[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 08:14:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นผู้มีความปรารถณาน้อย  (อ่าน 1078 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 4.0.1 Firefox 4.0.1


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 23 พฤษภาคม 2554 12:25:36 »





บทว่า ทฺวตฺตึสาย ติรจฺฉานกถาย คือ ไม่ประกอบด้วยดิรัจฉาน -

กถา ๓๒ ประการของสัตว์ผู้พ้นจากสวรรค์บทว่า ทส กถาวตฺถูนิ

กถาวัตถุ ๑๐ ประการ คือเหตุอันเป็นวัตถุแห่งกถาอาศัย{วิวัฏฏะนิพพาน}

๑๐ ประการมีความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยเป็นต้นบทว่า อปฺปิจฺโฉ

มีความปรารถนาน้อย ในบทว่า อปฺปิจฺฉกถํ นี้ได้แก่ เว้นความปรารถนา

ไม่มีความปรารถนาไม่มีความอยากอันที่จริงพยัญชนะในบทว่า อปฺ

ปิจฺโฉ นี้ดูเหมือนจะยังมีพยัญชนะเหลืออยู่แต่อรรถไม่มีอะไรเหลืออยู่

เลยเพราะพระขีณาสพไม่มีความปรารถนาแม้แต่น้อยอีกอย่างหนึ่ง

ในความปรารถนานี้พึงทราบประเภทดังนี้คือ ความปรารถนาลาภคนอื่น

เพื่อตนความปรารถนาลามก ความปรารถนาใหญ่ความปรารถนาน้อย

ในประเภทความปรารถนาเหล่านั้นพึงทราบดังนี้ความปรารถนาลาภ

ของผู้อื่นเพราะไม่อิ่มในลาภของตน ชื่อว่าปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตน

ผู้ประกอบด้วยความปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตนนั้นแม้ขนมสุกในภาชนะ

หนึ่งที่เขาใส่บาตรของตนก็ปรากฏเหมือนยังไม่สุกดีและเหมือนเล็กน้อย

วันรุ่งขึ้นเขาใส่บาตรของผู้อื่นก็ปรากฏเหมือนสุกดีแล้วและเหมือนมาก

ความสรรเสริญในคุณอันไม่มีและความไม่รู้จักประมาณในการรับชื่อว่ามี

ความปรารถนาลามกความปรารถนาลามกนั้นมาแล้วโดยนัยมีอาทิว่าคน

บางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธาปรารถนาว่าขอให้ชนรู้จักเราว่าเป็นผู้มี

ศรัทธาบุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาลาภนั้นย่อมตั้งอยู่ในความ

หลอกลวงความสรรเสริญคุณอันมีอยู่และความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณใน

การรับ ชื่อว่ามีความปรารถนาใหญ่แม้ความปรารถนาใหญ่นั้นก็มา

แล้วโดยนัยนี้ว่าคนบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธาย่อมปรารถนาว่าชน

จงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศรัทธาย่อมปรารถนาว่าชนจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศีล

ดังนี้บุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาใหญ่นั้นเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยท่อนผ้า

แม้มารดาผู้ให้กำเนิดก็ไม่สามารถเหนี่ยวรั้งความคิดของเขาได้สมดังที่

ท่านกล่าวไว้ว่า................กองไฟมหาสมุทรและบุคคลผู้มีความปรารถนา

ใหญ่ชนทั้งหลายให้ปัจจัยจนเต็มเกวียนแม้ทั้งสาม

ประเภทนั้นก็หาอิ่มไม่




ส่วนความเป็นผู้ปิดบังคุณอันมีอยู่และรู้จักประมาณในการรับชื่อ

ว่ามีความปรารถนาน้อยบุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาน้อยนั้น

เพราะประสงค์จะปกปิดคุณแม้ที่มีอยู่ในตนถึงมีศรัทธาก็ไม่ปรารถนาว่า

ขอชนจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศรัทธาถึงมีศีลเป็นผู้สงัดเป็น{พหูสูต}เป็นผู้

ปรารภความเพียรเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิเป็นผู้มีปัญญาเป็นพระขีณาสพ

ก็ไม่ปรารถนาว่าชนจงรู้จักเราว่าเป็นพระขีณาสพเหมือน{พระมัชฌัน -

ติกเถระ}ฉะนั้นก็แลภิกษุผู้มีความปรารถนาน้อยอย่างนี้ย่อมยังลาภ

ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นทำลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้ถาวรยังจิตของทายกให้ยินดี.

มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสแล้วในวัตรของภิกษุนั้นย่อมถวายมากโดยอาการ

ที่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยจึงรับแต่น้อย

ยังมีความปรารถนาน้อยอื่นอีก ๔ อย่าง คือ ปรารถนาน้อยใน

ปัจจัยปรารถนาน้อยในธุดงค์ ปรารถนาน้อยในปริยัติ ปรารถนาน้อยใน

อธิคม{ความสำเร็จ - การบรรลุ}ใน ๔ อย่างนั้นความปรารถนาน้อย

ในปัจจัย ๔ ชื่อว่า ปรารถนาน้อยในปัจจัยภิกษุใดรู้กำลังของทายก

รู้กำลังของไทยธรรมรู้กำลังของตน(ผิ)ว่าไทยธรรมมีมาก ทายกประสงค์

จะให้น้อยย่อมรับแต่น้อยด้วยกำลังของทายกไทยธรรมมีน้อยทายก

ประสงค์จะให้มากย่อมรับแต่น้อยด้วยกำลังของไทยธรรมแม้ไทยธรรม

ก็มีมาก แม้ทายกก็ประสงค์จะให้มากรู้กำลังของตนย่อมรับพอประมาณ

เท่านั้นไม่ประสงค์จะให้รู้ว่าการสมาทานธุดงค์มีอยู่ในตนภิกษุนั้น

ชื่อว่าเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในธุดงค์ส่วนภิกษุใดไม่ประสงค์จะ

ให้รู้ว่าตนเป็นพหูสุตภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในปริยัติ

ส่วนภิกษุใดได้เป็นพระโสดาบันเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ปรารถนา

จะให้รู้ว่าตนเป็นพระโสดาบันเป็นต้นภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้มีความปรารถนา

น้อยในอธิคมส่วนพระขีณาสพละความปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตน

ความปรารถนาลามก ความปรารถนาใหญ่ได้แล้ว ชื่อว่า เป็นผู้มีความ

ปรารถนาน้อยเพราะเป็นผู้ประกอบด้วยความปรารถนาน้อยด้วยความ

บริสุทธิ์ คือไม่โลภอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความปรารถนาโดยประการทั้งปวง

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงโทษในธรรมเหล่านั้นว่าดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย{ธรรม}เหล่านี้คือความปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตนความ

ปรารถนาลามกความปรารถนาใหญ่ควรละเสียทรงแสดงว่าควรประ -

พฤติสมาทานความเป็นผู้ปรารถนาน้อยเห็นปานนี้ชื่อว่าตรัส{อปฺปิจฺฉกถา}ความปรารถนาน้อย




ความเป็นผู้ปรารถนาน้อยเป็นสภาพธรรมฝ่ายดีเป็นกุศลธรรมจะเป็นอกุศลธรรม

ได้เลยดังนั้นความเป็นผู้ปรารถนาน้อย

ความมักน้อยภาษาบาลี คือ อัปปิจโฉในอรรถกถาอังคุตตรนิกายอธิบายไว้ว่า

ผู้ไม่มีความปรารถนา คือไม่มีความโลภ{โลภะ}ซึ่งความไม่มีความโลภก็ย่อมีวัตถุที่จะ

ไม่โลภมีปัจจัยต่าง ๆ คือไม่โลภในปัจจัยต่าง ๆ หรือ คุณธรรมต่าง ๆ คือไม่{โลภ}คือไม่

แสดงตนว่ามีคุณธรรมต่าง ๆ ซึ่งขณะนั้นไม่มีความต้องการให้คนอื่นรู้ว่ามีคุณธรรมอะไร

บ้างจึงชื่อว่าความเป้นผู้ปรารถนาน้อยแต่ขณะนั้นไม่มีโลภะ{ไม่เป็นอกุศล}ซึ่ง

ในเรื่องของความปรารถนามี 4 ประการดังนี้..........................

1.ผู้ปรารถนาลามก

2.ผู้ปรารถนายิ่ง ๆ ขึ้น

3.ผู้ปรารถนาน้อยหรือมักน้อย

4.ผู้มักมาก




ผู้ปรารถนาลามกคือผู้ที่พยายามในสิ่งที่ตัวเองไม่มีคุณธรรมนั้นเช่นเป็นผู้ไม่สำรวม

ก็แสดงอาการว่าเป็นผู้สำรวมเพื่อให้คนอื่นยกย่องหรือสรรเสริญเพื่อลาภสักการะ

ไม่มีคุณธรรมคือศรัทธาก็ทำเป็นผู้มีศรัทธาไม่มีคุณธรรมก็แสดงอาการภายนอกว่า

เป็นผุ้มีคุณธรรมเป็นต้นหลอกลวงเพื่อได้มาซึ่งสักการะลาภและปัจจัยต่าง ๆ จึงชื่อ

ว่าเป็นผู้มีความปรารถนาลามก

ผู้ปรารถนายิ่ง ๆ ขึ้นคือผู้ที่ไม่รู้จักพอ ไม่อิ่มให้เท่าไหร่ไม่พอเหมือนไฟไม่อิ่มด้วย

เชื้อมีไม้และวัตถุที่ไหม้ไฟมหาสมุทรก็ไม่อิ่มด้วยน้ำแม้คนที่มีความปรารถนายิ่ง ๆ ขึ้น

ก็ไม่พอในสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาและก็ย่อมเดือดร้อนกับความไม่พอ

ผู้มักมากคือผู้ที่ตัวเองมีคุณธรรมแต่อยากให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองมีคุณธรรมเพื่อให้ได้

มาซึ่งลาภ สักการะ ปัจจัย เช่นตัวเองมีศีลก็มีความปรารถนาแสดงอาการให้ผู้อื่นรู้ว่า

ตัวเองมีศีล เป็นต้นหรือการไม่รู้จักพอดีในการับ นั่นก็ชือ่ว่าเป็นผุ้มักมากซึ่งต่างกับผู้มี

ความปรารถนาลามกคือตัวเองไม่มีคุณธรรมนั้นแต่แสดงหลอกลวงว่ามีคุณธรรมนั้นแต่

ถ้าเป็นผู้มักมากคือตัวเองมีคุณธรรมนั้นและก็อยากให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองมีคุณธรรมนั้นจะเห็น

ได้ว่า 3 ข้อที่กล่าวมาเป็นเรื่องของโลภะความปรารถนาความต้องการทั้งสิ้น

ซึ่งไม่ใช่ความเป็นผู้มักน้อยหรือปรารถนาน้อย..........................


ผู้ปรารถนาน้อยหรือมักน้อยคือผู้ไม่มีความปรารถนาไม่โลภะที่ต้องการให้คนอื่นรู้ว่า

ตนเองมีคุณธรรมอะไรโดยไม่ใช่การหลอกลวงซ้อนว่าแสดงเหมือนเป็นผู้มักน้อยเพื่อให้

ผู้อื่นสำคัญว่าเป็นผู้มักน้อยแต่จิตขณะนั้นเป็นผู้ไม่มีความต้องการจริงๆในขณะนั้นและ

รู้จักประมาณในการับด้วยใจจริงนี่ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปรารถนาน้อย - มักน้อย

ซึ่งความักน้อย มี 4 ประการคือ................

1.มักน้อยในปัจจัย

2.มักน้อยในธุดงค์

3.มักน้อยในปริยัติ

4.มักน้อยในอธิคม

มักน้อยในปัจจัย คือ เป็นผู้รู้จักพอในการรับไม่มีความปรารถนาเพิ่มในสิ่งที่ตนเอง

ก็มีอยู่แล้ว คือต้องดูทั้งคนให้และตัวเองและศรัทธาของผู้ให้ครับถ้าผู้ให้มีของมาก

แต่มีศรัทธาน้อยก็รับน้อยถ้าผู้ให้มีของน้อยแต่มีศรัทธาในการให้มากก็รับน้อยแต่ถ้าผู้

ให้มีของมากและมีศรัทธามากก็ต้องรับพอดีนี่คือความมักน้อยความไม่โลภใน

ปัจจัยนั่นเอง

มักน้อยในธุดงค์ คือ ตัวเองเป็นผู้สมาทานรักษาธุดงค์ก็ไม่มีความปรารถนาต้อง

การให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองรักษาธุดงค์

มักน้อยในปริยัติ คือตัวเองเป็นผู้ฟังมากและเข้าใจมากแต่ก็ไม่ปรารถนาให้ใครรู้ว่า

ตัวเองเป็นพหูสูต ฟังมาก - เข้าใจมาก

มักน้อยใน{อธิคม}หมายถึง ตัวเองบรรลุธรรม แล้วก็ไม่ปรารถนาให้คนอื่นรู้ว่าบรรลุ

ธรรมการศึกษาพระธรรมจึงเป็นเรื่องของการน้อมประพฤติปฏิบัติด้วยความจริงใจทั้งทางกาย

วาจาและใจเป็นสำคัญการขัดเกลากิเลสก็เริ่มจากปัญญาที่เจริญขึ้นอันเนื่องมา

จากการศึกษาพระธรรมฟังพระธรรม เห็นโทษของกิเลสค่อย ๆ ขัดเกลากิเลส พระธรรม

จึงเป็นประโยชน์กับผู้ที่มีความจริงใจและเป็นผู้ตรงว่าศึกษาพรธรรมเพื่อประโยชน์คือ.........................

การขัดเกลากิเลสของตนเองอันเป็นไปเพื่อความมักน้อยเป็นไปเพื่อความไม่มีโลภะที

ละเล็กละน้อยครับนี่คือประโยชน์ของการศึกษาพระธรรม

ความเป็นผู้มักน้อยจึงเป็นคุณธรรมที่ควรอบรมเพราะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลาแต่จะมี

ได้เพราะอาศัยการฟังพระธรรมเห็นประโยชน์ว่าถ้าลดความโลภลงเพราะมีปัญญา

ประโยชน์ก็ย่อมเกิดกับคนรอบข้างที่สำคัญที่สุดประโยชน์ใหญ่คือขัดเกลากิเลสของ

ตนเองพระธรรมเท่านั้นที่จะเกื้อกูล...............................




จากการที่เป็นผู้มากไปด้วยโลภะมากไปด้วยความติดข้องต้องการซึ่งก็มีเป็น

ปกติในชีวิตประจำวันซึ่งถ้าสะสมจนกระทั่งมีกำลังมากขึ้นก็อาจจะกระทำทุจริตกรรม

เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนกระำทำในสิ่งที่ไม่สมควรได้เพราะโลภะมีกำลังแต่เพราะ

ได้อาศัยการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงซึ่งอุปการะ

เกื้อกูลต่อการเจริญขึ้นของกุศลธรรมถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถละโลภะได้อย่างเด็ด

ขาดแต่ก็สามารถค่อย ๆ ขัดเกลาให้เบาบางลงได้ในชีวิตประจำวันด้วยความเป็นผู้

เห็นโทษของอกุศลเห็นคุณประโยชน์ของกุศล  

ธรรม เป็นเรื่องละเอียดตั้งแต่ต้นแม้แต่ในการฟังพระธรรม - ศึกษาพระธรรมก็เพื่อเข้าใจ

ธรรมตามความเป็นจริงไม่ใช่เพื่อลาภสักการะสรรเสริญไม่ใช่เพื่อให้คนอื่นรู้ว่าตน

เองมากไปด้วยความรู้เป็นต้นสำหรับผู้ที่มีความเข้าใจพระธรรมตามความเป็นจริง

ย่อมไม่มีความประสงค์ที่จะให้คนอื่นรู้ว่าตนเองมีคุณอย่างไรมีความรู้อย่างไรแต่จะ

มีความประสงค์ที่จะให้ผู้อื่นได้เข้าใจพระธรรมอย่างที่ตนเองเข้าใจ
  
สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรทำแต่ควรกระทำในสิ่งที่ดีงามทั้งทางกาย

ทางวาจา และทางใจโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือการฟังพระธรรม - ศึกษาพระธรรม

สะสมปัญญาไปตามลำดับความเข้าใจถูก - เห็นถูกตรงตามพระธรรมเท่านั้นที่จะเป็น

เครื่องนำทางชีวิตที่ดีทำให้รู้ว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำเป็นต้นซึ่งจะเห็นได้

ว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อยเป็นไป

เพื่อความเป็นผู้หมดโลภะไม่ใช่เพื่อความเป็นผู้มักมากไม่ใช่เพื่อความเป็นผู้โลภ

มากในสิ่งต่าง ๆ ถ้าเริ่มขัดเกลากิเลสตั้งแต่ในขณะนี้ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง

ก็จะสามารถดำเนินไปถึงซึ่งการดับกิเลสได้ซึ่งจะต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาวนานใน

การอบรมเจริญปัญญา.................................




ข้อความจากพระไตรปิกฏ

ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของบุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้

ครั้นสิ่งที่ปรารถนานั้นสำเร็จบุคคลยังปรารถนาต่อไปอีก

ก็ย่อมได้ประสบกามตัณหาเหมือนบุคคลที่ถูกลมแดดแผดเผาในฤดูร้อน

ย่อมเกิดความกระหายใคร่จะดื่มน้ำฉะนั้น............................




ได้ยินว่าพระขิตกเถระ

ได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า

จิตของใครตั้งมั่น

ไม่หวั่นไหวดังภูเขา

ไม่กำหนัดแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง

ผู้ใดอบรมจิตได้อย่างนี้

ทุกข์จักมาถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน




ข้อมูลจาก.............มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาโดยท่าน อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากรเลขที่

๑๗๔ / ๑ ซอยเจริญนคร ๗๘ แขวงดาวคะนอง เขตธนบุรีกรุงเทพฯ  ๑๐๖๐๐ โทรศัพท์หมายเลข ๐๒ - ๔๖๘ ๐๒๓๙ สมาชิก สุขใจ

ท่านใดมีความประสงค์จะศึกษาพระธรรมเรียนเชิญสอบถามไปยังมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามที่อยู่ดังที่เห็นอยู่นี้.......




http://www.facebook.com/itsariyathanakorn

http://twitter.com/soka45

http://forums.212cafe.com/boxser/



..............................มัชฌิมประภาสปุญสถาน.........................

ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้จงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสรรพชีวิตทั้งหลายให้ได้บำเพ็ญอนุตรวิถี กลับจิตแปรใจ ได้คืนจิตเดิม มีความสงบเย็นใจกาย ปราศจากเสียซึ่งสรรพกำทุกข์ ปลอดพ้นจากภัยเวร สงครามข้าวยาก ด้วยเดชะบุญนี้ จงช่วยค้ำชูบิดา - มารดา ครูบาอาจารย์ - ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท - มิตรรัก ศัตรูหมู่มาร สรรพเจ้ากรรมนายเวร เทวาทุกชั้นฟ้า อารักษ์ทั่วชั้นดิน เหล่าภูติ นาคา - นาคี เหล่าวิญญา - หมู่เปรต - อสูรกายเหล่าสัตว์ใด ๆ จงเป็นผู้ได้รับอานิสงค์เดชะแห่งผลบุญนี้ท่วนทั่วทุกคนเทอญ....................................

<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/sec2/2buddhapower/08.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/sec2/2buddhapower/08.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/sec2/2buddhapower/08.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤษภาคม 2554 16:13:10 โดย 時々sometime » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

คำค้น: น้อย 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.45 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 13:45:24