[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 22:27:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 ... 6 7 [8] 9   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong  (อ่าน 110906 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 22 เมษายน 2553 16:58:05 »

บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong

ผมจะทยอยนำมาลงเรื่อยๆครับ
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
 
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #141 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 20:53:11 »

ศาสนกิจ
   ผู้เขียน  สมบูรณ์  จอจันทร์   บทความ  ชาวพุทธควรรู้   นิตยสารโลกลี้ลับ
ผู้พิมพ์   sithiphong
   พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา   ซึ่งนิยมใช้กันปฏิบัติกันในปัจจุบันนี้   ส่วนมากเจือด้วยลัทธิพราหมณ์  คือ   พุทธ กับ  พราหมณ์   ปะปนคละกันไป   จะแยกออกจาก
กันได้ยาก   เนื่องจากพุทธศาสนิกชนนิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาหลายร้อยปีแล้ว   ถึงแม้จะมีลัทธิพราหมณ์แทรกอยู่ก็ตาม   เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง   หรือวัฒนธรรมศีลธรรมแล้ว   ก็เป็นอันใช้ได้ตลอดมา
   ศาสนกิจของชาวพุทธ   หมายถึง   การปฏิบัติตนเกี่ยวกับระเบียบประเพณีทางพุทธศาสนา   ที่นิยมปฏิบัติกันเป็นประจำ  
   ระเบียบประเพณีนี้  เราเป็นชาวพุทธควรจะรู้และจดจำไว้ปฏิบัติสืบต่อไป  เมื่อได้ไปพบงานศาสนกิจที่จำเป็น   จะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามระเบียบประเพณีของชาวพุทธ  เพื่อยึดเป็นหลักปฏิบัติต่อไป

การนิมนต์พระ
ผู้ประสงค์จะทำบุญควรนิมนต์พระไว้ก่อนวันงาน   ยิ่งเนิ่นๆ ได้เป็นดี   เผื่อพระจะไม่ว่าง   ถ้านิมนต์เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยจะดีมาก
งานพิธีเกี่ยวกับฤกษ์   ต้องบอกเวลาฤกษ์ให้พระท่านทราบ   จะได้ไม่ขลุกขลักเรื่องเวลา   ซึ่งทำให้เสียฤกษ์ได้  อาจทำให้เจ้าภาพเองต้องเสียใจหรือกังวลใจภายหลังอย่างใดอย่างหนึ่งได้
การนิมนต์พระ   ห้ามระบุชื่อภัตตาหารที่จะถวายพระเป็นอันขาด  เพราะผิดวินัย
ทานที่จะให้มี   ๒   อย่าง
๑.   บุคลิกทาน        ให้เจาะจงผู้รับ
๒.   สังฆทาน           ให้โดยไม่เจาะจงผู้รับ

การจัดอาสนะ
         อาสนะสำหรับพระที่นั่งนั้น   จะใช้เสื่อ   พรม   หรือผ้าขาวอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้   แล้วแต่จะสะดวก    แต่ต้องจัดให้สูงกว่าฆารวาส     ที่พระสงฆ์นั่งต้องอยู่ด้านซ้ายของพระพุทธรูปเสมอไป
นอกจากอาสนะแล้ว   ยังมีพานหมาก   พลู   บุหรี่   ขันน้ำ   กระโถน   (ปัจจุบันไม่นิยมหมาก   พลู   บุหรี่)
   ที่เห็นมาส่วนมากแล้วจะเป็นลูกอมต่างๆ   ถวายแทนหมาก   พลู   บุหรี่   ของเหล่านี้ ควรตั้งไว้ด้านขวามือของพระสงฆ์   ส่วนกระโถนพระท่านจะยกไว้ข้างหลังเอง   ไม่ต้องประเคน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 เมษายน 2553 20:55:47 โดย sithiphong » บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #142 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 20:53:46 »

การจัดโต๊ะบูชา
   โต๊ะบูชานั้น   ใช้โต๊ะหมู่  ๕   หมู่  ๗   หรือหมู่  ๙  ถ้าไม่มีโต๊ะหมู่จะใช้โต๊ะอย่างอื่นที่เหมาะสมแทนก็ได้
   เมื่อไม่สามารถจะหาโต๊ะหมู่และเครื่องตั้งบูชาได้ครบ   ก็พึงจัดหาเท่าที่หาได้ คือ     พระพุทธรูป  ๑  องค์   ตั้งไว้ที่โต๊ะตัวสูง   ผินหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ   ถ้าสถานที่ไม่อำนวย   ก็ให้ตั้งผินหน้าไปทางที่เหมาะสม
   การที่นิยมตั้งพระพุทธรูปผินหน้าไปทางทิศตะวันออกนั้น   นิยมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้  เพราะพระองค์ผินหน้าไปทางทิศตะวันออก   รวมไปถึงตั้งหิ้งพระบูชาที่บ้าน   หรือตามสถานที่ราชการทั่วไป  ก็นิยมปฏิบัติตามในทิศดังกล่าวนี้   ถือกันว่าผินหน้าไปทางทิศอื่นหรือทิศตรงกันข้าม จะไม่เป็นมงคลทำนองนี้

ด้ายสายสิญจน์
   ด้ายสายสิญจน์ไม่ควรใช้ด้ายหลอด   ควรใช้ด้ายดิบจับเก้าเส้น   จึงจะน่าดูและถูกต้อง   และด้ายสายสิญจน์ควรใช้เฉพาะงานมงคล
   บ้านที่ทำงานมงคล   จะต้องโยงด้ายสายสิญจน์ไว้บริเวณรอบบ้าน   ควรจัดหาด้ายสายสิญจน์ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง   อย่ายืมของผู้อื่น   การยืมของผู้อื่นมาโยงไว้รอบบ้านตน   พองานเสร็จไม่รื้อออกส่งเขาน่ากระไรอยู่

วิธีโยงด้ายสายสิญจน์
   ให้ตั้งต้นที่พระพุทธรูป   เวียนมาทางขวามือ   (แบบเลข ๑  ไทย)   โยงออกไปรอบบ้านหรือรั้วบ้านแล้ววนกลับเข้ามาตรงเสาเรือนเข้าสู่ที่บูชา   แล้ววงรอบฐานพระพุทธรูป   โยงรอบบาตรหรือขันน้ำมนต์กลุ่มด้ายสายสิญจน์ที่เหลือวางไว้บนพาน   ตั้งไว้ในที่อันควร
   เวลาวางด้ายสายสิญจน์   พึงพยายามสำรวมจิตรำลึกถึง          คุณพระพุทธ     คุณพระธรรม     คุณพระสงฆ์          ขออำนาจช่วยปกปักรักษาปัดเป่าสรรพภยันตราย   และให้เกิดความสุข  ความเจริญด้วย   ลาภ   ยศ   สรรเสริญ   สุข   ตลอดกาล

อย่าข้ามด้ายสายสิญจน์
   สายสิญจน์ที่โยงมาจากพระพุทธรูปแล้วถือว่าเป็นของสูง     ไม่ควรเดินข้ามหรือยกสิ่งหนึ่งสิ่งใดข้าม   ถ้าข้ามถือว่าเป็นการดูถูกพระพุทธเจ้า   คือ   เท่ากับเดินข้ามหรือยกข้ามพระเศียรของพระองค์

บาตรน้ำมนต์
   บาตรน้ำมนต์ใช้บาตรดินหรือขันสัมฤทธิ์   ถ้าไม่มีจะใช้ขันทองเหลืองก็ได้แล้วแต่จะหาได้ใส่น้ำพอควร   และของใส่บาตรน้ำมนต์ตั้งไว้ด้านขวามือของพระสงฆ์ที่เป็นหัวหน้าในพิธี   แต่อย่าให้ห่างนัก   เพราะพระจะจับเทียนไม่ถึงเวลาทำน้ำมนต์   และขันน้ำมนต์ต้อง ประเคนพระด้วย

เทียนสำหรับทำน้ำมนต์
เทียนที่จะทำน้ำมนต์   ควรใช้เทียนขี้ผึ้งแท้อย่างดี   หนัก   ๑   บาท   ติดไว้ที่ปากบาตรหรือที่ปากขันที่จะทำน้ำมนต์   เพื่อสะดวกแก่พระท่านเวลาจะจับทำน้ำมนต์

ของใส่บาตรน้ำมนต์
   สิ่งของที่นำมาใส่บาตรน้ำมนต์   คือ    ๑.  ผิวมะกรูด      ๒.   ฝักส้มป่อย

ของที่ใช้มัดประพรมน้ำมนต์
   ๑.    ใบมะตูม            ๒.    ใบสันพร้าหอม
   ๓.    ใบเงิน            ๔.    ใบทอง
   ๕.    ใบนาก            ๖.    หญ้าแพรก
   ๗.    แฝก            ๘.    หญ้าคา
   ใน  ๘  อย่างนี้  ถ้าหาได้ครบเป็นการดียิ่ง  ถ้าหาไม่ได้หรือไม่ครบก็ใช้เท่าที่หาได้
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #143 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 20:54:11 »

การจุดธูปเทียนที่บูชา
   คนจุดธูปเทียนกับคนอาราธนาศีลต้องเป็นคนละคนกัน   ไม่ใช่คนคนเดียวกันกับที่จุดธูปเทียนแล้วมาอาราธนาศีล   พึงปฏิบัติดังนี้
   ผู้ถือเทียนชนวนให้เชิญผู้เป็นประธานในพิธีมาจุดธูปเทียน   เมื่อถึงที่บูชาแล้ว   ผู้ถือเทียนชนวนพึงยืนหรือนั่งอยู่ทางด้านขวามือของผู้จุด   หรือแล้วแต่สถานที่
การส่งเทียนชนวน
   เมื่อส่งเทียนชนวนแล้วต้องรอรับเทียนก่อน   อย่าเพิ่งกลับ   ในเมื่อจุดธูปเทียนยังไม่เสร็จ     และเวลากลับอย่าเดินผ่านหน้าผู้จุดธูปเทียน   เว้นแต่สถานที่จำกัด   เดินทางอื่นไม่ได้

ผู้จุดเทียน
   ผู้จุดเทียนเมื่อจุดเสร็จแล้วพึงกราบพระ   ๓   ครั้ง   ตรงที่จัดไว้สำหรับกราบ   และควรกราบด้วยแบบเบญจางคประดิษฐ์ ทั้ง    ๕     คือ    ๑.  เข่าทั้งสองจรดพื้นดิน   ๒.  ฝ่ามือทั้งสองราบอยู่ที่พื้น      ๓.  หน้าผากจรดพื้นเวลากราบลง       รวมเป็น  ๕        ( เข่า  ๒  ฝ่ามือ  ๒   หน้าผาก  ๑)   และ เวลากราบระวังอย่าให้ส่วนตะโพกสูงโด่งขึ้น   ดูน่าเกลียดและไม่ทอดตัวลงไปเหมือนจะนอน   กราบให้เป็นจังหวะพอดูงาม   อย่าให้ช้าหรือเร็วเกินไป   เมื่อกราบเสร็จแล้วพึงกลับมานั่งที่เดิม
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #144 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 20:54:42 »

อาราธนาศีล
   เมื่อจุดธูปเทียนและมานั่งที่เดิมแล้ว   ผู้มีหน้าที่อาราธนาศีลเริ่มอาราธนาทันที   เมื่อพระให้ศีลจบ   ก็ให้อาราธนาพระปริตรต่อไป
จุดเทียนบาตรน้ำมนต์
ตอนพระกำลังสวดมนต์   ให้ผู้ที่เป็นประธานนั่งอยู่ใกล้ๆ บาตรน้ำมนต์   พอพระสวดถึงบท   “  อะเสวะนา  จะพาลานัง…….”   ผู้เป็นประธานก็จุดเทียนที่บาตรน้ำมนต์อีกครั้งหนึ่ง   แต่ผู้เชิญเทียนชนวนต้องเตรียมไว้   และเข้าใจว่าเวลาไหนจะทำอะไร    เมื่อจุดเทียนแล้วก็ยกบาตรน้ำมนต์ถวายพระ (ตอนนี้พระท่านพักไว้ก่อนฉันภัตตาหาร)
(  หมายเหตุ      ในปัจจุบันนี้ ผู้พิมพ์พบว่า โดยส่วนใหญ่แล้วการจุดเทียนน้ำมนต์นี้  พระท่านจะเป็นผู้ที่จุดเทียนชนวนเอง   บาตรน้ำมนต์กับเทียนชนวน จะต้องถวายพระก่อนที่จะเริ่มการจุดธูปเทียน)

การประเคนอาหาร
การประเคนอาหารที่ถูกต้อง   ต้องประกอบด้วยองค์   ๕   คือ
๑.   ของที่จะประเคนนั้น   ไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป   หนักพอยกประเคนได้คนเดียว
๒.   ผู้ประเคนต้องอยู่ในหัตถบาส  คือ   ห่างกันไม่เกิน  ๑   ศอก
๓.   น้อมเข้าไปประเคนด้วยคารวะ
๔.   กิริยาที่น้อมเข้าไปนั้น   ด้วยกายก็ดี  ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้   เช่น   ผ้าเช็ดหน้า  เป็นต้น
๕.   ภิกษุรับด้วยกายก็ได้   ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้
อนึ่ง     อาหารที่ประเคนพระแล้ว   ห้ามจับต้องเป็นอันขาด   ถ้าจะเติมหรือเปลี่ยนใหม่ต้องประเคนใหม่ทุกครั้ง

ถวายเครื่องไทยทาน
เมื่อพระฉันเสร็จแล้ว   เข้านั่งประจำที่เรียบร้อยแล้ว   พึงถวายเครื่องไทยทาน   มีดอกไม้   ธูปเทียน   เป็นต้น   ถ้ามีปัจจัยพึงให้เขียนใบปวารณาถวายพร้อมกับเครื่องไทยทาน   ส่วนปัจจัยมอบให้กับศิษย์พระท่านไป
(   หมายเหตุ     ส่วนใหญ่แล้ว  ปัจจัยจะมอบพร้อมกับเครื่องไทยทาน  ไม่ต้องมอบให้กับศิษย์พระ   โดยไม่ต้องเขียนใบปวารณา         -  ผู้พิมพ์   )

ประพรมน้ำมนต์
   ตอนนี้ผู้ถือเทียนชนวนหรือคนใดคนหนึ่งก็ได้ช่วยกันยกบาตรน้ำมนต์ให้พระท่าน   ประพรมไปรอบๆ   บุคคลที่อยู่ในพิธี   บ้าน หรือสถานที่ทำการมงคลนั้น   เวลาพระกำลังประพรมน้ำมนต์   พวกฆารวาสควรก้มหน้าประนมมือรับน้ำมนต์จากพระท่าน
   การพรมน้ำมนต์ นี้   ถ้าเป็นสถานที่ราชการ   มีบริเวณกว้าง   จะให้พระท่านนั่งประพรมอยู่บนอาสนะ   ให้ฆารวาสเดินแถวก้มหลังผ่านหน้าท่าน   แล้วพระก็ประพรมน้ำมนต์ไปเรื่อย ๆ    จนกว่าจะหมดคนสุดท้าย     แบบนี้ก็ใช้ได้    เพื่อความสะดวกแก่พระสงฆ์ท่านไม่ต้องลำบากเดินไปเดินมา
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #145 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 20:55:13 »

เวลากรวดน้ำ
   เวลากรวดน้ำ   เมื่อพระสงฆ์ที่เป็นหัวหน้าเริ่มว่า      ยะถา   วาริวะหา   ปูรา ……   ฆารวาสก็เริ่มกรวดน้ำ   พอถึง     สัพพีตีโย   วิวัชชันตุ……   พึงประนมมือรับพรพระต่อไป   ถ้าเป็นงานส่วนบุคคลมีเจ้าภาพก็ให้  เจ้าภาพ กรวดน้ำ
   เวลากรวดน้ำ   อย่าเอามือหรือนิ้วมือ รองน้ำที่เทออกจากขวดหรือที่กรวด   ดูไม่เหมาะสม   ถ้าผู้รับจะดื่มน้ำที่เรากรวดไปนั้นจะรู้สึกอย่างไร   และผู้กรวดน้ำพึงสำรวมจิตอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ที่ตนประสงค์จะอุทิศ
   เมื่อกรวดน้ำเสร็จแล้วอย่าเอาน้ำเทลงกระโถนหรือในที่สกปรก   ให้ เท รด หญ้า หรือต้นไม้ใหญ่นอกชายคา   ถ้าเป็นวัดพึง เท รด โคนต้นโพธิ์ เหมาะที่สุด

เวลาพระสงฆ์จะกลับวัด
   เมื่อเสร็จพิธีในงานเรียบร้อยแล้ว   พระท่านก็จะกลับวัด   ตอนเวลาพระท่านลุกขึ้นและเดินออกมาจากอาสนะ   ถ้ามีผู้คนมากก็ต้องหลีกทางให้พระท่าน พร้อมกับประนมมือไหว้   ท่านออกจากบ้านไปแล้วก็ช่วยเก็บข้าวของเครื่องไทยทานไปส่งพระท่านด้วย   (  เก็บใส่รถที่รับส่ง )
   ถ้านิมนต์พระที่วัดใกล้บ้านก็ไม่จำเป็นต้องใช้รถรับส่งท่าน   แต่ต้องช่วยนำของที่ถวายท่านไปส่งถึงวัดด้วย   ( ถ้าไม่มีลูกศิษย์มาด้วย )   และคนที่เป็นเจ้าภาพต้องไปส่งพระท่านถึงประตูบ้านด้วย   ตอนพระจะมาก็เช่นเดียวกัน ต้องมีคนคอยรับพระท่านตรงประตูบ้านหรือหัวบันไดด้วย   จึงดูเหมาะสมเรียบร้อยน่าดู

เครื่องใช้ในงาน
   เครื่องใช้ในงาน   เช่น   ถ้วย   จาน   เหยือก   แก้วน้ำ   กระโถน   เสื่อ   พรม   ฯลฯ   เมื่อเสร็จงานแล้วก็ให้รีบส่งคืนวัด   เผื่องานอื่นเขาจะมาขอยืมบ้าง   บางวัดมีของใช้น้อย   และไม่ควรใช้ของในบ้านปนด้วย   บางทีเวลาจะส่งคืนวัด  ของมักจะปนเปกัน   ไม่รู้ว่าเป็นของบ้านหรือของวัด   หากจะยืมที่วัดก็ให้ใช้ของวัดอย่างเดียว   จะได้เก็บรวบรวมส่งได้สะดวก   เมื่อของใช้แตกเสียหายก็ต้องซื้อแทน
   (  หมายเหตุ    ผู้พิมพ์เห็นว่า หากของวัดที่ยืมมาไม่เพียงพอแล้ว  ก็ควรที่จะใช้ของบ้าน  เพียงแต่จะต้องบันทึกไว้ว่า   ของวัดที่ยืมมามีอะไรบ้าง  เมื่อเวลาที่จะส่งคืนวัด   จะตรวจสอบได้ว่า   คืนไปครบแล้วหรือยัง  )
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #146 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 20:56:20 »

ยาวกาลิก
   ของที่ได้บริโภคเป็นอาหาร  จัดเป็นยาวกาลิก   เช่น   ข้าวสุก   ขนมสด   ขนม-แห้ง   ปลา   เนื้อ   นมสด   น้ำส้ม   และของเคี้ยว   ผลไม้มีมัน   เป็นต้น
   ยาวกาลิก        นั้น   ภิกษุจะรับประเคนตั้งแต่เที่ยงไปแล้วไม่ควร  ถ้าจะรับประเคนตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น   จนถึงเวลาก่อนเที่ยงได้   และจะฉันได้ภายในเวลาก่อนเที่ยงของวันรับประเคนนั้น   ถ้าจะเก็บไว้ฉันวันรุ่งขึ้นไม่ควรรับประเคน   ทายกผู้จะถวายเสบียง   เช่น   ข้าวสาร   ปลาแห้ง   ผลไม้   เป็นต้น   ไม่ควรประเคน   ควรมอบให้ศิษย์ของพระไป   หรือเที่ยงแล้ว อย่าประเคนของที่จัดเข้าในยาวกาลิก

ยามกาลิก
   ได้แก่   ปานะ   คือน้ำสำหรับดื่มที่คั้นออกจากผลไม้   เรียกว่า   ยามกาลิก   กล่าวในบาลี มี   ๘   อย่าง   คือ
   ๑.อัมพปานะ(น้ำมะม่วง)      ๒.ชัมพุปานะ(น้ำชมพู่  หรือ น้ำหว้า)
   ๓.โจจปานะ(น้ำกล้วยมีเมล็ด)      ๔.โมจปานะ(น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด)
   ๕.มธุกปานะ(น้ำมะซาง)      ๖.มุททิปานะ(น้ำลูกจันทร์  หรือ  น้ำองุ่น)
   ๗.สาลุกปานะ(น้ำมะปราง  หรือ  น้ำลิ้นจี่)
   น้ำปานะทั้ง    ๘    อย่างนี้    ถ้าไม่ได้ทำสุกด้วยไฟ  ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง

สัตตาหกาลิก
   เภสัช   ๕   อย่าง    คือ    เนยใส    เนยข้น    น้ำมัน    น้ำผึ้ง    น้ำอ้อย      จัดเป็นสัตตาหกาลิก   ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้  ๗  วัน  น้ำตาลทราย   น้ำตาลปึก     น้ำตาลปี๊บ     สงเคราะห์เข้าในกาลิกนี้
ยาวชีวิก
ของที่ ประเคนเป็นยา นอกจากกาลิกทั้ง ๓ อย่างนี้  จัดเป็นยาวชีวิกกล่าวไว้ในบาลีดังนี้
   ๑.รากไม้   เช่น   ขมิ้น   ว่านน้ำ   ว่านเปราะ   อุตระพิษ   ข่า   แผก   แห้วหมู
   ๒.น้ำฝาด   เช่น   น้ำฝาดสะเดา   น้ำฝาดมูกมัน   น้ำฝาดกระดอม   หรือมูลกา   น้ำฝาดบรเพ็ด    หรือพญามือเหล็ก   น้ำฝาดกระถินพิมาน
   ๓.ใบไม้   เช่น   ใบสะเดา   ใบมูกมัน   ใบกระดอม   หรือมูลกา   ใบกะเพรา  หรือแมงลัก   ใบฝ้าย
   ๔.ผลไม้   เช่น   ลูกพิลังกาสา   ดีปลี   พริก   สมอพิเภก   มะขามป้อม   ผลโกฎฐ์
   ๕.ยางไม้   เช่น   ยางไม้ที่ไหลออกจากต้นหิงคุ และกำยาน   เป็นต้น
   ๖.เกลือ
ของตั้งแต่ข้อ   ๑   ถึงข้อ   ๖   นี้   ถ้ารับประเคนโดยตั้งใจให้เป็นยาแก้โรค   จัดเป็นยาวชีวิก   ถ้ามุ่งเป็นอาหาร   ไม่จัดเป็นยาวชีวิก

กาลิกระคนกัน
        กาลิกบางอย่าง   ระคนกับกาลิกอย่างอื่น   มีกำหนดให้ใช้ได้ชั่วคราวของกาลิกที่มีอายุสั้น   เช่น   ยาผง  เป็นยาวชีวิก   เอาคลุกกับน้ำผึ้งเป็นกระสาย   น้ำผึ้งที่มีอายุการประเคน   ๗    วัน   ยาผงนั้นก็พลอยมีอายุ   ๗   วันไปด้วย   อบเชยเป็นยาวชีวิก   ปรุงกับข้าวสุกที่หุงด้วยกะทิ   อบเชยกลายเป็นยาวกาลิกไปด้วย
   สุดท้ายนี้   ขอให้ผู้ที่ยังไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับงานศาสนกิจ   ก็ควรอ่านหรือจดจำไว้   เผื่อที่บ้านมีงานและหาคนที่รู้ไม่ได้หรือหายาก   ก็จะได้รู้และจัดได้ถูกต้องตามระเบียบหรือประเพณี   ถ้าเราทำอะไรไม่ถูกก็จะทำให้ผู้ที่มาร่วมงานของเราตำหนิเอาได้
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #147 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 20:56:59 »

ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ   เรื่องการประกอบพิธีศพ
พระธรรมวโรดม  ( บุญมา  คุณสมปนโน  ปธ.  ๙ )   ผู้เขียน
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม  กรุงเทพฯ
( จากหนังสือพุทธคุณ  ฉบับที่ ๕๕  วันที่ ๑๐ มิถุนายน - ๑๐ กรกฎาคม  ๒๕๔๓ )

ระเบียบปฏิบัติการจัดพิธีศพ
วิธีปฏิบัติเบื้องต้นเกี่ยวกับศพ
   คนตายโรคธรรมดา  ผู้เกี่ยวกับศพนิยมใช้ผ้าคลุมศพตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า  ถ้าศพอยู่ภายในห้องก็ปิดประตูเสีย  ถ้าศพอยู่ห้องโถงนิยมกางมุ้งครอบไว้
   คนตายด้วยโรคติดต่ออันตราย  หรือตายด้วยอุบัติเหตุ  หรือถูกฆาตกรรมนิยมไม่แตะต้อง  หรือเคลื่อนย้ายศพ  เพื่อเปิดโอกาสให้แพทย์หรือตำรวจได้ทำการตรวจโรค  หรือชันสูตรศพก่อน  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย

วิธีปฏิบัติการแจ้งขอมรณบัตร
   ตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร์  พ.ศ. ๒๔๙๙  มาตรา  ๑๔  เมื่อมีคนตาย  ให้แจ้งดังต่อไปนี้
   ก.  คนตายในบ้าน  ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายใน  ๒๔  ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย      ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน  ให้ผู้พบศพแจ้งความในวรรคก่อน  นับแต่เวลาพบศพ
   ข. คนตายนอกบ้าน  ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตาย  หรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ตาย  หรือพบศพ  แล้วแต่กรณี  หรือแห่งท้องที่ที่จะเพิ่งแจ้งได้ในโอกาสแรกภายใน  ๒๔  ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย  หรือพบศพ  ในกรณีเช่นนี้  จะแจ้งต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่สะดวกกว่าก็ได้  ฯลฯ

ตามพระราชบัญญัตินี้  นิยมปฏิบัติดังนี้
   ๑. เมื่อมีคนตายในบ้าน  เจ้าของบ้านหรือผู้แทนเจ้าของบ้านต้องไปแจ้งการตาย  ขอมรณบัตรต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง  คือในเขตเทศบาลแจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่น  นอกเขตเทศบาลแจ้งต่อนายทะเบียนตำบล  คือกำนัน  และต้องแจ้งภายใน  ๒๔  ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย
   ๒. คนตายนอกบ้าน  บุคคลที่ไปกับผู้ตาย  หรือผู้พบศพต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตาย  หรือจะแจ้งแก่พนักงานฝ่ายปกครอง  หรือตำรวจท้องที่นั้นก็ได้  และต้องแจ้งภายใน  ๒๔  ชั่วโมงหรือนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพเป็นต้นไป
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #148 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 20:57:28 »

การขอพระราชทานน้ำอาบศพและเครื่องประกอบเกียรติยศ
   ผู้ถึงแก่กรรมมีสิทธิขอรับพระราชทานน้ำอาบศพ  เครื่องประกอบเกียรติศพ  และขอพระราชทานเพลิงศพ   ดังต่อไปนี้
๑.   พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ตั้งแต่พระครูฐานานุกรมขึ้นไป
๒.   พระบรมวงศานุวงศ์  ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป
๓.   ผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์รองเสวกตรี  หรือรองอำมาตย์ตรีขึ้นไป
๔.   ข้าราชการพลเรือนชั้นตรีขึ้นไป
๕.  ข้าราชการฝ่ายพลทหาร  และตำรวจ  ยศชั้นร้อยตรี  เรือตรี  ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
๖.   สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนที่ได้รับพระราชทานยศ  ตั้งแต่ชั้นนายหมวดขึ้นไป
๗.   ผู้ที่ได้รับพระราชทานราชอิสริยาภรณ์  ตั้งแต่ชั้นเบญมาภรณ์มงกุฏไทย  หรือ  ตติยจุลจอมเกล้า  หรือ  จตุตถจุลจอมเกล้าขึ้นไป
๘.   ผู้ได้รับพระราชทานราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน
๙.   พนักงานเทศบาลตรีขึ้นไป
๑๐.  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  สมาชิกสภาเทศบาล  ที่ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่ง
๑๑.  รัฐมนตรี  ที่ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่ง
๑๒.  ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  เป็นกรณีพิเศษ
   ๑๒.๑ ผู้ที่เคยเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  สมาชิกสภาจังหวัด  สมาชิกสภาเทศบาล  หรือ  รัฐมนตรีถึงแก่กรรมเมื่อพ้นตำแหน่งแล้ว  หากได้รับพระราชทานราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าวแล้ว  ก็มีสิทธิ์ขอพระราชทานน้ำอาบศพ  เครื่องประกอบเกียรติศพ  และขอพระราชทานเพลิงศพได้
   ๑๒.๒ ในการที่จะขอพระราชทานนี้  มีข้อแม้ว่า  ผู้ถึงแก่กรรมนั้น  จะต้องถึงแก่กรรมโดยไม่ใช่อัตวินิบาตกรรม  ( คือการฆ่าตัวตาย )

วิธีขอพระราชทานน้ำอาบศพ  และเครื่องประกอบเกียรติศพ
   ผู้เกี่ยวข้องกับผู้ถึงแก่กรรมนั้น  ประสงค์จะขอพระราชทานน้ำอาบศพ  และเครื่องประกอบเกียรติศพ  จะต้องปฏิบัติดังนี้
   ๑. จัดดอกไม้ธูปเทียน  ( คือ ดอกไม้ 1 กระทง  ธูปไม้ระกำ 1 ดอก  เทียนขี้ผึ้ง 1 เล่ม )  วางบนพานพร้อมกับหนังสือกราบถวายบังคมลาตาย  และใบมรณบัตร  นำไปยังแผนกพระราชพิธี  สำนักพระราชวัง  ในพระบรมมหาราชวัง  โดยนำพานเครื่องสักการะพร้อมกับหนังสือกราบถวายบังคมลาตายนี้  วางไว้ที่ข้างหน้าพระบรมฉายาทิศลักษณ์  ( คือ พระบรมรูปของในหลวงรัชกาลปัจจุบัน )  แล้วถวายความเคารพพระบรมฉายาสาทิศลักษณ์
   ๒. เจ้าหน้าที่แผนกพระราชพิธีจะสอบถามรายละเอียดต่างๆ  แล้ว ให้กรอกข้อความลงในแบบพิมพ์เป็นอันเสร็จพิธีขอพระราชทานเพียงนี้
   ๓. หนังสือขอพระราชทานถวายบังคมลาตายนี้  ไม่ต้องลงนาม
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #149 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 20:58:15 »

แบบหนังสือขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาตาย

                  วันที่ ... เดือน .................... พ.ศ. ....
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
   ดอกไม้ธูปเทียนของข้าพระพุทธเจ้า ..................................... ( ชื่อผู้ถึงแก่กรรม )
.................... เครื่องอิสริยาภรณ์  อายุ .... ปี ข้าราชการ ...........................ชั้น.............
สังกัด .......................................................................
   ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาตาย...........................................................
ด้วยโรค.................ที่.....................................อำเภอ....................จังหวัด .....................
เมื่อวันที่ ..... เดือน .................... พ.ศ. ....   เวลา .................
   ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  ขอเดชะ
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #150 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 20:58:39 »

การกำหนดการรับพระราชทานน้ำอาบศพ
......................................................... ( ใส่นามผู้ตายพร้อมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ )
   ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรค ................................... เมื่อวันที่..... เดือน ............... พ.ศ..... เวลา ........ น.
   กำหนดการรับพระราชทานน้ำอาบศพ  วันที่..... เดือน ............... พ.ศ..... เวลา ........ น.  ณ ............................................................
......................................... ( เจ้าภาพ )
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #151 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 20:59:10 »

การพิมพ์การ์ดกำหนดการรดน้ำศพ
   ถ้าผู้ตายเป็นผู้ใหญ่  หรือเป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฎในสังคม  นิยมพิมพ์การ์ดและลงประกาศแจ้งความทางสื่อสารมวลชน  ซึ่งมีข้อความเพียงสั้นๆ  ดังนี้
หมายเหตุ     คำว่า  “ ได้ถึงแก่กรรม ”  นั้น  นิยมเปลี่ยนไปตามฐานะของผู้ตาย  คือ
   - ได้ถึงแก่อสัญกรรม     - ได้สิ้นชีพตักษัย     - ได้สิ้นพระชนม์  เป็นต้น

ระเบียบปฏิบัติการจัดสถานที่รดน้ำศพ
สถานที่สมควรจัดเป็นที่รดน้ำศพ
   #    การจัดสถานที่รดน้ำศพนั้น  ถ้าศพนั้นเป็นศพของท่านผู้ใหญ่แห่งตระกูล  และบ้านนั้นเป็นบ้านใหญ่โต  มีบริเวรกว้างขวางเพียงพอแก่การตั้งศพบำเพ็ญกุศลได้  ก็นิยมจัดสถานที่รดน้ำศพและตั้งศพที่บ้านเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว  ทั้งเป็นการแสดงความเคารพ  ความจงรักภักดีต่อท่าน  เมื่อยังมีชีวิตอยู่  ลูกหลานเคยมีความจงรักภักดี  มีความเคารพนับถืออย่างไรแม้เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วก็ยังมีความจงรักภักดี  ความเคารพนับถือเป็นอย่างดีไม่เปลี่ยนแปลง  มิใช่ว่าเมื่อท่านสิ้นบุญแล้วพวกลูกหลานก็รีบหาทางเสือกไสไล่ส่งศพของท่านให้ออกไปพ้นเสียจากบ้านเรือนที่ท่านเคยอยู่อาศัย
   #   ถ้าที่บ้านเรือนนั้นไม่ใหญ่โต  ไม่กว้างขวางมีความขัดข้องไม่เหมาะสม  เพราะสถานที่ไม่อำนวย  ก็นิยมนำศพของท่านไปตั้งรดน้ำ  และตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่วัดใดวัดหนึ่งซึ่งอยู่ไกล้บ้าน  หรือวัดที่เหมาะสมแก่ฐานะของท่าน  โดยติดต่อกับเจ้าหน้าที่แผนกฌาปนสถานของวัด  จะให้เขานำรถวอ  มารับศพที่ไหน  เมื่อไร  เป็นต้น  พร้อมทั้งมอบให้เขาจัดการโดยตลอดรายการ
   #   ถ้าจะจัดสถานที่รดน้ำศพและตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่บ้าน  จะต้องคำนึงถึงสถานที่จะใช้ตั้งศพรดน้ำนั้นว่า  โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย  และเตียงประดิษฐานศพ  จะตั้งที่ไหนจึงจะเหมาะสม  วงศาคณาญาติสนิทมิตรสหายและท่านที่เคารพนับถือทั้งหลายที่มาเคารพศพจะเข้าทางไหน  จะออกทางไหน  สถานที่กว้างขวางเพียงพอหรือไม่  เมื่อพิจารณาโดยถ่องแท้แล้วเห็นว่าไม่ขัดข้องเหมาะสมโดยประการทั้งปวง  พึงจัดสถานที่นั้น  ดังนี้
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #152 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 20:59:41 »

สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย
   #   สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนั้น  นิยมตั้งอยู่ด้านศีรษะของศพ  และนิยมตั้งพระพุทธรูปหันหน้าไปทางทิศตะวันออก  ถ้าสถานที่ไม่อำนวยก็นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ทิศใดทิศหนึ่ง  แต่ไม่นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
   #   โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนั้น  นิยมจัดตั้งไว้  ณ  ที่สูงกว่าเตียงประดิษฐานศพพอสมควร  ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ  ๕  ประการ
   ๑. พระพุทธรูป  ๑  องค์  ( นิยมนำพระพุทธรูปบูชาพระประจำตัวของผู้ตายมาตั้งบูชา  ถ้ามี )
   ๒. กระถางธูป  1  ลูก  พร้อมทั้งธูป  ๓  ดอก
   ๓. เชิงเทียน  1  คู่  ( เป็นอย่างน้อย )  พร้อมทั้งเทียน  ๒  เล่ม
   ๔. แจกัน  ๑  คู่  ( เป็นอย่างน้อย )  พร้อมทั้งดอกไม้
   ๕. โต๊ะรอง  ๑  หมู่  นิยมใช้โต๊ะหมู่บูชามีขนาดใหญ่พอสมควร
   #   นอกจากนี้  นิยมจัดพานดอกไม้ตั้งประดับไว้ด้วย  จำนวนพานดอกไม้ตามความเหมาะสมแก่โต๊ะหมู่บูชานั้น  และเครื่องสักการะบูชาที่โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนั้น  นิยมจัดให้ประณีตที่สุด  ดีที่สุด  เท่าที่สามารถจะหาสิ่งของมาจัดทำได้

วิธีการอาบน้ำศพ
   การอาบน้ำศพนี้  ถือกันว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัวระหว่างญาติสนิท  ไม่นิยมเชิญคนภายนอก  เป็นการอาบชำระร่างกายศพจริงๆ  โดยอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นก่อนแล้วล้างด้วยน้ำเย็น  ฟอกสบู่ขัดถูร่างกายศพให้สะอาด
   เมื่ออาบน้ำศพเสร็จแล้ว  ก็เอาน้ำขมิ้นทาตามร่างกายตลอดถึงฝ่ามือฝ่าเท้า  และประพรมด้วยน้ำหอม  เอาผ้าขาวซับรอยหน้า  ฝ่ามือทั้งสองและฝ่าเท้าทั้งสอง  แล้วมอบให้แก่ลูกหลานของผู้ตายเก็บไว้สักการะบูชา
   เมื่ออาบน้ำชำระร่างกายศพเรียบร้อยแล้ว  ก็แต่งตัวศพตามฐานะของผู้ตาย  เช่น  เป็นข้าราชการ  ก็แต่งเครื่องแบบเป็นต้น  เครื่องแต่งตัวนั้น  นิยมใช้เสื้อผ้าที่สะอาดและใหม่ที่สุดเท่าที่มีอยู่แล้ว
   เมื่อแต่งตัวศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว  จึงอัญเชิญศพขึ้นนอนบนเตียงสำหรับรอรับการรดน้ำต่อไป
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #153 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 21:00:37 »

สถานที่ตั้งเตียงประดิษฐานศพสำหรับรดน้ำ
   เตียงประดิษฐานศพสำหรับรดน้ำนั้น  นิยมจัดตั้ง  ณ  สถานที่กว้างๆ  กลางสถานที่นั้น  เพื่อความสะดวกแก่ผู้มาแสดงความเคารพ
   นิยมตั้งเตียงประดิษฐานไว้ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย  โดยตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยไว้ด้านบนศีรษะของศพ
   นิยมตั้งเตียงหันด้านขวามือของศพ  หรือด้านปลายเท้าของศพให้อยู่ทางผู้ที่มาแสดงความเคารพศพ
   ห้ามมิให้ผู้ใดเดินผ่านทางด้านศีรษะของศพ  เพราะถือกันว่าเป็นกิริยาอาการที่แสดงความไม่เคารพต่อศพนั้น
   นิยมจัดร่างศพให้นอนหงายเหยียดยาว  จัดมือขวาให้เหยียดยาวห่างจากตัวเล็กน้อย  โดยจัดมือขวาให้วางหงายแบเหยียดออกคอยรับการรดน้ำ  และเพื่อเป็นการแสดงปริศนาธรรมแก่ผู้มารดน้ำศพทั้งหลาย  ให้เห็นความจริงของชีวิต  คล้ายกับศพนั้นจะพูดว่า  “ นี่แน่ท่านทั้งหลาย  จงดูนะ  ฉันไปมือเปล่านะ  ฉันไม่ได้นำเอาสมบัติอะไร  ( ของมนุษย์ )  ติดมือไปเลยแม้แต่น้อย  และตัวท่านเองก็จักต้องเป็นเช่นเดียวกับฉันนี้เหมือนกัน ”
   นิยมมีผ้าห่มคลุมตลอดร่างศพนั้น  โดยเปิดหน้าและมือขวาไว้เท่านั้น  ผ้าที่ใช้คลุมศพนั้นนิยมใช้ผ้าใหม่ๆ  และโดยมากมักใช้ผ้าแพรห่มนอน
   นิยมจัดเตรียมขันโตก  คือขันพานรองขนาดใหญ่  ตั้งไว้คอยรองรับน้ำที่รดศพนั้น  พร้อมทั้งจัดเตรียมน้ำอบ  น้ำหอมผสมน้ำ  และมีภาชนะเล็กๆ  ไว้สำหรับตักให้แก่ผู้มารดน้ำศพด้วย  พร้อมกับมีบุคคลผู้ใกล้ชิดกับผู้ตาย  หรือลูกหลานคนใดคนหนึ่ง  คอยส่งภาชนะสำหรับรดน้ำให้แก่ผู้มารดน้ำศพที่มิได้เตรียมเครื่องรดน้ำมาด้วย

วิธีการรดน้ำศพ
   ก่อนจะเริ่มพิธีรดน้ำศพนั้น  นิยมให้เจ้าภาพศพจุดเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัยก่อน  แล้วจึงเริ่มพิธีรดน้ำศพต่อไป
   นิยมให้พวกลูกหลานวงศาคณาญาติผู้ใกล้ชิดทำการรดน้ำศพเสียก่อนถึงเวลาเชิญ  เพื่อไม่ให้เกิดความคับคั่ง  ไม่เสียเวลารอคอยของท่านผู้มาแสดงความเคารพ
   นิยมมีลูกหลาน  หรือญาติฝ่ายเจ้าภาพ  คอยรับรองแขก  และเชิญเข้ารดน้ำศพ  พร้อมทั้งแนะนำเข้าไปรดน้ำและทางออก  เพื่อความสะดวกไม่คับคั่งกัน
   เมื่อผู้มีเกียรติมาแสดงความเคารพศพหมดแล้ว  นิยมเชิญท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดอยู่ในนั้นเป็นผู้แทนรดน้ำศพด้วยน้ำพระราชทาน  หรือเป็นผู้รดน้ำศพเป็นท่านสุดท้าย
   เมื่อท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ที่นั่น  ได้รดน้ำพระราชทานศพแล้วหรือได้รดน้ำศพแล้ว  ถือกันว่าเป็นเสร็จพิธีรดน้ำศพ  ไม่นิยมให้ผู้ใดผู้หนึ่งรดน้ำศพอีกต่อไป

วิธีการจัดศพลงหีบ
   การจัดศพลงหีบนั้น  นิยมมอบให้เป็นหน้าที่ของสัปเหร่อทำพิธีกรรมต่างๆ  ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้นๆ
   ฝ่ายเจ้าภาพนิยมติดต่อสอบถามตกลงกันไว้เรียบร้อยก่อนแล้วเพียงแต่คอยให้ความสะดวกแก่พวกสัปเหร่อเท่านั้น
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #154 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 21:01:19 »

คำแนะนำการกราบไหว้พระ
หนังสือนวกานุศาสนี อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พุทธศักราช ๒๕๒๒    พระธรรมเจดีย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  กรุงเทพฯ
(  หนังสือพิมพ์ข่าวสด  คอลัมน์ รายงานพิเศษ  วันที่  ๕  กรกฎาคม  ๒๕๔๒  )
   ในเวลานั่งสวดสรรเสริญพระคุณพระรัตนตรัยนั้น  เป็นการสวดเพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า  พระธรรมเจ้า  พระสงฆ์เจ้า  เพราะพระคุณของพระรัตนตรัยนี้  เราจะพรรณนาสักเท่าใดก็ไม่มีหมด
   การไหว้พระพุทธ  ก็เพราะพระพุทธเจ้าเป็นพระศาสดาผู้มีปรีชา  มีพระปัญญาเลิศ  พระองค์เป็นผู้เล็งรู้ความจริงของโลกทุกอย่าง  พระองค์เป็นผู้ปราศจากความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  พระองค์เป็นผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยพระเมตตา  พระกรุณา  เราจึงพากันระลึกถึงพระคุณท่าน
   การไหว้พระธรรม  เพราะพระธรรมเป็นคำสั่งสอนอันดีเลิศ  คุณของพระธรรมคือความสงบ  ทำให้ใจผ่องแผ้วบริสุทธิ์
   การไหว้พระสงฆ์  เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ปฎิบัติดี  ปฎิบัติชอบ  และเป็นผู้ปฎิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  เป็นผู้นำศาสนามา
   การกราบไหว้ต้องตั้งใจด้วยความเคารพจริงๆ  นิยมกราบด้วย  เบญจางคประดิษฐ์  เบญจางคประดิษฐ์นั้น  ได้แก่  การกราบไหว้  โดยนั่งคุกเข่าทั้งสองลงห่างกันประมาณ  1  ฟุต  ประนมมือเสมออก  แล้วก้มลงยื่นฝ่ามือทั้งสองลงพื้น  ให้ข้อศอกทั้งสองข้างเสมอหัวเข่า  อย่าให้กางออกไปนอกหัวเข่า  และให้ชิดหัวเข่า  ฝ่ามือทั้งสองให้นิ้วมิดชิดกัน  อย่ากางนิ้ว  ฝ่ามือห่างกันประมาณ  4 - 5  นิ้วฟุต  เว้นช่องให้หน้าผากก้มลงถึงพื้น  แล้วเงยขึ้นตั้งต้นเหมือนเดิม  กราบไหว้นี้มีองค์ 5  คือ  หัวเข่า 2  ฝ่ามือ 2  กับหน้าผาก 1  จะให้เรียบร้อยตามแบบต้องดูตัวอย่าง  และทำจนตัวเวลากราบไหว้แบบนี้ร่างกายเป็นไปเอง  ไม่ต้องตั้งใจและเกร็งตัวเวลาทำ
   การสวดสรรเสริญและระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า  เป็นการอบรมหน่วงเหนี่ยวคุณงามความดีอันพระองค์ทรงสั่งสอนนั้น  มาล้างดวงใจที่ซ่านให้สงบ  ที่ขุ่นมัวให้ผ่องแผ้ว
   การทำวัตรค่ำก็เหมือนกัน  ทิ้งการสรรเสริญและระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเสียไม่ได้  การทำวัตรค่ำมีการหมอบกราบแล้วกล่าววาจาว่า “ กาเยนะ วาจายะวะ เจตะสาวา ”  เป็นคำกล่าวเพื่อขอขมาต่อพระพุทธ  พระธรรม  และพระสงฆ์  ในการที่หากว่าเราได้ล่วงละเมิดไปในวันหนึ่งๆ  คนเราถ้าได้ทำอะไรล่วงเกินละเมิดไป  ถ้าได้ขอขมาลาโทษเสีย  ก็เป็นการให้อภัยได้
   การไหว้พระสวดมนต์เป็นอุบายฝึกจิตให้สงบ  ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า  ใช่ไปออกเสียงเป็นภาษามคธ แล้วจะได้บุญ  ในขณะที่ออกเสียงก็ต้องสำรวมให้อยู่ในวงของบทที่ว่านั้นด้วย  นี่แหละ!  อุบายฝึกจิตให้เกิดสมาธิ  ยิ่งแปลรู้เรื่องชวนให้ใจเลื่อมใส  เกิดความพอใจในการสวด
   ทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็นที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ได้แปลไว้แล้ว  ต้องการทราบเรื่องหาดูได้  ฉะนั้น  จึงควรอุตสาหะในการทำวัตรเช้า  เย็น  อย่าเกียจคร้าน  จะได้พอกพูนบุญกุศลให้เจริญยิ่งๆขึ้นในสันดาน
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #155 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 21:01:45 »

คำแนะนำการรับประเคนที่ถูกต้อง
หนังสือนวกานุศาสนี อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พุทธศักราช ๒๕๒๒    พระธรรมเจดีย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  กรุงเทพฯ
(  หนังสือพิมพ์ข่าวสด  คอลัมน์ รายงานพิเศษ  วันที่  ๕  กรกฎาคม  ๒๕๔๒  )
   ต่อไปนี้จะว่าด้วยเรื่อง  “ การประเคน ”  ผู้ที่บวชเป็นภิกษุเสร็จ  การที่ต้องปฎิบัติตามพระวินัยก็มาถึงทันที  การประเคนมีบัญญัติไว้ในสิกขาบทที่ ๑๐  แห่งโภชนวรรคว่า  ภิกษุกลืนกินอาหารที่ยังไม่มีผู้ให้ ( ประเคน ) ต้องอาบัติปาจิตตีย์  เว้นไว้แต่น้ำกันไม้สีพัน  หมายถึงน้ำเปล่าที่ไม่มีอะไรเจือปน  ถ้ามีอามิสเจือ  เช่น  น้ำส้ม  น้ำชา  น้ำยาอุทัย  ต้องประเคน  ไม้สีพันเป็นก้านไม้อ่อนๆ  หรือเปลือกไม้  เช่น  ก้านโสม  เปลือกข่อย  แต่ก่อนยังไม่มีแปรงสีพัน  พระก็เอาก้านไม้อ่อนๆ  หรือเปลือกไม้ดังกล่าวมาเคี้ยวให้แหลก  แล้วใช้สีพันแทนแปรงและยาสีฟันไปในตัว  ได้ยินว่าทำให้ฟันสะอาดและได้รับการบริหารฟันเป็นอย่างดีมีคุณ  สีเสร็จแล้วก็คลายทิ้ง  ไม่ได้กินเหมือนอาหาร  แต่ยาสีฟันอย่างปัจจุบันนี้ที่เป็นหลอดหรือเป็นห่อต้องประเคน  เข้าในลักษณะเภสัชอย่างหนึ่ง  เพราะเป็นยาเครื่องรักษาฟัน
   คำว่า  “ ประเคน ”  เป็นภาษาเขมร  แปลว่า  “ ให้ ”  แต่คำว่าประเคนนี้  การใช้ของเราเป็นที่เข้าใจและใช้กันเฉพาะในวงการพระ  ไปใช้ในพวกคฤหัสถ์ด้วยไม่เคยมี  ข้อบังคับเฉพาะที่ต้องให้ด้วยมือรับด้วยมือ  หรือเรียกกันว่าประเคนนั้น  จำกัดเฉพาะประเภทอาหารและหมากพลูบุหรี่  อย่างอื่น  เช่น  ผ้า  จาน  ช้อนส้อม  เป็นต้น  ไม่ต้องประเคน  เพราะไม่ใช่อาหารที่เกี่ยวกับการกลืนกินให้ล่วงลำคอ  เข้าให้ด้วยวาจา  ว่านิมนต์หยิบเอาใช้ได้  เช่นนี้ภิกษุหยิบเอาใช้ได้ไม่ต้องประเคน  แต่มีข้อยกเว้นว่า  เนื้อดิบ  ปลาดิบ  รับประเคนไม่ได้
   การรับบิณฑบาตต้องรับเมื่อได้อรุณแล้ว  ถ้าอรุณยังไม่ได้เป็นอาบัติปาจิตตีย์  ที่เป็นเช่นนี้ถือว่าเมื่อเวลายังไม่ได้อรุณ  ยังไม่เป็นวันใหม่  การบิณฑบาตเป็นการรับอาหารไว้ค้างคืน  จึงเป็นอาบัติ
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #156 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 21:02:28 »

การประเคนต้องประกอบด้วยองค์  ๕  จึงจะถือว่าเป็นการประเคนที่ถูกต้อง
   ๑.  น้ำหนักสิ่งของที่ถวาย  ต้องพอแก่กำลังของผู้ถวาย  ถ้าเป็นสิ่งของมีน้ำหนักเกินไป  เช่นต้องใช้คน  ๒-๓  คนยก  เช่นนี้รับประเคนไม่ขึ้น  แต่ถ้าเป็นสตรีอ่อนแอจะให้บุรุษช่วยยกบ้างก็ได้  เคยพบตัวอย่างคือการประเคนอาหารเวลาทำบุญเลี้ยงพระ  วางอาหารบนโต๊ะใหญ่ๆ  จนยกไม่ได้หรือยกไม่ไหว  หรือบางทีวางไว้บนผ้าขาวที่เรียกว่าผ้าปูโต๊ะเสร็จแล้ว  มีคนจับมุมโต๊ะหรือที่มุมชายผ้า  ให้พระจับโต๊ะหรือผ้า  ถือว่าเป็นการประเคนให้พระ  เช่นนี้ไม่ถูก  ประเคนไม่ขึ้นใข้ไม่ได้  ยังมีวิธีประเคนอีกอย่างหนึ่ง  คือให้พระรับประเคนเสียจานหนึ่ง  ถ้วยหนึ่ง  หรือชามหนึ่ง  แล้วจับจาน  ถ้วย  หรือชามอื่นๆ  ที่ใส่อาหารเลื่อนเอามาให้ติดกันไปกับภาชนะที่พระจับ  ถือว่าเป็นการประเคนแล้ว  เช่นนี้ไม่ถูก  เพราะการประเคนไม่ใช่กระแสไฟฟ้าจะแล่นไปถึงกันได้  เป็นความเข้าใจผิดหรือมักง่ายของคนประเคน เพราะการยกของนั้นไม่เป็นกิจจะลักษณะ
   ๒.  ผู้ให้กับผู้รับต้องอยู่ในหัตถบาส  คำว่า  หัตถบาส  แปลตามศัพท์ว่า  บ่วงมือ  ดูจะใช้เป็นการวัดขนาดยาว  คือระหว่างผู้ให้กับผู้รับห่างกัน  ถ้าคะเนตั้งแต่หัวไหล่แขนขวาถึงหัวไหล่แขนซ้าย  โดยเอามือประสานกัน  นับแต่หัวไหล่มือขวาถึงหัวไหล่มือซ้ายกางออกตามด้านตรง  ก็คงจะได้ราวสองศอกคืบ  ฉะนั้นท่านจึงกำหนดเป็นมาตราไว้ในระยะสองศอกคืบ  ถ้ากะให้พอเหมาะแล้ว  ผู้ถวายนั่งกินเนื้อที่เสีย  ๑  ศอก  เหลือนับระยะห่างกับผู้ถวาย  ๑  ศอกกับ  ๑  คืบ  ผู้ถวายเข้ามาอยู่ในระยะนี้พอเหมาะ  ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป  ถือว่าเป็นการสมควร  ระยะดังกล่าวนี้คิดตามมาตราช่างไม้  ยังเหลือระยะห่างจากผู้รับกับผู้ถวายอีก  ๗๕  เซนติเมตร
   ๓.  อาการที่ให้ของต้องน้อมลงและยกให้ปรากฏ  คือ  หมายความว่าของที่ให้นั้น  ต้องถูกน้อมลงและยกให้ปรากฏ  ให้เป็นกิจจะลักษณะในเชิงยกให้  ไม่ใช่จับเสือกๆ  ส่งๆ  ให้  การถือของจะถือจับสองมือ  หรือมือเดียวก็ได้  เคยพบในหนังสือธรรมบท  นิยมจับสองมือยกให้  การยกของอย่ายกให้สูงเกินไปนัก  ต้องยกให้พอเหมาะแลดูงาม  เคยพบตัวอย่าง  เช่นในเวลาถวายของพระสวดแจงหรือถวายเครื่องดื่ม  น้ำชาแก่พระมากๆ  ผู้ประเคนมักจะยกถาดหรือสิ่งของไปตรงหน้าพระแล้วส่งให้เฉยๆ  บางทีพูดว่านิมนต์ขอรับ  เช่นนี้พระจะรับไปยังไม่ได้  เพราะเข้ายังมิได้น้อมของให้  ต้องให้เขาน้อมหรือยกของเฉพาะอันหนึ่งให้เป็นกิจจะลักษณะ  เช่น  เขายกเครื่องดื่มที่ใส่แก้วไปส่งให้ทั้งถาด  พระต้องจับถาดแล้วหยิบเอาแก้วหนึ่งหรือให้เขาวางถาดลงหยิบเอามาให้เฉพาะแก้วหนึ่ง  จึงจะได้  การประเคนของให้พระแบบมักง่ายของคนให้  และพระก็มักง่ายรับเช่นกัน  ไม่ถูกไม่ดีทั้งนั้น
   ๔.  ผู้ประเคน  เป็นสตรีก็ได้เป็นบุรุธก็ได้  ประเคนให้ด้วยกายก็ได้  ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้  ถ้าเป็นสตรีประเคนให้  พระรับด้วยของเนื่องด้วยกาย  เช่น  ผ้า  บาตร  ปิ่นโต  เป็นต้น  ส่วนบุรุธเอามือรับได้ทีเดียว
   ๕.  การรับ  รับด้วยตนเอง  หรือของเนื่องด้วยตน  หมายความว่าเราจะรับด้วยมือเราก็ได้  สตรีประเคนบังคับว่าต้องรับด้วยผ้า  จะรับด้วยมือไม่ได้  ผ้าที่จะใช้รับ  ใช้ผ้ากราบเป็นดีที่สุด  เพราะสะอาดดี  แต่ถ้าจำเป็นใช้ผ้าเช็ดหน้า  หรือแม้ที่สุดชายจีวรก็ได้  การจับผ้ากราบต้องหงายมือ  วางผ้าทางด้านหน้าที่ถูกพับไปข้างหน้า  ปล่อยชายทบเข้ามาหาตัว  จับผ้าจะจับมือเดียวหรือสองมือก็ได้  แต่ต้องให้เรียบร้อย  แต่การจับสองมือน่าดูกว่า  บุรุธต้องรับด้วยมือ
   การประเคนต้องประกอบด้วยองค์  ๕  ดังกล่าวมา  จึงจะถือว่าเป็นการประเคนที่ถูกต้อง  การประเคนให้ซึ่งหมายในที่นี้จำเพาะอย่างยิ่งคืออาหาร  การชักบังสกุลไม่ใช่การประเคน  จึงใช้ของที่ไม่จัดเข้าในประเภทอาหารเช่นผ้าเท่านั้น  บางคราวเคยเห็นใช้ซองปวารณาก็มี  ไม่ตรงความหมายของคำว่าบังสกุล  เพราะคำนี้หมายถึงผ้าเท่านั้น
   สมมติว่ามีคนเอาใบชาไปวางให้พระชักบังสกุล  พระจะชักบังสกุลได้หรือไม่  ชักบังสกุลไม่ได้เพราะชาจัดเข้าในประเภทอาหาร  จึงชักบังสกุลไม่ได้  เพราะยังไม่มีการยกขึ้นน้อมประเคนตามที่กล่าวมาแล้ว  ของที่เขายังไม่ประเคนเช่นนี้  พระไปยกจับขึ้นเองเป็นอาบัติทุกกฎ  ดังนั้น  ต้องจำเวลาเข้าบ้าน  ถ้าที่คับแคบจะเดินไม่พ้น  อย่าไปจับของที่จะต้องประเคน  เช่นพานหมากเสียเองเป็นอาบัติ
   พูดง่ายๆ  ให้เข้าใจ  คำว่า  “ อาหาร ”  หมายถึงของที่พึงกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปได้  ไม่ใช่หมายแต่ข้าวปลา  ขนม  หรือผลไม้เป็นต้นเท่านั้น  ของกินอย่าไปยกขึ้นก่อนประเคนไม่ได้
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #157 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 21:02:53 »

คำแนะนำ  “ การปลงอาบัติสงฆ์ ”
หนังสือนวกานุศาสนี อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พุทธศักราช ๒๕๒๒    พระธรรมเจดีย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  กรุงเทพฯ
(  หนังสือพิมพ์ข่าวสด  คอลัมน์ รายงานพิเศษ  วันที่  ๕  กรกฎาคม  ๒๕๔๒  )
   ต่อไปจะว่าด้วยเรื่อง  “ ปลงอาบัติ ”  คำว่าอาบัติ  แปลว่า  ล่วงละเมิด  หมายความว่า  ภิกษุทำความผิดละเมิดต่อวินัยบัญญัติข้อใดข้อหนึ่งอันเป็นโทษ  เรียกว่าต้องอาบัติ  อาบัติมีลักษณะต่างๆกัน  คือ  หนัก  และ  เบา  โดยลำดับ
   ๑.  ปาราชิก     มี  ๔  อย่าง  คือ   -เสพเมถุน   -ลักของเขาราคาตั้งแต่ห้ามาสกขึ้นไป   -ฆ่ามนุษย์นอกครรภ์ในครรภ์   -อวดธรรมอันสูงถึงฌานสมาบัติ  เมื่อภิกษุต้องแล้ว   แก้ไขไม่ได้  มีอันต้องสึกโดยส่วนเดียว  แม้สึกแล้วไปบวชใหม่ก็บวชไม่ขึ้น
   ๒.  สังฆาทิเสส   มี  ๑๓  อย่าง  ยกขึ้นพูดเฉพาะที่ภิกษุอาจต้องเข้าง่ายๆ  เช่น  ตั้งใจหรือแกล้งให้น้ำอสุจิเคลื่อน  จับต้องกายหญิงด้วยราคะกำหนัด  ไม่มีเจตนาบังเอิญไปถูกการหญิงเข้าไม่เป็นอาบัติ  พูดเกี้ยวหญิงกระทบถึงเมถุนธรรม  นอกจากนี้มีอยู่แล้วในหนังสือนวโกวาท  สังฆาทิเสสต้องเข้าแล้ว  จะปลงกันอย่างปกติไม่ได้  ต้องอยู่กรรม  เมื่อต้องเข้าแล้วต้องแจ้งให้ภิกษอื่นทราบทันที  เมื่อมีโอกาสจึงไปอยู่กรรม  ถ้าแจ้งช้าไปกี่วันต้องอยู่กรรมเป็นพิเศษเท่าจำนวนวันที่ไม่แจ้ง
   ๓.  ถุลลัจจัย   ปาจิตตีย์   ปาฎิเทสนียะ  ทุกกฎ  ทุพภาษิต  ทั้งห้าอย่างนี้  ต้องเข้าแล้ว  ให้ปลงอาบัติกับภิกษุด้วยกัน  ก็เป็นอันพ้น  ส่วนอาบัติ  ปาจิตตีย์ที่เป็นนิสสัคคีย์ด้วย  ต้องทำพิธีเสียสละก่อน  จึงปลงอาบัติตก  เช่น  ผ้าไตร  จีวร  ครองเป็นนิสสัคคีย์  ถ้ายังไม่ได้สละ  เอาผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์ไปใช้  ต้องอาบัติทุกกฎทุกครั้งที่ใช้
   การปลงอาบัติ  เป็นการแสดงความชั่วที่พระได้ละเมิดวินัยมานั่นเอง  พระถ้าทำอะไรผิดต้องแจ้งให้เพื่อนภิกษุทราบและรับว่าจะสังวรต่อไป
   การปลง  คือ  พระที่ต้องอาบัติแจ้งแก่ภิกษุ  แล้วภิกษุนั้นถามว่า  เธอเห็นหรือ  พระรูปนั้นรับว่าเห็น  ภิกษุนั้นก็เตือนว่า  อย่าทำต่อไป  อันนี้เป็นการเปิดเผยความชั่ว  คนเราถ้าทำอะไรอันเป็นความชั่วแล้วสารภาพเสีย  ย่อมถือว่าเป็นผู้ซื่อตรง
   การปลงอาบัติไม่มีเงื่อนไขว่า  จะต้องปลงกะภิกษุกี่รูป  จะปลงกะสงฆ์กะคณะคือพระ  ๒-๓  รูปก็ได้  หรือจะปลงกันตัวต่อตัวก็ได้  แต่การที่จะปลงต่อสงฆ์มักเป็นเรื่องที่ภิกษุละเมิดวินัยอันมีความไม่สมควรมาก  ตามธรรมดาก็ปลงกันตัวต่อตัว  ผู้ที่ปลงอาบัติต้องเป็นภิกษุด้วยกัน  คนอื่นห้าม  ภิกษุที่รับปลงอาบัติแล้ว  ก็ต้องไม่เปิดเผยแก่คนอื่น  นอกจากในหมู่ภิกษุด้วยกัน  หากไปเปิดเผยแก่คนที่ต้องห้าม  เป็นอาบัติอีกต่อหนึ่ง
   ในกรณีที่ภิกษุหลายรูปต้องอาบัติในเรื่องเดียวกัน  ดังเช่นที่กล่าวถึงมาแล้วเรื่องทำอุโบสถ  ภิกษุในวัดไม่ทำอุโบสถสวดปาฎิโมกข์ทั้งวัด  ถูกปรับอาบัติหมดทุกรูปเหมือนกัน  ในวัตถุอันเดียวคือไม่ทำอุโบสถ  เช่นนี้  ท่านห้ามไม่ให้ปลงในพวกเดียวกัน  อาบัติอย่างนี้เรียกว่า  “ สภาคาบัติ ”  แปลว่า  อาบัติมีส่วนคือความผิดเหมือนกันต้องปลงในสำนักภิกษุอื่นผู้ไม่ต้องอาบัติเช่นนั้น  ครั้นแล้วจึงให้ภิกษุรูปอื่นที่ต้องสภาคาบัติแสดง  คือปลงในสำนักของภิกษุนั้นอีกต่อหนึ่ง  ที่แรกห้ามไม่ให้ปลงในพวกเดียวกัน  คงถือว่าเป็นกรณีที่คนมากทำผิดร่วมกัน  ถ้าปล่อยให้ปลงง่ายนักจะเคยตัว
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #158 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 21:03:17 »

องค์คุณ  ๕  เครื่องวัดพระธรรมวินัย
หนังสือนวกานุศาสนี อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พุทธศักราช ๒๕๒๒    พระธรรมเจดีย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  กรุงเทพฯ
(  หนังสือพิมพ์ข่าวสด  คอลัมน์ รายงานพิเศษ  วันที่  ๘  กรกฎาคม  ๒๕๔๒  )
   การปฎิบัติพระธรรมวินัยนั้นต้องมีธรรมเป็นกำลังอยู่บ้าง  ถ้ามิฉะนั้นจะเกิดความอึดอัดใจเบื่อหน่าย  เห็นเป็นการขัดต่อความสะดวกสบายของตน  ซึ่งเคยมาแต่คราวเป็นคฤหัสถ์  ถ้ามีธรรมเป็นกำลังอยู่บ้างจะช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียด  อึดอัดใจลงได้บ้าง
   ข้อสำคัญในการปฎิบัติในพระวินัยของพระบวชใหม่นั้น  ขั้นต้นควรตั้งใจถือศีล  ๒  อย่างก่อน  คือรู้ว่าเป็นอาบัติไม่ทำอย่างหนึ่ง  ก็พอรักษาตัวได้กว่าจะรู้ในข้อที่ทรงห้ามและข้อที่ทรงอนุญาตดีแล้ว  ผู้บวชแล้วถือวินัยอย่างเดียวไม่ได้  อึดอัดใจเหมือนมัดมือมัดเท้า  ต้องถือธรรมด้วยกลมเกลียวกันไป  จะได้ช่วยทำใจให้ดี  เมื่อใจดีแล้ว  แต่นั้นกายวาจาก็ดี   พระวินัยนั้นสอนให้ปฎิบัติดี   ทางกายวาจา  ทางใจ  เป็นหน้าที่ของธรรมปฎิบัติ
   มีธรรมอยู่หมวดหนึ่งซึ่งช่วยในการปฎิบัติพระธรรมวินัยได้ดี  มี  ๕  อย่าง  เป็นเครื่องวัดการปฎิบัติพระวินัย  ถ้าคุณ  ๕  บกพร่องมากนัก  ก็แสดงว่าการปฎิบัติพระวินัยของผู้นั้นย่อหย่อนมาก  ถ้าองค์คุณเหล่านี้มีบริบูรณ์ดี  ก็แสดงว่าผู้นั้นปฎิบัติในพระวินัยสมบูรณ์ดี
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #159 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 21:04:05 »

องค์ธรรมเครื่องประกอบ  ได้แก่
   “ อัปปิจฉตา ”   ความเป็นผู้มักน้อย  เช่น ภิกษุมีปัจจัยลาภมาก  ก็แบ่งปันให้ผู้อื่นกินใช้บ้าง  เอาไว้แต่พอกินพอใช้  ไม่มักมากอยากใหญ่  ความมักมากเมื่อสะกดไว้ไม่อยู่  จะกลายเป็นปาปิจโฉ  ความอยากลามก  โดยอยากได้  อยากดี  อยากรวย  อยากเด่น  อยากดัง  ในทางที่ผิดวินัย  ทำให้สมณวิสัยผุกร่อน  เพราะอิจฉาปะกะโต  ความอยากครอบงำ  จิตใจก็มืดและเต็มไปด้วยความอยากอันลามก  เพียงเพื่อประสงค์ลาภสักการะเป็นต้น  ออกวิธีตลกลวงโลกด้วยความเป็นผู้วิเศษต่างๆ  เหมือนลูกโป่งเต็มไปด้วยลม  เมื่อมีมากเกินขนาด  อำนาจแห่งความอยากย่อมทำให้ถึงความพินาศแห่งสมณเพศ  ดุจลูกโป่งต้องแตกโพละ  ฉะนั้น
   “ สันตุฏฐิตา ”  ความเป็นผู้สันโดษ  ก็คือความยินดีพอใจตามที่มีที่เป็นได้  ถ้าเป็นพระก็คือเรื่องปัจจัยสี่  จะมีจะได้อย่างไร  มากน้อยเท่าไร  ก็ยินดีพอใจเท่านั้น  ไม่ทะเยอทะยานแสวงหาในทางที่ผิดวินัย  ถ้าในทางที่วินัยห้ามแล้ว  แม้จะทำให้ได้มี  จะดีจะมากสักเพียงใรก็ไม่ยินดี  ความไม่สันโดษ  เป็นเหตุให้พระประพฤติผิดวินัยได้ต่างๆ  ตั้งแต่ที่มีโทษอย่างเบาจนถึงที่มีโทษอย่างหนักได้  ในวินัยบัญญัติปรากฎว่า  พระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้หลายข้อ  เพราะความไม่สันโดษของพระ
   “ หิริมตา ”  ความเป็นผู้ละอาย  เป็นดุจเกราะที่หุ้มกำบังมิให้สมณภาพต้องเป็นอันตรายเพราะศีลวิบัติ  เสียความเป็นสมณะ  ท่านว่าหิริ  ความละอายเป็นสมุฏฐานที่ตั้งแห่งศีล  ศีลจะอยู่ก็เพราะความละอาย  ศีลจะไปก็เพราะความไม่ละอาย  ลงได้ไม่ละอายเสียอย่าง  ความชั่วอะไรก็ทำได้  ศีลเล็กศีลใหญ่ถูกย่ำยีได้ราบเป็นหน้ากลอง  เหมือนรถบดถนน  ก้อนอิฐก้อนหินใหญ่น้อยก็ถูกบดราบไปฉะนั้น  พระเถระแต่ปางก่อนมีพระมหากัสสปเถระเป็นต้น  เมื่อสิ้นเสร็จการสังคายนาพระธรรมวินัยแล้ว  ได้ประกาศในที่ประชุมว่า  ในอนาคตภิกษุลัชชี(ผู้มีความละอาย)  จักรักษาพระธรรมวินัย  ภิกษุอลัชชี(ผู้ไม่มีความละอาย)  จักทำลายพระธรรมวินัย  ข้อนี้จะมีจริงหรือไม่  มีตัวอย่างให้ดูได้แม้ในปัจจุบันนี้แล้ว
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #160 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 21:04:28 »

“ กุกกุจจปกตตา ”  ความเป็นผู้มักรังเกียจสงสัย  การรักษาพระธรรมวินัยเป็นของยาก  เหมือนประคองน้ำบนใบบัว  เงื่อนไข  ข้อแม้  ในวินัยเล่าก็มีมากสลับซับซ้อน  สุขุม  ละเอียดอ่อน  จะควรไม่ควรอย่างไร  ต้องระวังใส่ใจมักง่ายไม่ได้  ความรังเกียจสงสัยในที่นี้  มิได้หมายถึงรังเกียจคนหรือปัจจัย  แต่รังเกียจสงสัยในการปฎิบัติตามพระวินัยว่าจะผิดหรือไม่  เมื่อไม่แน่ใจให้สอบถามผู้รู้ก่อน  อย่าเพิ่งทำลง  เช่น  รับประเคนน้ำชาไว้แล้ว  ภายหลังสงสัยว่าจะมีใครมาจับต้องหรือเปล่า  ท่านให้ประเคนเสียใหม่  ถ้าสงสัยแล้วขีนทำลงไป  ถึงไม่ผิดวินัยจริง  ก็ถูกปรับอาบัติฐานสงสัยแล้วขืนทำ  คุณข้อนี้จึงช่วยให้การปฎิบัติวินัยรอบคอบดีขึ้น  ไม่มักง่ายตามใจตัวหรือความเคยตัว  พระบวชใหม่ยังไม่รู้วินัยทั่วถึง  เมื่อมีคุณข้อนี้จะช่วยให้รักษาวินัยรอบคอบดี  อย่าตีความหมายพระวินัยเข้าข้างตัว  ด้วยมุ่งมั่นความสะดวกสบายของตัว  จะกลายเป็นพระชั่วไปเสียง่ายๆ
   “ สิกขากามตา ”  ความเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา  หมายความว่า  สนใจในการหาความรู้ในพระวินัยอยู่เนืองนิตย์พร้อมกับการปฎิบัติตามไปด้วย  คำว่า  ศึกษาในที่นี้  จึงต้องรวมถึงการเรียนให้มีความรู้ด้วยและประพฤติตามด้วย
   เพราะฉะนั้น  พระใหม่ที่บวชเข้ามาด้วยศรัทธา  พึงปลูกความยินดีเต็มใจที่จะรับปฎิบัติตามพระวินัยดุจรับพวงมาลัยทองคำที่เขามอบให้ฉะนั้นเถิด  อย่าได้อิดหนาระอาใจ  การที่สามารถรักษาพระวินัยได้ดี  เป็นเครื่องแสดงคุณธรรมในใจของตน  คือ  ขันติ  ความอดทน  วิริยะความเป็นผู้กล้า  เสียสละความที่เคยสุขสะดวกสบายของตนมาแต่ก่อน  อุทิศแรงกาย  แรงใจ  อุตสาหะ  ปฎิบัติตามไม่ท้อถอยไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นชายชาวพุทธ  ได้มีโอกาศบรรพชาอุปสมบท
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
คำค้น:
หน้า:  1 ... 6 7 [8] 9   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
บทสวดมนต์
ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
時々๛कभी कभी๛ 0 3335 กระทู้ล่าสุด 04 ตุลาคม 2553 12:36:19
โดย 時々๛कभी कभी๛
บทสวดมนต์ ธรรมจักร ทำนองอินเดีย พร้อมคำแปล ปรับปรุงใหม่
เพลงสวดมนต์
เงาฝัน 0 3641 กระทู้ล่าสุด 02 พฤศจิกายน 2554 05:31:53
โดย เงาฝัน
ย้ายแล้ว: บทสวดมนต์ ธรรมจักร ทำนองอินเดีย พร้อมคำแปล ปรับปรุงใหม่
บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 0 3348 กระทู้ล่าสุด 28 พฤศจิกายน 2554 17:27:47
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
บทสวดมนต์ (อนัมนิกาย) มหายาน ชื่อ มาฮาบ๊าดหยา...และ ทามเหล๋
เพลงสวดมนต์
มดเอ๊ก 0 2146 กระทู้ล่าสุด 25 มิถุนายน 2559 03:48:21
โดย มดเอ๊ก
บทสวดมนต์ (อนัมนิกาย) มหายาน ชื่อ เฮืองบุ๊นจ่าย
เพลงสวดมนต์
มดเอ๊ก 0 2324 กระทู้ล่าสุด 25 มิถุนายน 2559 03:49:59
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.273 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 02 มกราคม 2567 10:12:43