[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 05:42:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2 3 4   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เงิน  (อ่าน 34665 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:39:26 »

เงิน

ผมจะทยอยนำมาลงให้ได้อ่านกัน

อยากรู้เรื่องของเงิน  ต้องติดตามอ่านกันครับ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:40:10 »

ปัจจุบันนี้ คงไม่มีใครที่จะปฎิเสธเรื่องของ "เงิน" ได้ เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนเป็นจำนวนมาก ลองอ่านกันดูนะครับ

ที่มา พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
http://board.palungjit.com/showthrea...22445&page=883
และ
"พระวังหน้า ที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้....."
http://www.agalico.com/board/showthr...t=8477&page=32
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:40:38 »

ที่มา พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
http://board.palungjit.com/showthrea...22445&page=883
และ
"พระวังหน้า ที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้....."
http://www.agalico.com/board/showthr...t=8477&page=32

ที่มา พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
และ
"พระวังหน้า ที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้....."
http://www.agalico.com/board/showthr...t=8477&page=32

เรื่องของการเงินและการธนาคาร เป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นใคร เราจึงควรที่จะเรียนรู้ และรู้เท่าทันกับเรื่องต่างๆที่เป็นเรื่องการเงินหรือการธนาคาร อีกทั้งกลโกงของเหล่ามิจฉาชีพที่นับวันจะพัฒนามากขึ้นไปเรื่อยๆ เพิ่มความซับซ้อนมากตามเทคโนโลยี จนบางครั้งบางคนตามเหล่ามิจฉาชีพไม่ทัน ผมจึงได้นำเรื่องราวต่างๆที่เคยประสบพบเห็นและได้เจอ นำมาเล่าสู่กันฟังครับ

เรามาว่ากันเรื่องของบัญชีออมทรัพย์ ,บัญชีกระแสรายวัน และบัญชีฝากประจำกันก่อน
บัญชีออมทรัพย์ เป็นบัญชีที่ธนาคารเปิดให้กับผู้ที่มีความต้องการฝากและถอนเงิน โดยมีบัตรเอทีเอ็มเป็นสิ่งที่สามารถถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มจากบัญชีของตนเอง หรือการโอนเงินทางอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง อัตราดอกเบี้ยของบัญชีออมทรัพย์เป็นบัญชีที่ให้อัตราดอกเบี้ยน้อย
บัญชีกระแสรายวัน เป็นบัญชีที่ธนาคารเปิดให้กับผู้ที่มีความต้องการใช้ในธุรกิจของตนเอง มีการสั่งจ่ายเงิน(ถอนเงิน)ในบัญชีกระแสรายวันได้หลายทาง เช่น การจ่ายเช็ค ,การถอนเงินจากบัตรเอทีเอ็ม หรือการโอนเงินทางอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง อัตราดอกเบี้ยของบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไม่จ่ายดอกเบี้ยให้
บัญชีฝากประจำ เป็นบัญชีที่ธนาคารเปิดให้กับผู้ที่ต้องการออมเงิน โดยมีระยะเวลาต่างๆ เช่น การฝาก 3 เดือน , 6 เดือน , 12 เดือน , 24 เดือน เป็นต้น อัตราดอกเบี้ยของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารแต่ละแห่งเป็นผู้ที่กำหนดเองว่า จะให้อัตราดอกเบี้ยจำนวนเท่าไร แต่โดยปกติหากการฝากเงินในบัญชีเงินฝากประจำ ถ้าระยะเวลาที่น้อย จะได้อัตราดอกเบี้ยน้อยว่า การฝากที่ใช้ระยะเวลาที่มากกว่า ส่วนการถอนเงินเมื่อครบกำหนดที่ระบุไว้( เช่น 3 เดือน , 6 เดือน , 12 เดือน , 24 เดือน) ผู้ฝากเงินย่อมมีสิทธิที่สามารถถอนเงินจากบัญชีนั้นๆได้ โดยถอนเงินที่ทำการธนาคาร แต่ถ้าหากว่าบัญชีเงินฝากประจำที่มีกำหนดระยะเวลามากกว่า 3 เดือน เช่น ระยะเวลา 12 เดือน แต่หากเจ้าของบัญชีมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน สามารถถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำนั้นๆได้ แต่ว่าอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารต้องจ่ายให้กับผู้ฝากเงินนั้น จะได้เป็นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์

การฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์และบัญชีฝากประจำ จะมีอีกเรื่องที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องคือ การเสียภาษีเงินได้ของกรมสรรพากร บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หากได้ดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาทต่อปี จะต้องเสียภาษี 15 % ส่วนบัญชีเงินฝากประจำ ไม่ว่าจะได้ดอกเบี้ยเงินฝากจำนวนเท่าไร ต้องเสียภาษี 15 % เสมอ ภาษีที่ผู้ฝากเงิน(บัญชีเงินฝากประจำ) เสียให้กับกรมสรรพากร สามารถนำไปหักลดหย่อนในการยื่นแบบการเสียภาษีประจำปีได้

นอกเหนือจากบัญชีเงินฝากทั้ง 3 ประเภทแล้ว ยังมีบัญชีอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นบัญชีที่หลายๆคนชอบ และอีกหลายๆคนไม่ชอบ นั่นก็คือบัญชีเงินกู้
บัญชีเงินกู้จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ก็คือ
1.บัญชีเงินกู้ประจำ
2.บัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี
3.บัญชีเงินกู้อื่นๆ

สำหรับบัญชีเงินกู้นั้น เมื่อเอ่ยคำว่า “กู้เงิน” ต้องมีสิ่งหนึ่งตามมา นั่นก็คือ “ดอกเบี้ย” ดอกเบี้ยจะแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ “MOR (Minimum Overdraft Rate) ” , “MLR” (Minimum Loan Rate) , “MRR” (Minimum Retail Rate) และประเภทสุดท้าย (ที่ใครๆไม่ต้องการ)คือ อัตราดอกเบี้ยผิดนัด

สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ “MOR (Minimum Overdraft Rate) ” เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับบัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ “MLR” (Minimum Loan Rate) , “MRR” (Minimum Retail Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับบัญชีเงินกู้ประจำ หรือบัญชีเงินกู้อื่นๆ

อัตราดอกเบี้ยทั้งสามประเภท เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ลอยตัว ไม่ใช่ล่องลอยไปในอากาศ แต่เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารสามารถปรับขึ้นหรือลง ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศและการบริหารของธนาคารนั้นๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 เมษายน 2553 19:42:21 โดย sithiphong » บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:42:49 »

ผมมาอธิบายต่อสำหรับบัญชีเงินกู้ประเภทต่างๆนะครับ

1.บัญชีเงินกู้ประจำ เป็นบัญชีที่ธนาคารให้กู้เงินเพื่อใช้สำหรับการกู้ซื้อที่อยู่อาศัย (แม้บางครั้ง ผู้กู้จะไม่ได้ซื้อไว้เพื่ออยู่อาศัยเอง แต่อาจจะเป็นการให้บุคคลอื่นเช่าก็มี) อัตราดอกเบี้ยก็จะแตกต่างกันในแต่ละธนาคาร จะใช้ประเภทของอัตราดอกเบี้ยอยู่ 2 ลักษณะคือ “MLR” (Minimum Loan Rate) หรือ “MRR” (Minimum Retail Rate) แล้วแต่ แต่ละธนาคารเป็นผู้ที่กำหนด

2.บัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี เป็นบัญชีที่บุคคลที่ทำธุรกิจต่างๆ ใช้กันโดยบัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีจะเป็นบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน บัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นบัญชีที่ใช้สำหรับการหมุนเวียนในธุรกิจ โดยผู้ที่มีบัญชีประเภทนี้ ต้องนำโฉนดที่ดิน(จะมีสิ่งปลูกสร้างด้วนหรือไม่ ก็ไม่เป็นไร) หรือนำบัญชีเงินฝากประจำ มาเป็นหลักประกันเงินกู้ประเภทนี้ หรือในบางครั้งก็จะเป็นผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นผู้ค้ำประกันส่วนตัวเต็มวงเงินก็มี บัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีนี้ จะใช้อัตราดอกเบี้ย คือ “MOR (Minimum Overdraft Rate)

3.บัญชีเงินกู้อื่นๆ เช่น การมีวงเงินหนังสือค้ำประกัน ,การมีวงเงินการเปิด LC และTR , วงเงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคล ,บัตรเครดิต สำหรับบัญชีเงินกู้ในกลุ่มนี้ ผมขออธิบายเฉพาะเรื่องของวงเงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตในช่วงต่อๆไป แต่เรื่องของวงเงินกู้ในประเภทอื่นๆ เป็นเรื่องเฉพาะ ผมไม่ขออธิบายครับ

สิ่งต่างๆที่ผมได้นำมาเล่าให้ฟังนี้ หลายๆท่านคงทราบกันดีแล้ว แต่ผมนำมาเกริ่นเรื่องราวที่จะบอกกันต่อๆไป และเผื่อท่านใดที่ไม่ทราบ จะได้ทราบกัน

มาว่ากันต่อ

เรื่องของการนำเอกสาร(ของตนเอง) นำไปเปิดบัญชีกับธนาคาร เช่นบัตรประชาชน เวลาที่เราจะเซ็นชื่อเพื่อรับรองสำเนาถูกต้องนั้น เราควรที่จะเขียนลงบนสำเนาบัตรประชาชนว่า ใช้เพื่อเปิดบัญชี(ออมทรัพย์หรือกระแสรายวันหรือฝากประจำ) กับธนาคาร.....เท่านั้น และควรเขียนลงบนรูปสำเนาบัตรประชาชนด้วย

เรื่องของบัญชีธนาคารต่างๆที่เปิดไว้ เราควรจดประเภทของบัญชี ,เลขที่บัญชี ,ธนาคาร-สาขา และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกับสาขาที่เราเปิดบัญชีไว้ อีกทั้งหมายเลขโทรศัทพ์ที่สามารถติดต่อกับธนาคารกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน(เช่นบัตรเอทีเอ็มหาย)ไว้

ไม่ว่าจะเป็นบัญชีออมทรัพย์ หรือบัญชีเงินฝากประจำ เราไม่ควรจะนิ่งนอนใจ ควรที่จะไปปรับสมุดบัญชีเงินฝากทุกๆครั้งที่มีโอกาส หรืออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เนื่องจากบางครั้งเราถอนเงิน ก็ไม่ได้ไปถอนเงินที่ทำการของธนาคาร แต่ถอนกับตุ้เอทีเอ็ม หรือการโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง เพื่อที่จะได้ตรวจสอบการเงินของตนเองให้ถูกต้องตลอดเวลา

คงมีคำถาม ถามว่า ทำไมจึงต้องปรับสมุดบัญชีเงินฝากให้เป็นปัจจุบัน คำตอบผมจะมาบอกต่อๆไป ติดตามกันนะครับ
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:43:26 »

ปัจจุบันนี้ โลกเราพัฒนาไปไกล เรื่องของการฝากเงิน ,การถอนเงิน ,การโอนเงิน สามารถกระทำได้ในสถานที่ต่างๆ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องไปที่ทำการสาขาของธนาคาร คือเรื่องของ “อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง” การสมัครใช้บริการอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง ก็ไม่ได้ยากอะไร

อีกทั้งการโอนเงินก็สามารถโอนเงินผ่านต่างธนาคารได้อีกด้วย นับว่าเป็นการเพิ่มความสดวกให้กับผู้ใช้บริการกับธนาคาร เพียงแต่ผู้ที่ขอใช้บริการมีคอมพิวเตอร์และติดตั้งการใช้อินเตอร์เน็ต เท่านี้เองก็สามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้งได้แล้ว
เรื่องของการใช้บริการนี้ เราเองต้องมีการตรวจสอบบัญชีอย่างสม่ำเสมอ ในทุกๆบัญชีและทุกๆธนาคาร นี่เป็นเรื่องนึงที่ต้องปรับสมุดบัญชีอยู่บ่อยๆและให้เป็นปัจจุบัน

สิ่งที่สำคัญอีกประการก็คือ เรื่องรหัสผ่าน การเก็บรหัสผ่านไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง หากมีผู้ที่ไม่ประสงค์ดี แฮกเข้าเครื่อง อย่างนี้เสร็จแน่นอน ถ้าจะเขียน(เพื่อกันลืม) ก็ต้องรู้ว่า เราจดไว้ที่ไหน จดอย่างไร(ให้เป็นสัญลักษณ์ที่เรารู้คนเดียว) และควรเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ เพื่อป้องกันผู้อื่นล่วงรู้ในรหัสผ่านของตนเอง

ส่วนบัญชีกระแสรายวัน ที่ทุกๆธนาคารจะไม่มีสมุดบัญชีให้ แต่จะเบิกเงินต้องเบิกผ่านเช็คส่วนบุคคล (ปัจจุบันราคาเช็คส่วนบุคคล ใบละ 15 บาท) เมื่อถึงสิ้นเดือน ธนาคารจะออกรายการทางบัญชีหรือStatement ให้กับลูกค้า ดังนั้น ควรตรวจสอบการจ่ายเช็คกับรายการทางบัญชีที่ธนาคารออกมาให้ถูกต้องตรงกัน หากมีข้อผิดพลาด ควรที่จะไปตรวจสอบกับธนาคาร ส่วนเรื่องการจ่ายเงินตามเช็ค(ส่วนบุคคล) หากมีเงินในบัญชีไม่พอจ่าย หรือด้วยเหตุอื่นๆ ธนาคารจะคิดค่าปรับ(จากผู้สั่งจ่ายหรือเจ้าของบัญชี) ขั้นต่ำ 300 บาท หรือ 0.20ของจำนวนเงินหน้าเช็ค

เรื่องต่อมาเป็นเรื่อง “บัตรประชาชน” ทุกๆท่านคงเคยได้รับรู้เรื่องที่ผู้ไม่ประสงค์ดีนำสำเนาบัตรประชาชนของผู้เคราะห์ร้าย ไปใช้ในเรื่องต่างๆ เช่น การไปซื้อโทรศัพท์ก็ดี ,การไปสมัครบัตรเครดิตก็ดี แต่ยังมีอีกเรื่องก็คือ มีผู้ไม่ประสงค์ดีนำสำเนาบัตรประชาชน ไปให้กลุ่มที่รับทำบัตรประชาชนปลอม แล้วนำไปเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อวัตถุประสงค์(ร้าย)ต่างๆ เช่น การหลอกลวงให้ผู้เคราะห์ร้ายโอนเงินเข้าบัญชี หรือ การเปิดบัญชีธนาคาร แล้วเปิดใช้บริการอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง ซึ่งจะใช้บัญชีที่เปิดขึ้นใหม่ ผูกกับบัญชีที่มีเงินมากๆ วิธีนี้ผู้ไม่ประสงค์ดี ต้องได้บัตรประชาชนปลอม ที่ข้อมูลบนบัตรประชาชนเหมือนกับข้อมูลบนบัตรประชาชนของผู้ที่มีเงินมากๆ เพียงแต่รูปในบัตรประชาชน(ปลอม) จะเป็นของผู้ไม่ประสงค์ดีเท่านั้น นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องปรับสมุดบัญชีอยู่บ่อยๆและให้เป็นปัจจุบัน จากสาเหตุของอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้งนี้ มีกรณีตัวอย่างมาแล้ว ผู้เคราะห์ร้ายสูญเสียเงินไปหลายล้านบาท กว่าจะแจ้งความดำเนินคดี กว่าที่ตำรวจและธนาคารจะตรวจสอบ จนธนาคารคืนเงินให้(ต้องเป็นกรณีที่ธนาคารผิดเท่านั้น หากพิสูจน์ได้ว่า ผู้เคราะห์ร้ายประมาทเลินเล่อหรือผิดเอง ก็ไม่ได้รับเงินคืน) ก็ใช้ระยะเวลาหลายๆเดือน บางกรณีเป็นปีก็มี ดังนั้นเวลาที่ท่านนำสำเนาบัตรประชาชนไปใช้ประกอบการกู้ยืมเงิน หรือการซื้อโทรศัพท์ หรือในเรื่องต่างๆ ท่านต้องเขียนบนสำเนา(บนรูปสำเนาบัตรประชาชนจริงๆ)ว่า ท่านใช้เพื่ออะไร เช่น ใช้ในการซื้อโทรศัพท์ยี่ห้อ....ที่ศูนย์บริการ.......เท่านั้น หรือใช้ในการเปิดบัญชีออมทรัพย์ที่ธนาคาร...เท่านั้น เป็นต้น
มาว่ากันต่ออีกเรื่อง มีผู้ประสงค์ร้ายแต่ไม่ประสงค์ดี ได้มาขอกู้เงินเพื่อซื้อที่ดินเปล่ากับธนาคาร ซึ่งเอกสารต่างๆไม่ว่าจะเป็นบัตรประชาชนตัวจริง ,สำเนาทะเบียนบ้านตัวจริง ,รายการทางบัญชี(หรือstatement)ตัวจริงที่มีตราของอีกธนาคารประทับพร้อมกับลายเซ็นของผู้มีอำนาจลงนาม ,หนังสือรับรองรายได้จากบริษัทตัวจริง ซึ่งธนาคารได้อนุมัติวงเงินกู้ไปจำนวน 3,000,000 บาท เดือนแรกผู้ประสงค์ร้ายแต่ไม่ประสงค์ดีผ่อนตามปกติ เดือนที่สองก็หยุดผ่อน และเดือนต่อๆไปก็ไม่ผ่อนอีกเลย ธนาคารจึงฟ้องร้องกับผู้ประสงค์ร้ายแต่ไม่ประสงค์ดีรายนี้ ตอนที่ทนายความยื่นจดหมายทวงถามไป ผลปรากฏว่า ผู้เคราะห์ร้ายรีบมาที่ธนาคารทันที และแจ้งว่าตนเองไม่ได้กู้เงินกับธนาคารนี้ พร้อมทั้งแสดงเอกสารคือบัตรประชาชนตัวจริงและสำเนาทะเบียนบ้านตัวจริง เมื่อธนาคารได้ตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วพบว่า เอกสารต่างๆที่ผู้ประสงค์ร้ายแต่ไม่ประสงค์ดี นำมากู้เงินนั้น เป็นเอกสารปลอมทั้งหมด แต่กว่าจะตรวจสอบเรียบร้อยก็ใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ผู้เคราะห์ร้ายก็ต้องเสียทั้งเงิน(ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ อีกทั้งค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่าเดินทาง) และเสียเวลาการทำงานอีก

ว่ากันต่อในเรื่องของโทรศัพท์ หากมีผู้ที่โทรศัพท์มาเพื่อชักชวนให้เราสมัครไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต ,สินเชื่อบุคคล หรือสิทธิในการใช้บริการต่างๆ ฯลฯ เราควรที่จะต้องจดรายละเอียดไว้ว่า มีใครโทร.มา โทร.มาวันไหน เวลากี่โมง เบอร์ที่ผู้โทร.มาเบอร์โทร.อะไร สิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่เราเองสามารถตรวจสอบกลับไปได้ว่า บุคคลนั้นมีจริงหรือไม่ บริษัทนั้นมีจริงหรือไม่ และสิ่งที่สำคัญที่สุด จะต้องไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวไปโดยเด็ดขาด หรือการโทรศัพท์มาแจ้งเรื่องต่างๆ และให้ไปทำรายการที่ตู้เอทีเอ็ม ขอให้รู้ไว้ว่า เป็นกลโกงของเหล่ามิจฉาชีพร้อยเปอร์เซ็น โปรดย้ำกับตัวเองว่า อย่าโลภ ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ไม่มีอะไรที่ได้มาโดยง่าย สำคัญที่สุดคือย้ำและเตือนตนเองไว้เสมอ

เรื่องต่อมาเป็นเรื่องบัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต การเก็บรักษาควรมีความระมัดระวังให้มากๆ คงมีคนสงสัยว่า ปกติบัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต ก็ต้องเก็บรักษาอย่างดีอยู่แล้ว ต้องเก็บไว้ในกระเป๋าเงิน เรื่องแค่นี้ไม่น่าจะมาบอกกัน แต่ผมจะบอกว่า เคยมีกรณีที่เกิดขึ้นมาแล้ว ลองดูนะครับ
กรณีที่ว่านี้เป็นอย่างนี้ มีผู้หญิงคนนึง(เป็นผู้ชายก็ได้) เวลาไปทำงานก็นำกระเป๋าถือซึ่งในกระเป๋าถือใส่กระเป๋าเงิน (ใส่กันซับซ้อนเหลือเกิน) ไว้ในล็อกเกอร์ของบริษัท(เป็นประจำ) มีอยู่วันนึง ได้นำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้า ปรากฏว่า ทางห้างสรรพสินค้าไม่รับบัตรเครดิต และแจ้งว่า บัตรเครดิตหมดอายุ ผู้หญิงท่านนี้ ก็นำบัตรเครดิตมาดู ปรากฏว่า บัตรเครดิตที่ตนเองนำออกมาเพื่อใช้ซื้อสินค้านั้น ไม่ใช่บัตรของตนเอง เนื่องจากชื่อที่ปรากฏบนบัตรเป็นชื่อของใครก็ไม่รู้ พอกลับไปถึงบ้านก็ไปตรวจสอบที่บ้านว่า บัตรเครดิตของตนเองอยู่ที่ไหน และทำไมจึงมีบัตรเครดิตของคนอื่นมาอยู่ในกระเป๋าของตน ผลปรากฏว่า ที่บ้านไม่มีใครรู้เรื่อง จึงได้โทรศัพท์ไปที่บริษัทบัตรเครดิต และสอบถามถึงบัตรเครดิตของตนเอง ปรากฏว่ามีการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไปเป็นแสนบาท ผู้หญิงคนนี้ตกใจ (ไม่รู้ว่าเป็นลมหรือเปล่าครับ) จึงแจ้งว่า เขาไม่ได้ใช้ และขออายัดบัตรเครดิตใบนั้น ซึ่งการตรวจสอบต่อมาพบว่า มีพนักงานในบริษัทเดียวกัน แอบสับเปลี่ยนบัตรเครดิตของผู้เคราะห์ร้ายไป จึงมีการแจ้งความดำเนินคดี ณ ปัจจุบัน ผมไม่ทราบเรื่องราวต่อ รู้แต่ว่า ผู้หญิงคนนี้ยกเลิกบัตรเครดิตทุกใบครับ

ส่วนอีกท่านเป็นผู้ชาย ท่านนี้เวลาไปที่ทำงาน มักจะนำกระเป๋าเงินใส่ไว้ในลิ้นชักที่โต๊ะทำงาน(และไม่ได้ล็อกลิ้นชักเสมอ) ในห้องที่ทำงานนั้น มีคนอยู่กันประมาณ 8 คน และโต๊ะก็อยู่ติดๆกัน มีอยู่วันนึง ในช่วงบ่าย ผู้ชายคนนี้ได้นำบัตรเอทีเอ็มไปกดเงิน (สงสัยว่าเงินในกระเป๋าเริ่มจะหมดหรือตอนเย็นจะไปเที่ยว) ผลก็คือ เครื่องเอทีเอ็มบอกว่า เงินในบัญชีไม่พอจ่าย ทั้งๆที่ผู้ชายท่านนี้มีเงินในบัญชีหลักหลายหมื่นบาท จึงนำสมุดบัญชีไปตรวจสอบที่ธนาคาร ผลปรากฏว่า มีการถอนเงินจากบัญชีออกไปประมาณ 5 ครั้ง จนหมดบัญชี ผู้ชายท่านนี้จึงได้แจ้งกับธนาคารว่า เขาไม่เคยไปกดเงินเลย ทำไมมีการถอนเงินจากบัญชีไปได้ ธนาคารโกงเขา ทางธนาคารจึงได้ตรวจสอบการถอนเงิน(และตรวจสอบจากกล้องวงจรปิดที่ติดอยู่ที่ตู้เอทีเอ็ม) ปรากฏว่า มีผู้หญิงมาถอนเงิน ทางธนาคารจึงได้เชิญผู้ชายท่านนี้ไปดูว่า ผู้หญิงที่มาถอนเงินนี้ เป็นใคร เมื่อผู้ชายคนนี้ได้เห็นแล้วก็ตกใจ เนื่องจากผู้หญิงที่มาถอนเงินเป็นเพื่อนร่วมงานที่สนิทกับตนเอง ผู้ชายคนนี้จึงกลับไป เหตุการณ์ที่หลังจากนี้ก็ไม่ได้รับทราบอีก
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:44:18 »

อีกเรื่องก็คือ บัตรเครดิต เรื่องนี้จริงๆสามารถเขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ เพราะมีเหตุเกิดขึ้นอยู่มากมาย แต่เรื่องที่ผมจะนำมาเล่าให้ฟัง จะขอเล่าเพิ่มอีกสัก 2 เรื่องก็คือ ปัจจุบันนี้ มีเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลหลังบัตรเครดิต ที่มีขนาดเล็ก(ไม่เกินฝ่ามือ) ซึ่งเวลาที่ใช้บัตรเครดิต เราต้องใช้สายตาติดตามไปตลอด และให้รู้ว่า บัตรเครดิตของเรา ไปไหนบ้าง หรือทางที่ดีและเป็นไปได้ เดินตามไปเลยครับ จะได้สบายใจ เรื่องต่อมาก็คือ การใช้บัตรเครดิตในบางเรื่อง เช่น อาจจะมีกลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดี หลอกลวงในเรื่องต่างๆ เช่นการขอข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลบัตรเครดิต และมีการขอรหัส 3 ตัวหลังสุด รหัส 3 ตัวหลังสุดนี้แหละสำคัญ เพราะเป็นรหัสการตัดบัญชี เช่น บัตรเครดิตเลขที่ 1234 5678 9012 3456 789 ตัวเลข 789 หลังสุดนี้แหละครับ สำคัญมากๆ ต้องระวังอย่าให้ใครทราบ ก็อย่างที่ผมบอกไว้แล้วว่า การใช้บัตรเครดิต ต้องดูด้วยว่า บัตรเราไปไหนบ้าง เกิดผู้ถือบัตรเราไป แอบไปก๊อบข้อมูล (ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลลงบนเครื่องเก็บข้อมูลหรือการจดรายละเอียดของเลขบัตรเครดิต) เราจะได้ทราบและป้องกันตนเองไว้ครับ

บทความนี้เขียนโดย sithiphong
สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามนำบทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนไปหาผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ยกเว้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น


รวมฮิตเบอร์โทรแจ้งอายัดบัตรเอทีเอ็ม-บัตรเครดิตหาย (ปี พ.ศ.2550)
ที่มา Fwd mail ครับ



รวบรวมทุกแบงค์ไว้หมด
It's useful for you.


ธนาคาร  บัตรเอทีเอ็ม ( ATM)  บัตรเครดิต (Cradit Card) 
ธนาคารกรุงเทพ
 1333 , 0-2645-5555
 0-2638-4455
 
ธนาคารกรุงไทย
 1551, 0-2665-5443
 0-2665-5000
 
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
 1572 , 0-2296-2001-5
 0-2646-3000
 
ธนาคารกสิกรไทย
 0-2888-8888
 0-2888-8888
 
ธนาคารทหารไทย
 1558
 1558
 
ธนาคารธนชาต
 1589
 1589
 
ธนาคารไทยพาณิชย์
 0-2777-7777
 0-2777-7777
 
ธนาคารกสิกรไทย
 0-2888-8888
 0-2888-8888
 
ธนาคารยูโอบี รัตนสิน
 1580 , 0-2661-2600
 1580 , 0-2661-2600
 
ธนคารอาคารสงเคราะห์
 0-2202-2000
 
 
ธนาคารเอเชีย
 1585 , 0-2285-1555
 1585 , 0-2285-1555
 
ธนาคาร ไทยธนาคาร
 0-2626-7777
 0-2626-7777
 
ธนาคารนครหลวงไทย
 0-2208-5000
 0-2221-3565
, 0-2225-4925
 
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
 0-2729-8807-11
 
 
ธนาคารแสตนดาร์ด ชาเตอร์ นครธน
 
 1595
 
ซิตี้แบงก์ ประเทศไทย (City Bank)
 
 1588 , 0-2232-2484
 
ฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ ( HSBC)
 1590
 1590
 
อเมริกัน เอ็กซ์เพรส
(American Express)
 
 0-2273-5544
 
ไดเนอร์สคลับ ( Diners Club)
 
 0-2238-3660
 
อิออน
 
 0-2665 0111
 
เซทเทเลม
 
 0-2667-3655
 
เพาเวอร์บาย
 
 0-2627-8208
 
บัตรเครดิตไทยแอร์เอเชีย
 
 0-2797-3399
 
แคปิตอล โอเค
 
 0-2793-3333
 
เซ็นทรัลการ์ด
 
 0-2627-8111
 
อีซี่ บาย
 
 0-2695-0000
 
บิ๊กซี การ์ด
 
 0-2667-3684
 
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:45:42 »

ระวังถูกหลอก
ระวังถูกหลอก

ปัจจุบันสถาบันการเงินมีการให้บริการทางการเงินหลายรูปแบบ ให้ผู้ใช้บริการได้เลือกใช้ตามความต้องการ อย่างไรก็ดี มีผู้ทุจริต อาศัยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้บริการทางการเงิน โดยใช้กลโกงต่าง ๆ ในการหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินหรือทำผลิตภัณฑ์ทางการเงินปลอม โดยที่ผู้ใช้บริการที่เป็นเจ้าของไม่รู้ตัว ดังนั้น ผู้ใช้บริการทางการเงิน ควรเพิ่มความระมัดระวัง ดังนี้



กลโกงบัตรเครดิต
กลโกงการปลอมแปลง E-mail และ Website สถาบันการเงินปลอม
กลโกงสินเชื่อส่วนบุคคล
การล่อลวงข้อมูลลูกค้าจากกลุ่มมิจฉาชีพ
การแอบอ้างชื่อธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อล่อลวงให้หลงเชื่อและทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ
ระวังกับดักเงินกู้นอกระบบ
เชิญชมวิดิทัศน์ ระวังการกู้เงินนอกระบบ
โทรศัพท์หลอกลวงแอบอ้างชื่อ ธปท.

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:45:59 »

กลโกงบัตรเครดิต

ปัจจุบันพบกลโกงบัตรเครดิตในประเทศไทยหลายวิธี ได้แก่
1. การใช้อุปกรณ์อ่านข้อมูลจากแถบแม่เหล็ก (เครื่อง Skimmer) คัดลอกข้อมูลส่วนตัวที่บันทึกในแถบแม่เหล็กบนบัตรเครดิต แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปทำบัตรปลอม
และนำบัตรปลอมนั้นไปซื้อสินค้าหรือบริการ ทั้งนี้ ปัจจุบันสถาบันการเงินอยู่ระหว่างการเปลี่ยนรูปแบบของบัตรเครดิตจากการเก็บข้อมูลในแถบแม่เหล็ก
มาเป็นการใช้ชิปแทน ซึ่งจะช่วยลดปัญหานี้ได้
2. การขโมยบัตรเครดิตหรือนำบัตรเครดิตที่สูญหายไปใช้โดยเจ้าของบัตรไม่รู้ตัวดังนั้น หากพบว่าบัตรเครดิตสูญหายหรือถูกขโมย ให้รีบติดต่อสถาบันการเงิน
ผู้ออกบัตรเครดิตทันทีเพื่อขออายัดบัตร เพราะหากผู้อื่นนำไปใช้ ผู้ถือบัตรจะต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินที่เกิดขึ้น
3. การปลอมแปลงเอกสารสำคัญเพื่อสมัครบัตรเครดิต ไม่ว่าจะเป็นลายเซ็น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน สลิปเงินเดือน เพื่อหลอกลวงให้สถาบันการเงิน
ผู้ออกบัตรเครดิตหลงเชื่อ และนำบัตรเครดิตนั้นไปใช้จ่ายในนามของท่าน ทำให้ผู้ที่ถูกแอบอ้างเดือดร้อนเพราะถูกเรียกเก็บหนี้ที่ตนไม่ได้ก่อ
ข้อแนะนำในการป้องกันกลโกงบัตรเครดิต

1. ควรเก็บรักษาบัตรเครดิต บัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่ และเอกสารสำคัญอื่น ๆ ไว้ในที่ที่ปลอดภัย และไม่มอบเอกสารดังกล่าวให้กับผู้ไม่น่าไว้ใจ
2. ควรจดหมายเลขที่บัญชีบัตรเครดิตและหมายเลขโทรศัพท์ของแผนกบริการไว้ในที่ปลอดภัย (ไม่ควรเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์)
3. เพื่อป้องกันกลโกงแบบ Skimming หากท่านจ่ายค่าสินค้าหรือบริการด้วยบัตรเครดิต ท่านควรอยู่ ณ จุดที่พนักงานทำรายการอยู่ หรืออยู่บริเวณใกล้ ๆ
ในระยะที่สังเกตได้
4. หลีกเลี่ยงการใช้บัตรเครดิตในร้านค้าที่มีความเสี่ยงหรือมีข่าวเรื่องการทุจริต
5. ท่านควรตรวจสอบความถูกต้องของรายการใช้จ่ายในสลิปบัตรเครดิต เช่น จำนวนเงิน วันที่ทำรายการ เลขที่บัญชี ทุกครั้งที่มีการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิต
และควรเก็บสำเนาสลิปบัตรเครดิตเอาไว้เพื่อใช้ตรวจกับใบแจ้งยอดบัญชีว่าถูกต้องและตรงกัน หากพบรายการผิดพลาด ต้องรีบแจ้งผู้ออกบัตรเครดิตทันที
6. ระมัดระวังการใช้บัตรเครดิตเบิกเงินผ่านตู้เอทีเอ็มที่มีลักษณะน่าสงสัยว่าอาจมีการลักลอบติดตั้งอุปกรณ์ Skimmer รวมทั้ง ในขณะที่กดรหัสเอทีเอ็ม
ต้องระวังไม่ให้ผู้อื่นเห็นด้วย
7. ควรเลือกซื้อสินค้าหรือบริการทางอินเตอร์เน็ตจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้

กลโกงบัตรเครดิต
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:46:29 »

กลโกงการปลอมแปลง E-mail และ Website สถาบันการเงินปลอม

Phishing คือ การหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของการปลอมแปลง e-mail หรือสร้าง Website ปลอม เพื่อหลอกให้ลูกค้าเปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงิน
หรือข้อมูลส่วนตัวต่างๆ เช่น ข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิต Username และ Password เป็นต้น ซึ่งสร้างความเสียหายทางการเงินต่อลูกค้าและสถาบันการเงิน
รวมทั้งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าในการใช้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
วิธีการที่พบในปัจจุบัน คือ การหลอกให้ลูกค้าหลงเชื่อว่ามี e-mail มาจากสถาบันการเงินและใช้หัวข้อและข้อความที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ขอให้ลูกค้าแจ้งยืนยัน
ข้อมูลทางการเงินเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการการรักษาความปลอดภัยของบัญชีลูกค้า หรือ การแจ้งลูกค้าว่าถึงรอบระยะเวลาที่จะต้องตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า หรือ
การแจ้งว่าบัญชีของลูกค้าได้ถูกอายัดไว้ชั่วคราว จึงขอให้ลูกค้ายืนยันข้อมูล เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าสามารถดำเนินการได้ต่อไป เป็นต้น
พร้อมใส่สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายของสถาบันการเงินและ Hyperlink ที่ e-mail โดยมีชื่อโดเมนและ Subdirectory เหมือนกับ URL ของสถาบันการเงินนั้น ๆ
ซึ่งแท้จริงแล้วเป็น Website ปลอม ที่เรียกว่า Spoofed Website หรือแนบแบบฟอร์มการสอบถามข้อมูล เพื่อให้ลูกค้ากรอกข้อมูลส่วนบุคคล เช่น หมายเลขบัตรเครดิต
เลขที่บัญชีเงินฝาก ชื่อบัญชีผู้ใช้บริการ (Username) และรหัสผ่าน (Password) เป็นต้น หลังจากที่ลูกค้าได้กรอกข้อมูลลงใน Website ปลอม หรือ
แบบฟอร์มการสอบถามนั้น ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ เช่น การโอนเงินหรือการชำระเงินให้บุคคลที่สามผ่านการให้บริการ Internet Banking
หรือ Telephone Banking หรือ Mobile Banking หรือ การซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตโดยใช้บัตรเครดิต เป็นต้น
ข้อแนะนำในการป้องกันการปลอมแปลง E-mail และ Website สถาบันการเงินปลอม

1. อย่าตอบรับ e-mail ที่ขอให้ท่านส่งข้อมูลส่วนตัวให้ รวมทั้ง ไม่ส่งข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลสำคัญทางการเงิน เช่น หมายเลขบัตรเครดิต
ชื่อบัญชีผู้ใช้บริการ (Username) และรหัสผ่าน (Password) หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ไปกับ e-mail หรือ
การติดต่อทางโทรศัพท์ที่แอบอ้างมาจากสถาบันการเงิน
2. ไม่ควรใช้ Hyperlink ที่แนบมากับ e-mail หากต้องการเข้าใช้บริการ ให้เข้าผ่าน Website ของสถาบันการเงินนั้น ๆ โดยตรง



กลโกงสินเชื่อส่วนบุคคล

ในปัจจุบันแม้ว่าผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งที่เป็นสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก
แต่ยังมีการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย (สินเชื่อนอกระบบ) ที่เอาเปรียบผู้กู้เงิน ซึ่งจะนำไปสู่ภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้น
ธุรกิจบริการเงินด่วนนอกระบบสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เช่นประกาศตามเสาไฟฟ้าหรือโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ Website ตู้โทรศัพท์สาธารณะ โดยมี
ข้อความเชิญชวนให้มาใช้บริการ เช่น ระบุว่า “ให้วงเงินสูง อนุมัติและรับเงินสดทันทีภายใน 30 นาที” โดยสินเชื่อนอกระบบเหล่านี้จะมีอัตราดอกเบี้ย
ค่าบริการและค่าธรรมเนียมที่แพงกว่าปกติ
ตัวอย่าง
1. เมื่อลูกค้าติดต่อเข้าไปตามหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ระบุไว้ในโฆษณาผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบจะแนะนำวิธีการและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการขอรับสินเชื่อ
ซึ่งลูกค้าที่มีประวัติการชำระหนี้ไม่ดีหรือลูกค้าที่ใช้บัตรเครดิตเต็มวงเงินแล้วก็สามารถใช้บริการนี้ได้
2. เมื่อลูกค้ายอมรับข้อตกลงในการให้สินเชื่อ ผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบจะดำเนินการ ดังนี้
- กรณีลูกค้ามีบัตรเครดิตหรือบัตรของ Non-Bank ที่ให้บริการผ่อนสินค้าหรือสินเชื่อเงินสดก็จะให้ไปซื้อสินค้าจากร้านค้า เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก
กล้องถ่ายรูปดิจิตอล และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
- กรณีลูกค้าไม่มีบัตรดังกล่าวก็จะพาไปทำบัตรสมาชิกของ Non-Bank ที่ให้บริการผ่อนสินค้า หลังจากนั้นก็จะพาไปซื้อสินค้าจากร้านค้า
3. เมื่อได้สินค้าแล้ว ผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบจะรับสินค้าไว้และจ่ายเงินสดให้ลูกค้าแทนโดยจะหักค่านายหน้าในการให้บริการไว้ประมาณ 30% เช่น
ซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 100,000 บาท หักค่านายหน้า 30% เป็นเงิน 30,000 บาท ลูกค้าได้รับเงินสด 70,000 บาท แต่เป็นหนี้เงินกู้ 100,000 บาท
4. หลังจากนั้น ลูกค้าสมาชิกบัตรจะต้องเป็นผู้ผ่อนชำระค่าสินค้าซึ่งรวมเงินต้น (100,000 บาท) พร้อมดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
กับสถาบันผู้ออกบัตรทำให้ผู้กู้มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบไม่ต้องร่วมรับผิดชอบใด ๆ และยังนำสินค้าดังกล่าวไปจำหน่ายต่อด้วย
ข้อแนะนำในการป้องกันกลโกงสินเชื่อส่วนบุคคล

1. ควรใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลกับสถาบันการเงินหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลแทนการกู้เงินนอกระบบ เนื่องจากการกู้เงิน
นอกระบบดอกเบี้ย ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมจะแพงกว่าปกติ
2. ในการเลือกใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลกับผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวควรพิจารณาเรื่อง อัตราดอกเบี้ย และ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ (เช่น ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน
ค่าธรรมเนียมการจัดการเงินกู้ ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี) เป็นต้น
3. ระมัดระวังโฆษณาที่ระบุว่า “ดอกเบี้ยต่อเดือนน้อยนิด หรือดอกเบี้ย 0%” โดยต้องดูว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นอัตราต่อเดือนหรือไม่ ถ้าใช่ให้คูณ 12
จึงจะได้อัตราดอกเบี้ยต่อปีที่ต้องจ่ายจริง
นอกจากนี้ หากดอกเบี้ยที่ท่านต้องจ่าย มีลักษณะเป็นจำนวนคงที่ตลอดอายุสัญญาเงินกู้ (Flat Rate) ท่านต้องลองคำนวณว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงแบบลดต้นลดดอก
(Effective Rate) เป็นเท่าไรโดยคูณด้วย 1.8 นอกจากดอกเบี้ยแล้ว ท่านต้องพิจารณาว่ายังมีค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่
หากใช้บริการดังกล่าว เช่น ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ ค่าธรรมเนียมการชำระเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสหรือธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น
4. อย่าใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลเพียงเพื่อต้องการของแถมจากผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว เพราะท่านอาจประสบปัญหาหนี้สินได้ ควรระลึกอยู่เสมอว่า
ใช้สินเชื่อส่วนบุคคลเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องกู้ยืมเงินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
.
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:46:54 »

การล่อลวงข้อมูลลูกค้าจากกลุ่มมิจฉาชีพ


ช่วงเวลาที่ผ่านมา มีกลุ่มมิจฉาชีพพยายามเจาะข้อมูลของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้หาประโยชน์ในทางที่มิชอบ โดยใช้วิธีการอ้างว่าลูกค้าประชาชนมีหนี้อยู่กับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกลุ่มมิจฉาชีพจะมีวิธีการดังต่อไปนี้
1. โทรศัพท์ไปหาลูกค้าประชาชนแจ้งว่า ท่านค้างชำระหนี้จำนวนหนึ่งและจะมีเจ้าหน้าที่ของฝ่ายกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โทรมาสอบถามข้อมูลเพื่อจะแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ที่ค้างชำระนั้นให้ถูกต้อง
2. ต่อมาผู้ที่อยู่ในกลุ่มมิจฉาชีพอีกคนหนึ่งจะโทรศัพท์มาเป็นครั้งที่สองโดยแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ธปท. มาขอข้อมูล เช่น วันเดือนปีเกิด หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตร ATM หรือหลอกลวงให้ไปที่ตู้ ATM และทำรายการตามที่บอก โดยอ้างว่าเพื่อแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ซึ่งจะกลายเป็นการโอนเงินไปให้กลุ่มมิจฉาชีพ
นอกจากนี้อาจมีพฤติกรรมอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกัน วิธีการปกติในการที่จะล่อลวงเอาเงินของลูกค้าประชาชนที่มีบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตร ATM หรือบัตรที่ใช้ในการถอนเงินต่าง ๆ พวกมิจฉาชีพจำเป็นต้องรู้ข้อมูลของลูกค้าเสียก่อน โดยเฉพาะรหัสต่าง ๆ เช่น Security Code (หมายเลข 3 ตัวสุดท้ายที่อยู่ด้านหลังบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต) และใช้ข้อมูลรหัสดังกล่าวไปทำบัตรปลอมเพื่อลักลอบถอนเงินของลูกค้า
ข้อแนะนำในการป้องกันการล่อลวงข้อมูล
1. โปรดทราบว่าเรื่องที่เกิดขึ้นไม่มีเจ้าหน้าที่ของ ธปท. มีส่วนเกี่ยวข้องในการโทรศัพท์ขอข้อมูลท่านอย่างแน่นอน อย่าได้หลงเชื่อคำกล่าวอ้างของพวกมิจฉาชีพ
2. อย่าได้เปิดเผยข้อมูลในบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตร ATM ของท่านให้แก่คนที่ท่านไม่รู้จักไม่ว่าจะมีข้อกล่าวอ้างประการใด
3. หากท่านได้รับโทรศัพท์เพื่อขอข้อมูลใด ๆ ขอให้ท่านตรวจสอบไปยังธนาคารพาณิชย์หรือผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตโดยตรง เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ โดยไม่ใช้เบอร์โทรศัพท์ที่ผู้ขอข้อมูลแจ้งมา
4. หากมีเหตุที่ท่านไม่แน่ใจว่ามีกลุ่มมิจฉาชีพได้ล่วงรู้ข้อมูลของท่านไปแล้วหรือไม่ ขอได้โปรดติดต่อกลับไปยังธนาคารเจ้าของบัตรหรือผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตโดยตรงเพื่อดำเนินการต่าง ๆ ในการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นและอาจทำการยกเลิกบัตรและเปลี่ยนบัตรใหม่

การแอบอ้างชื่อธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อล่อลวงให้หลงเชื่อและทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ

ปัจจุบันมีมิจฉาชีพบางกลุ่มได้แอบอ้างชื่อธนาคารแห่งประเทศไทย หรืออ้างเป็นพนักงานแห่งประเทศไทย ในการติดต่อกับประชาชนทั่วไปทั้งทางโทรศัพท์ หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เพื่อลวงให้เหยื่อหลงเชื่อและทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ เช่น ลวงว่ามีเงินโอนจากต่างประเทศ (ซึ่งมาจากการขายสินค้าหรือได้รับมรดก) เข้ามาอยู่ที่บัญชีของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว หากผู้รับต้องการเงินดังกล่าว ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ นอกจากนี้อาจมีพฤติกรรมอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกัน
ข้อแนะนำในการป้องกันการล่อลวง
1. ไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัวของท่านกับบุคคลภายนอกที่ติดต่อเข้ามา โดยที่ท่านไม่รู้จักหรือไม่เคยติดต่อกันมาก่อน เพราะท่านอาจถูกล่อลวงให้เสียทรัพย์ เมื่อท่านได้รับการติดต่อ ควรตั้งสติและไตร่ตรองความเป็นไปได้ของข้อความดังกล่าว พร้อมตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันต่าง ๆ ที่ถูกระบุชื่อ
2. อย่าหลงเชื่อหรือทำธุรกรรมใด ๆ กับบุคคลที่แอบอ้างเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย เนื่องจากอาจเป็นการหลอกลวงโดยประสงค์ต่อทรัพย์สินของท่าน ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ ทำหน้าที่เป็นธนาคารกลาง ดูแลเสถียรภาพด้านนโยบายการเงิน กำกับดูแลสถาบันการเงิน และจัดตั้งระบบการชำระเงินตามที่กฎหมายกำหนด มิได้มีหน้าที่ทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ เช่น โอน-รับโอนเงินจากประชาชนโดยตรง (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2551)
ทั้งนี้ หากได้รับความเสียหายจากเรื่องดังกล่าวโปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปศท.) โทร. 0-2234-1068


 
 

 


ธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
.
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:47:25 »

ระวังกับดักเงินกู้นอกระบบ
เชิญชมวิดิทัศน์ ระวังการกู้เงินนอกระบบ
โทรศัพท์หลอกลวงแอบอ้างชื่อ ธปท.



beware.pdf

ระวังถูกหลอก แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนว่า ได้รับโทรศัพท์จากมิจฉาชีพแอบอ้าง เป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ เจ้าหน้าที่แบงค์ชาติ โดยแจ้งว่า เหยื่อติดหนี้บัตรเครดิต หรือบางครั้งแจ้งสถานที่ซื้อสินค้าผ่านบัตรเครติด ทำให้เหยื่อตกใจ หลังจากนั้นจะเสนอตัวเข้าไปให้ความช่วยเหลือโดยขอข้อมูลส่วนตัวหรือ ข้อมูลการเงินและให้ทำธุรกรรมผ่านเครื่อง ATM โดยให้โอนเงินเข้าบัญชี หรือบางรายให้เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ซึ่งเบอร์โทรศัพท์ดังกล่าวเป็นเบอร์หน่วยงานภายใน ธปท. จริง แต่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว เช่น 0-2283-5355
ดังนั้น ธปท. จึงขอเตือนว่า อย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าว เพราะ ธปท. ไม่มีธุรกรรมทางการเงินโดยตรงกับประชาชนทั่วไป และไม่มีระเบียบปฏิบัติให้เจ้าหน้าที่โทรศัพท์ติดตามทวงถามหนี้สินของประชาชน ทั้งนี้ ขอให้ผู้ที่พบเห็นพฤติกรรมดังกล่าว โทรศัพท์สอบถามมายัง ธปท.ได้ที่ ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ Hotline 0-2283-5900 ระหว่างเวลา 8.30 – 16.30 น.




ธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:48:20 »

10-03-2010, 08:15 PM

จากที่ผมเคยนำเรื่องราวของมิจฉาชีพ ที่หลอกให้ผู้ที่หลงเชื่อ โอนเงินเข้าบัญชีที่กลุ่มมิจฉาชีพเปิดบัญชีไว้

ปัจจุบันยังคงมีอยู่

เมื่อสักพักใหญ่ๆนี้ ลูกค้าผมได้โทร.มาเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง เขาโดนไป 69,000 บาท โดยหลอกให้ไปทำรายการที่ตู้เอทีเอ็ม โดยอ้างว่า คุณเป็นหนี้บัตรเครดิต ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนรหัสของบัตรเครดิต แล้วให้ไปทำรายการทางตู้เอทีเอ็ม โดยมิจฉาชีพได้บอกว่า ต้องเปลี่ยนรหัส จากรายการ Transfer ซึ่งให้กดตัวเลข (กลุ่มมิจฉาชีพได้บอกว่า ให้กดเลข 30000 เป็นภาษาพูดว่า สาม ศูนย์ ศูนย์ ศูนย์ ศูนย์)

หากท่านได้รับโทรศัพท์เช่นนี้ ขอให้ท่านติดต่อไปยังธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ และหากว่าท่านมีโทรศัพท์อีกเครื่อง พยายามคุยโดยหน่วงเหนี่ยวเวลาไว้ แล้วใช้โทรศัพท์อีกเครื่อง โทร.เข้าไปที่ศูนย์บริการของโทรศัพท์ท่าน โดยให้ศูนย์บริการโทรศัพท์พยายามตรวจสอบดูว่า เบอร์โทร.จากที่ไหนโทร.มาหาท่าน แล้วให้แจ้งตำรวจ(DSI) เพื่อจะเป็นหนทางในการช่วยกันปราบปราบเหล่ามิจฉาชีพนี้

ที่สำคัญ ท่านต้องไปติดต่อที่ธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ ห้ามไปทำรายการอะไรก็ตามที่ตู้เอทีเอ็ม โดยเด็ดขาด

เคยมีกรณีนี้กับเพื่อนร่วมงานผม เพื่อนร่วมงานก็เลยถือโอกาสด่ากลับไป

ขอให้โชคดีครับ

บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:48:50 »

สำหรับคำว่า "Transfer" นี่คือการโอนเงินจากบัญชีของเราไปยังบัญชีบุคคลอื่น

ต้องระวังครับ

---------------------------

คำว่า direct bank , banking transtions , money transfer , account holders แปลว่าอะไร
ตอบโดย prasit_khorat

direct bank
ธนาคารโดยตรง เป็น ธนาคาร โดยไม่ต้องๆ เครือข่ายสาขา. จะเสนอบริการทางการเงินโดย:

ธนาคารโทรศัพท์
ธนาคารออนไลน์
อัตโนมัติเครื่องบอก (มักจะผ่าน เครือข่าย interbank พันธมิตร)
ธนาคาร Mail
ธนาคาร Mobile
การกำจัดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสาขาธนาคารธนาคารโดยตรงอาจมีสูง อัตราดอกเบี้ย และลดค่าบริการในผลิตภัณฑ์ของตนกว่าคู่แข่งดั้งเดิมของพวกเขา.
banking transaction
พำนักเงินเข้าบัญชีธนาคารจะทำรายการให้ตามหักเงิน. เพิ่มดอกเบี้ยในบัญชีเป็นรายการ. หักบัญชีเป็นรายการ. หักค่าใช้จ่ายธนาคารมีธุรกรรม. โดยทั่วไปประเภทใดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของเงินในบัญชีเป็นรายการ. คุณจะได้รับรายชื่อของพวกเขาในงบบัญชีธนาคาร.
account holders
ในนามของบัญชี (ผู้แทน)
money transfer
การโอนเงิน

ที่มา คำว่า direct bank , banking transtions , money transfer , account holders แปลว่าอะไร - มีคำตอบ - กูรู

บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:56:26 »

กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้อะไรกับคุณบ้างรูปแบบหลักของกองทุนคงหนีไม่พ้นประโยชน์ทางภาษีที่คุณจะได้รับ มากน้อยก็อยู่ที่ฐานภาษีของคุณว่าอยู่ในอัตราใด แต่เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์ทางภาษีที่รัฐบาลได้มอบให้แก่คุณแล้วนั้น จะต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่คุณได้นั้นย่อมมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับให้คุณปฏิบัติเช่นกัน ดังนั้นถ้าคุณยอมรับ และสามารถปฏิบัติตามได้ ประโยชน์ที่คุณได้รับจากรัฐบาลก็คงจะให้ผลตอบแทนแก่คุณอย่างคุ้มค่าเช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ที่ยอมรับความเสี่ยงกับการลงทุนในกองทุนได้ในระดับไหนนั้นเป็นสิ่งที่คุณคงต้องตัดสินใจเอง
ลองมาดูกันคร่าวๆ สมมติ คุณลงทุนที่ 50,000 บาทต่อปี แล้วคุณสามารถจ่ายภาษีน้อยลงกว่าเดิม 10,000 บาท เสมือนว่าคุณได้รับผลตอบแทนมาแล้วทันที 20% ดังนั้น ความเสี่ยงที่ทำให้คุณลงทุนแล้วต้นทุนของคุณสามารถหายไปได้ถึง 20% โดยเสมือนว่าคุณไม่ได้ขาดทุนเลย นี่คงเป็นข้อหนึ่งที่คุณคงตัดสินใจได้ดีขึ้นว่าคุณจะลงทุนกับกองทุนประเภทใดโดยมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเพื่อผลตอบแทนที่มีโอกาสสูงขึ้นด้วย
มาดูอีกประเด็นหนึ่งถ้าคุณคิดว่าประโยชน์ทางภาษีที่คุณได้รับนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่คุณต้องการ โดยคุณไม่สนใจผลตอบแทนในการลงทุนที่ได้รับเลยเพียงแต่ขอให้ความเสี่ยงในเงินต้นน้อยที่สุดคุณก็สามารถเลือกลงทุนใน กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นก็ได้
จุดประสงค์หลักที่มองข้ามเรื่องภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัวของคุณที่มองเห็นได้ง่ายที่สุด แต่คุณจะต้องไม่ลืมประเด็นสำคัญที่สุดในชีวิตที่เหลืออยู่หลังจากที่คุณไม่มีรายได้แล้วเหลือเพียงแต่รายจ่ายที่ต้องเกิดขึ้นกับตัวคุณเองนั้นคือยามเกษียณนั้นเอง ถ้าคุณไม่เริ่มเก็บออมตั้งแต่วันนี้คุณจะนำเงินที่ไหนมาใช้จ่ายเมื่อถึงเวลานั้น ทางที่ดีที่สุดคือคุณต้องเริ่มออมตั้งแต่วันนี้เพื่อมีเวลาเก็บออมที่มากขึ้นนั้นเอง รัฐบาลเพียงนำประโยชน์ทางภาษีมาจูงใจในการเก็บออมของคุณให้สามารถตัดสินใจได้ง่ายและเร็วขึ้นนั้นเอง
คราวนี้มาเรื่องใกล้ตัวอีกครั้ง แต่เรื่องนี้น้อยคนนักที่จะสนใจทั้งที่มันเกิดขึ้นทุกวันจนคุณไม่สนใจนั้นคือ อัตราเงินเฟ้อ หรือพูดง่ายๆ ของแพงขึ้นทุกวันนั้นเอง คุณคงไม่ปฏิเสธว่าทุกวันนี้เงินเท่ากันในอดีต ปัจจุบันคุณซื้อของชิ้นเดียวกันคุณกลับซื้อของได้น้อยลงกว่าแต่ก่อนมาก ถ้าคุณยังคิดว่าการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยงเลย เช่น เงินฝากธนาคารเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว นั้นคุณน่าจะลองกลับมาคิดใหม่ว่า คุณพร้อมหรือยังที่จะสู้กับอัตราเงินเฟ้อด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเพื่อผลตอบแทนที่มากขึ้นด้วย การลงทุนกับกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ คงเป็นทางเลือกใหม่ที่คุณจะสู้ในครั้งนี้
คุณต้องลงทุนอย่างไรกับกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพถ้าคุณคิดจะลงทุนเพื่อหวังเพียงผลตอบแทนเพียงอย่างเดียวโดยคุณไม่สนใจกฎระเบียบที่กำหนดขึ้น คงแนะนำได้เพียงว่ากองทุนนี้ไม่น่าลงทุน เพราะอย่างน้อยๆ ผลกำไรที่คุณได้รับจากการขายคืนคุณก็ได้รับไม่เต็มที่ คุณต้องนำไปรวมคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีอีกด้วย สู้คุณไปลงทุนในกองทุนที่ไม่ได้อยู่ในระบบเพื่อการเลี้ยงชีพดีกว่า ซึ่งส่วนกำไรคุณสามารถได้รับอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องมีส่วนของภาษีมาเกียวข้องด้วยเลย

คราวนี้มาดูข้อบังคับกันบ้างว่ามีอะไรบ้าง เริ่มจากตัวคุณเองเลย
รายได้ทั้งปีคุณมีเท่าไร ? ไม่น้อยกว่า 3% ของรายได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาท นั้นเป็นข้อกำหนดแรกในการลงทุนของคุณ ต่อปีที่คุณต้องพึงปฏิบัติ
ขยายความ คุณต้องคิดก่อนว่า 3% ของรายได้คุณคือเท่าไร ถ้ามากกว่า 5,000 บาท ขั้นต่ำในการลงทุนของคุณ คือ 5,000 บาท แต่ถ้าน้อยกว่า 5,000 บาท 3% ของรายได้คือขั้นต่ำของคุณในการลงทุน โดยคุณศึกษาเพิ่มเติมได้จาก คู่มือภาษี เกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
คุณลงทุนได้มากแค่ไหน ? ไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปี และ เมื่อรวม กับเงินสบทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ในส่วนของลูกจ้าง หรือ กบข. (ถ้ามี) ต้องไม่เกิน 300,000 บาท
ขยายความ คุณต้องคิดก่อนว่าคุณมีช่วงว่างจาก เงินสบทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ในส่วนของลูกจ้าง หรือ กบข. ที่ยังไม่ถึง 300,000 อยู่อีกเท่าใด แล้วจึงมาดูว่า 15% ของรายได้ทั้งปีของคุณเกินหรือไม่ ถ้าเกินคุณลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เพื่อประโยชน์ทางภาษีได้แค่ส่วนที่ยังไม่ถึง 300,000 เท่านั้น แต่ถ้าไม่เกินคุณสามารถใช้ประโยชน์ได้เติมที่ถึง 15%
ลงทุนอย่างไร ? 1 ปีภาษี เป็นของคุณ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม วันไหนก็ได้แล้วแต่คุณ จะ ลงต้นปีเพื่อการลงทุนที่ยาวกว่า ทยอยลงตลอดปีเพื่อลดความเสี่ยงในความผันผวนของราคา หรือคุณจะลงปลายปีเพื่อสิทธิทางภาษีเพียงอย่างเดียว คุณก็ได้รับประโยชน์ทางภาษีเท่าเทียมกันหมด
ทำอย่างไรให้คงสภาพการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ? ง่ายที่สุดที่คุณคิดออกคือ ลงทุนทุกปีอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี และ ไม่ไถ่ถอนคืนก่อนอายุ 55 เพียงแค่นี้ก็ลงทุนอย่างถูกต้องแล้ว แต่ถ้ายากไปทางรัฐบาลก็ยังยืดหยุ่นให้คุณอีกนิด คือคุณสามารถ ไม่ลงทุน หรือลงทุนน้อยกว่าขั้นต่ำได้บางปีซึ่งทั้ง 2 กรณีถือว่าเป็นการระงับการส่ง เพียงแต่ว่าคุณห้ามระงับการส่ง 2 ปีติดต่อกันเท่านั้นเอง อีกข้อหนึ่งที่คุณต้องพึงเว้นเด็ดขาดคือการไถ่ถอนคืนนั้นเอง ถ้าคุณลงทุนยังไม่ถึง 5 ปีอย่างถูกต้องและอายุไม่ถึง 55 ปีถือว่าผิดทันทีเช่นกัน
ต้องทำอย่างไรเมื่อทำผิด ? ทั้ง 2 กรณีคือ ระงับการส่ง 2 ปีติดกัน หรือไถ่ถอนคืนก่อนกำหนดนั้นคือคุณทำผิดวัตถุประสงค์แล้ว สิ่งที่คุณต้องชดเชยคือ คุณต้องนำสิ่งที่คุณได้ประโยชน์มาจากภาษีที่เสียน้อยลงคืนแก่รัฐไปซึ่งก็เป็นธรรมแล้วซึ่งเขาคงช่วยคุณได้มากที่สุดคือคุณคืนไปแค่ 5 ปีปฏิทิน หมายความว่าใน 5 ปีที่แล้วมา คุณเสียภาษีน้อยลงเท่าไรคุณก็คืนเขาไปแค่นั้น แต่มีเพิ่มเติมนิดหน่อยคือในกรณีที่คุณไถ่ถอนผิดเงื่อนไข คุณต้องนำกำไรส่วนเกินทุนไปคำนวณเป็นรายได้ในปีที่ไถ่ถอนเพื่อรวมคำนวณภาษีด้วย
ไม่มีรายได้ในปีนั้นทำอย่างไร ? ไม่ต้องตกใจ อย่าลืมว่าขั้นต่ำในการลงทุนคือ 3% ของรายได้ทั้งปี หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทอันไหนน้อยกว่าถือว่าเป็นขั้นต่ำ ในกรณีนี้ขั้นต่ำของคุณเป็น 3% ของรายได้ทั้งปี ซึ่งรายได้ทั้งปีของคุณคือ 0 บาท 3% ก็คือ 0 บาทนั้นเอง แต่อย่าลืมยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของคุณ (ภงด.90 หรือ ภงด 91) นะครับเพื่อเป็นหลักฐานของคุณเอง
พร้อมหรือยังที่จะลงทุน เพื่อการเลี้ยงชีพ
คุณต้องเสียภาษีทุกปีในอัตราที่น่าเสียดาย ใช่ หรือ ไม่ ?
หลังจากไม่มีรายได้แล้ว คุณยังมีค่าใช้จ่ายอยู่ ใช่ หรือ ไม่ ?
ของแพงขึ้นทุกวันจนไม่อยากจะซื้อ ใช่ หรือ ไม่ ?
อยากลงทุนสักอย่างจะเลือกลงทุนอะไรดี ?
ลองตอบคำถามเหล่านี้คุณจะเห็นอะไรในตัวคุณมากขึ้นคำเตือนการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษา หนังสือชี้ชวน และ คู่มือภาษี เกี่ยวกับการลงทุน
ในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้เข้าใจ ก่อนตัดสินใจลงทุน แนะนำดูประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจาก กรมสรรพากรที่ เรื่องน่ารู้ ต่างหน่วยงาน และ
ถาม ตอบ : กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

จาก http://www.scbam.com/inc/Highlight/rmfword.asp
นำมาให้พิจารณากันครับ
โดยคุณnongnooo
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:57:37 »

แนะวิธีสังเกต ธนบัตรปลอม

http://hilight.kapook.com/view/32091






หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาประกาศเตือนให้ชาวบ้านระวังธนบัตรปลอมระบาดหนัก เนื่องจากสภาวะเศษฐกิจทรุด ความคืบหน้า ที่สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ (สนว.ตร.) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคมนี้ พล.ต.ท.ดนัยธร วงศ์ไทย ผู้บัญชาการ สนว.ตร.พร้อมด้วย พล.ต.ต.สุรพล พินิจชอบ ผู้บังคับการกองพิสูจน์หลักฐาน (ผบก.พฐ.) และ พ.ต.อ.เสรีย์ จันทรประทิน นักวิทยาศาสตร์ (สบ.5) พฐ. ร่วมแถลงข่าว กรณีธนาคารแห่งประเทศไทยเตือนประชาชนระมัดระวังธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาทปลอม โดยเฉพาะช่วงปีใหม่

พล.ต.ท.ดนัยธรกล่าวว่า ในช่วงนี้มีข่าวแบงก์พันปลอมระบาดมากพอสมควร ซึ่งเป็นความจริง เพราะขณะนี้กองพิสูจน์หลักฐานรับคดีแบงก์ปลอมอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นห่วงว่าจะทำให้เกิดความสับสนต่อประชาชนผู้ใช้ ซึ่งขั้นตอนการตรวจพิสูจน์อย่างง่ายๆ สำหรับประชาชนที่จะสังเกตว่าแบงก์ปลอมหรือไม่ เป็นเรื่องที่ทุกคนควรรู้ไว้

พ.ต.อ.เสรีย์ จันทรประทิน อธิบายขั้นตอนการสังเกตธนบัตรว่า มีจุดสังเกตดังนี้

 1. ลายน้ำ พระบรมสาทิสลักษณ์ มองเห็นได้ชัดเจน เมื่อยกส่องกับแสงสว่าง และรูปลายไทยจะโปร่งแสงเป็นพิเศษ

 2. แถบสีโลหะในเนื้อกระดาษ นำเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง เมื่อยกส่องกับแสงสว่าง จะเห็นตัวเลขและตัวอักษรโปร่งแสง

 3. พิมพ์เส้นนูน พระบรมสาทิสลักษณ์ ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งราคา เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วจะรู้สึกสะดุด

 4. ตัวเลขแฝง ซึ่งอยู่ในลายไทย มองเห็นได้เมื่อยกธนบัตรเอียงเข้าหาแสงสว่าง โดยมองจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางธนบัตร

 5. ภาพซ้อนทับพิมพ์แยกส่วนไว้บนด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อยกส่องกับแสงจะมองเห็นภาพสวยงาม โดยแบงก์พันจะเป็นรูปดอกบัว แบงก์ 500 เป็นรูปดอกพุดตาล แบงก์ 100 เป็นตัวเลข 100 แบงก์ 50 เป็นตัวเลข 50 แบงก์ 20 เป็นตัวเลข 20

 6. ตัวเลขจิ๋ว บรรจุในตัวเลขไทยด้านหน้า มองเห็นได้ชัดเจนด้วยแว่นขยาย

 7. แทบฟอยล์ สีเงินมองเห็นเป็นหลายมิติ และสะท้อนแสงเมื่อพลิกไปมา

 8. หมึกพิมพ์พิเศษ ตัวเลข 1000 จะมองเห็น ด้านบนสีทอง ด้านล่างสีเขียว เมื่อพลิกขอบล่างขึ้นจะเห็นเป็นสีเขียวทั้งหมด ส่วนแบงก์ 500 ตัวเลข 500 จะมองเห็นตัวเลขสีเขียว เมื่อพลิกขอบล่างจะมองเห็นเป็นสีม่วง นอกจากนี้ ยังมีวิธีนำบริเวณลอยนูนของแบงก์ เช่น คำว่ารัฐบาลไทย ถูกับกระดาษสีขาว ของจริงจะปรากฏสีให้เห็น

พ.ต.อ.เสรีย์กล่าวว่า เป็นข้อสังเกตง่ายๆ ที่ประชาชนทั่วไปจะดูได้ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องใช้เวลาดูด้วยใจเย็นๆ อย่ารีบร้อน ถ้าไม่แน่ใจในธนบัตรที่สงสัย ให้เอาธนบัตรที่แน่ใจว่าเป็นของจริงมาเทียบ

"อย่าผลีผลามรับเงินโดยไม่ดูก่อน เวลาจะรับเงินพยายามอยู่ในที่ที่มีแสงสว่าง เพราะส่วนใหญ่มีการใช้แบงก์ปลอมในที่มืด เช่น คลับ บาร์ ส่วนข้อที่สังเกตง่ายที่สุดคือลายน้ำ ของปลอมทำยาก จะออกมืดไม่ชัด ถ้าของจริงจะเห็นส่วนสว่างชัดเจน ทั้งนี้ ที่มาของธนบัตรปลอม เราไม่มีข้อมูล แต่มากที่สุดคือพื้นที่ สภ.อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร จำนวน 758 ฉบับ" พ.ต.อ.เสรีย์ระบุ

ขณะที่ พล.ต.ต.สุรพลกล่าวว่า ในปี 2551 มีการส่งธนบัตรปลอมใบละ 1000 จากทั่วประเทศมาให้ พฐ.ตรวจสอบจำนวน 30 คดี เกือบ 1,000 ฉบับ ทั้งนี้ ธนบัตรปลอมที่ผ่านการตรวจจาก พฐ.แล้ว จะต้องส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบอีกครั้งก่อนทำลายทิ้ง

วันเดียวกัน พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ ผบช.ภ.1 นำตัว นายวัชรินทร์ ประศรี อายุ 68 ปี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนดอนปอ จ.นครพนม นายแหลมทอง ปัตาถาวะโร อายุ 60 ปี น.ส.วิไล สีจันทร์ อายุ 56 ปี และนายอดุลย์ หวังเกิดกลาง อายุ 37 ปี ผู้ต้องหาร่วมกันผลิตธนบัตรปลอมไปแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ภายหลัง พ.ต.อ.เพชรัตน์ แสงไชย รอง ผบก.หน.ศสส.ภ.1 กับพวกประสานตำรวจกลุ่มงานสืบสวน ภ.จ.สกลนคร ขยายผลล่อซื้อธนบัตรใบละ 1000 บาท จำนวน 203 ฉบับ เป็นเงิน 203,000 บาทพร้อมของกลาง กัญชาอัดแท่ง 3 กก. ธนบัตรลาวปลอมฉบับละ 50,000 กีบ อีก 635 ฉบับ เป็นเงิน 31,750,000 กีบ ส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี ข้อหา ร่วมกันปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา หรือธนบัตรปลอม ร่วมกันมีและนำออกใช้ซึ่งเงินตราปลอมอันตนได้มา โดยรู้ว่าเป็นของปลอม และร่วมกันมียาเสพติดให้โทษประเภท 5 (กัญชา) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยผิดกฎหมาย




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 19:59:30 »

โทษเกี่ยวกับแบงก์ปลอม
http://www.matichon.co.th/matichon/v...day=2008-12-25
คอลัมน์ ข้าราษฎร

โดย สายสะพาย



ของปลอมระบาดจนพ่อค้าแม่ขายผวาไม่กล้ารับธนบัตรราคา 1,000 บาท

มาดูกันว่า โทษทางอาญาเกี่ยวกับธนบัตรปลอมมีอะไรบ้าง เริ่มจาก

1.การปลอมธนบัตร : ผู้ใดทำปลอมซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะปลอมขึ้นเพื่อให้เป็นเหรียญกระษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือทำปลอมขึ้นซึ่งพันธบัตรรัฐบาลหรือใบสำคัญ สำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอม เงินตรา ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท (ประมาวลกฎหมายอาญามาตรา 240)

2.การแปลงธนบัตร : ผู้ใดแปลงเงินตราฯให้ผิดไป จากเดิม เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีมูลค่าสูงกว่าจริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน แปลงเงินตรา ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท (มาตรา 241)

3.นำเข้าธนบัตรปลอม : ผู้ใดนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งใดๆ อันเป็นของปลอมตามมาตรา 240 หรือของแปลงตามมาตรา 241 ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ (มาตรา 243 )

4.มีธนบัตรปลอมไว้เพื่อใช้ : ผู้ใดมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งสิ่งใดๆ อันตนได้มาโดย รู้ว่าเป็นของแปลกตาม มาตรา 240 หรือของแปลงตามมาตรา 241 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงสามหมื่นบาท (มาตรา 244)

5.ได้ธนบัตรปลอมมาโดยไม่รู้ว่า เป็นของปลอม : ผู้ใดได้มาซึ่งสิ่งใดๆ โดยไม่รู้ว่าเป็นของปลอมตามมาตรา 240 หรือของแปลงตามมาตรา 241 ถ้าต่อมารู้ว่าเป็นของปลอมฯ ยังขืนนำออกใช้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 245)

6.ทำหรือมีเครื่องมือปลอมธนบัตร : ผู้ใดทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลงเงินตราฯ หรือมีเครื่อง มือหรือวัตถุเช่นว่านั้นเพื่อใช้ในการปลอมหรือแปลง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท (มาตรา 246)

7.ทำธนบัตรคล้ายคลึงเงินตรา : ผู้ใดทำบัตรหรือโลหธาตุอย่างใดๆ ให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึงกับเงินตรา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญกระษาปณ์ธนบัตรฯหรือพันธบัตรรัฐบาล หรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ หรือจำหน่ายบัตรหรือโลหธาตุเช่นว่านั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการจำหน่ายบัตรหรือโลหธาตุดังกล่าวในวรรคแรก เป็นการจำหน่าย โดยการนำออกใช้ดังเช่นสิ่งใดๆ ที่กล่าวในวรรคแรก ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 249)
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 20:00:33 »

27-12-2008 11:44 PM

แบงก์ปลอม พันธุ์ใหม่เหมือนทุกจุด ยกเว้นเลข 1,000

http://hilight.kapook.com/view/32361




"แบงก์ปลอม" พันธุ์ใหม่เหมือนทุกจุด ยกเว้นเลข 1,000 ตร.ขยายผลทลายแก๊งค์ใหญ่ กลางกรุง

พบ "แบงก์ปลอม" พันธุ์ใหม่เหมือนทุกจุด ยกเว้นเลข 1,000 ตรงมุมขวาบน ตำรวจภูธรภาค 3 ขยายผลทลายแก๊งค์ปลอมแปลงใหญ่กลางกรุง เผยทำตามใบสั่งลูกค้า 1 พันบาทปลอมละ 200 บาท รู้ตัวเบื้องหลังหมดแล้ว ธ.กรุงไทยระบุเดือนเดียวเจอกว่า 100 ใบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตำรวจภูธรภาค 3 ขยายผลทลายแหล่งผลิตธนบัตรปลอมรายใหญ่สำเร็จ โดยเมื่อเวลา 11.15 น. วันที่ 26 ธันวาคม ที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 จ.นครราชสีมา พล.ต.ท.กฤษฎา พันธุ์คงชื่น ผบช.ภ.3 พล.ต.ต.ฉัตรกนก เขียวแสงส่อง ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.อ.พงษ์เดช พรหมมิจิตร รองผบก.ภ.จว. ร่วมกันแถลงการจับกุม นายวิทยา บัวรอด อายุ 28 ปี ชาว อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี นายสนอง เงินจันทร์ อายุ 54 ปี ชาวอ.เมือง จ.พิษณุโลก และนายดำรงชัย มะยมหิน อายุ 35 ปี ชาวอ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร ขณะกำลังผลิตธนบัตรปลอมที่โรงพิมพ์เอ็มบางกอก เลขที่ 4032/2 ถนนจตุรทิศ เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร พร้อมของกลางธนบัตรปลอมฉบับละ 1,000 บาท 46 ฉบับ กระดาษใช้ผลิตธนบัตร 800 แผ่น แถบสะท้อนแสง 1 แผ่น แท่นพิมพ์ 2 แท่น แผ่นเพลท 2 ม้วน เพลทตัวอย่างที่จัดทำเรียบร้อย 20 แผ่น แผ่นเพลทรูปเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ใช้สำหรับปลอมธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท 1 แผ่น เครื่องอัดเพลท 1 เครื่อง เครื่องประมวลผลจอคอมพิวเตอร์ 2 ชุด ปริ๊นเตอร์สี 2 เครื่อง และสีใช้พิมพ์ธนบัตร 5 กระป๋อง

สำหรับการจับกุมผู้ต้องหาทั้ง 3 คนพร้อมแหล่งผลิตธรบัตรปลอมครั้งนี้ เป็นการสอบสวนขยายผลมา จากการจับกุมนายธงชัย ประเสริฐ พร้อมของกลางธนบัตรปลอมฉบับละ 1,000 บาท 46 ใบ ที่สามแยกตลาดแค ต.ตลาดแค อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา และนายสัญชิต เทศนา ที่ห้องพักแฟลตดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยนายสัญชิตซัดทอดว่า รับธนบัตรปลอมมาจากโรงพิมพ์เอ็มบางกอก

นายดำรงชัย ให้การรับสารภาพว่า เคยประกอบอาชีพเป็นช่างแยกสีที่โรงพิมพ์แห่งหนึ่ง ก่อนจะร่วมกับพวกที่ถูกจับ รับจ้างนายทุนจากกทม. ปลอมแปลงธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท มานานกว่า 4 เดือน โดยอาศัยโรงพิมพ์เอ็มบางกอก ซึ่งมีนายนายสนองเป็นเจ้าของ โดยจะผลิตตามใบสั่งลูกค้า จำหน่ายฉบับ 1,000 บาท ในราคา 200 บาท ที่ผ่านมาผลิตส่งให้กับลูกค้าไปแล้วกว่า 10,000 ฉบับ ซึ่งจุดที่ไม่สามารถปลอมได้เหมือน 100% คือ กระดาษที่ใช้จะมันและขาวกว่าของจริง เมื่อจับด้วยมือเปล่าจะรู้ทันที นอกจากนี้แถบ 2 สีบนตัวเลข 1000 ลายนูนบนธนบัตร รวมทั้งลายน้ำไม่สามารถปลอมได้เหมือนจริง เพราะทำยากพอสมควร

พล.ต.ท.กฤษฎา กล่าวว่า ผู้ต้องหาเป็นเครือข่ายใหญ่ กำชับให้ตำรวจในสังกัดเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของธนบัตรปลอมอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ ส่วนเครือข่ายที่จับกุมได้ครั้งนี้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการขยายผลจับกุมนายทุนที่บงการอยู่เบื้องหลัง ซึ่งทราบตัวหมดแล้ว ตำรวจจะเร่งติดตามจับกุมให้ได้โดยเร็วที่สุด

ด้านนายนพพร ประโมจนีย์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.เน้นการสืบค้น ตรวจจับและปราบปรามขยายผลไปให้ถึงต้นตอ รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้น และไม่มีนโยบายยกเลิกธนบัตรที่มีหรือหมวดที่มีการระบุว่า มีการปลอมแปลงมาก เพราะการผลิตธนบัตรไทยเป็นมาตรการสากล สู้กับต่างประเทศได้ และกระดาษที่นำเข้ามาจากต่างประเทศก็จะมีสัญญาจำหน่ายให้กับโรงพิมพ์ธนบัตรเท่านั้น

"การจะยกเลิกต้องใช้เวลานาน เพราะมีธนบัตรในระบบมหาศาล จะเกิดความวุ่นวายพอควร แต่ธปท.ขอบอกว่า ธนบัตรเรามั่นคง น่าเชื่อถือ ใช้มาตรฐานชั้นนำของโลกที่สามารถดูออกได้ด้วยตาเปล่า โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ ซึ่งยังไม่เคยเห็นในส่วนที่บอกว่าเหมือนธนบัตรจริงมาก จึงไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ แต่เท่าที่เคยเห็นฉบับปลอมก็ยังสามารถแยกออกได้ด้วยตาเปล่า ไม่ได้ใช้กระดาษพิเศษอะไร และมีปริมาณไม่มากนัก ขณะนี้ประชาชนเริ่มเข้าใจมากขึ้น เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในเร็ววัน และประชาชนอย่างตื่นตระหนกมาก" นายนพพรกล่าว

ขณะที่นายพงศธร สิริโยธิน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารสายงาน สายงานปฏิบัติการ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของธนบัตรปลอมในขณะนี้ ทางธนาคารสามารถตรวจพบได้ในเดือนธันวาคมมากกว่า 100 ฉบับ ซึ่งเป็นการตรวจพบเพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ จำนวนธนบัตรปลอมดังกล่าวหากเทียบกับจำนวนธนบัตรที่ใช้ในระบบประมาณ 100 ล้านฉบับต่อเดือนถือว่ามีจำนวนน้อยมาก พื้นที่ที่มีการพบธนบัตรปลอมมากที่สุดเป็นบริเวณตะเข็บชายแดนไทย นับว่าช่วงนี้ธนบัตรปลอมมีการออกมาจำนวนมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนยังมีความวิตกอยู่มาก เพราะยังไม่มีความชำนาญพอที่จะตรวจสอบธนบัตรได้ว่าจริงหรือปลอม

นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังหารือร่วมกับ ตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย สถาบันการเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมศุลกากร สมาคมค้าส่งค้าปลีกไทย ว่า ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม กรมการค้าภายในและค้าภายในจังหวัด จะร่วมมือกับหน่วยงานของสถาบันการเงินและทางตำรวจ ประชาสัมพันธ์และตรวจสอบกรณีธนบัตรปลอมระบาด จนอาจกระทบต่อความมั่นใจต่อการใช้ธนบัตรของผู้บริโภคและผู้ค้า โดยจะเปิดจุดให้คำแนะนำและตรวจสอบธนบัตรตามแหล่งชุมชนและตลาดทั่วไปทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด

"ทั้งนี้ในวันที่ 27 ธันวาคมนี้ จะเดินทางไปตรวจสอบราคาสินค้าและภาวะการค้าขายพร้อมผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงรับร้องเรียนถึงปัญหาธนบัตรปลอม ที่บริเวณสวนจตุจักร" นางพรทิวา กล่าว

นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้า ส่ง-ค้าปลีกไทย กล่าวว่า พันธบัตรปลอมอาจกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับกระทบต่อการค้าการใช้จ่ายอย่างไรก็ยังต้องมีอยู่ สมาคมฯ ก็จะเตือนให้สมาชิกและร้านค้าทั่วไปได้เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น โดยจะนำโปรเตอร์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดทำในการสังเกตธนบัตรไปแจกจ่าย

วันเดียวกัน พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(ผบช.น.) กล่าวถึงกล่าวถึงธนบัตรปลอมที่กำลังระบาดว่า ด้านการข่าวทราบว่าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีการลักลอบผลิต แต่เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องสืบสวนอย่างละเอียดอีกครั้งว่ามีจริงหรือไม่ และอยู่ในพื้นที่ใด เบื้องต้นทราบเพียงว่าอยู่ในพื้นที่ กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 (บก.น.1) หรือบก.น.2 เท่านั้น และหากประชาชนทราบหรือรู้เบาะแสแหล่งผลิตธนบัตรปลอม สามารถแจ้งมาได้ที่สายด่วน 191

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ตำรวจ สน.โคกคราม จับกุมนายเทอดศักดิ์ พร้อมธนบัตรปลอมฉบับละ 1,000 บาท 11ใบ ได้ในซอยมัยลาภ ถ.รามอินทรา เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โดยทำการล่อซื้อ จากนั้นส่งให้ กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ ตำรวจ ตรวจสอบพบว่า ธนบัตรปลอมดังกล่าวปลอมได้เหมือนของจริงมาก ทุกจุดที่มีตำหนิ คือ

จุดที่ 1.ลายน้ำ ธนบัตรจริงจะมีลายน้ำพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ใสชัดเจน แต่ธนบัตรปลอมจะเป็นเงาดำ

จุดที่ 2 .แถบสีโลหะสีเงินในเนื้อกระดาษธนบัตรจริง จะระบุมูลค่าธนบัตรไว้เป็นตัวเลข 1,000 บาท ชัดเจนเมื่อส่องกับแสงสว่าง

จุดที่ 3.การพิมพ์ ธนบัตรจริงจะพิมพ์เส้นนูนบนเนื้อกระดาษบริเวณคำว่ารัฐบาลไทย และตัวหนังสือคำว่าหนึ่งพันบาท ถ้าเป็นธนบัตรปลอมเป็นการพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ตัวหนังสือจะเรียบไม่มีรอยนูน

จุดที่ 4.ภาพทับซ้อน ลายดอกบัวเมื่อส่องด้วยแสงสว่างจะเห็นชัดเจน แต่ธนบัตรปลอมจะไม่มีลายดอกบัว

จุดที่ 5.ตัวเลขแฝง และแถบฟอยด์สีบอร์นธนบัตรจริงจะเห็นชัดเจน ธนบัตรปลอมจะไม่ชัดเจน

จุดที่ 6 เนื้อกระดาษธนบัตร จริงจะใสสะอาดกว่าธนบัตรปลอมที่ค่อนข้างจะมืดทึบกว่ามาก

แต่ธนบัตรปลอมที่จับได้ในท้องที่สน.โคกคราม สามารถทำได้เหมือนทั้ง 6 จุด จะต่างตรงเลข 1000 ตรงมุมบนขวาของแบงก์ ซึ่งมี 2 สี หากส่องดูจะสีจะเลื่อนมาเหลื่อมกัน แต่ธนบัตรปลอมสี 2 สีจะไม่เลื่อนมาเหลื่อมกัน




ขอขอบคุณข้อมูลจาก มติชน ออนไลน์
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 20:02:08 »

01-01-2009 09:54 AM

กด-ลืมเก็บเอทีเอ็ม โดนเบิกต่อ1.8แสน

http://www.matichon.co.th/khaosod/vi...MHdNUzB3TVE9PQ==


ซวยท้ายปี-น.ส. ภัชรา ชื่นบาน แจ้งตร. ให้ติดตามคนในภาพวงจรปิด หลังกดเงินแล้วลืมบัตรเอทีเอ็มที่ยังเสียบคาตู้ ย่านสีลม ทำ ให้ชายที่ต่อคิวแอบกดเงินไปอีก 180,000 บาท


สาวเจ้าของบริษัทรับจองตั๋วเครื่องบินแจ้งความ ถูกลักกดตู้เอทีเอ็มสูญเงินไป1.8แสนบาท เผยเหยื่อเคราะห์ร้ายส่งท้ายปีโอนเงินให้ลูกค้าแล้วดันลืมบัตรไว้ในตู้ คนร้ายที่มาต่อคิวเลยสวมรอยเปลี่ยนรหัสผ่านบัตร เอาไปตระเวนกดเงินตามตู้เอทีเอ็มของธนาคารหลายแห่ง ย่านศาลาแดง ครั้งละ 30,000-100,000 บาท ยังดีกล้องวงจรปิดของตู้เอทีเอ็มจับภาพผู้ต้องสงสัยไว้ได้ เป็นชายท่าทางตุ้งติ้ง ด้านตำรวจหลังสอบปากคำเหยื่อเสร็จ บอกต้องรอธนาคารเปิดวันที่ 5 ม.ค. ถึงจะประสานขอข้อมูลรายละเอียดการใช้บัตรกดเงินได้

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 31 ธ.ค. ที่สน.ทุ่ง มหาเมฆ น.ส.ภัชรา ชื่นบาน อายุ 29 ปี อยู่บ้านเลขที่ 66/1 หมู่ที่ 4 ต.หนองหญ้าปล้อง อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี เจ้าของบริษัทสเปซแมน ฮอลิเดย์ ประกอบกิจการรับจองตั๋วเครื่องบิน สายการบินต่างๆ ย่านศาลาแดง นำภาพบันทึกจากกล้องโทรทัศน์ วงจรปิดของธนาคารไทยธนาคาร เป็นภาพคนร้ายที่นำบัตรวีซ่าอิเลคตรอนของธนาคารกสิกรไทยซึ่งตนเองลืมไว้ หลังโอนเงินเสร็จเรียบร้อยแล้วเผลอหยิบแต่สลิปไปเท่านั้น คนร้ายที่ต่อแถวอยู่จึงฉวยโอกาสเปลี่ยนรหัสแล้วนำไปกดเงินจำนวน 180,000 บาท มามอบให้ร.ต.ท.วินัย นครขวาง พนักงานสอบ สวน สน.ทุ่งมหาเมฆ เพื่อให้ติดตามหาตัวคนร้ายมาดำเนินคดี

น.ส.ภัชรา กล่าวว่า เมื่อเวลา 09.13 น. วันที่ 30 ธ.ค. ตนเองได้ทำธุรกรรมทางการเงินที่ตู้เอทีเอ็มธนาคารกสิกรไทย สาขาสีลม โดยใช้บัตรวีซ่าอิเลคตรอนของธนาคารกสิกรไทย โอนเงินไปให้บริษัทคู่ค้าที่มาจองตั๋วเครื่องบิน เป็นจำนวนเงิน 26,250 บาท หลังทำรายการเสร็จตนลืมบัตรวีซ่าดังกล่าวไว้ในช่องตู้เอทีเอ็ม ขณะนั้นหน้าจอยังขึ้นข้อความว่าต้องการทำรายการต่อหรือไม่ เป็นจังหวะเดียวกับที่มีชายต้องสงสัย สูงประมาณ 170 เซนติเมตร ผิวดำแดง ไว้ผมรองทรง ท่าทางตุ้งติ้ง เดินสวนเข้าไปยังตู้เอทีเอ็มที่ตนเองลืมบัตรไว้ ชายคนดังกล่าวอาศัยจังหวะที่หน้าจอทำรายการค้างอยู่เข้าไปทำรายการต่อโดยแก้รหัสผ่านบัตร

น.ส.ภัชรา กล่าวต่อไปว่า บัตรของตนมีวงเงินใช้จ่ายได้วันละ 200,000 บาท ซึ่งสามารถกดเงินได้ครั้งละ 20,000 บาท โดยชายคนดังกล่าวดินไปกดเงินจำนวน 50,000 บาท ที่ตู้เอทีเอ็มหน้าธนาคารไทยธนาคาร ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 300 เมตร แล้วก็เดินไปที่ตู้เอทีเอ็มธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา BTS ศาลาแดง กดเงินอีก 100,000 บาท จากนั้นยังเดินต่อไปกดเงินที่ตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงเทพ หน้าร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ศาลาแดง อีก 30,000 บาท รวมเงินที่ชายคนดังกล่าวได้ไปทั้งสิ้น 180,000 บาท ตนจึงเข้าแจ้งความไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. ก่อนที่วันนี้จะประสานขอภาพกล้องโทรทัศน์วงจรปิดของธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยธนาคาร มามอบให้ร.ต.ท. วินัย เพื่อใช้เป็นเบาะแสในการสืบสวนสอบสวนจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดี

ด้านร.ต.ท.วินัย กล่าวว่า เบื้องต้นจะสอบปากคำเหยื่อเพิ่มเติม แล้วรอวันที่ 5 ม.ค. เพื่อให้ธนาคารกสิกรไทย และไทยธนาคารสาขาที่เกิดเหตุเปิดทำการ ก่อนประสานขอเอกสารข้อมูลการใช้บัตรอย่างละเอียด เพื่อนำมาประกอบสำนวนในการขอออกหมายจับบุคคลตามภาพถ่ายเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 20:03:43 »

14-01-2009 06:56 PM

โดย คุณคีตา
http://board.palungjit.com/showthrea...60#post1797960

กำลังจะเอาเรื่องบัตรเครดิตลงมาให้ระวังกันครับ พอดีเรื่องเดียวกับข่าวพี่ sithipong ข้างบนเลย

"...ขอนอกเรื่องหน่อยละกัน

เนื่องจากกลลวงในปัจจุบันมีมากมาย โดยเฉพาะท่านผู้ที่ใช้บัตรเครดิต
ย่อมมีความเสี่ยงในการใช้จ่ายเงินเช่นกัน ซึ่งวันนี้ผมก็เจอมากับตัวเองเหมือนกัน
เกี่ยวกับการซื้อประกัน ผ่านตัวแทนขายทางโทรศัพท์ โดยหักเงินผ่านบัตรเครดิต
ซึ่งเจอบ่อยมาก แต่ก็ตกลงทำไปเหมือนกันเพราะการทำประกันชีวิต
ก็เป็นการออมเงินไว้ใช้ในอนาคตที่ได้รับผลตอบแทนที่ดี วิธีหนึ่งเช่นกัน

แต่ประเด็นสำคัญมันไม่ใช่เรื่องการทำประกันชีวิตหรอก สาระสำคัญมันอยู่ที่ว่า
ตัวแทนประกัน ถามวันหมดอายุ ของบัตรเครดิต และหมายเลข CVV ด้านหลังบัตร

ซึ่งพนักงานพูด ได้แนบเนียนมาก
"วันหมดอายุของบัตร วันที่เท่าไหร่คะ"
"พลิกไปดูหลังบัตร จะเห็นหมายเลข 3 ตัว คือหมายเลขอะไรคะ"

จึงขอเตือนเพื่อนชาวอีโกลไทยด้วยความเป็นห่วง ซึ่งอาจจะทราบความสำคัญ
หรือไม่ทราบความสำคัญ ของหมายเลข CVV และ วันหมดอายุของบัตร
ว่ามีความสำคัญมาก ไม่ควรบอกหรือเปิดเผยแก่ผู้ใด เพราะถ้าบอกไปแล้วนั่น
ก็เหมือนท่านได้มอบกรรมสิทธิ์ การใช้บัตรของท่านให้กับบุคคลนั้นไปแล้ว

นอกเสียจากว่าท่านทำธุรกรรม ผ่านทางอินเทอร์เน็ตเช่น จองตั๋วเครื่องบินผ่านอินเทอร์เน็ต
อันนี้จำเป็นต้องใช้อยู่แล้ว แต่ท่านก็ต้องทำด้วยตัวของท่านเอง และไม่ควรให้ใครกรอกข้อมูลแทนเช่นกัน

*** ข้อมูลที่ท่านจะสามารถบอกให้กับ พนักงานขายได้ก็มีเพียงแต่
ชื่อของท่าน ซึ่งสะกดเป็นภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง และหมายเลขบัตรเครดิตเท่านั้น
ส่วนข้อมูลอื่นไม่ต้องบอกไป (ถ้าไม่สามารถตัดยอดได้ ก็ไม่ต้องไปตัดมัน ชำระเงินสดแทนละกัน)

จึงเล่าสู่กันฟัง ด้วยความเป็นห่วง..."


ที่มา : http://www.egoldthai.com/index.php?showtopic=1820&st=8
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 22 เมษายน 2553 20:04:40 »

14-01-2009 06:59 PM

ผมเอง บริษัทบัตรเครดิตโทร.มาหาผมเมื่อสองปีที่แล้ว จะเพิ่มวงเงินให้ 300,000 บาท ผมยังปฎิเสธไป ผมบอกว่า ผมมีกำลังที่จะรับผิดชอบได้แค่นี้ ผมพอแล้ว และผมบอกว่า ขอให้ระบุในข้อมูลของผมว่า ผมมีวงเงินเท่านี้พอ ไม่เพิ่มอีกแล้วครับ

เครื่องสแกนข้อมูล เล็กนะครับ รูดปื๊ดเดียว ข้อมูลก็ไปอยู่ในเครื่องแล้ว ส่วนเรื่องของบัตรเครดิตที่มีชิบ ก็อย่าได้ไว้วางใจเช่นกัน เราไม่รู้ว่า จะมีการนำข้อมูลจากชิบออกไปได้เมื่อไหร่ เราอาจจะเป็นรายต้นๆที่โดน หากเราไม่ระมัดระวังตัวกันไว้

มาย้ำ บัตรเครดิต เป็นการใช้เงินในอนาคตนะครับ

เวลาที่เราติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทบัตรเครดิต หรือเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันทางโทรศัพท์ ทุกๆครั้งเราควรจดชื่อผู้โทร.มาหาเรา บริษัทอะไร วันที่เท่าไหร่และเวลาอะไร จดไว้ด้วยนะครับ อย่าลืม

บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
คำค้น:
หน้า:  [1] 2 3 4   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.813 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 กันยายน 2566 04:47:39