฤๅษียุทธ พระฤๅษีโคดม พระฤๅษีอิสีสิงค์ เป็นแนวคิดในการสร้างรูป แต่ในหมู่รูปพระฤๅษีจำนวน ๘๐ รูปนี้ ยังมีรูปพระฤๅษีที่เป็นนักพรตต่างภาษาปนอยู่ด้วย ๒ รูป ซึ่งในปัจจุบันรูปทั้ง ๒ ไม่ปรากฏให้เห็นเสียแล้ว ยังจะทราบได้ก็เพียงอาศัยความในโคลงจารึกพรรณนาลักษณะรูปนักพรตทั้ง ๒ ดังนี้

“ปริพาชกนี้ชื่อ      โยฮัน แลเฮย
น้ำพึ่งตั๊กแตนฉัน     เช่นเข้า
อยู่ยังฝั่งโยระดัน       หนังอูฐ ครองนา
นั่งดัดหัตถ์ถ่างเท้า    ขัดแข้งขาหายฯ”

“ผู้ผนวชจีนแจ้งชื่อ   หลีเจ๋ง
อยู่เขตรเขาซ่าเหล็ง  ตึ่งสิ้ว
ลัทธิท่านเคร่งเขม็ง   เมืองท่าน ถือฮอ
มือเหวี่ยงผวาท่างิ้ว   รงับเส้นสลักทรวงฯ”



เขามอ หรือสวนหย่อม เป็นสวนหินปลูกไม้ประดับที่รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้รื้อขนก้อนศิลาใหญ่ และเล็กซึ่งก่อเป็นภูเขาในสวนขวาในพระบรมมหาราชวัง แต่ครั้งรัชกาลที่ ๒ มาก่อนเป็นภูเขาเป็นสวนประดับรอบวัด ปลูกต้นไม้ไว้ตามเชิงเขาและบนเขา มีทั้งสถูปและเสาโคมแบบจีน รูปตุ๊กตาจีนและรูปสัตว์จัตุบาท (สัตว์สี่เท้า) ต่างๆ เรียงรายอยู่ทั่วไปทั้งบนเขา และเชิงเขา เขามอมีทั้งหมด ๒๔ ลูก เช่น เขาประดู่ เขาสะเดา เขาอโศก เขาสมอ เขาฤๅษีดัดตน เขาศิวลึงค์ เป็นต้น พรรณไม้ที่ปลูกประดับส่วนใหญ่ตายลงทางวัดได้ปรับปรุงเป็นสวนหิน ประดับด้วยไม้ดอกไม้ใบนับเป็นมุมนั่งพักผ่อนที่เพลิดเพลินตาเย็นกายสบายใจ

เขาฤๅษีดัดตน คือสวนสุขภาพแห่งหนึ่งอยู่ใกล้กับพระวิหารทิศใต้ เป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณ และศิลปวิทยาการครั้งกรุงศรีอยุธยาไว้ ทรงพระราชดำริเอาท่าดัดตนอันเป็นการพักผ่อนอิริยาบถ แก้ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ประยุกต์รวมกับคติไทยที่ยกย่องฤๅษีเป็นครูผู้ประสิทธิ์ประสาทศิลปวิทยาการต่างๆ เป็นรูปปั้นฤๅษีดัดตน แสดงท่าต่างๆ ไว้ที่วัดเพื่อให้ราษฎรทั่วไปได้ศึกษาเล่าเรียน และรักษาโรคได้อย่างกว้างขวาง สมัยแรกสร้างนั้นปั้นด้วยดิน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ หล่อเป็นเนื้อชินอยู่จนถึงปัจจุบันเดิมมีทั้งหมด ๘๐ ท่า แต่ปัจจุบันคงเหลืออยู่ ๒๔ ท่า

รูปปั้นฤาษีดัดตน เป็นท่าตรงตามหลักโยคะ ของโยคีอินเดียเป็นการออกกำลังกายที่ใช้ศิลปะ เพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรง นอกจากนั้นยังมีโคลงสี่สุภาพ ซึ่งจารึกไว้ในแผ่นศิลาประดับอยู่ตามศาลาราย ปัจจุบันได้รวบรวมไว้ที่ศาลาราย เช่น ศาลาเปลื้องเครื่อง (โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ) เป็นต้น โคลงภาพฤๅษีดัดตน เป็นตำรากายภาพบำบัดของแพทย์ไทย แผนโบราณอันเป็นพระราชประสงค์ ขององค์พระพุทธบุรพมหากษัตริย์ที่ทรงพระราชดำริให้วัดนี้เป็นแหล่งรวมวิชาการ



สมัยโบราณคนไทยสมัยก่อนมักไม่ค่อยได้รู้หนังสือ
เพราะไม่มีสถานที่เรียน รัชกาลที่ ๓ จึงโปรดฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิต
ที่มีความรู้ความชำนาญแต่ละสาขาวิชา จดตำราให้นายช่าง
จารึกไว้ในแผ่นศิลา หรือปั้นรูปแสดงท่าทางต่างๆ ให้เห็นเด่นชัด
เพื่อจะได้เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ แม้คนที่อ่านหนังสือไม่ออก
ก็สามารถเรียนรู้หรือทำได้ถูกต้อง เท่ากับสร้างอุปกรณ์ทำการสอนไว้
แก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน















ท่าทางแสดงอาการดัดตนเพื่อแก้โรคต่างๆ ด้วยท่วงท่าอาการไม่ซ้ำกัน
โดยตั้งแสดงแก่คนทั่วไปได้อาศัยดูเป็นแบบอย่างและจำไปดัดตน
แก้โรคภัยต่างๆ ตามอาการของโรคภัยที่เป็นอยู่


ควรจะมีตอนต่อไปอีกหลายตอน
แต่ได้พรรณามามากจนไม่เป็นอันได้โพสท์ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวอื่น
ไว้โอกาสอันเหมาะควร ค่อยมาต่อกันใหม่

ผู้เรียบเรียง : Kimleng
อ้างอิง : ๑.พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่๓ ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี, กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่
          ๒.แผ่นดินพระนั่งเกล้าฯ, วอลเตอร์ เอฟ.เวลลา แต่ง, พันเอก นิจ ทองโสภิต แปล, กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร จัดพิมพ์เผยแพร่
          ๓.ภูมิศาสตร์วัดโพธิ์, กาญจนาคพันธุ์, สำนักพิมพ์สาส์นสวรรค์
          ๔.สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช,  ณัฐวุฒิ  สุทธิสงคราม เรียบเรียง, จัดพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘
          ๕.สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง, หน้า ๕๗๓๔-๕๗๓๗, มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดพิมพ์เผยแพร่
          ๖.เว็บไซท์ watpho.com
          ๗.เว็บไซท์ dooasia.com
          ๘.เว็บไซท์ th.wikipedia.org


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 สิงหาคม 2559 17:39:31 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5437


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 16 เมษายน 2560 11:42:51 »




วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ติดอันดับโลก แหล่งท่องเที่ยวที่ดีที่สุด

วัดโพธิ์" หรือ "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" พระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่เปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ

เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๑ และวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน ๑,๔๔๐ ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลก ในทะเบียนนานาชาติ ได้สร้างความฮือฮาและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยอีกครั้ง

เมื่อ "ทริปแอดไวเซอร์" เป็นเว็บไซต์ท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีสาขาทั่วโลกกว่า ๔๕ ประเทศ ทำให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก เข้ามาอ่านข้อมูลและร่วมแสดงความคิดเห็น ในแต่ละเดือนไม่ต่ำกว่า ๓๔๐ ล้านคนต่อเดือน

ในปี ๒๕๕๘ ทริปแอดไวเซอร์ ได้ประกาศผลการท่องเที่ยวที่ดีที่สุด ซึ่งได้รับคัดเลือกจากนักท่องเที่ยวหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้เดินทางไปยังจุดหมายปลายทาง ซึ่งเป็นสถานที่อันโดดเด่นของปี ๒๕๕๘ ปรากฏว่า วัดโพธิ์ หรือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาท่องเที่ยว เป็นอันดับที่ ๒๑ ของโลก มากกว่า ๒๐ ล้านคน ซึ่งถือว่ามีอันดับสูงขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เมื่อปี ๒๕๔๙ วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำดับที่ ๒๔ ของโลก

สำหรับผู้ชนะรางวัลในปี ๒๕๕๘ ด้านสถานที่สำคัญ ๒๕ อันดับของโลก ใน ๑๐ อันดับแรกได้แก่
๑.นครวัด ประเทศกัมพูชา
๒.มาจูปิจู ประเทศเปรู
๓.ทัชมาฮาล ประเทศอินเดีย ๔
๔.มัสยิดชีกชาเญด ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
๕.โบสถ์แห่งครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ ประเทศสเปน
๖.บาชิลลิกาของเซนต์ปีเตอร์ ประเทศอิตาลี
๗.มหาวิหารดูโอ ประเทศอิตาลี
๘.อัลคาทราช แคลลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
๙.รูปปั้นพระเยซูคริสต์ ประเทศบราซิล
๑๐.สะพานโกลเดนเกต ประเทศสหรัฐอเมริกา

ส่วนอันดับที่ ๒๑ วัดโพธิ์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย

ผู้ชนะรางวัลในปี ๒๕๕๘ ด้านสถานที่สำคัญ ๒๕ อันดับในเอเชีย อาทิ
๑.นครวัด ประเทศกัมพูชา
๒.ทัชมาฮาล ประเทศอินเดีย
๓.กำแพงเมืองจีน ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
๔.วัดโพธิ์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
๕.ตึกแฝดเปโตรนาส ประเทศมาเลเซีย
๖.พระบรมมหาราชวัง ประเทศไทย
๗.เจดีย์ชเวดา กอง ประเทศพม่า
๘.วัดอรุณราชวราราม ประเทศไทย
๙.พระราชวังแอมเบอร์ ประเทศอินเดีย ๑
๑๐.ศาลเจ้าฟูชิมิ อินาริ ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

ผู้ชนะรางวัลในปี ๒๕๕๘ ด้านสถานที่สำคัญ ๑๐ อันดับในเมืองไทย
๑.วัดโพธิ์ กรุงเทพฯ
๒.พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
๓.วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
๔.วัดพระแก้ว กรุงเทพฯ
๕.วัดพระธาตุดอยสุเทพฯ จ.เชียงใหม่
๖.พระใหญ่เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต
๗.วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่
๘.ปราสาทสัจธรรม พัทยา จ.ชลบุรี
๙.จุดชมวิวเกาะพีพี จ.กระบี่
๑๐.วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพฯ

พระเทพวีราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ กล่าวว่า ต้องขอบคุณทุกคน ที่ช่วยสนับสนุนส่งเสริมวัด ส่งเสริมพระพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่องจนทำให้วันนี้วัดพระเชตุพนฯ หรือวัดโพธิ์ จากประเทศไทย ได้ประกาศให้ชาวโลกรับรู้ว่า พระนอนในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์นั้นมีความสวยงามมากเพียงใด วัดโพธิ์มีเจดีย์มากที่สุดถึง ๙๙ องค์ จนได้รับการยอมรับจากชาวโลกให้ติดอันดับที่ ๒๑ ของโลก และได้อันดับ ๔ ในเอเชีย รองลงมา จากกำแพงเมืองจีนและสุดท้ายที่น่าภูมิใจสูงสุดคือการได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอันดับ ๑ ของประเทศไทย เหล่านี้ล้วนเกิดจากการสนับสนุนจากคนไทยทุกคน ซึ่งผลการจัดอันดับในครั้งนี้ ทำให้คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ ต้องตระหนักถึงภารกิจของเราต่อไป ว่าเราจะรักษามาตรฐานและจะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในทุกๆ ด้าน เพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญสืบต่อไปยิ่งขึ้น












sites - khaosod

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 เมษายน 2560 11:44:44 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสสานุกโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 590 กระทู้ล่าสุด 19 สิงหาคม 2562 18:23:42
โดย ใบบุญ
พระธรรมราชานุวัตร (หลวงเตี่ย) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1956 กระทู้ล่าสุด 10 พฤษภาคม 2563 09:08:30
โดย ใบบุญ
พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสสานุกโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 531 กระทู้ล่าสุด 24 มิถุนายน 2563 16:04:46
โดย ใบบุญ
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกรเถร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 734 กระทู้ล่าสุด 31 สิงหาคม 2564 16:14:38
โดย ใบบุญ
สมเด็จพระวันรัตน (สมบุญ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
Kimleng 0 603 กระทู้ล่าสุด 13 กันยายน 2565 17:48:32
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.478 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 15 เมษายน 2567 06:42:46