[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 00:54:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 'ผู้แสวงหาซึ่งฝั่ง แต่กลับไปไม่ถึงฝั่ง'  (อ่าน 1393 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2561 14:48:00 »




'ผู้แสวงหาซึ่งฝั่ง แต่กลับไปไม่ถึงฝั่ง'

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

“คเวสโก” (อ่านว่า คะ-เว-สะ-โก) แปลว่า “ผู้แสวงหาซึ่งฝั่ง” ใครเลยจะคิดว่า ฉายานามนี้กลับกลายเป็นฉายาที่ "ต้องใจสีกา" ชนิดที่เรียกว่า "ต้องสึกจากความเป็นพระด้วยเหตุเพราะสีกา"

               “มิตซูโอะ คเวสโก” พระชาวญี่ปุ่น เจ้าอาวาสวัดสุนันทวนาราม บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นสัทธิวิหาริก หรือลูกศิษย์รุ่นแรกของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) หรือ หลวงพ่อชา สุภทฺโท อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง ผู้ซึ่งมีคำกล่าวเปรียบเปรยว่า “ซากุระผลิบานเป็นดอกบัว”

              พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก มีชื่อเดิมว่า "มิตซูโอะ ชิบาฮาชิ" เป็นชาวจังหวัดอิวะเตะ ประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาสู่ประเทศไทย หลังจากได้เดินทางแสวงหาธรรมะที่แท้จริงมาแล้วจากหลายประเทศทั่วโลก ทั้งอินเดีย เนปาล อิหร่าน และยุโรป ท่านจึงเดินทางมาประเทศไทย เพราะมีผู้แนะนำให้ท่านไปศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศไทย เมื่อมาถึงเมืองไทยแล้วท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ

              หลังจากนั้นเมื่อท่านบรรพชาได้ ๓ เดือน ท่านได้แสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรม มีผู้แนะนำท่านให้ไปกราบหลวงพ่อชา สุภทฺโท ที่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งท่านก็ได้เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อตั้งแต่บัดนั้น และได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๘ ได้รับฉายา "คเวสโก" หมายถึง "ผู้แสวงหาซึ่งฝั่ง" (seeker)
 
               อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๖ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ได้ปรากฏเป็นข่าวว่าลาสิกขาอย่างกะทันหัน โดยที่ลูกศิษย์และผู้ที่นับถือหลายคนไม่ทราบมาก่อน ขณะที่ผู้ใกล้ชิดยืนยันว่า พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ลาสิกขาจริง และเดินทางกลับไปประเทศญี่ปุ่นแล้ว เพราะต้องการไปรักษาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคประจำตัว และต้องการกลับไปช่วยเหลือผู้คนในประเทศญี่ปุ่น

              หลังจากนั้นไม่นานมีการเผยแพร่ภาพทางโซเชียลเน็ตเวิร์กว่า อดีตพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ได้ถ่ายรูปร่วมกันหลายรูปกับผู้หญิงคนหนึ่ง ชื่อ นางสุทธิรัตน์ มุตตามระ นักธุรกิจหญิงด้านความงาม ที่อ้างว่าเป็นคู่รัก และทั้งคู่ก็ได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วที่จังหวัดอิวะเตะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๖

              อดีตพระอาจารย์มิตซูโอะก็เปิดเผยว่า "ที่ลาสิกขาไป เพราะต้องการมีครอบครัวไม่ผิดทั้งทางโลกและทางธรรม เพราะได้จดทะเบียนและถ่ายรูปร่วมกันภายหลังจากสึกแล้วเรียบร้อย"



จันทร์ คเวสโก พระที่ถูกหักอก

              ทั้งนี้ หากย้อนไปในอดีต พระที่ใช้ฉายานาม "คเวสโก" ก็ต้องสึกจากกความเป็นพระ เป็นข่าวช็อกวงการพระพุทธศาสนามาครั้งหนึ่ง พระรูปดังกล่าวคือ พระเทพสิทธิญาณรังสี (จันทร์ คเวสโก) หรือ "หลวงตาจันทร์" อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าชัยรังสี ต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร สมัยบวชเป็นพระก็มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเฉพาะเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ ท่านตกเป็นข่าวที่สั่นสะเทือนวงการพระครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งเลยทีเดียว เพราะเป็นการเสนอรายชื่อเลื่อนสมณศักดิ์มาแบบเหนือเมฆโดยไม่ผ่านการพิจารณาตามลำดับขั้นตอนถึง ๖๐ รูป เมื่อสึกออกมาก็ดังไม่หยุด ทุกย่างก้าวยังอยู่ในความสนใจของผู้คนจำนวนมากกระทั่งถึงทุกวันนี้

              นอกจากนี้ หลวงตาจันทร์ยังอาภัพ เคยตกเป็นข่าวดังไปทั่วประเทศ เมื่อครั้งตกลงใจจะแต่งงานกับข้าราชการสาวใหญ่ อดีตโยธาธิการจังหวัดเพชรบุรี ขณะที่กำลังร่อนการ์ดเชิญ ใกล้ถึงวันงานไม่กี่วัน ฝ่ายหญิงออกมาปฏิเสธอย่างไม่เหลือเยื่อใยว่า “หลวงตาจันทร์โมเม” แต่งเรื่องขึ้นเอง ไม่เคยคิดตกลงปลงใจด้วย

              “หลวงตาจันทร์อกหักดังโครม” ต้องหลบหนีหน้าผู้คนไปอยู่กับลูกศิษย์รักคนหนึ่ง ไม่ยอมติดต่อใคร เที่ยวนั้นชาวประชารู้กันทั่ว หลวงตาจันทร์เสียเงินไปกับความรักครั้งแรกหลายสิบล้านบาท ลงทุนปลูก “เรือนหอหลังใหญ่” ในชื่อเจ้าสาว หวังใช้ชีวิตคู่แบบสองต่อสองให้ชื่นสะดือ แต่สุดท้ายงานวิวาห์ล่มสลาย ทั้งเจ้าสาว ทั้งเรือนหอ (ราคานับสิบล้าน) หายวับไปกับตา พอหายชีช้ำทำใจได้หวนกลับมาอยู่บ้านหลังเดิมย่านพุทธมณฑล เปิดบ้านรับลูกศิษย์ลูกหาตามปกติ

              แม้วันนี้อดีตหลวงตาจันทร์จะไม่ได้อยู่ในสมณเพศนุ่งเหลืองห่มเหลืองแล้วก็ตาม ทุกครั้งที่ลูกศิษย์มาหาไม่ว่าจะด้วยธุระและเหตุผลใดก็ตาม เขาก็ยังคงทำหน้าที่เผยแผ่หลักธรรมตั้งแต่ลาสิกขาจากสมณเพศ ยิ่งเมื่อได้ตั้งคณะลิเก ทุกครั้งเมื่อถึงบทร้องก็จะสอดแทรกหลักธรรม และธรรมะสำหรับชีวิตประจำวันเสมอๆ ชนิดที่เรียกว่า "คนดูลิเกได้ฟังธรรมโดยไม่รู้ตัว"

               อดีตหลวงตาจันทร์พูดไว้อย่างน่าคิดว่า "การเป็นพระไม่ได้อยู่ที่ผ้าเหลือง ไม่อยู่ที่การโกนหัว รวมทั้งไม่ได้อยู่ที่วัด หากอยู่ที่ใจ อยู่ที่การปฏิบัติ ทั้งนี้ เราสามารถปฏิบัติธรรมได้ทุกแห่ง ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ใครคิดว่าปฏิบัติธรรมเมื่อเข้าวัดนั้น ต้องคิดเสียใหม่ ไม่ว่าเราอยู่ในที่ไหน สถานภาพใดเราต้องมีธรรมะอยู่เสมอ ที่สังคมวุ่นวายอยู่ทุกวันนี้เพราะคนไม่มีธรรม อย่าว่าแต่คนเลย พระอยู่ที่วัดแท้ๆ ยังขาดธรรมะ สังคมพุทธจักร พระสงฆ์จึงวุ่นวาย"

อาถรรพณ์ราชทินนาม

              การมรณภาพของ พระมหาทองอินทร์ หลังดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์ "พระนพีสีพิศาลคุณ" ได้เพียง ๙ เดือน เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ ด้วยโรคภาวะไตวายเรื้อรัง สิริอายุรวม ๗๖ ปี ๒ เดือน ๒๕ วัน พรรษา ๕๖ และมีการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ที่เมรุชั่วคราวหน้าวิหารวัดสันติธรรม อ.เมือง จ.เชียงใหม่

              มีเสียงเล่าลือและวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องสมณศักดิ์ดังไปทั่ว จ.เชียงใหม่ บ้างว่าเป็นเพราะแรงสาปแช่งของเจ้าผู้ครองนคร บ้างก็ว่าผู้ที่ได้รับแต่งตั้งชื่อดังกล่าวบารมีไม่ถึง ต้องคนที่มีบารมีถึงจึงเหมาะสมที่จะใช้สมณศักดิ์นี้ได้ บ้างว่าเป็นเพราะเหตุบังเอิญ

              มูลเหตุของเสียงเล่าลือดังกล่าว มีมูลเหตุมาจากก่อนหน้านี้มีพระ ๒ รูป ซึ่งได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์ดังกล่าวต้องมีอันเป็นไป ได้แก่ พระมหาคำปิง เมื่อได้เลื่อนสมณศักดิ์แล้ว ในเวลาไม่นานมีอันต้องลาสิกขาออกไปแต่งงานกับเจ้าหญิง ณ เชียงตุง อยู่ที่นครเชียงตุง รัฐฉาน ได้รับแต่งตั้งเป็นกำนัน ต่อมาได้รับฐานันดรเป็น "เจ้าฟ้ามยุรา" และส่งไปเป็นเจ้าเมืองเลน ก่อนถูกประหารชีวิตที่บ้านฮ่องลึก ด้วยข้อหาเป็นกบฏ

              ผ่านไป ๗๐ ปี สมณศักดิ์พระนพีสีพิศาลคุณถูกเก็บเป็นตำนานในหมู่คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตของ จ.เชียงใหม่ จนกระทั่งในมหามงคลสมัยพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันศุกร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์พระครูสันตยาธิคุณ เจ้าคณะธรรมยุต จ.เชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน เจ้าอาวาสสันติธรรม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นพระราชคณะชั้นสามัญ เปรียญราชทินที่ "พระนพีสีพิศาลคุณ"

               ด้วยเหตุใดไม่ทราบ ราชทินนามพระนพีสีพิศาลคุณ ได้ว่างเว้นไปนาน เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ ปรากฏราชทินนามอีกครั้งหนึ่ง คือ "พระมหาทอง โฆสิโต" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ของวัดเจดีย์หลวง ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ประชาชนให้ความศรัทธาเคารพ มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย แต่พอได้เลื่อนตำแหน่งพระนพีสีพิศาลคุณ ท่านพลันหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย โดยไม่กลับมาวัดอีกเลย

              "พระนพีสีพิศาลคุณ" มีความหมายย่อมาจาก "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" สนธิกับ "อิสิ" เป็น "นพีสี" หมายถึง นักบวช หรือพระฤาษีทั้ง ๙ แห่งนครเชียงใหม่ ส่วนคำว่า "พิศาลคุณ" หมายถึง ผู้มีคุณงามความดีกว้างใหญ่ไพศาล รวมความ พระนพีสีพิศาลคุณ คือ พระผู้มีคุณอันกว้างใหญ่ไพศาลของชาวเมืองเชียงใหม่


ข่าว : คม ชัด ลึก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.404 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 11:22:16