[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 21:21:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คติจากอนิจจัง  (อ่าน 1542 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 พฤษภาคม 2560 16:17:09 »




คติจากอนิจจัง
โดย ศาสตราจารย์พิเศษ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

... รวมความทั้งหมดนี้ เมื่อพระพุทธศาสนาสูญสิ้นไป ก็ดี ถาวรวัตถุสูญสิ้นไป ก็ดี  มหาอาณาจักรน้อยใหญ่สูญสิ้นทำลายไป ก็ดี ก็ได้คติธรรมตามหลักอนิจจัง ที่เป็นไตรลักษณ์ หลักอนิจจังนั้นให้คติ ๒ อย่างในทางธรรมะ

คติที่ ๑ ก็คือว่า ทำให้เราปลงธรรมสังเวช การปลงธรรมสังเวช ก็คือ เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนภายในใจของเราให้คิดได้

ให้คิดได้ คือให้เห็นคติธรรมดาของสังขารที่มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมสลาย และสูญสิ้นไป ถ้าเรารู้เข้าใจคติธรรมดาอย่างนี้แล้ว ใจเราก็จะได้ไม่เศร้าโศกเสียใจ มีใจผ่องใสเบิกบานอยู่ได้ เราไปเห็นสถานที่ทางพุทธศาสนาที่เคยรุ่งเรืองอยู่นานถึง ๑,๗๐๐ ปี ยิ่งใหญ่ขนาดไหน แต่ทำไมเดี๋ยวนี้สูญสิ้นไป เหลือแต่ซาก บางแห่งซากก็ไม่มีเหลือ อย่างวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล ซากก็หาไม่ได้ วัดบุพพารามที่นางวิสาขาสร้างขึ้น ก็ถูกแม่นํ้าอจิรวดีพัดพาไปหมด ไม่มีเหลือเลยแม้แต่ซาก ถ้าใจของเราไม่รู้เท่าทันไตรลักษณ์ เราก็อาจจะเศร้าโศกมัวหมองก็ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อรู้ธรรมดาของสังขารอย่างนี้แล้ว ถึงจะมองเห็นความเกิดขึ้นเสื่อมสูญไป ใจเราก็ผ่องใสเบิกบานอยู่ได้ เป็นอิสระ อันนี้ก็เป็นการปรับใจภายใน ทำใจได้ดี นี้เป็นประการหนึ่ง

ต่อไป คติที่ ๒ ก็คือว่า เป็นเครื่องเตือนใจให้ได้คิด โดย เป็นบทเรียนให้ไม่ประมาท เพราะสิ่งอย่างนี้ หรือความเสื่อมความสูญสิ้นนั้นไม่ควรให้เกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่ควรให้เกิดขึ้นอีก และไม่ควรให้เกิดขึ้นโดยง่าย คือ ไม่ควรปล่อยหรือไม่ควรยอมให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่เกิดขึ้นมาในอดีต แล้วเป็นเหตุแห่งความเสื่อม สิ่งนั้นเราควรหลีกเลี่ยง สิ่งใดเป็นเหตุแห่งความเจริญ เราก็ช่วยกันสร้างสรรค์ต่อไป นี่เป็นคติของความไม่ประมาท พระพุทธเจ้าเมื่อสอน มักสอนทั้ง ๒ อย่างนี้ คือ สอนข้อที่หนึ่ง เพื่อให้ใจของเราเป็นอิสระอยู่ได้ ผ่องใสเบิกบาน ไม่เศร้าโศก และก็สอน

ข้อที่สอง เพื่อให้บทเรียนที่จะทำให้เกิดความไม่ประมาท โดยแสดงออกมาเป็นการกระทำที่จะปรับปรุงภายนอกให้มันดี ให้มันเจริญงอกงามต่อไปด้วย บางทีเราได้อันเดียว พวกหนึ่ง ได้แต่ปรับใจภายใน ทำใจไม่ให้เศร้าโศก แล้วก็ไม่ปรับปรุงข้างนอก เกิดความประมาท ก็ปล่อยปละละเลยก็เสื่อมอีก มีแต่เสื่อมเรื่อยไปจนสูญหมด ส่วนอีกบางพวก ก็เอาแต่ไม่ประมาท จะต้องแก้ไขปรับปรุง โดยที่ในใจก็อาจจะเศร้าหมอง เพราะฉะนั้น ต้องให้ได้ทั้ง ๒ อย่าง เมื่อชาวพุทธปฏิบัติธรรมไม่ครบ พุทธศาสนาเองก็จะเสื่อม 

หนึ่ง ใจต้องเป็นอิสระ ผ่องใส เบิกบานเสมอ
สอง ต้องได้ความไม่ประมาท ที่จะกระทำการเพื่อหลีกเลี่ยงความเสื่อม และสร้างความดีงาม ความเจริญก้าวหน้าสืบต่อไป นี้ก็เป็นคติที่ได้ จากเรื่องสังเวชนียสถาน ที่ผ่านมา ก็เข้ากับคติคำว่า สังเวช ที่อาตมาภาพได้กล่าวมาแล้วว่า

สังเวช นั้นแปลว่า กระตุ้นใจให้ได้ความคิด คิดอะไร
- คิดรู้เท่าทันความจริง ปลงใจวางใจได้อย่างหนึ่ง
- คิดที่จะไม่ประมาท ที่จะเร่งป้องกันและแก้ไขปรับปรุง ให้มีแต่ความเจริญงอกงามมั่นคง และความดีงาม อย่างหนึ่ง นี่ อินเดียก็ผ่านไปแล้ว ความเสื่อม ความพินาศสูญสิ้นก็ได้เกิดขึ้นแล้ว เป็นบทธรรม และบทสอนธรรมอันยิ่งใหญ่

พระพุทธศาสนาก็อยู่ในประเทศไทย ในโลกเขาก็ยังถือว่าพุทธศาสนานี้เจริญรุ่งเรืองในประเทศไทย ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนา ก็นับว่าเรามีโชคดีที่เป็นที่รองรับเป็นแหล่งใหญ่ของพระพุทธศาสนา แม้ว่าบ้านเมืองของเรา พุทธศาสนาบางครั้งจะเจริญบ้าง เสื่อมบ้าง เป็นคติธรรมดา แต่เราก็ต้องพยายามช่วยกันรักษาไว้สืบต่อไป เราจะเห็นว่า บางคราวพุทธศาสนาในเมืองเสื่อมไป แต่พระในป่าก็ยังช่วยรักษาพุทธศาสนาไว้ แต่ก็ต้องเตือนพระในป่าท่านเหมือนกันว่า ต้องเอาธุระกับการส่วนรวมด้วย อย่าถือคติไม่ยุ่งไม่เกี่ยว และต้องสอน ต้องชักจูงชาวบ้านให้มีทัศนคติทางธรรมที่ถูกต้อง เอากิจเอาการของส่วนรวม อะไรเข้ามากระทบกระเทือนพระศาสนา ก็ต้องขวนขวายป้องกันแก้ไข พระพุทธศาสนาจึงจะรักษาอยู่ได้ด้วยดี เป็นอันว่า พุทธศาสนาในเมืองไทยนี้ ก็ให้เราช่วยกันรักษาไว้ แต่การที่จะรักษาด้วยดีนั้นเราก็ต้องเรียนคติที่ได้รับจากอดีต มีบทเรียนมาช่วยด้วย  ความรู้ในอดีตนั่นแหละจะมาช่วยเราอาตมภาพกล่าวไว้อย่างหนึ่งแล้ว ก็ขอกล่าวต่อไป เคยพูดไว้ที่หนึ่งว่า การที่จะเข้าใจพุทธศาสนาให้ได้ดีนั้น ไม่ใช่เพราะเรียนหลักคำสอนเท่านั้น จะต้องรู้เหตุการณ์ความเป็นมาด้วย อันนั้นจะช่วยให้เราเข้าใจได้ดีขึ้น เพราะว่าการที่จะเข้าใจคำสอนที่เป็นตัวการหลักของพระพุทธศาสนานั้น องค์ประกอบอย่างหนึ่งก็คือเราจะต้องมีการตีความ คนเรานี้อ่านอะไรก็ตาม เรียนอะไรก็ตาม เราจะมีการตีความด้วย ทีนี้การตีความนั้น ก็มักจะอาศัยภูมิหลังคือความรู้ในเหตุการณ์ความเป็นมาของเราเข้าไปประกอบ ยกตัวอย่างง่ายๆ เมื่อเราไปอินเดีย เรามีภูมิหลัง มีประสบการณ์ของเรา เราไปพบคนอินเดีย เราก็ตีความตามภูมิหลังของเรา ชาวอินเดียโคลงหัว เรานึกว่าเขาปฏิเสธ นี่ก็คือตีความตามภูมิหลังประสบการณ์ที่เรามี แต่อินเดียเขาโคลงหัว หมายความว่า เขารับใช่ไหม มันตรงข้าม เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนรู้เหตุการณ์ความเป็นไป ภูมิหลังวัฒนธรรมของอินเดียด้วย เราจึงจะเข้าใจถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ความหมายทางคำสอนก็ต้องเรียนด้วย ต้องประกอบกันทั้งคู่ ไม่เช่นนั้นการตีความก็อาจจะผิด เช่นอย่างในเรื่องพระ ผู้ที่ตีความไปตามเหตุการณ์ หรือตามประสบการณ์ ถ้าถามว่าความหมายของ สมณะคืออะไร สมณะในพุทธศาสนาคืออะไร สมณะมีความหมายว่าอะไร ถ้าเราไม่มีหลัก ก็อาจจะยุ่ง ภาพของความเป็นสมณะอยู่ที่ไหน พวกหนึ่งอาจจะมองว่า พระได้แก่ผู้มีฤทธิ์ มีปาฏิหาริย์ อยู่ที่ขลัง อย่างนี้ก็มี หมายถึงว่าถ้าเป็นพระ เป็นนักบวช ก็ต้องเป็นผู้มีฤทธิ์ มีปาฏิหาริย์ พวกนี้ก็จะหวังฤทธิ์ หวังปาฏิหาริย์จากพระ ทีนี้ บางคนในสมัยปัจจุบัน อาจจะมองพระเป็นนักเรี่ยไรก็ได้ ถ้าเห็นพระก็ว่านักเรี่ยไรมาแล้ว มีหวังจะเสียเงินอีกแล้ว นี่คือภาพของพระที่อยู่ในใจของคนที่ต่างกันไป แต่ภาพของพระในประวัติของพระพุทธศาสนาที่แท้จริง คือผู้สงบ ผู้ไม่มีภัยอันตราย

ใดๆ ตามโอวาทปาติโมกข์ที่เราพูดกันในวันมาฆบูชา น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ผู้ที่ทำร้ายผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่นไม่เป็นสมณะ หมายความว่า ภาพของสมณะในความหมายของเราตามหลักของพระพุทธศาสนา คือผู้ไม่มีภัยอันตราย ไปที่ไหนก็มีแต่ทำให้เกิดความสงบ ความปลอดโปร่งโล่งใจ พระเป็นเครื่องหมายของความไม่มีภัย พระไปที่ไหนคนก็รู้สึกร่มเย็น มีความปลอดโปร่งโล่งใจ ไม่ต้องระแวงภัย เพราะฉะนั้น ถ้าเราช่วยกันรักษาภาพอันนี้ไว้ได้ สมณะในพระพุทธศาสนาก็อยู่ในความหมายที่แท้จริง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องเรียนรู้ไว้ ทั้งเหตุการณ์ความเป็นมา และหลักคำสอนที่แท้จริง เอามาใช้เพื่อจะบำรุงรักษาพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงอยู่ต่อไป การที่พระพุทธศาสนาจะเจริญมั่นคง เราต้องรักษาตัวหลักธรรมที่แท้จริงไว้ให้ได้ ตีความให้ถูกต้อง เข้าใจให้ถ่องแท้ ปฏิบัติตามให้ถูกตรง นี่ก็คือคติจากทั้งหมดที่ได้ผ่านมา ทั้งที่ดูรู้เห็นด้วยตาตนเอง และที่อาตมภาพได้กล่าวเสริม


ที่มา : จากหนังสือ ตามทางพุทธกิจ หน้า ๑๕๒ - ๑๕๗ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.308 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 23:33:42