[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 22:50:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีเพาะเมล็ดเหรียง  (อ่าน 9738 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 มีนาคม 2560 11:58:24 »


เมล็ดเหรียงมีลายเห็นเด่นชัด - ลายโค้งมนจากส่วนล่าง ส่วนปลายเมล็ดลายจะมน


นำเมล็ดเหรียงมาตัดตรงปลายของเม็ด ที่มีรอยหยักหรือส่วนแหลมของลาย เพื่อเปิดให้แตกหน่อ


นำไปแช่น้ำสะอาด 1 คืน





เตรียมภาชนะที่เพาะ ให้น้ำไหลผ่านได้


วางผ้ารองภาชนะ แล้วใส่ลูกเหรียงที่แช่น้ำแล้วเกลี่ยให้เสมอกัน


วางผ้าปิดทับด้านบนให้มิดชิด รดน้ำให้ชุ่ม  ผู้โพสท์เพาะไม่มากนัก คะเนรับประทาน 1 มื้อ
จึงใช้ผ้าขาวบางรองเมล็ดลูกเหรียง ถ้าเพาะประมาณมากทราบมาว่าเขารองด้วยทรายแล้วใช้ทรายกลบทับ
รดน้ำเช้า-เย็น ประมาณสองสามวันต้นอ่อนจะแตกหน่อ พอยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
นำไปรับประทานได้ (โดยแกะเปลือกเมล็ดออกก่อน)







ผู้โพสท์มีโอกาสไปพักผ่อนที่อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นบ้านของน้องสะใภ้ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ทำให้ไม่ลืมพระคุณท่านพ่อเฒ่าแม่เฒ่า ซึ่งเป็นบิดามารดาของน้องสะใภ้ ก่อนจากลาในเช้าวันนั้น พ่อเฒ่าเสรีได้สอนวิธีการเพาะเมล็ดลูกเหรียง และมอบเมล็ดส่วนหนึ่งให้แก่ผู้โพสท์ไว้เพาะรับประทานเอง เมล็ดเหรียงเหล่านี้มีมากในป่าบนภูเขาซึ่งไม่ไกลจากบ้าน พอฝักแก่เต็มที่จะร่วงหล่นลงมาที่พื้นดิน พ่อเฒ่าจะไปเที่ยวหาเก็บรวบรวมมาแล้วแกะเมล็ดใส่ถุงไว้เพาะรับประทาน

ต้นเหรียงเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีลำต้นมีความสูงได้ถึง 50 เมตร ลักษณะโดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกับสะตอ แต่จะแตกต่างกันตรงที่พุ่มใบของต้นเหรียงมักจะเป็นพุ่มกลม ไม่แผ่กว้างมากนัก เปลือกต้นเรียบ ที่กิ่งก้านมีขนปกคลุมขึ้นอยู่ประปราย และเป็นต้นไม้ที่ชอบแสงสว่างและพื้นที่ค่อนข้างชุ่มชื้น มักจะเริ่มผลัดใบในช่วงที่ออกช่อดอก และใบจะหลุดร่วงจนหมดต้นเมื่อผลเริ่มแก่พร้อมๆ ไปกับใบอ่อนที่จะเริ่มผลิออกมาใหม่

ผลเหรียง หรือ ฝักเหรียง กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 22-28 เซนติเมตร ตัวฝักตรง ฝักเมื่อแก่เต็มที่เปลือกจะแข็งและมีสีดำ ในแต่ละฝักจะมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดประมาณ 11 x 20 เซนติเมตร หนึ่งฝักมีเมล็ดประมาณ 20 เมล็ด โดยจะออกผลหรือฝักในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และฝักจะแก่ในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

ลูกเหรียง หรือ หน่อเหรียง มีลักษณะคล้ายกับถั่วงอกหัวโตแต่จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าและมีสีเขียว มีรสมันและกลิ่นฉุนเล็กน้อย เกิดมาจากการนำเมล็ดเหรียงของฝักแก่ไปเพาะเพื่อให้เมล็ดงอกรากและมีใบเลี้ยงโผล่ขึ้นมาเหมือนกับถั่วงอก จึงจะสามารถนำมารับประทานได้

ประโยชน์ของเหรียง
1.ลูกเหรียง หรือหน่อเหรียง หรือเมล็ดเหรียง ใช้รับประทานสดแกล้มกับน้ำพริกหรือแกงใต้ หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น การทำแกง แกงหมูลูกเหรียง ผัด หรือจะนำไปทำเป็นผักดองก็ได้
2.เหรียงจัดเป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง จึงมีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงดินได้ดี ส่วนของใบเหรียงนั้นมีขนาดเล็กจึงเหมาะแก่การนำมาใช้ปลูกควบคู่ไปกับพืชชนิดอื่น ๆ เช่น การปลูกกาแฟ ก็จะช่วยทำให้ผลผลิตของกาแฟสูงขึ้นติดต่อกัน

คุณค่าทางโภชนาการของเหรียง ในส่วนที่รับประทานได้ ต่อ 100 กรัม
• พลังงาน 88 แคลอรี
• คาร์โบไฮเดรต 6.7 กรัมแกงหมูลูกเหรียง
• โปรตีน 7.5 กรัม
• ไขมัน 3.5 กรัม
• เส้นใยอาหาร 1.3 กรัม
• น้ำ 79.6 กรัม
• วิตามินเอ 22 หน่วยสากล
• วิตามินบี 1 0.06 มิลลิกรัม
• วิตามินบี 2 0.62 มิลลิกรัม
• วิตามินบี 3 0.1 มิลลิกรัม
• วิตามินซี 83 มิลลิกรัม
• ธาตุแคลเซียม 182 มิลลิกรัม
• ธาตุเหล็ก 2.0 มิลลิกรัม
• ธาตุฟอสฟอรัส 3.8 มิลลิกรัม


แหล่งที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย. ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม.







พ่อเฒ่าเสรีกับอุปกรณ์ตัดปลายเมล็ดลูกเหรียง ท่านทำขึ้นอย่างง่ายๆ ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน
โดยตัดลำไผ่ ผ่ากลางลำ ตัดปลายให้แหลมพอที่จะเสียบในร่องกระดานเตียงไม้่ที่ต่อขึ้นเองไว้นั่งพักผ่อนนอกตัวบ้าน
ส่วนกลางของไม้ไผ่ ใช้ปลายมีดเจาะให้เป็นรู มีขนาดพอที่จะเสียบเมล็ดเหรียงส่วนที่จะตัดทิ้งออกไปได้


เสียบเมล็ดลูกเหรียงในรูที่เจาะไว้ แล้วตัดส่วนที่โผล่ออกทิ้ง
วิธีนี้ ทำให้ตัดปลายเม็ดลูกเหรียงซึ่งแข็งมากออกอย่างง่ายดาย และปลอดภัยจากคมมีดอีกด้วย




ลูกเหรียงที่ตัดปลายทิ้งแล้ว พร้อมที่จะนำไปแช่น้ำ เพาะรับประทาน






ผู้เฒ่าเสรี ชี้ความสูงของต้นเหรียงให้ดูต้นยางข้างบ้านเป็นตัวอย่าง ว่าต้นเหรียงสูงพอๆ กับต้นยางนั่นทีเดียว

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2560 05:51:55 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.346 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้