[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 21:01:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดสุวรรณดารารามฯ พระนครศรีอยุธยา นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชมจิตรกรรมฝาผนัง  (อ่าน 5846 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 ตุลาคม 2560 17:38:45 »


ภาพใหญ่เต็มฝาผนังพระวิหารวัดสุวรรณดาราราม
ผลงานชิ้นเอกบอกเล่าเรื่องราวพระราชพงศาวดารสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราช แห่งพม่า


พระวิหารวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา
ภายในมีภาพเขียนด้วยสีน้ำมัน โดย พระมหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร)
จิตรกรเอกและช่างภาพประจำพระองค์ ในราชสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖  

นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชมจิตรกรรมฝาผนัง
วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร
ตำบลหอรัตนไชย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเกาะเมืองเขตพระนคร ด้านทิศตะวันออกค่อนลงมาทางใต้ ใกล้ป้อมเพชร ตำบลหอรัตนไชย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถาปนาขึ้นโดยพระสุนทรอักษร (ทองดี) พระชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ บริเวณอันเป็นนิวาสถานเดิมของตระกูล วัดแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า “วัดทอง

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ พม่าได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาแตก วัดทองก็ถูกพม่าทำลายกลายเป็นวัดร้างมานานถึง ๑๘ ปี

ปี พ.ศ.๒๓๒๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกและสร้างกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีแล้ว ต่อมาใน พ.ศ.๒๓๒๘ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดทองที่ถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่กรุงแตกใหม่หมดทั้งอาราม ในการปฏิสังขรณ์และการก่อสร้างครั้งนี้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หรือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระอนุชาได้ทรงร่วมปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ด้วย เมื่อการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ตามชื่อของพระราชบิดา (ทองดี) และพระราชมารดา (ดาวเรือง)ว่า “วัดสุวรรณดาราราม


พระวิหาร
พระวิหาร สร้างมาแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แต่มาแล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ  มีลักษณะเป็นอาคารเครื่องก่อ หน้าบันและซุ้มประตูมีตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ศิราภรณ์สำคัญของพระมหากษัตริย์ อันเป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย ว่า “มงกุฎ” ซึ่งเป็นตราประจำรัชกาลที่ ๔ อยู่ในเครื่องเบญจราชกุธภัณฑ์ มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้งสองข้าง

ลักษณะตัวอาคารก่อสร้างเลียนแบบจากพระอุโบสถ ไม่มีคันทวย ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรโลหะลงรักปิดทอง ประทับนั่งสมาธิราบ ปางมารวิชัย บนฐานชุกชี ภายใต้ซุ้มเรือนแก้วประดับลวดลายงดงาม คล้ายคลึงพระพุทธชินราช ด้านหลังพระวิหารมีเจดีย์ใหญ่ (เจดีย์ประธาน) บรรจุพุทธสารีริกธาตุ "เจดีย์ประธาน" (The Principal Stupa) เป็นเจดีย์ทรงระฆัง มีมาลัยเถา ๓ ชั้นรองรับองค์ระฆัง ตั้งอยู่บนลานประทักษิณ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ ๔ รายล้อมด้วยเจดีย์ทรงเครื่ององค์ระฆังริ้ว ซึ่งเป็นการสร้างเลียนแบบเจดีย์ในสมัยอยุธยา

จิตรกรรมฝาผนังวิหารของวัดสุวรรณดาราม
ภายในฝาผนังพระวิหารมีภาพเขียนด้วยสีน้ำมัน เขียนโดยพระมหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) ผู้มีฝีมือทางด้านศิลปะ โดยเฉพาะด้านจิตรกรรมและการถ่ายภาพ จนได้เป็นจิตรกรเอกและช่างภาพประจำพระองค์ ในราชสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  

จิตรกรรมในฝาผนังพระวิหาร เล่าเรื่องราวพระราชพงศาวดารของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ผลงานชิ้นเอกที่คนไทยรู้จักมากที่สุด คือ ภาพเขียนการสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชมังกะยอชวา  “พระมหาอุปราชา” แห่งพม่า  ซึ่งเป็นสงครามที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.๒๑๓๕ เนื้อหาของภาพสะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงฟันพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา จนสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง และภาพเล่าพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเขียนตามช่องว่างระหว่างประตูและหน้าต่างช่องละตอน มีคำบรรยายประกอบอยู่ใต้ภาพ รวมทั้งสิ้น ๒๐ ตอน ลำดับภาพเริ่มจากทางด้านซ้ายมือของพระประธาน วนไปตามเข็มนาฬิกา เขียนเล่าเรื่องตั้งแต่ตอนพระอิศวรแบ่งภาคลงมาประสูติเป็นสมเด็จพระนเรศวร จนถึงเรื่องราวตอนที่สมเด็จพระนเรศวรสวรรคต และอัญเชิญพระบรมศพกลับมาสู่พระนครศรีอยุธยา เป็นภาพเขียนที่มีความเหมือนจริง มีอิทธิพลมาจากตะวันตกและได้นำมาประยุกต์ใช้ในจิตรกรรมไทย ซึ่งเชื่อว่าเป็นจิตรกรรมสีน้ำมันบนฝาผนังปูนแห่งแรกในประเทศไทย

พระอุโบสถ
พระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สังเกตได้จากที่ผนังด้านหน้ามีการเจาะช่องประตู ๓ ช่อง

อาคารหลังนี้มีฐานเป็นท้องสำเภา คือมีลักษณะโค้งแอ่นกลาง ซึ่งเป็นแบบอย่างของฐานรากอาคารที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนปลายสืบเนื่องมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้างประมาณ ๑.๕ เมตร สูง ๒ เมตร

ฝาผนังด้านในพระอุโบสถเขียนภาพจิตรกรรม อายุมากกว่า ๒๐๐ ปี โดยฝีมือของช่างหลวงสมัยรัชกาลที่ ๑ ในปี พ.ศ.๒๓๒๘  ต่อมาได้รับการบูรณะเขียนซ่อมแซมในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓ ราวปี พ.ศ.๒๓๙๓ โดยเค้าโครงของภาพยังคงไว้ในรูปแบบเดิม  

ภาพจิตรกรรมแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ ส่วนบนเหนือของผนังหน้าต่างขึ้นไปจรดเพดาน เขียนภาพเทพชุมนุมนั่งประนมมือหันหน้าไปที่พระประธาน ส่วนด้านล่างระหว่างช่องหน้าต่างซึ่งมี ๘ ช่อง เขียนภาพเล่าเรื่องพระเจ้าสิบชาติ หรือทศชาติชาดก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติที่ล่วงมาแล้วของพระพุทธเจ้า แต่เป็นชาติที่ใกล้จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เพราะต่อจากสิบชาติแล้วก็มาป็นสิทธัตถกุมาร แล้วออกบวชเป็นพระพุทธเจ้า  มี เตมียชาดก มหาชนกชาดก สุวรณสามชาดก เนมีราชชาดก มโหสถชาดก ภูริทัตชาดก จันทกุมารชาดก พรหมนารทชาดก วิธูรบัณฑิตชาดก เวสสันดรชาดก (๑๓ กัณฑ์)  ด้านหลังพระประธานเขียนภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องไตรภูมิ ผนังด้านหน้าพระประธานเขียนเล่าเรื่องพุทธประวัติ ตอนมารวิชัย




พระพุทธปฏิมากรประธานในพระวิหาร ประทับนั่งสมาธิราบ ปางมารวิชัย บนฐานชุกชี
มีซุ้มเรือนแก้วประดับด้วยลวดลายประณีตอ่อนช้อยงดงาม


พระวิหารวัดสุวรรณดารารามวรวิหาร ด้านหลังมีเจดีย์ใหญ่ (เจดีย์ประธาน)


เจดีย์ใหญ่ (เจดีย์ประธาน) ทรงระฆัง บรรจุพุทธสารีริกธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้า




สืบมาแต่ครั้งพุทธกาล พระอานนท์กราบทูลขอต่อพระพุทธองค์ ในการนำต้นโพธิ์มาปลูกไว้ภายในวัดพระเชตวัน
วัดที่พระพุทธองค์ทรงจำพรรษานานที่สุด ณ กรุงสาวัตถี ประเทศอินเดีย    เพื่อให้ชาวเมืองสาวัตถีได้นำเครื่อง
สักการะบูชาน้อมจิตระลึกนึกถึงพระพุทธองค์ ในระหว่างที่พระพุทธองค์เสด็จจาริกไปในที่ห่างไกล พระพุทธองค์
ทรงตรัสว่า ดีแล้วอานนท์  พระเชตวันก็จักเสมือนตถาคตประทับอยู่เป็นนิตย์  ต้นโพธิ์เสมือนบริโภคเจดีย์ เป็น
ต้นไม้ตรัสรู้ของบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  ก็ควรค่าแก่การน้อมระลึกนึกถึงพระคุณอันหาประมาณมิได้ของ
พระพุทธองค์ เมื่อมหาชนยังความเลื่อมใสในพระคุณของพระพุทธองค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้า
ถึงสุคติโลกสวรรค์


สถาปัตยกรรมไทย
พระอุโบสถวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร



สวยงามมากค่ะ คันทวย พระอุโบสถวัดสุวรรณดาราราม
ลวดลายประดับอย่างไทยโบราณ เท่าที่สังเกต (เพราะอยู่สูงมาก ผู้โพสท์แหงนคอตั้งบ่า)
เห็นว่าเป็นแผ่นไม้สลักลาย หรือฉลุลายช่อกนก ลายก้านขดกนกเปลว ประดับเศียร
พญานาค ๓ เศียร


คันทวย : คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมทำหน้าที่ค้ำยันชายคา ระเบียง หรือ หลังคาของสิ่งก่อสร้าง
ติดตั้งไว้ตอนบนของเสาให้เอนขึ้นไปรับน้ำหนักชายคา (เต้า) ศัพท์นี้ฟังมาว่าเพราะดูคล้ายคันของกระบวยตักน้ำ 
ต่อมาคงทั้งเรียกตัดคำและทั้งเสียงที่เคลื่อนคล้อย จากคันบวย มาเป็นคันทวย และกลายเป็น “ทวย” ในที่สุด 
แต่ก็มีบางคำบอกว่าทวยหมายถึง “ระทวย”  แปลว่า แอ่น งอน คันทวยมักแกะสลักหรือหล่อเป็นลวดลาย
สวยงาม คันทวย มีทั้งที่เป็นไม้ และปูนปั้น


บัวปลายเสา วัดสุวรรณดาราราม

รูปกลีบบัวยาว เรียวโค้งปลาย เป็นเครื่องตกแต่งหัวเสาหรือปลายสุดของเสาอาคารทางพุทธศาสนา
เพราะบัวเป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนาพราหมณ์ หมายถึงความบริสุทธิ์ มีคติความเชื่อเกี่ยวเนื่อง
กับพุทธศาสนาหลายประการ เช่น เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติมีดอกบัวรองพระบาท หรือก่อนหน้าที่
จะตรัสรู้ ทรงพิจารณาบัว ๔ เหล่า เปรียบเทียบบุคคลที่พึงสอนได้ไว้ ๔ จำพวก สถาปัตยกรรมไทย
มีที่มาจากบัว มีประมาณ ๒๐ ชื่อ เช่น บัวคว่ำ บัวหงาย บัวรวนหงาน บัวปากปลิง บัวพันยักษ์
บัวฝาละมี บัวถลา บัวปากฐาน เป็นต้น

สำหรับหัวเสาอาคารก่ออิฐที่ประดิษฐ์เป็นรูปกลีบบัวล้อมรอบ ไม่ว่ากลีบบัวนั้นจะเป็นบัวชนิดใดก็ตาม
เรียกกันโดยทั่วไปว่า บัวหัวเสาทั้งสิ้น




Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 พฤศจิกายน 2560 12:40:24 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2560 16:30:08 »


การสงครามยุทธหัตถี ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา แห่งพม่า
มหาวีรกรรมอันยิ่งใหญ่นี้ ได้ธำรงรักษาอธิปไตยของชาติไทยไว้สืบเนื่องมาตราบจนปัจจุบัน

ภาพเขียนโดยพระมหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร)
จิตรกรเอกประจำราชสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)  

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่ได้รับการจารึกพระราชประวัติไว้ในประวัติศาสตร์สูงสุดพระองค์หนึ่ง

ภายในพระอุโบสถวัดสุวรรณดารามมีจิตรกรรมฝาผนังพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ทรงกระทำการกอบกู้เอกราชคืนจากพม่า นักท่องเที่ยวจะได้ชมฝีมือการเขียนภาพสีฝุ่นของพระยาอนุศาสน์จิตรกร ผู้เป็นจิตรกรเอกประจำราชสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝีมือการวาดภาพของพระยาอนุศาสน์จิตรกร ปรากฎให้เห็นชัดถึงความประณีต ความพิถีพิถัน และภาพดูมีชีวิตชีวา ซึ่งความมีชีวิตชีวาของภาพเป็นสิ่งสำคัญยิ่งของจิตรกรวาดภาพ กล่าวกันว่า จิตรกรที่มีฝีมือต้องเขียนภาพที่คนดูแล้วเห็นว่า "ภาพนั้นกระดิกได้"

ผลงานชิ้นเอกของพระยาอนุศาสน์จิตรกรในวัดสุวรรณดารามที่คนไทยรู้จักมากที่สุด คือ การสงครามยุทธหัตถี มหาวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับ พระมหาอุปราชมังกะยอชวา พระมหาอุปราชา แห่งพม่า ซึ่งเป็นสงครามที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.๒๑๓๕ ภาพเขียนนี้มีขนาดใหญ่เต็มฝาผนังด้านหนึ่งของพระอุโบสถ  นอกจากนี้ได้ชมภาพอันมีค่าสูงแล้ว เรายังได้เรียนรู้หรือได้ทบทวนความจำเกี่ยวกับพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งผู้ขียนภาพได้จารึกเรื่องราวกำกับไว้ใต้ภาพอีกด้วย



พระราชประวัติ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๐๙๘ ที่เมืองพิษณุโลก ทรงเป็นพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชา แห่งราชวงศ์สุโขทัย และพระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ แห่งราชวงศ์สุพรรณบุรี

ขณะประสูตินั้นพระราชบิดาครองเมืองพิษณุโลกอยู่ ทรงมีพระพี่นาง ๑ องค์ คือ พระสุพรรณกัลยาหรือพระสุวรรณเทวี และมีพระอนุชา ๑ องค์ คือ พระเอกาทศรถ

ขณะทรงมีพระชนมายุได้ ๙ พรรษา ถูกส่งไปเป็นตัวประกันที่เมืองพะโคหรือกรุงหงสาวดี เนื่องจากเวลานั้นพม่ายึดเมืองพิษณุโลกได้ และต้องการตัวประกัน  

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงได้รับการเลี้ยงดูในฐานะราชบุตรบุญธรรมของพระเจ้ากรุงหงสาวดีเป็นเวลา ๗ ปี  จนถึงปี พ.ศ.๒๑๑๒ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พระเจ้าหงสาวดีสถาปนาพระมหาธรรมราชาเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองประเทศราชของกรุงหงสาวดี และอนุญาตให้สมเด็จพระนเรศวรฯ กลับกรุงศรีอยุธยาได้ แต่ให้นำพระสุพรรณกัลยา หรือพระสุวรรณเทวีมาเป็นตัวประกันแทน

ขณะนั้น พ.ศ.๒๑๑๕ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีพระชนมายุได้ ๑๗ พรรษา เมื่อเสด็จมากรุงศรีอยุธยาทรงประทับที่วังจันทรเกษม หรือวังหน้า (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จันทรเกษม)  ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอุปราช  ไปปกครองเมืองพิษณุโลก

ขณะประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก พระองค์ทรงเริ่มรวบรวมและฝึกไพร่พลเพื่อจะกอบกู้เอกราชคืนจากพม่า ทำให้พระเจ้ากรุงหงสาวดีเริ่มระแวงว่าไทย “จะเอาใจออกห่าง” จึงให้พระยาเกียรติ พระยาราม ขุนนางมอญ วางแผนกำจัดสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขณะกำลังเสด็จพระราชดำเนินไปร่วมงานพระบรมศพพระเจ้านันทบุเรง  แต่ขุนนางมอญทั้งสองซึ่งมีสมัครพรรคพวกมาก และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน กลับนำความลับนี้มากราบทูลให้ทรงทราบ ทำให้สมเด็จพระนเรศวรฯ ตัดสินพระทัยประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง ซึ่งเป็นเมืองทางผ่านระหว่างเส้นทาง เมื่อ พ.ศ.๒๑๒๗  ตัดขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดี ไม่เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีดุจดังแต่ก่อนสืบไป

หลังประกาศอิสรภาพ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ต้องทำศึกสงครามกับพม่าอีกหลายครั้งเพื่อป้องกันพระนครหลวง นอกจากนี้ยังทรงให้กวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาไว้ที่กรุงศรีอยุธยาเพื่อเป็นกำลังในการต่อต้านข้าศึก

พ.ศ.๒๑๓๓ ทรงมีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา สมเด็จพระราชบิดาเสด็จสวรรคต พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์แทน เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๙ แห่งราชอาณาจักรอยุธยา ในราชวงศ์สุโขทัย ทรงสถาปนาพระเอกาทศรถ พระอนุชาที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยขึ้นเป็นพระมหาอุปราช มีพระอิสริยยศยศสูงเสมอพระเจ้าแผ่นดิน  

พระราชภารกิจหลักของพระองค์คือ การทำสงครามเพื่อป้องกันและขยายพระราชอาณาเขต ทรงขยายอาณาเขตสยามออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้งแคว้นล้านนา ล้านช้าง ไทยใหญ่ และกัมพูชา และยังรุกรานไปในพม่า

การสงครามครั้งสำคัญที่สุดของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คือ สงครามยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชาแห่งพม่าในปี พ.ศ.๒๑๓๕ ณ บริเวณหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี ทรงมีชัยชนะอย่างเด็ดขาด พระมหาอุปราชาแห่งพม่าสิ้นพระชนม์ด้วยพระแสงของ้าวของสมเด็จพระนเรศวรฯ

ศึกยุทธหัตถีครั้งนี้ เป็นพระเกียรติยศสูงสุดของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช การกระทำยุทธหัตถีถือเป็นวีรกรรมสุดยอดของกษัตริย์ แม้กษัตริย์ที่ทรงพ่ายแพ้ก็ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นนักรบแท้

หลังจากสงครามครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาไม่ถูกรุกรานจากชาติใดเลยเป็นเวลายาวนานร่วม ๑๕๐ ปี  

สงครามครั้งสุดท้ายในช่วงพระชนม์ชีพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คือ การยกกองทัพไปตีเมืองอังวะ ในปี พ.ศ.๒๑๔๘ แต่ระหว่างการเดินทัพนั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประชวร พระอาการหนัก และเสด็จสวรรคตที่เมืองหาง เมื่อวันจันทร์เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะเส็ง พระชันษาได้ ๕๐ ปี เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี สมเด็จพระเอกาทศรถจึงให้เชิญพระบรมศพกลับมายังพระนครศรีอยุธยา



ภาพเขียนพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ภายในพระอุโบสถวัดสุวรณดารามฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

(ผู้โพสท์คัดตัวอักษรกำกับใต้ภาพโดยคงตัวสะกดและการันต์เดิม)


พระสยามเทวาธิราชทูลอัญเชิญพระนเรศวร คือพระอิศวร แบ่งภาคลงมาอุบัติในมนุสย์โลก๚ะ


เมื่อ พ.ศ.๒๑๐๘ พระองค์ดำ (พระนเรศวร) พระชันษา ๑๓ ปี เล่นกระบี่กระบอง
กับมังสามเกียดต่อหน้าพระเจ้าหงสาวดี (บุเรงนอง) ณ เมืองหงสาวดี


พระนเรศวร (Prince Naresuan) เสด็จมาจากพิษณุโลก ทรงทราบว่าพระยาจีนจันตุ
ลงสำเภาหนีจากพระนคร เสด็จลงเรือกราบไล่ตามไปถึงปากน้ำเจ้าพระยา แต่เรือสำเภา ออกน้ำลึกได้ลมจึงตามไม่ทัน พ.ศ.๒๑๑๖


พระนเรศวร ตีเมืองคัง เมื่อ พ.ศ.๒๑๒๑ พระชันษา ๒๓ ปี พลกองใหญ่ของพระนเรศวร
ขึ้นทางด้านข้างตีเมืองแตก และจับตัวเจ้าฟ้าเงี้ยวเมืองคังได้


พระนเรศวร ประธมหลับสนิท ณ พลับพลาค่ายหลวง ตำบลป่าโมก ทรงพระสุบินนิมิตว่า ลุยน้ำไปพบจระเข้ใหญ่
จะทำร้ายพระองค์ ทรงประหารจระเข้ตาย โหรทำนายว่าจะทรงชนะศึกหงสาวดี, พ.ศ.๒๑๓๘ พระชันษา ๓๗


สมเด็จพระนเรศวรฯ เสด็จยกกองทัพหลวงไปตีกัมพูชา ได้เมืองละแวก
จับนักพระสัตถาเจ้าเมืองกัมพูชาได้ ทรงทำปฐมกรรม แล้วให้ต้อนครัวเฉลย
กลับก่อน จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับคืนสู่พระนครเมือง พ.ศ.๒๑๓๖  




พระยาตองอู พาพระเจ้าหงสาวดี หนีไปอยู่เมืองตองอู เผาเมืองหงสาวดีเสีย
พระนเรศวรได้เมืองหงสาวดีภายหลัง จึงเสด็จไปนมัสการพระมุตาว แล้วเสด็จ
พระราชดำเนินกลับไปประทับ ณ ค่ายสวนหลวง พ.ศ.๒๑๔๒


สมเด็จพระนเรศวรล้อมตีเมืองตองอู คูเมืองกว้างลึกมาก ให้ขุดคลองระบายน้ำออก
พม่าเรียกว่า “คลองสยาม” จนถึงทุกวันนี้ ทัพกรุงขาดเสบียงจึงอย่าทัพ พ.ศ.๒๑๔๒






พระเจ้าหงสาวดีสิ้นพระชนม์ พระเจ้าอังวะ ตั้งตัวเป็นใหญ่ ขยายอำนาจรุกมาทางเมืองเงี้ยว
ที่มาขึ้นอยู่กับเมืองไทย สมเด็จพระนเรศวร จึงเสด็จยกทัพขึ้นไปทางเมืองเชียงใหม่ หมายจะ
ไปตีเมืองอังวะ ไปประชวรสวรรคตที่เมืองหาง  สมเด็จพระเอกาทศรถ จึงเชิญพระบรมศพ
มาสู่พระนครศรีอยุธยา พระชันษา ๔๙ ปี พ.ศ.๒๑๔๗
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 พฤศจิกายน 2560 16:56:57 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เปิดตำนานเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก แห่งวัดพนัญเชิง พระนครศรีอยุธยา
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 4 40893 กระทู้ล่าสุด 12 ธันวาคม 2560 12:56:38
โดย Kimleng
พระมงคลบพิตร พระนครศรีอยุธยา พุทธอนุสรณ์หลังเสียกรุงฯ
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 7791 กระทู้ล่าสุด 17 เมษายน 2557 14:42:04
โดย Kimleng
หลวงพ่อเพิ่ม อัตตทีโป วัดป้อมแก้ว จ.พระนครศรีอยุธยา
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
ใบบุญ 0 2595 กระทู้ล่าสุด 27 กรกฎาคม 2558 06:40:42
โดย ใบบุญ
พระราชวังบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 2744 กระทู้ล่าสุด 24 มีนาคม 2559 13:44:15
โดย Kimleng
ปราสาทนครหลวง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 2207 กระทู้ล่าสุด 09 ธันวาคม 2559 21:07:06
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.54 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 19:05:22