[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 05:27:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แม่ชีในสังคมพม่า  (อ่าน 1702 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 16 สิงหาคม 2560 15:56:50 »




แม่ชีในสังคมพม่า

จากศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวรอรนุช-วิรัช นิยมธรรม เขียนบทความเรื่อง “ชีวิตแม่ชีในสังคมพม่า” ไว้ว่า ชีพม่านุ่งห่มสีชมพู ปลงผม ไว้คิ้วเข้ม ทูนถาดบนศีรษะ เดินเขย่าภาชนะรูปคล้ายกระโถนหมาก ส่งเสียงบอกบุญให้พร เพื่อขอรับบริจาคทานไปตามย่านตลาดและละแวกบ้าน เป็นภาพที่พบเห็นเจนตาในชุมชนเมืองและชนบทของประเทศพม่า

พม่ามีคำเรียกชีว่า ตีละฉี่ง หมายถึง ผู้ทรงศีล คำนี้เป็น คำประสม ประกอบด้วยศัพท์บาลีว่า สีละ คือ ศีล กับศัพท์พม่าคำว่า ฉี่ง แปลว่า ผู้ครอง, ผู้ทรง นอกเหนือจากคำนี้ ชียังมี คำเรียกอื่นได้อีก อาทิ แมตีละ-แม่ศีล, พวาตีละ-แม่เฒ่าศีล, แมตูด่อ หรือตูด่อมะ-หญิงผู้ทรงศีล

วัดชีในพม่าอยู่ภายใต้การดูแลของเถรสมาคม หรือคณะสังฆะ มหานายกะ มี ๒ รูปแบบ รูปแบบหนึ่งเป็นวัดเอกเทศ ปกครองโดยชีด้วยกันเอง อีกรูปแบบหนึ่งเป็นวัดที่อยู่ภายใต้การดูแลของวัดสงฆ์ สำนักชีในพม่าถือเป็นวัดเช่นเดียวกับวัดของสงฆ์ มีเจ้าอาวาสเป็นผู้ปกครอง เรียกว่า อาจารย์ใหญ่ หรือซยาจี ต่างจากเจ้าอาวาสของฝ่ายสงฆ์ ซึ่งจะเรียก พระอาจารย์ หรือซยาดอ ศูนย์กลางวัดชีในพม่าที่ใหญ่ที่สุดอยู่ ณ เขาสะกาย ริมฝั่งแม่น้ำอิรวดี ตรงข้ามเมืองอมรปุระ ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ บนดอยแห่งนี้มีวัดชีเป็นหลายร้อยวัด มีชีหลายพันรูป เขาสะกายจึงเปรียบประดุจหมู่บ้านแม่ชีของพม่า

โดยทั่วไปวัดชีมีคำเรียกเช่นเดียวกับวัดของฝ่ายสงฆ์ คือใช้คำว่า จอง เหมือนกัน ซึ่งกินความได้ทั้งวัดและโรงเรียน และมักเรียกวัดชีเต็มๆ ว่า ตีละฉี่งจอง แปลว่าวัดชี ทั้งยังมีคำเรียกแบบสำนักชีว่า จองไต้ แปลว่า ตึกวัด หรือตึกโรงเรียน หรืออาจเรียกว่า ซาตี่งไต้ แปลว่าตึกเรียนหนังสือ ซึ่งก็คือโรงเรียนนั่นเอง นอกจากนี้อาจเรียกสำนักชีได้อีกว่า ตีละฉี่งซยะ เฉพาะคำว่า ซยะ หมายถึง ศาลาที่พักพิง

แต่ถ้าเป็นพื้นที่เขาสะกาย นิยมเรียกวัดชีว่า ฉ่อง ที่มีความหมายได้ ๒ นัย นัยหนึ่งแปลว่าวิเวกสถาน อีกนัยหนึ่งแปลว่า ซอกเขา ศัพท์นี้สันนิษฐานว่ามีที่มาตามนัยว่าซอกเขา ก่อนกินความรวมถึงที่วิเวก เพราะวัดชีบนเขาสะกายจะตั้งเร้นอยู่ในหลืบเขาเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเป็นที่สงบเย็นอยู่กลางแมกไม้ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม




ทั้งนี้ เห็นได้ว่าศัพท์ที่ใช้สำหรับเรียกวัดชีในภาษาพม่ามี แตกต่างถึง ๓ นัย คือเป็นได้ทั้งสำนักเรียน ที่พักพิง และวิเวกสถาน ช่วยบ่งให้รู้บทบาทหน้าที่ของวัดชีได้อย่างชัดเจน

หากกล่าวถึงความเป็นมาของการบวชในสังคมพุทธพม่า ผู้หญิงพม่าน่าจะมีโอกาสถือบวชได้เช่นเดียวกับชายมาแต่ยุคแรกๆ ศาสตราจารย์ลูซ (G.H.Luce) เอ่ยถึงสังคมชาวพยูในพม่าที่กล่าวในบันทึกของจีนยุคราชวงศ์ถังโบราณ เมื่อศตวรรษที่ ๙ ความว่า “เมื่อย่างถึงวัย ๗ ขวบ เด็กทั้งชายหญิงจะปลงผมและพำนักอยู่ในวัด เพื่อใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ ต่อเมื่ออายุถึงวัย ๒๐ ปี

หากไม่อาจมีสุขอยู่ในแนวทางนั้นได้ ก็จะสึกจากสมณเพศ ปล่อยผมยาวคืนสู่ภาวะสามัญชนดังเดิม” จากข้อเขียนดังกล่าว ยะเวทูน ภิกษุชาวพม่าผู้แต่งหนังสือ “ประวัติภิกขุณีและแม่ชี” (ค.ศ.๑๙๖๕) สันนิษฐานว่า ชีในสังคมพม่าน่าจะกำเนิดมาแต่ยุคสมัยศรีเกษตรของชาวพยูเป็นอย่างช้า และหญิงพม่าคงนิยมบวชชีสืบเนื่องเรื่อยมาถึงสมัยพุกาม อังวะ คองบอง จวบจนถึงปัจจุบัน

ในประวัติศาสตร์พม่ามีชีที่ประกอบคุณความดีเป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชน ชีที่มีชื่อท่านหนึ่ง คือ ซยากีง มีชีวิตอยู่ในสมัยของพระเจ้ามินดงซึ่งให้ความเคารพศรัทธาท่านยิ่งนัก ถึงขนาดนิมนต์มาพำนักในวังหลวงเพื่ออยู่อบรมสั่งสอนเจ้านายฝ่ายใน

ในสมัยนั้นแม่ชีพม่ามีประวัติโดดเด่นที่สุด ต่อมาในสมัยอาณานิคม จำนวนชีดูจะน้อยลงกว่าเดิม จนหลังได้รับเอกราช จำนวนชีกลับมีเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยจำนวนชีที่ไม่ได้แจ้งเข้าพรรษาน่าจะมีมากกว่าที่ระบุอยู่ไม่น้อย ยะเวทูนกล่าวว่าชีมิได้เพิ่มเพียงปริมาณ แต่ยังมีคุณภาพสูงกว่าในอดีต ดังพบว่ามีหลายรูปที่เรียนธรรมชั้นสูง บางรูปแต่งตำราได้ไม่ด้อยไปกว่าพระ อย่างไรก็ตามชีไม่ได้รับโอกาสสอบท่องพระไตรปิฎก ซึ่งกำหนดไว้เฉพาะฝ่ายสงฆ์เท่านั้น




ที่มาของการครองผ้าสีชมพู

แม้ชีพม่าในปัจจุบันจะครองผ้าเป็นชุดสีชมพู แต่กล่าวกันว่าเดิมทีนั้นชีพม่าแต่งชุดขาวเหมือนกับชีไทย ชีลาว ชีเขมร ยะเวทูน (ภิกษุชาวพม่าผู้แต่งหนังสือ “ประวัติภิกขุณีและแม่ชี”) เชื่อว่าชีน่าจะครองชุดขาวมาตลอดยุคราชวงศ์ของพม่า คือนับแต่สมัยพุกามจนถึงสิ้นราชวงศ์คองบอง ดังมีหลักฐานบันทึกเป็นบทกลอนที่เรียกว่าส่าโช แต่งโดยพระเถระนามว่าพระอาจารย์ บะหม่อ เป็นสงฆ์ผู้มีชื่อเสียงทางกวีนิพนธ์ในสมัยของพระเจ้ามินดง พระอาจารย์บะหม่อแต่งบทกลอนนี้ไว้ เมื่อตอนที่ท่านขึ้นจำพรรษา ณ เขาสะกาย มีเนื้อความบ่งบอกสีของผ้าครองของ ชีสมัยนั้น โดยเปรียบเปรยแม่ชีเป็น แม่ไก่ขาว หรือแจ๊ะผยู่มะ

ต่อมามีบันทึกกล่าวถึงการเปลี่ยนผ้าครองสีขาวเป็นสีคล้ำ กล่าวคือในช่วงระหว่าง ค.ศ.๑๘๙๕-๑๙๑๙ พระอาจารย์แห่งวัดมหาคันธาโยง เมืองอมรปุระ ขึ้นไปจำพรรษา ณ เขาสะกาย ท่านเห็นว่าชีที่มากราบไหว้แต่งกายด้วยเสื้อขาว และห่มสบงคล้ำ จึงให้ข้อคิดว่า ชีควรจะเปลี่ยนผ้าครองให้เป็นสีคล้ำทั้งชุด เนื่องจากเสื้อสีขาวที่ใส่นั้นดูคล้ายชาวบ้าน ไม่เหมาะกับผู้ถือศีล นับจากนั้นมาจึงไม่ปรากฏว่าชีใช้ผ้าครองสีขาวกันอีก แรกๆ กล่าวเรียกสีของผ้าครองเป็นสีดินคล้ำแบบดินเมืองปะคัน ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นสีดินแดงแบบดินย่างกุ้ง แล้วแปรเปลี่ยนเรื่อยมาเป็นสีชมพูดังปัจจุบัน

ชีพม่าในปัจจุบันนิยมครองผ้า ๒ แบบ แบบหนึ่งเป็นผ้าสีชมพู ซึ่งพบได้ทั่วไป ใช้สำหรับชีที่เน้นทางด้านปริยัติ ถือศีล ๘ และอีกแบบหนึ่งเป็นผ้าสีน้ำตาล ใช้สำหรับชีที่เคร่งด้านปฏิบัติ ถือศีล ๑๐ ชีที่ครองผ้าสีชมพู มิได้ห่มผ้าสีชมพูโทนเดียวทั้งชุด สบงอาจเป็นส้ม แดง หรือสีมันกุ้ง เสื้อเป็นสีชมพูอ่อนหรือสีส้มอ่อน ผ้าพาดบ่าหรือผ้าปกศีรษะมักจะมีสีน้ำตาลอ่อน

ดังนั้นหากสังเกตดีๆ ชุดชีพม่าใช้ผ้าต่างระดับสี แต่ดูรวมๆ จะเป็นสีชมพู ส่วนชีที่แต่งชุดสีน้ำตาลจะนุ่งสบงและใช้ผ้าพาดบ่าสีน้ำตาลคล้ำ และสวมเสื้อสีน้ำตาลอ่อน ดูคล้ายโยคีหรือผู้ถืออุโบสถศีล แต่ปฏิบัติเคร่งกว่าชีส่วนใหญ่ที่ครองผ้าสีชมพูและถือเพียงศีล ๘

ในการครองชีวิตชีพม่า จะไม่สะสมสิ่งของเครื่องใช้มากเกินความจำเป็น ของใช้ส่วนตัวของชีนอกจากผ้าครองกาย ๖ ชิ้นแล้ว จะมีของใช้อีก ๖ อย่าง ได้แก่ มีดโกน ร่ม รองเท้า หีบ สร้อยประคำ และถาดรับข้าวสาร ปัจจัยจำเป็นดังกล่าวแม้ดูไม่มากนัก แต่การบวชชีสำหรับชาวพม่าที่มีฐานะยากจน ของใช้เหล่านั้นกลับเป็นสิ่งที่เหลือวิสัย จึงต้องอาศัยศรัทธาจากผู้อื่นเกื้อหนุน หรือหยิบยืมกันเองในหมู่เพื่อนชี

ด้านการศึกษาตามสำนักชี แม่ชีจะมีบทบาทในการสั่งสอนธรรม อบรมบ่มนิสัย และสังคมสงเคราะห์ ชั้นเรียนสำหรับชีจะเริ่มตั้งแต่ระดับชั้นประถมจนถึงชั้นมัธยม บางสำนักเปิดสอนในระดับธรรมาจริยะ เป็นชั้นเรียนสำหรับผู้สอน จำนวนชีที่จบถึงชั้นธรรมาจริยะมีไม่มากนักเมื่อเทียบกับฝ่ายสงฆ์ วัดชีจึงมีชีสำหรับสอนในระดับสูงค่อนข้างน้อย ต้องอาศัยเรียนกับวัดของสงฆ์ที่อยู่ใกล้ๆ

สำหรับการอบรมบ่มนิสัย มุ่งสอนงานบ้านงานเรือน การปรุงอาหาร การจัดหิ้งบูชาพระ กิริยามารยาท ส่วนด้านสังคมสงเคราะห์ ชีพม่าได้พัฒนารูปแบบมานับแต่เมื่อพม่าได้รับเอกราช บางวัดรับดูแลคนชราและคนพิการ บางวัดรับเด็กกำพร้าและเด็กยากจนมาบวชเรียน โดยเฉพาะเด็กชาวเขาหรือชนส่วนน้อย อาทิ ปะหล่อง มอญ ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง ว้า กะฉิ่น และฉิ่น กล่าวว่ารูปแบบนี้มีขึ้นเพื่อกันกลุ่มชนเหล่านั้นไม่ให้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์

โดยทั่วไปชีวิตชีพม่าดูจะไม่สุขสบายอย่างพระสงฆ์และสามเณร ชีมีความเป็นอยู่ที่อัตคัด โอกาสในลาภสักการะมีน้อยกว่าสงฆ์ ชีมักจะออกเรี่ยไรสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง ของที่ได้รับมักเป็นข้าวสารและเงิน ไม่มีการถวายเครื่องคาวหวาน ทั้งชีต้องจัดหากับข้าวเอง โดยจับกลุ่มทำอาหารแบ่งปันกัน เว้นแต่วัดที่ได้ผู้มีฐานะให้การอุปถัมภ์ จึงจะอยู่ดีกินดี ชีไม่เพียงแต่ต้องจัดหาอาหารเองเท่านั้น ยังต้องเตรียมอาหารถวายพระเป็นครั้งคราว ถือเป็นการทำบุญกุศลเช่นเดียวกับฆราวาส



ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 สิงหาคม 2560 17:08:06 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.315 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 23:31:22