[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 17:09:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "เจ็ดเสาเจริญสติ" จาก หนังสือ Full Catastrophe Living  (อ่าน 1894 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 54.0.2840.85 Chrome 54.0.2840.85


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 14 ธันวาคม 2560 10:14:36 »



"เจ็ดเสาเจริญสติ" โดย อ.เอเชีย - ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถึ

จากหนังสือ Full Catastrophe Living เขียนโดย ศาสตราจารย์ จอน คาบัต-ซินน์* เขาได้เขียนถึง เจ็ดเสาของการเจริญสติ (The Seven Attitudinal Pillars of Mindfulness Practice) โดยเป็นหลักทางทัศนคติ ว่าผู้ที่ใส่ใจฝึกฝนการอยู่กับปัจจุบันขณะนั้นควรมีทีท่าหรือวางจิตวางใจ อย่างไร เมื่อพิจารณาดูแล้วก็น่าสนใจ เพราะใช้ภาษาเรียบง่าย สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางควบคู่กับที่สอนกันอยู่ในไทยได้

เสาทั้งเจ็ดของการเจริญสตินี้ประกอบด้วย

๑. การไม่ตัดสิน (Non-judging)

คือการฝึกเป็นเหมือนกับพยานที่รับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับเราโดยไม่ไป ตัดสินใดๆ ไม่ไปให้ค่าเป็นบวกเป็นลบ เป็นดีเป็นไม่ดี เป็นชอบไม่ชอบ การตัดสินให้ค่านี้เรามักทำจนเป็นนิสัย บ่อยครั้งก็โดยไม่รู้ตัวหรือไม่ก็รู้ตัวแต่ห้ามไม่ได้

รุ่นพี่ท่านหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มภาวนาช่วงเข้าพรรษาเขียนเล่าให้ฟังเมื่อเช้านี้ว่า "เมื่อ คืนวานภาวนาไม่ได้เลย ฟุ้ง ห่วง กังวลเรื่องงานที่ต้องไปร่วมอภิปราย แต่รู้สึกไม่พร้อมเลย กลัวพูดไม่ดี แล้วผลก็เป็นอย่างที่กังวล พูดๆ ไปเกิดนึกอะไรไม่ออก เศร้าจัง ... แต่ก็ยอมรับความไม่ได้เรื่องในตัวเราได้ยากเหลือเกิน"

เช่นนี้น่าจะเพิ่มการเท่าทันการตัดสินโดยการฝึกสังเกตลมหายใจของเรา หรือลองสังเกตดูว่าในช่วง ๑๐ นาทีนั้นใจเรามัววุ่นอยู่กับการชอบหรือไม่ชอบประสบการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น อยู่ตรงหน้าสักกี่มากน้อย

๒. ความอดทน (Patience)

หลายครั้งผู้ฝึกฝนใจร้อน อยากให้เกิดผลเช่นนั้นเช่นนี้โดยไว รุ่นน้องที่ทำงานเพิ่งเริ่มต้นฝึกใหม่ๆ ตนเองอยู่ในความทุกข์ ฝึกไปก็มักจะตั้งคำถามทำนองว่า "นี่ทำมาตั้งนานแล้วทำไมไม่เห็นเกิดมรรคเกิดผลอะไรเลย"

ความอดทนถือเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจและยอมรับว่า สิ่งต่างๆ มีการเกิดขึ้นเป็นไปในรูปแบบและเวลาของมันเอง เราไม่สามารถไปกะเกณฑ์ให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ ยกตัวอย่างผีเสื้อที่อยู่ในดักแด้ หากเราไปนำออกมาก่อนเวลาที่เหมาะสมก็ไม่สามารถจะบินได้ แม้ว่าเราจะทำไปด้วยความหวังดีสักเพียงใดก็ตาม

๓. จิตใจพร้อมที่จะเรียนรู้ (Beginner's Mind)

สิ่งที่เราคิดว่าเรา "รู้แล้ว" คือ อุปสรรคขวางกั้นการที่เราจะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ตามความเป็นจริง เพราะเรามองไปที่สิ่งใดเรามักจะเห็นสิ่งที่เราเห็นแล้วหรือรู้จักแล้วเป็น หลัก พร้อมกับให้ชื่อ ให้คำ พากย์ไปเบ็ดเสร็จ

ในการอบรมแนวจิตวิวัฒน์-จิตตปัญญาจึงมักมีแบบฝึกหัดให้มองหาสิ่งใหม่มิติ ใหม่ของสิ่งที่เราคิดว่ารู้จักดีอยู่แล้ว เช่น ปากกาหรือนาฬิกาที่ติดตัวเรา เมื่อกลับไปก็สามารถไปฝึกมองหรือมีประสบการณ์กับกิจกรรมที่เราทำบ่อยๆ หรือบางทีรู้สึกว่าเบื่อ เช่น ขับรถเส้นทางเดิมๆ กลับบ้าน ฝึกให้เรามองคนรู้จักเดิมๆ ด้วยสายตาใหม่ จนกระทั่งมักมีการพูดกันเล่นๆ ขำๆ ว่ามาเรียนแล้วกลับไปจะพบว่าได้ภรรยาใหม่ สามีใหม่ ความนี้ไม่ได้หมายถึงมีภรรยาหรือสามีอีกคน แต่คือคนเดิมที่เราเห็นสิ่งใหม่ในตัวเขา

๔. ความไว้วางใจ (Trust)

เราต้องฝึกที่จะเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราเอง ไม่ว่าเราจะรู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมันจะถูกหรือผิดก็ตาม การบ่มเพาะความไว้วางใจนี้เช่นนี้ถือเป็นส่วนสำคัญที่ขาดเสียไม่ได้ในการฝึก เจริญสติ ซึ่งคือกระบวนการฝึกที่จะรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและเรียนรู้ที่จะฟัง สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา ยิ่งเราไว้วางใจตัวเรามากเท่าไหร่ เราก็จะไว้วางใจคนอื่นง่ายขึ้นเท่านั้น

นี่จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคนไทยอย่างยิ่ง เพราะระบบโรงเรียนของเราฝึกให้ผู้เรียนตอบคำถามให้ถูกต้อง นักเรียนต่างแข่งขันกันพยายามทายให้ได้ว่าคำตอบที่ครูอยากฟังคืออะไร แทนที่จะฝึกจริงแท้กับความคิด กับความรู้สึกของตนเอง การฝึกความไว้วางใจจึงเป็นการฝึกที่จะเชื่อประสบการณ์ตรงของตนเอง ไม่ใช่เชื่อคำตอบจากครูหรือผู้มีอำนาจ

๕. ความไม่มุ่งเป้า (Non-striving)

เกือบทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำในโลกนี้เป็นไปเพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อจะได้อะไรบางอย่างหรือไปที่ไหนสักแห่ง แต่นั่นไม่ใช่เสาหรือหลักของการเจริญสติ ซึ่งเป็นการฝึกทำเพื่อที่จะ "ไม่ทำ" เป็นพาราดอกซ์ (ความจริงคู่ขัดแย้ง) ซึ่งฟังดูเหมือนจะเพี้ยนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราอยู่ในความทุกข์ ความเครียดหรือความเจ็บปวด

ดังตัวอย่างรุ่นน้องข้างต้น ผู้ไม่อยากทนอยู่กับความทุกข์ที่ทับถมในใจ อยากภาวนาให้ไปจากที่ตรงนี้เสียที ทั้งๆ ที่หัวใจของการฝึกเจริญสติแท้จริงแล้ว คือ การได้อยู่ตรงนี้อย่างเต็มที่เสียทีต่างหาก การฝึกเพื่อจะผ่อนคลาย หายเจ็บ หรือแม้กระทั่งบรรลุธรรมจึงขัดกับหลักการเจริญสติโดยตรง

๖. การยอมรับ (Acceptance)

บ่อยครั้งที่เรามักจะปฏิเสธ ต่อต้าน ไม่ยอมรับความเป็นจริงตรงหน้า โดยเฉพาะหากว่าไม่ตรงกับใจของเรา เราใช้แรง กำลัง เวลาไปมหาศาลเพื่อที่จะแข็งขืนดึงดัน พยายามให้บางอย่างเป็นอย่างอื่นจากที่มันเป็นจริงๆ ทั้งๆ ทางที่ง่ายที่สุดในการเปลี่ยนแปลง คือ การยอมรับ ซึ่งก็คือ การมองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างแท้จริงตามที่มันเป็นในปัจจุบัน การยอมรับนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะงอมืองอเท้า ปล่อยให้ใครจะทำอะไรหรือเป็นอะไรก็ช่าง เพียงแค่หมายความว่าเราไม่ต้องเสียเวลาไปต่อต้านความจริง

มีสองความเชื่อที่มนุษย์มักตัดสินตนเองอยู่เสมอๆ คือ ฉันไม่ดีพอ และ ฉันไม่เป็นที่รัก ตัวอย่างรุ่นพี่ที่รู้สึกว่าตนเองไม่เก่งไม่ดีพอ ยากที่จะยอมรับตนเองนั้น วิธีที่เหมาะที่สุดอาจจะเป็นการบอกกับตัวเองว่า "เราก็เป็นของเราอย่างนี้ แต่เราก็ไม่ละความพยายามที่จะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น และในระหว่างนี้ เราจะยอมรับตัวเราอย่างที่เราเป็นด้วย"

๗. การปล่อยวาง (Letting Go)

ในการฝึกปฏิบัติ อาจมีบางความคิด ความรู้สึก หรือแม้กระทั่งสภาวะ ที่เราชอบใจอยากจะเก็บเอาไว้ และในทางกลับกันก็อาจจะมีบางความคิด ความรู้สึก หรือสภาวะที่เราอยากปฏิเสธ การปล่อยวางในการเจริญสติ คือ การตั้งใจที่จะไม่ไปทำอะไรกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ดังที่พระไพศาล วิสาโล ใช้วลีที่ว่า "ไม่ผลักไส ไม่ใฝ่หา" เป็นการสรุปความที่ตรงประเด็น

เจ็ดเสาของการเจริญสตินี้ชี้แนะแนวทางให้ผู้ปฏิบัติรู้จักวางจิตวางใจให้ เหมาะสมได้อย่างชัดเจน และช่วยเสริมทั้งการเจริญสติตามรูปแบบและในชีวิตประจำวันได้ โดยมากแล้วพวกเราเหล่านักปฏิบัติต่างก็มุ่งมั่นในการพัฒนาฝึกฝนการเจริญสติ ของตนอยู่แล้ว แต่ด้วยเหตุนี้เอง หลายครั้งหลายคราวก็เป็นผลให้เราคาดหวังกับตัวเองมากเกินไป ยิ่งปฏิบัติมามากก็ยิ่งคาดหวังถึงความก้าวหน้า หวังว่าจะทำได้ดีดังที่เคยทำได้บ้าง ความตั้งใจดีอันเกิดจากความมุ่งมั่นจริงจังต่อการปฏิบัติจึงมักกลายให้เกิด ทัศนคติที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการฝึกฝนของเราไปโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็นการด่วนตัดสินตัวเอง ความร้อนใจอยากเห็นความก้าวหน้าเห็นผลตามคาด การที่เราเชื่อว่าเรารู้แล้วทำให้ประมาทและพลาดการเรียนรู้ระหว่างรายทาง ความกังวลสงสัยไม่อาจวางใจ การดึงดันไม่ยอมรับสภาพ และสุดท้ายคือการยึดติด โดยเฉพาะกับประสบการณ์ที่ดีในการปฏิบัติ

....

(จากภาพ...มีเพิ่มอีกสองเป็น ๙ ข้อ)

๘. ความมีน้ำใจ (Generosity)

ความมีน้ำใจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดหัวใจและทัศนคติที่อบอุ่น จอนอธิบายถึงสติเช่นเดียวกับความสดชื่น ทัศนคติที่เปิดกว้างและความมีน้ำใจในการมีอยู่ การไม่ตัดสินยังเป็นของขวัญที่ดีให้กับผู้อื่นและเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ที่ดีต่อสุขภาพ เพราะความมีน้ำใจนำความสุขมาสู่ผู้อื่น เนื่องจากเป็นสิ่งที่คุณใส่ใจในความมีอยู่ของพวกเขา และเพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างกันและกัน

๙. ความกตัญญูกตเวที (Gratitude)

คือหนทางที่จะปกป้องจิตใจของคุณจากการบ่นและค้นหาสิ่งที่เป็นลบในสิ่งต่างๆ เป็นความเพลิดเพลินไปกับช่วงเวลาปัจจุบันด้วยความเคารพและความอ่อนน้อมถ่อมตน โดยการช้าลงและนำความกตัญญูในช่วงเวลาปัจจุบันของเรา นำไปสู่ความรู้สึกของความสุขและมุ่งเน้นในเชิงบวกในชีวิต แม้จะเจอสิ่งที่ไม่ดี เราก็จะขอบคุณสำหรับการรอดชีวิตและการเรียนรู้จากเหตุการณ์เหล่านั้น ความกตัญญูเป็นตัวเลือกเสมอและมีทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน

....

* ศาสตราจารย์ จอน คาบัต-ซินน์ แห่งศูนย์การเจริญสติทางการแพทย์ สาธารณสุข และสังคม คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เขาเป็นลูกศิษย์ของปรมาจารย์สูงสุดของนิกายเซนในเกาหลีใต้ และยังได้เรียนรู้จากแพทย์รางวัลโนเบล ทำให้เขาผสานศาสตร์ทั้งสองและคิดค้นเทคนิคการลดความเครียดโดยใช้หลักการเจริญสติ (Mindfulness-Based Stress Reduction) ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างมาก มีผู้ผ่านการอบรมมากกว่า ๑๗,๐๐๐ ราย และมีการนำไปใช้ในสถานบริการด้านสาธารณสุขมากกว่าสองร้อยแห่งทั่วโลก

ศาสตราจารย์ จอน คาบัต-ซินน์ เป็นผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกการเจริญสติสมัยใหม่ เขาทำให้การเจริญสติเป็นที่เข้าใจ ยอมรับ และขยายออกไปอย่างกว้างขวาง เขาจัดอบรมให้กับซีอีโอ ผู้พิพากษา ผู้สอนศาสนา แม้กระทั่งนักกีฬาโอลิมปิก

....

ข้อมูลจาก
- http://jitwiwat.blogspot.com/2012/08/blog-post_17.html
- http://www.thewayofmeditation.com.au/blog/9-attitudes-deepen-mindfulness

ข้อมูลเพิ่มเติม : Jon Kabat-Zinn Mindfulness 9 attitudes
- https://www.youtube.com/watch?list=PLHYUdUSlvXxWEJwvStb7MatRERfGPKIAC&v=kANsRoYcaAo

ภาพจาก https://www.floridamindfulness.org/MBSRPractice/

จากhttp://jitwiwat.blogspot.com/2012/08/blog-post_17.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
"Lemon Soup" อาสาส่ง"ทุกวัน"เพลงกระตุ้น"รัก"ที่เมื่อรู้สึกแล้วต้อง"บอก"
หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
มดเอ๊ก 0 5136 กระทู้ล่าสุด 03 มิถุนายน 2554 10:29:07
โดย มดเอ๊ก
"สามัญชน" ผู้กลายเป็น "ราชินี" และ "เจ้าหญิง" โชคชะตาที่ฟ้าได้ "ลิขิต" ไว้
สุขใจ จิบกาแฟ
Kimleng 0 8153 กระทู้ล่าสุด 17 ธันวาคม 2557 14:13:59
โดย Kimleng
เสวนา หนังสือ "ญาณสังวรธรรม ๑๐๑ สารธรรม"
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
มดเอ๊ก 0 1267 กระทู้ล่าสุด 29 มิถุนายน 2559 03:02:20
โดย มดเอ๊ก
ดาวน์โหลด "อุปลมณี" หนังสือ ชีวประวัติ - ศีลาจารวัตร ของหลวงปู่ชา (pdf+mp3)
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
มดเอ๊ก 0 2910 กระทู้ล่าสุด 03 กันยายน 2559 02:48:19
โดย มดเอ๊ก
เสียงหนังสือ "แก่นพุทธศาสน์" ท่านพุทธทาสภิกขุ (หนังสือ ดีเด่น จากองค์การยูเนสโก)
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
มดเอ๊ก 0 1731 กระทู้ล่าสุด 03 ตุลาคม 2559 21:02:44
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.41 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 07 เมษายน 2567 18:56:53