[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 05:08:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พิธีศพชาวกะโซ่ หรือ กะโส้  (อ่าน 1903 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2561 16:22:29 »



สะลาที่ชาวโส้เมืองกุสุมาลย์มณฑลแสดงให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทอดพระเนตร เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙
(ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

พิธีศพชาวกะโซ่ หรือ กะโส้

ชาวกะโส้  หรือ กะโซ่  ในเขตอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีภาษาพูด และพิธีกรรมแตกต่างไปจากกลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาว โดยเฉพาะพิธีปลงศพของชาวโส้นั้นเป็นพิธีกรรมทางภูติผี (แต่เดิมไม่มีพิธีทางพุทธศาสนา) โดยเฉพาะในพิธีงานศพชาวโส้นั้นมีพิธีทำให้ผู้ตายไม่เป็นผีดิบ เรียกว่า "ซางกะมูด"

กลุ่มชาวไทโส้ บางท้องที่ก็เรียกว่า พวก "โซ่" แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน เขียนว่า "กะโซ่" ซึ่งยังมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกเดียวกับลาวโซ่งในจังหวัดเพชรบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี สำหรับลาวโซ่งคือพวกไทดำ ที่อพยพมาจากแคว้นสิบสองจุไทยในสมัยกรุงธนบุรี ส่วน "ข่าโซ่" ซึ่งถือว่าเป็นข่าพวกหนึ่ง อยู่ในตระกูลมอญเขมรกะโซ่ตาม ลักษณะและชาติพันธุ์ถือว่าอยู่ในกลุ่ม มองโกลอยด์

กะโซ่มีภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างไปจากพวกข่าทั่วไป แต่ภาษาของกะโซ่ก็ยังถือว่าอยู่ในตระกูล "ออสโตรอาเซียติค" สาขามอญเขมร หรือกะตู [Katuic] ซึ่งสถาบันวิจัยภาษาฯ ของมหาวิทยาลัยมหิดลได้รวบรวมไว้ ในภาษาตระกูลไทย

ชาวโส้ หรือ กะโส้ หรือ กะโซ่ เป็นชนเผ่าหนึ่งที่ใช้ภาษาเหมือนกับกูย (ส่วย) คือ ภาษาเดียวกันออกเสียงเพี้ยนกันบ้าง ตามลักษณะภาษาถิ่น แต่คำพื้นฐานของภาษาโส้ และกูย นั้นตรงกันเป็นส่วนใหญ่ มีบางคำประมาณ ๑๐-๒๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นคำที่ใช้เฉพาะเผ่าพันธุ์ ชาวกะโส้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม บางตำบลของอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตำบลดงหลวงและใกล้เคียง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร บางตำบลของอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย

ถิ่นฐานดั้งเดิมของพวกกะโซ่เดิมอยู่ที่เมืองมหาชัย ในแขวงคำม่วนและแขวงสุวรรณเขต ดินแดนลาวปัจจุบัน สำหรับเมืองมหาชัย เดิมชาวบ้านเรียกว่า "เมืองภูวา-นากะแด้ง" คือเมืองภูวดลฯ และบ้านนากะแด้ง เพราะว่าในสมัยที่ยังขึ้นกับราชอาณาจักรไทย (ก่อน พ.ศ.๒๔๓๖) เรียกว่า เมืองภูวดลสอางค์ เคยขึ้นกับเมืองสกลนคร แล้วโอนมาขึ้นกับเมืองนครพนมในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ ชาวกะโซ่อพยพ มาอยู่ในเขตเมืองสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ส่วนชาวกะโซ่ซึ่งอพยพมาจากแขวงอัดปือไปอยู่ในท้องที่จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดสุรินทร์ เรียกว่าพวก "ส่วย" หรือ "กุย" พูดภาษาเดียวกับพวกกะโซ่

พวกกะโซ่ซึ่งอพยพเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองหลายเมืองคือ
๑. เมืองรามราช เป็นชาวกะโซ่จากเมืองเชียงฮ่ม (ปัจจุบันอยู่ในแขวง สุวรรณเขตติดชายแดนญวน) ตั้งขึ้นเป็นเมืองรามราช ขึ้นเมืองนครพนมเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวบัวจากเมือง เชียงฮ่ม เป็น "พระอุทัยประเทศ" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นหมู่บ้านชาวไทยกะโซ่

๒.เมืองกุสุมาลย์มณฑล เป็นชาวกะโซ่ที่อพยพมาจากเมืองมหาชัยในแขวงคำม่วน อพยพข้ามโขงมาอยู่ที่บ้าน กุดสุมารตั้งขึ้นเป็นเมืองกุสุมาลย์มณฑล ขึ้นเมืองสกลนครใน พ.ศ.๒๓๘๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ เพี้ยเมืองสูงหัวหน้าชาวกะโซ่ เป็น "พระอารัญอาษา" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

นอกจากนี้ยังมีชาวไทยกะโซ่อยู่ในท้องที่อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนมซึ่งมีเขตติดต่อกับอำเภอกุสุมาลย์อีกหลายหมู่บ้าน เช่นที่ตำบลโคกสูง และที่บ้านวังตามัวในท้องที่อำเภอเมืองนครพนม ในจังหวัดมุกดาหาร มีชาวไทยกะโซ่อยู่ในท้องที่อำเภอดงหลวงเป็นส่วนมากซึ่งอพยพเข้ามาในสมัยราชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๙ หัวหน้าชาวไทยกะโซ่ดงหลวง ต่อมาได้เป็นกำนันคนแรกของตำบลดงหลวงมีนามบรรดาศักดิ์ว่า "หลวงวาโนไพรพฤกษ์" ชาวกะโซ่ในอำเภอดงหลวงส่วนมากใช้นามสกุลเดียวกันหมดคือนามสกุล "วงศ์กะโซ่"

ชาวกะโส้มีผิวคล้ำกว่าไทย-ลาว ถิ่นฐานเดิมของชาวกะโส้อยู่ที่เมืองมหาชัยกองแก้ว และแขวงเมืองคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อพยพเข้ามาอยู่ในภาคอีสานสมัยรัชกาลที่ ๓ หลังปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ ชาวกะโส้ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มก้อน ได้แก่ อำเภอกุสุมาลย์ มีเจ้าเมืองเป็นชาวกะโส้ ดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเขียนเมื่อครั้งตรวจราชการมณฑลอุดร พ.ศ. ๒๔๔๙ ว่า "…ฉันได้เห็นการเล่นอย่างหนึ่ง ซึ่งพระอรัญอาสา เจ้าเมืองกุสุมาลย์มณฑล เอามาให้ดู เรียกว่า "สะลา" คนเล่นล้วนแต่เป็นผู้ชายเปลือยตัวเปล่า นุ่งผ้าขัดเตี่ยวมีชายห้อยข้างหน้าและข้างหลัง อย่างเดียวกับชาวเงาะนุ่ง "เลาะเตี้ยะ" ลักษณะที่เล่นนั้นมีหม้ออุ ตั้งอยู่กลางหม้อหนึ่ง คนเล่นเดินเป็นวงรอบหม้ออุ มีต้นบทนำขับร้องคนหนึ่ง สะพายหน้าไม้คนหนึ่ง ตีฆ้องเรียกว่า "พเนาะ" คนหนึ่ง ถือชามติดเทียนสองมือคนหนึ่ง ถือตะแกรงคนหนึ่ง ถือมีดกับสิ่วเคาะกันเป็นจังหวะคนหนึ่ง รวมแปดคนด้วยกัน กระบวนการเล่นก็ไม่มีอะไรนอกจากเดินร้องรำเวียนเป็นวง เล่นพักหนึ่งแล้วก็นั่งลงกินอุ แล้วก็ร้องรำไปอีก อย่างนั้น เห็นได้ว่าเป็นของพวกข่าตั้งแต่เป็นคนป่า…"

การเล่นดังกล่าวคือ พิธีกรรมเซ่นผีของชาวกะโส้ เรียกในปัจจุบันว่า "โส้ทั่งบั้ง"


การแต่งกาย  
ผู้ชายกะโส้ปัจจุบัน แต่งกายเหมือนไทยลาว สมัยอดีตนุ่งผ้ากะเตี่ยว หากชายผู้ใดเรียนอาคมไสยศาสตร์ จะใส่ลูกประคำแก้วคล้องคอเป็นสัญลักษณ์ด้วย หญิงจะใส่เสื้อสีดำแขนกระบอกเลยข้อศอกลงมาเล็กน้อย ผ่าอกขลิบแดงปล่อยให้เลยชายเสื้อลงไป ๒ - ๓ นิ้ว กระดุมเงินกลม หรือเงินเหรียญเท่าที่หาได้ ชายเสื้อด้านข้างแหวกชายสองข้าง ใช้ด้ายแดงตกแต่งขอบชายเสื้อ คอเสื้อ และปลายแขน ชายเสื้อจะมีด้ายแดงปล่อยให้เลยห้อยลงมาตรงเอวทั้งสองด้าน ๒ - ๓ ปอย  ผ้านุ่งใช้ผ้ามัดหมี่ฝ้ายสีน้ำเงิน - ขาว ต่อตีนซิ่นและหัวซิ่นด้วยผ้าแถบสีสันสวยงาม ทรงผมผู้หญิงจะเกล้ามวยสูง เรียกว่า "มะยวล"  ในงานพิธีนุ่งผ้าไหม ใส่กำไลข้อมือ ข้อเท้า สร้อยเงิน ตุ้มหู ตามฐานะ ห่มผ้าสไบทับเสื้อด้วย

งานศพ
เมื่อชาวโส้คนใดถึงแก่กรรมซึ่งเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ หรืออาการตามธรรมชาติทั่วไป มิได้เกิดจากอุบัติเหตุแล้ว สิ่งแรกที่จะต้องทำคือการบอกญาติพี่น้องให้ทราบและมาร่วมกันจัดพิธีศพ ในจำนวนญาติพี่น้องคนที่สำคัญคือ น้าบ่าว หรือน้องชายของแม่เป็นรายแรก หลังจากนั้นก็จะบอกญาติคนอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลในโอกาสต่อไป รวมทั้งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองคือผู้ใหญ่บ้าน กำนัน การไปบอกน้าบ่าวนั้นเป็นธรรมเนียมว่าต้องเตรียมดอกไม้ ธูป เทียน ไปด้วยเพื่อให้น้าบ่าวนำมาเคารพศพ

เมื่อน้าบ่าวมาถึงจึงเริ่มการแต่งศพให้ผู้ตายมีใบหน้าสดสวยเสมือนยังมีชีวิต เช่น การใช้แป้งหรือขมิ้นทาหน้า มีการใส่เงินเหรียญ ๑ อัน หรือ ๒ อันไว้ในปากของผู้ตาย เพื่อให้ผู้ตายร่ำรวยถ้าจะไปเกิดใหม่ ส่วนญาติมิตรอีกกลุ่มหนึ่งก็จะจัดการทำโลงศพเพื่อเตรียมไว้ในการนำไปเผา

การดอยศพ (เก็บศพ) ก่อนนำไปเผานั้น ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้ตายเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพราะถ้าเก็บศพไว้นานหลายคืนก็จะต้องเตรียมอาหาร เหล้า บุหรี่ ไว้เลี้ยงแขก สำหรับชาวโส้ที่นับถือพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการนับถือผี ก็จะมีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดอภิธรรมหน้าศพด้วย กลางคืนจะมีการเล่นเกมในหมู่ญาติมิตรที่มาในงานศพหลายชนิด ที่นิยมกันมากคือเกมจับไม้สั้นไม้ยาว

การเล่นเกมจับไม้สั้นไม้ยาวนี้ จะมีผู้หนึ่งเป็นกรรมการซึ่งทำหน้าที่ซ่อนไม้จำนวนหนึ่งเท่าผู้เล่น หรือเท่าจำนวนทีมฝ่ายหญิงฝ่ายชาย  เมื่อเริ่มเล่น ผู้ที่เป็นผู้แทนของทีมหรือกลุ่ม หรือผู้เล่นทั้งหมดจะมาจับไม้จากกรรมการ ถ้าปรากฏว่ามีผู้ใดจับได้ไม้สั้นหรือหัวหน้าทีมจับได้ไม้สั้นแล้ว ผู้นั้นจะเป็นผู้ชนะ สามารถทำโทษผู้แพ้ (ไม้สั้นจะมีเพียงอันเดียว) เช่น การเขกเข่าได้ ชาวโส้หนุ่มสาวนิยมการเล่นเป็นทีม หรือกลุ่มผู้หญิง กลุ่มผู้ชาย ซึ่งถ้าฝ่ายใดชนะก็จะไล่ตีฝ่ายแพ้อย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะฝ่ายชายเมื่อชนะมักจะถือโอกาสแตะต้องแก้ม ร่างกายของฝ่ายหญิงไปด้วย และฝ่ายหญิงก็จะไม่ถือสาหาความแต่ประการใด ทั้งนี้เพราะมุ่งแต่ความสนุกสนาน การละเล่นอีกชนิดหนึ่งก็คือการแกล้งเอาดินหม้อหรือสีดำแอบเขียนหน้าตาผู้ที่นอนหลับ เป็นที่ตลกขบขันแก่ผู้พบเห็น การทำเช่นนี้มีความเชื่อแฝงอยู่ด้วยว่าเป็นการทำให้ผีผู้ตายจำไม่ได้ และจะไม่มารบกวน บางรายก็เล่นพิเรนถึงกับเขียนสีไว้ในร่มผ้าฝ่ายหญิง และหยอกล้ออย่างขบขันเมื่อรู้ตัวตื่นขึ้น


พิธีซางกะมูด
พิธีซางกะมูด เป็นพิธีหนึ่งของชาวโส้ ก่อนที่จะนำศพลงจากเรือนไปเผา คำว่า "ซาง" ในภาษาโส้แปลว่า "สางหรือจัดให้เป็นระเบียบ" คำว่า "กะมูด" แปลว่า ผี   ซางกะมูด  จึงหมายถึง การจัดพิธีเกี่ยวกับผู้ตายให้เป็นระเบียบเรียบร้อยก่อนที่จะนำศพไปเผา

ชาวโส้เชื่อว่าผู้ตายด้วยอาการธรรมชาตินั้นเรียกว่า "ผีดิบ" การทำพิธีซางกะมูดก็เพื่อจะทำผีดิบให้เป็น "ผีสุก" มิฉะนั้นญาติพี่น้องจะได้รับอันตรายจากผีดิบ เช่น การเกิดเจ็บป่วย หรือได้รับอุบัติเหตุ  ชาวโส้ที่เคร่งครัดและมีความเชื่อเช่นนี้ ในเวลากลางคืนจะทำพิธีซางกะมูดหลายครั้งก่อนที่จะนำศพลงจากเรือนไปเผา

พิธีจะเริ่มขึ้นในเวลาเย็นก่อนวันที่กำหนดจะนำศพไปเผา ซึ่งบรรดาญาติพี่น้องจะอาบน้ำศพมัดตราสัง ๓ เปลาะ ในท่าศพพนมมือแล้วจึงนำศพใส่โลง อาจมีการนำผ้าที่มีลวดลายสวยงามมาพาดประดับโลงศพ หลังจากญาติพี่น้องผู้ตายที่เป็นสกุลผีเดียวกัน หรืออยู่ในจุ้มผีเดียวกันประมาณ ๔ - ๑๐ คน ก็จะยืนล้อมข้างโลงศพทั้งสองข้างๆ ละเท่าๆ กัน   ใกล้ๆ ศีรษะของผู้ตายจะมีอุปกรณ์ประกอบพิธีคือมีขันกะหย่อง (พาน) สานด้วยไม้ไผ่ ๒ ใบ ไม้ไผ่สานเป็นจักจั่น ๕ ตัวใส่ไว้ในขันกระหย่องใบละ ๒ ตัว (จักจั่นมีความหมายว่าให้ผู้ตายมีความสุขสนุกสนานเช่นจักจั่นที่กรีดเสียงร้องบนต้นไม้) มีไม้ไผ่บางๆ ๒ คู่ แทนสัญลักษณ์ของผู้ตายวางบนขันกะหย่อง  นอกจากนี้บางบ้านเรือนยังจัดให้มีจอกใส่น้ำหรือเหล้า ซองใส่ดอกไม้ ๔ ซอง หรือ ๑๖ ซอง หูช้างซึ่งมีลักษณะคล้ายพัดโบก ช้าง ม้า จำลองทำด้วยไม้ยอ ผ้าฝ้ายพันศีรษะขนาดยาว ๔ ผืน สั้น ๒ ผืน

เมื่อได้เครื่องเซ่นบูชาวิญญาณแล้ว น้าบ่าว หรือญาติสนิทของผู้ตายจะกล่าวคำส่งวิญญาณ ส่วนญาติผู้ตายซึ่งถือเครื่องเซ่นบูชาวิญญาณจะอยู่ในอาการสงบ หลังจากกล่าวคำส่งวิญญาณจบแล้วน้าบ่าวก็จะนำญาติที่ยืนอยู่รอบโลงศพเดินวนไปทางซ้าย ๓ รอบ แล้วเดินกลับมาทางขวาอีก ๓ รอบ ญาติผู้ตายบางคนจะถือเหล็กแท่ง พังฮาดหรือฆ้องตีเป็นจังหวะ อีกอย่างหนึ่งคือการนำไหเปล่าขึงตึงด้วยยางที่ปากไห แล้วดีดเป็นเสียง และทุกคนจะร้อง เฮะๆ ๆ ๆ ๆ …. เป็นจังหวะไป พร้อมกับจังหวะของเครื่องมือที่จะดีดหรือตีให้เกิดเสียง ชาวโส้เชื่อและยืนยันกันว่า ในสมัยโบราณญาติผู้ตายจะใช้บั้งหรือกระบอกไม้ไผ่ที่เป็นลำยาวๆ พอประมาณ กระแทกกับพื้นเป็นจังหวะที่เดินวนรอบๆ ศพ และเป็นต้นกำเนิดการเล่นทั่งบั้ง หรือ เรียกตามภาษาโส้ว่า "สะลา" (ซึ่งในปัจจุบันได้ดัดแปลงให้มีสตรีแต่งกายงดงามร่ายรำในงานการแสดงของวัฒนธรรมชาวโส้ แต่ก็ยังมีผู้ชายยืนกระแทกกระบอกไม้ไผ่กับพื้นเป็นจังหวะเช่นเดิม)

เมื่อขบวนญาติพี่น้องเดินวนซ้ายและวนขวาครบ ๓ รอบแล้ว ก็จะกราบและกล่าวขอขมาผู้ตายเพื่อมิให้มีเวรกรรมแก่กัน และขอศีลขอพรตามจารีต หลังจากนั้นผู้เป็นน้าบ่าวจะนำด้ายหรือเชือกเส้นเล็กๆ มาวางไว้ที่ศพ ปลายเชือกอีกด้านหนึ่งให้ญาติพี่น้องถือไว้ เมื่อกล่าวคำอำลาแล้วก็ตัดเชือกระหว่างกลาง เป็นการแสดงว่าขาดจากสภาพเดิมหรือผู้ตายมีสภาพมิใช่มนุษย์แล้ว จากนั้นจึงนำศพลงจากบ้านเรือน

การนำศพไปป่าช้านั้น ชาวโส้นิยมหามศพโดยนำไม้ไผ่ประมาณ ๑๐ ลำ ยาวลำละ ๕ เมตร มาผูกมัดให้แน่นคล้ายแพหรือแคร่ แล้วนำหีบศพตั้งข้างบนแคร่ ชาวโส้ที่นับถือพุทธศาสนาจะนิมนต์พระสงฆ์มานั่งบนแคร่หน้าโลงศพ เพื่อสวดมนต์ไปตลอดทางจนถึงป่าช้าท้ายหมู่บ้าน ส่วนคนหามนั้นก็ผลัดเปลี่ยนกันตลอดทาง ขณะที่ศพเคลื่อนไปนั้นจะมีการโปรยข้าวตอก หรือข้าวคั่วตามหลัง การทำเช่นนี้ชาวโส้มีความเชื่อหลายอย่าง เช่น ต้องการให้ผู้ตายหาทางเดินกลับบ้านได้ หรือเชื่อว่าให้ผีที่อยู่บนแคร่หามลงมารับส่วนบุญ เพื่อจะทำให้น้ำหนักลดลง(การโปรยข้าวตอกในปัจจุบันยังกลั่นแกล้งเพื่อนฝูงที่เดินตามแคร่หามศพ เช่น นำมดแดง หรือหิน โคลน ผสมกับข้าวตอกเหวี่ยงให้ถูกผู้คนในขบวนแห่ศพด้วย เพื่อช่วยให้สนุกสนานไม่โศกเศร้าจนเกินไป)

ในปัจจุบันเมื่อพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลต่อชาวโส้มากขึ้น การบวชหน้าศพทั้งเป็นสามเณรและภิกษุสงฆ์ก็มีจำนวนไม่น้อย สำหรับสตรีที่ต้องการไว้ทุกข์จะแต่งกายด้วยผ้าขาวคล้ายนางชี และใช้ผ้าขาวมัดผม

เมื่อขบวนศพถึงป่าช้าแล้ว ชาวโส้จะหาฟืนในป่ามาทำเป็นกองฟอน (ที่เผาศพ) ไว้และตกแต่งให้เป็นกองฟอนขนาดใหญ่พอที่จะวางโลงศพ ก่อนเผาศพอาจมีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมาติกาบังสุกุลแล้วเป็นผู้จุดไฟด้วย หลังจากนั้นบุคคลอื่น ๆ ก็จะหาฟืนมาสุมเพิ่มให้ลุกโชติช่วง ในกลุ่มที่มิได้จัดพิธีสงฆ์ก็จะทำการเผาศพทันที อย่างไรก็ตามยังมีข้อปลีกย่อยสำหรับชาวโส้บางราย เช่น นำไก่มาจิกหรือเคาะที่โลงศพ ก่อนเผาศพมีการทุบมะพร้าวที่เรียกว่าล้างหน้าผี แล้วหาเครือไม้มาตัดแสดงการตัดญาติจากลูกหลาน๑๐

เมื่อเผาศพแล้ว ขบวนญาติพี่น้องและมิตรสหายต่างแยกย้ายกันกลับบ้าน ถ้าเส้นทางนั้นผ่านหน้าบ้านผู้ตาย จะมีญาติผู้ตายที่สูงอายุคอยพรมน้ำมนต์ให้ทุกคนเพื่อเป็นสิริมงคล พร้อมกับกล่าวคำอวยพรว่า "มั่นยืนๆ ๆ" ซึ่งหมายถึงให้อายุยืนนาน น้ำมนต์นี้มักผสมด้วยขมิ้นมีสีเหลืองอ่อน ๆ

การเก็บกระดูกผู้ตายไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ว่าจะกระทำในวันใด ขึ้นกับความสะดวกของญาติพี่น้อง ชาวโส้ที่นับถือพุทธศาสนามักนิยมนำอัฐิไปฝังไว้ตามกำแพงวัด แต่ชาวโส้ส่วนมากจะเก็บอัฐิโดยฝังไว้ใกล้ๆ กับที่เผาศพ แล้วเขียนชื่อผู้ตายใส่แผ่นไม้หรือทำเครื่องหมายอื่นให้เป็นที่สังเกต

ความผูกพันระหว่างผู้ตายและผู้อยู่ในกลุ่มชาวโส้ที่มีความเชื่อว่า วิญญาณผู้ตายวนเวียนอยู่ในบ้านเดิมนั้น เห็นได้จากการที่ญาติพี่น้องจัดหากระติบใส่ข้าวเหนียวมาวางใกล้ๆ ศพ แล้วจุดเทียนไว้ใกล้ๆ กระติบข้าวเป็นเวลา ๓ คืน เพื่อเซ่นผู้ตาย

นอกจากนี้ ชาวโส้ก็จะต้องทำพิธีเรียกวิญญาณผู้ตายให้กลับมาอยู่กับลูกหลานที่บ้าน พิธีกรรมดังกล่าวจะทำโดยผู้มีความรู้ในเรื่องพิธีกรรม โดยจัดหาเหล้า ๑ ขวด ไก่ต้ม ๑ ตัว และผู้ทำพิธีตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ส่วนที่อยู่ของวิญญาณนั้นเป็นที่ทราบกันทั่วไปในหมู่ชาวโส้ก็คือ มใดมุมหนึ่งของเรือนซึ่งเป็นห้องนอน และถือกันว่าเป็นมุมผีเรือน ผู้ที่มิใช่ญาติโดยสายเลือดเดียวกันจะเข้าไปในบริเวณนั้นมิได้

อล็องกะมูด หมายถึง เชิญวิญญาณผู้ตายที่เป็นญาติซึ่งตายไปแล้ว ๑ เดือน กลับคืนบ้านเรือน มีขั้นตอนดังนี้
๑.พอได้กำหนด และญาติพร้อมแล้ว ก็ไปบอกยาฮีดและบอกน้าบ่าว
๒.จะต้องเซ่นวิญญาณผีเก่าเสียก่อนด้วยเหล้าไห ไก่ตัว โดยทำที่มุมห้องในบ้าน
๓.เชิญผีที่จะมาอยู่ใหม่ โดยเชิญที่บันไดบ้านโดยยาฮีดจะหยิบข้าวสารหว่านลงไปพร้อมกับพูดว่า "มาเดอ มือสันวันดี พร้อม ทั้งพาหวาน มีข้าวหว่านลงไป มีข้าวดำ ข้าวแดง ผีภูไม่ให้มา ผีป่าไม่ให้เสือก ให้มาแต่ผู้เดียวเจ้าเด้อ มาค้ำมาคูณ"
๔.เสร็จแล้วเข้าไปทำพิธีข้างในบ้าน แต่งสำรับกับข้าว ๑ สำรับ ขึ้นจ้ำผีคุณตัวเก่าที่เป็นหัวหน้าโดยบอกว่า ต่อไปนี้พวกเก่าและพวกมาอยู่ใหม่ ให้กลมเกลียวสามัคคีกันมาค้ำมาคูณ ข่อยว่าผิดจึงผิด ข่อยว่าถูกว่าแม้น จึงถูกจึงแม้นเด้อ เด้อๆ
๕.เสร็จแล้วมีการกินเลี้ยงกัน ร่วมสำรับกับข้าวกันระหว่างญาติทุกคน พร้อมกับยาฮีดด้วย เป็นเสร็จพิธี

พิธีซางกะมูดและอล็องกะมูด ทำให้เห็นความเชื่อในระบบภูติผีวิญญาณของชนชาวโซ่ ซึ่งนับถือผีมากกว่าพุทธศาสนา ชาวโซ่เชื่อว่าการทำพิธีศพให้ถูกต้องจะทำให้เป็นสิริมงคลแก่ครอบครัว หากไม่ปฏิบัติพิธีกรรมแล้วผีจะรบกวน ซึ่งจะนำสิ่งร้าย ๆ มาสู่ชีวิตได้ ประเพณีชาวโซ่บางหมู่บ้านจะให้นำศพลงจากเรือนด้านอื่นที่มิใช่บันไดขึ้นบ้าน เช่น ทะลุฝาบ้านหรือลงด้านหลังบ้าน เป็นต้น

อย่างไรก็ดีเมื่อจัดพิธีศพไปแล้ว ชาวโซ่เชื่อว่า วิญญาณผีจะต้องมีอยู่เป็นหลักแหล่ง มิฉะนั้นอาจไปทำให้ผู้อื่นเจ็บป่วยได้ จึงต้องทำพิธีอล็องกะมูดเชิญวิญญาณผีมาไว้ที่มุมเรือนของตน จึงทำให้เกิดพิธีกรรม ความเชื่อในเรื่องการเข้าออก ประตูด้านแจหรือมุมห้อง ผีเรือนรวมทั้งการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวบริเวณมุมผีเรือนของผู้ที่มิใช่สายตระกูลผีเรือน ระบบผีเรือนยังมีบทบาทในการตรวจสอบความถูกต้องตามฮีตคองของผู้อยู่อาศัยในเรือนหลังนั้น ทั้งภายในหมู่สายตระกูลเดียวกันและเขย-สะใภ้ ต่างสายตระกูลอีกด้วยระบบผีเรือนจึงเป็นระบบความเชื่อที่ทำให้สังคมในชุมชนปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยกฎหมายข้อห้ามใดๆ


เชิงอรรถ
จากปากของนายวิไล พรหมคำ แต่กำนันสุรวรรณ์ แก้วประสิทธิ์ กล่าวว่า ห้ามไปบอกน้าบ่าวต้องให้น้าบ่าวทราบเรื่องเองจากผู้อื่น แต่ก็จะยังไม่จัดการศพจนกว่าน้าบ่าวจะมาถึง ซึ่งหมายถึงการให้ความสำคัญแก่น้าบ่าว
Raymond S. Kania and Siriphan Hatuwong Kania, op. cit., p.90
จากปากคำของนายสุนทร ไบหะศรี
จากปากคำของนายวิไล พรหมคำ
จากปากคำของนายสยาม ยูระอินทร์ ครูโรงเรียนกุสุมาลย์พิศาลวิทย์
จากปากคำของนายสุนทร ไบหะศรี ซึ่งเป็นผู้สันทัดในการประกอบพิธีกรรมซางกะมูด
จากปากคำของนายสกล สมสวัสดิ์
Raymond S. Kania and Siriphan Hatuwong Kania, op. cit., p.90
จากปากคำของนายสกล สมสวัสดิ์
๑๐ จากปากคำของนายสุนทร ไบหะศรี

ที่มา :
- สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคอีสาน จัดพิมพ์เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
- site prapayneethai.com
- site .isangate.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤษภาคม 2561 09:10:44 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
มันดาลา หรือ เบญจคุณ พลวัตแห่งความว่าง: ปัญจพุทธกุล หรือ พลังปัญญาห้าสี
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 6 13052 กระทู้ล่าสุด 13 มิถุนายน 2553 14:51:03
โดย มดเอ๊ก
คน หรือ เทียน เล่มหนึ่ง ?? ..
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
เงาฝัน 0 5379 กระทู้ล่าสุด 28 พฤษภาคม 2554 15:04:02
โดย เงาฝัน
เป็นมนุษย์ หรือ เป็นคน
ธรรมะจากพระอาจารย์
วันศุกร์ นัดทานข้าว 0 1971 กระทู้ล่าสุด 05 กรกฎาคม 2555 03:08:16
โดย วันศุกร์ นัดทานข้าว
พุทธธรรม หรือ กฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต
เอกสารธรรม
เงาฝัน 5 5749 กระทู้ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ 2556 10:06:48
โดย เงาฝัน
ว่าด้วยกรณีของศีลว่าแท้จริงแล้วมี 227 ข้อ หรือ 150 ข้อกันแน่
ห้อง วีดีโอ
หมีงงในพงหญ้า 2 17419 กระทู้ล่าสุด 31 สิงหาคม 2557 00:15:13
โดย เจ๊ละงง
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.627 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 ตุลาคม 2566 06:23:54