[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 04:21:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จากโอษฐ์ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฐ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)  (อ่าน 2284 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 14 มิถุนายน 2561 14:27:34 »



หลวงปู่เทศก์  เทสรังสี
(พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฎ์)
วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นพระป่าศิษย์กรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นศิษย์ผู้รักษาคำสอนที่ถูกต้องของพระอาจารย์ใหญ่ มั่น ภูริทัตโต ไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด เป็นศิษย์ผู้มีปณิธานแน่วแน่ในความกตัญญูและซื่อสัตย์ต่อครูบาอาจารย์ ไม่เคยคิดเนรคุณหรือทรยศต่อสัจธรรมของพระพุทธเจ้า

พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เป็นชาวอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เกิดเมื่อเสาร์ที่ ๒๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๔๕  บิดาชื่อ นายอุตส่าห์ มารดาชื่อ นางครั่ง เรี่ยวแรง  ถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านยังเล็กๆ

ในเบื้องต้น พระอาจารย์เทสก์ได้เรียนหนังสือภาษาไทยกับพี่ชายซึ่งบวชเป็นพระ เรียนอยู่ราวปีเศษ สามารถอ่านเขียนหนังสือได้บ้างแต่ยังไม่คล่อง แต่สามารถอ่านหนังสือธรรมะสำหรับให้พระเณรได้คล่องแคล่ว  ครั้นต่อมา พระพี่ชายลาสิกขาออกไปแล้วก็ไม่มีใครสอนหนังสือต่อ ท่านจึงต้องยุดเรียนออกจากวัดไปช่วยบิดามารดาที่บ้าน แต่บิดามารดาและญาติๆ ยังสนับสนุนให้เป็นผู้อุปัฏฐากพระอยู่ จนชาวบ้านไว้วางใจทุกอย่างในด้านการรับใช้พระในวัดบ้านนาสีดา

การได้อยู่รับใช้พระในวัด เป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เด็กชายเทสก์ เรี่ยวแรง เริ่มใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ท่านยังจดจำหน้าที่ของท่านในครั้งนั้นได้ไม่ลืมดังที่ว่า “เราต้องเป็นสื่อกลางระหว่างพระกับชาวบ้าน รับใช้เป็นประจำ เช้าไปประเคนสำรับ เย็นตักน้ำกรองน้ำ เก็บดอกไม้ถวายท่านบูชาพระ พระมามากน้อยอาหารพอไม่พอเราต้องวิ่งบอกชาวบ้าน.....ตอนนี้เรารู้สึกสนใจเรื่องบาปเรื่องบุญขึ้นมาก สงสัยและขัดข้องอะไรมักถาถามบิดาเสมอ บิดาก็มักสนใจในเรามากขึ้น ตอนกลางคืนเวลาว่างท่านมักจะสอนให้รู้คติโลก คติธรรมเสมอ”

ใจของพระอาจารย์เทสก์เริ่มน้อมนำไปสู่เส้นทางของนักบุญตั้งแต่อายุ ๑๕-๑๖ ปี คิดอยู่เสมอว่าเมื่อไหร่จะได้บวชกับเขาบ้าง  เพราะใจโน้มเอียงไปในทางที่จะเป็นสมณะนี่เอง จึงทำให้ท่านมิคิดจะมีคู่ครองเรือน

ในคืนหนึ่งพระอาจารย์เทสก์เกิดนิมิตฝันไปว่าท่านกับเพื่อนออกจากบ้านไปเที่ยวในทุ่งนา ได้พบพระกัมมัฏฐานสองรูปสะพายบาตรแบกกลดเดินมา  หนึ่งในสองพระนั้นตรงเข้ามา เพื่อนๆ ดูจะเฉยๆ แต่ตัวท่านกลับหวาดกลัววิ่งหนีอย่างสุดชีวิต  เมื่อวิ่งหนีไปไหนไม่พ้นก็วิ่งไปหาพ่อบนเรือน ร้องขอให้พ่อช่วย แต่พ่อกลับวางเฉย พระกัมมัฏฐานองค์นั้นตามขึ้นมาบนเรือน หลวงปู่หนีเข้ามุ้งท่านก็บุกเข้าไปเลิกมุ้งขึ้นแล้วหวดท่านด้วยแซ่อย่างแรง ตกใจตื่นขึ้นมาตัวสั่นเหงื่อโทรมกาย นั่นหมายความว่าท่านหนีไม่พ้นจากพระกัมมัฏฐานองค์นั้น นั่นคือนิมิตหมายที่ชี้อนาคตว่าท่านจะต้องเป็นสมณะ

วิถีชีวิตของคนหนุ่มชนบททั่วไปในสมัยนั้นมักจะถูกครอบงำด้วยไสยศาสตร์ เพราะพระที่วัดมักจะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องนี้ คือมีของดี มีอาคมไว้แจกจ่ายญาติโยม คนหนุ่มจึงมักแสวงหาในเรื่องไสยศาสตร์ เรื่องวิชาอาคมขลัง ตัวท่านก็เคยถูกหลอกในเรื่องนี้ แต่ภายหลังที่ท่านรู้ในธรรมแล้วท่านรู้สึกอับอายในเรื่องเหลวไหลที่ผ่านมาในอดีต ท่านเคยกล่าวในเรื่องนี้ว่า “มันเป็นเหตุให้เราหายจากความเชื่องมงายในเรื่องเครื่องรางของขลังแต่วันนั้นจนกระทั่งบัดนี้ ใครจะมาพูดว่าดีอย่างไรๆ ในใจมันเฉยเอาเสียเลย” นี่คือวจนะอันสว่างในธรรมที่ท่านประกาศไว้แน่ชัดว่าจะไม่ลังเลในเรื่องเดรัจฉานวิชาไว้เป็นเครื่องมือเรียกหาผู้เลื่อมใสศรัทธา

ดูเหมือนว่านิมิตฝันคืนนั้นของหนุ่มเทสก์จะเป็นจริงขึ้นมา เมื่อปรากฏว่ามีพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโมกับพระอาจารย์คำ ได้ธุดงค์ผ่านมายังหมู่บ้านนาสีดา ที่น่าประหลาดใจคือ แม้ว่าที่บ้านนาสีดาจะมีอารามซึ่งมีพระอยู่ แต่ทั้งสองท่านมิได้แวะพักแต่อย่างใด หากแต่เลยไปพักที่บ้านบิดาของหนุ่มเทสก์ หนุ่มเทสก์จึงได้มีโอกาสเห็นปฏิปทาอันน่าเลื่อมใสยิ่ง   พระอาจารย์สิงห์กับพระอาจารย์คำพำนักอยู่ที่บ้านนาสีดาเดือนเศษ เมื่อท่านออกเดินทางไปจำพรรษาที่วัดร้างบ้านนาบง ตำบลน้ำโขง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เนื่องจากทั้งสองมีไข้ป่า หนุ่มเทสก์ก็ยังอุตส่าห์ติดตามไปรับใช้ท่านทั้งสองถึงที่นั่น  ในโอกาสนั้นเองพระอาจารย์สิงห์มีเมตตาใช้เวลาว่างสอนหนังสือและอบรมให้แก่หนุ่มเทสก์ เมื่อถึงเวลาจวนจะออกพรรษา พระอาจารย์สิงห์ปรารภว่าจะกลับบ้านเดิมที่อุบลราชธานี จึงชวนท่านไปด้วย

หนุ่มเทสก์ เรี่ยวแรง ขออนุญาตและกราบลาพ่อแม่พี่น้องและญาติมิตรทั้งหลาย ทุกคนต้องเสียน้ำตาให้กับการจากลาของหนุ่มเทสก์ทั่วหน้า และในครั้งนั้นเอง การจากลาของท่านคือการเดินทางไกลที่ยาวนานที่สุดในชีวิต

พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เดินนำพาหนุ่มเทสก์จากท่าบ่อ ผ่านโคลนตมและนาข้าวนาน ๓ วัน ๓ คืน จึงถึงเมืองอุดรธานี พักอยู่ที่วัดมัชฌิมาวาส ๑๐ คืน แล้วออกเดินทางต่อไปขอนแก่น ผ่านมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร รวมเวลาราวหนึ่งเดือนเศษ จึงถึงบ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ (ปัจจุบันเป็นจังหวัด) จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดโยมมารดาของพระอาจารย์สิงห์  ในโอกาสนั้นเองพระอาจารย์สิงห์ก็ได้จัดการห่มผ้ากาสาวพัสตร์ให้หนุ่มเทสก์ กลายป็นสามเณรเทสก์ ที่วัดสุทัศนาราม อุบลราชธานี แล้วส่งเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดศรีทอง

ต่อมาพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม มีเหตุจำเป็นต้องออกรุกขมูล เพื่อเดินทางไปสมทบกับคณะของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งอยู่ที่สกลนคร  จากการที่พระอาจารย์สิงห์ต้องจากไปครั้งนั้น ทำให้สามเณรเทสก์รู้สึกอาลัยอาวรณ์ดุจบิดาจากบุตร  

“เรารู้สึกละอายเพื่อนแล้วหนีออกมาข้างนอกแล้วตั้งสติใหม่ รำลึกได้ถึงเรื่องพระอานนท์ร้องไห้เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงปลงพระชนมายุสังขาร จิตจึงค่อยคลายความโศกลงบ้าง”  หลวงปู่เทสก์ปรารภถึงความรู้สึกที่มีต่อพระอาจารย์สิงห์ในครั้งนั้นว่า ท่านถึงกับร้องไห้สะอึกสะอื้นขึ้นมาท่ามกลางหมู่สามเณรทั้งหลาย

ความผูกพันที่พระอาจารย์เทสก์มีต่อพระอาจารย์สิงห์นั้น ล้ำลึกมาโดยตลอด แม้นาทีสุดท้ายก่อนที่พระอาจารย์สิงห์จะจากสามเณรเทสก์ ท่านก็กำชับให้ตั้งใจเรียนหนังสือให้จงดี เดี๋ยวจะเรียนไม่ทันคนอื่นเขา ซึ่งพระอาจารย์เทสก์ก็ได้เรียนจนจบนักธรรมตรีและเรียนหนังสือไทยจบตามหลักสูตรกระทรวงธรรมการที่นั่น

พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ พัทธสีมาวัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระมหารัฐเป็นพระอุปัชฌาย์ และพระมหาปิ่น ปัญญพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์  ท่านพระมหาปิ่นองค์นี้ก็คือน้องชายของพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม

เมื่อพระอาจารย์เทสก์ที่ได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านก็ได้อยู่ศึกษาในสำนักอารามแห่งนี้ยาวนานถึง ๖ ปี จึงจากไปสู่การธุดงค์เพื่อค้นหาอิสรภาพให้กับตนเอง  พระอาจารย์เทสก์ได้มีโอกาสออกรุกขมูลทำความเพียรโดยการนำพาของพระอาจารย์สิงห์ รวมทั้งได้พบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อีกด้วย

ในระหว่างทำความเพียรที่ถ้ำพวง บนภูเหล็กกับพระอาจารย์กลมนั้น พระอาจารย์เทสก์ทุ่มเทอุทิศให้กับการปฏิบัติธรรมอย่างเข้มแข็ง ฉันอาหารเพียงพริกแห้งผิงกับข้าวเหนียววันละ ๑ ก้อนโตเท่าผลมะตูมเท่านั้น

เส้นทางธรรมของพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เป็นแบบอย่างของพระป่าผู้มีความอดทนเป็นเลิศ เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วยปฏิปทาอันมั่นคง และเป็นอริยสงฆ์ผู้ก้าวข้ามโคตรแห่งปุถุชนโดยพุทธวิธี

วาทะที่นำเสนอนี้ตัดทอนมาให้เห็นเพียงสั้นๆ ว่าพระอาจารย์เทสก์นั้นเปี่ยมด้วยสมาธิและปัญญา ยากจะหาผู้ใดมาคัดค้านได้




มรณสติ

"มรณสติ คือระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เป็นกัมมัฏฐานขั้นสูงสุด เพราะว่าเมื่อระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์แล้ว จิตก็จะสลดสังเวชถอนจากอารมณ์อื่นๆ ความตายเป็นการดำเนินถึงที่สุดของชีวิตคนเรา  นอกจากความตายแล้วไม่มีอะไร สิ่งทั้งปวงที่เกี่ยวข้องพัวพันอยู่นี้ล้วนแล้วแต่เป็นของทิ้งทั้งหมด ถึงไม่อยากทิ้งมันก็จะต้องละไปโดยปริยาย เราตายแล้วมันก็ทอดทิ้งลงทันที จึงว่ามรณสตินั้นเป็นยอดของกัมมัฏฐาน ใครจะพิจารณาอะไรๆ ก็ตามเถิด ถ้าหากพิจารณามรณสติแล้ว จิตยังไม่รวมลงไปได้ ยังไม่เกิดสลดสังเวช ยังไม่ละ ยังไม่ถอน ก็หมดกัมมัฏฐาน ไม่มีอะไรเหลือแล้ว เมื่อผู้ใดพิจารณาความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกนั้น จึงจะเป็นผู้ไม่ประมาท หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกแล้วไม่สูดเข้าอีกก็ตาย เป็นอยู่อย่างนี้ เรียกว่าเป็นผู้ไม่ประมาท  วันหนึ่งๆ เราคิดถึงความตายสักกี่ครั้ง วัน เดือน ปีล่วงไปๆ ไม่เคยนึกถึงความตายสักทีเลยก็มี จึงว่าเป็นผู้ประมาท  ความประมาทคือหนทางแห่งความตาย ความไม่ประมาทคือ มีสิตอยู่ทุกเมื่อ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน นั้นเรียกว่าความไม่ประมาท ทางแห่งความไม่ตาย ที่มีสติ สติรู้ตัวอยู่ทุกเมื่อทุกขณะนั่นแหละ เรียกว่าเป็นผู้ไม่ตาย”

“แท้ที่จริงความตายนั้นไม่เท่าไรหรอก ก่อนที่จะตายนั่นซีมันสำคัญ จะตั้งสติรักษาจิตด้วยอาการอย่างไรให้มั่นคงที่จะไม่ให้หวั่นไหว อันตรงนั้นมันสำคัญที่สุด  คนเราเมื่อจะถึงที่สุดเวลาจะตายจริงๆ มันต้องตัดหมดทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่สติที่เรารักษาไว้ดีแล้วก็จะไม่ปรากฏ มันจะปรากฏแต่กรรมนิมิต คตินิมิต จะไปเกิดในสุคติหรือทุคติ ต้องมีกรรมนิมิตปรากฏ เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ นี้เรียกว่า กรรมชั่ว กรรมนิมิตนั้นคือเห็นสัตว์ที่เราเคยฆ่ามาไล่ชน หรือรุมล้อมทำร้ายเราให้เจ็บปวดร้องครวญครางจนปรากฏเสียงออกมาให้คนทั้งหลายได้ยินก็มี เหมือนกับที่เราได้ทำเขาเมื่อยังมีชีวิตอยู่ คตินิมิตในทางชั่วนั้น เช่น ปรากฏเห็นด้วยใจว่าผู้ที่ทำบาปเช่นเดียวกันกับเรานั้น ตายไปแล้วได้ทนทุกข์ทรมานด้วยอาการต่างๆ เช่น เห็นร่างกายของเขามีแต่โครงกระดูก คนไหนมีเนื้อหนัง สัตว์อื่นก็มีเฉือนเนื้อเถือหนังไปกินจนหมด เมื่อคตินั้นมาปรากฏเห็นเฉพาะตนแล้ว ก็กลัวแสนกลัวหาที่สุดมิได้ กลัวตนจะไปเป็นอย่างผู้นั้น  กรรมนิมิต คตินิมิตของความดีนั้นตรงกันข้าม บุคคลผู้ทำความดีไว้เมื่อมีชิวิตอยู่ เป็นต้นว่า เคยไปทอดผ้าป่ามหากฐิน เมื่อจวนจะตายไม่มีสติแล้ว กรรมนิมิตและคตินิมิตจะมาปรากฏเช่นเดียวกับกรรมชั่ว แต่กรรมดีมันให้เพลิดเพลินเจริญใจเป็นต้นว่าไทยทานที่ตนทำไปแล้วเมื่อยังมีชิวิตอยู่ แม้มีประมาณเล็กน้อย แต่เมื่อกรรมนิมิต คตินิมิต ที่ปรากฏเห็นเป็นของมากจนเหลือที่จะพรรณนาได้ เมื่อเห็นแล้วก็อยากได้ แล้วก็มีหวังจะได้ในวันหนึ่งข้างหน้าโดยมีสิ่งบันดาลให้ได้จริงๆ”

“บางคนบอกว่าเมื่อเราตายจะต้องรักษาสติไว้ไม่คิดถึงกรรมชั่ว ความข้อนั้นเป็นความประมาทของเขาเอง เขาคิดเดาเอาเฉยๆ ความเป็นจริงจะต้องเป็นอย่างที่อธิบายมานี้ มันจะรักษาได้อย่างไรในเมื่อมันไม่มีสติ มีกรรมนิมิต คตินิมิต เป็นเครื่องชักจูงให้เป็นไปเอง ไม่สามารถจะกลับคืนมาแก้ตัวอีกได้  ฉะนั้น ทำเสียเดี๋ยวนี้ ตั้งแต่เป็นมนุษย์อยู่  และเมื่อถึงคราวจะตายนั้นแล้ว มันเป็นเองหรอก ทำดีมาก ทำชั่วมาก มันก็เป็นไปตามเรื่องที่ทำเอาไว้ มันเป็นเอง เกิดเองของมันต่างหาก  คนเราตายจริงๆ เมื่อไม่มีลมแล้ว แต่ลมกับใจมันคนละอันกัน ที่แพทย์เรียกว่าโคม่านั้น มันถึงที่สุดของชีวิตในตอนนั้นแล้วแต่ยังไม่สิ้นไป ที่เกิดของลมในทางศาสนา ท่านกล่าวไว้ว่าลมเกิดจากสวาบ คือ กะบังลม

กะบังลมมันวูบๆ วาบๆ อยู่อย่างนั้น มันเป็นเหตุให้เกิดลม มันทำให้เกิดความอบอุ่น มันก็ไหวตัววูบๆ วาบๆ เมื่อลมยังมีอยู่ แต่จิตมันจากร่างไปแล้ว ไปพร้อมด้วยกรรมนิมิต คตินิมิตนั้นไม่มีหลงเหลืออยู่อีก มีแต่ร่าง ถ้าไม่มีกรรมนิมิต คตินิมิต บางทีมันฟื้นขึ้นมาอีก เพราะลมยังไม่หมด วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เขาเอาออกซิเจนเข้าช่วย ออกซิเจนก็ช่วยได้แต่ลมเท่านั้น แต่จิตมันเคลื่อนแล้ว มันจะไปไหนก็ไปตามเรื่องของมัน หางตุ๊กแกหรือหางจิ้งจกที่มันขาด มันยังไหวตัวอยู่ได้ แสดงว่าใจไม่ใช่ใจไปอยู่ที่หาง ลมความอบอุ่นยังเดินอยู่ก็ดิ้นอยู่อย่างนั้น การฝึกหัดจิตนี้ ถ้าอยากเป็นเร็วๆ มันก็ไม่เป็น หรือไม่อยากให้เป็น มันก็ประมาทเสีย ไม่เป็นเหมือนกัน ทำใจให้เป็นกลางๆ แล้วตั้งใจให้เชื่อแน่วแน่ในกัมมัฏฐานที่เรายึดมั่นอยู่นั้น แล้วภาวนาเรื่อยไป ก็จะถึงซึ่งความอัศจรรย์ขึ้นมาในตัวของตน แล้วจะรู้ชัดขึ้นมาว่าอะไรเป็นอะไร เอาเท่านี้แหละ พากันทำ”

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มิถุนายน 2561 15:03:22 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2561 15:23:23 »


มาตุคาม

ครั้งที่ท่านพระอาจารย์เทสก์พำนักอยู่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่นั้น พระอาจารย์เทสก์ได้เล่าถึงเรื่องราวต่างๆ ที่สมณะควรสังวรระวังไว้ให้ดี โดยเฉพาะเรื่องการผจญภัยร้ายในมาตุคามกามตัณหา

ตัวท่านเองได้รับการคุกคามจากอำนาจนี้มาหลายครั้งหลายคราว เช่น ตอนถ่ายรูปเป็นอนุสรณ์ที่เชียงใหม่ กำลังดูรูปอยู่ในร้าน ผู้หญิงร้องขอรูปสัก ๑ แผ่น ดูท่าทางเธอผู้นั้นมีอาการยั่วยุทั้งสายตาท่าทาง ท่านต้องรีบหลบหนี เพราะนั่นเป็นหนทางที่ปลอดภัยที่สุด

อีกครั้งหนึ่ง พระอาจารย์เทสก์ไปเยี่ยมโยมผู้หนึ่ง เมื่อเข้าไปในบ้านโยมผู้นั้นก็ปิดประตูทันที แต่ท่านก็เอาตัวรอดมาได้ด้วยการข่มใจ ขณะที่ฝ่ายหญิงถามว่าอยากสึกบ้างไหม ท่านกลับเลี่ยงไปพูดเรื่องธรรมะเสีย

วันหนึ่งเวลาจวนโพล้เพล้ สตรีผู้หนึ่งพรวดพราดขึ้นไปบนกุฏิพระอาจารย์เทสก์ ห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง ขึ้นไปแล้วนั่งเฉย นั่งซึมไม่พูดไม่จา เรียกให้ญาติมาเอาตัวลงไป เขาก็โกรธ  ตอนเช้าขณะที่พระอาจารย์เทสก์เดินจงกรม สตรีผู้นั้นตะโกนใส่หน้าท่านบอกว่า “สอนกัมมัฏฐานทำไมแบบนี้ สอนให้คนเป็นบ้า อาจารย์ไหนๆ ก็ไม่พ้นจากกามกิเลส”

ญาติโยมพาเขาไปโรงพยาบาลตรวจดูก็ว่าไม่มีอะไร  ภายหลังก็มาหาพระอาจารย์เทสก์อีก ตอนนี้รู้สึกตัวว่าเคยทำอะไรผิดไว้ จึงมาสารภาพรับผิดโดยคิดว่าพระอาจารย์เทสก์มีมหานิยม ได้ทำให้เธอหลงรักท่าน เข้าใจผิดไปอย่างนั้น จึงมาขอขมาโทษต่อพระอาจารย์เทสก์

พระอาจารย์เทสก์ ผู้เห็นภัยในมาตุคามได้กล่าวเรื่องนี้อย่างเป็นบทเรียนแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “เราละอายแก่ใจ ไม่อยากจะพูดเลยว่า มาตุคามเป็นภัยอันตรายแก่พรหมจรรย์ เพราะมารดาของเราก็เป็นผู้หญิง และพระพุทธศาสนาที่เราซุกหัวพึ่งร่มเงาอยู่ในขณะนี้ โดยมากก็อาศัยผู้หญิงค้ำจุนไว้โดยแท้”  ท่านเตือนให้ภิกษุระวังเพศตรงข้าม สังวรในพรหมจรรย์ การที่ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน นั้นแลดี หากจะมีการได้เห็น ได้ยิน ก็อย่าทำความสนิทและพูดคุยด้วย หากจำเป็นจะต้องพูดด้วยแล้ว ก็จงสำรวมใจไว้ให้ดี 

พระอาจารย์เทสก์ สรุปภัยของมาตุคามไว้อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งว่า “เพราะมาตุคามเป็นเรือนร่างที่เกิดของพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลาย และยังเป็นที่ปรารภให้เกิดธรรมของท่านเหล่านั้นด้วย ในทัศนะของเราแล้ว ภิกษุผู้ล่วงละเมิดในพระวินัยที่น่าเกลียดที่สุด คือสิกขาบทเกี่ยวด้วยรูปิยะ เรื่องความรักใคร่ๆ ที่เรียกว่ากามโลกีย์นี้”  ท่านเห็นว่า มาตุคามเป็นภัยแก่พรหมจรรย์อย่างมหันต์ แต่ก็เป็นคุณอนันต์แก่พระศาสนาด้วยเหมือนกัน.
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
บันทึกธรรมภาษิต โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 8 4865 กระทู้ล่าสุด 22 มีนาคม 2554 18:55:50
โดย 時々๛कभी कभी๛
สังวรอินทรีย์(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 3 3481 กระทู้ล่าสุด 13 มิถุนายน 2554 15:12:37
โดย เงาฝัน
คนเรารู้จักแต่ผูกแต่ไม่รู้จักแก้ โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
時々๛कभी कभी๛ 0 1636 กระทู้ล่าสุด 08 เมษายน 2555 14:46:59
โดย 時々๛कभी कभी๛
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ให้ธรรมโอวาท
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 2416 กระทู้ล่าสุด 24 เมษายน 2555 21:18:49
โดย เงาฝัน
ความโง่ของคนโง่ :หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 1593 กระทู้ล่าสุด 01 สิงหาคม 2555 19:42:23
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.4 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 10:32:10