[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 05:37:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พญานาค ความเชื่ออันเป็นอมตะ  (อ่าน 2883 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2560 20:10:25 »




พญานาค ความเชื่ออันเป็นอมตะ

เรื่องราวเกี่ยวกับ “พญานาค” สำหรับประเทศไทยนั้นมีมาทุกยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นประเพณีบั้งไฟพญานาค, พญานาค ณ ป่าคำชะโนด แม้แต่ปีนักษัตรชะตาราศี ยังมี “ปีมะโรง” อันสื่อถึงความยิ่งใหญ่และพลังอำนาจ ความเชื่อเรื่อง “พญานาค” มีความเป็นมาอย่างไร?

พญานาค จะมีรูปลักษณ์และนามเรียกขานแตกต่างกันไปตามความเชื่อของแต่ละภูมิภาค แต่มีลักษณะพื้นฐานเหมือนกัน คือ เป็นงูตัวใหญ่ มีหงอนสีทอง ตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลา มีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี ทั้ง สีเขียว สีดำ หรือ 7 สี เหมือนสีรุ้ง ลักษณะสำคัญที่จะบ่งบอกตระกูลของพญานาค คือ “เศียร” ถ้าตระกูลธรรมดาจะมีเพียงเศียรเดียว ส่วนตระกูลที่สูงขึ้นไปก็จะมี 3 เศียร 5 เศียร 7 เศียร หรือ 9 เศียร ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก “พญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช)” ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร “พญานาค” ยังเกิดได้ทั้งในน้ำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทธิฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษ ทั้งยังสามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงามได้ด้วย

คติความเชื่อของลัทธิพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่า พญานาคเป็นผู้ใกล้ชิดกับเทพองค์ต่างๆ และเป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ ซึ่งจะเห็นได้จากคำพยากรณ์ อาทิ ปีนี้นาคให้น้ำ 1 ตัว แปลว่าน้ำจะมาก จะท่วมที่ทำการเกษตร ถ้าปีไหนนาคให้น้ำ 7 ตัว หมายถึง น้ำจะน้อย เพราะนาคกลืนน้ำไว้ (จำนวนพญานาคกับปริมาณน้ำจะกลับกัน)

คติความเชื่อและตำนานต่างๆ เกี่ยวกับ “พญานาค” มักปรากฏในดินแดนที่ติดกับแม่น้ำโขง โดยเชื่อกันว่าเป็น “เมืองบาดาล” อันเป็นที่อยู่อาศัยของ “พญานาค” ซึ่งจะเป็นพื้นที่ในแถบภาคเหนือและภาคอีสานของไทย ผู้คนที่อยู่อาศัยก็จะสืบสานตำนานความเชื่อและเคารพศรัทธาอย่างต่อเนื่องสืบมา ยกตัวอย่างเช่น

ตำนานเมืองบาดาล อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ด้านหัวเมืองจะมีลำห้วยหลวงไหลออกมา เรียกว่า ปากห้วยหลวง ตรงข้ามกับ อ.โพนพิสัย คือ บ้านโดน ในฝั่งลาว

“…ในหน้าแล้งจะมีหาดทรายขึ้นกลางแม่น้ำโขงแถบบ้านโดน วันหนึ่งหญิงสาวชาวบ้านโดนลงมาตักน้ำที่หาดทราย เพราะบริเวณนั้นจะมีน้ำออกบ่อ (น้ำริน) แล้วหายตัวไป พ่อแม่ญาติพี่น้องตามหาเท่าไหร่ก็ไม่พบ จนครบ 7 วัน คิดว่าเสียชีวิตแล้ว จึงจัดทำบุญอุทิศให้ ในราวเที่ยงคืนของวันดังกล่าว หญิงสาวคนนั้นก็ปรากฏตัวขึ้น สร้างความตระหนกตกใจเป็นอันมาก สุดท้ายนางได้เล่าเรื่องราวให้ฟังว่า … ตอนไปตักน้ำ เห็นหมูตัวหนึ่งยกเท้าหน้าเรียกให้เข้าไปหา เมื่อเดินเข้าไปหมูตัวนั้นก็บอกให้หลับตาจะพาลงไปเมืองบาดาล สักพักหนึ่งเมื่อลืมตาปรากฏว่าตนมาอยู่อีกเมืองหนึ่งเหมือนๆ กับเมืองมนุษย์ แต่แปลกตรงที่ทุกคนนุ่งผ้าแดงและมีผ้าพันศีรษะสีแดงเหมือนกัน โดยด้านหน้าปล่อยให้ผ้าแดงห้อยลงเหมือนกับหัวงู เมื่อเดินตามชายคนนั้นไป (หมูกลายเป็นคน) ผู้คนก็จะถามว่า “นำมนุษย์ลงมาทำไม” ชายคนนั้นก็บอกว่า “พามาเที่ยวดูเมือง” และได้บอกแก่หญิงสาวว่าเมืองบาดาลนี้จะมีงานสมโภชในวันออกพรรษาของเมืองมนุษย์ โดยตลอด 3 เดือนที่เข้าพรรษาชาวเมืองจะจำศีลปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพุทธบูชา หลังจากเดินชมเมืองอยู่ไม่นาน ชายคนนั้นก็ได้นำขึ้นมาส่งบริเวณหาดทรายเหมือนเดิม … พ่อแม่ญาติพี่น้องได้ฟังดังนั้น จึงจัดงานบุญทำพิธีสู่ขวัญให้ หลังจากนั้น 7 วัน หญิงสาวก็ได้ล้มเจ็บลงและเสียชีวิตในที่สุด…”

สืบเนื่องมาถึง ตำนานบั้งไฟพญานาค “… ใน “วันออกพรรษา” เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งพญานาคแห่งแม่น้ำโขงต่างชื่นชมยินดี จึงเฮ็ด (จุด) บั้งไฟถวายการเสด็จกลับ (ที่เห็นเป็นลูกไฟแดงอมชมพู ที่พุ่งขึ้นจากแม่น้ำโขงสู่ท้องฟ้า) จนกลายเป็นประเพณีสืบมาในวันออกพรรษาทุกปี…”

หรือ ตำนานป่าคำชะโนด ณ วัดศิริสุทโธ (วัดป่าคำชะโนด) อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี เป็นอีกแห่งหนึ่งซึ่งเกิดตำนานความเชื่อเรื่องพญานาค ว่า “เกาะคำชะโนดไม่เคยจมน้ำ เพราะมีพญานาคคอยปกปักรักษา” หรือ “ตำนานผีจ้างหนัง” รวมถึงปรากฏการณ์และประสบการณ์ต่างๆ ที่คนท้องถิ่นได้พบเจอและเล่าสืบต่อกันมาครับผม


ข่าวสดออนไลน์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2560 19:44:45 »




พญานาคกับพระพุทธศาสนา

คติความเชื่อเรื่อง “พญานาคกับศาสนา” มีให้เห็นทั้งในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ในศาสนาพราหมณ์ “พญานาค” มีความสำคัญหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นบัลลังก์ขององค์พระวิษณุในไวกูณฑ์ ที่เรียกว่า “วิษณุอนันตศายินปัทมะนาภะ” หรือ “นารายณ์บรรทมสินธุ์” หรือเรื่องราวของนาคที่เป็นศัตรูกับพญาครุฑ ใน “ครุฑปุราณะ” ตลอดจนการกล่าวถึงนาคในปุราณะต่างๆ

สำหรับพุทธศาสนา “พญานาค” ดูจะเกี่ยวพันเป็นอย่างมาก เพราะหากพิจารณาอาคารสถาปัตย กรรมทางศาสนาแล้ว จะพบเห็นเค้าเงื่อนที่ “พญานาค” ทำหน้าที่ปกป้องดูแลพระศาสนาอย่างเอาจริงเอาจัง เช่น การทำช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ เป็นรูปพญานาคเลื้อยลงมา การทำคันทวยเป็นรูปนาค เรียกกันว่า “นาคทัณฑ์” ล้อมรอบอุโบสถวิหารไว้ หรือ “นาคสะดุ้ง” ที่ทอดลำตัวยาวตามบันได ตามความเชื่อเรื่อง “บันไดนาค” ตอนพระพุทธองค์เสด็จลงมาจากดาวดึงส์ เป็นต้น

ถ้าได้ศึกษา “พุทธประวัติ” ก็จะเห็นได้ว่ามีเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับ “พญานาค” อยู่หลายช่วงหลายตอน อันอาจเป็นที่มาของความเชื่อถือและการ เกี่ยวพันของ “พญานาค” กับ “พุทธสถาน” ดังกล่าวข้างต้น อาทิ

…เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงตัดสินพระทัยเลิกกระทำทุกรกิริยา และนางสุชาดานำข้าวปายาสไปถวาย หลังจากเสวยหมดแล้วได้ทรงนำถาดทองไปลอยในแม่น้ำเนรัญชรา ถาดทองได้ลอยทวนกระแสน้ำไปประมาณ 80 ศอก พอถึงวนแห่งหนึ่งก็จมลงไปยังที่อยู่แห่ง “พญากาฬนาคราช” ผู้มีอายุมากและหลับอยู่เป็นนิตย์ จะตื่นต่อเมื่อได้ยินเสียง “ถาดทอง” ที่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงลอยลงไปกระทบกับถาดที่มีอยู่เดิม ตามประวัติว่ามีอยู่แล้ว 3 ถาด เป็นของพระพุทธกุกกุสันธ 1 พระพุทธโกนาคมน์ 1 และพระพุทธกัสสป 1 แสดงว่า พญากาฬนาคราชได้พบพระพุทธเจ้ามาแล้ว 3 พระองค์ ซึ่งจะตื่นอีกครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าองค์ที่ 4 และจะมีอายุยืนต่อไป

…คราหนึ่ง พญานาคตนหนึ่งได้นั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธองค์แล้วเกิดศรัทธา จึงแปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา อยู่มาวันหนึ่งได้เข้าจำวัดในตอนกลางวัน ช่วงจำวัดนั้นมนต์ได้เสื่อมลงจึงกลายร่างเป็นงูใหญ่จนพระภิกษุรูปอื่นไปเห็นเข้า ครั้นพระพุทธองค์ทรงทราบ จึงให้พระภิกษุนาคนั้นสึกออกไป เพราะเป็นสัตว์เดรัจฉานไม่สามารถบวชในพระพุทธศาสนาได้ นาคตนนั้นผิดหวังมากจึงขอถวายคำว่า “นาค” ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความศรัทธาของตน จึงได้เรียกการบวชขั้นตอนแรกว่า “บวชนาค” จากนั้นมาพระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไม่ให้สัตว์เดรัจฉานบวชอีกเป็นอันขาด ดังนั้นก่อนที่พระอุปัชฌาย์จะอุปสมบทให้แก่ผู้ขอบวชจะต้องถาม “อันตรายิกธรรม (ข้อขัดข้อง)” ที่จะทำให้ผู้นั้นบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้รวม 8 ข้อเสียก่อน หนึ่งในนั้นก็คือ “ท่านเป็นมนุษย์หรือเปล่า”

…ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธองค์เสด็จพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 รูป เพื่อไปยังเทวโลก ได้ผ่านวิมานของเหล่าพญานาค มี “นันโทปนันทนาคราช” เป็นประธาน กำลังมีการรื่นเริงกันอย่างสนุกสนาน เมื่อเห็นคณะสงฆ์ผ่านไปเหนือวิมานจึงโกรธมาก ตรงไปยังเขาพระสุเมรุแปลงตนเป็นนาคขนาดใหญ่พันโอบเขาพระสุเมรุถึง 7 รอบ แล้วแผ่พังพานบังชั้นดาวดึงส์เอาไว้ เพื่อไม่ให้พระพุทธองค์และพระสงฆ์ผ่านไปได้ พระโมคคัลลานะตามเสด็จไปด้วยจึงอาสาปราบ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงอนุญาต ในที่สุดนันโทปนันทนาคราชยอมพ่ายแพ้ต่ออิทธิฤทธิ์ของพระโมคคัลลานะและยอมให้พระพุทธเจ้าพร้อมพระอรหันต์ผ่านไปโดยดี ฯลฯ

ยังมีพุทธประวัติอีกหลายตอนที่มีการกล่าวถึง “พญานาค” อีกหลายตน ที่มีทั้งดีและร้าย แต่ด้วยพระบารมีแห่งพระพุทธองค์ ทรงสามารถ “ปราบ” และ “ปราม” ให้ “พญานาค” ทั้งหลายยอมสิโรราบหันมายอมรับนับถือในพระพุทธศาสนา ดังนั้นจึงมีพญานาคมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ และยังมีปรากฏในบทสวดมนต์หลายบทเช่น “บทสวดมนต์มหาสมัยสูตร” ก็ได้ออกชื่อพญานาคหลายพวก ซึ่งพร้อมด้วยเทวดามาฟังพระธรรมเทศนากันอย่างเนืองแน่น เมื่อฟังพระธรรมเทศนาจบแล้วก็แยกย้ายกันกลับวิมานของตน หรือ “บทขันธปริตร” อันเป็นมนต์ภาวนาให้พ้นจากการประทุษร้ายของงู ตลอดจนภูตผีปีศาจทั้งหลาย ตามคำแปลท้ายบทที่ว่า “เทพยดาและนาคทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก ซึ่งสถิตอยู่ในอากาศก็ดี สถิตอยู่ในภาคพื้นก็ดี เทพยดาและนาคเหล่านั้นจะตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย ด้วยความเป็นผู้ไม่มีโรคด้วยความสุข” เป็นต้น

ยังมี “พญานาค” สำคัญอีกตนหนึ่ง คือ “พญามุจลินทนาคราช” ซึ่งเป็นมูลเหตุให้เกิด “พระพุทธรูปปางนาคปรก” ที่มีพุทธลักษณะงดงามสง่าและสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา ซึ่งจะได้กล่าวถึงในคราวต่อไปครับผม


คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พญานาค
ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
時々๛कभी कभी๛ 0 2282 กระทู้ล่าสุด 01 กรกฎาคม 2554 12:47:24
โดย 時々๛कभी कभी๛
พญานาค
ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
時々๛कभी कभी๛ 0 4126 กระทู้ล่าสุด 01 กรกฎาคม 2554 13:00:25
โดย 時々๛कभी कभी๛
พญานาค ในทรรศนะของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 566 กระทู้ล่าสุด 20 กรกฎาคม 2563 15:56:44
โดย Kimleng
พญานาค กับ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 657 กระทู้ล่าสุด 27 เมษายน 2565 11:41:19
โดย Kimleng
ตำนานพญาน้อน ? เหรา มอม พญานาค แมงสี่หูห้าตา พวกมันไปอยู่หน้าวิหารทำไม ?
ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
มดเอ๊ก 0 203 กระทู้ล่าสุด 24 กุมภาพันธ์ 2566 18:01:08
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.258 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 09:37:42