[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 18:46:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระนครคีรี จ.เพชรบุรี - พระราชวังแห่งแรกของไทยที่สร้างบนภูเขาสูง  (อ่าน 1484 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 09 มกราคม 2561 15:33:15 »





พระนครคีรี
ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
พระราชวังแห่งแรกของไทยที่สร้างบนภูเขาสูง

พระนครคีรี หรือเรียกกันทั่วไปว่า “เขาวัง” เป็นพระราชวังในเขตตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

เดิมเป็นพระราชฐานที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๒ โดยโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งขณะนั้นเป็นสมุหพระกลาโหม(ภายหลังต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) เป็นแม่กองใหญ่ในการสร้าง และพระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ (ท้วม บุนนาค) ปลัดเมืองเพชรบุรี เป็นนายงานก่อสร้าง ทำการก่อสร้างพระราชวังบนภูเขาชื่อว่า เขาสมน (สะ-หมน) ที่บริเวณไหล่เขาทางด้านทิศตะวันออกมีวัดชื่อ วัดสมณ (สะ-มะ-นะ) ซึ่งในหมายรับสั่งรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๔๐๒) ปรากฏชื่อว่า เขามหาสมณ ซึ่งเป็นยอดเขาใหญ่สามยอดติดต่อกัน การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี ๒๔๐๓  เมื่อสร้างพระราชวังแล้วเสร็จ พระองค์จึงทรงพระราชทานนามพระราชวังนี้ว่า “พระนครคีรี” ซึ่งต่อมาคนทั่วไปเรียกว่า “เขาวัง”  และยังทรงพระราชทานนามภูเขาที่ใช้เป็นที่ตั้งของพระราชวังใหม่ว่า “เขามหาสวรรค์” อีกทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดสมณ ที่ตั้งอยู่เชิงเขาทางทิศตะวันตก แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดมหาสมณาราม”  

หมู่อาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ของพระนครคีรี ก่อสร้างอยู่บนยอดเขาทั้ง ๓ ยอด ยอดเขาทางทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งของวัดพระแก้วน้อย ยอดเขายอดกลางเป็นที่ตั้งของพระธาตุจอมเพชร ส่วนยอดเขาทางทิศตะวันตกนั้นเป็นที่ตั้งของหมู่พระราชมณเฑียรสถาน ซึ่งประกอบไปด้วยพระที่นั่งองค์สำคัญต่างๆ คือ พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระที่นั่งราชธรรมสภา และหอชัชวาลเวียงชัย (หอดูดาว) ฯลฯ  

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดที่จะใช้พระราชวังแห่งนี้เป็นสถานที่เสด็จแปรพระราชฐานเมื่อคราวเสด็จประพาสเมืองเพชรบุรี  พระองค์ทรงโปรดมาประทับ ณ พระนครคีรีหลายครั้ง ครั้งละนานๆ โดยได้เสด็จมาประทับแรมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๐๔ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรบนพระนครคีรีและทรงบรรจุพระธาตุบนยอดพระเจดีย์บนเขามหาสวรรค์ด้วย  

ต่อเนื่องมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อแรกเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติก็ยังโปรดที่จะมาประทับเป็นครั้งคราว และยังทรงใช้เป็นที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะสำคัญหลายครั้ง แต่หลังจากรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา พระนครคีรีได้ถูกทอดทิ้ง ไม่ปรากฏว่ามีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงเสด็จมาประทับ ณ พระนครคีรีอีกต่อไป ตราบจนปี พ.ศ.๒๔๙๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จขึ้นชมยอดเขา ได้ทอดพระเนตรความชำรุดทรุดโทรมของอาคารต่างๆ  จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะพระราชวังแห่งนี้ใหม่ กรมศิลปากรจึงได้ทำการสำรวจและประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๖ โดยกำหนดเป็นเขตโบราณสถานไว้หมดทั้งภูเขารวม ๓ ยอด และกั้นเขตบริเวณไปจากตีนเขาอีก ๒๐ เมตรโดยรอบ ปัจจุบันประกาศจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ และพัฒนาให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ต่อไป









เนื่องด้วยพระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่บนภูเขาสูง (จุดที่สูงที่สุดมีความสูง ๙๕ เมตร จากระดับน้ำทะเล) ซึ่งมีความลาดชันลดหลั่นกันไป การจัดผังบริเวณพระราชวังจึงอาศัยภูมิประเทศแยกบริเวณเป็นเขตพระราชฐานชั้นใน และเขตพระราชฐานชั้นนอก เช่นเดียวกับแบบแผนการสร้างพระราชวังทั่วไป โดยเขตพระราชฐานชั้นในสร้างบริเวณยอดสูงสุดของภูเขา เขตพระราชฐานชั้นนอกสร้างอยู่บนหลั่นล่างลงมา โดยมีทางเดินลดเลี้ยวตามไหล่เขาเชื่อมต่อถึงกัน บริเวณที่เป็นทางแยกก็สร้างศาลาที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่ตรวจตราผู้คนเข้าออกเรียกว่า “ศาลาด่านหน้า” “ศาลาด่านกลาง” และ “ศาลาด่านหลัง” เพื่อรักษาความปลอดภัยพระราชฐาน  นอกจากนั้นยังมีประตูชั้นนอก ประตูชั้นใน  และมีป้อม ๔ ป้อม ตั้งอยู่ตามทิศต่างๆ ในชัยภูมิอันเหมาะสมเพื่อดูแลความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง โดยตั้งชื่อป้อมทั้งสี่ตามนามท้าวจตุโลกบาล เรียงลำดับจากทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศเหนือ ดังนี้ ป้อมธตรฐป้องปก ป้อมวิรุฬหกบริรักษ์  ป้อมวิรูปักษ์ป้องกัน  และป้อมเวสสุวรรณรักษา และมีเกยวัชราภิบาล ตั้งอยู่บนเชิงบันไดด้านทิศตะวันตกบริเวณพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์

สำหรับประตูในพระนครคีรี มีทั้งหมด ๘ ประตู แบ่งเป็น ประตูรอบๆ พระราชวัง หรือประตูชั้นกลาง ได้แก่ ประตูนารีประเวศ ประตูวิเศษราชกิจ ประตูราชฤทธิแรงปราบ ประตูอานุภาพเจริญ และประตูในพระมหามณเฑียร หรือประตูชั้นใน ได้แก่ ประตูดำเนินทางสวรรค์ ประตูจันทร์แจ่มจำรูญ ประตูสูรย์แจ่มจำรัส

พระนครคีรีประกอบด้วยพระที่นั่ง ดังนี้
พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ รัชกาลที่ ๔ เสด็จฯ มาทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๔๐๒ เป็นพระที่นั่งองค์แรกและเป็นองค์ประธานของหมู่พระที่นั่งต่างๆ ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบยุโรปผสมไทยและจีน ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขยื่นออกไปด้านข้างทั้งซ้ายและขวา ภายในแบ่งเป็นห้องต่างๆ เป็นท้องพระโรงสำหรับออกขุนนางและต้อนรับแขกเมือง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดัดแปลงท้องพระโรงหลังเป็นห้องพระบรรทม ท้องพระโรงหน้าดัดแปลงเป็นห้องเสวย มุขด้านทิศตะวันออกดัดแปลงเป็นห้องทรงพระสำราญ และมุขด้านทิศตะวันตกดัดแปลงเป็นห้องลงพระบังคน ปัจจุบันใช้เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุและเครื่องเรือนต่างๆ

พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์  ตั้งอยู่ติดกับพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ มีฐานและหลังคาเชื่อมต่อกันลักษณะแบบเก๋งจีน ๒ ชั้น เป็นพระวิมานที่บรรทมและที่ประทับ ปัจจุบันจัดแสดงพระแท่นบรรทมในรัชกาลที่ ๔ และ ๕

พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท  เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นปราสาทจัตุรมุข ยอดปรางค์ ๕ ยอด ตามพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๔ มียอดปรางค์ใหญ่อยู่กลาง และปรางค์เล็กอยู่ ๔ มุม บนฐานสูงซ้อนกัน ๓ชั้น มีระเบียงแก้วโดยรอบแต่ละชั้น ระเบียงชั้นบนสุดมีโดมโปร่งที่มุมทั้งสี่ ตัวปราสาทประดับลายปูนปั้น ภายในประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ ๔

พระที่นั่งราชธรรมสภา เป็นที่ทรงธรรมและสำหรับข้าราชบริพารฟังธรรม ภายในมีโต๊ะหมู่บูชาสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป เป็นอาคารชั้นเดียว ศิลปะผสมยุโรป จีน และไทย จุดเด่นจะอยู่ตรงประตูบานโค้งสีเขียวตัดกับผนังสีขาวที่มีลายปูนปั้นสวยงาม หลังคาเป็นแบบเก๋งจีน ถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ดัดแปลงเป็นห้องเสวยสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ที่ตามเสด็จ

หอชัชวาลเวียงชัย เป็นที่ส่องกล้องทอดพระเนตรดวงดาวทางดาราศาสตร์ที่ทรงเชี่ยวชาญ และเป็นที่ทอดพระเนตรภูมิประเทศโดยรอบ

หอพิมานเพชรมเหศวร เป็นศาลเทพารักษ์และเป็นหอพระ ประดิษฐานพระพุทธรูป และบางครั้งเป็นที่ทรงเจริญปฏิบัติภาวนา

ตำหนักสัณถาคารสถาน เป็นสถานที่สำรับรับแขกเมือง  

นอกจากนั้นยังมีอาคารสำหรับฝ่ายหน้า ได้แก่ ศาลาลูกขุนราชวัลลภาคาร ทิบดาบองครักษ์ โรงมหรสพ โรงสูทกรรม โรงรถ โรงม้า เป็นต้น


รูปแบบสถาปัตยกรรมของพระนครคีรี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศแถบตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคแถบนี้ ประเทศไทยมีการส่งคณะทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ จึงจำต้องปรับตัวปรับสภาพ นำแนวคิดจากการที่ได้เคยไปเห็นมา และอาศัยข้อมูลข่าวสารที่เแพร่เข้ามาในประเทศไทย มาปรับปรุงบ้านเมืองของเราให้ทันสมัย เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่แบบไทยด้วย ด้วยเหตุนี้เมื่อมีการก่อสร้างพระราชวังหรือหมู่อาคารต่างๆ ลักษณะสถาปัตยกรรมของอาคาร จึงนิยมและพยายามที่จะสร้างให้เป็นแบบตะวันตกด้วย แต่อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีช่างชาวตะวันตกเป็นผู้ออกแบบหรือเป็นผู้ก่อสร้างพระราชวังในรัชกาลนี้เลย มีแต่ช่างไทยล้วน

อาคารต่างๆ ที่สร้างขึ้นที่พระนครคีรีนี้ ล้วนก่อสร้างด้วยเครื่องก่ออิฐถือปูนล้วน ส่วนใหญ่เป็นอาคารชั้นเดี่ยว รูปแบบสถาปัตยกรรมผสมผสาน มีทั้งแบบที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกผสมสถาปัตยกรรมจีนอีกเล็กน้อย ได้แก่พระที่นั่งองค์ต่างๆ หอ ๒ หอ และอาคารฝ่ายหน้าและฝ่ายใน และแบบไทยประเพณี ได้แก่อาคารศาสนา คือ วัดพระแก้ว ซึ่งประกอบด้วย พระอุโบสถ พระเจดีย์ หอระฆัง และพระปรางค์แดง สำหรับวัดพระแก้วนี้ สร้างอยู่บนยอดเขาทางทิศตะวันออก แต่เดิมมีศาลาไม้ชำรุดทรุดโทรมอยู่หลังหนึ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อออก แล้วสร้างวัดประจำพระราชวังขึ้น พระราชทานนามว่าวัดพระแก้ว ให้เป็นวัดประจำพระราชวังพระนครคีรี ทำนองเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง กล่าวคือเป็นวัดที่มีแต่ส่วนพุทธาวาส ไม่มีส่วนสังฆาวาสให้พระสงฆ์จำพรรษา  

พระนครคีรี หรือ เขาวัง ปัจจุบันมีสถานะเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี กรมศิลปากรได้ใช้ส่วนของพระที่นั่งต่างๆ จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนครคีรี เก็บรักษาโบราณวัตถุต่างๆ อาทิ เครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๐๐ น.ทุกวัน และทุกปีจะมีงานเฉลิมฉลองพระนครคีรี มีการแสดงต่างๆ ที่แสดถึงศิลปวัฒนธรรม และการจุดพลุดอกไม้ไฟในเวลากลางคืน โดยจะจัดขึ้นทุกวันศุกร์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นระยะเวลา ๑๐ วัน ๑๐ คืน

ส่วนการขึ้นไปชมพระราชวังบนภูเขาน้้น มีรถรางไฟฟ้าพาขึ้นไปชมได้อย่างสะดวก โดยเสียค่าบริการท่านละ ๕๐ บาท (ขึ้น-ลง)










ภาพประกอบ - เป็นภาพถ่ายจากโทรศัพท์

 

   

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มกราคม 2561 09:51:42 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
วัดเขาบันไดอิฐ จ. เพชรบุรี
สุขใจ ไปเที่ยว
ไอย 3 4500 กระทู้ล่าสุด 27 ธันวาคม 2552 21:49:45
โดย ไอย
หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
wondermay 10 226031 กระทู้ล่าสุด 02 มิถุนายน 2557 12:00:06
โดย wondermay
กิมเล้งพาทัวร์ - หาดเจ้าสำราญ เพชรบุรี
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 3766 กระทู้ล่าสุด 27 เมษายน 2555 14:54:46
โดย shinjung
หลวงพ่อฉุย สุขภิกขุ วัดคงคาราม จ.เพชรบุรี
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
ใบบุญ 0 1731 กระทู้ล่าสุด 19 กุมภาพันธ์ 2559 19:57:51
โดย ใบบุญ
หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม วัดตาลกง ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 776 กระทู้ล่าสุด 05 มิถุนายน 2561 15:31:32
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.381 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 มีนาคม 2567 15:24:03