[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 09:28:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่  (อ่าน 8466 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
wondermay
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 22 เมษายน 2554 14:14:52 »


เนื่องจากเมื่อประมาณกลางปี 53
wondermay ได้มีโอกาสไปทำโปรเจค studio design ซึ่งเป็นวิชาออกแบบบังคับสำหรับนิสิตชั้นปีห้า ที่วัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งสถานที่อาจารย์ผู้สอบเป็นคนเลือกเอง นับว่าคุ้มที่ได้ไปทำโปรเจคออกแบบที่นี้ถึงแม้ว่าจะเป็นโปรเจคสมมุต แต่ก็ทำให้ช่วงนั้น ประมาณสามเดือนกว่า
ที่อยู่ในขั้นตอนการทำแบบ คิดวิเคราะห์ ค่อนข้างอินไปกับหลักธรรมและบรรยากาศของสถานที่ทางจิตใจ

วัดอุโมงค์เป็นวัดที่ค่อนข้างแตกต่างจากวัดอื่นๆ ในหลายๆด้าน ซึ่งจะเห็นจากที่บรรยายต่อๆไปค่ะ
สองอาทิตย์ก่อน เพิ่งได้ยินข่าวชาวบ้านชุมชนวัดอุโมงค์ออกมาต่อต้าน อาคารหอพักและสถานบันเทิงที่เริ่มสร้างเข้ามาในซอยวัดอุโมงคืลึกขึ้นเรื่อยๆ เห็นแล้วคิดถึง


วัดอุโมงค์ และสวนพุทธธรรม
ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่




ประวัติความเป็นมาวัดอุโมงค์

วัดอุโมงค์(อุโมงค์เถรจันทร์)
เป็นชื่อเรียกวัดเก่าที่ "พระเจ้ากือนาธรรมิกราช" ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อถวายเพื่อให้พระมหาเถรจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฏกอาศัย

สวนพุทธธรรม
เป็นชื่อใหม่ที่ตั้งขึ้นเรียกสถานที่ป่าผืนใหญ่ที่ปกคลุมวัดร้างโบราณ ที่เป็นที่อยู่ของภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ผู้แสวงหาความสงบ พื้นที่ซึ่งเรียกว่า
สวนพุทธธรรมนี้ รวมเอาวัดไผ่11กอ วัดอุโมงค์เถรจันทร์ และวัดอื่นๆ (ที่อยู่ใกล้วัดอุโมงค์ทั้ง 4 ด้าน) อีก 4 วัดเอาไว้ด้วยทั้งหมด



พระเจ้ามังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ตกลงพระทัยที่จะสร้างเมืองใหม่ที่ป่าเลาคา ระหว่างแม่น้ำปิงกับดอยสุเทพแล้ว ได้เชิญพระสหาย
ร่วมน้ำสาบานทั้งสองคือ พระเจ้ารามคำแหงมหาราช เจ้าผู้ครองนครสุโขทัย และพระเจ้างำเมือง เจ้าผู้ครองนครพะเยา มาปรึกษาการสร้างเมืองหลังจากที่
สามกษัตริย์ได้ตกลงกันว่า ควรสร้างราชธานีใหม่ กษัตริย์ทั้งสามก็พร้อมใจกันตั้งนามเมืองใหม่ว่า       ”เมืองนพบุรี ศรีนครพิงค์ เชียงใหม่”

ต่อมา พระเจ้ามังรายมหาราช ได้ทรงทราบว่า พระเจ้ารามคำแหงมหาราช ได้ส่งคนไปนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองลังกา ปรากฏเกียรติคุณว่า พระสงฆ์ลังกาแตกฉาน
พระไตรปิฎกเคร่งครัดในพระธรรมวินัยยิ่งกว่าพระไทยที่มีอยู่เดิม เกิดศรัทธาเสื่อมใส ได้ส่งเจ้าหน้าที่ขอพระสงฆ์ลังกา จากพระเจ้ารามคำแหงมหาราชมา 5 รูป
และโปรดสร้างวัดฝ่ายอรัญวาสีเฉพาะพระลังกาขึ้นวัดหนึ่งต่างหากที่บริเวณป่าไผ่ 11 กอ


เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการนำพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์มาประดิษฐานในลานนาไทยเป็นครั้งแรก จึงขอให้พระมหากัสสปะเถระเป็นผู้วางแผนผังวัด
ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย พระเจ้ามังรายมหาราชเป็นผู้อำนวยการสร้างวัดใหม่ตามแผนผังนั้น โดยยึดเอาแบบอย่างการสร้างวัดของเมืองลังกาเป็นแบบฉบับ
ทรงขนานนามว่า วัดเวฬุกัฏฐาราม (วัดไผ่ 11 กอ)


เมื่อพระเจ้ากือนาธรรมิกราช ครองราชสมบัติ พระองค์ได้บูรณะถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา และวัดเวฬุกัฎฐาราม เจดีย์ก็มีการพอกปูนซ่อมแซมใหม่ทับของเก่า
ได้ทรงรักษาทรวดทรงเดิมไว้ทั้งหมด ส่วนรูปภาพสีน้ำที่เขียนไว้ในอุโมงค์เจดีย์ที่พระเจ้ากือนาทรงสร้างใหม่



เมื่อทรงบูรณะเจดีย์ใหม่เสร็จแล้ว พระองค์ได้ทรงสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่ ถัดจากฐานพระเจดีย์ด้านเหนือขึ้นหนึ่งอุโมงค์ อุโมงค์ที่ทรงสร้างขึ้นใหม่นี้ทั้งใหญ่และสวยงามมาก
มีทางเข้าออก 4 ช่อง แต่ละช่องเดินติดต่อกันได้ทั่วถึงข้างฝาผนังด้านในอุโมงค์เจาะช่องสำหรับจุดประทีปให้เกิดความสว่างเป็นระยะ สะดวกแก่พระเดินจงกรม และภาวนาอยู่ข้างใน
เพดานอุโมงค์เขียนภาพต่างๆ ด้วยสีน้ำมันไว้ตลอดทั้ง 2 ช่อง ฝีมือที่เขียนดูจะเป็นช่างจีนผสมช่างไทยเมื่อสร้างอุโมงค์เสร็จและทำการฉลองแล้ว ได้ทรงขนานนามว่า วัดอุโมงค์
ชื่อวัดอุโมงค์จึงปรากฏมาตั้งแต่ครั้งนั้น








Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 22 เมษายน 2554 14:48:49 »


ข้อมูล ภาพ เนื้อหาทั้งหมด เป็นการรวบรวมโดยเพื่อนๆชั้นปีที่ 5
สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน สถาปัตย์จุฬารุ่น 74 (studio IA 74)
โดยเนื้อหาทั้งหมดผ่านการวิเคราะห์และประมวลแล้ว โดยมีที่มาจากการสัมพาษณ์ จดบันทึก
รังวัด ถ่ายรูป และบางส่วนจากอินเตอร์เน็ต


http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/172082_196677203679795_100000125511120_826907_4134615_o1.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่




อาณาบริเวณภายในวัดอุโมงค์

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture2copy-1.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture1copy.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture18copy.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture16copy.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่


มาดูรายละเอียดภายในอุโมงค์กันค่ะ

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture5.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture6copy.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture7copy.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture8copy.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture9copy.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture10copy.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture11copy.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 เมษายน 2554 14:56:53 โดย wondermay » บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 22 เมษายน 2554 14:58:45 »

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture12copy.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture13copy.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture14copy.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture15copy.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่


สิ่งที่สำคัญๆภายในวัดอุโมงค์

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture3copy.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

http://i1088.photobucket.com/albums/i328/wondermay/Capture17copy.jpg
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 22 เมษายน 2554 15:06:29 »


http://www.vcharkarn.com/varticle/38576


เปิดใจนักคณิตศาสตร์กับผลงานวิจัยชิ้นเอก วิทยาศาสตร์กับโบราณคดีที่วัดอุโมงค์

โบราณคดี เป็นวิชาที่ว่าด้วย การศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยผ่านทางการศึกษาหลักฐาน
ทางโบราณคดี ที่ได้มาจากการขุดค้นโบราณวัตถุ   การขุดแต่ง โบราณสถานและการศึกษาเอกสาร
ทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ เช่น ศิลาจารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร

การศึกษาทางโบราณคดีมักจะใช้ศาสตร์ด้านอื่นๆ เข้ามาใช้ร่วมกันเพื่อให้เรื่องราวในอดีตของมนุษย์
ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ  ธรณีวิทยา  สัตววิทยา  พฤกษศาสตร์  เรณูวิทยา
การกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น


อาจารย์อติชาต เกตตะพันธุ์  บัณฑิตโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (พสวท.)ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(สสวท.) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์   คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
และเป็นผู้ประสานงาน หน่วยวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ได้นำความรู้วิทยาศาสตร์มาใช้กับการศึกษาทางโบราณคดี

การใช้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาศึกษาโบราณคดีนั้นทำให้งานวิจัยด้านนี้น่าสนใจและน่าเชื่อถือ
มากยิ่งขึ้น ในส่วนของวิทยาศาสตร์นั้นคนทั่วไปคงพอจะทราบอยู่แล้ว ส่วนความรู้ทางคณิตศาสตร์
ทั้งเรขาคณิต พีชคณิต และการวัด ก็สามารถนำมาศึกษาทางโบราณคดีได้ ยกตัวอย่างเช่น

การสร้างมุมฉากของสิ่งก่อสร้างในประเทศตะวันตกในอดีตจะใช้เลขชุดพีธากอรัส  แต่ทางตะวันออกแถบสุวรรณภูมิกลับใช้แสงแดดในการสร้างมุมฉาก อาจารย์อติชาติ  เปิดเผยถึงสาเหตุที่สนใจทำงานวิจัยนี้
เพราะงานด้านนี้ยังมีคนศึกษาน้อย และน่าสนใจ ยังมีสิ่งที่น่าค้นคว้าอีกมากมาย



“ที่ผ่านมามีการศึกษางานจิตรกรรมวัดอุโมงค์มาอย่างต่อเนื่องโดยอาจารย์สุรชัย จงจิตงาม 
ภาควิชาศิลปะไทย  คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัย  ผ่าน “โครงการย้อนรอยอดีตจิตรกรรมวัดอุโมงค์”
 มานานกว่า 10 ปี และในปี พ.ศ. 2550     ผม    ดร. ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์  ซึ่งเป็นนักเรียนทุน
พสวท. รุ่นเดียวกับผม ทำงานภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มช.และอาจารย์สุรชัย จงจิตงาม
ได้ก่อตั้งหน่วยวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยเน้นการนำคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษาทางโบราณคดี  โดยงานวิจัยล่าสุด
ได้ศึกษาจิตรกรรมรวมทั้งการออกแบบอุโมงค์อย่างจริงจังผ่านงานวิจัยเรื่องจิตรกรรมฝาผนังและ
โครงสร้างเจดีย์วัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยวิธีการทางเคมีและคณิตศาสตร์เบื้องต้น”

การทำวิจัยงานวิจัยเรื่องจิตรกรรมฝาผนังและโครงสร้างเจดีย์วัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่
โดยวิธีการทางเคมีและคณิตศาสตร์เบื้องต้นนี้  ทำให้ได้เข้าใจถึงการจัดวางผังของอุโมงค์และเจดีย์
และความรู้เกี่ยวกับวัสดุและเทคนิคของการวาดภาพจิตกรรมฝาผนังภายในอุโมงค์ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเริ่มต้นในการสั่งสมองค์ความรู้ด้านเทคนิค วัสดุของจิตรกรรมล้านนา เพื่อที่จะขยายผลในการวิจัยศิลปกรรมล้านนาแห่งอื่นต่อไป

“การทำให้ภาพจิตรกรรมปัจจุบันที่เห็นลางเลือน กลับมาให้เห็นเป็นภาพที่สมบูรณ์อีกครั้งในลักษณะ
ของภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว(วีดีทัศน์) ที่มีสีสัน ทำให้เราสามารถจินตนาการความสวยงามของ
ภาพจิตกรรมฝาผนังในอดีตได้อย่างชัดเจน อันก่อให้เกิดความประทับใจแก่เยาวชน และบุคคลทั่วไป
จำนวนมาก เรามั่นใจว่าผลงานที่ได้เผยแพร่ ได้ทำให้มีผู้สนใจการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
มากยิ่งขึ้น ถ้ามองในแง่เศรษฐกิจก็เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่เน้นการนำเสนอในรูปแบบ
ที่ตื่นตาตื่นใจ เข้าใจง่าย และอิงกับผลงานวิจัย”

การทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้นถ้าทำวิจัยร่วมกับสาขาอื่นก็จะเป็นการบูรณาการที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูง
อย่างงานวิจัยนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างนักคณิตศาสตร์ นักเคมี และนักค้นคว้าทางศิลปะไทย

องค์ความรู้ที่นำมาใช้มีทั้ง เคมี คณิตศาสตร์ วิศวกรรมโครงสร้าง สถาปัตยกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ 
ศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี  เช่น การมองจิตรกรรมผ่านรังรังสีอินฟราเรด  (Infrared  Ray)   
การอนุรักษ์จิตรกรรมด้วยกระบวนการทางเคมี เช่น  การวิเคราะห์ชั้นสี เพื่อหาองค์ประกอบทางเคมี
และวัดทิศเพื่อหาแนวคิดในการจัดวางผังอุโมงค์และเจดีย์   การใช้น้ำยาแอมโมเนีย  รวมทั้งมีดผ่าตัดที่
ฝานผ่านชั้นหินปูน ที่ปกคลุมภาพจิตรกรรมมาหลายร้อยปี  ในการปฏิบัติงานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง
ทำให้เห็นชั้นของสีเขียวและสีแดงอันสดใส และยังพบลวดลายที่ซ่อนอยู่ภายใต้ความชำรุดลบเลือนของจิตรกรรม
 





ข้อมูลทั้งหมดที่ได้จะถูกนำมาประมวลผลและสร้างภาพจำลองคอมพิวเตอร์  3  มิติ   
และใช้ Computer – Generated Imagery หรือ CGI  ทำให้ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโมงค์
ได้กลับมามีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ขั้นตอนการทำวิจัยในส่วนของคณิตศาสตร์
จะมีการศึกษาการจัดผัง และกำหนดทิศ ของอุโมงค์และเจดีย์ โดยมีการวัดระยะทางอย่างละเอียดระดับเซนติเมตร และการวัดมุมละเอียดระดับองศา และวิเคราะห์ผลที่ได้จากการศึกษา

สำหรับการศึกษาทางเคมีจะมีการนำผงสีจากจิตรกรรมฝาผนังมาวิเคราะห์เพื่อหาวัสดุที่นำมาใช้ในการวาด
ภาพ โดยเปรียบเทียบกับผงสีที่ใช้อ้างอิง และยังมีการนำผนังปูนที่ชำรุดมาศึกษาโครงสร้างชั้นสีของ
จิตรกรรมฝาผนัง  โดยพบว่าภาพจิตรกรรมมีหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนตปกคลุมอยู่  แต่ทีมวิจัยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ทำให้ภาพชัดขึ้น เห็นสีทั้งสีแดง สีเขียว  และลวดลายที่ชัดเจนขึ้น

อาจารย์อติชาติกล่าวว่าตนเองนั้นมีความประทับใจในลายจิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์  เพราะในประเทศไทย
มีผลงานจิตรกรรมที่เก่าแก่อายุ 500 ปีขึ้นไปไม่เกิน 10 ชิ้น   ในภาคเหนือก็พบที่วัดอุโมงค์เชิงดอยสุเทพ
เพียงแห่งเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ ภาพจิตรกรรมฝาผนังก็ไม่ได้อยู่ในลักษณะภาพพุทธประวัติดังที่พบ
ในวัดส่วนใหญ่ แต่กลับเป็นภาพที่ซ้ำไปมาในลักษณะของกระดาษติดฝาผนัง (Wall Paper)  ซึ่งทำให้
งานชิ้นนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น ความโดดเด่นที่ชอบอีกอย่างหนึ่ง คือ ภาพเขียนที่พบให้สี
หลากลายสีมาวาด เช่นแดง เขียว เหลือง งานจิตรกรรมที่เคยพบมาไม่ค่อยจะใช้สีฉูดฉาดหลากหลาย
แบบนี้
 
สำหรับแรงบันดาลใจอย่างไรที่ทำให้เลือกเส้นทางเป็นนักคณิตศาสตร์นั้น นักคณิตศาสตร์ท่านนี้เล่าว่า
เลือกเรียคณิตศาสตร์  เพราะอยากเป็นพหูสูตรที่เข้าใจทุกสิ่ง

“ผมคิดว่าคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ก็เป็นพื้นฐานของวิชาส่วนใหญ่
 ตอนนี้แม้ผมรู้แล้วว่าคณิตศาสตร์ตอบปัญหาทุกอย่างไม่ได้ แต่มันก็ทำให้ผมเข้าใจพื้นฐานของศาสตร์อื่นๆ
ได้อย่างน่าพอใจ และเริ่มรู้ว่าหากไม่ได้ศึกษาคณิตศาสตร์ก็ยากที่จะรู้ถึงคุณค่า แนวคิด และความสวยงาม
ที่ซ่อนอยู่ในคณิตศาสตร์อย่างเต็มที่ ผมเองทำงานวิจัยทั้งสาขาคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และวิทยาศาสตร์
ประยุกต์  โดยมีการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์มาศึกษาทางโบราณคดี การลุกลามของไฟป่า และจลศาสตร์ของไหล ผมรู้สึกว่าโชคดีที่ได้เรียนในสิ่งที่ผมถนัดและสนใจ ซึ่งทำให้ผมมีความสุขเมื่อสอนนักศึกษา
และเมื่อค้นพบสิ่งใหม่จากงานวิจัย”


อาจารย์อติชาติทิ้งท้ายว่า  คนที่เรียนจบคณิตศาสตร์จะคิดเป็นระบบ   ดังนั้นจะสามารถทำงานได้หลายอย่าง
และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เร็วกว่าคนทั่วไป ศิษย์เก่าที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ไปทำงานในหลายด้าน เช่น ครู อาจารย์มหาวิทยาลัย นักคณิตศาสตร์ประกันภัย นักอุตุนิยมวิทยา เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ เจ้าหน้าที่นโยบายและแผน นักวิเคราะห์ตลาดหุ้น นักบิน ตำรวจ ทหาร นักบิน
และพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เป็นต้น









บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 10.0.648.204 Chrome 10.0.648.204


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 22 เมษายน 2554 22:23:27 »


 

  ถ้าวัดอุโมงค์ในปัจจุบัน มีภาพบนฝาผนังแบบใช้ CGI เหมือนดังด้านบน

  คงวิจิตรงดงามมาก น่าเสียดายจริง ๆ เพราะแทบไม่หลงเหลือเค้าโครงอยู่เลย

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
งานยี่เป็ง วัดพันเตา และภาพชุดขบวนแห่งานยี่เป็ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 11284 กระทู้ล่าสุด 25 พฤศจิกายน 2557 16:13:39
โดย Kimleng
หลวงพ่อทองเพชร จันทโชโต วัดชลธาราราม บ้านท่าแพ ต.เมือง อ.เมือง จ.เลย
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1777 กระทู้ล่าสุด 21 กุมภาพันธ์ 2560 20:15:38
โดย ใบบุญ
พระธาตุเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 2651 กระทู้ล่าสุด 24 ตุลาคม 2563 16:49:14
โดย Kimleng
พระเทพวิสุทธิคุณ (กุศล คันธวโร) วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 883 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2561 15:07:29
โดย ใบบุญ
วัดพระธาตุดอยคำ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 1250 กระทู้ล่าสุด 16 มิถุนายน 2563 13:48:24
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.443 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 28 กุมภาพันธ์ 2567 09:46:42