[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 21:01:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดพระแก้ว ถ.ไตรรัตน์ ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย และตำนานพระแก้วมรกต  (อ่าน 2392 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 เมษายน 2560 16:39:38 »





พระแก้วมรกตองค์ใหม่ เรียกว่าพระหยกเชียงราย หรือ พระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล
สร้างขึ้นในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุ ครบ ๙๐ พรรษา

วัดพระแก้ว
ถ.ไตรรัตน์ ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย
ผู้เรียบเรียง : Kimleng

วัดพระแก้วเดิมเป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่บริเวณนี้มีกอไผ่ชนิดหนึ่งคล้ายไผ่สีสุก แต่ไม่มีหนาม ชาวบ้านนิยมนำไปทำคันธนู และหน้าไม้ คงจะมีมากในบริเวณนี้ ชาวเชียงรายจึงเรียกว่า “วัด ป่าเยี้ยะ หรือวัดป่าญะ” (ป่าไผ่) ต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๙๗ วัดพระแก้วเชียงรายในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่าเจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทองอยู่ภายในเจดีย์ ต่อมารักกะเทาะออกจึงได้พบว่าเป็นพระพุทธรูปสีเขียวสร้างด้วยหยก คือพระแก้วมรกต ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร ชาวเมืองเชียงรายจึงได้เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดพระแก้ว" จนกระทั่งปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกชื่อเสียใหม่ว่า “วัดพระแก้ว” ปัจจุบันชาวเชียงรายได้สร้างพระแก้วมรกตองค์ใหม่ขึ้นแทน เรียกว่าพระหยกเชียงราย หรือ พระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล ซึ่งสร้างขึ้นในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุ ครบ ๙๐ พรรษา

พระแก้วมรกต มีประวัติความเป็นมายาวนาน กล่าวไว้ว่า มีเทวดาองค์หนึ่งสร้างพระแก้วมรกตถวายพระอรหันต์นามว่า พระนาคเสนเถระ ที่เมืองปาฏลีบุตร ประเทศอินเดีย เมื่อวันเพ็ญ เดือน ๗ พ.ศ.๗๐๐

การบังเกิดขึ้นแห่งพระรัตนปฏิมานั้น เมื่อพระศาสดาปรินิพพานได้ ๕๐๐ ปี มีพระเถระองค์หนึ่งชื่อว่า ธรรมรักขิตะ อาศัยเมืองปุปผวดี (คือเมืองปาฏลีบุตร) อยู่ในอโศการาม มีพระเถระองค์หนึ่งเป็นศิษย์ของท่านนามว่า นาคเสนะ  พระเถระนาคเสนนั้นเป็นที่คารวะของพระเจ้ามิลินทะ เมื่อพระธรรมรักขิตะเถระล่วงลับไปแล้ว พระเถระนาคเสนะคิดว่าทำอย่างไรดี จึงจะยังศาสนาให้รุ่งเรืองในภายหน้า แล้วก็ทราบว่า ศาสนจักรรุ่งเรืองได้ด้วยรูปจำลองของพระพุทธโดยแท้ และรำพึงต่อไปว่า ถ้าเราจะสร้างรูปจำลองพระพุทธเจ้าด้วยทองคำหรือเงิน มนุษย์ในอนาคตเป็นคนลุอำนาจแก่ความโลภ มีสันดานเป็นคนบาปหนา จักกระทำอันตรายรูปจำลองพระพุทธเสีย อย่ากระนั้นเลย เราจะทำรูปจำลองพระพุทธด้วยแก้วมณีโดยฤทธิ์และมนต์เถิด  

ขณะนั้น ท้าวสักกเทวราช ทราบความปริวิตกของพระเถระนั้น จึงลงมาจากดาวดึงส์พิภพ ไปสู่สำนักพระเถระพร้อมด้วยพระวิสสุกรรม  เทวบุตรถามพระเถระว่า ข้าแต่พระคุณท่าน พระคุณท่านจักสร้างรูปจำลองพระพุทธด้วยแก้วมณีโดยฤทธิ์และมนต์มิใช่หรือ พระเถระตอบว่า จริงดังนั้น  

ครั้งนั้น ท้าวสักกะสั่งวิสสุกรรมเทวบุตรว่าไปเถิด พ่อจงไปเอาแก้วมณีโชติที่ข้างภูเขาวิบูลมา ฝ่ายวิสสุกรรมทูลว่า เทวะ พวกกุมภัณฑ์จะไม่ยอมมอบให้ข้าพเจ้า ครั้งนั้นท้าวสักกะได้ไปภูเขาวิบูลกับวิสสุกรรม บอกราชกุมภัณฑ์ว่า ข้าพเจ้ามาโดยหวังจะใคร่ได้แก้วมณีโชติ ท่านจงอนุญาตแก้วมณีโชติให้แก่ข้าพเจ้าเถิด ฝ่ายราชากุมภัณฑ์กล่าวว่า แก้วมณีโชตินี้เป็นเครื่องบริโภคใช้สอยของพระเจ้าจักรพรรดิ  เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจจะให้ไปได้ แต่ว่ายังมีแก้วอยู่ดวงหนึ่ง คือแก้วอมรกต (แก้วทำโดยเทวดา) วัดรอบประมาณ ๒ ศอก ๓ นิ้ว มีแก้ว ๗๕๐ ดวงเป็นบริวาร มีอยู่ใกล้กำแพงแก้วมณีโชติ  ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเอาแก้วนั้นไปเถิด ครั้งนั้น ท้าวสักกะจึงเอาแก้วนั้นมาแล้วนำไปถวายพระเถระ ฝ่ายพระเถระ คิดว่าใครจัดทำพุทธปฏิมา (รูปจำลองพระพุทธ) ด้วยแก้วนี้ได้ ทันใดนั้น วิสสุกรรมแปลงตัวเป็นรูปกาจารย์คือ ช่างทำรูปมาตกแต่งด้วยตนเองไม่ใช่ตกแต่งด้วยอิทธิฤทธิ์ และวิสสุกรรมนั้นทำพระพุทธปฏิมาได้องค์หนึ่ง สูง ๑ ศอกกับ ๑ นิ้ว เสร็จชั่วเวลา ๗ คืน ๗ วัน (ในหนังสือรัตพิมพวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระแก้วมรกต ทำพิธีสร้างถึง ๗ วัน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๓ เซนติเมตร สูงจากฐานอันเป็นมรกตแท่งเดียวกันถึงยอดพระเศียร ๕๘ เซนติเมตร) ครั้นสร้างเสร็จแล้วพระเถระ (นาคเสนะ) ร่วมกับพระขีณาสพทั้งหลาย และท้าวสักกะร่วมกับเทพดาทั้งหลาย บูชาพระรัตนปฏิมาตลอด ๗ คืน ๗ วัน  ครั้งนั้น พระรัตนปฏิมาได้ทำปาฏิหาริย์มีประการต่างๆ พระเถระ (นาคเสนะ) ได้อธิษฐานอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ๗ องค์เข้าไปในองค์พระรัตนปฏิมาองค์ ๑ อยู่ที่พระเมาลี องค์ ๑ อยู่ที่พระนลาฏองค์ ๑ อยู่ที่พระอุระ ๒ องค์ อยู่ที่พระหัตถ์ทั้งสองอีก ๒ องค์ อยู่ที่พระชานุ (เข่า) ทั้งสองพร้อมกับคำอธิษฐาน และประดิษฐานไว้ที่เมืองปาฏลีบุตรเป็นเวลาถึง ๓๐๐ ปี พระเถระ (นาคเสนะ) มองเห็นกาลอนาคต ได้พยากรณ์ไว้ว่า พระรัตนปฏิมาองค์นี้จะรุ่งเรืองในวงศ์ทั้งสาม คือ วงศ์กัมโพช วงศ์อริมัททนะ และวงศ์สยาม

จนกระทั่งในสมัยของพระเจ้าศิริกิติกุมาร เมืองปาฏลีบุตรเกิดสงครามกับพวกนอกศาสนา ชาวเมืองจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่เมืองลังกา ต่อมาพระเจ้าอโนรธามังฉ่อ (พระเจ้าอนุรุทธะมหาราช) แห่งเมืองพุกาม (พม่า) ได้ทราบกิตติศัพท์อภินิหารของพระแก้วมรกต จึงส่งพระสมณทูตไปขอพระไตรปิฎกและพระแก้วมรกตจากพระเจ้ากรุงลังกา ซึ่งถูกพวกทมิฬรุกราน ก็ทรงมอบพระแก้วมรกตพร้อมพระไตรปิฎกให้ แต่ระหว่างการเดินทางเรือสำเภาถูกลมทะเลที่พัดแรงจัดพัดพาไปเกยอ่าวที่เมืองกัมพูชา พระเจ้ากรุงกัมพูชาจึงยึดพระแก้วมรกตไว้เป็นของกัมพูชา และคืนให้เฉพาะพระเถระกับพระไตรปิฎก ต่อมาพระแก้วมรกตได้ถูกนำไปไว้ที่เมืองอินทาปัฐ (นครวัด) ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (พ.ศ.๑๘๙๐) ได้มีผู้นำพระแก้วมรกตมายังกรุงศรีอยุธยาแล้วนำไปไว้ที่เมืองละโว้ (ลพบุรี)  ในที่สุดพระแก้วมรกตก็ได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองวชิรปราการ หรือจังหวัดกำแพงเพชรจนสิ้นรัชกาลพระราเมศวร

เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๙๓๓ พระเจ้ามหาพรหมี เจ้าเมืองเชียงรายได้ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาจากเมืองกำแพงเพชร และนำมาซ่อนไว้ที่เจดีย์วัดป่าเยี๊ยะ เมืองเชียงราย จนกระทั่ง พ.ศ.๑๙๗๗ อสนีบาต (ฟ้าผ่า) เจดีย์ จึงได้ค้นพบพระแก้วมรกต ต่อมาได้อัญเชิญไปในเมืองต่างๆ ดังนี้  เมืองเชียงราย  เมืองลำปาง  เมืองเชียงใหม่  เมืองลาว และกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๑ ถึงปัจจุบัน


พระพุทธปฏิมา ประดิษฐานในพระวิหารวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย



















Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 พฤษภาคม 2560 15:08:12 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2560 15:05:29 »



ตำนานพระแก้วมรกต

ตำนานพระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีบันทึกความเป็นมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การพบว่าเป็นพระแก้วมรกต เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๗ หรือเมื่อ ๖๑๑ ปีมาแล้วล่าสุด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๓๙ ได้มีบันทึกย้ำประวัติอีกครั้ง แต่เป็นการเล่าเรื่องโดยใช้ภาพเขียนฝีมือสล่า (ช่างล้านนา) ที่ผนังด้านในโดยรอบหอพระหยก วัดพระแก้ว จ.เชียงราย ซึ่งมิได้เล่าเฉพาะตำนานพระแก้วมรกต หากแต่เล่าเหตุการณ์สร้างหอพระหยก และการสร้างพระหยกเชียงรายด้วย ในจำนวน ๙ ภาพ ภาพแต่ละภาพบรรยายโดยพระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์) เจ้าคณะภาค ๖ เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว จ.เชียงราย คือภาพ ๑-๔ เล่าประวัติต้นพระศรีมหาโพธิ์ จนถึงพิธีพุทธาภิเษก และการสร้างพระหยกเชียงราย ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับพระแก้วมรกตองค์เดิม ที่ประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หากแต่เรียกชื่อต่างกันออกไป ไม่ให้ซ้ำกับพระพุทธปฏิมากรของแผ่นดิน ภาพที่ ๕-๙ เล่าความเป็นมาของพระแก้วมรกต ตามความในตำนาน รัตนพิมพวงศ์ ซึ่งพระภิกษุพรหมราชปัญญา แห่งเมืองเชียงใหม่ แต่งเป็นภาษาบาลีไว้ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๖๐-๒๐๗๑ (ค.ศ. ๑๕๑๗-๑๕๒๘) มีผู้แปลเป็นไทยแล้ว ๓ ครั้ง คือ

ตำนานมีว่า พระแก้วมรกตนั้น พระนาคเสนเถระแห่งเมืองปาฏลีบุตร (เมืองปัตนะ รัฐพิหาร อินเดีย) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๕๐๐ โดยพระอินทร์นำแก้วอมรโกฏิมาถวาย ต่อมาเมืองปาฏลีบุตรถูกพวกนอกศาสนารุกราน จึงมีผู้อัญเชิญไปไว้ในเกาะสีหล (ศรีลังกา) เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๐๐๐ (ค.ศ. ๔๕๗) พระเจ้าอโนรธามังฉ่อ หรืออนุรุทธะแห่งเมืองมลาบุรนคร (พุกามหรือพม่าสมัยโบราณ) ได้ส่งสมณทูตไปขอพระแก้วมรกตและพระไตรปิฎกจากเกาะสีหล แต่สำเภาที่อัญเชิญไปถูกพายุร้ายพัดพาเอาสำเภาไปตามกระแสน้ำนานนับเป็นเดือน และมาเกยตื้นฝั่งเขตเมืองมหานิชินทนคร (กัมพูชา) และถูกเจ้าเมืองยึดไว้ไม่ยอมคืน ต่อมาพระเจ้าอาทิตยราชแห่งเมืองอโยชฌา (อยุธยา) ยกกองทัพไปตีได้เมืองมหานิชินทนคร จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ที่เมืองอโยชฌาและเมืองวชิรปราการ (กำแพงเพชร) ตามลำดับ

ประมาณ พ.ศ. ๑๙๒๙ (ค.ศ. ๑๓๘๖) พระเจ้ามหาพรหม หรือพระมหาธรรมราชาแห่งเมืองชิรายปุระ (เชียงราย) ได้ไปขอพระแก้วมรกตมาบรรจุไว้ในเจดีย์ วัดญรุกขวนาราม (วัดป่าไม้เยี้ยะ หรือวัดพระแก้วปัจจุบัน) เพราะเกรงจะตกไปอยู่ในมือของอริราชศัตรูหรือคนนอกศาสนา และเมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๗  พระเจดีย์วัดญรุกขวนาราม ได้ถูกอสนีบาต (ฟ้าผ่า) จึงได้ค้นพบพระแก้วมรกตอีกครั้งหนึ่ง ชาวเมืองชิรายปุระในสมัยนั้นจึงเกิดปีติปราโมทย์พร้อมใจกันบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา และสมโภชพระแก้วมรกตขึ้น

ผู้เขียนภาพที่ ๕-๙ คือ ปรีชาราชวงศ์และณรงค์เดช สุดใจ ส่วนหลักฐานที่เป็นโบราณสถานที่พบพระแก้วมรกต มีข้อมูลในหนังสือเรื่องการขึ้นทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือ ของกรมศิลปากร จัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๑๐๙ ประกาศให้วัดพระแก้ว จ.เชียงราย เป็นโบราณสถานลำดับที่ ๑ ของ จ.เชียงราย ว่า สิ่งสำคัญที่ขึ้นทะเบียน ได้แก่ เจดีย์ ซึ่งเคยบรรจุประดิษฐานพระแก้วมรกต ซึ่งไม่สามารถระบุอายุสมัย และประวัติการก่อสร้างได้ ส่วนความสำคัญนั้นระบุว่ามีประวัติความเป็นมาเกี่ยวพันกับพระแก้วมรกต ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๙ (รัตนพิมพวงศ์ ว่า พ.ศ. ๑๙๗๗) สมัยเจ้าสามฝั่งแกนผู้ครองเมืองนครเชียงใหม่ ปรากฏว่าเจดีย์วัดพระแก้วเมืองเชียงราย ต้องอสนีบาต (ฟ้าผ่า) พังลง มีผู้พบพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ลงรักปิดทองตกลงมาจากเจดีย์จึงอัญเชิญไปไว้ที่วิหารหลวง ต่อมารักที่ทาไว้ที่ปลายพระนาสิกได้กระเทาะออก จึงเห็นเป็นแก้ว เจ้าอาวาสจึงขัดสีเอารักและทองที่ปิดออกจนหมด ปรากฏว่าเป็นพระแก้วมรกตทั้งองค์ พระเจ้าสามฝั่งแกนทราบข่าวจึงอัญเชิญไปเชียงใหม่ แต่ขบวนช้างที่นำพระแก้วไม่ยอมไปทางเชียงใหม่ กลับตื่นวิ่งไปนครลำปาง หมื่นโลกนาถจึงขอเอาไว้ประดิษฐานที่นครลำปางนานถึง ๓๒ ปี ก่อนที่อัญเชิญไปเชียงใหม่ ปัจจุบันพระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร ได้ประกาศขึ้นทะเบียน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๕๒ ตอน ๗๕ ลงวันที่ ๘ มี.ค. ๒๔๗๘ (กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน จ.เชียงราย ที่ปรากฏในหนังสือดังกล่าวทั้งหมด ๓๔ รายการด้วยกัน อยู่ที่ อ.เมือง ๕ รายการ อ.เชียงแสน ๒๖ รายการ กิ่ง อ.เวียงชัย ๑ รายการ อ.เทิง ๑ รายการ และ อ.เวียงป่าเป้า ๑ รายการ)

นอกจากนั้น พระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว เจ้าคณะภาค ๖ เล่าประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกต และวัดพระแก้ว จ.เชียงราย ในหนังสือขนาดเล็กชื่อวัดพระแก้ว หนา ๓๖ หน้า เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงสิ่งสำคัญในวัด พระเจดีย์ วัดพระแก้ว เชียงราย พระธรรมราชานุวัตร เขียนถึงพระเจดีย์องค์ปัจจุบันที่เคยบรรจุพระแก้วมรกตว่าเป็นพระเจดีย์ที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลม ฐานแปดเหลี่ยมยกเก็จ (ตั้งแต่ฐานล่างสุดจนถึง ฐานบัวถลาบนสุดที่รองรับองค์ระฆัง) ประกอบด้วยชุดฐานปัทม์แปดเหลี่ยมยกเก็จประดับลวดบัว เส้นบน ๒ เส้น เส้นล่าง ๒ เส้น วางอยู่บนชุดฐานบัวถลาแปดเหลี่ยมยกเก็จ ๒ ชั้น (แต่ละชั้นประกอบด้วยฐานเขียงชั้นบัวคว่ำ และหน้ากระดานท้องไม้) และฐานเขียงแปดเหลี่ยมยกเก็จ ๓ ชั้น ลดหลั่นกัน เหนือฐานปัทม์ขึ้นไปเป็นขุดฐานเขียงแปดเหลี่ยมยกเก็จ ๓ ชั้น ลดหลั่นกัน แล้วต่อด้วยชุดบัวถลาแปดเหลี่ยมยกเก็จ ๕ ชั้น ลดหลั่นกัน (แต่ละชั้นประดับลวดบัวขนาดใหญ่หนึ่งเส้น ท้องไม้ที่หน้ากระดาน) ถัดขึ้นมาเป็นชุดกลีบบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์ระฆังขนาดใหญ่ ประดับเส้นลวดบัวแบบเหลี่ยมรัดรอบบริเวณองค์ระฆัง เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์ทรงสูงปล้องไฉนขนาดใหญ่ ๙ ชั้น รองรับปลียอดและฉัตร ๙ ชั้น เหนือสุดประดับลูกแก้ว พระเจดีย์องค์เดิมน่าจะสร้างมาตั้งแต่แรกสร้างวัด ต่อมาได้ถูกอสนีบาต ทำให้พังทลายลงเมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๗ จึงได้ค้นพบพระแก้วมรกต กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ ต่อมาได้ชำรุดทรุดโทรมเสื่อมสภาพตามกาลเวลา พระครูธรรมวงศ์วิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดพระแก้วในขณะนั้น (ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์) ได้บูรณะซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ แล้วเสร็จ ๖ เม.ย. ๒๔๙๗

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๓ พระเจดีย์อยู่ในสภาพทรุดโทรมลงอีก พระราชรัตนากร (สมณศักดิ์ของเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันในขณะนั้น) จึงบูรณปฏิสังขรณ์ โดยกะเทาะปูนเก่าออกและฉาบปูนใหม่ หุ้มทองเหลืองประดับด้วยทองจังโก้และลงรักปิดทองพระเจดีย์ทั้งองค์ พร้อมกับได้ทำยอดฉัตรใหม่ ๙ ชั้น ทำด้วยเงินแท้บริสุทธิ์ ลงรักปิดทอง และดำเนินการปรับปรุงลานพระเจดีย์และปริมณฑลให้มีภูมิทัศน์สวยงาม การบูรณะพระเจดีย์ครั้งนี้ เพื่อถวายเป็พระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในมหามงคลเจริญพระชนมายุ ๙๐ พรรษา วันที่ ๒๑ ต.ค. ๒๕๓๓ โดยเริ่มดำเนินการบูรณะใน พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้วเสร็จ พ.ศ. ๒๕๓๘ และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จฯ เป็นประธานยกยอดฉัตรพระเจดีย์ เมื่อวันที่ ๒๖ พ.ย. ๒๕๔๑

จะเห็นได้ว่า เจดีย์วัดพระแก้วได้รับการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้งหากไม่ทราบประวัติหรือไม่พิจารณาอย่างละเอียดแล้ว ก็จะเห็นว่าเป็นของที่สร้างขึ้นใหม่ ไม่มีร่องรอยของเก่า ทั้งๆ ที่เป็นเจดีย์ประวัติศาสตร์แห่งการค้นพบพระแก้วมรกต

หอพระหยกเชียงราย
พระธรรมราชานุวัตร เล่าถึงเหตุผลในการสร้างหอพระหยกว่าวัดในเขตภาคเหนือสมัยโบราณนอกจากจะมีอุโบสถ วิหาร ศาลากุฏิ หอฉัน หอธรรม หอกลอง ฯลฯ แล้ว ยังมีหอพระ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของวัดอีกด้วย หอพระหยกเชียงรายนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญเช่นกัน

หอพระหยกเชียงรายเป็นอาคารไม้ ทรงล้านนาโบราณ ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ภายในหอพระหยกมีพระพุทธรตนากรนวุติวัสสานุสรณ์มงคล นามสามัญว่า พระหยกเชียงราย ประดิษฐานในบุษบกทำด้วยไม้แกะสลักปิดทอง สูง ๕.๖๐ เมตร เรือนยอดบุษบกทำด้วยไม้สักสลักลวดลาย ลงรักปิดทองประดับกระจก มีฉัตร ๗ ชั้น ทำด้วยเงินแท้ลงรักปิดทอง เรียกว่า ฉัตรเงินฉัตรทอง มีส่วนสูง ๔๐ เซนติเมตร องค์พระพุทธรูปทำด้วยหยกจากประเทศแคนาดา ซึ่งมิสเตอร์ฮูเวิร์ด โล นำมาถวาย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔๗.๙ เซนติเมตร สูง ๖๕.๙ เซนติเมตร ทรงเครื่องแบบเชียงแสน (พระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดปัจจุบัน ได้สร้างถวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑) สร้างโดยคณะสงฆ์และชาว จ.เชียงราย ทั้งนี้ได้รับความอุปถัมภ์จาก พล.อ.ชาติชาย และท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัน เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในมหามงคลทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐ พรรษา และเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่า วัดพระแก้วแห่งนี้ค้นพบพระแก้วมรกต โดย กนก วิศวะกุล เป็นผู้ปั้นหุ่นต้นแบบพระหยกเชียงรายและแกะสลักโดยนายช่างแกะสลักจากโรงงานวาลินนานกู เมืองปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๖ ม.ค. ๒๕๓๔ ในวันที่ ๑๙ ต.ค. ๒๕๓๔ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์หอพระหยก และในวันที่ ๒๐ ก.ค. ๒๕๔๐ อาราธนาพระหยกเชียงรายขึ้นประดิษฐานบนบุษบกภายในหอพระหยก และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จฯ ไปเปิดหอพระหยกในวันที่ ๒๖ พ.ย. ๒๕๔๑ ผนังด้านในโดยรอบหอพระหยก ตบแต่งด้วยแผ่นหยก มีภาพเขียน เป็นภาพเหตุการณ์สร้างหอพระหยก การสร้างพระหยกเชียงรายและประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกต จำนวน ๙ ภาพ แต่ละภาพมีข้อความบรรยาย โดยพระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

เมื่อมีเวลาไปแอ่วเมืองเหนืออย่าลืมแวะวัดที่เป็นประวัติศาสตร์ยาวนานแห่


ข้อมูล : วารสารโพธิยาลัย วัดจากแดง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 พฤษภาคม 2560 15:07:03 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
น้ำพุร้อนธรรมชาติเวียงป่าเป้า เชียงราย
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 3827 กระทู้ล่าสุด 28 มกราคม 2556 13:36:31
โดย หมีงงในพงหญ้า
เปิดประวัติ “ระเบียงคด” วัดพระแก้ว ถอดรหัสจิตรกรรม “รามเกียรติ์”
สุขใจ ไปรษณีย์
ใบบุญ 0 1916 กระทู้ล่าสุด 03 พฤศจิกายน 2559 19:48:20
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อทองเพชร จันทโชโต วัดชลธาราราม บ้านท่าแพ ต.เมือง อ.เมือง จ.เลย
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1762 กระทู้ล่าสุด 21 กุมภาพันธ์ 2560 20:15:38
โดย ใบบุญ
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธัมมปัญโญ) วัดศรีโคมคำ ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 707 กระทู้ล่าสุด 30 มิถุนายน 2563 14:22:41
โดย ใบบุญ
วัดห้วยปลากั้ง อ.เมือง จ.เชียงราย
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 180 กระทู้ล่าสุด 22 มีนาคม 2566 18:07:35
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.347 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้